ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
พระสุตตันตปิฎก
เล่ม ๑๖
อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ปฐมปัณณาสก์
อานิสังสวรรคที่ ๑
กิมัตถิยสูตร
[๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของ ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้า ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ศีลที่เป็นกุศล มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรอานนท์ ศีลที่เป็นกุศล มีอวิปปฏิสารเป็นผล มีอวิปปฏิสารเป็นอานิสงส์ ฯ อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็อวิปปฏิสารมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็น อานิสงส์ ฯ พ. ดูกรอานนท์ อวิปปฏิสารมีปราโมทย์เป็นผล มีปราโมทย์เป็น อานิสงส์ ฯ อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปราโมทย์มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็น อานิสงส์ ฯ พ. ดูกรอานนท์ ปราโมทย์มีปีติเป็นผล มีปีติเป็นอานิสงส์ ฯ อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปีติมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ ฯ พ. ดูกรอานนท์ ปีติมีปัสสัทธิเป็นผล มีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์ ฯ อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปัสสัทธิมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็น อานิสงส์ ฯ พ. ดูกรอานนท์ ปัสสัทธิมีสุขเป็นผล มีสุขเป็นอานิสงส์ ฯ อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็สุขมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ ฯ พ. ดูกรอานนท์ สุขมีสมาธิเป็นผล มีสมาธิเป็นอานิสงส์ ฯ อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็สมาธิมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็น อานิสงส์ ฯ พ. ดูกรอานนท์ สมาธิมียถาภูตญาณทัสสนะเป็นผล มียถาภูตญาณ ทัสสนะเป็นอานิสงส์ ฯ อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ยถาภูตญาณทัสสนะมีอะไรเป็นผล มีอะไร เป็นอานิสงส์ ฯ พ. ดูกรอานนท์ ยถาภูตญาณทัสสนะมีนิพพิทาวิราคะเป็นผล มีนิพพิทา วิราคะเป็นอานิสงส์ ฯ อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็นิพพิทาวิราคะมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็น อานิสงส์ ฯ พ. ดูกรอานนท์ นิพพิทาวิราคะมีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นผล มีวิมุตติญาณ ทัสสนะเป็นอานิสงส์ ดูกรอานนท์ ศีลที่เป็นกุศล มีอวิปปฏิสารเป็นผล มีอวิป- *ปฏิสารเป็นอานิสงส์ อวิปปฏิสารมีปราโมทย์เป็นผล มีปราโมทย์เป็นอานิสงส์ ปราโมทย์มีปีติเป็นผล มีปีติเป็นอานิสงส์ ปีติมีปัสสัทธิเป็นผล มีปัสสัทธิเป็น อานิสงส์ ปัสสัทธิมีสุขเป็นผล มีสุขเป็นอานิสงส์ สุขมีสมาธิเป็นผล มีสมาธิ เป็นอานิสงส์ สมาธิมียถาภูตญาณทัสสนะเป็นผล มียถาภูตญาณทัสสนะ เป็นอานิสงส์ ยถาภูตญาณทัสสนะ มีนิพพิทาวิราคะเป็นผล มีนิพพิทาวิราคะเป็น อานิสงส์ นิพพิทาวิราคะมีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นผล มีวิมุตติญาณทัสสนะเป็น อานิสงส์ ด้วยประการดังนี้ ดูกรอานนท์ ศีลที่เป็นกุศลย่อมถึงอรหัตโดยลำดับ ด้วยประการดังนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๑
เจตนาสูตร
[๒] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล ไม่ต้อง ทำเจตนาว่า ขออวิปปฏิสารจงเกิดขึ้นแก่เรา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่อวิปปฏิสาร เกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีลนี้เป็นธรรมดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ผู้ไม่มีวิปปฏิสารไม่ต้องทำเจตนาว่า ขอปราโมทย์จงเกิดขึ้นแก่เรา ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ข้อที่ปราโมทย์เกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ไม่มีวิปปฏิสารนี้เป็นธรรมดา ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย บุคคลผู้ปราโมทย์ไม่ต้องทำเจตนาว่า ขอปีติจงเกิดแก่เรา ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ข้อที่ปีติเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ปราโมทย์นี้เป็นธรรมดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีใจปีติไม่ต้องทำเจตนาว่า ขอกายของเราจงสงบ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ กายของบุคคลผู้มีใจมีปีติสงบนี้ เป็นธรรมดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีกาย สงบไม่ต้องทำเจตนาว่า ขอเราจงเสวยความสุข ข้อที่บุคคลผู้มีกายสงบเสวยสุข นี้ เป็นธรรมดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความสุขไม่ต้องทำเจตนาว่า ขอจิต ของเราจงตั้งมั่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่จิตของบุคคลผู้มีความสุขตั้งมั่นนี้ เป็น ธรรมดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่นไม่ต้องทำเจตนาว่า ขอเราจงรู้จง เห็นตามความเป็นจริง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น รู้เห็นตาม ความเป็นจริงนี้ เป็นธรรมดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้รู้เห็นตามความเป็นจริง ไม่ต้องทำเจตนาว่า ขอเราจงเบื่อหน่าย จงคลายกำหนัด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อ ที่บุคคลผู้รู้ผู้เห็นตามความเป็นจริงเบื่อหน่ายคลายกำหนัดนี้ เป็นธรรมดา ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย บุคคลผู้เบื่อหน่ายคลายกำหนัดไม่ต้องทำเจตนาว่า ขอเราจงทำให้แจ้ง ซึ่งวิมุตติญาณทัสสนะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้เบื่อหน่ายคลายกำหนัด ทำให้แจ้งซึ่งวิมุตติญาณทัสสนะ นี้เป็นธรรมดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิพพิทาวิราคะมี วิมุตติญาณทัสสนะเป็นผล มีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์ ยถาภูตญาณทัสสนะ มีนิพพิทาวิราคะเป็นผล มีนิพพิทาวิราคะเป็นอานิสงส์ สมาธิมียถาภูตญาณ ทัสสนะเป็นผล มียถาภูตญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์ สุขมีสมาธิเป็นผล มีสมาธิ เป็นอานิสงส์ ปัสสัทธิมีสุขเป็นผล มีสุขเป็นอานิสงส์ ปีติมีปัสสัทธิเป็นผล มีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์ ปราโมทย์มีปีติเป็นผล มีปีติเป็นอานิสงส์ อวิปปฏิสาร มีปราโมทย์เป็นผล มีปราโมทย์เป็นอานิสงส์ ศีลที่เป็นกุศลมีอวิปปฏิสารเป็นผล มีอวิปปฏิสารเป็นอานิสงส์ ด้วยประการดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลาย ย่อมหลั่งไหลไปสู่ธรรมทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายย่อมยังธรรมทั้งหลายให้บริบูรณ์ เพื่อจากเตภูมิกวัฏอันมิใช่ฝั่งไปถึงฝั่ง คือ นิพพานด้วยประการดังนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๒
สีลสูตร
[๓] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อวิปปฏิสารชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติขจัดเสียแล้ว เมื่ออวิปปฏิสารไม่มี ปราโมทย์ชื่อว่ามีเหตุอัน บุคคลผู้มีอวิปปฏิสารวิบัติขจัดเสียแล้ว เมื่อปราโมทย์ไม่มี ปัสสัทธิชื่อว่ามีเหตุอันบุคคล ผู้มีปีติวิบัติขจัดเสียแล้ว เมื่อปัสสัทธิไม่มี สุขชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มีปัสสัทธิ วิบัติขจัดเสียแล้ว เมื่อสุขไม่มี สัมมาสมาธิชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มีสุขวิบัติขจัดเสีย แล้ว เมื่อสัมมาสมาธิไม่มี ยถาภูตญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มีสมาธิ วิบัติขจัดเสียแล้ว เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะไม่มี นิพพิทาวิราคะชื่อว่ามีเหตุอัน บุคคลผู้มียถาภูตญาณทัสสนะวิบัติขจัดเสียแล้ว เมื่อนิพพิทาวิราคะไม่มี วิมุตติ ญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุ อันบุคคลผู้มีนิพพิทาวิราคะวิบัติขจัดเสียแล้ว ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้มีกิ่งและใบวิบัติแล้ว แม้กะเทาะของต้นไม้นั้น ย่อมไม่บริบูรณ์ แม้เปลือก แม้กระพี้ แม้แก่นของต้นไม้นั้น ย่อมไม่บริบูรณ์ ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย อวิปปฏิสารชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้ทุศีล ผู้มีศีลวิบัติ ขจัดเสียแล้ว เมื่ออวิปปฏิสารไม่มี ปราโมทย์ชื่อมีเหตุอันบุคคลผู้มีอวิปปฏิสาร วิบัติขจัดเสียแล้ว ฯลฯ เมื่อนิพพิทาวิราคะไม่มี วิมุตติญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุอัน บุคคลผู้มีนิพพิทาวิราคะวิบัติขจัดเสียแล้ว ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อวิปปฏิสารมีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีศีล ผู้สมบูรณ์ด้วยศีล เมื่ออวิปปฏิสารมีอยู่ ปราโมทย์ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่ บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอวิปปฏิสาร เมื่อปราโมทย์มีอยู่ ปีติชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปราโมทย์ เมื่อปีติมีอยู่ ปัสสัทธิชื่อว่ามีเหตุ สมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปีติ เมื่อปัสสัทธิมีอยู่ สุขชื่อว่ามีเหตุ สมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปัสสัทธิ เมื่อสุขมีอยู่สัมมาสมาธิชื่อว่า มีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสุข เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่ ยถาภูต ญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิ เมื่อ ยถาภูตญาณทัสสนะมีอยู่ นิพพิทาวิราคะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้ สมบูรณ์ ด้วยยถาภูตญาณทัสสนะ เมื่อนิพพิทาวิราคะมีอยู่ วิมุตติญาณทัสสนะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาวิราคะ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้มีกิ่งและใบสมบูรณ์ แม้กะเทาะของต้นไม้นั้น ย่อมบริบูรณ์ แม้เปลือก แม้กระพี้ แม้แก่น ของต้นไม้นั้น ย่อมบริบูรณ์ ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย อวิปปฏิสารมีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีศีล ผู้สมบูรณ์ด้วยศีล เมื่ออวิปปฏิสารมีอยู่ ปราโมทย์ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่ บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอวิปปฏิสาร ฯลฯ เมื่อนิพพิทาวิราคะมีอยู่ วิมุตติญาณทัสสนะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาวิราคะ ฉันนั้น เหมือนกันแล ฯ
จบสูตรที่ ๓
อุปนิสาสูตร
[๔] ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตร เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ อวิปปฏิสารมีเหตุอันบุคคลผู้ทุศีลผู้มีศีลวิบัติขจัดเสียแล้ว เมื่ออวิปปฏิสารไม่มี ปราโมทย์ชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มีอวิปปฏิสารวิบัติขจัด เสียแล้ว เมื่อปราโมทย์ไม่มี ปีติชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มีปราโมทย์วิบัติขจัด เสียแล้ว เมื่อปีติไม่มี ปัสสัทธิชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มีปีติวิบัติขจัดเสียแล้ว เมื่อปัสสัทธิไม่มี สุขชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มีปัสสัทธิวิบัติขจัดเสียแล้ว เมื่อสุข ไม่มี สัมมาสมาธิชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มีสุขวิบัติขจัดเสียแล้ว เมื่อสัมมาสมาธิ ไม่มี ยถาภูตญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มีสัมมาสมาธิวิบัติขจัดเสียแล้ว เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะไม่มี นิพพิทาวิราคะชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มียถาภูตญาณ ทัสสนะวิบัติขจัดเสียแล้ว เมื่อนิพพิทาวิราคะไม่มี วิมุตติญาณทัสสนะชื่อว่ามี เหตุอันบุคคลผู้มีนิพพิทาวิราคะวิบัติขจัดเสียแล้ว ดูกรท่านผู้มีอายุ เปรียบเหมือน ต้นไม้มีกิ่งและใบวิบัติแล้ว แม้กะเทาะของต้นไม้นั้นก็ย่อมไม่ถึงความบริบูรณ์ แม้เปลือก แม้กระพี้ แม้แก่น ของต้นไม้นั้น ก็ย่อมไม่ถึงความบริบูรณ์ ฉันใด ดูกรท่านผู้มีอายุ อวิปปฏิสารมีเหตุอันบุคคลผู้ทุศีลมีศีลวิบัติขจัดเสียแล้ว เมื่อ อวิปปฏิสารไม่มี ปราโมทย์ชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มีอวิปปฏิสารวิบัติขจัดเสียแล้ว ฯลฯ เมื่อนิพพิทาวิราคะไม่มี วิมุตติญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มี นิพพิทาวิราคะวิบัติขจัดเสียแล้ว ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ ดูกรท่านผู้มีอายุ อวิปปฏิสารมีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีศีล ผู้สมบูรณ์ด้วยศีล เมื่ออวิปปฏิสารมีอยู่ ปราโมทย์ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่ บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอวิปปฏิสาร เมื่อปราโมทย์มีอยู่ ปีติชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อม มีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปราโมทย์ เมื่อปีติมีอยู่ ปัสสัทธิชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปีติ เมื่อปัสสัทธิมีอยู่ สุขชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปัสสัทธิ เมื่อสุขมีอยู่สัมมาสมาธิชื่อว่ามีเหตุ สมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสุข เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่ ยถาภูตญาณ ทัสสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิ เมื่อยถา ภูตญาณทัสสนะมีอยู่ นิพพิทาวิราคะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้ สมบูรณ์ ด้วยยถาภูตญาณทัสสนะ เมื่อนิพพิทาวิราคะมีอยู่ วิมุตติญาณทัสสนะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาวิราคะ ดูกรท่านผู้ มีอายุ เปรียบเหมือนต้นไม้มีกิ่งและใบสมบูรณ์แล้ว แม้กะเทาะของต้นไม้นั้น ก็ย่อมถึงความบริบูรณ์ แม้เปลือก แม้กระพี้ แม้แก่น ของต้นไม้นั้น ก็ย่อม ถึงความบริบูรณ์ แม้ฉันใด ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อวิปปฏิสารมีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีศีลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล เมื่ออวิปปฏิสารมีอยู่ ปราโมทย์ชื่อว่ามี เหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอวิปปฏิสาร ฯลฯ เมื่อนิพพิทาวิราคะ มีอยู่ วิมุตติญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทา วิราคะ ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ
จบสูตรที่ ๔
อานันทสูตร
[๕] ณ ที่นั้นแล ท่านพระอานนท์เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ดูกร ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อวิปปฏิสารมีเหตุอันบุคคลผู้ทุศีลผู้มีศีลวิบัติขจัดเสียแล้ว เมื่ออวิปปฏิสารไม่มี ปราโมทย์ชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มีอวิปปฏิสารวิบัติขจัดเสีย แล้ว เมื่อปราโมทย์ไม่มี ปีติชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มีปราโมทย์วิบัติขจัดเสียแล้ว เมื่อปีติไม่มี ปัสสัทธิชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มีปีติวิบัติขจัดเสียแล้ว เมื่อปัสสัทธิไม่มี สุขชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มีปัสสัทธิวิบัติขจัดเสียแล้ว เมื่อสุขไม่มี สัมมาสมาธิ ชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มีสุขวิบัติขจัดเสียแล้ว เมื่อสัมมาสมาธิไม่มี ยถาภูตญาณ ทัสสนะชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มีสัมมาสมาธิวิบัติขจัดเสียแล้ว เมื่อยถาภูตญาณ ทัสสนะไม่มี นิพพิทาวิราคะชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มียถาภูตญาณทัสสนะวิบัติขจัด เสียแล้ว เมื่อนิพพิทาวิราคะไม่มี วิมุตติญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุ อันบุคคลผู้มี นิพพิทาวิราคะวิบัติขจัดเสียแล้ว ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้มี กิ่งและใบวิบัติแล้ว แม้กะเทาะของต้นไม้นั้น ย่อมไม่ถึงความบริบูรณ์ แม้เปลือก แม้กระพี้ แม้แก่น ของต้นไม้นั้น ก็ย่อมไม่ถึงความบริบูรณ์ แม้ฉันใด ดูกรท่าน ผู้มีอายุทั้งหลาย อวิปปฏิสารมีเหตุอันบุคคลผู้ทุศีลผู้มีศีลวิบัติขจัดเสียแล้ว เมื่อ อวิปปฏิสารไม่มี ปราโมทย์ชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มีอวิปปฏิสารวิบัติขจัดเสียแล้ว ฯลฯ เมื่อนิพพิทาวิราคะไม่มี วิมุตติญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มีนิพพิทา วิราคะวิบัติขจัดเสียแล้ว ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ ดูกรภิกษุผู้มีอายุทั้งหลาย อวิปปฏิสารมีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคล ผู้มีศีลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล เมื่ออวิปปฏิสารมีอยู่ ปราโมทย์ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอวิปปฏิสาร เมื่อปราโมทย์มีอยู่ ปีติชื่อว่ามีเหตุ สมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปราโมทย์ เมื่อปีติมีอยู่ ปัสสัทธิชื่อว่า มีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปีติ เมื่อปัสสัทธิมีอยู่ สุขชื่อว่า มีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปัสสัทธิ เมื่อสุขมีอยู่ สัมมาสมาธิ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสุข เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่ ยถาภูตญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิ เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะมีอยู่ นิพพิทาวิราคะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคล ผู้สมบูรณ์ด้วยยถาภูตญาณทัสสนะ เมื่อนิพพิทาวิราคะมีอยู่ วิมุตติญาณทัสสนะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาวิราคะ ดูกรท่านผู้มีอายุ เปรียบเหมือนต้นไม้มีกิ่งและใบสมบูรณ์แล้ว แม้กะเทาะของต้นไม้ ย่อมถึงความ บริบูรณ์ แม้เปลือก แม้กระพี้ แม้แก่น ของต้นไม้นั้น ก็ย่อมถึงความบริบูรณ์ แม้ฉันใด ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อวิปปฏิสารมีเหตุอันสมบูรณ์ ย่อมมีแก่ บุคคลผู้มีศีลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล เมื่ออวิปปฏิสารมีอยู่ ปราโมทย์ชื่อว่ามีเหตุ สมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอวิปปฏิสาร ฯลฯ เมื่อนิพพิทาวิราคะมีอยู่ วิมุตติญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทา- *วิราคะ ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ
จบสูตรที่ ๕
สมาธิสูตร
[๖] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่า เป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอาโปธาตุว่าเป็นอาโปธาตุเป็น อารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในเตโชธาตุว่าเป็นเตโชธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความ สำคัญในวาโยธาตุว่าเป็นวาโยธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอากาสานัญ- *จายตนฌานว่าเป็นอากาสานัญจายตนฌานเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญใน วิญญาณัญจายตนฌานว่าเป็นวิญญาณัญจายตนฌานเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความ สำคัญในอากิญจัญญายตนฌานว่าเป็นอากิญจัญญายตนฌานเป็นอารมณ์ ไม่พึงมี ความสำคัญในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานว่า เป็นเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในโลกนี้ว่าเป็นโลกนี้เป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความ สำคัญในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา การได้ สมาธิเห็นปานนั้น พึงมีแก่ภิกษุหรือหนอแล ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุ ว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอาโปธาตุว่าเป็นอาโปธาตุเป็น อารมณ์ ... ไม่พึงมีความสำคัญในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์ ก็แต่ว่า พึงเป็นผู้มีสัญญา การได้สมาธิเห็นปานนั้น พึงมีแก่ภิกษุ ฯ อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็น ปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอาโปธาตุว่าเป็นอาโปธาตุเป็นอารมณ์ ... ไม่พึงมีความสำคัญในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มี สัญญา ก็การได้สมาธิเห็นปานนั้น พึงมีแก่ภิกษุได้อย่างไร ฯ พ. ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความสำคัญอย่างนี้ว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิกิเลส ทั้งปวง ความสิ้นแห่งตัณหา ความปราศจากความกำหนัด ความดับ นิพพาน ดังนี้ ดูกรอานนท์ ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอาโปธาตุว่าเป็นอาโปธาตุเป็นอารมณ์ ... ไม่พึงมีความ สำคัญในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา การได้ สมาธิเห็นปานนั้น พึงมีแก่ภิกษุได้อย่างนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๖
สาริปุตตสูตร
[๗] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ได้เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า ดูกรท่าน สารีบุตรผู้มีอายุ ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอาโปธาตุว่าเป็นอาโปธาตุเป็นอารมณ์ ... ไม่พึงมีความ สำคัญในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา การได้ สมาธิเห็นปานนั้น พึงมีแก่ภิกษุหรือหนอ ฯ ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า ดูกรท่านอานนท์ ตนไม่พึงมีความสำคัญใน ปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ฯลฯ ไม่พึงมีความสำคัญในโลกหน้าว่าเป็น โลกหน้าเป็นอารมณ์ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา การได้สมาธิเห็นปานนั้น พึงมี แก่ภิกษุ ฯ อา. ดูกรท่านสารีบุตร ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุ เป็นอารมณ์ ฯลฯ ไม่พึงมีความสำคัญในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ก็การได้สมาธิเห็นปานนั้น พึงมีแก่ภิกษุได้อย่างไร ฯ สา. ดูกรท่านอานนท์ สมัยหนึ่ง ผมอยู่ ณ ป่าอันธวัน ใกล้พระนคร สาวัตถีนี้แหละ ณ ที่นั้น ผมเข้าสมาธิ โดยประการที่ผมมิได้มีความสำคัญใน ปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์เลย มิได้มีความสำคัญในอาโปธาตุว่าเป็น อาโปธาตุเป็นอารมณ์ มิได้มีความสำคัญในเตโชธาตุว่าเป็นเตโชธาตุเป็นอารมณ์ มิได้มีความสำคัญในวาโยธาตุว่าเป็นวาโยธาตุเป็นอารมณ์ มิได้มีความสำคัญใน อากาสานัญจายตนฌานว่าเป็นอากาสานัญจายตนฌานเป็นอารมณ์ มิได้มีความ สำคัญในวิญญาณัญจายตนฌานว่าเป็นวิญญาณัญจายตนฌานเป็นอารมณ์ มิได้มี ความสำคัญในอากิญจัญญายตนฌานว่าเป็นอากิญจัญญายตนฌานเป็นอารมณ์ มิได้ มีความสำคัญในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานว่าเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เป็นอารมณ์ มิได้มีความสำคัญในโลกนี้ว่าเป็นโลกนี้เป็นอารมณ์ มิได้มีความ สำคัญในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์ ก็แต่ว่าผมเป็นผู้มีสัญญา ฯ อา. ก็ในสมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรเป็นผู้มีสัญญาอย่างไร ฯ สา. ดูกรท่านผู้มีอายุ สัญญาอย่างหนึ่งย่อมเกิดขึ้นแก่ผมว่า การดับภพ เป็นนิพพาน การดับภพเป็นนิพพาน ดังนี้แล สัญญาอย่างหนึ่งย่อมดับไป ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อไฟมีเชื้อกำลังไหม้อยู่เปลวอย่างหนึ่งย่อมเกิดขึ้น เปลว อย่างหนึ่งย่อมดับไป แม้ฉันใด ดูกรท่านผู้มีอายุ สัญญาอย่างหนึ่งย่อมเกิดขึ้น แก่ผมว่า การดับภพเป็นนิพพาน การดับภพเป็นนิพพาน ดังนี้ สัญญาอย่างหนึ่ง ย่อมดับไป ฉันนั้นเหมือนกันแล ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็แลในสมัยนั้น ผมได้มี สัญญาว่า การดับภพเป็นนิพพาน ดังนี้ ฯ
จบสูตรที่ ๗
สัทธาสูตร
[๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา แต่ไม่มีศีลอย่างนี้ เธอชื่อว่าเป็นผู้ไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น เธอนั้นพึงบำเพ็ญองค์นั้นให้บริบูรณ์ด้วย คิดว่า ไฉนหนอ เราพึงเป็นผู้มีศรัทธาและศีล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธาและศีล เมื่อนั้น เธอชื่อว่าเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล แต่ไม่เป็นพหูสูต ฯลฯ เป็นพหูสูต แต่ไม่เป็นพระธรรมกถึก ฯลฯ เป็นพระธรรมกถึก แต่ไม่เข้าสู่บริษัท ฯลฯ เข้าสู่บริษัท แต่ไม่แกล้วกล้าแสดงธรรมแก่บริษัท ฯลฯ แกล้วกล้าแสดงธรรม แก่บริษัท แต่ไม่ทรงวินัย ฯลฯ ทรงวินัย แต่ไม่อยู่ป่าเป็นวัตร อยู่ในเสนาสนะ อันสงัด ฯลฯ อยู่ป่าเป็นวัตร อยู่ในเสนาสนะอันสงัด แต่ไม่ได้ตามความ ปรารถนา ไม่ได้โดยไม่ยาก ไม่ได้โดยไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ฯลฯ ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน แต่ไม่ได้ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะ ทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ อย่างนี้ เธอชื่อว่า เป็นผู้ไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น เธอพึงบำเพ็ญองค์นั้นให้บริบูรณ์ด้วยคิดว่า ไฉนหนอ เราพึงเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล เป็นพหูสูต เป็นธรรมกถึก เข้าสู่บริษัทได้ แกล้วกล้าแสดงธรรมแก่บริษัท ทรงวินัย อยู่ป่าเป็นวัตร อยู่ในเสนาสนะอันสงัด ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหา อาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล ... กระทำให้แจ้งซึ่ง เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วย ปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ เมื่อนั้น เธอชื่อว่าเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยองค์ นั้นๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล ย่อมเป็น ผู้ก่อให้เกิดความเลื่อมใสโดยรอบ และเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง ฯ
จบสัทธาสูตรที่ ๘
สันตสูตร
[๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา แต่ไม่มีศีล เป็นผู้มีศีล แต่ไม่เป็นพหูสูต เป็นพหูสูต แต่ไม่เป็นธรรมกถึก เป็นธรรมกถึก แต่ไม่เข้า สู่บริษัท เข้าสู่บริษัทได้ แต่ไม่แกล้วกล้าแสดงธรรมแก่บริษัท เป็นผู้แกล้วกล้า แสดงธรรมแก่บริษัท แต่ไม่ทรงวินัย ทรงวินัย แต่ไม่อยู่ป่าเป็นวัตร อยู่ใน เสนาสนะอันสงัด อยู่ป่าเป็นวัตร อยู่ในเสนาสนะอันสงัด แต่ไม่ถูกต้องวิโมกข์ อันสงบ ไม่มีรูป เพราะล่วงรูปเสียได้ ด้วยกายอยู่ ถูกต้องวิโมกข์อันสงบ ไม่มีรูป เพราะล่วงรูปเสียได้ ด้วยกายอยู่ แต่ไม่ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญา วิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองใน ปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ อย่างนี้ เธอชื่อว่าเป็นผู้ไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น เธอพึง บำเพ็ญองค์นั้นให้บริบูรณ์ ด้วยคิดว่า ไฉนหนอ เราพึงเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล ... กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลาย สิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล ... ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะ มิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ เมื่อนั้น เธอชื่อว่าเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบ ด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ก่อให้เกิดความเลื่อมใสโดยรอบ และ เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง ฯ
จบสันตสูตรที่ ๙
วิชชยสูตร
[๑๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา แต่ไม่มีศีลอย่างนี้ เธอชื่อว่าเป็นผู้ไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น เธอพึงบำเพ็ญองค์นั้นให้บริบูรณ์ด้วยคิดว่า ไฉนหนอ เราพึงเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุ เป็นผู้มีศรัทธา มีศีล เมื่อนั้น เธอชื่อว่าเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล แต่ไม่เป็นพหูสูต ฯลฯ เป็นพหูสูต แต่ไม่เป็นธรรมกถึก ฯลฯ เป็นธรรมกถึก แต่ไม่เข้าสู่บริษัท ฯลฯ เข้าสู่บริษัท แต่ไม่แกล้วกล้าแสดงธรรมแก่บริษัท ฯลฯ แกล้วกล้าแสดงธรรมแก่บริษัท แต่ไม่ทรงวินัย ฯลฯ ทรงวินัย แต่ระลึกไม่ได้ถึงชาติก่อนเป็นอันมาก คือ ระลึกไม่ได้ถึงชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอด วิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า ในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนด อายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เธอย่อมระลึกไม่ได้ ถึงชาติก่อนเป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศด้วยประการฉะนี้ ระลึก ถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ แต่ไม่เห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุ ของมนุษย์ ไม่รู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วย กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฐิ ยึดถือการ กระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฐิ เมื่อตายไปเขาเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียน พระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฐิ เมื่อตายไป เขาเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้ ไม่เห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ไม่รู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้ เห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ฯลฯ ย่อมรู้ชัดซึ่ง หมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้ แต่ไม่ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ อย่างนี้ เธอชื่อว่าเป็นผู้ไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น เธอพึง บำเพ็ญองค์นั้นให้บริบูรณ์ ด้วยคิดว่า ไฉนหนอ เราพึงเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล เป็นพหูสูต เป็นธรรมกถึก เข้าสู่บริษัท แกล้วกล้าแสดงธรรมแก่บริษัท ทรง วินัย ระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้หนึ่งชาติบ้าง ฯลฯ ระลึกถึง ชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ เห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ฯลฯ รู้ชัดซึ่งหมู่ สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้ กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล เป็นพหูสูต เป็นธรรมกถึก ผู้เข้าสู่บริษัท แกล้วกล้าแสดงธรรมแก่บริษัท ทรงวินัย ระลึก ถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ ระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการ ฉะนี้ เห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มี ผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงซึ่งจักษุของมนุษย์ ฯลฯ รู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้ กระทำให้แจ้งซึ่ง เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วย ปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ เมื่อนั้น เธอชื่อว่าเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยองค์นั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ก่อ ให้เกิดความเลื่อมใสโดยรอบ และเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง ฯ
จบวิชชยสูตรที่ ๑๐
จบอานิสังสวรรคที่ ๑
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. กิมัตถิยสูตร ๒. เจตนาสูตร ๓. สีลสูตร ๔. อุปนิสาสูตร ๕. อานันทสูตร ๖. สมาธิสูตร ๗. สาริปุตตสูตร ๘. สัทธาสูตร ๙. สันตสูตร ๑๐. วิชชยสูตร ฯ
-----------------------------------------------------
นาถกรณวรรคที่ ๒
เสนาสนสูตร
[๑๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เสพอยู่ คบอยู่ ซึ่งเสนาสนะอันประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่นานนัก พึงทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญา วิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองใน ปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อย่างไร ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา คือ เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของตถาคตว่า แม้เพราะ เหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก ทรงเป็นสารถี ฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็น ผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม ๑ เป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง ประกอบ ด้วยไฟธาตุสำหรับย่อยอาหารสม่ำเสมอ ไม่เย็นจัด ไม่ร้อนจัด เป็นปานกลาง ควรแก่การบำเพ็ญเพียร ๑ เป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา ทำตนให้เปิดเผยตาม ความเป็นจริง ในศาสดาหรือในเพื่อนพรหมจรรย์ที่เป็นวิญญู ๑ ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อม เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่น มั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย ๑ เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วย ปัญญาที่เห็นความเกิดและความดับ เป็นอริยะ เป็นเครื่องชำแรกกิเลสให้ถึง ความสิ้นทุกข์โดยชอบ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เสนาสนะอันประกอบด้วยองค์ ๕ อย่างไร ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เสนาสนะในธรรมวินัยนี้ อยู่ไม่ไกลนัก ไม่ใกล้นัก สมบูรณ์ด้วยทาง ไปมา กลางวันไม่เกลื่อนกล่น กลางคืนเงียบเสียง ปราศจากเสียงอึกทึก มีเหลือบ ยุง ลม แดด และสัมผัสแห่งสัตว์เลื้อยคลานน้อย ๑ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัชบริขารอันเป็นปัจจัยแห่งคนไข้ ย่อมเกิดขึ้นโดยไม่ฝืดเคือง แก่ภิกษุผู้อยู่ในเสนาสนะนั้น ๑ ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นพระเถระ เป็นพหูสูต ชำนาญ คัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา อยู่ในเสนาสนะนั้น ๑ ภิกษุนั้นเข้า ไปหาพระเถระเหล่านั้นตามกาลอันสมควร แล้วย่อมสอบถาม ไต่ถามว่า ข้าแต่- *ท่านผู้เจริญ ข้อนี้เป็นอย่างไร เนื้อความของข้อนี้เป็นอย่างไร ๑ ท่านพระเถระ เหล่านั้น ย่อมเปิดเผยข้อที่ยังไม่ได้เปิดเผย ย่อมทำให้ง่ายซึ่งข้อที่ยังไม่ได้ทำ ให้ง่าย ย่อมบรรเทาความสงสัยในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยแก่ภิกษุนั้น ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เสนาสนะอันประกอบด้วยองค์ ๕ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เสพอยู่ คบอยู่ ซึ่งเสนาสนะอันประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่นานนัก ก็พึงทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะ อาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ฯ
จบสูตรที่ ๑
อังคสูตร
[๑๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ละองค์ ๕ ได้แล้ว เป็นผู้ประกอบ ด้วยองค์ ๕ บัณฑิตเรียกว่า ผู้ประกอบด้วยคุณทั้งมวล ผู้อยู่จบพรหมจรรย์ เป็น อุดมบุรุษ ในธรรมวินัยนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ละองค์ ๕ ได้แล้วอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละกามฉันทะได้แล้ว ๑ ละพยาบาทได้แล้ว ๑ ละ- *ถีนมิทธะได้แล้ว ๑ ละอุทธัจจกุกกุจจะได้แล้ว ๑ ละวิจิกิจฉาได้แล้ว ๑ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละองค์ ๕ ได้แล้วอย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ ประกอบด้วยองค์ ๕ อย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยศีลขันธ์อัน เป็นของพระอเสขบุคคล ๑ ประกอบด้วยสมาธิขันธ์อันเป็นของพระอเสขบุคคล ๑ ประกอบด้วยปัญญาขันธ์อันเป็นของพระอเสขบุคคล ๑ ประกอบด้วยวิมุตติขันธ์อัน เป็นของพระอเสขบุคคล ๑ ประกอบด้วยวิมุตติญาณทัสสนขันธ์อันเป็นของพระ อเสขบุคคล ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ประกอบ ด้วยองค์ ๕ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ละองค์ ๕ ได้แล้ว ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ บัณฑิตเรียกว่า ผู้ประกอบด้วยคุณทั้งมวล ผู้อยู่จบพรหมจรรย์ เป็นอุดมบุรุษ ในธรรมวินัยนี้ ฯ กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ และ วิจิกิจฉา ย่อมไม่มีแก่ภิกษุโดยประการทั้งปวงเทียว ภิกษุผู้ เช่นนั้นสมบูรณ์ด้วยศีลอันเป็นของพระอเสขะ ด้วยสมาธิ อันเป็นของพระอเสขะ ด้วยปัญญาอันเป็นของพระอเสขะ ด้วยวิมุตติอันเป็นของพระอเสขะ และด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ อันเป็นของพระอเสขะ ภิกษุนั้นแล เป็นผู้ละองค์ ๕ สมบูรณ์ แล้วด้วยองค์ ๕ ภิกษุนั้นแล บัณฑิตเรียกว่า ผู้ประกอบ ด้วยคุณทั้งมวลในธรรมวินัยนี้ ฯ
จบสูตรที่ ๒
สังโยชนสูตร
[๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์ ๑๐ ประการนี้ ๑๐ ประการเป็นไฉน คือ สังโยชน์เป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ ประการ สังโยชน์เป็นไปในส่วนเบื้องบน ๕ ประการ สังโยชน์เป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ ประการเป็นไฉน คือ สักกายทิฐิ ๑ วิจิกิจฉา ๑ สีลพัตตปรามาส ๑ กามฉันทะ ๑ พยาบาท ๑ สังโยชน์เป็นไปใน ส่วนเบื้องต่ำ ๕ ประการนี้ สังโยชน์เป็นไปในส่วนเบื้องบน ๕ ประการเป็นไฉน คือ รูปราคะ ๑ อรูปราคะ ๑ มานะ ๑ อุทธัจจะ ๑ อวิชชา ๑ สังโยชน์เป็น ไปในส่วนเบื้องบน ๕ ประการนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์ ๑๐ ประการ นี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๓
ขีลสูตร
[๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตาปูตรึงใจ ๕ ประการ อันบุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ยังละไม่ได้แล้ว เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการ อัน บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ยังตัดไม่ขาดแล้ว กลางคืนหรือกลางวัน ที่ผ่านมาถึงบุคคลนั้น บุคคลนั้นพึงหวังความเสื่อมอย่างเดียวในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีความเจริญเลย ตาปูตรึงใจ ๕ ประการ ที่บุคคลนั้นยังละไม่ได้แล้ว เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในศาสดา จิตของภิกษุนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อ ประกอบเนืองๆ เพื่อการกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร ตาปูตรึงใจประการที่ ๑ นี้ อันภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังละไม่ได้แล้ว ด้วยประการฉะนี้ ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส ในพระธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร ตาปูตรึงใจประการ ที่ ๒ นี้ อันภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อ บำเพ็ญเพียร ยังละไม่ได้แล้ว ด้วยประการฉะนี้ ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่ เลื่อมใสในพระสงฆ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อ ความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร ตาปู ตรึงใจประการที่ ๓ นี้ อันภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบ เนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังละไม่ได้แล้ว ด้วยประการ ฉะนี้ ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่ เลื่อมใสในสิกขา ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อ ความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร ตาปูตรึงใจ ประการที่ ๔ นี้ อันภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังละไม่ได้แล้ว ด้วยประการนี้ ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมโกรธ ไม่พอใจ มีจิตอันโทสะประทุษร้าย มีจิตกระด้าง ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อ บำเพ็ญเพียร ตาปูตรึงใจประการที่ ๕ นี้ อันภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังละไม่ได้แล้ว ด้วย ประการอย่างนี้ ตาปูตรึงใจ ๕ ประการนี้ อันบุคคลนั้นยังละไม่ได้แล้ว ฯ เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการ อันบุคคลนั้นยังตัดไม่ขาดแล้วเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความกระหาย ไม่ ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจากความอยาก ในกามทั้งหลาย จิตของภิกษุนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อ บำเพ็ญเพียร เครื่องผูกพันใจประการที่ ๑ นี้ อันภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อ ความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังตัด ไม่ขาดแล้ว ด้วยประการอย่างนี้ ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจากความ พอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความกระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจากความอยาก ในกาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุนั้น ย่อม ไม่น้อมไปเพื่อความความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อ บำเพ็ญเพียร เครื่องผูกพันใจประการที่ ๒ นี้ อันภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อ ความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังตัด ไม่ขาดแล้ว ด้วยประการอย่างนี้ ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุยังเป็นผู้ไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจาก ความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความกระหาย ไม่ปราศจากความ เร่าร้อน ไม่ปราศจากความอยาก ในรูป จิตของภิกษุนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อ ความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร เครื่อง ผูกพันใจประการที่ ๓ นี้ อันภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบ เนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังตัดไม่ขาดแล้ว ด้วยประการ อย่างนี้ ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุฉันอาหารเต็มท้องตามต้องการแล้ว ย่อมประกอบ ความสุขในการนอน ความสุขในการเอน ความสุขในการหลับอยู่ จิตของภิกษุ นั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร เครื่องผูกพันใจประการที่ ๔ นี้ อันภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อ ความเพียร เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังตัดไม่ขาดแล้ว ด้วยประการอย่างนี้ ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุประพฤติพรหมจรรย์ด้วยความปรารถนาเป็นเทพ นิกายหมู่ใดหมู่หนึ่งว่า เราจักเป็นเทพเจ้าหรือเป็นเทพองค์ใดองค์หนึ่ง ด้วยศีล พรต ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้ จิตของภิกษุนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร เครื่องผูกพันใจ ประการที่ ๕ นี้ อันภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังตัดไม่ได้ขาดแล้ว ด้วยประการอย่างนี้ เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการนี้ อันบุคคลนั้นยังตัดไม่ขาดแล้ว ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตาปูตรึงใจ ๕ ประการนี้ อันบุคคลผู้ใดผู้หนึ่งเป็น ภิกษุหรือเป็นภิกษุณีก็ตาม ยังละไม่ได้แล้ว เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการนี้ อัน บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ยังตัดไม่ขาดแล้ว กลางคืนหรือกลางวัน ที่ผ่านมาถึงบุคคลนั้น บุคคลนั้นพึงหวังความเสื่อมอย่างเดียวในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีความเจริญเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนกลางคืนหรือกลางวันที่ ผ่านมาถึงพระจันทร์ในกาลปักษ์ พระจันทร์นั้นย่อมเสื่อมไปจากสี ย่อมเสื่อมจาก มณฑล ย่อมเสื่อมจากแสงสว่าง ย่อมเสื่อมจากความยาวและความกว้าง แม้ ฉันใด ตาปูตรึงใจ ๕ ประการนี้ อันบุคคลผู้ใดผู้หนึ่งเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ยังละไม่ได้แล้ว เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการนี้ อันบุคคลผู้ใดผู้หนึ่งเป็นภิกษุหรือ ภิกษุณีก็ตาม ยังตัดไม่ขาดแล้ว กลางคืนหรือกลางวันที่ผ่านมาถึงบุคคลนั้น บุคคลนั้นพึงหวังความเสื่อมอย่างเดียวในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีความเจริญเลย ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตาปูตรึงใจ ๕ ประการ อันบุคคลผู้ใดผู้หนึ่งเป็นภิกษุ หรือภิกษุณีก็ตาม ละได้แล้ว เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการ อันบุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ตัดได้ขาดแล้ว กลางคืนหรือกลางวันที่ผ่านมาถึงบุคคล นั้น บุคคลนั้นพึงหวังความเจริญอย่างเดียวในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีความ เสื่อมเลย ฯ ตาปูตรึงใจ ๕ ประการ ที่บุคคลนั้นละได้แล้ว เป็นไฉน ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่เคลือบแคลงสงสัย ย่อมน้อมใจเชื่อ เลื่อมใสในพระศาสดา จิตของภิกษุนั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อ ประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร ตาปูตรึงใจประการที่ ๑ นี้ อันภิกษุผู้มีจิตน้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร ละได้แล้ว ด้วยประการอย่างนี้ ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมไม่เคลือบแคลง ไม่สงสัย ย่อมน้อมใจเชื่อ ย่อมเลื่อมใสในพระธรรม ฯลฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมไม่เคลือบแคลง ไม่สงสัย ย่อมน้อมใจเชื่อ ย่อมเลื่อมใสในพระสงฆ์ ฯลฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมไม่เคลือบแคลง ไม่สงสัย ย่อมน้อมใจเชื่อ ย่อมเลื่อมใสในสิกขา ฯลฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมไม่โกรธ พอใจ มีจิตอันโทสะไม่ประทุษร้าย มีจิตไม่กระด้าง ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย จิตของภิกษุนั้น ย่อมน้อมไปเพื่อ ความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร ตาปูตรึงใจ ๕ ประการ นี้ อันภิกษุมีจิตน้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อ กระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร ละได้แล้ว ด้วยประการอย่างนี้ ตะปูตรึงใจ ๕ ประการนี้ อันบุคคลนั้นละได้แล้ว ฯ เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการ อันบุคคลนั้นตัดได้ขาดแล้ว เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจาก ความพอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความกระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความอยาก ในกามทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุนั้น ย่อม น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร เครื่องผูกพันใจประการที่ ๑ นี้ อันภิกษุผู้มีจิตน้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อ ประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร ตัดได้ขาดแล้ว ด้วย ประการฉะนี้ ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความพอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความกระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจาก ความอยาก ในกาย ฯลฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความพอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความกระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจาก ความอยาก ในรูป ฯลฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุฉันอาหารเต็มท้องตามต้องการแล้ว ไม่ประกอบ ความสุขในการนอน ความสุขในการเอน ความสุขในการหลับอยู่ ฯลฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยความปรารถนาเป็นเทพ- *นิกายหมู่ใดหมู่หนึ่งว่า เราจักเป็นเทพเจ้าหรือเทพองค์ใดองค์หนึ่ง ด้วยศีล พรต ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้ จิตของภิกษุนั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อ ประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร เครื่องผูกพันใจประการ ที่ ๕ นี้ อันภิกษุผู้มีจิตน้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำ ติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร ตัดได้ขาดแล้ว ด้วยประการอย่างนี้ เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการนี้ อันบุคคลนั้นตัดได้ขาดแล้ว ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตาปูตรึงใจ ๕ ประการนี้ อันบุคคลผู้ใดผู้หนึ่งเป็น ภิกษุหรือเป็นภิกษุณีก็ตาม ละได้แล้ว เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการนี้ อันบุคคล ผู้ใดผู้หนึ่งเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ตัดได้ขาดแล้ว กลางคืนหรือกลางวันที่ ผ่านมาถึงบุคคลนั้น บุคคลนั้นพึงหวังความเจริญอย่างเดียวในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีความเสื่อมเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนกลางคืนหรือกลางวันที่ ผ่านมาถึงพระจันทร์ในชุณหปักษ์ พระจันทร์นั้นย่อมเจริญด้วยสี ย่อมเจริญด้วย มณฑล ย่อมเจริญด้วยแสงสว่าง ย่อมเจริญด้วยส่วนยาวและส่วนกว้าง แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตาปูตรึงใจ ๕ ประการนี้ อันบุคคลผู้ใดผู้หนึ่งเป็นภิกษุหรือเป็น ภิกษุณีก็ตาม ละได้แล้ว เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการนี้ อันบุคคลผู้ใดผู้หนึ่งเป็น ภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ตัดได้ขาดแล้ว กลางคืนหรือกลางวันที่ผ่านมาถึงบุคคลนั้น บุคคลนั้นพึงหวังความเจริญอย่างเดียวในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีความเสื่อมเลย ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ
จบสูตรที่ ๕
อัปปมาทสูตร
[๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายมีประมาณเท่าใด ไม่มีเท้าก็ดี ๒ เท้าก็ดี ๔ เท้าก็ดี มีเท้ามากก็ดี มีรูปก็ดี ไม่มีรูปก็ดี มีสัญญาก็ดี ไม่มี สัญญาก็ดี มีสัญญาก็ไม่ใช่ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ก็ดี พระตถาคตอรหันตสัมมา- *สัมพุทธเจ้า บัณฑิตกล่าวว่าเป็นยอดของสัตว์เหล่านั้น ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล กุศลธรรมเหล่านั้นทั้งหมด มีความไม่ประมาทเป็นมูล ประชุมลงในความไม่ประมาท ความไม่ประมาท บัณฑิตกล่าวว่า เป็นยอดของกุศลธรรมเหล่านั้น ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย รอยเท้าของสัตว์ทั้งหลายที่เที่ยวไปบนแผ่นดิน เหล่าใด เหล่าหนึ่ง รอยเท้าเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมถึงความรวมลงในรอยเท้าช้าง รอย เท้าช้างโลกกล่าวว่า เป็นยอดของรอยเท้าเหล่านั้น เพราะความเป็นของใหญ่ แม้ ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล กุศลธรรมเหล่านั้นทั้งหมด มีความไม่ประมาทเป็นมูล ประชุมลงในความไม่ ประมาท ความไม่ประมาทบัณฑิตกล่าวว่า เป็นยอดของกุศลธรรมเหล่านั้น ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย กลอนเหล่าใดเหล่าหนึ่งของเรือนยอด กลอนเหล่านั้น ทั้งหมด ไปหายอด น้อมไปสู่ยอด รวมที่ยอด ยอดโลกกล่าวว่า เป็นยอดของ กลอนเหล่านั้น แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็ฉัน นั้นเหมือนกันแล ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย กลิ่นหอมที่เกิดแต่รากชนิดใดชนิดหนึ่ง กฤษณา โลก กล่าวว่า เป็นยอดแห่งกลิ่นหอมที่เกิดแต่รากเหล่านั้น แม้ฉันใด ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย กลิ่นหอมที่เกิดแต่แก่นชนิดใดชนิดหนึ่ง จันทน์แดง โลกกล่าวว่า เป็นยอดของกลิ่นหอมที่เกิดขึ้นแต่แก่นเหล่านั้น แม้ฉันใด ดูกร ภิกษุทั้งหลาย กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย กลิ่นหอมที่เกิดแต่ดอกชนิดใดชนิดหนึ่ง ดอกมะลิ โลก กล่าวว่า เป็นยอดแห่งกลิ่นหอมเกิดแต่ดอกเหล่านั้น แม้ฉันใด ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระราชาน้อยเหล่าใดเหล่าหนึ่ง พระราชาเหล่านั้น ทั้งหมด ย่อมเป็นอนุยนต์ไปตามพระเจ้าจักรพรรดิ พระเจ้าจักรพรรดิโลกกล่าวว่า เป็นยอดของพระราชาเหล่านั้น แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุศลธรรมเหล่าใด เหล่าหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แสงสว่างแห่งดวงดาวเหล่าใดเหล่าหนึ่ง แสงสว่าง เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ อันบัณฑิตแบ่งออกแล้ว ๑๖ ครั้ง ของ แสงสว่างแห่งดวงจันทร์ แสงสว่างแห่งดวงจันทร์โลกกล่าวว่า เป็นยอดแห่งแสง สว่างเหล่านั้น แม้ฉันใดดูกรภิกษุทั้งหลาย กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็ฉันนั้น เหมือนกันแล ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสรทฤดู เมื่อฝนขาดปราศจากเมฆแล้ว ดวงอาทิตย์ โผล่ขึ้นสู่ท้องฟ้า กำจัดความมืดที่มีในอากาศทั้งหมดแล้ว ย่อมส่องแสง แผด แสงและแจ่มกระจ่าง แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำใหญ่ๆ สายใดสายหนึ่ง คือ แม่น้ำคงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี แม่น้ำเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมเป็นสายน้ำไหลไป หาสมุทร โน้มไปสู่สมุทร น้อมไปสู่สมุทร โอนไปสู่สมุทร มหาสมุทร โลกกล่าวว่า เป็นยอดแห่งแม่น้ำเหล่านั้น แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุศลธรรมเหล่าใดเหล่า หนึ่งก็ฉันนั้นเหมือนกันแล กุศลธรรมเหล่านั้นทั้งหมด มีความไม่ประมาทเป็นมูล ประชุมลงในความไม่ประมาท ความไม่ประมาทบัณฑิตกล่าวว่า เป็นยอดของ กุศลธรรมเหล่านั้น ฯลฯ
จบสูตรที่ ๕
อาหุเนยยสูตร
[๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๑๐ จำพวกนี้ เป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็นนาบุญของ โลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ๑๐ จำพวกเป็นไฉน คือ พระตถาคตอรหันต- *สัมมาสัมพุทธเจ้า ๑ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ๑ ท่านผู้เป็นอุภโตภาควิมุต ๑ ท่าน ผู้เป็นปัญญาวิมุต ๑ ท่านผู้เป็นกายสักขี ๑ ท่านผู้เป็นทิฏฐิปัตตะ ๑ ท่านผู้เป็น สัทธาวิมุต ๑ ผู้เป็นธัมมานุสารี ๑ ท่านผู้เป็นสัทธานุสารี ๑ ท่านผู้เป็นโคตรภู ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๑๐ จำพวกนี้แล เป็นผู้ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญ ของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ฯ
จบสูตรที่ ๖
นาถสูตรที่ ๑
[๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีที่พึ่งอยู่เถิด อย่าเป็นผู้ ไม่มีที่พึ่งอยู่เลย (เพราะว่า) บุคคลผู้ไม่มีที่พึ่งย่อมอยู่เป็นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันกระทำที่พึ่ง ๑๐ ประการนี้ ๑๐ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมในปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและ โคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท ทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขา บททั้งหลาย นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้สดับ มาก ทรงจำไว้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ ซึ่งธรรมอันงามใน เบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็น พหูสูต ฯลฯ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี นี้เป็นธรรมกระทำ ที่พึ่ง ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย คือ ประกอบด้วยธรรมเครื่องกระทำ ความเป็นผู้ว่าง่าย เป็นผู้อดทน รับอนุศาสนีโดยเคารพ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย คือ เป็นผู้ประกอบด้วยธรรมเครื่องกระทำความเป็นผู้ว่าง่าย เป็น ผู้อดทน รับอนุสาสนีโดยเคารพ นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านในกิจที่ควรทำอย่างไร ทั้งสูงทั้งต่ำ ของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา อันเป็นอุบายในกิจนั้น อาจทำ อาจจัดได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ ขยัน ไม่เกียจคร้านในกิจที่ควรทำอย่างไร ทั้งสูงทั้งต่ำ ของเพื่อนพรหมจรรย์ ทั้งหลาย ฯลฯ อาจทำ อาจจัดได้ นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ใคร่ในธรรม เป็นผู้ฟังและแสดงธรรมอัน เป็นที่รัก มีความปราโมทย์อย่างยิ่งในธรรมอันยิ่ง ในวินัยอันยิ่ง ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ใคร่ในธรรม เป็นผู้ฟังและแสดงธรรมอันเป็นที่รัก มี ความปราโมทย์อย่างยิ่งในธรรมอันยิ่ง ในวินัยอันยิ่ง นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรมทั้งหลาย เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ปรารภ ความเพียร เพื่อละอกุศลธรรมทั้งหลาย เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย นี้เป็น ธรรมกระทำที่พึ่ง ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ เภสัชบริขารอันเป็นปัจจัยของคนไข้ ตามมีตามได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุ เป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัชบริขารอันเป็นปัจจัยของ คนไข้ ตามมีตามได้ นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีสติ คือ ประกอบด้วยสติเป็นเครื่องรักษา ตนอย่างยิ่ง ระลึกได้ ตามระลึกได้ซึ่งสิ่งที่ทำคำที่พูดแล้วแม้นานได้ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีสติ คือ ประกอบด้วยสติเป็นเครื่องรักษาตนอย่างยิ่ง ระลึกได้ ตามระลึกได้ซึ่งสิ่งที่ทำคำที่พูดแล้วแม้นานได้ นี้ เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญา อันเห็นความ เกิดความดับ เป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีปัญญา คือประกอบด้วยปัญญาอันเห็นความเกิดความ ดับ เป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบนี้ เป็นธรรมกระทำ ที่พึ่ง ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีที่พึ่งอยู่เถิด อย่าเป็นผู้ไม่มีที่พึ่ง อยู่เลย (เพราะว่า) บุคคลผู้ไม่มีที่พึ่งย่อมอยู่เป็นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม กระทำที่พึ่ง ๑๐ ประการนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๗
นาถสูตรที่ ๒
[๑๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีที่พึ่งอยู่เถิด อย่าเป็นผู้ ไม่มีที่พึ่งอยู่เลย (เพราะว่า) บุคคลผู้ไม่มีที่พึ่งย่อมอยู่เป็นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันกระทำที่พึ่ง ๑๐ ประการนี้ ๑๐ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ภิกษุผู้ เป็นเถระก็ดี เป็นมัชฌิมะก็ดี เป็นนวกะก็ดี ย่อมสำคัญภิกษุนั้นว่า ภิกษุนี้เป็นผู้มี ศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลายหนอ ดังนี้ ว่าเป็นผู้พึงว่ากล่าว สั่งสอน ภิกษุนั้นอันภิกษุผู้เป็นเถระ ผู้เป็นมัชฌิมะ ผู้เป็นนวกะ อนุเคราะห์แล้ว พึงหวังความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลายอย่างเดียว ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย นี้ เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นพหูสูต ฯลฯ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ ภิกษุ ทั้งหลายผู้เป็นเถระก็ดี ผู้เป็นมัชฌิมะก็ดี ผู้เป็นนวกะก็ดี ย่อมสำคัญภิกษุนั้นว่า ภิกษุนี้เป็นพหูสูต ฯลฯ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิหนอ ดังนี้ ว่าเป็นผู้พึงว่ากล่าว สั่งสอน ภิกษุนั้นอันภิกษุผู้เป็นเถระ ผู้เป็นมัชฌิมะ ผู้เป็นนวกะ อนุเคราะห์ แล้ว พึงหวังความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลายอย่างเดียว ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี ภิกษุทั้งหลาย ผู้เป็นเถระก็ดี เป็นมัชฌิมะก็ดี เป็นนวกะก็ดี ย่อมสำคัญภิกษุนั้นว่า ภิกษุนี้มี มิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดีหนอ ดังนี้ ว่าเป็นผู้พึงว่ากล่าวสั่งสอน ภิกษุนั้นอัน ภิกษุผู้เป็นเถระ ผู้เป็นมัชฌิมะ ผู้เป็นนวกะ อนุเคราะห์แล้ว พึงหวังความเจริญ ในกุศลธรรมทั้งหลายอย่างเดียว ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย นี้เป็นธรรมกระทำ ที่พึ่ง ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย คือ ประกอบด้วยธรรมเครื่องกระทำ ความเป็นผู้ว่าง่าย เป็นผู้อดทน รับอนุสาสนีโดยเคารพ ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระ ก็ดี เป็นมัชฌิมะก็ดี เป็นนวกะก็ดี ย่อมสำคัญภิกษุนั้นว่า ภิกษุนี้เป็นผู้ว่าง่าย คือ ประกอบด้วยธรรมเครื่องกระทำความเป็นผู้ว่าง่าย เป็นผู้อดทน รับอนุสาสนี โดยเคารพหนอ ดังนี้ ว่าเป็นผู้พึงว่ากล่าวสั่งสอน ภิกษุนั้นอันภิกษุผู้เป็นเถระ ผู้เป็นมัชฌิมะ ผู้เป็นนวกะ อนุเคราะห์แล้ว พึงหวังความเจริญในกุศลทั้งหลาย อย่างเดียว ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน ในกิจที่ควรทำอย่างไร ทั้งสูงทั้งต่ำ ของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาเครื่อง พิจารณาอันเป็นอุบายในกิจนั้น อาจทำ อาจจัดได้ ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระก็ดี เป็นมัชฌิมะก็ดี เป็นนวกะก็ดี ย่อมสำคัญภิกษุนั้นว่า ภิกษุนี้เป็นผู้ขยัน ไม่เกียจ คร้านในกิจที่ควรทำอย่างไร ทั้งสูงทั้งต่ำ ของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย เป็นผู้ ประกอบด้วยปัญญาเครื่องพิจารณาอันเป็นอุบายในกิจนั้น อาจทำ อาจจัดได้หนอ ดังนี้ ว่าเป็นผู้พึงว่ากล่าวสั่งสอน ภิกษุนั้น อันภิกษุผู้เป็นเถระ ผู้เป็นมัชฌิมะ ผู้เป็นนวกะ อนุเคราะห์แล้ว พึงหวังความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลายอย่างเดียว ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ใคร่ในธรรม เป็นผู้ฟังและแสดงธรรมอัน เป็นที่รัก มีความปราโมทย์อย่างยิ่งในธรรมอันยิ่ง ในวินัยอันยิ่ง ภิกษุทั้งหลายผู้ เป็นเถระก็ดี เป็นมัชฌิมะก็ดี เป็นนวกะก็ดี ย่อมสำคัญภิกษุนั้นว่า ภิกษุนี้เป็น ผู้ใคร่ในธรรม เป็นผู้ฟังและแสดงธรรมอันเป็นที่รัก มีความปราโมทย์อย่างยิ่งใน ธรรมอันยิ่ง ในวินัยอันยิ่งหนอ ดังนี้ ว่าเป็นผู้พึงว่ากล่าวสั่งสอน ภิกษุนั้นอัน ภิกษุผู้เป็นเถระ ผู้เป็นมัชฌิมะ ผู้เป็นนวกะ อนุเคราะห์แล้ว พึงหวังความเจริญใน กุศลธรรมทั้งหลายอย่างเดียวไม่พึงหวังความเสื่อมเลย นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรมทั้งหลาย เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระก็ดี เป็นมัชฌิมะก็ดี เป็น นวกะก็ดี ย่อมสำคัญภิกษุนั้นว่า ภิกษุนี้เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศล ธรรมทั้งหลาย เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นผู้มีกำลัง มีความ บากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่หนอ ดังนี้ ว่าเป็นผู้พึงว่า กล่าวสั่งสอน ภิกษุนั้นอันภิกษุผู้เป็นเถระ ผู้เป็นมัชฌิมะ ผู้เป็นนวกะ อนุเคราะห์แล้ว พึงหวังความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลายอย่างเดียว ไม่พึงหวัง ความเสื่อมเลย นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ เภสัชบริขารอันเป็นปัจจัยแก่คนไข้ ตามมีตามได้ ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระก็ดี เป็นมัชฌิมะก็ดี เป็นนวกะก็ดี ย่อมสำคัญภิกษุนั้นว่า ภิกษุนี้เป็นผู้สันโดษด้วย จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัชบริขารอันเป็นปัจจัยแก่คนไข้ ตามมี ตามได้หนอ ดังนี้ ว่าเป็นผู้พึงว่ากล่าวสั่งสอน ภิกษุนั้นอันภิกษุผู้เป็นเถระ ผู้เป็นมัชฌิมะ ผู้เป็นนวกะ อนุเคราะห์แล้ว พึงหวังความเจริญในกุศลธรรม ทั้งหลายอย่างเดียว ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีสติ คือ ประกอบด้วยสติเป็นเครื่องรักษา ตนอย่างยิ่ง ระลึกได้ ตามระลึกได้ ซึ่งสิ่งที่ทำคำที่พูดแล้วแม้นานได้ ภิกษุ ทั้งหลายผู้เป็นเถระก็ดี เป็นมัชฌิมะก็ดี เป็นนวกะก็ดี ย่อมสำคัญภิกษุนั้นว่า ภิกษุนี้เป็นผู้มีสติ คือ ประกอบด้วยสติเป็นเครื่องรักษาตนอย่างยิ่ง ระลึกได้ ตามระลึกได้ ซึ่งสิ่งที่ทำคำที่พูดแล้วแม้นานได้หนอ ดังนี้ ว่าเป็นผู้พึงว่ากล่าว สั่งสอน ภิกษุนั้นอันภิกษุผู้เป็นเถระ ผู้เป็นมัชฌิมะ ผู้เป็นนวกะ อนุเคราะห์ แล้ว พึงหวังความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลายอย่างเดียว ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญา อันเห็น ความเกิดความดับ เป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ภิกษุ ทั้งหลายผู้เป็นเถระก็ดี เป็นมัชฌิมะก็ดี เป็นนวกะก็ดี ย่อมสำคัญภิกษุนั้นว่า ภิกษุนี้ เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาอันเห็นความเกิดความดับ เป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบหนอ ดังนี้ ว่าเป็นผู้พึงว่ากล่าวสั่งสอน ภิกษุนั้นอันภิกษุผู้เป็นเถระ ผู้เป็นมัชฌิมะ ผู้เป็นนวกะ อนุเคราะห์แล้ว พึงหวัง ความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลายอย่างเดียว ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย นี้เป็นธรรม กระทำที่พึ่ง ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีที่พึ่งอยู่เถิด อย่าเป็นผู้ไม่มี ที่พึ่งอยู่เลย (เพราะว่า) บุคคลผู้ไม่มีที่พึ่ง ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันกระทำที่พึ่ง ๑๐ ประการนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๘
อริยวสสูตรที่ ๑
[๑๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นที่อยู่แห่งพระอริยะ ที่พระอริยะอยู่แล้ว ก็ดี กำลังอยู่ก็ดี จักอยู่ก็ดี ๑๐ ประการนี้ ๑๐ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละองค์ ๕ ได้แล้ว ๑ ประกอบด้วยองค์ ๖ ๑ รักษาแต่อย่าง เดียว ๑ มีธรรมเป็นที่พักพิง ๔ ประการ ๑ มีปัจเจกสัจจะบรรเทาได้แล้ว ๑ มีการ แสวงหาอันสละเสียแล้วด้วยดี ๑ มีความดำริไม่ขุ่นมัว ๑ มีกายสังขารอันสงบ ระงับแล้ว ๑ มีจิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี ๑ มีปัญญาอันหลุดพ้นแล้วด้วยดี ๑ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นที่อยู่แห่งพระอริยะ ที่พระอริยะอยู่แล้วก็ดี กำลังอยู่ก็ดี จักอยู่ก็ดี ๑๐ ประการนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๙
อริยวสสูตรที่ ๒
[๒๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่นิคมของชาวกุรุ ชื่อ กัมมาสธรรม ในแคว้นกุรุ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นที่อยู่แห่งพระอริยะ ที่พระอริยะอยู่แล้วก็ดี กำลังอยู่ก็ดี จักอยู่ก็ดี ๑๐ ประการนี้ ๑๐ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรม วินัยนี้เป็นผู้ละองค์ ๕ ได้แล้ว ๑ ประกอบด้วยองค์ ๖ ๑ รักษาแต่อย่างเดียว ๑ มีธรรมเป็นที่พักพิง ๔ ประการ ๑ มีปัจเจกสัจจะบรรเทาได้แล้ว ๑ มีการแสวงหา อันสละแล้วด้วยดี ๑ มีความดำริไม่ขุ่นมัว ๑ มีกายสังขารอันสงบระงับแล้ว ๑ มีจิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี ๑ มีปัญญาอันหลุดพ้นแล้วด้วยดี ๑ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้ละองค์ ๕ ได้แล้วอย่างไร ภิกษุในธรรม วินัยนี้ เป็นผู้ละกามฉันทะได้แล้ว ๑ เป็นผู้ละพยาบาทได้แล้ว ๑ เป็นผู้ละ ถีนมิทธะได้แล้ว ๑ เป็นผู้ละอุทธัจจกุกกุจจะได้แล้ว ๑ เป็นผู้ละวิจิกิจฉาได้แล้ว ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ละองค์ ๕ ได้แล้วอย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ อย่างไร ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะอยู่ ฟังเสียงด้วยหู ... ดมกลิ่นด้วยจมูก ... ลิ้มรสด้วยลิ้น ... ถูก ต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ... รู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มี อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ อย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้รักษาแต่อย่างเดียวอย่างไร ภิกษุในธรรม วินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยใจอันรักษาด้วยสติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้รักษา แต่อย่างเดียว อย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้มีธรรมเป็นที่พักพิง ๔ ประการอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาแล้วย่อมเสพของอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วย่อมอดกลั้น ของอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วย่อมเว้นของอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วย่อมบรรเทา ของอย่างหนึ่ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีธรรมเป็นที่พักพิง ๔ ประการ อย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้มีปัจเจกสัจจะบรรเทาแล้วอย่างไร ปัจเจก สัจจะเป็นอันมากเหล่าใดเหล่าหนึ่งของสมณพราหมณ์เป็นอันมาก คือ สัจจะว่า โลกเที่ยงบ้าง โลกไม่เที่ยงบ้าง โลกมีที่สุดบ้าง โลกไม่มีที่สุดบ้าง ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้นบ้าง ชีพเป็นอื่น สรีระเป็นอื่นบ้าง สัตว์เมื่อตายไปย่อมเป็นอีกบ้าง สัตว์เมื่อตายไปย่อมไม่เป็นอีกบ้าง สัตว์เมื่อตายไปย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีก ก็มีบ้าง สัตว์เมื่อตายไปย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้บ้าง สัจจะ เหล่านั้นทั้งหมดเป็นของอันภิกษุในธรรมวินัยนี้บรรเทาได้แล้ว กำจัดออกแล้ว สละได้แล้ว คลายได้แล้ว พ้นได้แล้ว ละได้แล้ว สลัดได้เฉพาะแล้ว ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีปัจเจกสัจจะอันบรรเทาได้แล้วอย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้มีการแสวงหาอันสละได้แล้วด้วยดีอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละการแสวงหากามได้แล้ว เป็นผู้ละการแสวงหาภพได้ แล้วเป็นผู้สงบระงับการแสวงหาพรหมจรรย์ได้แล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็น ผู้มีการแสวงหาอันสละได้แล้วด้วยดีอย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้มีความดำริไม่ขุ่นมัวอย่างไร ภิกษุในธรรม วินัยนี้ เป็นผู้ละความดำริในกามได้แล้ว เป็นผู้ละความดำริในพยาบาทได้แล้ว เป็นผู้ละความดำริในวิหิงสาได้แล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีความดำริไม่ขุ่น มัวอย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้มีกายสังขารสงบระงับแล้วอย่างไร ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และ ดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีกายสังขารอันสงบระงับแล้ว อย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้มีจิตอันหลุดพ้นแล้วด้วยดีอย่างไร จิต ของภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นธรรมชาติหลุดพ้นแล้วจากราคะ หลุดพ้นแล้วจาก โทสะ หลุดพ้นแล้วจากโมหะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีจิตอันหลุดพ้น แล้วด้วยดี อย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้มีปัญญาหลุดพ้นแล้วด้วยดีอย่างไร ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดว่า ราคะเราละได้แล้ว ตัดรากได้ขาดแล้ว ทำให้เป็น เหมือนตาลยอดด้วน ทำให้ไม่มี มีอันไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา ย่อมรู้ ชัดว่า โทสะเราละได้แล้ว ฯลฯ ย่อมรู้ชัดว่า โมหะเราละได้แล้ว ตัดรากได้ ขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำให้ไม่มี มีอันไม่เกิดอีกต่อไปเป็น ธรรมดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีปัญญาอันหลุดพ้นแล้วด้วยดีอย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็พระอริยเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาลอยู่อาศัย แล้วซึ่งธรรมเป็นที่อยู่ของพระอริยเจ้า ๑๐ ประการเหล่านี้เทียว พระอริยเจ้าเหล่า ใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาล จักอยู่อาศัยซึ่งธรรมเป็นที่อยู่ของพระอริยเจ้า ๑๐ ประการเหล่านี้เทียว พระอริยเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบันนี้ อยู่อาศัยซึ่งธรรม เป็นที่อยู่ของพระอริยเจ้า พระอริยเจ้าเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมอยู่อาศัยซึ่งธรรมเป็น ที่อยู่ของพระอริยเจ้า ๑๐ ประการเหล่านี้เทียว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นที่อยู่ ของพระอริยเจ้า ที่พระอริยเจ้าอยู่อาศัยแล้วก็ดี กำลังอยู่อาศัยก็ดี จักอยู่อาศัยก็ดี ๑๐ ประการนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
จบนาถกรณวรรคที่ ๒
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. เสนาสนสูตร ๒. อังคสูตร ๓. สังโยชนสูตร ๔. ขีลสูตร ๕. อัปปมาทสูตร ๖. อาหุเนยยสูตร ๗. นาถสูตรที่ ๑ ๘. นาถสูตรที่ ๒ ๙. อริยวสสูตรที่ ๑ ๑๐. อริยวสสูตรที่ ๒ ฯ
-----------------------------------------------------
มหาวรรคที่ ๓
สีหสูตร
[๒๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเวลาเย็น สีหมฤคราช ย่อมออกจากที่ อาศัย ครั้นแล้วย่อมเหยียดดัดตัว ครั้นแล้ว ย่อมเหลียวดูทิศทั้ง ๔ โดยรอบ ครั้นแล้วย่อมบันลือสีหนาทสามครั้ง ครั้นแล้ว ย่อมหลีกไปเพื่อหากิน ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะมันคิดว่า เราอย่าได้ยังสัตว์ตัวเล็กๆ ผู้ไปในที่หากินอัน ไม่สม่ำเสมอให้ถึงการถูกฆ่าเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำว่าสีหะนี้แล เป็นชื่อแห่ง พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย การที่ตถาคตแสดงธรรม แก่บริษัท เป็นสีหนาทของตถาคต ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตประกอบด้วยกำลังเหล่าใด ย่อมปฏิญาณฐานะ ของผู้เป็นโจกบันลือสีหนาท ประกาศพรหมจักรในบริษัท กำลังของตถาคตมี ๑๐ ประการนี้ ๑๐ ประการเป็นไฉน ตถาคตย่อมรู้ชัดซึ่งฐานะโดยเป็นฐานะ และ อฐานะโดยเป็นอฐานะในโลกนี้ ตามเป็นจริง ดูกรภิกษุทั้งหลาย การที่ตถาคตรู้ ชัดซึ่งฐานะโดยเป็นฐานะ และอฐานะโดยเป็นอฐานะ ตามเป็นจริงนี้ เป็น กำลังของตถาคต ที่ตถาคตอาศัยปฏิญาณฐานะของผู้เป็นโจกบันลือสีหนาทประกาศ พรหมจักรในบริษัท ฯ อีกประการหนึ่ง ตถาคตย่อมรู้ชัดซึ่งวิบากแห่งการยึดถือการกระทำทั้งที่ เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน โดยฐานะ โดยเหตุตามเป็นจริง ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย การที่ตถาคตรู้ชัดซึ่งวิบากแห่งการยึดถือการกระทำที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน โดยฐานะ โดยเหตุตามเป็นจริงนี้ เป็นกำลังของตถาคต ที่ตถาคต อาศัยปฏิญาณฐานะของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทประกาศพรหมจักรในบริษัท ฯ อีกประการหนึ่ง ตถาคตย่อมรู้ชัดซึ่งปฏิปทาเครื่องให้ถึงประโยชน์ทั้งปวง ตามเป็นจริง ดูกรภิกษุทั้งหลาย การที่ตถาคตรู้ชัดซึ่งปฏิปทาเครื่องให้ถึงประโยชน์ ทั้งปวงตามเป็นจริงนี้ เป็นกำลังของตถาคต ที่ตถาคตอาศัยปฏิญาณฐานะของ ผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทประกาศพรหมจักรในบริษัท ฯ อีกประการหนึ่ง ตถาคตย่อมรู้ชัดซึ่งโลกอันมีธาตุเป็นอเนก มีธาตุต่างๆ ตามเป็นจริง ดูกรภิกษุทั้งหลาย การที่ตถาคตรู้ชัดซึ่งโลกอันมีธาตุเป็นอเนก มีธาตุต่างๆ ตามเป็นจริงนี้ เป็นกำลังของตถาคต ที่ตถาคตอาศัยปฏิญาณฐานะ ของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทประกาศพรหมจักรในบริษัท ฯ อีกประการหนึ่ง ตถาคตย่อมรู้ชัดซึ่งความที่สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีอัธยาศัย ต่างๆ กันตามเป็นจริง ดูกรภิกษุทั้งหลาย การที่ตถาคตรู้ชัดซึ่งความที่สัตว์ ทั้งหลายเป็นผู้มีอัธยาศัยต่างๆ กันตามเป็นจริงนี้ เป็นกำลังของตถาคต ที่ตถาคต อาศัยปฏิญาณฐานะของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทประกาศพรหมจักรในบริษัท ฯ อีกประการหนึ่ง ตถาคตย่อมรู้ชัดซึ่งความหย่อนและยิ่งแห่งอินทรีย์ของ สัตว์อื่นของบุคคลอื่นตามเป็นจริง ดูกรภิกษุทั้งหลาย การที่ตถาคตรู้ชัดซึ่งความ หย่อนและยิ่งแห่งอินทรีย์ของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นตามเป็นจริงนี้ เป็นกำลังของ ตถาคต ที่ตถาคตอาศัยปฏิญาณฐานะของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทประกาศ พรหมจักรในบริษัท ฯ อีกประการหนึ่ง ตถาคตย่อมรู้ชัดซึ่งความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว การออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติทั้งหลายตามเป็นจริง ดูกรภิกษุ ทั้งหลายการที่ตถาคตรู้ชัดซึ่งความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว การออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติทั้งหลายตามเป็นจริงนี้ เป็นกำลังของตถาคต ที่ตถาคต อาศัยปฏิญาณฐานะของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทประกาศพรหมจักรในบริษัท ฯ อีกประการหนึ่ง ตถาคตย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ชาติหนึ่ง บ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติ สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏกัปวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่าง นี้ มีผิวพรรณอย่างนี้ มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนี้ๆ มีกำหนด อายุเพียงเท่านี้ ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เรา ก็มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ มีผิวพรรณอย่างนี้ มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขเสวย ทุกข์อย่างนี้ๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านี้ ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพ นี้ ย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วย ประการฉะนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การที่ตถาคตระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ ย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ เป็นกำลังของตถาคต ที่ตถาคต อาศัยปฏิญาณฐานะของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทประกาศพรหมจักรในบริษัท ฯ อีกประการหนึ่ง ตถาคตย่อมเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบ ด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฐิ ยึดถือการ กระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฐิ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระ อริยเจ้า เป็นสัมมาทิฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฐิ เมื่อตายไปย่อมเข้า ถึงสุคติโลกสวรรค์ ตถาคตย่อมเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุ มนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การที่ตถาคตเห็นสัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มี ผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุมนุษย์ รู้ชัดซึ่งหมู่ สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ฯลฯ นี้ เป็นกำลังของตถาคต ที่ตถาคตอาศัยปฏิญาณ ฐานะของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทประกาศพรหมจักรในบริษัท ฯ อีกประการหนึ่ง ตถาคตกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหา อาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้า ถึงอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การที่ตถาคตกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ แม้นี้ ก็เป็นกำลังของตถาคต ที่ตถาคตอาศัยปฏิญาณฐานะของผู้เป็น โจก บันลือสีหนาทประกาศพรหมจักรในบริษัท ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตประกอบด้วยกำลังเหล่าใด ปฏิญาณฐานะของ ผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทประกาศพรหมจักรในบริษัท กำลังของตถาคตเหล่านั้น ๑๐ ประการนี้แล ฯ
จบสีหสูตร
อธิมุตติสูตร
[๒๒] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วพระผู้มี พระภาคได้ตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า ดูกรอานนท์ ธรรมเหล่าใด ย่อมเป็นไป พร้อมเพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่งอธิมุตติบท ๑- เหล่านั้น ดูกรอานนท์ เรา เป็นผู้แกล้วกล้าปฏิญาณในธรรมเหล่านั้น เพื่ออันรู้ที่อาศัยของธรรมเหล่านั้นๆ แล้วแสดงธรรม โดยประการที่บุคคลผู้ปฏิบัติแล้ว จักรู้ซึ่งธรรมที่มีอยู่ว่า มีอยู่ บ้าง จักรู้ซึ่งธรรมอันไม่มีอยู่ว่า ไม่มีอยู่บ้าง จักรู้ซึ่งธรรมเลวว่า เลวบ้าง จักรู้ ซึ่งธรรมประณีตว่า ประณีตบ้าง จักรู้ซึ่งธรรมอันมีธรรมอื่นยิ่งกว่าว่า มีธรรมอื่น ยิ่งกว่าบ้าง จักรู้ซึ่งธรรมที่ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าว่า ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าบ้าง ก็หรือ ว่าจักรู้ จักเห็น หรือจักทำให้แจ้ง โดยประการที่ธรรมนั้นอันบุคคลพึงรู้ พึงเห็น หรือพึงทำให้แจ้ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูกรอานนท์ ยถาภูตญาณในธรรม เหล่านั้นๆ เป็นยอดเยี่ยมกว่าญาณทั้งหลาย อนึ่ง เรากล่าวว่า ญาณอื่นอันยิ่ง กว่าหรือประณีตกว่าญาณนี้ไม่มี ฯ ดูกรอานนท์ ตถาคตประกอบด้วยกำลังเหล่าใด ย่อมปฏิญาณฐานะของ ผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทประกาศพรหมจักรในบริษัท กำลังแห่งตถาคตเหล่านั้น @๑. ขันธ์ อายตนะ ธาตุเป็นต้น หรือทิฐิ มี ๑๐ ประการนี้ ๑๐ ประการเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ตถาคตย่อมรู้ชัดซึ่งฐานะโดย เป็นฐานะ และอฐานะโดยเป็นอฐานะในโลกนี้ตามเป็นจริง ดูกรอานนท์ การที่ ตถาคตรู้ชัดซึ่งฐานะโดยเป็นอฐานะ และอฐานะโดยเป็นอฐานะตามเป็นจริงนี้ เป็น กำลังของตถาคต ที่ตถาคตอาศัยปฏิญาณฐานะของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาท ประกาศพรหมจักรในบริษัท ฯ อีกประการหนึ่ง ตถาคตย่อมรู้ชัดซึ่งวิบากแห่งการยึดถือการกระทำ ทั้งหลาย ทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน โดยฐานะ โดยเหตุตามเป็นจริง ดูกรอานนท์ การที่ตถาคตรู้ชัดซึ่งวิบากแห่งการยึดถือการกระทำทั้งหลาย ทั้งที่เป็น อดีต อนาคตและปัจจุบัน โดยฐานะ โดยเหตุตามเป็นจริง แม้นี้ เป็นกำลัง ของตถาคต ที่ตถาคตอาศัยปฏิญาณฐานะของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทประกาศ พรหมจักรในบริษัท ฯ อีกประการหนึ่ง ตถาคตย่อมรู้ชัดซึ่งปฏิปทาเครื่องให้ถึงประโยชน์ทั้งปวง ตามเป็นจริง ดูกรอานนท์ การที่ตถาคตรู้ชัดซึ่งปฏิปทาเครื่องให้ถึงประโยชน์ ทั้งปวงตามเป็นจริง แม้นี้ เป็นกำลังของตถาคต ที่ตถาคตอาศัยปฏิญาณฐานะของ ผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทประกาศพรหมจักรในบริษัท ฯ อีกประการหนึ่ง ตถาคตย่อมรู้ชัดซึ่งโลกอันมีธาตุเป็นอเนก มีธาตุต่างๆ ตามเป็นจริง ดูกรอานนท์ การที่ตถาคตรู้ชัดซึ่งโลกอันมีธาตุเป็นอเนก มีธาตุ ต่างๆ ตามเป็นจริง แม้นี้ เป็นกำลังของตถาคต ที่ตถาคตอาศัยปฏิญาณฐานะ ของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทประกาศพรหมจักรในบริษัท ฯ อีกประการหนึ่ง ตถาคตย่อมรู้ชัดซึ่งความที่สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีอัธยาศัย ต่างๆ กันตามเป็นจริง ดูกรอานนท์ การที่ตถาคตรู้ชัดซึ่งความที่สัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้มีอัธยาศัยต่างๆ กัน ตามเป็นจริง แม้นี้ เป็นกำลังของตถาคต ที่ตถาคต อาศัยปฏิญาณฐานะของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทประกาศพรหมจักรในบริษัท ฯ อีกประการหนึ่ง ตถาคตย่อมรู้ชัดซึ่งความหย่อนและยิ่งแห่งอินทรีย์ของ สัตว์อื่นของบุคคลอื่นตามเป็นจริง ดูกรอานนท์ การที่ตถาคตรู้ชัดซึ่งความหย่อน และยิ่งแห่งอินทรีย์ของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นตามเป็นจริงนี้ เป็นกำลังของตถาคต ที่ตถาคตอาศัยปฏิญาณฐานะของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทประกาศพรหมจักรใน บริษัท ฯ อีกประการหนึ่ง ตถาคตย่อมรู้ชัดซึ่งความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว การออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติทั้งหลายตามเป็นจริง ดูกรอานนท์ การที่ตถาคตรู้ชัดซึ่งความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว การออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติทั้งหลายตามเป็นจริงนี้ เป็นกำลังของตถาคต ที่ตถาคตอาศัย ปฏิญาณฐานะของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทประกาศพรหมจักรในบริษัท ฯ อีกประการหนึ่ง ตถาคตย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ชาติ หนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ ย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ ดูกรอานนท์การที่ตถาคตระลึกถึงชาติก่อนได้ เป็นอันมาก ฯลฯ นี้ เป็นกำลังของตถาคต ที่ตถาคตอาศัยปฏิญาณฐานะของผู้เป็น โจกบันลือสีหนาทประกาศพรหมจักรในบริษัท ฯ อีกประการหนึ่ง ตถาคตย่อมเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังอุปบัติ ฯลฯ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุมนุษย์ ด้วยประการฉะนี้ ดูกรอานนท์ การที่ตถาคตเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอัน บริสุทธิ์ล่วงจักษุมนุษย์ รู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ฯลฯ นี้เป็นกำลังของ ตถาคต ที่ตถาคตอาศัยปฏิญาณฐานะของผู้เป็นโจกบันลือสีหนาทประกาศพรหม- *จักรในบริษัท ฯ อีกประการหนึ่ง ตถาคตทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ดูกรอานนท์ การที่ตถาคตทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะ ทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่นี้ เป็นกำลังของ ตถาคต ที่ตถาคตอาศัยปฏิญาณฐานะของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทประกาศพรหม- *จักรในบริษัท ฯ ดูกรอานนท์ ตถาคตประกอบด้วยกำลังเหล่าใด ย่อมปฏิญาณฐานะของ ผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทประกาศพรหมจักรในบริษัท กำลังของตถาคตเหล่านั้นมี ๑๐ ประการนี้แล ฯ
จบอธิมุตติสูตร
กายสูตร
[๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันบุคคลพึงละด้วยกาย มิใช่ด้วยวาจา มีอยู่ ธรรมอันบุคคลพึงละด้วยวาจา มิใช่ด้วยกายมีอยู่ ธรรมอันบุคคลพึงละด้วย กายไม่ได้ด้วยวาจาไม่ได้ พึงเห็นชัดด้วยปัญญาแล้วจึงละได้มีอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันบุคคลพึงละด้วยกาย มิใช่ด้วยวาจาเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ต้องส่วนอาบัติไรๆ อันเป็นอกุศลด้วยกาย เพื่อน พรหมจารีทั้งหลายผู้เป็นวิญญูใคร่ครวญแล้ว ได้กล่าวกะภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้ มีอายุเป็นผู้ต้องแล้วซึ่งส่วนอาบัติไรๆ อันเป็นอกุศลด้วยกาย เป็นการดีหนอ ที่ ท่านผู้มีอายุจงละกายทุจริต บำเพ็ญกายสุจริต ภิกษุนั้นอันเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายผู้ เป็นวิญญูใคร่ครวญแล้วกล่าวอยู่ ย่อมละกายทุจริต บำเพ็ญกายสุจริต ดูกรภิกษุ ทั้งหลายธรรมเหล่านี้ เรียกว่าอันบุคคลพึงละด้วยกาย ไม่ใช่ด้วยวาจา ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันบุคคลพึงละด้วยวาจา มิใช่ด้วยกายเป็น ไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ต้องส่วนอาบัติไรๆ อันเป็น อกุศลด้วยวาจา เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายผู้เป็นวิญญูใคร่ครวญแล้ว ได้กล่าวกะ ภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุเป็นผู้ต้องแล้วซึ่งส่วนอาบัติไรๆ อันเป็นอกุศล ด้วยวาจา เป็นการดีหนอ ที่ท่านผู้มีอายุจงละวจีทุจริต บำเพ็ญวจีสุจริต ภิกษุนั้น อันเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายผู้เป็นวิญญูใคร่ครวญแล้ว ว่ากล่าวอยู่ ละวจีทุจริต บำเพ็ญวจีสุจริต ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ เรียกว่าอันบุคคลพึงละด้วยวาจา มิใช่ด้วยกาย ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันบุคคลพึงละด้วยกายไม่ได้ ละด้วยวาจาไม่ ได้ พึงเห็นชัดด้วยปัญญาแล้วจึงละได้ เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย โลภะอัน บุคคลพึงละด้วยกายไม่ได้ ด้วยวาจาไม่ได้ พึงเห็นชัดด้วยปัญญาแล้วจึงละได้ โทสะ ... โมหะ ... โกธะ ... อุปนาหะ ... มักขะ ... ปฬาสะ ... มัจฉริยะ ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความริษยาอันชั่วช้า อันบุคคลพึงละด้วยกายไม่ได้ ด้วย วาจาไม่ได้ พึงเห็นชัดด้วยปัญญาแล้วจึงละได้ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความริษยาอันชั่วช้าเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย คฤหบดีหรือบุตรแห่งคฤหบดีในโลกนี้ ย่อมสมบูรณ์ด้วยทรัพย์ ข้าวเปลือก เงิน หรือทอง ทาสหรือคนเข้าไปอาศัยของคฤหบดีหรือบุตรแห่งคฤหบดีผู้ใดผู้หนึ่ง ย่อมคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ คฤหบดีหรือบุตรแห่งคฤหบดีนี้ ไม่พึงสมบูรณ์ด้วย ทรัพย์ ข้าวเปลือก เงินหรือทอง อนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์เป็นผู้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัชบริขารอันเป็นปัจจัยแก่คนไข้ สมณะหรือ พราหมณ์ผู้ใดผู้หนึ่ง ย่อมคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ ท่านผู้มีอายุนี้ ไม่พึงได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัชบริขารอันเป็นปัจจัยแก่คนไข้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าความริษยาอันชั่วช้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความริษยาอันชั่วช้า อันบุคคล พึงละด้วยกายไม่ได้ ด้วยวาจาไม่ได้ พึงเห็นชัดด้วยปัญญาแล้วจึงละได้ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความปรารถนาอันชั่วช้า อันบุคคลพึงละด้วยกายไม่ ได้ ด้วยวาจาไม่ได้ พึงเห็นชัดด้วยปัญญาแล้วจึงละได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ ความปรารถนาอันชั่วช้าเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ ไม่มีศรัทธา ย่อมปรารถนาว่า คนทั้งหลายพึงรู้เราว่า เป็นผู้มีศรัทธา เป็นผู้ทุศีล ย่อมปรารถนาว่า คนทั้งหลายพึงรู้ว่าเรา เป็นผู้มีศีล เป็นผู้ได้สดับน้อย ย่อม ปรารถนาว่า คนทั้งหลายพึงรู้เราว่า เป็นผู้ได้สดับมาก เป็นผู้มีความยินดีในการ คลุกคลีด้วยหมู่คณะ ย่อมปรารถนาว่า คนทั้งหลายพึงรู้เราว่า เป็นผู้ชอบสงัด เป็นผู้เกียจคร้าน ย่อมปรารถนาว่า คนทั้งหลายพึงรู้เราว่า เป็นผู้ปรารภความเพียร เป็นผู้มีสติหลงลืม ย่อมปรารถนาว่า คนทั้งหลายพึงรู้เราว่า เป็นผู้มีสติตั้งมั่น เป็นผู้มีใจไม่ตั้งมั่น ย่อมปรารถนาว่า คนทั้งหลายพึงรู้เราว่า เป็นผู้มีใจตั้งมั่น เป็นผู้มีปัญญาทราม ย่อมปรารถนาว่า คนทั้งหลายพึงรู้เราว่า เป็นผู้มีปัญญา เป็น ผู้ยังไม่สิ้นอาสวะ ย่อมปรารถนาว่า คนทั้งหลายพึงรู้เราว่า เป็นผู้สิ้นอาสวะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าความปรารถนาอันชั่วช้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความ ปรารถนาอันชั่วช้า อันบุคคลพึงละด้วยกายไม่ได้ ด้วยวาจาไม่ได้ พึงเห็นชัดด้วย ปัญญาแล้วจึงละได้ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากว่าโลภะครอบงำภิกษุนั้นเป็นไป หากว่าโทสะ โมหะ โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปฬาสะ มัจฉริยะ ความริษยาอันชั่วช้า ความ ปรารถนาอันชั่วช้า ครอบงำภิกษุนั้นเป็นไป ภิกษุนั้นอันบุคคลพึงรู้อย่างนี้ว่า โลภะย่อมไม่มีแก่ท่านผู้รู้ ฉันใด ท่านผู้มีอายุนี้หารู้ฉันนั้นไม่ เพราะฉะนั้น โลภะจึงครอบงำท่านผู้มีอายุนี้ โทสะ โมหะ ... ความริษยาอันชั่วช้า ความ ปรารถนาอันชั่วช้า ย่อมไม่มีแก่ท่านผู้รู้ ฉันใด ท่านผู้มีอายุนี้หารู้ฉันนั้นไม่ เพราะฉะนั้น โทสะ โมหะ ... ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า จึงครอบงำท่านผู้มีอายุนี้ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากว่าโลภะไม่ครอบงำภิกษุนั้นเป็นไป หากว่าโทสะ โมหะ ... ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า ย่อมไม่ครอบงำภิกษุนั้น เป็นไป ภิกษุนั้นอันบุคคลพึงรู้อย่างนี้ว่า โลภะย่อมไม่มีแก่ท่านผู้รู้ ฉันใด ท่าน ผู้มีอายุนี้ย่อมรู้ชัด ฉันนั้น เพราะฉะนั้นโลภะจึงไม่ครอบงำท่านผู้มีอายุนี้ โทสะ โมหะ ... ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า ย่อมไม่มีแก่ท่านผู้รู้ ฉันใด ท่านผู้มีอายุนี้ย่อมรู้ ฉันนั้น เพราะฉะนั้นโทสะ โมหะ ... ความริษยา อันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า จึงไม่ครอบงำท่านผู้มีอายุนี้ ฯ
จบกายสูตร
มหาจุนทสูตร
[๒๔] สมัยหนึ่ง ท่านพระมหาจุนทะอยู่ที่ชาติวันในแคว้นเจตี ณ ที่ นั้นแล ท่านพระมหาจุนทะเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรอาวุโส ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ทั้งหลายรับคำท่านพระมหาจุนทะแล้ว ท่านพระมหาจุนทะได้กล่าวว่า ดูกรอาวุโส ทั้งหลาย ภิกษุเมื่อกล่าวอวดความรู้ ย่อมกล่าวว่า เรารู้ธรรมนี้ เราเห็นธรรมนี้ ดังนี้ ดูกรอาวุโสทั้งหลาย หากว่าโลภะย่อมครอบงำภิกษุนั้นตั้งอยู่ โทสะ โมหะ โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปฬาสะ มัจฉริยะ ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนา อันชั่วช้า ย่อมครอบงำภิกษุนั้นตั้งอยู่ ภิกษุนั้นอันบุคคลพึงรู้อย่างนี้ว่า โลภะย่อม ไม่มีแก่ท่านผู้รู้ ฉันใด ท่านผู้มีอายุนี้หารู้ฉันนั้นไม่ เพราะฉะนั้น โลภะจึง ครอบงำท่านผู้มีอายุนี้ตั้งอยู่ โทสะ โมหะ ... ความริษยาอันชั่วช้า ความ ปรารถนาอันชั่วช้า ย่อมไม่มีแก่ท่านผู้รู้ ฉันใด ท่านผู้มีอายุนี้หารู้ฉันนั้นไม่ เพราะฉะนั้น โทสะ โมหะ ... ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า จึงครอบงำท่านผู้มีอายุนี้ตั้งอยู่ ฯ ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุเมื่อกล่าวอวดภาวนา การอบรม ย่อมกล่าวว่า เรา เป็นผู้มีกายอบรมแล้ว มีศีลอบรมแล้ว มีจิตอบรมแล้ว มีปัญญาอบรมแล้ว ดัง นี้ ดูกรอาวุโสทั้งหลาย หากว่าโลภะย่อมครอบงำ ภิกษุนั้นตั้งอยู่ โทสะ โมหะ โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปฬาสะ มัจฉริยะ ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้าครอบงำภิกษุนั้นตั้งอยู่ ภิกษุนั้นอันบุคคลพึงรู้อย่างนี้ว่า โลภะย่อมไม่มีแก่ท่านผู้รู้ ฉันใด ท่านผู้มีอายุนี้หารู้ฉันนั้นไม่ เพราะฉะนั้น โลภะ จึงครอบงำท่านผู้มีอายุนี้ตั้งอยู่ โทสะ โมหะ ... ความริษยาอันชั่วช้า ความ ปรารถนาอันชั่วช้า ย่อมไม่มีแก่ท่านผู้รู้ ฉันใด ท่านผู้มีอายุนี้หารู้ฉันนั้นไม่ โทสะ โมหะ ... ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า จึงครอบงำผู้นี้ ตั้งอยู่ ฯ ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุเมื่อกล่าวอวดความรู้และอวดภาวนา ย่อม กล่าวว่า เรารู้ธรรมนี้ เราเห็นธรรมนี้ เราเป็นผู้มีกายอบรมแล้ว มีศีลอันอบรม แล้ว มีจิตอันอบรมแล้ว มีปัญญาอันอบรมแล้ว ดังนี้ ดูกรอาวุโสทั้งหลาย หากว่า โลภะครอบงำภิกษุนั้นตั้งอยู่ โทสะ โมหะ ... ความริษยาอันชั่วช้า ความ ปรารถนาอันชั่วช้า ครอบงำภิกษุนั้นตั้งอยู่ ภิกษุนั้นอันบุคคลพึงรู้อย่างนี้ว่า โลภะ ย่อมไม่มีแก่ท่านผู้รู้ ฉันใด ท่านผู้มีอายุนี้หารู้ฉันนั้นไม่ เพราะฉะนั้น โลภะจึง ครอบงำท่านผู้มีอายุนี้ตั้งอยู่ โทสะ โมหะ ... ความริษยาอันชั่วช้า ความ ปรารถนาอันชั่วช้า ย่อมไม่มีแก่ท่านผู้รู้ ฉันใด ท่านผู้มีอายุนี้หารู้ฉันนั้นไม่ เพราะฉะนั้น โทสะ โมหะ ... ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า จึงครอบงำท่านผู้มีอายุนี้ตั้งอยู่ ฯ ดูกรอาวุโสทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษเป็นคนยากจน พึงกล่าวอวด ความมั่งมี เป็นคนไม่มีทรัพย์ พึงกล่าวอวดทรัพย์ เป็นคนไม่มีโภคะ พึงกล่าว อวดโภคะ บุรุษนั้น เมื่อกิจอันจำต้องทำด้วยทรัพย์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ไม่ อาจจะนำทรัพย์ ข้าวเปลือก เงินหรือทองออกใช้จ่ายได้ คนทั้งหลายพึงรู้บุรุษนั้น อย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้เป็นคนยากจน ย่อมกล่าวอวดความมั่งมี เป็นคนไม่มีทรัพย์ ย่อมกล่าวอวดทรัพย์ เป็นคนไม่มีโภคะ ย่อมกล่าวอวดโภคะ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะท่านผู้นี้ เมื่อกิจอันจำต้องทำด้วยทรัพย์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ไม่อาจจะนำ ทรัพย์ข้าวเปลือก เงินหรือทองออกใช้จ่ายได้ ฉันใด ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุก็ ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อกล่าวอวดความรู้และอวดภาวนา ย่อมกล่าวว่า เรารู้ธรรม นี้ เราเห็นธรรมนี้ เราเป็นผู้มีกายอันอบรมแล้ว มีศีลอันอบรมแล้ว มีจิตอัน อบรมแล้ว มีปัญญาอันอบรมแล้ว ดังนี้ ดูกรอาวุโสทั้งหลาย หากว่าโลภะ ครอบงำภิกษุนั้นตั้งอยู่ โทสะ โมหะ ... ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนา อันชั่วช้า ครอบงำภิกษุนั้นตั้งอยู่ ภิกษุนั้นอันบุคคลพึงรู้อย่างนี้ว่า โลภะย่อมไม่ มีแก่ท่านผู้รู้ ฉันใด ท่านผู้มีอายุนี้หารู้ฉันนั้นไม่ เพราะฉะนั้น โลภะจึงครอบงำ ท่านผู้มีอายุนี้ตั้งอยู่ โทสะ โมหะ ... ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอัน ชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า ไม่มีแก่ท่านผู้รู้ ฉันใด ท่านผู้มีอายุนี้หารู้ฉันนั้น ไม่ เพราะฉะนั้น โทสะ โมหะ ... ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอัน ชั่วช้า จึงครอบงำท่านผู้มีอายุนี้ตั้งอยู่ ฯ ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุเมื่อกล่าวอวดความรู้ ย่อมกล่าวว่า เรารู้ธรรม นี้ เราเห็นธรรมนี้ ดังนี้ หากว่าโลภะไม่ครอบงำภิกษุนั้นตั้งอยู่ โทสะ โมหะ ... ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า ไม่ครอบงำภิกษุนั้นตั้งอยู่ ภิกษุ นั้นอันบุคคลพึงรู้อย่างนี้ว่า โลภะย่อมไม่มีแก่ท่านผู้รู้ ฉันใด ท่านผู้มีอายุนี้รู้ชัด ฉันนั้น เพราะฉะนั้น โลภะจึงไม่ครอบงำท่านผู้มีอายุนี้ตั้งอยู่ โทสะ โมหะ ... ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า ย่อมไม่มีแก่ท่านผู้รู้ ฉันใด ท่านผู้มี อายุนี้ย่อมรู้ชัด ฉันนั้น เพราะฉะนั้น โทสะ โมหะ ... ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า จึงไม่ครอบงำท่านผู้มีอายุนี้ตั้งอยู่ ฯ ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุเมื่อกล่าวอวดภาวนา ย่อมกล่าวว่า เราเป็น ผู้มีกายอันอบรมแล้ว มีศีลอันอบรมแล้ว มีจิตอันอบรมแล้ว มีปัญญาอันอบรม แล้ว ดังนี้ หากว่าโลภะไม่พึงครอบงำภิกษุนั้นตั้งอยู่ โทสะ โมหะ ... ความ ริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า ไม่ครอบงำภิกษุนั้นตั้งอยู่ ภิกษุนั้นอัน บุคคลพึงรู้อย่างนี้ว่า โลภะไม่มีแก่ท่านผู้รู้ ฉันใด ท่านผู้มีอายุนี้ย่อมรู้ชัด ฉันนั้น เพราะฉะนั้น โลภะจึงไม่ครอบงำท่านผู้มีอายุนี้ตั้งอยู่ โทสะ โมหะ ... ความ ริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า ไม่มีแก่ท่านผู้รู้ ฉันใด ท่านผู้มีอายุนี้ ย่อมรู้ชัด ฉันนั้น เพราะฉะนั้น โทสะ โมหะ ... ความริษยาอันชั่วช้า ความ ปรารถนาอันชั่วช้า จึงไม่ครอบงำท่านผู้มีอายุนี้ตั้งอยู่ ฯ ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุเมื่อกล่าวอวดความรู้และอวดภาวนา ย่อม กล่าวว่า เรารู้ธรรมนี้ เราเห็นธรรมนี้ เราเป็นผู้มีกายอันอบรมแล้ว มีศีลอัน อบรมแล้ว มีจิตอันอบรมแล้ว มีปัญญาอันอบรมแล้ว ดังนี้ หากว่าโลภะไม่ ครอบงำภิกษุนั้นตั้งอยู่ โทสะ โมหะ ... ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนา อันชั่วช้า ไม่ครอบงำภิกษุนั้นตั้งอยู่ ภิกษุนั้นอันบุคคลพึงรู้อย่างนี้ว่า โลภะไม่มี แก่ท่านผู้รู้ ฉันใด ท่านผู้มีอายุนี้ย่อมรู้ชัด ฉันนั้น เพราะฉะนั้น โลภะจึงไม่ครอบงำ ท่านผู้มีอายุนี้ตั้งอยู่ โทสะ โมหะ ... ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอัน ชั่วช้า ไม่มีแก่ท่านผู้รู้ ฉันใด ท่านผู้มีอายุนี้ย่อมรู้ชัด ฉันนั้น เพราะ ฉะนั้น โทสะ โมหะ ... ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า จึงไม่ ครอบงำท่านผู้มีอายุนี้ตั้งอยู่ ดูกรอาวุโสทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษเป็นคนมั่งคั่ง พึงกล่าวอวดความ มั่งคั่ง เป็นคนมีทรัพย์ พึงกล่าวอวดทรัพย์ เป็นคนมีโภคะ พึงกล่าวอวดโภคะ บุรุษนั้น เมื่อกิจที่จำต้องทำด้วยทรัพย์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น พึงอาจนำเอา ทรัพย์ ข้าวเปลือก เงิน หรือทอง ใช้จ่ายได้ คนทั้งหลายพึงรู้บุรุษนั้นว่า ท่านผู้นี้ เป็นคนมั่งคั่ง จึงกล่าวความมั่งคั่ง เป็นคนมีทรัพย์ จึงกล่าวอวดทรัพย์ เป็นคนมี โภคะ จึงกล่าวอวดโภคะ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะท่านผู้มีอายุนี้ เมื่อกิจที่จำ ต้องทำด้วยทรัพย์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ย่อมอาจนำเอาทรัพย์ ข้าวเปลือก เงิน หรือทองออกใช้จ่ายได้ ฉันใด ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อกล่าวอวดความรู้และอวดภาวนา ย่อมกล่าวว่า เรารู้ธรรมนี้ เราเห็นธรรมนี้ เราเป็นผู้มีกายอันอบรมแล้ว มีศีลอันอบรมแล้ว มีจิตอันอบรมแล้ว มีปัญญาอัน อบรมแล้ว ดังนี้ หากว่าโลภะไม่ครอบงำภิกษุนั้นตั้งอยู่ โทสะ โมหะ ... ความ ริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า ไม่ครอบงำภิกษุนั้นตั้งอยู่ ภิกษุนั้นอัน บุคคลพึงรู้อย่างนี้ว่า โลภะไม่มีแก่ท่านผู้รู้ ฉันใด ท่านผู้มีอายุนี้ย่อมรู้ชัด ฉัน นั้น เพราะฉะนั้น โลภะจึงไม่ครอบงำท่านผู้มีอายุนี้ตั้งอยู่ โทสะ โมหะ ... ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า ไม่มีแก่ท่านผู้รู้ ฉันใด ท่านผู้มี อายุนี้ย่อมรู้ชัด ฉันนั้น เพราะฉะนั้น โทสะ โมหะ ... ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า จึงไม่ครอบงำท่านผู้มีอายุนี้ตั้งอยู่ ฯ
จบสูตรที่ ๔
กสิณสูตร
[๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บ่อเกิดแห่งกสิณ ๑๐ ประการนี้ ๑๐ ประการ เป็นไฉน คือ บุคคลผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งปฐวีกสิณในเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้อง ขวาง ไม่มีสอง หาปริมาณมิได้ บุคคลผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งอาโปกสิณ ... บุคคล ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งเตโชกสิณ ... บุคคลผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งวาโยกสิณ ... บุคคลผู้ หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งนีลกสิณ ... บุคคลผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งปีตกสิณ ... บุคคลผู้ หนึ่งย่อมชัดซึ่งโลหิตกสิณ ... บุคคลผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งโอทาตกสิณ ... บุคคลผู้ หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งอากาสกสิณ ... บุคคลผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งวิญญาณกสิณ ในเบื้อง บน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ไม่มีสอง หาปริมาณมิได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บ่อเกิด แห่งกสิณ ๑๐ ประการนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๕
กาลีสูตร
[๒๖] สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัจจายนะอยู่ที่ภูเขาชื่อปวัตตะ ใกล้เมือง กุรรฆระ ในอวันตีชนบท ครั้งนั้นแล อุบาสิกาชื่อกาลีชาวเมืองกุรรฆระได้เข้า ไปหาท่านพระมหากัจจายนะถึงที่อยู่ ได้อภิวาทท่านพระมหากัจจายนะแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระมหากัจจายนะว่า ท่านเจ้าข้า พระผู้ มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ไว้ในกุมารีปัญหาว่า การบรรลุประโยชน์ เป็นความสงบแห่งหทัย เราชำนะ เสนา คือ กิเลสอันมีรูปเป็นที่รัก เป็นที่ชื่นใจแล้ว เป็น ผู้เดียวเพ่งอยู่ ได้รู้โดยลำดับซึ่งความสุข เพราะฉะนั้น เรา จึงไม่ทำความเป็นเพื่อนกับด้วยชน ความเป็นเพื่อนกับด้วย ใครๆ ย่อมไม่ถึงพร้อมแก่เรา ดังนี้ ฯ ท่านเจ้าข้า เนื้อความแห่งพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยย่อนี้ จะพึงเห็นได้โดยพิสดารอย่างไรหนอ ฯ ท่านพระมหากัจจายนะตอบว่า ดูกรน้องหญิง สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ยังประโยชน์ทั้งหลาย มีปฐวีกสิณสมาบัติเป็นอย่างยิ่งให้เกิดเฉพาะแล้ว ความที่ ประโยชน์มีปฐวีกสิณสมาบัติเป็นอย่างยิ่ง มีประมาณเท่าใด พระผู้มีพระภาคทรง รู้แล้วซึ่งความที่ประโยชน์มีปฐวีกสิณสมาบัติเป็นอย่างยิ่งนั้น ครั้นทรงรู้แล้ว ได้ ทรงเห็นเบื้องต้น ๑- ได้ทรงเห็นโทษ ๒- ได้ทรงเห็นธรรมเครื่องสลัดออก ๓- ได้ทรง เห็นญาณทัสสนะว่าเป็นทางและมิใช่ทาง ๔- การบรรลุประโยชน์ เพราะเหตุทรงเห็น เบื้องต้น เพราะเหตุทรงเห็นโทษ เพราะเหตุทรงเห็นธรรมเครื่องสลัดออก เพราะ เหตุทรงเห็นญาณทัสสนะว่าเป็นทางและมิใช่ทาง แห่งความที่ประโยชน์มีปฐวีกสิณ สมาบัติเป็นอย่างยิ่งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบแล้วว่า เป็นความสงบแห่งหทัย ฯ ดูกรน้องหญิง สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ยังประโยชน์ทั้งหลาย อันมี อาโปกสิณสมาบัติเป็นอย่างยิ่งให้เกิดเฉพาะแล้ว ฯลฯ ดูกรน้องหญิง สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ยังประโยชน์ทั้งหลายอันมี เตโชกสิณสมาบัติเป็นอย่างยิ่งให้เกิดเฉพาะแล้ว ฯลฯ ดูกรน้องหญิง สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ยังประโยชน์ทั้งหลายอันมี วาโยกสิณสมาบัติเป็นอย่างยิ่งให้เกิดเฉพาะแล้ว ฯลฯ ดูกรน้องหญิง สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ยังประโยชน์ทั้งหลายอันมี นีลกสิณสมาบัติเป็นอย่างยิ่งให้เกิดเฉพาะแล้ว ฯลฯ ดูกรน้องหญิง สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ยังประโยชน์ทั้งหลายอันมี ปีตกสิณสมาบัติเป็นอย่างยิ่งให้เกิดเฉพาะแล้ว ฯลฯ ดูกรน้องหญิง สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ยังประโยชน์ทั้งหลายอันมี โลหิตกสิณสมาบัติเป็นอย่างยิ่งให้เกิดเฉพาะแล้ว ฯลฯ ดูกรน้องหญิง สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ยังประโยชน์ทั้งหลาย อันมี อากาสกสิณสมาบัติเป็นอย่างยิ่ง ให้เกิดเฉพาะแล้ว ฯลฯ ดูกรน้องหญิง สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ยังประโยชน์ทั้งหลาย อันมี วิญญาณกสิณสมาบัติเป็นอย่างยิ่งให้เกิดเฉพาะแล้ว ความที่ประโยชน์มีวิญญาณ @๑. สมุทัยสัจ ๒. ทุกขสัจ ๓. นิโรธสัจ ๔. มรรคสัจ กสิณสมาบัติเป็นอย่างยิ่ง มีประมาณเท่าใด พระผู้มีพระภาคทรงรู้แล้วซึ่งความที่ ประโยชน์มีวิญญาณกสิณสมาบัติเป็นอย่างยิ่งนั้น ครั้นทรงรู้แล้ว ได้ทรงเห็น เบื้องต้น ได้ทรงเห็นโทษ ได้ทรงเห็นธรรมเครื่องสลัดออก ได้ทรงเห็นญาณ- *ทัสสนะว่าเป็นทางและมิใช่ทาง การบรรลุประโยชน์เพราะเหตุทรงเห็นเบื้องต้น เพราะเหตุทรงเห็นโทษ เพราะเหตุทรงเห็นธรรมเครื่องสลัดออก เพราะเหตุ ทรงเห็นญาณทัสสนะว่าเป็นทางและมิใช่ทางแห่งความที่ประโยชน์มีวิญญาณกสิณ สมาบัติเป็นอย่างยิ่งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบแล้วว่า เป็นความสงบแห่ง หทัย ฯ ดูกรน้องหญิง พระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้วในกุมารี ปัญหาว่า การบรรลุประโยชน์ เป็นความสงบแห่งหทัย เราชำนะเสนา คือ กิเลสอันมีรูปเป็นที่รัก เป็นที่ชื่นใจแล้ว เป็นผู้เดียว เพ่งอยู่ ได้รู้โดยลำดับซึ่งความสุข เพราะฉะนั้น เราจึงไม่ทำ ความเป็นเพื่อนด้วยชน ความเป็นเพื่อนด้วยใครๆ ย่อมไม่มี แก่เรา ดังนี้ ฯ เนื้อความแห่งพระพุทธพจน์ที่ตรัสไว้โดยย่อนี้ พึงเห็นโดยพิสดาร อย่างนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๖
มหาปัญหาสูตรที่ ๑
[๒๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้นนั้นแล เป็นเวลาเช้า ภิกษุเป็นอันมากนุ่งสบงแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตในนครสาวัตถี ลำดับนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า การจะเที่ยวไปบิณฑบาตในเมือง สาวัตถีก็ยังเช้านัก ผิฉะนั้น พวกเราพึงเข้าไปยังอารามของพวกอัญญเดียรถีย์ ปริพาชกเถิด ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นได้เข้าไปยังอารามของพวกอัญญเดียรถีย์ ปริพาชก ได้ปราศรัยกับอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น ครั้นผ่านการปราศรัย พอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พวกอัญญเดียรถีย์ ปริพาชกได้กล่าวกะภิกษุเหล่านั้นว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระสมณโคดม ย่อมทรงแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย มาเถิด เธอ ทั้งหลายพึงรู้ยิ่งธรรมทั้งปวง ครั้นรู้ยิ่งๆ ธรรมทั้งปวงแล้วจงอยู่เถิด ดังนี้ ดูกร ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย แม้เราทั้งหลายก็แสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย มาเถิด ท่านทั้งหลายจงรู้ยิ่งธรรมทั้งปวง ครั้นรู้ยิ่งๆ ธรรมทั้งปวงแล้ว จงอยู่เถิด ดังนี้ ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ในธรรมเทศนา หรืออนุศาสนีนี้ จะผิดแผกแตกต่างกันอย่างไรเล่า คือธรรมเทศนากับธรรมเทศนา หรืออนุศาสนีกับอนุศาสนี ของพระสมณโคดมหรือของพวกเรา ครั้นนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นไม่ยินดี ไม่คัดค้านภาษิตของอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น ครั้นแล้ว ลุกจากอาสนะหลีกไป ด้วยคิดว่า เราทั้งหลายจักรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิตนี้ ในสำนักพระผู้มีพระภาค ครั้นนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นเที่ยวบิณฑบาตในนครสาวัตถี แล้ว เวลาปัจฉาภัต กลับจากบิณฑบาตแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ณ ที่ ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเช้านี้ ข้าพระองค์ทั้งหลายนุ่ง สบงแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตในนครสาวัตถี ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์ได้มีความคิดดังนี้ว่า การจะเที่ยวไปบิณฑบาตในนครสาวัตถีก็ยัง เช้านัก ผิฉะนั้น พวกเราพึงเข้าไปยังอารามของพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเถิด พวกข้าพระองค์ได้เข้าไปยังอารามของพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก ได้ปราศรัยกับ พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันแล้ว ได้นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น ได้กล่าวกะข้าพระองค์ทั้งหลายว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระสมณโคดมย่อม ทรงแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย มาเถิด เธอทั้งหลาย จงรู้ยิ่งธรรมทั้งปวง ครั้นรู้ยิ่งๆ ธรรมทั้งปวงแล้ว จงอยู่เถิด ดังนี้ ดูกรท่านผู้มี อายุทั้งหลาย แม้เราทั้งหลายก็แสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้มี อายุทั้งหลาย มาเถิด ท่านทั้งหลายจงรู้ยิ่งธรรมทั้งปวง ครั้นรู้ยิ่งๆ ธรรมทั้งปวง แล้ว จงอยู่เถิด ดังนี้ ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ในธรรมเทศนาหรืออนุศาสนีนี้ จะผิดแผกแตกต่างกันอย่างไรเล่า คือ ธรรมเทศนากับธรรมเทศนา หรืออนุศาสนี กับอนุศาสนี ของพระสมณโคดมหรือของพวกเรา ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ครั้งนั้นแล ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่ได้ยินดี ไม่ได้คัดค้าน ภาษิตของอัญญเดียรถีย์ปริพาชก เหล่านั้น ครั้นแล้วลุกจากอาสนะหลีกไป ด้วยคิดว่า เราทั้งหลายจักรู้ทั่วถึง เนื้อความแห่งภาษิตนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาค ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก มีวาทะอย่างนี้ เธอทั้งหลายพึงถามอย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ปัญหา ๑ อุเทศ ๑ ไวยากรณ์ ๑ ปัญหา ๒ อุเทศ ๒ ไวยากรณ์ ๒ ปัญหา ๓ อุเทศ ๓ ไวยากรณ์ ๓ ปัญหา ๔ อุเทศ ๔ ไวยากรณ์ ๔ ปัญหา ๕ อุเทศ ๕ ไวยากรณ์ ๕ ปัญหา ๖ อุเทศ ๖ ไวยากรณ์ ๖ ปัญหา ๗ อุเทศ ๗ ไวยากรณ์ ๗ ปัญหา ๘ อุเทศ ๘ ไวยากรณ์ ๘ ปัญหา ๙ อุเทศ ๙ ไวยากรณ์ ๙ ปัญหา ๑๐ อุเทศ ๑๐ ไวยากรณ์ ๑๐ เป็นอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกถูกถาม อย่างนี้แล้ว จักไม่ยังพยากรณ์ให้ถึงพร้อมได้ จักถึงความลำบากแม้อย่างยิ่ง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะพวกอัญญเดียรย์ปริพาชกนั้นถูกถามในปัญหาอันมิใช่ วิสัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่ สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เราย่อมไม่เห็นบุคคลที่จะยังจิตให้ ยินดีได้ด้วยการพยากรณ์ปัญหาเหล่านี้ เว้นจากตถาคตหรือสาวกตถาคต หรือผู้ที่ ฟังจากสาวกของตถาคตนี้ ก็คำที่เรากล่าวว่า ปัญหา ๑ อุเทศ ๑ ไวยากรณ์ ๑ ดังนี้ เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลาย กำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์ โดยชอบ ในธรรมอย่างหนึ่ง ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน ในธรรม อย่างหนึ่งเป็นไฉน คือ สัตว์ทั้งปวงเป็นผู้มีอาหารเป็นที่ตั้ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปรกติเห็น ที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรมอย่างหนึ่งนี้แล ย่อมเป็นผู้ทำ ที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน คำที่เรากล่าวว่า ปัญหา ๑ อุเทศ ๑ ไวยากรณ์ ๑ ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ ก็คำที่เรากล่าวว่า ปัญหา ๒ อุเทศ ๒ ไวยากรณ์ ๒ ดังนี้ เราอาศัย อะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๒ อย่าง ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน ในธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ในนาม ๑ ในรูป ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัด โดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๒ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน คำที่เรากล่าวว่า ปัญหา ๒ อุเทศ ๒ ไวยากรณ์ ๒ ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ ก็คำที่เรากล่าวว่า ปัญหา ๓ อุเทศ ๓ ไวยากรณ์ ๓ ดังนี้ เราอาศัย อะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๓ อย่าง ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน ในธรรม ๓ อย่างเป็นไฉน คือ ใน เวทนา ๓ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๓ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน คำที่เรากล่าวว่า ปัญหา ๓ อุเทศ ๓ ไวยากรณ์ ๓ ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ ก็คำที่เรากล่าวว่า ปัญหา ๔ อุเทศ ๔ ไวยากรณ์ ๔ ดังนี้ เราอาศัย อะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ใน ธรรม ๔ อย่าง ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน ในธรรม ๔ อย่างเป็นไฉน คือ ในอาหาร ๔ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัด โดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๔ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน คำที่เรากล่าวว่า ปัญหา ๔ อุเทศ ๔ ไวยากรณ์ ๔ ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ ก็คำที่เรากล่าวว่า ปัญหา ๕ อุเทศ ๕ ไวยากรณ์ ๕ ดังนี้ เราอาศัย อะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ใน ธรรม ๕ อย่าง ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน ในธรรม ๕ อย่างเป็นไฉน คือ ในอุปาทานักขันธ์ ๕ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลาย กำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์ โดยชอบ ในธรรม ๕ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน คำที่เรา กล่าวว่า ปัญหา ๕ อุเทศ ๕ ไวยากรณ์ ๕ ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ ก็คำที่เรากล่าวว่า ปัญหา ๖ อุเทศ ๖ ไวยากรณ์ ๖ ดังนี้ เราอาศัย อะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๖ อย่าง ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน ในธรรม ๖ อย่างเป็นไฉน คือ ในอายตนะภายใน ๖ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัด โดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๖ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน คำที่เรากล่าวว่า ปัญหา ๖ อุเทศ ๖ ไวยากรณ์ ๖ ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ ก็คำที่เรากล่าวว่า ปัญหา ๗ อุเทศ ๗ ไวยากรณ์ ๗ ดังนี้ เราอาศัย อะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ใน ธรรม ๗ อย่าง ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน ในธรรม ๗ อย่างเป็นไฉน คือ ในวิญญาณฐิติ ๗ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัด โดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๗ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน คำที่เรากล่าวว่า ปัญหา ๗ อุเทศ ๗ ไวยากรณ์ ๗ ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ ก็คำที่เรากล่าวว่า ปัญหา ๘ อุเทศ ๘ ไวยากรณ์ ๘ ดังนี้ เราอาศัย อะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ใน ธรรม ๘ อย่าง ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน ในธรรม ๘ อย่างเป็นไฉน คือ ในโลกธรรม ๘ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัด โดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๘ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน คำที่เรากล่าวว่า ปัญหา ๘ อุเทศ ๘ ไวยากรณ์ ๘ ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ ก็คำที่เรากล่าวว่า ปัญหา ๙ อุเทศ ๙ ไวยากรณ์ ๙ ดังนี้ เราอาศัย อะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๙ อย่าง ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน ในธรรม ๙ อย่างเป็นไฉน คือ ในสัตตาวาส ๙ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ใน ธรรม ๙ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน คำที่เรากล่าวว่า ปัญหา ๙ อุเทศ ๙ ไวยากรณ์ ๙ ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ ก็คำที่เรากล่าวว่า ปัญหา ๑๐ อุเทศ ๑๐ ไวยากรณ์ ๑๐ ดังนี้ เราอาศัย อะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๑๐ อย่าง ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน ในธรรม ๑๐ อย่างเป็นไฉน คือ ในอกุศลกรรมบถ ๑๐ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัด โดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๑๐ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน คำที่เรากล่าวว่า ปัญหา ๑๐ อุเทศ ๑๐ ไวยากรณ์ ๑๐ ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ
จบสูตรที่ ๗
มหาปัญหาสูตรที่ ๒
[๒๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าไผ่ ใกล้กชังคลนคร ครั้งนั้นแล อุบาสกชาวเมืองกชังคละมากด้วยกัน เข้าไปหากชังคลาภิกษุณีถึงที่อยู่ อภิวาทกชังคลาภิกษุณีแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ถามกชังคลา ภิกษุณีว่า ข้าแต่แม่เจ้า พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ในมหาปัญหา ทั้งหลายว่า ปัญหา ๑ อุเทศ ๑ ไวยากรณ์ ๑ ปัญหา ๒ อุเทศ ๒ ไวยากรณ์ ๒ ปัญหา ๓ อุเทศ ๓ ไวยากรณ์ ๓ ปัญหา ๔ อุเทศ ๔ ไวยากรณ์ ๔ ปัญหา ๕ อุเทศ ๕ ไวยากรณ์ ๕ ปัญหา ๖ อุเทศ ๖ ไวยากรณ์ ๖ ปัญหา ๗ อุเทศ ๗ ไวยากรณ์ ๗ ปัญหา ๘ อุเทศ ๘ ไวยากรณ์ ๘ ปัญหา ๙ อุเทศ ๙ ไวยากรณ์ ๙ ปัญหา ๑๐ อุเทศ ๑๐ ไวยากรณ์ ๑๐ ดังนี้ ข้าแต่แม่เจ้า เนื้อความแห่ง พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสโดยย่อนี้ จะพึงเห็นโดยพิสดารได้อย่างไรหนอ ฯ กชังคลาภิกษุณีตอบว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระดำรัสนี้เราได้สดับ รับฟังมาแล้ว ในที่เฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคก็หามิได้ เราได้สดับรับฟัง มาแล้ว ในที่เฉพาะหน้าของภิกษุทั้งหลายผู้สำเร็จทางใจก็หามิได้ ก็แต่ว่าเนื้อความ ในพระพุทธภาษิตนี้ย่อมปรากฏแก่เราอย่างไร ท่านทั้งหลายจงฟังเนื้อความแห่งพระ พุทธภาษิตนั้นอย่างนั้น จงทำไว้ในใจให้ดี เราจักกล่าว พวกอุบาสกชาวเมือง กชังคละ รับคำของกชังคลาภิกษุณีแล้ว กชังคลาภิกษุณีได้กล่าวว่า ก็พระดำรัส ที่พระผู้มีพระภาคได้ตรัสแล้วว่า ปัญหา ๑ อุเทศ ๑ ไวยากรณ์ ๑ ดังนี้ พระองค์ ทรงอาศัยอะไรตรัสแล้ว ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัด โดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรมอย่าง ๑ ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน ในธรรมอย่าง ๑ เป็นไฉน คือ สัตว์ทั้งปวงมีอาหารเป็นที่ตั้ง ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุ ประโยชน์โดยชอบ ในธรรมอย่าง ๑ นี้แล ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วว่า ปัญหา ๑ อุเทศ ๑ ไวยากรณ์ ๑ ดังนี้ พระองค์ทรงอาศัยข้อนี้ตรัสแล้ว ฯ ก็พระดำรัสที่พระองค์ตรัสว่า ปัญหา ๒ อุเทศ ๒ ไวยากรณ์ ๒ ดังนี้ พระองค์ทรงอาศัยอะไรตรัสแล้ว ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุ ประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๒ อย่าง ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน ในธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ในนาม ๑ ในรูป ๑ ... ฯ ก็พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ปัญหา ๓ อุเทศ ๓ ไวยากรณ์ ๓ ดังนี้ พระองค์ทรงอาศัยอะไรตรัสแล้ว ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่าย โดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๓ อย่าง ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน ในธรรม ๓ อย่างเป็นไฉน คือ ในเวทนา ๓ ... ฯ ก็พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ปัญหา ๔ อุเทศ ๔ ไวยากรณ์ ๔ ดังนี้ พระองค์ทรงอาศัยอะไรตรัสแล้ว ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีจิตอัน อบรมดีแล้วโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๔ อย่าง ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน ในธรรม ๔ อย่างเป็นไฉน คือ ในสติปัฏฐาน ๔ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีจิตอันอบรมดีแล้วโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๔ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ปัญหา ๔ อุเทศ ๔ ไวยากรณ์ ๔ ดังนี้ พระองค์ทรงอาศัยข้อนี้ตรัสแล้ว ฯ ก็พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ปัญหา ๕ อุเทศ ๕ ไวยากรณ์ ๕ ดังนี้ พระองค์ทรงอาศัยอะไรตรัสแล้ว ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีจิตอันอบรม ดีแล้วโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๕ อย่าง ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน ในธรรม ๕ อย่างเป็นไฉน คือ ในอินทรีย์ ๕ ... ในธรรม ๖ อย่างเป็นไฉน คือ ในนิสสรณียธาตุ ๖ ... ในธรรม ๗ อย่างเป็นไฉน คือ ในโพชฌงค์ ๗ ... ในธรรม ๘ อย่างเป็นไฉน คือ ใน อริยมรรคมีองค์ ๘ ... ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีจิตอันอบรมดีแล้วโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๘ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ปัญหา ๘ อุเทศ ๘ ไวยากรณ์ ๘ ดังนี้ พระองค์ทรงอาศัยข้อนี้ตรัสแล้ว ฯ ก็พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ปัญหา ๙ อุเทศ ๙ ไวยากรณ์ ๙ ดังนี้ พระองค์ทรงอาศัยอะไรตรัสแล้ว ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่าย โดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๙ อย่าง ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน ในธรรม ๙ อย่างเป็นไฉน คือ ในสัตตาวาส ๙ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อ หน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุด โดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๙ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้ทำที่สุด ทุกข์ได้ในปัจจุบัน พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ปัญหา ๙ อุเทศ ๙ ไวยากรณ์ ๙ ดังนี้ พระองค์ทรงอาศัยข้อนี้ตรัสแล้ว ฯ ก็พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ปัญหา ๑๐ อุเทศ ๑๐ ไวยากรณ์ ๑๐ ดังนี้ พระองค์ทรงอาศัยอะไรตรัสแล้ว ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีจิตอันอบรม ดีแล้วโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๑๐ อย่าง ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน ในธรรม ๑๐ อย่างเป็นไฉน คือ ในกุศลธรรม ๑๐ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีจิตอันอบรมดีแล้วโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๑๐ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ปัญหา ๑๐ อุเทศ ๑๐ ไวยากรณ์ ๑๐ ดังนี้ พระองค์ทรงอาศัยข้อนี้ตรัสแล้ว ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสในมหาปัญหา ทั้งหลายว่า ปัญหา ๑ อุเทศ ๑ ไวยากรณ์ ๑ ฯลฯ ปัญหา ๑๐ อุเทศ ๑๐ ไวยากรณ์ ๑๐ เราย่อมรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดย ย่อนี้ โดยพิสดารอย่างนี้ ดังนี้แล ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็แลท่านทั้งหลายจำนง อยู่ พึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้วทูลสอบถามความข้อนี้ พระผู้มีพระภาคของ เราทรงพยากรณ์อย่างใด ท่านทั้งหลายพึงทรงจำความนั้นไว้อย่างนั้นเถิด ฯ พวกอุบาสกชาวเมืองกชังคละรับคำว่า อย่างนั้นแม่เจ้า แล้วชื่นชม อนุโมทนาภาษิตของกชังคลาภิกษุณี ลุกจากอาสนะ อภิวาทกชังคลาภิกษุณี ทำประทักษิณแล้ว ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มี พระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว จึงกราบทูลถ้อยคำที่สนทนา กับกชังคลาภิกษุณีนั้นทั้งหมดแด่พระผู้มีพระภาค ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีละๆ คหบดีทั้งหลาย กชังคลาภิกษุณีเป็น บัณฑิต มีปัญญามาก ดูกรคหบดีทั้งหลาย ถ้าแม้ท่านทั้งหลายพึงเข้ามาหาเราแล้ว ถามเนื้อความนี้ไซร้ แม้เราก็พึงพยากรณ์เนื้อความ เหมือนอย่างที่กชังคลาภิกษุณี พยากรณ์แล้ว และเนื้อความของคำนั้น คือนี้แหละ ท่านทั้งหลายพึงทรงจำเนื้อ ความไว้อย่างนั้นแหละ ฯ
จบสูตรที่ ๘
โกศลสูตรที่ ๑
[๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กาสีและโกศลชนบทมีประมาณเท่าใด แว่น แคว้นของพระเจ้าปเสนทิโกศลมีประมาณเท่าใด พระเจ้าปเสนทิโกศล ประชาชน กล่าวว่าเป็นผู้เลิศในกาสีและโกศลชนบท และแว่นแคว้นประมาณนั้น ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ความเป็นอย่างอื่นมีอยู่โดยแท้ ความแปรปรวนมีอยู่แม้แก่พระ เจ้าปเสนทิโกศล ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อม หน่ายแม้ในความดำรงอยู่ในสมบัตินั้น เมื่อหน่ายในความดำรงอยู่ในสมบัตินั้น ย่อมคลายกำหนัดในความเลิศแห่งสมบัติ จะป่วยกล่าวไปไยในสิ่งเลวเล่า ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ย่อมหมุนเวียนส่องทิศให้ ไพโรจน์อยู่ในที่มีประมาณเท่าใด โลกธาตุพันหนึ่งมีอยู่ในที่มีประมาณเท่านั้น ในโลกธาตุพันหนึ่งนั้นมีดวงจันทร์พันดวง ดวงอาทิตย์พันดวง ขุนเขาสิเนรุหนึ่ง พัน ชมพูทวีปพันทวีป อมรโคยานพันทวีป อุตตรกุรุพันทวีป ปุพพวิเทหะพัน ทวีป มหาสมุทรสี่พัน เทวโลกชั้นมหาราชสี่พัน ชั้นจาตุมหาราชิกาหนึ่งพัน ชั้น ดาวดึงส์หนึ่งพัน ชั้นยามาหนึ่งพัน ชั้นดุสิตหนึ่งพัน ชั้นนิมมานรดีหนึ่งพัน ชั้นปรนิมมิตวสวัตดีหนึ่งพัน ชั้นพรหมโลกหนึ่งพัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย พันโลก ธาตุมีประมาณเท่าใด ท้าวมหาพรหม โลกกล่าวว่าเป็นเลิศในพันโลกธาตุนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นอย่างอื่นมีอยู่ ความแปรปรวนก็มีอยู่แม้แก่ท้าวมหา พรหม ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่ายแม้ใน พันโลกธาตุนั้น เมื่อหน่ายในพันโลกธาตุนั้น ย่อมคลายกำหนัดในความเป็น ผู้เลิศ จะป่วยกล่าวไปไยในสิ่งที่เลวเล่า ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยที่โลกนี้พินาศมีอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อโลก พินาศอยู่ สัตว์ทั้งหลายย่อมเป็นไปในพรหมโลก ชั้นอาภัสสรโดยมาก สัตว์ เหล่านั้นเป็นผู้สำเร็จแล้วด้วยใจ มีปีติเป็นภักษา มีแสงสว่างในตัวเอง เที่ยวไป ได้ในอากาศ มีปรกติดำรงอยู่ได้ด้วยดี ย่อมดำรงอยู่ในพรหมโลกชั้นอาภัสสรนั้น ตลอดกาลยืนยาวนาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อโลกพินาศอยู่ อาภัสสรเทพ ทั้งหลาย โลกกล่าวว่าเป็นผู้เลิศ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นอย่างอื่นมีอยู่แท้ ความแปรปรวนก็มีแม้แก่อาภัสสรเทพทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้ สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่ายแม้ในพรหมโลกชั้นอาภัสสรนั้น เมื่อหน่ายใน พรหมโลกชั้นอาภัสสรนั้น ย่อมคลายกำหนัดในความเป็นผู้เลิศ จะป่วยกล่าว ไปไยในสิ่งที่เลวเล่า ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บ่อเกิดแห่งกสิณ ๑๐ ประการนี้ ๑๐ ประการเป็นไฉน คือ บุคคลผู้หนึ่ง ย่อมจำปฐวีกสิณในเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ไม่มีสอง หาประมาณมิได้ บุคคลผู้หนึ่งย่อมจำอาโปกสิณ ... บุคคลผู้หนึ่งย่อมจำเตโชกสิณ ... บุคคลผู้หนึ่งย่อมจำวาโยกสิณ ... บุคคลผู้หนึ่งย่อมจำนีลกสิณ ... บุคคล ผู้หนึ่งย่อมจำปีตกสิณ ... บุคคลผู้หนึ่งย่อมจำโลหิตกสิณ ... บุคคลผู้หนึ่ง ย่อมจำโอทาตกสิณ ... บุคคลผู้หนึ่งย่อมจำอากาสกสิณ ... บุคคลผู้หนึ่งย่อมจำ วิญญาณกสิณในเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ไม่มีสอง หาประมาณมิได้ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย บ่อเกิดแห่งกสิณ ๑๐ ประการนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดา บ่อเกิดแห่งกสิณ ๑๐ ประการนี้ วิญญาณกสิณในเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ไม่มีสอง หาประมาณมิได้ ที่บุคคลผู้หนึ่งจำได้ เป็นยอด สัตว์ทั้งหลาย แม้ผู้มี สัญญาอย่างนี้แลมีอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นอย่างอื่นมีอยู่แท้ ความ แปรปรวนก็มีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลายแม้มีสัญญาอย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริย- *สาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่ายแม้ในบ่อเกิดแห่งกสิณ เมื่อหน่ายในบ่อ- *เกิดแห่งกสิณนั้น ย่อมคลายกำหนัดในสิ่งที่เลิศ จะป่วยกล่าวไปไยในสิ่งที่ เลวเล่า ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อภิภายตนะ ๘ ประการนี้ ๘ ประการเป็นไฉน คือ คนหนึ่งมีรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปทั้งหลายในภายนอกเล็กน้อย ทั้งที่มีผิวพรรณ ดี ทั้งที่มีผิวพรรณทราม ก็มีสัญญาอย่างนี้ว่า เรารู้เราเห็นย่ำยีรูปเหล่านั้น นี้เป็น อภิภายตนะประการที่ ๑ ฯ คนหนึ่งมีรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายในภายนอกไม่มีประมาณ ทั้งที่มีผิวพรรณดี ทั้งที่มีผิวพรรณทราม ก็มีสัญญาอย่างนี้ว่า เรารู้เราเห็นย่ำยีรูป เหล่านั้น นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๒ ฯ คนหนึ่งมีอรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปทั้งหลายในภายนอกเล็กน้อย ทั้งที่มีผิวพรรณดี ทั้งที่มีผิวพรรณทราม ก็มีสัญญาอย่างนี้ว่า เรารู้เราเห็นย่ำยีรูป เหล่านั้น นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๓ ฯ คนหนึ่งมีอรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปทั้งหลายในภายนอกไม่มีประมาณ ทั้งที่มีผิวพรรณดี ทั้งที่มีผิวพรรณทราม ก็มีสัญญาอย่างนี้ว่า เรารู้เราเห็นย่ำยีรูป เหล่านั้น นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๔ ฯ คนหนึ่งมีอรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปในภายนอกเขียว มีสีเขียว รัศมีเขียว แสงสว่างเขียว เปรียบเหมือนดอกผักตบเขียว มีสีเขียว รัศมีเขียว แสงสว่างเขียว ฉันใด หรือเปรียบเหมือนผ้าเมืองพาราณสี มีเนื้อเกลี้ยงเกลา ทั้งสองข้าง เขียว มีสีเขียว รัศมีเขียว แสงสว่างเขียว ฉันใด คนหนึ่งมีอรูป- *สัญญาในภายใน เห็นรูปทั้งหลายในภายนอกเขียว มีสีเขียว รัศมีเขียว แสง สว่างเขียว ก็มีสัญญาอย่างนี้ว่า เรารู้เราเห็นย่ำยีรูปเหล่านั้น ฉันนั้น นี้เป็น อภิภายตนะประการที่ ๕ ฯ คนหนึ่งมีอรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปทั้งหลายในภายนอกเหลือง มีสีเหลือง รัศมีเหลือง แสงสว่างเหลือง เปรียบเหมือนดอกกัณณิกาเหลือง มีสีเหลือง มีรัศมีเหลือง แสงสว่างเหลือง ฉันใด หรือเปรียบเหมือนผ้าเมือง พาราณสี มีเนื้อเกลี้ยงเกลาทั้งสองข้าง เหลือง มีสีเหลือง มีรัศมีเหลือง แสง สว่างเหลือง ฉันใด คนหนึ่งมีอรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปทั้งหลายในภายนอก เหลือง มีสีเหลือง มีรัศมีเหลือง แสงสว่างเหลือง ก็มีสัญญาอย่างนี้ว่า เรารู้เรา เห็นย่ำยีรูปเหล่านั้น ฉันนั้น นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๖ ฯ คนหนึ่งมีอรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปทั้งหลายในภายนอกแดง มีสีแดง รัศมีแดง แสงสว่างแดง เปรียบเหมือนดอกเส้งแดง มีสีแดง รัศมีแดง แสงสว่างแดง ฉันใด หรือเปรียบเหมือนผ้าเมืองพาราณสี มีเนื้อเกลี้ยงเกลา ทั้งสองข้าง แดง รัศมีแดง แสงสว่างแดง ฉันใด คนหนึ่งมีอรูปสัญญา ในภายใน เห็นรูปทั้งหลายในภายนอกแดง มีสีแดง มีรัศมีแดง แสงสว่างแดง ก็มีสัญญาอย่างนี้ว่า เรารู้เราเห็นย่ำยีรูปเหล่านั้น ฉันนั้น นี้เป็นอภิภายตนะ ประการที่ ๗ ฯ คนหนึ่งมีอรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปทั้งหลายในภายนอกขาว มีสีขาว รัศมีขาว แสงสว่างขาว เปรียบเหมือนดาวประกายพฤกษ์ขาว มีสีขาว มีรัศมี ขาว แสงสว่างขาว ฉันใด หรือเปรียบเหมือนผ้าเมืองพาราณสี มีเนื้อเกลี้ยง เกลาทั้งสองข้าง ขาว มีสีขาว รัศมีขาว แสดงสว่างขาว ฉันใด คนหนึ่งมีอรูป- *สัญญาในภายใน เห็นรูปทั้งหลายในภายนอกขาว มีสีขาว รัศมีขาว แสงสว่าง ขาว ก็มีสัญญาอย่างนี้ว่า เรารู้เราเห็นย่ำยีรูปเหล่านั้น ฉันนั้น นี้เป็นอภิภายตนะ ประการที่ ๘ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อภิภายตนะ ๘ ประการนี้แล บรรดาอภิภา- *ยตนะ ๘ ประการนี้ อภิภายตนะประการที่ ๘ คือ คนหนึ่งมีอรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปทั้งหลายในภายนอกขาว มีสีขาว มีรัศมีขาว แสงสว่างขาว ก็มีสัญญา อย่างนี้ว่า เรารู้เราเห็นย่ำยีรูปเหล่านั้น นี้เป็นเลิศ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายแม้ผู้มีสัญญาอย่างนี้แลมีอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นอย่างอื่นมี อยู่แท้ ความแปรปรวนมีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลายแม้มีสัญญาอย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่ายแม้ในอภิภายตนะนั้น เมื่อหน่ายใน อภิภายตนะนั้น ย่อมคลายกำหนัดในสิ่งที่เลิศ จะป่วยกล่าวไปไยในสิ่งที่เลวเล่า ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ ปฏิบัติ ลำบากทั้งรู้ได้ช้า ๑ ปฏิบัติลำบากแต่รู้ได้เร็ว ๑ ปฏิบัติสะดวกแต่รู้ได้ช้า ๑ ปฏิบัติ สะดวกทั้งรู้ได้เร็ว ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาปฏิปทา ๔ ประการนี้ ปฏิบัติสะดวกทั้งรู้ได้เร็วเป็นเลิศ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายแม้ผู้ปฏิบัติอย่างนี้แลมีอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นอย่างอื่นมี อยู่แท้ ความแปรปรวนมีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลายแม้ปฏิบัติอย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่ายแม้ในปฏิปทานั้น เมื่อหน่ายใน ปฏิปทานั้น ย่อมคลายกำหนัดในสิ่งที่เลิศ จะป่วยกล่าวไปไยในสิ่งที่เลวเล่า ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ คนหนึ่งย่อมจำปริตตารมณ์ ๑- คนหนึ่งย่อมจำมหัคคตารมณ์ ๒- คนหนึ่งย่อม จำอัปปมาณารมณ์ ๓- คนหนึ่งย่อมจำอากิญจัญญายตนะ ๔- ว่า หน่อยหนึ่งไม่มี ดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๔ ประการนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดา สัญญา ๔ ประการนี้ อากิญจัญญายตนะที่คนหนึ่งจำได้ว่า หน่อยหนึ่งไม่มี ดังนี้ เป็นเลิศ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายแม้ผู้มีสัญญาอย่างนี้แลมีอยู่ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ความเป็นอย่างอื่นมีอยู่แท้ ความแปรปรวนมีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลายแม้ผู้มี สัญญาอย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่าย แม้ในสัญญานั้น เมื่อหน่ายในสัญญานั้น ย่อมคลายกำหนัดในสิ่งที่เลิศ จะป่วย กล่าวไปไยในสิ่งที่เลวเล่า ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาทิฐินอกศาสนา ทิฐิว่า ถ้าเราจักไม่ได้มีแล้ว ไซร้ อัตภาพนี้ไม่พึงมีแก่เรา ถ้าเราจักไม่มีไซร้ ความห่วงในอะไรจักไม่มีแก่เรา ดังนี้ เป็นเลิศ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้มีทิฐิอย่างนี้พึงหวังข้อนี้ได้ว่า ความที่ใจไม่ ชอบในภพจักไม่มีแก่เขา และความที่ใจชอบในความดับภพจักไม่มีแก่เขา ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายผู้มีทิฐิอย่างนี้แลมีอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นอย่าง อื่นมีอยู่แท้ ความแปรปรวนมีอยู่แม้แก่สัตว์ทั้งหลายผู้มีทิฐิอย่างนี้ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่ายแม้ในทิฐินั้น เมื่อหน่ายใน ทิฐินั้น ย่อมคลายกำหนัดในสิ่งที่เลิศ จะป่วยกล่าวไปไยในสิ่งที่เลวเล่า ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่งย่อมบัญญัติความหมดจด ในสัตว์ผู้สูงสุดมีอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่ก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการ ทั้งปวงเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะอยู่นั้นเลิศกว่าบรรดาสมณพราหมณ์ผู้บัญญัติ ความหมดจดในสัตว์ผู้สูงสุด สมณพราหมณ์เหล่านั้น รู้ยิ่งแล้วซึ่งเนวสัญญานา- *สัญญายตนะนั้น ย่อมแสดงธรรมเพื่อทำให้แจ้งซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายแม้ผู้มีวาทะอย่างนี้แลมีอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย @๑. กามาวจรสัญญา ๒. รูปาวจรสัญญา ๓. โลกุตรสัญญา ๔. อากิญจัญญายตนะ ความเป็นอย่างอื่นมีอยู่แท้ ความแปรปรวนมีอยู่แม้แก่สัตว์ทั้งหลายผู้มีวาทะอย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่ายแม้ในเนวสัญญา- *นาสัญญายตนะนั้น เมื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัดในสิ่งที่เลิศ จะป่วยกล่าวไปไย ในสิ่งที่เลวเล่า ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัตินิพพานอันยวดยิ่งใน ปัจจุบันมีอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความหลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น เพราะรู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ประการ เลิศ กว่าการบัญญัตินิพพานอันยอดยิ่งในปัจจุบันแห่งสมณพราหมณ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่งย่อมกล่าวตู่เราผู้มีวาทะอย่างนี้ ผู้กล่าวอย่างนี้ด้วยคำไม่จริง ด้วยคำเปล่า ด้วยคำเท็จ ด้วยคำไม่เป็นจริงว่า พระสมณโคดมไม่บัญญัติความ กำหนดรู้กามทั้งหลาย ไม่บัญญัติความกำหนดรู้รูปทั้งหลาย ไม่บัญญัติความ กำหนดรู้เวทนาทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมบัญญัติความกำหนดรู้กาม ทั้งหลายด้วย ย่อมบัญญัติความกำหนดรู้รูปทั้งหลายด้วย ย่อมบัญญัติความกำหนด รู้เวทนาทั้งหลายด้วย เราเป็นผู้หายหิวแล้ว ดับแล้ว เย็นแล้ว ย่อมบัญญัติ อนุปาทาปรินิพพานในปัจจุบัน ฯ
จบสูตรที่ ๙
โกศลสูตรที่ ๒
[๓๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็โดยสมัยนั้นแล พระเจ้า ปเสนทิโกศลเสด็จกลับจากการรบชนะสงครามมาแล้ว มีพระราชประสงค์อันได้ แล้ว ครั้งนั้นแล พระเจ้าปเสนทิโกศลได้เสด็จไปยังอาราม เสด็จไปโดย พระราชยานเท่าที่ยานจะไปได้ เสด็จลงจากยานแล้ว เสด็จไปด้วยพระบาทเข้าไปสู่ อาราม ฯ ก็โดยสมัยนั้น ภิกษุมากรูปเดินจงกรมอยู่ในที่แจ้ง ครั้งนั้นแล พระเจ้า ปเสนทิโกศลได้เสด็จเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นแล้วได้ตรัสถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ บัดนี้ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ในที่ไหนหนอ ด้วยว่า ดิฉันประสงค์จะเฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ขอถวายพระพร ขอมหาบพิตรจงเงียบเสียงเสด็จเข้าไปยังพระวิหารซึ่งมีประตูปิด นั่นแล้ว ไม่รีบด่วน เสด็จเข้าไปยังระเบียงทรงกระแอม ทรงเคาะอกเลาประตู เถิด พระผู้มีพระภาคจักทรงเปิดประตูรับ ขอถวายพระพร ครั้งนั้นแล พระ- *เจ้าปเสนทิโกศลทรงเงียบเสียง เสด็จเข้าไปยังวิหารที่มีประตูปิดนั้น ครั้นแล้ว มิได้ทรงรีบด่วน เสด็จเข้าไปยังระเบียงแล้ว ทรงกระแอม ทรงเคาะอกเลาประตู พระผู้มีพระภาคทรงเปิดประตูรับ ครั้งนั้นแล พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จเข้าไปสู่ วิหาร ซบพระเศียรลงที่พระบาททั้งคู่ของพระผู้มีพระภาคทรงจุ๊บพระบาททั้งสอง ของพระผู้มีพระภาคด้วยพระโอฐ ทรงนวดด้วยพระหัตถ์ทั้งสอง และทรงประกาศ พระนามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันคือพระเจ้าปเสนทิโกศล หม่อมฉัน คือพระเจ้าปเสนทิโกศล ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรมหาบพิตร มหาบพิตรทรงเห็นอำนาจ ประโยชน์อะไรเล่า จึงทรงทำความนบนอบอย่างยิ่ง มอบถวายความนับถืออัน ประกอบด้วยเมตตาเห็นปานนี้ ในสรีระนี้ ฯ พระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันเห็น ความกตัญญูกตเวที จึงทำความนบนอบอย่างยิ่ง ถวายความนับถืออันประกอบ ด้วยเมตตาเห็นปานนี้ ในพระผู้มีพระภาค เพราะพระผู้มีพระภาคทรงปฏิบัติเพื่อ ประโยชน์แก่ชนหมู่มาก เพื่อความสุขแก่ชนหมู่มาก เพื่อเกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก ทรงยังชนหมู่มากให้ดำรงอยู่ในอริยญายธรรม คือ ความเป็นผู้มีกัลยาณธรรม ความ เป็นผู้มีกุศลธรรม ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันเห็นอำนาจประโยชน์แม้นี้แล จึงทำความนอบน้อมอย่างยิ่ง ถวายความนับถืออันประกอบด้วยเมตตาเห็นปานนี้ ในพระผู้มีพระภาค ฯ อีกประการหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มีศีล มีศีลอันเจริญ มีศีลอัน ประเสริฐ มีศีลเป็นกุศล ทรงเป็นผู้ประกอบแล้วด้วยกุศลศีล ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ หม่อมฉันเห็นอำนาจประโยชน์แม้นี้แล จึงทำความนอบน้อมอย่างยิ่ง ถวายความนับถืออันประกอบด้วยเมตตาเห็นปานนี้ ในพระผู้มีพระภาค ฯ อีกประการหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ทรงเสพ เสนาสนะอันสงัดซึ่งตั้งอยู่แนวป่า ตลอดกาลนาน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉัน เห็นอำนาจประโยชน์แม้นี้แล จึงทำความนอบน้อมอย่างยิ่ง ถวายความนับถืออัน ประกอบด้วยเมตตาเห็นปานนี้ ในพระผู้มีพระภาค ฯ อีกประการหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงสันโดษด้วยจีวร บิณฑบาตเสนาสนะ และเภสัชบริขารอันเป็นปัจจัยแก่คนไข้ ตามมีตามได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันเห็นอำนาจประโยชน์แม้นี้แล จึงทำความนอบน้อมอย่างยิ่ง ถวายความ นับถืออันประกอบด้วยเมตตาเห็นปานนี้ ในพระผู้มีพระภาค ฯ อีกประการหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของ ต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรทำอัญชลี ทรงเป็นนาบุญของโลก ไม่มี นาบุญอื่นยิ่งกว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันเห็นอำนาจประโยชน์แม้นี้แล จึงทำความนอบน้อมอย่างยิ่ง ถวายความนับถืออันประกอบด้วยเมตตาเห็นปานนี้ ในพระผู้มีพระภาค ฯ อีกประการหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้โดย ไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งกถาเป็นเครื่องขัดเกลาอย่างยิ่ง เป็นที่สบายแห่งการเที่ยว ไปแห่งจิต คือ อัปปิจฉกถา สันตุฏฐิกถา ปวิเวกกถา อสังสัคคกถา วิริยารัมภกถา สีลกถา สมาธิกถา ปัญญากถา วิมุตติญาณทัสสนกถา ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันเห็นอำนาจประโยชน์แม้นี้แล จึงทำความนอบน้อมอย่างยิ่ง ถวายความ นับถืออันประกอบด้วยเมตตาเห็นปานนี้ ในพระผู้มีพระภาค ฯ อีกประการหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้โดย ไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันเห็นอำนาจประโยชน์แม้นี้แล จึงทำความนอบน้อม อย่างยิ่ง ถวายความนับถืออันประกอบด้วยเมตตาเห็นปานนี้ ในพระผู้มีพระภาค ฯ อีกประการหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็น อันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า ในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ มีผิวพรรณอย่างนี้ มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุข เสวยทุกข์อย่างนี้ มีกำหนดอายุเพียงเท่านี้ ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพ นั้น เราก็เป็นผู้มีชื่อย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ มีผิวพรรณอย่างนี้ มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนี้ มีกำหนดอายุเพียงเท่านี้ ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ มาเกิดในภพนี้ ทรงระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันเห็นอำนาจประโยชน์แม้นี้แล จึงทำความนอบน้อมอย่างยิ่ง ถวายความนับถืออันประกอบด้วยเมตตาเห็นปานนี้ ในพระผู้มีพระภาค ฯ อีกประการหนึ่ง พระผู้มีพระภาคย่อมทรงเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลัง อุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุ อันบริสุทธิ์ล่วงจักษุมนุษย์ ย่อมทรงรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์ เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยะเจ้า เป็น มิจฉาทิฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฐิ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโน- *สุจริต ไม่ติเตียนพระอริยะเจ้า เป็นสัมมาทิฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฐิ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ย่อมทรงเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอัน บริสุทธิ์ล่วงจักษุมนุษย์ ย่อมทรงรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมด้วยประการฉะนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เห็นอำนาจประโยชน์แม้นี้แล จึงทำความนอบน้อม อย่างยิ่ง ถวายความนับถืออันประกอบด้วยเมตตาเห็นปานนี้ ในพระผู้มีพระภาค ฯ อีกประการหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยพระปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เห็นอำนาจประโยชน์แม้นี้แล จึงทำ ความนอบน้อมอย่างยิ่ง ถวายความนับถืออันประกอบด้วยเมตตาเห็นปานนี้ ใน พระผู้มีพระภาค ฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันเป็นผู้มีกิจมาก มีกรณียะมากขอถวาย บังคมลาไป ณ บัดนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรมหาบพิตร ขอมหาบพิตรทรง สำคัญกาลอันควรในบัดนี้เถิด ครั้งนั้นแล พระเจ้าปเสนทิโกสลเสด็จลุกขึ้น จากอาสน์ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทรงทำประทักษิณแล้ว เสด็จกลับไป ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
จบมหาวรรคที่ ๓
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สีหสูตร ๒. อธิมุตติสูตร ๓. กายสูตร ๔. จุนทสูตร ๕. กสิณ สูตร ๖. กาลีสูตร ๗. มหาปัญหาสูตรที่ ๑ ๘. มหาปัญหาสูตรที่ ๒ ๙. โกศล สูตรที่ ๑ ๑๐. โกศลสูตรที่ ๒ ฯ
-----------------------------------------------------
อุปาลิวรรคที่ ๔
อุปาลิสูตรที่ ๑
[๓๑] ... ครั้งนั้นแล ท่านพระอุบาลีได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระตถาคตทรงอาศัยอำนาจ ประโยชน์เท่าไรหนอแล จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ทรงแสดงปาติโมกข์แก่สาวก ทั้งหลาย ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรอุบาลี ตถาคตอาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการแล จึงบัญญัติสิกขาบท แสดงปาติโมกข์แก่สาวกทั้งหลาย ๑๐ ประการ เป็นไฉน คือ เพื่อความตั้งอยู่ด้วยดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความอยู่สำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่อการอยู่สำราญแห่งภิกษุทั้งหลายผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะทั้งหลายอันเป็นไปในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะทั้งหลายอัน เป็นไปในสัมปรายภพ ๑ เพื่อความเลื่อมใสแห่งบุคคลทั้งหลายผู้ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเจริญยิ่งแห่งความเลื่อมใสของบุคคลทั้งหลายผู้เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความ ตั้งมั่นแห่งสัทธรรม ๑ เพื่ออนุเคราะห์วินัย ๑ ดูกรอุบาลี ตถาคตอาศัย อำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการนี้แล จึงบัญญัติสิกขาบท แสดงปาติโมกข์แก่สาวก ทั้งหลาย ฯ
จบสูตรที่ ๑
อุปาลิสูตรที่ ๒
อุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การหยุดสวดปาติโมกข์มีกี่ประการ พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรอุบาลี การหยุดสวดปาติโมกข์มี ๑๐ ประการ ๑๐ ประการเป็น ไฉน คือ ภิกษุผู้ต้องปาราชิกนั่งอยู่ในบริษัทนั้น ๑ กถาปรารภปาราชิกเป็นเรื่อง ยังทำค้างอยู่ ๑ อนุปสัมบันนั่งอยู่ในบริษัทนั้น ๑ กถาปรารภอนุปสัมบันเป็นเรื่อง ยังทำค้างอยู่ ๑ ผู้บอกลาสิกขานั่งอยู่ในบริษัทนั้น ๑ กถาปรารภผู้บอกลาสิกขาเป็น เรื่องยังทำค้างอยู่ ๑ บัณเฑาะก์นั่งอยู่ในบริษัทนั้น ๑ กถาปรารภบัณเฑาะก์เป็น เรื่องยังทำค้างอยู่ ๑ ผู้ประทุษร้ายนางภิกษุณีนั่งอยู่ในบริษัทนั้น ๑ กถาปรารภผู้ ประทุษร้ายนางภิกษุณีเป็นเรื่องยังทำค้างอยู่ ๑ ดูกรอุบาลี การหยุดสวดปาติโมกข์ มี ๑๐ ประการนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๒
อุพพาหสูตร
[๓๒] อุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุประกอบด้วยธรรมเท่าไรหนอแล สงฆ์พึงสมมติเพื่อให้เป็นผู้รื้อฟื้นอธิกรณ์ ฯ พ. ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการแล สงฆ์พึงสมมติ เพื่อให้เป็นผู้รื้อฟื้นอธิกรณ์ ๑๐ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ มีศีล สำรวมแล้วในปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปรกติเห็น ภัยในโทษทั้งหลายอันมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ๑ เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้สดับมาก ทรงไว้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ ซึ่งธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ๑ ปาติโมกข์ทั้ง ๒ เป็นอุเทศอันภิกษุนั้นจำดีแล้ว จำแนกดีแล้ว กล่าวดีแล้ว โดย พิสดาร วินิจฉัยดีแล้วโดยสูตรโดยอนุพยัญชนะ ๑ อนึ่ง ภิกษุนั้นเป็นผู้เคร่งครัด ในวินัยไม่ง่อนแง่น ๑ เป็นผู้สามารถเพื่ออันยังคู่ความทั้ง ๒ ฝ่ายให้ยินยอม ให้ ตรวจดู ให้เห็นเหตุผล ให้เลื่อมใสได้ ๑ เป็นผู้ฉลาดในการยังอธิกรณ์อันเกิดขึ้น ให้ระงับ ๑ รู้อธิกรณ์ ๑ รู้เหตุเป็นที่เกิดขึ้นแห่งอธิกรณ์ ๑ รู้ความดับแห่งอธิกรณ์ ๑ รู้ทางปฏิบัติเป็นเครื่องถึงความดับอธิกรณ์ ๑ ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล สงฆ์พึงสมมติเพื่อให้เป็นผู้รื้อฟื้นอธิกรณ์ ฯ
จบสูตรที่ ๓
อุปสัมปทาสูตร
[๓๓] อุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรมเท่าไรหนอแล พึงให้กุลบุตรอุปสมบท ฯ พ. ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการแล พึงให้กุลบุตร อุปสมบท ๑๐ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมใน ปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษอันมี ประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ๑ เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้สดับมาก ทรงไว้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ ซึ่งธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ๑ ปาติโมกข์เป็น อุเทศอันภิกษุนั้นจำดีแล้ว จำแนกดีแล้ว ให้เป็นไปดีแล้ว โดยพิสดาร วินิจฉัยดี แล้วโดยสูตรโดยอนุพยัญชนะ ๑ ภิกษุนั้นเป็นผู้สามารถเพื่ออุปัฏฐากเองหรือเพื่อ ให้ผู้อื่นอุปัฏฐากซึ่งสัทธิวิหาริกผู้เป็นไข้ ๑ เป็นผู้สามารถเพื่อระงับเองหรือให้ผู้อื่น ระงับความไม่ยินดียิ่ง (ของสัทธิวิหาริก) ๑ เป็นผู้สามารถเพื่อบรรเทาความรำคาญ อันเกิดขึ้นแล้วได้โดยธรรม ๑ เป็นผู้สามารถเพื่อเปลื้องความเห็นผิดอันเกิดขึ้น แล้วโดยธรรม ๑ เป็นผู้สามารถเพื่อให้สมาทานในอธิศีล ๑ เป็นผู้สามารถเพื่อให้ สมาทานในอธิจิต ๑ เป็นผู้สามารถเพื่อให้สมาทานในอธิปัญญา ๑ ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล พึงให้กุลบุตรอุปสมบท ฯ
จบสูตรที่ ๔
นิสสยสูตร
[๓๔] อุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรมเท่าไรหนอแล พึงให้นิสัย ฯลฯ
จบสูตรที่ ๕
สามเณรสูตร
อุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรมเท่าไรหนอแล พึง ให้สามเณรอุปัฏฐาก ฯ พ. ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการแล พึงให้สามเณร อุปัฏฐาก ๑๐ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมแล้ว ในปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษอันมี ประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ๑ เป็นพหูสูต ฯลฯ แทง ตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ ๑ ปาติโมกข์เป็นอุเทศอันภิกษุนั้นเรียนดีแล้ว ฯลฯ ๑ ภิกษุ นั้นเป็นผู้สามารถเพื่ออุปัฏฐากเอง หรือเพื่อให้ผู้อื่นอุปัฏฐากซึ่งสัทธิวิหาริกผู้เป็น ไข้ ๑ เป็นผู้สามารถเพื่อระงับเองหรือเพื่อให้ผู้อื่นช่วยระงับซึ่งความไม่ยินดียิ่ง ๑ เป็นผู้สามารถเพื่อบรรเทาความรำคาญที่เกิดขึ้นแล้วโดยธรรม ๑ เป็นผู้สามารถเพื่อ เปลื้องความเห็นผิดที่เกิดขึ้นแล้วโดยธรรม ๑ เป็นผู้สามารถเพื่อให้สมาทานใน อธิศีล ๑ เป็นผู้สามารถเพื่อให้สมาทานในอธิจิต ๑ เป็นผู้สามารถเพื่อให้สมาทาน ในอธิปัญญา ๑ ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล พึงให้ สามเณรอุปัฏฐาก ฯ
จบสูตรที่ ๖
อุปาลิสังฆเภทสูตร
[๓๕] อุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า สังฆเภท สังฆเภท ดังนี้ สงฆ์จะเป็นผู้แตกกันด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรหนอแล ฯ พ. ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ย่อมแสดงสิ่งที่ไม่ใช่ธรรม ว่า เป็นธรรม ๑ ย่อมแสดงสิ่งที่เป็นธรรมว่าไม่เป็นธรรม ๑ ย่อมแสดงสิ่งที่ไม่ใช่ วินัยว่าเป็นวินัย ๑ ย่อมแสดงสิ่งที่เป็นวินัยว่าไม่เป็นวินัย ๑ ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคต ไม่ได้กล่าวไว้ไม่ได้บอกไว้ว่า ตถาคตกล่าวไว้บอกไว้ ๑ ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคต กล่าวไว้บอกไว้ว่า ตถาคตไม่ได้กล่าวไว้ไม่ได้บอกไว้ ๑ ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตไม่ เคยประพฤติมาว่า ตถาคตเคยประพฤติมา ๑ ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตเคยประพฤติ มาว่า ตถาคตไม่เคยประพฤติมา ๑ ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตไม่บัญญัติไว้ว่า ตถาคต บัญญัติไว้ ๑ ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้ว่า ตถาคตไม่บัญญัติไว้ ๑ ภิกษุ เหล่านั้นย่อมทอดทิ้งกัน แยกจากกัน ทำสังฆกรรมแยกกัน สวดปาติโมกข์แยก จากกัน ด้วยวัตถุ ๑๐ ประการนี้ ดูกรอุบาลี สงฆ์จะเป็นผู้แตกกันด้วยเหตุมี ประมาณเท่านี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๗
อุปาลิสามัคคีสูตร
[๓๖] อุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า สังฆสามัคคี สังฆ- *สามัคคี ดังนี้ สงฆ์จะเป็นผู้พร้อมเพรียงกันด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรหนอแล ฯ พ. ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ย่อมแสดงสิ่งที่ไม่ใช่ ธรรมว่าไม่ใช่ธรรม ๑ ย่อมแสดงสิ่งที่เป็นธรรมว่าเป็นธรรม ๑ ย่อมแสดง สิ่งที่ไม่เป็นวินัยว่าไม่เป็นวินัย ๑ ย่อมแสดงสิ่งที่เป็นวินัยว่าเป็นวินัย ๑ ย่อม แสดงสิ่งที่ตถาคตไม่ได้กล่าวไว้ไม่ได้บอกไว้ว่า ตถาคตไม่ได้กล่าวไว้ไม่ได้บอก ไว้ ๑ ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตกล่าวไว้บอกไว้ว่าตถาคตกล่าวไว้บอกไว้ ๑ ย่อมแสดง สิ่งที่ตถาคตไม่เคยประพฤติมาว่า ตถาคตไม่เคยประพฤติมา ๑ ย่อมแสดง สิ่งที่ตถาคตเคยประพฤติมาว่า ตถาคตเคยประพฤติมา ๑ ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคต ไม่ได้บัญญัติว่า ตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้ ๑ ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้ว่า ตถาคตบัญญัติไว้ ๑ ภิกษุเหล่านั้นย่อมไม่ทอดทิ้งกัน ไม่แยกจากกัน ไม่ ทำสังฆกรรมแยกจากกัน ไม่สวดปาติโมกข์แยกจากกัน ด้วยวัตถุ ๑๐ ประการนี้ ดูกรอุบาลี สงฆ์ย่อมเป็นผู้พร้อมเพรียงกันด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๘
อานันทสังฆเภทสูตร
[๓๗] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า สังฆเภท สังฆเภท ดังนี้ สงฆ์จะเป็นผู้ แตกกันด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรหนอแล ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมแสดงสิ่ง ที่ไม่ใช่ธรรมว่าเป็นธรรม ย่อมแสดงสิ่งที่เป็นธรรมว่า ไม่ใช่ธรรม ... ย่อมแสดง สิ่งที่ตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้ว่า ตถาคตบัญญัติไว้ ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคต บัญญัติไว้ว่า ตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้ ภิกษุเหล่านั้นย่อมทอดทิ้งกัน ย่อมแยกจาก กัน ย่อมทำสังฆกรรมแยกกัน สวดปาติโมกข์แยกจากกัน ด้วยวัตถุ ๑๐ ประการ นี้ ดูกรอานนท์ สงฆ์จะเป็นผู้แตกกันด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล ฯ [๓๘] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็บุคคลผู้ที่ทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง กัน จะประสพผลอะไร พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรอานนท์ บุคคลผู้ที่ทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันนั้นจะประสพผล อันเผ็ดร้อนซึ่งตั้งอยู่ตลอดกัปหนึ่ง ฯ อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ผลอันเผ็ดร้อนซึ่งตั้งอยู่ตลอดกัปหนึ่ง คือ อะไร พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรอานนท์ บุคคลผู้ที่ทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันนั้นจะเสวยผล กรรมอยู่ในนรกตลอดกัปหนึ่ง ฯ บุคคลผู้ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ยินดีแล้วในการแตกแยก ตั้งอยู่ในอธรรม เป็นผู้เข้าถึงอบาย เข้าถึงนรก ตั้งอยู่ใน นรกนั้นตลอดกัปหนึ่ง ย่อมพลาดจากธรรมเป็นแดนเกษม จากโยคะ ย่อมเสวยกรรมอยู่ในนรกตลอดกัปหนึ่ง เพราะ ทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันให้แตกกัน ฯ
จบสูตรที่ ๙
อานันทสังฆสามัคคีสูตร
[๓๙] ท่านพระอานนท์ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า สังฆสามัคคี สังฆสามัคคี ดังนี้ สงฆ์จะเป็นผู้พร้อมเพรียงกันด้วยเหตุมีประมาณ เท่าไรหนอแล ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมแสดง สิ่งที่ไม่ใช่ธรรมว่าไม่ใช่ธรรม ย่อมแสดงสิ่งที่เป็นธรรมว่าเป็นธรรม ... ย่อม แสดงสิ่งที่ตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้ว่า ตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้ ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคต ได้บัญญัติไว้ว่า ตถาคตได้บัญญัติไว้ ภิกษุเหล่านั้นย่อมไม่ทอดทิ้งกัน ไม่แยก จากกัน ไม่ทำสังฆกรรมแยกกัน ไม่สวดปาติโมกข์แยกกัน ด้วยวัตถุ ๑๐ ประการ นี้ ดูกรอานนท์ สงฆ์ย่อมเป็นผู้พร้อมเพรียงกันด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล ฯ [๔๐] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็บุคคลผู้สมานสงฆ์ผู้แตกกันแล้ว ให้พร้อมเพรียงกัน จะประสพผลอะไร พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรอานนท์ บุคคลผู้ที่ทำสงฆ์ผู้แตกกันแล้วให้พร้อมเพรียงกันนั้น จะประสพบุญอันประเสริฐ ฯ อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุญอันประเสริฐคืออะไร พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรอานนท์ บุคคลผู้สมานสงฆ์ผู้แตกกันแล้วให้พร้อมเพรียงกันนั้น จะบันเทิงอยู่ในสวรรค์ตลอดกัปหนึ่ง ฯ ความพร้อมเพรียงแห่งสงฆ์ เป็นเหตุให้เกิดความสุข และ บุคคลผู้อนุเคราะห์สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันแล้ว ผู้ยินดีแล้วใน ความพร้อมเพรียงกัน ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมไม่พลาดจากธรรม เป็นแดนเกษมจากโยคะ ย่อมบันเทิงอยู่ในสวรรค์ตลอด กัปหนึ่ง เพราะสมานสงฆ์ให้พร้อมเพรียงกัน ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
จบอุปาลิวรรคที่ ๔
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อุปาลิสูตรที่ ๑ ๒. อุปาลิสูตรที่ ๒ ๓. อุพพาหสูตร ๔. อุปสัมปทาสูตร ๕. นิสสยสูตร ๖. สามเณรสูตร ๗. อุปาลิ- *สังฆเภทสูตร ๘. อุปาลิสังฆสามัคคีสูตร ๙. อานันทสังฆเภทสูตร ๑๐. อานันทสังฆสามัคคีสูตร ฯ
-----------------------------------------------------
อักโกสวรรคที่ ๕
วิวาทสูตร
[๔๑] ครั้งนั้นแล ท่านพระอุบาลีได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอแลเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้ ความหมายมั่น การทะเลาะ การแก่งแย่ง และการวิวาทเกิดขึ้นในสงฆ์ ที่เป็น เหตุให้ภิกษุทั้งหลายอยู่ไม่สำราญ ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุบาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมแสดงสิ่ง ที่ไม่เป็นธรรมว่าเป็นธรรม ย่อมแสดงสิ่งที่เป็นธรรมว่าไม่เป็นธรรม ย่อม แสดงสิ่งที่ไม่เป็นวินัยว่าเป็นวินัย ย่อมแสดงสิ่งที่เป็นวินัยว่าไม่เป็นวินัย ย่อม แสดงสิ่งที่ตถาคตไม่ได้กล่าวไว้ ไม่ได้บอกไว้ว่า ตถาคตได้กล่าวไว้ได้บอกไว้ ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตได้กล่าวไว้ได้บอกไว้ว่า ตถาคตไม่ได้กล่าวไว้ไม่ได้บอกไว้ ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตไม่เคยประพฤติมาว่า ตถาคตเคยประพฤติมา ย่อมแสดงสิ่งที่ ตถาคตเคยประพฤติมาว่า ตถาคตไม่เคยประพฤติมา ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตไม่ได้ บัญญัติไว้ว่า ตถาคตได้บัญญัติไว้ ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตได้บัญญัติไว้ว่า ตถาคตไม่ ได้บัญญัติไว้ ดูกรอุบาลี นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้ความหมายมั่น การทะเลาะ การแก่งแย่ง และการวิวาทเกิดขึ้นในสงฆ์ ที่เป็นเหตุให้ภิกษุทั้งหลายอยู่ไม่สำราญ ฯ
จบสูตรที่ ๑
วิวาทมูลสูตรที่ ๑
[๔๒] อุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มูลเหตุแห่งการวิวาท มีเท่าไร หนอแล ฯ พ. ดูกรอุบาลี มูลเหตุแห่งการวิวาทมี ๑๐ ประการ ๑๐ ประการเป็นไฉน ดูกรอุบาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมแสดงสิ่งที่ไม่เป็นธรรมว่าเป็นธรรม ย่อมแสดง สิ่งที่เป็นธรรมว่าไม่เป็นธรรม ... ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้ว่า ตถาคต ได้บัญญัติไว้ ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตได้บัญญัติไว้ว่า ตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้ ดูกร อุบาลี มูลเหตุแห่งการวิวาทมี ๑๐ ประการนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๒
วิวาทมูลสูตรที่ ๒
[๔๓] อุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มูลเหตุแห่งการวิวาท มีเท่าไร หนอแล ฯ พ. ดูกรอุบาลี มูลเหตุแห่งการวิวาทมี ๑๐ ประการ ๑๐ ประการเป็นไฉน ดูกรอุบาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมแสดงสิ่งที่ไม่เป็นอาบัติว่าเป็นอาบัติ ย่อม แสดงสิ่งที่เป็นอาบัติว่าไม่เป็นอาบัติ ย่อมแสดงอาบัติเบาว่า เป็นอาบัติหนัก ย่อม แสดงอาบัติหนักว่าเป็นอาบัติเบา ย่อมแสดงอาบัติชั่วหยาบว่า ไม่เป็นอาบัติชั่วหยาบ ย่อมแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติชั่วหยาบ ย่อมแสดงอาบัติมีส่วนเหลือว่า เป็นอาบัติไม่มีส่วนเหลือ ย่อมแสดงอาบัติไม่มีส่วนเหลือว่า เป็นอาบัติมีส่วน เหลือ ย่อมแสดงอาบัติที่ทำคืนได้ว่า เป็นอาบัติที่ทำคืนไม่ได้ ย่อมแสดงอาบัติ ที่ทำคืนไม่ได้ว่า เป็นอาบัติทำคืนได้ ดูกรอุบาลี มูลเหตุแห่งการวิวาทมี ๑๐ ประการ นี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๓
กุสินาราสูตร
[๔๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ไพรสณฑ์เป็นที่นำไปทำ พลีกรรม ใกล้กรุงกุสินารา ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นโจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณา ธรรม ๕ ประการในตน พึงเข้าไปตั้งธรรม ๕ ประการไว้ในตน แล้วจึงโจท ผู้อื่น ธรรม ๕ ประการอันภิกษุพึงพิจารณาในตนเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นโจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาอย่างนี้ว่า เราเป็นผู้มีกาย- *สมาจารอันบริสุทธิ์ เราเป็นผู้ประกอบด้วยกายสมาจารอันบริสุทธิ์ ไม่ขาด ไม่ บกพร่องหรือหนอ ธรรมนี้มีพร้อมอยู่แก่เราหรือไม่หนอ ดูกรภิกษุทั้งหลาย หาก ว่าภิกษุมิได้เป็นผู้มีกายสมาจารอันบริสุทธิ์ มิได้เป็นผู้ประกอบด้วยกายสมาจาร อันบริสุทธิ์ ไม่ขาด ไม่บกพร่องไซร้ จะมีผู้ว่ากล่าวภิกษุนั้นว่า เชิญท่านจง ศึกษาความประพฤติทางกายเสียก่อนเถิด จะมีผู้ว่ากล่าวภิกษุนั้น ดังนี้ ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้เป็นโจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณา อย่างนี้ว่า เราเป็นผู้มีวจีสมาจารบริสุทธิ์ เราเป็นผู้ประกอบด้วยวจีสมาจารอัน บริสุทธิ์ ไม่ขาด ไม่บกพร่องหรือหนอ ธรรมนี้มีพร้อมอยู่แก่เราหรือไม่หนอ ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากว่าภิกษุมิได้เป็นผู้มีวจีสมาจารบริสุทธิ์ มิได้ประกอบด้วยวจี- *สมาจารอันบริสุทธิ์ ไม่ขาด ไม่บกพร่องไซร้ จะมีผู้ว่ากล่าวภิกษุนั้นว่า เชิญท่าน จงศึกษาความประพฤติทางวาจาเสียก่อนเถิด จะมีผู้ว่ากล่าวภิกษุนั้น ดังนี้ ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้เป็นโจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณา อย่างนี้ว่า เราเข้าไปตั้งเมตตาจิตไม่อาฆาตไว้ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายแล้วหรือ หนอ ธรรมนี้มีพร้อมอยู่แก่เราหรือไม่หนอ ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากว่าภิกษุไม่เข้าไป ตั้งเมตตาจิตไม่อาฆาตไว้ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายไซร้ จะมีผู้ว่ากล่าวภิกษุนั้น ว่า เชิญท่านจงเข้าไปตั้งเมตตาจิตไว้ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายเสียก่อนเถิด จะมีผู้ว่ากล่าวภิกษุนั้น ดังนี้ ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้เป็นโจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณา อย่างนี้ว่า เราเป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้สดับมามาก ทรงไว้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิซึ่งธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่าม กลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิงหรือหนอ ธรรมนี้มีพร้อมอยู่แก่เราหรือไม่หนอ ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากภิกษุไม่เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ ไม่เป็นผู้ได้สดับมามาก ทรงไว้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิซึ่งธรรมอันงามในเบื้องต้น งามใน ท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิงไซร้ จะมีผู้ว่ากล่าวภิกษุนั้นว่า เชิญท่านจงเล่าเรียนคัมภีร์ เสียก่อนเถิด จะมีผู้ว่ากล่าวภิกษุนั้น ดังนี้ ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้เป็นโจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณา อย่างนี้ว่า เราจำปาติโมกข์ทั้ง ๒ ได้ดีแล้ว จำแนกดีแล้ว ให้เป็นไปดีแล้วโดย พิสดาร วินิจฉัยดีแล้วโดยสูตรโดยอนุพยัญชนะหรือหนอ ธรรมนี้มีพร้อมอยู่แก่ เราหรือไม่หนอ ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากว่าภิกษุเป็นผู้ไม่จำปาติโมกข์ทั้ง ๒ ได้ดี แล้ว มิได้จำแนกดีแล้ว มิได้ให้เป็นไปดีแล้วโดยพิสดาร มิได้วินิจฉัยด้วยดีโดย สูตร โดยอนุพยัญชนะ ภิกษุนั้นถูกถามว่า ท่านผู้มีอายุ สิกขาบทนี้พระผู้มี- *พระภาคตรัสแล้วในที่ไหน ดังนี้ แก้ไม่ได้ จะมีผู้ว่ากล่าวภิกษุนั้นว่า เชิญท่าน ศึกษาวินัยเสียก่อนเถิด จะมีผู้ว่ากล่าวภิกษุนั้น ดังนี้ ธรรม ๕ ประการนี้ อัน ภิกษุผู้เป็นโจทก์พึงพิจารณาในตน ฯ ธรรม ๕ ประการ อันภิกษุผู้เป็นโจทก์พึงให้เข้าไปตั้งไว้ในตนเป็นไฉน คือ จักกล่าวโดยกาลอันควร จักไม่กล่าวโดยกาลอันไม่ควร ๑ จักกล่าวด้วยคำ จริง จักไม่กล่าวด้วยคำไม่จริง ๑ จักกล่าวด้วยคำอ่อนหวาน จักไม่กล่าวด้วยคำ หยาบ ๑ จักกล่าวด้วยคำอันประกอบด้วยประโยชน์ จักไม่กล่าวด้วยคำอันไม่ ประกอบด้วยประโยชน์ ๑ จักมีเมตตาจิตกล่าว จักไม่เพ่งโทษกล่าว ๑ ธรรม ๕ ประการนี้ อันภิกษุผู้เป็นโจทก์พึงเข้าไปตั้งไว้ในตน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ผู้เป็นโจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาธรรม ๕ ประการนี้ในตน พึงเข้า ไปตั้งธรรม ๕ ประการนี้ไว้ในตน แล้วจึงโจทผู้อื่น ฯ
จบสูตรที่ ๔
ปเวสนสูตร
[๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษในการเข้าไปในพระราชวังชั้นในมี ๑๐ ประการ ๑๐ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระราชาในโลกนี้ประทับ อยู่กับพระมเหสี ภิกษุเข้าไปในที่นั้น พระมเหสีเห็นภิกษุนั้นแล้วย่อมทรงยิ้มแย้ม หรือภิกษุเห็นพระมเหสีแล้วยิ้มแย้มก็ดี พระราชาก็จักทรงสงสัยในอาการนั้นอย่างนี้ ว่า คนทั้ง ๒ นี้คงได้ทำแล้ว หรือจักทำกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นแน่ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย นี้เป็นโทษในการเข้าไปสู่พระราชวังชั้นในข้อที่ ๑ ฯ อีกประการหนึ่ง พระราชาทรงมีกิจมาก มีกรณียมาก เสด็จไปหาหญิง คนใดคนหนึ่งแล้ว ทรงระลึกไม่ได้ หญิงนั้นย่อมตั้งครรภ์ด้วยพระราชานั้น พระราชาก็จักทรงสงสัยในการตั้งครรภ์นั้นอย่างนี้ว่า เว้นบรรพชิตแล้ว ใครๆ อื่น ไม่เข้ามาในพระราชวังชั้นในนี้ กรรมนี้จะพึงเป็นกรรมของบรรพชิตกระมังหนอ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นโทษในการเข้าไปในพระราชวังชั้นในข้อที่ ๒ ฯ อีกประการหนึ่ง รัตนะอย่างใดอย่างหนึ่งในพระราชวังชั้นในหายไป พระราชาก็จักทรงสงสัยในการที่รัตนะหายไปนั้นอย่างนี้ว่า เว้นบรรพชิตแล้ว ใครๆ อื่นไม่เข้ามาในพระราชวังชั้นในนี้ กรรมนี้จะพึงเป็นกรรมของบรรพชิต กระมังหนอ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นโทษในการเข้าไปในพระราชวังชั้นใน ข้อที่ ๓ ฯ อีกประการหนึ่ง เรื่องลับอันเป็นภายในในพระราชวังชั้นในแพร่งพราย ออกภายนอก พระราชาก็จะทรงสงสัยในการที่เรื่องลับแพร่งพรายออกภายนอกนั้น อย่างนี้ว่า เว้นบรรพชิตแล้ว ใครๆ อื่นไม่เข้ามาในพระราชวังชั้นในนี้ กรรมนี้ จะพึงเป็นกรรมของบรรพชิตกระมังหนอ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นโทษในการเข้า ไปในพระราชวังชั้นในข้อที่ ๔ ฯ อีกประการหนึ่ง ในพระราชวังชั้นใน บิดาย่อมปรารถนาเพื่อจะฆ่าบุตร หรือบุตรย่อมปรารถนาเพื่อจะฆ่าบิดา คนทั้ง ๒ ฝ่ายนั้นจะสงสัยอย่างนี้ว่า เว้นบรรพชิตแล้ว ใครๆ อื่นไม่เข้ามาในพระราชวังชั้นในนี้ กรรมนี้จะพึงเป็น กรรมของบรรพชิตกระมังหนอ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นโทษในการเข้าไปใน พระราชวังชั้นในข้อที่ ๕ ฯ อีกประการหนึ่ง พระราชาย่อมทรงตั้งบุคคลผู้ควรแก่ตำแหน่งต่ำไว้ใน ตำแหน่งสูง คนทั้งหลายไม่พอใจการแต่งตั้งนั้น จะมีความสงสัยอย่างนี้ว่า พระราชาทรงคลุกคลีด้วยบรรพชิต กรรมนี้จะพึงเป็นกรรมของบรรพชิตกระมังหนอ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นโทษในการเข้าไปในพระราชวังชั้นในข้อที่ ๖ ฯ อีกประการหนึ่ง พระราชาย่อมทรงตั้งบุคคลผู้ควรแก่ตำแหน่งสูงไว้ใน ตำแหน่งต่ำ คนทั้งหลายไม่พอใจการแต่งตั้งนั้น จะมีความสงสัยอย่างนี้ว่า พระราชาทรงคลุกคลีด้วยบรรพชิต กรรมนี้จะพึงเป็นกรรมของบรรพชิตกระมังหนอ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นโทษในการเข้าไปในพระราชวังชั้นในข้อที่ ๗ ฯ อีกประการหนึ่ง พระราชาย่อมทรงส่งกองทัพไปในกาลอันไม่ควร คน ทั้งหลายไม่พอใจในการที่ส่งกองทัพไปนั้น จะมีความสงสัยอย่างนี้ว่า พระราชา ทรงคลุกคลีด้วยบรรพชิต กรรมนี้จะพึงเป็นกรรมของบรรพชิตกระมังหนอ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นโทษในการเข้าไปในพระราชวังชั้นในข้อที่ ๘ ฯ อีกประการหนึ่ง พระราชาทรงส่งกองทัพไปในกาลอันควร แล้วรับสั่ง ให้กลับเสียในระหว่างทาง คนทั้งหลายไม่พอใจการให้กองทัพกลับเสียในระหว่าง ทางนั้น จะมีความสงสัยอย่างนี้ว่า พระราชาทรงคลุกคลีด้วยบรรพชิต กรรมนี้ จะพึงเป็นกรรมของบรรพชิตกระมังหนอ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นโทษในการ เข้าไปในพระราชวังชั้นในข้อที่ ๙ ฯ อีกประการหนึ่ง พระราชวังชั้นในเป็นที่คับคั่งด้วยช้าง คับคั่งด้วยม้า คับคั่งด้วยรถ มีรูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะอันเป็นที่ตั้งแห่งความ กำหนัด ซึ่งเป็นของไม่สมควรแก่บรรพชิต ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นโทษในการ เข้าไปในพระราชวังชั้นในข้อที่ ๑๐ ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษในการเข้าไปใน พระราชวังชั้นใน ๑๐ ประการนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๕
สักกสูตร
[๔๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธารามใกล้กรุง กบิลพัสดุ์ สักกชนบท ครั้งนั้นแล อุบาสกชาวสักกชนบทเป็นอันมาก ได้เข้า ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับในวันอุโบสถ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามอุบาสกชาวสักกชนบทว่า ดูกรอุบาสกชาวสักกชนบททั้งหลาย ท่านทั้งหลายย่อมรักษาอุโบสถอันประกอบ ด้วยองค์ ๘ แลหรือ อุบาสกชาวสักกชนบทเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ บางคราวข้าพระองค์ทั้งหลายย่อมรักษาอุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ บางคราวไม่ได้รักษา พระพุทธเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรอุบาสกชาวสักกะทั้งหลาย ไม่เป็นลาภของท่านทั้งหลายเสียแล้ว ท่านทั้งหลายไม่ได้ดีเสียแล้ว ที่ท่านทั้งหลายเมื่อชีวิตมีภัยเพราะความโศก มีภัย เพราะความตายอยู่อย่างนี้ บางคราวก็รักษาอุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ บางคราวก็ไม่ได้รักษา ดูกรอุบาสกชาวสักกะทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญ ความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษในโลกนี้พึงยังทรัพย์กึ่งกหาปณะให้เกิดขึ้นทุกๆ วัน ด้วยการงานอันชอบโดยไม่แตะต้องอกุศลเลย สมควรจะกล่าวได้หรือไม่ว่า เป็น บุรุษฉลาดสมบูรณ์ด้วยความหมั่น ฯ อุ. สมควรกล่าวได้อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรอุบาสกชาวสักกะทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน บุรุษในโลกนี้พึงยังทรัพย์กหาปณะหนึ่งให้เกิดขึ้นทุกๆ วัน ด้วยการ งานอันชอบโดยไม่แตะต้องอกุศลเลย สมควรจะกล่าวได้หรือไม่ว่า เป็นบุรุษ ผู้ฉลาดสมบูรณ์ด้วยความหมั่น ฯ อุ. สมควรกล่าวได้อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรอุบาสกชาวสักกะทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน บุรุษในโลกนี้ พึงยังทรัพย์ ๒ กหาปณะ ๓ กหาปณะ ๔ กหาปณะ ๕ กหาปณะ ๖ กหาปณะ ๗ กหาปณะ ๘ กหาปณะ ๙ กหาปณะ ๑๐ กหาปณะ ๒๐ กหาปณะ ๓๐ กหาปณะ ๔๐ กหาปณะ ๕๐ กหาปณะ ๑๐๐ กหาปณะ ให้เกิดขึ้นทุกๆ วัน ด้วยการงานอันชอบโดยไม่แตะต้องอกุศลเลย สมควรจะ กล่าวได้หรือไม่ว่า เป็นบุรุษผู้ฉลาดสมบูรณ์ด้วยความหมั่น ฯ อุ. สมควรกล่าวได้อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรอุบาสกชาวสักกะทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน บุรุษนั้นเมื่อยังทรัพย์ ๑๐๐ กหาปณะ ๑,๐๐๐ กหาปณะ ให้เกิดขึ้น ทุกๆ วัน เก็บทรัพย์ที่ตนได้แล้วๆ ไว้ เป็นผู้มีชีวิตร้อยปี จะพึงประสบ กองโภคสมบัติเป็นอันมากบ้างหรือหนอ ฯ อุ. พึงเป็นอย่างนั้นได้ พระพุทธเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรอุบาสกชาวสักกะทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน บุรุษนั้นจะพึงเสวยความสุขโดยส่วนเดียวอยู่หนึ่งคืน หนึ่งวันหรือ กึ่งวัน อันมีโภคสมบัติเป็นเหตุ มีโภคสมบัติเป็นแดนเกิด มีโภคสมบัติเป็นที่ตั้ง บ้างหรือหนอ ฯ อุ. มิได้เป็นอย่างนั้นเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ พ. ข้อนั้นเป็นเหตุอะไร ฯ อุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะกามทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยง เป็นของ ว่างเปล่า เป็นของหลอกลวง เป็นของมีความฉิบหายไปเป็นธรรมดา ฯ พ. ดูกรอุบาสกชาวสักกะทั้งหลาย ส่วนสาวกของเราในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ปฏิบัติตามที่เราพร่ำสอนอยู่ตลอด ๑๐ ปี พึงเป็นผู้เสวยความสุขโดยส่วนเดียวตลอดร้อยปีก็มี หมื่นปีก็มี แสนปี ก็มี และสาวกของเรานั้นแล พึงเป็นสกทาคามีก็มี เป็นอนาคามีก็มี เป็น โสดาบันปฏิบัติไม่ผิดก็มี ดูกรอุบาสกชาวสักกะทั้งหลาย ๑๐ ปีจงยกไว้ สาวก ของเราในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ปฏิบัติ ตามที่เราพร่ำสอนตลอด ๙ ปี ๘ ปี ๗ ปี ๖ ปี ๕ ปี ๔ ปี ๓ ปี ๒ ปี ๑ ปี พึงเป็นผู้เสวยความสุขโดยส่วนเดียวตลอดร้อยปีก็มี หมื่นปีก็มี แสนปีก็มี และสาวกของเรานั้นแล พึงเป็นสกทาคามีก็มี พึงเป็นอนาคามีก็มี เป็นโสดาบัน ปฏิบัติไม่ผิดก็มี ดูกรอุบาสกชาวสักกะทั้งหลาย ๑ ปีจงยกไว้ สาวกของเราใน ธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ปฏิบัติตามที่เรา พร่ำสอนตลอด ๑๐ เดือน พึงเป็นผู้เสวยสุขโดยส่วนเดียวตลอดร้อยปีก็มี หมื่นปีก็มี แสนปีก็มี และสาวกของเรานั้นแล พึงเป็นสกทาคามีก็มี เป็น อนาคามีก็มี เป็นโสดาบันปฏิบัติไม่ผิดก็มี ดูกรอุบาสกชาวสักกะทั้งหลาย ๑๐ เดือนจงยกไว้ สาวกของเราในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ปฏิบัติตามที่เราพร่ำสอนตลอด ๙ เดือน ๘ เดือน ๗ เดือน ๖ เดือน ๕ เดือน ๔ เดือน ๓ เดือน ๒ เดือน ๑ เดือน กึ่งเดือน พึงเป็นผู้ เสวยสุขโดยส่วนเดียวตลอดร้อยปีก็มี หมื่นปีก็มี แสนปีก็มี และสาวกของเรา นั้นแล พึงเป็นสกทาคามีก็มี เป็นอนาคามีก็มี เป็นโสดาบันปฏิบัติไม่ผิดก็มี ดูกรอุบาสกชาวสักกะทั้งหลาย กึ่งเดือนจงยกไว้ สาวกของเราในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ปฏิบัติตามที่เราพร่ำสอนตลอด ๑๐ คืน ๑๐ วัน พึงเป็นผู้เสวยสุขโดยส่วนเดียวตลอดร้อยปีก็มี หมื่นปีก็มี แสนปีก็มี และสาวกของเรานั้นแล พึงเป็นสกทาคามีก็มี เป็นอนาคามีก็มี เป็นโสดาบันปฏิบัติไม่ผิดก็มี ดูกรอุบาสกชาวสักกะทั้งหลาย ๑๐ คืน ๑๐ วัน จงยกไว้ สาวกของเราในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจ เด็ดเดี่ยว ปฏิบัติตามที่เราพร่ำสอนตลอด ๙ คืน ๙ วัน ๘ คืน ๘ วัน ๗ คืน ๗ วัน ๖ คืน ๖ วัน ๕ คืน ๕ วัน ๔ คืน ๔ วัน ๓ คืน ๓ วัน ๒ คืน ๒ วัน ๑ คืน ๑ วัน พึงเป็นผู้เสวยสุขโดยส่วนเดียวตลอดร้อยปีก็มี หมื่นปีก็มี แสนปีก็มี และสาวกของเรานั้นแล พึงเป็นสกทาคามีก็มี เป็นอนาคามีก็มี เป็นโสดาบันปฏิบัติไม่ผิดก็มี ดูกรอุบาสกชาวสักกะทั้งหลาย ไม่เป็นลาภของท่าน ทั้งหลายเสียแล้ว ท่านทั้งหลายไม่ได้ดีแล้ว ที่ท่านทั้งหลาย เมื่อชีวิตมีภัยเพราะ ความโศก มีภัยเพราะความตายอย่างนี้ บางคราวก็รักษาอุโบสถอันมีองค์ ๘ บางครั้งก็ไม่รักษา ฯ อุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เหล่านี้จักรักษาอุโบสถ อัน ประกอบด้วยองค์ ๘ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ
จบสูตรที่ ๖
มหาลิสูตร
[๔๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลาป่ามหาวัน ใกล้นครเวสาลี ครั้งนั้นแล กษัตริย์ลิจฉวีพระนามว่ามหาลี ได้เสด็จเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอแลเป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งการทำบาปกรรม แห่งความเป็นไปแห่ง บาปกรรม พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรมหาลี โลภะแลเป็นเหตุเป็นปัจจัย แห่งการทำบาปกรรม แห่งความเป็นไปแห่งบาปกรรม ดูกรมหาลี โทสะแล ... โมหะแล ... อโยนิโสมนสิการแล ... ดูกรมหาลี จิตอันบุคคลตั้งไว้ผิดแล เป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งการทำบาปกรรม แห่งความเป็นไปแห่งบาปกรรม ดูกร มหาลี กิเลสมีโลภะเป็นต้นนี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งการทำบาปกรรม แห่งความเป็นไปแห่งบาปกรรม ฯ ม. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัย แห่งการทำ กัลยาณกรรม แห่งความเป็นไปแห่งกัลยาณกรรม ฯ พ. ดูกรมหาลี อโลภะแลเป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งการทำกัลยาณกรรม แห่งความเป็นไปแห่งกัลยาณกรรม ดูกรมหาลี อโทสะแล ... อโมหะแล ... โยนิโสมนสิการแล ... ดูกรมหาลี จิตอันบุคคลตั้งไว้ชอบแล เป็นเหตุเป็น ปัจจัยแห่งการทำกัลยาณกรรม แห่งความเป็นไปแห่งกัลยาณกรรม ดูกรมหาลี ธรรมมีอโลภะเป็นต้นนี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งการทำกัลยาณธรรม แห่งความ เป็นไปแห่งกัลยาณธรรม ดูกรมหาลี ถ้าธรรม ๑๐ ประการนี้แลไม่พึงมีในโลก ชื่อว่าความประพฤติไม่สม่ำเสมอ คือ ความประพฤติอธรรม หรือความประพฤติ สม่ำเสมอ คือ ความประพฤติธรรม ก็จะไม่พึงปรากฏในโลกนี้ ดูกรมหาลี ก็เพราะธรรม ๑๐ ประการนี้มีพร้อมอยู่ในโลก ฉะนั้น ชื่อว่าความประพฤติไม่ สม่ำเสมอ คือ ความประพฤติอธรรม หรือความประพฤติสม่ำเสมอ คือ ความประพฤติธรรม จึงปรากฏ (ในโลกนี้) ฯ
จบสูตรที่ ๗
อภิณหปัจจเวกขณธรรมสูตร
[๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้ อันบรรพชิต พึงพิจารณาเนืองๆ ๑๐ ประการเป็นไฉน คือ บรรพชิตพึงพิจารณาเนืองๆ ว่า เราเป็นผู้มีเพศต่างจากคฤหัสถ์ ๑ บรรพชิตพึงพิจารณาเนืองๆ ว่า การเลี้ยงชีพ ของเราเนื่องด้วยผู้อื่น ๑ บรรพชิตพึงพิจารณาเนืองๆ ว่า อากัปกิริยาอย่างอื่น อันเราควรทำมีอยู่ ๑ บรรพชิตพึงพิจารณาเนืองๆ ว่า เราย่อมติเตียนตนเองได้ โดยศีลหรือไม่ ๑ บรรพชิตพึงพิจารณาเนืองๆ ว่า เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ผู้เป็นวิญญูชนพิจารณาแล้ว ติเตียนเราได้โดยศีลหรือไม่ ๑ บรรพชิตพึงพิจารณา เนืองๆ ว่า เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น ๑ บรรพชิตพึง พิจารณาเนืองๆ ว่า เราเป็นผู้มีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทของกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย เราจักทำกรรมใด ดีหรือชั่วก็ตาม เราจักต้องเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น ๑ บรรพชิตพึงพิจารณา เนืองๆ ว่า วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่ ๑ บรรพชิตพึงพิจารณา เนืองๆ ว่า เราย่อมยินดีในเรือนว่างเปล่าหรือไม่ ๑ บรรพชิตพึงพิจารณาเนืองๆ ว่า ญาณทัสนะวิเศษอันสามารถกำจัดกิเลส เป็นอริยะ คือ อุตริมนุสธรรม อันเราได้บรรลุแล้วมีอยู่หรือหนอ ที่เป็นเหตุให้เราผู้อันเพื่อนพรหมจรรย์ถามแล้ว จักไม่เป็นผู้เก้อเขินในกาลภายหลัง ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการ นี้แล อันบรรพชิตพึงพิจารณาเนืองๆ ฯ
จบสูตรที่ ๘
สรีรัฏฐธรรมสูตร
[๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันตั้งอยู่ในสรีระ ๑๐ ประการนี้ อันบรรพชิตพึงพิจารณาเนืองๆ ๑๐ ประการเป็นไฉน คือ ความหนาว ๑ ความร้อน ๑ ความหิว ๑ ความกระหาย ๑ ความปวดอุจจาระ ๑ ความปวด ปัสสาวะ ๑ ความสำรวมกาย ๑ ความสำรวมวาจา ๑ ความสำรวมอาชีพ ๑ ธรรมเป็นเครื่องปรุงแต่งภพ อันเป็นเหตุให้เกิดในภพต่อไป ๑ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ธรรมอันตั้งอยู่ในสรีระ ๑๐ ประการนี้แล อันบรรพชิตพึงพิจารณา เนืองๆ ฯ
จบสูตรที่ ๙
ภัณฑนสูตร
[๕๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล ภิกษุ มากด้วยกันกลับจากบิณฑบาตในเวลาภายหลังภัต นั่งประชุมกันที่หอฉัน เกิด หมายมั่นก่อความทะเลาะวิวาทกันขึ้น ทิ่มแทงกันและกันด้วยหอก คือ ปาก ครั้นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่เร้น เสด็จเข้าไปยังหอฉัน แล้ว ประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ ครั้นแล้วได้ตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย บัดนี้ เธอทั้งหลายนั่งประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ และเรื่อง อะไรอันเธอทั้งหลายพักค้างไว้ในระหว่าง ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ข้าพระองค์ทั้งหลายกลับจากบิณฑบาต ในเวลาภายหลังภัต นั่งประชุมกันที่หอฉัน เกิดหมายมั่นก่อความทะเลาะวิวาท กันขึ้น ทิ่มแทงกันและกันด้วยหอก คือ ปากอยู่ ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย การที่เธอทั้งหลายเกิดความ หมายมั่นก่อความทะเลาะวิวาทกันขึ้น ทิ่มแทงกันและกันด้วยหอก คือ ปากอยู่นี้ เป็นกรรมไม่สมควรแก่เธอทั้งหลาย ผู้เป็นกุลบุตรออกบวชเป็นบรรพชิตด้วย ศรัทธา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้ เป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน ทำให้เป็นที่รัก ที่เคารพกัน ย่อมเป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กันและกัน ไม่วิวาทกัน สามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ธรรม ๑๐ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมแล้วในปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วย อาจาระและโคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ใน สิกขาบททั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีศีล ฯลฯ แม้นี้ เป็นธรรม ที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน ทำให้เป็นที่รัก ที่เคารพกัน เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์ กันและกัน ไม่วิวาทกัน สามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ สดับมามาก ทรงไว้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ ซึ่งธรรม ทั้งหลายอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุ เป็นพหูสูต ฯลฯ นี้เป็นธรรมที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน ทำให้เป็นที่รัก ที่เคารพ กัน ย่อมเป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กันและกัน ไม่วิวาทกัน สามัคคีเป็นอันหนึ่ง อันเดียวกัน ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดีนี้ เป็นธรรมที่ตั้งแห่ง ความระลึกถึงกันและกัน ทำให้เป็นที่รัก ที่เคารพกัน ย่อมเป็นไปเพื่อความ สงเคราะห์กันและกัน ไม่วิวาทกัน สามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วยธรรมเครื่องทำให้เป็น ผู้ว่าง่าย เป็นผู้อดทน มีปรกติรับคำพร่ำสอนโดยเคารพ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อ ที่ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย ฯลฯ นี้ เป็นธรรมที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกันและกัน ทำให้ เป็นที่รักที่เคารพกัน ย่อมเป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กันและกัน ไม่วิวาทกัน สามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ขยันไม่เกียจคร้านในกรณียกิจทั้งสูงทั้งต่ำ ของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาอันเป็น อุบายในกรณียกิจนั้น เป็นผู้สามารถเพื่อทำ เพื่อจัดได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ ภิกษุเป็นผู้ขยันไม่เกียจคร้านในกรณียกิจทั้งสูงทั้งต่ำ ของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ฯลฯ นี้ เป็นธรรมที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกันและกัน ทำให้เป็นที่รัก ที่เคารพกัน ย่อมเป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กันและกัน ไม่วิวาทกันสามัคคีเป็นอันหนึ่งอัน เดียวกัน ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีความใคร่ในธรรม เป็นผู้ฟังและแสดงธรรมอัน เป็นที่รัก มีความปราโมทย์อย่างยิ่งในอภิธรรม ในอภิวินัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีความใคร่ในธรรม ฯลฯ นี้ เป็นธรรมที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน และกัน ทำให้เป็นที่รัก ที่เคารพกัน เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กันและกัน ไม่วิวาทกัน สามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรมทั้งหลาย เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ปรารภความ เพียร ฯลฯ นี้ เป็นธรรมที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกันและกัน ทำให้เป็นที่รัก ที่เคารพกัน ย่อมเป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กันและกัน ไม่วิวาทกัน สามัคคีเป็น อันหนึ่งอันเดียวกัน ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและ เภสัชบริขารอันเป็นปัจจัยแก่คนไข้ ตามมีตามได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุ เป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัชบริขารอันเป็นปัจจัยของ คนไข้ตามมีตามได้นี้ เป็นธรรมที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกันและกัน ทำให้เป็นที่ รัก ที่เคารพกัน ย่อมเป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กันและกัน ไม่วิวาทกัน สามัคคี เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีสติ คือ ประกอบด้วยสติเป็นเครื่อง รักษาตนอย่างยิ่ง ระลึกนึกถึงกิจที่ทำและคำที่พูดแม้นานได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีสติ ฯลฯ นี้ เป็นธรรมที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกันและกัน ทำให้เป็นที่รัก ที่เคารพกัน ย่อมเป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กันและกัน ไม่วิวาท กันสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาเครื่อง พิจารณาเห็นความเกิด ดับ เป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีปัญญา ฯลฯ นี้ เป็นธรรมที่ตั้งแห่งความ ระลึกถึงกันและกัน ทำให้เป็นที่รัก ที่เคารพกัน ย่อมเป็นไปเพื่อความสงเคราะห์ กันและกัน ไม่วิวาทกัน สามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้แล เป็นที่ตั้งแห่งความระลึก ถึงกันและกัน ทำให้เป็นที่รักที่เคารพกัน ย่อมเป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน และกัน ไม่วิวาทกัน สามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
จบอักโกสวรรคที่ ๕
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. วิวาทสูตร ๒. วิวาทมูลสูตรที่ ๑ ๓. วิวาทมูลสูตรที่ ๒ ๔. กุสินาราสูตร ๕. ปเวสนสูตร ๖. สักกสูตร ๗. มหาลิสูตร ๘. อภิณหปัจจเวกขณธรรมสูตร ๙. สรีรัฏฐธรรมสูตร ๑๐. ภัณฑนสูตร ฯ
-----------------------------------------------------
ปัณณาสก์ที่ ๒
สจิตตวรรคที่ ๑
สจิตตสูตร
[๕๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มี- *พระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้- *มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากว่าภิกษุไม่เป็น ผู้ฉลาดในวาระจิตของผู้อื่นไซร้ เมื่อเป็นเช่นนั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาว่า เรา ทั้งหลายจักเป็นผู้ฉลาดในวาระจิตของตน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษา อย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมเป็นผู้ฉลาดในวาระจิตของตนอย่างไร ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เปรียบเหมือนสตรีหรือบุรุษที่เป็นหนุ่มสาว มีปรกติชอบแต่งตัว ส่อง ดูเงาหน้าของตนในคันฉ่องอันบริสุทธิ์หมดจด หรือในภาชนะน้ำอันใส ถ้าเห็น ธุลีหรือจุดดำที่หน้านั้น ก็พยายามเพื่อขจัดธุลีหรือจุดดำนั้นเสีย หากว่าเราไม่เห็น ธุลีหรือจุดดำที่หน้านั้น ก็ย่อมดีใจ มีความดำริอันบริบูรณ์ด้วยเหตุนั้นแลว่า เป็น ลาภของเราหนอ หน้าของเราบริสุทธิ์แล้วหนอ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย การพิจารณาของภิกษุว่า เราเป็นผู้มีอภิชฌาอยู่โดยมาก หรือหนอ หรือว่าเราไม่เป็น ผู้มีอภิชฌาอยู่โดยมาก เราเป็นผู้มีจิตพยาบาทอยู่โดยมากหรือหนอ หรือว่าเราไม่ เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาทอยู่โดยมาก เราเป็นผู้อันถีนมิทธะกลุ้มรุมอยู่โดยมากหรือ หนอ หรือว่าเราเป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะอยู่โดยมาก เราเป็นผู้ฟุ้งซ่านอยู่โดยมาก หรือหนอ หรือว่าเราเป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่านอยู่โดยมาก เราเป็นผู้มีความสงสัยอยู่โดย มากหรือหนอ หรือว่าเราเป็นผู้ข้ามพ้นความสงสัยได้โดยมาก เราเป็นผู้โกรธ อยู่โดยมากหรือหนอ หรือว่าเราเป็นผู้ไม่โกรธอยู่โดยมาก เราเป็นผู้มีจิตเศร้าหมอง อยู่โดยมากหรือหนอ หรือว่าเราเป็นผู้มีจิตไม่เศร้าหมองอยู่โดยมาก เราเป็น ผู้มีกายอันปรารภแรงกล้าอยู่โดยมากหรือหนอ หรือว่าเราเป็นผู้มีกายอันมิได้ ปรารภแรงกล้าอยู่โดยมาก เราเป็นผู้เกียจคร้านอยู่โดยมากหรือหนอ หรือว่า เราเป็นผู้ปรารภความเพียรอยู่โดยมาก เราเป็นผู้มีจิตไม่ตั้งมั่นอยู่โดยมากหรือหนอ หรือว่าเราเป็นผู้มีจิตตั้งมั่นอยู่โดยมาก ดังนี้ ย่อมเป็นอุปการะมากในกุศลธรรม ทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าว่าภิกษุเมื่อพิจารณาอยู่ ย่อมรู้อย่างนี้ว่า เราเป็นผู้ มีอภิชฌาอยู่โดยมาก เป็นผู้มีจิตพยาบาทอยู่โดยมาก เป็นผู้อันถีนมิทธะกลุ้มรุม อยู่โดยมาก เป็นผู้ฟุ้งซ่านอยู่โดยมาก เป็นผู้มีความสงสัยอยู่โดยมาก เป็น ผู้มีความโกรธอยู่โดยมาก เป็นผู้มีจิตเศร้าหมองอยู่โดยมาก เป็นผู้มีกายอัน ปรารภแรงกล้าอยู่โดยมาก เป็นผู้เกียจคร้านอยู่โดยมาก เป็นผู้มีจิตไม่ตั้งมั่นอยู่ โดยมาก ดังนี้ไซร้ ภิกษุนั้นควรทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ ให้มีประมาณยิ่ง เพื่อ ละธรรมทั้งหลาย ที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้น ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุคคลผู้มีผ้าอันไฟไหม้ หรือมีศีรษะ อันไฟไหม้ พึงทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ ให้มีประมาณยิ่ง เพื่อดับไฟไหม้ผ้าหรือ ไฟไหม้ศีรษะนั้น ฉันใด ภิกษุนั้น ก็พึงทำความพอใจ ความพยายาม ความ อุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ ให้มีประมาณยิ่ง เพื่อละธรรมทั้งหลายที่เป็นบาปเป็นอกุศลเหล่านั้น ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าว่าภิกษุเมื่อพิจารณาอยู่ ย่อมรู้อย่างนี้ว่า เราเป็นผู้ ไม่มีอภิชฌาอยู่โดยมาก เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาทอยู่โดยมาก เป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ อยู่โดยมาก เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่านอยู่โดยมาก เป็นผู้ข้ามพ้นความสงสัยอยู่โดยมาก เป็นผู้ไม่โกรธอยู่โดยมาก เป็นผู้มีจิตไม่เศร้าหมองอยู่โดยมาก เป็นผู้มีกายอันมิได้ ปรารภแรงกล้าอยู่โดยมาก เป็นผู้ปรารภความเพียรอยู่โดยมาก เป็นผู้มีจิตตั้งมั่นอยู่ โดยมากดังนี้ไซร้ ภิกษุนั้นควรตั้งอยู่ในกุศลธรรมเหล่านั้นแล้ว พึงทำความเพียร เพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายให้ยิ่งขึ้นไป ฯ
จบสูตรที่ ๑
สาริปุตตสูตร
[๕๒] ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรท่านผู้ มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้ กล่าวว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าว่าภิกษุไม่เป็นผู้ฉลาดในวาระจิตของผู้อื่นไซร้ เมื่อเป็นอย่างนั้น ภิกษุนั้นพึงศึกษาว่า เราจักเป็นผู้ฉลาดในวาระจิตของตน ดูกร ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล ฯ ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในวาระจิตของตนอย่างไร ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เปรียบเหมือนสตรีหรือบุรุษที่เป็นหนุ่มสาว มีปรกติ ชอบแต่งตัว ส่องดูเงาหน้าของตนในคันฉ่องอันบริสุทธิ์หมดจด หรือในภาชนะ น้ำอันใส ถ้าเห็นธุลีหรือจุดดำที่หน้านั้น ก็พยายามเพื่อขจัดธุลีหรือจุดดำนั้นเสีย หากว่าไม่เห็นธุลีหรือจุดดำที่หน้านั้น ก็ย่อมดีใจ มีความดำริอันบริบูรณ์ด้วย เหตุนั้นแลว่า เป็นลาภของเราหนอ หน้าของเราบริสุทธิ์แล้วหนอ แม้ฉันใด ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย การพิจารณาของภิกษุว่า เราเป็นผู้มีอภิชฌาอยู่โดยมาก หรือหนอ หรือว่าเราเป็นผู้ไม่มีอภิชฌาอยู่โดยมาก เราเป็นผู้มีจิตพยาบาทอยู่โดย มากหรือหนอ หรือว่าเราเป็นผู้มีจิตไม่พยาบาทอยู่โดยมาก เราเป็นผู้อันถีนมิทธะ กลุ้มรุมอยู่โดยมากหรือหนอ หรือว่าเราเป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะอยู่โดยมาก เรา เป็นผู้ฟุ้งซ่านอยู่โดยมากหรือหนอ หรือว่าเราเป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่านอยู่โดยมาก เราเป็น ผู้มีความสงสัยอยู่โดยมากหรือหนอ หรือว่าเราเป็นผู้ข้ามพ้นความสงสัยอยู่โดยมาก เราเป็นผู้มีความโกรธอยู่โดยมากหรือหนอ หรือว่าเราเป็นผู้ไม่มีความโกรธอยู่ โดยมาก เราเป็นผู้มีจิตเศร้าหมองอยู่โดยมากหรือหนอ หรือว่าเราเป็นผู้มีจิตไม่ เศร้าหมองอยู่โดยมาก เราเป็นผู้มีกายอันปรารภแรงกล้าอยู่โดยมากหรือหนอ หรือว่าเราเป็นผู้มีกายอันมิได้ปรารภแรงกล้าอยู่โดยมาก เราเป็นผู้เกียจคร้านอยู่ โดยมากหรือหนอ หรือว่าเราเป็นผู้ปรารภความเพียรอยู่โดยมาก เราเป็นผู้มีจิต ตั้งมั่นอยู่โดยมากหรือหนอ หรือว่าเราเป็นผู้มีจิตไม่ตั้งมั่นอยู่โดยมาก ดังนี้ ย่อม เป็นอุปการะมากในกุศลธรรมทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าว่าภิกษุเมื่อพิจารณาอยู่ ย่อมรู้อย่างนี้ว่า เรา เป็นผู้มีอภิชฌาอยู่โดยมาก ฯลฯ เป็นผู้มีจิตไม่ตั้งมั่นอยู่โดยมาก ดังนี้ไซร้ ภิกษุ นั้นควรทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความ ไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ ให้มีประมาณยิ่ง เพื่อละธรรมทั้งหลายที่เป็น บาปอกุศลเหล่านั้น ฯ ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุคคลผู้มีผ้าอันไฟไหม้ หรือ มีศีรษะอันไฟไหม้ พึงทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ ให้มีประมาณยิ่ง เพื่อดับไฟไหม้ ผ้าหรือไฟไหม้ศีรษะนั้น ฉันใด ภิกษุพึงทำความพอใจ ความพยายาม ความ อุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ ให้มีประมาณ ยิ่ง เพื่อละธรรมทั้งหลายที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้น ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าว่าภิกษุเมื่อพิจารณาอยู่ย่อมรู้อย่างนี้ว่า เรา เป็นผู้ไม่มีอภิชฌาอยู่โดยมาก ฯลฯ เป็นผู้มีจิตตั้งมั่นอยู่โดยมาก ดังนี้ไซร้ ภิกษุนั้นควรตั้งอยู่ในกุศลธรรมเหล่านั้นแล้ว พึงทำความเพียรเพื่อความสิ้นไป แห่งอาสวะทั้งหลายให้ยิ่งขึ้นไป ฯ
จบสูตรที่ ๒
ฐิติสูตร
[๕๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่สรรเสริญแม้ซึ่งความตั้งอยู่ในกุศล- *ธรรมทั้งหลาย ไฉนจะสรรเสริญความเสื่อมรอบในกุศลธรรมทั้งหลายเล่า ดูกร ภิกษุทั้งหลาย แต่เราสรรเสริญความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลาย มิใช่ความตั้งอยู่ มิใช่ความเสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลาย ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลาย มิใช่ความตั้งอยู่ มิใช่ความเจริญอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ปฏิภาณเท่าไร ธรรมเหล่านั้นของภิกษุนั้นย่อมไม่ตั้ง อยู่ ย่อมไม่เจริญขึ้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวข้อนี้ว่า เป็นความเสื่อมใน กุศลธรรมทั้งหลาย มิใช่ความตั้งอยู่ มิใช่ความเจริญ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความ เสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลายมีอยู่ มิใช่ความตั้งอยู่ มิใช่ความเจริญ อย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความตั้งอยู่ในกุศลธรรมทั้งหลาย มิใช่ความเสื่อม มิใช่ความเจริญอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ปฏิภาณเท่าไร ธรรมเหล่านั้นของภิกษุนั้นย่อมไม่เสื่อม ย่อมไม่เจริญขึ้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวข้อนี้ว่า เป็นความตั้งอยู่ในกุศลธรรม ทั้งหลาย มิใช่ความเสื่อม มิใช่ความเจริญ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความตั้งอยู่ใน กุศลธรรมทั้งหลาย มิใช่ความเสื่อม มิใช่ความเจริญ อย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลาย มิใช่ความตั้งอยู่ มิใช่ความเสื่อมอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ปฏิภาณเท่าไร ธรรมเหล่านั้นของภิกษุย่อมไม่ตั้งอยู่ ย่อมไม่เสื่อม ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวข้อนี้ว่า เป็นความเจริญในกุศลธรรม ทั้งหลาย มิใช่ความตั้งอยู่ มิใช่ความเสื่อม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเจริญ ในกุศลธรรมทั้งหลาย มิใช่ความตั้งอยู่ มิใช่ความเสื่อม อย่างนี้แล ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย หากว่าภิกษุไม่เป็นผู้ฉลาดในวาระจิตของผู้อื่นไซร้ เมื่อเป็นอย่างนั้น ภิกษุนั้นพึงศึกษาว่า เราจักเป็นผู้ฉลาดในวาระจิตของตน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในวาระจิตของตนอย่างไร ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เปรียบเหมือนสตรีหรือบุรุษที่เป็นหนุ่มสาว มีปรกติชอบแต่งตัว ส่องดู เงาหน้าของตนในคันฉ่องอันบริสุทธิ์หมดจด หรือในภาชนะน้ำอันใส ถ้าเห็นธุลี หรือจุดดำที่หน้านั้น ก็พยายามเพื่อขจัดธุลีหรือจุดดำนั้นเสีย ถ้าว่าไม่เห็นธุลีหรือ จุดดำที่หน้านั้น ก็ย่อมดีใจ มีความดำริอันบริบูรณ์ด้วยเหตุนั้นแลว่า เป็นลาภ ของเราหนอ หน้าของเราบริสุทธิ์แล้วหนอ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย การ พิจารณาของภิกษุว่า เราเป็นผู้มีอภิชฌาอยู่โดยมากหรือหนอ หรือว่าเราเป็นผู้ไม่มี อภิชฌาอยู่โดยมาก ... เราเป็นผู้มีจิตไม่ตั้งมั่นอยู่โดยมากหรือหนอ หรือว่าเราเป็น ผู้มีจิตตั้งมั่นอยู่โดยมาก ดังนี้ ย่อมเป็นอุปการะมากในกุศลธรรมทั้งหลาย ฉันนั้น เหมือนกันแล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าว่าภิกษุเมื่อพิจารณาอยู่ ย่อมรู้อย่างนี้ว่า เราเป็นผู้มี อภิชฌาอยู่โดยมาก ... เป็นผู้มีจิตไม่ตั้งมั่นอยู่โดยมาก ดังนี้ไซร้ ภิกษุนั้นควร ทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่ง เพื่อละธรรมทั้งหลายที่เป็นบาปอกุศลเหล่า นั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุคคลมีผ้าอันไฟไหม้ หรือมีศีรษะอันไฟ ไหม้ พึงทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความ ไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ ให้มีประมาณยิ่ง เพื่อดับไฟไหม้ผ้าหรือไฟไหม้ ศีรษะนั้น ฉันใด ภิกษุนั้นพึงทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ ให้มีประมาณยิ่ง เพื่อ ละธรรมทั้งหลายที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้น ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าภิกษุเมื่อพิจารณาอยู่ย่อมรู้อย่างนี้ว่า เราเป็นผู้ ไม่มีอภิชฌาอยู่โดยมาก ... เป็นผู้มีจิตตั้งมั่นอยู่โดยมาก ดังนี้ไซร้ ภิกษุนั้นควรตั้งอยู่ ในกุศลธรรมเหล่านั้นแล้ว พึงทำความเพียรเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ให้ยิ่งขึ้นไป ฯ
จบสูตรที่ ๓
สมถสูตร
[๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากว่าภิกษุไม่เป็นผู้ฉลาดในวาระจิตของผู้อื่น เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุนั้นพึงศึกษาว่า เราจักเป็นผู้ฉลาดในวาระจิตของตน ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในวาระจิตของตนอย่างไร ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เปรียบเหมือนสตรีหรือบุรุษที่เป็นหนุ่มสาว มีปรกติชอบแต่งตัว ส่อง ดูเงาหน้าของตนในคันฉ่องอันบริสุทธิ์หมดจด หรือในภาชนะน้ำอันใส ถ้าเห็น ธุลีหรือจุดดำที่หน้านั้น ก็ย่อมพยายามกำจัดธุลีหรือจุดดำนั้นเสีย ถ้าไม่เห็นธุลี หรือจุดดำที่หน้านั้น ย่อมดีใจ มีความดำริอันบริบูรณ์ด้วยเหตุนั้นแลว่า เป็นลาภ ของเราหนอ หน้าของเราบริสุทธิ์แล้วหนอ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย การ พิจารณาของภิกษุว่า เราเป็นผู้ได้ความสงบจิตภายในหรือหนอ หรือว่าไม่เป็นผู้ได้ ความสงบจิตภายใน เราเป็นผู้ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่งหรือหนอ หรือ ว่าเราไม่เป็นผู้ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง ดังนี้ ย่อมเป็นอุปการะ- *มากในกุศลธรรมทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าว่าภิกษุพิจารณาอยู่ย่อมรู้อย่างนี้ว่า เราได้ความสงบ จิตภายใน ไม่ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง ดังนี้ไซร้ ภิกษุนั้นควร ตั้งอยู่ในความสงบจิตภายในแล้ว พึงทำความเพียรในความเห็นแจ้งธรรมด้วย ปัญญาอันยิ่ง สมัยต่อมา ภิกษุนั้นย่อมได้ความสงบจิตภายใน และได้ความเห็น แจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ย่อมรู้อย่างนี้ ว่า เราได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง ไม่ได้ความสงบจิตภายใน ดังนี้ไซร้ ภิกษุนั้นควรตั้งอยู่ในความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่งแล้ว พึงทำความเพียรใน ความสงบจิตภายใน สมัยต่อมา ภิกษุนั้นย่อมได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญา อันยิ่ง และได้ความสงบจิตภายใน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ ย่อมรู้อย่างนี้ว่า เราไม่ได้ความสงบจิตภายใน ไม่ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วย ปัญญาอันยิ่ง ดังนี้ไซร้ ภิกษุนั้นควรทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ ให้มีประมาณยิ่ง เพื่อได้ ซึ่งกุศลธรรมเหล่านั้นนั่นเทียว ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุคคลผู้มีผ้าถูกไฟไหม้หรือมีศีรษะ ถูกไฟไหม้ พึงทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่ง เพื่อดับไฟไหม้ผ้าหรือ ไฟไหม้ศีรษะนั้นนั่นเทียว แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นควรทำความ พอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ ให้มีประมาณยิ่ง เพื่อได้ซึ่งกุศลธรรมเหล่านั้นนั่นเทียว ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ สมัยต่อมา ภิกษุนั้นย่อมได้ความสงบจิตภายใน และได้ความเห็นแจ้ง ธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ ย่อมรู้อย่างนี้ว่า เราได้ความสงบจิตภายใน ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง ดังนี้ไซร้ ภิกษุ นั้นควรตั้งอยู่ในกุศลธรรมเหล่านั้นนั่นแหละ แล้วพึงทำความเพียรให้ยิ่งขึ้นไป เพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวแม้ซึ่งจีวรโดยส่วนสอง คือ ที่ควร เสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี เราย่อมกล่าวแม้ซึ่งบิณฑบาตโดยส่วนสอง คือ ที่ควร เสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี เราย่อมกล่าวแม้ซึ่งเสนาสนะโดยส่วนสอง คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี เราย่อมกล่าวแม้ซึ่งบ้านและนิคมโดยส่วนสอง คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี เราย่อมกล่าวแม้ซึ่งชนบทและประเทศโดย ส่วนสอง คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี เราย่อมกล่าวแม้ซึ่งบุคคลโดย ส่วนสอง คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็คำที่เรากล่าวว่า เราย่อมกล่าวแม้ซึ่งจีวรโดยส่วนสอง คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ในจีวร ๒ อย่าง นั้น จีวรชนิดใดภิกษุรู้ว่า เมื่อเราเสพจีวรนี้แล อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศล- *ธรรมย่อมเสื่อมไป จีวรเห็นปานนี้ไม่ควรเสพ จีวรใดภิกษุพึงรู้ว่า เมื่อเราเสพจีวร นี้แล อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง จีวรเห็นปานนี้ควรเสพ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็คำที่เรากล่าวว่า เราย่อมกล่าวแม้ซึ่งจีวรโดยส่วนสอง คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็คำที่เรากล่าวว่า เราย่อมกล่าวแม้ซึ่งบิณฑบาตโดย ส่วนสอง คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ดังนี้ เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ในบิณฑบาต ๒ อย่างนั้น บิณฑบาตใด ภิกษุพึงรู้ว่า เมื่อเราเสพบิณฑบาตนี้แล อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป บิณฑบาตเห็นปานนี้ไม่ควรเสพ บิณฑบาตใดภิกษุพึงรู้ว่า เมื่อเราเสพบิณฑบาตนี้แล อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง บิณฑบาตเห็นปานนี้ควรเสพ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็คำที่เรากล่าวว่า เราย่อมกล่าวแม้ซึ่งบิณฑบาตโดยส่วนสอง คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็คำที่เรากล่าวว่า เราย่อมกล่าวแม้ซึ่งเสนาสนะโดย ส่วนสอง คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ดังนี้ เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ในเสนาสนะ ๒ อย่างนั้น เสนาสนะใดภิกษุพึงรู้ว่า เมื่อเราเสพเสนาสนะนี้แล อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป เสนาสนะเห็นปานนี้ไม่ควรเสพ เสนาสนะใดภิกษุพึงรู้ว่า เมื่อเราเสพเสนาสนะนี้แล อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง เสนาสนะเห็นปานนี้ควรเสพ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็คำที่เรากล่าวว่า เราย่อมกล่าวแม้ซึ่งเสนาสนะโดยส่วนสอง คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็คำที่เรากล่าวว่า เราย่อมกล่าวแม้ซึ่งบ้านและนิคม โดยส่วนสอง คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ดังนี้ เราอาศัยอะไรกล่าว แล้ว ในบ้านและนิคมทั้ง ๒ อย่างนั้น บ้านและนิคมใดภิกษุพึงรู้ว่า เมื่อเราเสพ บ้านและนิคมนี้แล อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป บ้านและ นิคมเห็นปานนี้ไม่ควรเสพ บ้านและนิคมใดภิกษุพึงรู้ว่า เมื่อเราเสพบ้านและ นิคมนี้แล อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง บ้านและนิคม เห็นปานนี้ควรเสพ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็คำที่เรากล่าวว่า เราย่อมกล่าวแม้ซึ่งบ้าน และนิคมโดยส่วนสอง คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ดังนี้ เราอาศัย ข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็คำที่เรากล่าวว่า เรากล่าวแม้ซึ่งชนบทและประเทศ โดยส่วนสอง คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ดังนี้ เราอาศัยอะไรกล่าว แล้ว ในชนบทและประเทศทั้ง ๒ นั้น ชนบทและประเทศใด ภิกษุพึงรู้ว่า เมื่อเราเสพชนบทและประเทศนี้แล อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อม เสื่อมไป ชนบทและประเทศเห็นปานนี้ไม่ควรเสพ ชนบทและประเทศใด ภิกษุ พึงรู้ว่า เมื่อเราเสพชนบทและประเทศนี้แล อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรม ย่อมเจริญยิ่ง ชนบทและประเทศเห็นปานนี้ควรเสพ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็คำที่ เรากล่าวว่า เรากล่าวแม้ซึ่งชนบทและประเทศโดยส่วนสอง คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็คำที่เรากล่าวว่า เรากล่าวแม้ซึ่งบุคคลโดยส่วนสอง คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ดังนี้ เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ในบุคคล ทั้ง ๒ นั้น บุคคลใดภิกษุพึงรู้ว่า เมื่อเราเสพบุคคลนี้แล อกุศลธรรมย่อมเจริญ ยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป บุคคลเห็นปานนี้ไม่ควรเสพ บุคคลใดภิกษุพึงรู้ว่า เมื่อเราเสพบุคคลนี้แล อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง บุคคล เห็นปานนี้ควรเสพ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็คำที่เรากล่าวว่า เราย่อมกล่าวแม้ซึ่ง บุคคลโดยส่วนสอง คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้ กล่าวแล้ว ฯ
จบสูตรที่ ๔
ปริหานสูตร
[๕๕] ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรอาวุโส ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำของท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้ถามว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคย่อมตรัสว่า บุคคลผู้มีธรรมอันเสื่อม บุคคลผู้มีธรรมอันเสื่อม ดังนี้ ดูกรอาวุโสทั้งหลาย บุคคลผู้มีธรรมอันเสื่อม พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรหนอแล อนึ่ง บุคคลผู้มีธรรม อันไม่เสื่อม พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร ภิกษุเหล่านั้น กล่าวว่า ข้าแต่อาวุโส กระผมทั้งหลายมาแต่ที่ไกลแล เพื่อทราบเนื้อความแห่ง ภาษิตนี้ในสำนักของท่านพระสารีบุตร ขอเนื้อความแห่งภาษิตนี้จงแจ่มแจ้งกะท่าน พระสารีบุตรเองเถิด ภิกษุทั้งหลายได้ฟังต่อท่านพระสารีบุตรแล้วจักทรงจำไว้ ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น ท่านทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารี- *บุตรได้กล่าวว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย บุคคลผู้มีธรรมอันเสื่อม พระผู้มีพระภาค ตรัสไว้แล้วด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรหนอแล ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในธรรม วินัยนี้ ไม่ฟังธรรมที่ไม่เคยฟัง ๑ ธรรมที่ภิกษุนั้นฟังแล้วย่อมถึงความเลอะเลือน ๑ ธรรมที่ภิกษุนั้นเคยถูกต้องด้วยใจในกาลก่อน ย่อมไม่ปรากฏแก่เธอ ๑ ภิกษุนั้น ย่อมไม่รู้ธรรมที่ตนยังไม่รู้ ๑ ดูกรอาวุโสทั้งหลาย บุคคลผู้มีธรรมอันเสื่อม พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้วด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล ฯ ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ส่วนบุคคลผู้มีธรรมอันไม่เสื่อม พระผู้มีพระภาค ตรัสไว้ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม ฟังธรรมที่ตนไม่เคยฟังมา ๑ ธรรมที่ภิกษุนั้นเคยฟังแล้ว ย่อมไม่ถึงความเลอะ เลือน ๑ ธรรมที่ภิกษุนั้นเคยถูกต้องด้วยใจในกาลก่อน ย่อมปรากฏ ๑ ภิกษุนั้น ย่อมรู้ธรรมที่ตนยังไม่รู้ ๑ ดูกรอาวุโสทั้งหลาย บุคคลผู้มีธรรมอันไม่เสื่อม พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้แล้วด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล ฯ ดูกรอาวุโสทั้งหลาย หากว่าภิกษุไม่เป็นผู้ฉลาดในวาระจิตของผู้อื่นไซร้ เมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านทั้งหลายพึงศึกษาว่า เราทั้งหลายจักเป็นผู้ฉลาดในวาระจิต ของตน ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ท่านทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล ฯ ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในวาระจิตของตนอย่างไร ดูกร อาวุโสทั้งหลาย เปรียบเหมือนสตรีหรือบุรุษที่เป็นหนุ่มสาว มีปรกติชอบแต่งตัว ส่องดูเงาหน้าของตนในคันฉ่องอันบริสุทธิ์หมดจด หรือในภาชนะน้ำอันใส ถ้าเห็นธุลีหรือจุดดำที่หน้านั้น ก็ย่อมพยายามกำจัดธุลีหรือจุดดำนั้นเสีย ถ้าไม่เห็น ธุลีหรือจุดดำที่หน้านั้นก็ย่อมดีใจ มีความดำริอันบริบูรณ์ด้วยเหตุนั้นนั่นเทียวว่า เป็นลาภของเราแล้วหนอ หน้าของเราบริสุทธิ์แล้วหนอ แม้ฉันใด ดูกรอาวุโส ทั้งหลาย การพิจารณาของภิกษุว่า เราเป็นผู้ไม่มีอภิชฌาอยู่โดยมากหรือหนอ ธรรมนี้มีอยู่แก่เราหรือว่าไม่มีหนอ เราเป็นผู้มีจิตไม่พยาบาทอยู่โดยมากหรือหนอ ธรรมนี้มีอยู่แก่เราหรือว่าไม่มีหนอ เราเป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะอยู่โดยมากหรือหนอ ธรรมนี้มีอยู่แก่เราหรือว่าไม่มีหนอ เราเป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่านอยู่โดยมากหรือหนอ ธรรมนี้มีอยู่แก่เราหรือว่าไม่มีหนอ เราเป็นผู้ข้ามพ้นความสงสัยอยู่โดยมากหรือ หนอ ธรรมนี้มีอยู่แก่เราหรือว่าไม่มีหนอ เราเป็นผู้ไม่มักโกรธอยู่โดยมากหรือ หนอ ธรรมนี้มีอยู่แก่เราหรือว่าไม่มีหนอ เราเป็นผู้ไม่เศร้าหมองอยู่โดยมาก หรือหนอ ธรรมนี้มีอยู่แก่เราหรือว่าไม่มีหนอ เราเป็นผู้ได้ความปราโมทย์ในธรรม ภายในหรือหนอ ธรรมนี้มีอยู่แก่เราหรือว่าไม่มีหนอ เราเป็นผู้ได้ความสงบ แห่งจิตภายในหรือหนอ ธรรมนี้มีอยู่แก่เราหรือว่าไม่มีหนอ เราเป็นผู้ได้ความเห็น แจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่งหรือหนอ ธรรมนี้มีอยู่แก่เราหรือว่าไม่มีหนอ ดังนี้ เป็นอุปการะมากในกุศลธรรมทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ก็ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ ย่อมไม่พิจารณาเห็นกุศลธรรม เหล่านี้แม้ทั้งหมดในตนไซร้ ภิกษุนั้นควรทำความพอใจ ความพยายาม ความ อุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ ให้มีประมาณยิ่ง เพื่อได้เฉพาะซึ่งกุศลธรรมเหล่านี้ทั้งหมดนั่นเทียว ดูกรอาวุโสทั้งหลาย เปรียบ เหมือนบุคคลผู้มีผ้าถูกไฟไหม้ หรือมีศีรษะถูกไฟไหม้ ควรทำความพอใจ ความ พยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ ให้มีประมาณยิ่ง เพื่อดับไฟไหม้ผ้าหรือไฟไหม้ศีรษะนั้นนั่นเทียว แม้ฉันใด ภิกษุนั้นควรทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่ง เพื่อได้เฉพาะซึ่งกุศล ธรรมเหล่านี้ทั้งหมดนั่นเทียว ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ ดูกรอาวุโสทั้งหลาย แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ ย่อมพิจารณาเห็นกุศลธรรม บางอย่างในตนย่อมไม่พิจารณาเห็นกุศลธรรม บางอย่างในตนไซร้ ภิกษุนั้นพึงตั้งอยู่ ในกุศลธรรมทั้งหลายที่พิจารณาเห็นในตนแล้ว พึงทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะให้มี ประมาณยิ่ง เพื่อได้เฉพาะซึ่งกุศลธรรมทั้งหลายที่ไม่พิจารณาเห็นในตนเหล่านั้น ฯ ดูกรอาวุโสทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุคคลผู้มีผ้าถูกไฟไหม้หรือมีศีรษะถูก ไฟไหม้ควรทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ ท้อถอย สติและสัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่ง เพื่อดับไฟไหม้ผ้าหรือไฟไหม้ศีรษะ นั้นนั่นเทียว แม้ฉันใด ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุนั้นควรตั้งอยู่ในกุศลธรรมทั้ง หลายที่พิจารณาเห็นในตนแล้ว ควรทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ ให้มีประมาณยิ่ง เพื่อได้ เฉพาะซึ่งกุศลธรรมทั้งหลายที่ไม่พิจารณาเห็นในตนเหล่านั้น ฉันนั้นเหมือน กันแล ฯ ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ก็ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ ย่อมพิจารณาเห็นกุศลธรรม เหล่านี้แม้ทั้งหมดในตนไซร้ ภิกษุนั้นควรตั้งอยู่ในกุศลธรรมเหล่านี้ทั้งหมดนั่น เทียว แล้วพึงทำความเพียรให้ยิ่งขึ้นไปเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ฯ
จบสูตรที่ ๕
สัญญาสูตรที่ ๑
[๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๑๐ ประการนี้ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตธรรม มีอมตธรรมเป็น ที่สุด ๑๐ ประการเป็นไฉน คืออสุภสัญญา ๑ มรณสัญญา ๑ อาหาเรปฏิกูล- *สัญญา ๑ สัพพโลเกอนภิรตสัญญา ๑ อนิจจสัญญา ๑ อนิจเจทุกขสัญญา ๑ ทุกเขอนัตตสัญญา ๑ ปหานสัญญา ๑ วิราคสัญญา ๑ นิโรธสัญญา ๑ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย สัญญา ๑๐ ประการนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มีมากแล้ว ย่อมมี ผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด ฯ
จบสูตรที่ ๖
สัญญาสูตรที่ ๒
[๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๑๐ ประการนี้ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่ สุด ๑๐ ประการเป็นไฉน คือ อนิจจสัญญา ๑ อนัตตสัญญา ๑ มรณสัญญา ๑ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ สัพพโลเกอนภิรตสัญญา ๑ อัฏฐิกสัญญา ๑ ปุฬุวก สัญญา ๑ วินีลกสัญญา ๑ วิฉิททกสัญญา ๑ อุทธุมาตกสัญญา ๑ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย สัญญา ๑๐ ประการนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผล มาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด ฯ
จบสูตรที่ ๗
มูลสูตร
[๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกพึงถามอย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นมูล มีอะไรเป็นแดนเกิด มีอะไรเป็น เหตุเกิด มีอะไรเป็นที่ประชุมลง มีอะไรเป็นประมุข มีอะไรเป็นใหญ่ มีอะไรเป็น ยิ่ง มีอะไรเป็นแก่น มีอะไรเป็นที่หยั่งลง มีอะไรเป็นที่สุด เธอทั้งหลายถูก ถามอย่างนี้แล้ว จะพึงพยากรณ์แก่อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นว่าอย่างไร ภิกษุ เหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้ มีพระภาคเป็นมูล มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่ง พระพุทธ เจ้าข้า ขอประทานพระวโรกาส ขอเนื้อความแห่งภาษิตนี้จงแจ่มแจ้งกะพระผู้มีพระ ภาคเถิด ภิกษุทั้งหลายได้ฟังต่อพระผู้มีพระภาคแล้วจักทรงจำไว้ พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้นเธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจัก กล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกพึงถามอย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นมูล มีอะไรเป็นแดนเกิด ... มีอะไรเป็นที่หยั่งลง มีอะไร เป็นที่สุด เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์แก่อัญญเดียรถีย์ปริพาชก เหล่านั้นอย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ธรรมทั้งปวงมีฉันทะเป็นมูล มีมนสิการ เป็นแดนเกิด มีผัสสะเป็นเหตุเกิด มีเวทนาเป็นที่ประชุมลง มีสมาธิเป็นประมุข มีสติเป็นใหญ่ มีปัญญาเป็นยิ่ง มีวิมุตติเป็นแก่น มีอมตะเป็นที่หยั่งลง มีนิพพาน เป็นที่สุด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์แก่ อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๘
ปัพพชิตสูตร
[๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่าง นี้ว่า จิตของพวกเราจักเป็นจิตได้รับอบรมแล้วด้วยสิ่งสมควรแก่บรรพชา อกุศล ธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่รัดรึงจิตตั้งอยู่ จิตของพวกเราจักเป็นจิตได้ รับอบรมแล้วด้วยอนิจจสัญญา จิตของพวกเราจักเป็นจิตได้รับอบรมแล้วด้วยอนัตต สัญญา จิตของพวกเราจักเป็นจิตได้รับอบรมแล้วด้วยอสุภสัญญา จิตของพวกเรา จักเป็นจิตได้รับอบรมแล้วด้วยอาทีนวสัญญา จิตของพวกเราจักเป็นจิตรู้ความ ประพฤติชอบ และความประพฤติไม่ชอบของสัตวโลกแล้ว ได้รับอบรมด้วยสัญญา นั้น จิตของพวกเราจักเป็นจิตรู้ความเจริญและความเสื่อมของสัตวโลกแล้ว ได้รับ อบรมด้วยสัญญานั้น จิตของพวกเราจักเป็นจิตรู้ความเกิดและความดับแห่งสังขาร โลกแล้วได้รับอบรมด้วยสัญญานั้น จิตของพวกเราจักเป็นจิตได้รับอบรมแล้วด้วย ปหานสัญญา จิตของพวกเราจักเป็นจิตได้รับอบรมแล้วด้วยวิราคสัญญา จิตของ พวกเราจักเป็นจิตได้รับอบรมแล้วด้วยนิโรธสัญญา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้ง หลายพึงศึกษาอย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล จิตของภิกษุเป็นจิตได้รับอบรมแล้วด้วยสิ่ง สมควรแก่บรรพชา อกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้วย่อมไม่รัดรึงจิตตั้งอยู่ จิตได้ รับอบรมแล้วด้วยอนิจจสัญญา จิตได้รับอบรมแล้วด้วยอนัตตสัญญา จิตได้รับอบรม แล้วด้วยอสุภสัญญา จิตได้รับอบรมแล้วด้วยอาทีนวสัญญา จิตรู้ความประพฤติ ชอบและความประพฤติไม่ชอบของสัตวโลกแล้ว ได้รับอบรมแล้วด้วยสัญญานั้น จิตรู้ความเจริญและความเสื่อมของสัตวโลกแล้ว ได้รับอบรมแล้วด้วยสัญญานั้น จิตรู้ความเกิดและความดับแห่งสังขารโลกแล้ว ได้รับอบรมแล้วด้วยสัญญานั้น จิตได้รับอบรมด้วยปหานสัญญา จิตได้รับอบรมด้วยวิราคสัญญา และจิตได้รับอบรม ด้วยนิโรธสัญญา เมื่อนั้น ภิกษุนั้นพึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ฯ
จบสูตรที่ ๙
อาพาธสูตร
[๖๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล ท่านพระคิริมา- *นนท์อาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนักครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้ มีพระภาคถึงที่ประทับถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระคิริมานนท์ อาพาธ ได้รับทุกข์เป็นไข้หนัก ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคได้ โปรดอนุเคราะห์เสด็จเยี่ยมท่าน พระคิริมานนท์ยังที่อยู่เถิด พระเจ้าข้า ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ ถ้าเธอพึงเข้าไปหาแล้วกล่าวสัญญา ๑๐ ประการแก่คิริมานันทภิกษุไซร้ ข้อที่อาพาธของคิริมานันทภิกษุจะพึงสงบระงับ โดยพลัน เพราะได้ฟังสัญญา ๑๐ ประการนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ สัญญา ๑๐ ประการเป็นไฉน คือ อนิจจสัญญา ๑ อนัตตสัญญา ๑ อสุภสัญญา ๑ อาทีนว สัญญา ๑ ปหานสัญญา ๑ วิราคสัญญา ๑ นิโรธสัญญา ๑ สัพพโลเกอนภิรต สัญญา ๑ สัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญา ๑ อานาปานัสสติ ๑ ฯ ดูกรอานนท์ ก็อนิจจสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง วิญญาณไม่ เที่ยง ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ด้วย ประการอย่างนี้ ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่าอนิจจสัญญา ฯ ดูกรอานนท์ ก็อนัตตสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า จักษุเป็นอนัตตา รูปเป็นอนัตตา หูเป็นอนัตตา เสียงเป็นอนัตตา จมูกเป็น อนัตตา กลิ่นเป็นอนัตตา ลิ้นเป็นอนัตตา รสเป็นอนัตตา กายเป็นอนัตตา โผฏฐัพพะเป็นอนัตตา ใจเป็นอนัตตา ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา ย่อมพิจารณาเห็น โดยความเป็นอนัตตาในอายตนะทั้งหลาย ทั้งภายในและภายนอก ๖ ประการ เหล่านี้ ด้วยประการอย่างนี้ ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่า อนัตตสัญญา ฯ ดูกรอานนท์ ก็อสุภสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายนี้นั่นแล เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาด มีประการต่างๆ ว่า ในกายนี้ มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม เนื้อหัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่งามในกายนี้ ด้วยประการดังนี้ ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่าอสุภสัญญา ฯ ดูกรอานนท์ ก็อาทีนวสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า กายนี้มีทุกข์มาก มีโทษมาก เพราะฉะนั้น อาพาธต่างๆ จึงเกิดขึ้นในกายนี้ คือ โรคตา โรคหู โรคจมูก โรคลิ้น โรคกาย โรคศีรษะ โรคที่ใบหู โรคปาก โรคฟัน โรคไอ โรคหืด โรคไข้หวัด โรคไข้พิษ โรคไข้เซื่องซึม โรคในท้อง โรคลมสลบ โรคบิด โรคจุกเสียด โรคลงราก โรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ โรคลมบ้าหมู โรคหิดเปื่อย โรคหิดด้าน โรคคุดทะราด หูด โรคละออง บวม โรคอาเจียนโลหิต โรคดีเดือด โรคเบาหวาน โรคเริม โรคพุพอง โรคริดสีดวง อาพาธมีดีเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีเสมหะเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีไข้สันนิบาต อาพาธอันเกิดแต่ฤดูแปรปรวน อาพาธอันเกิดแต่การบริหารไม่สม่ำเสมอ อาพาธอันเกิดแต่ความเพียรเกินกำลัง อาพาธอันเกิดแต่วิบากของกรรม ความหนาว ความร้อน ความหิว ความระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นโทษในกายนี้ ด้วย ประการดังนี้ ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่าอาทีนวสัญญา ฯ ดูกรอานนท์ ก็ปหานสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่ยินดี ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้หมดสิ้นไป ย่อมทำให้ถึงความ ไม่มี ซึ่งกามวิตกอันเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่ยินดี ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้ หมดสิ้นไป ย่อมทำให้ถึงความไม่มี ซึ่งพยาบาทวิตกอันเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่ยินดี ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้หมดสิ้นไป ย่อมทำให้ถึงความไม่มี ซึ่งวิหิงสาวิตก อันเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่ยินดี ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้หมดสิ้นไป ย่อม ทำให้ถึงความไม่มี ซึ่งอกุศลธรรมทั้งหลายอันชั่วช้า อันเกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นแล้ว ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่าปหานสัญญา ฯ ดูกรอานนท์ ก็วิราคสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง ธรรม เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง ธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา ธรรมเป็นที่สำรอกกิเลส ธรรมชาติเป็นที่ดับกิเลสและกองทุกข์ ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่าวิราคสัญญา ฯ ดูกรอานนท์ นิโรธสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง ธรรม เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง ธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา ธรรมเป็นที่ดับโดยไม่ เหลือ ธรรมชาติเป็นที่ดับกิเลสและกองทุกข์ ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่านิโรธสัญญา ฯ ดูกรอานนท์ สัพพโลเกอนภิรตสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ ละอุบาย ๑- และอุปาทานในโลก อันเป็นเหตุตั้งมั่น ถือมั่น และเป็น อนุสัยแห่งจิต ย่อมงดเว้น ไม่ถือมั่น ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่าสัพพโลเกอนภิรต สัญญา ฯ ดูกรอานนท์ สัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ ย่อมอึดอัด ย่อมระอา ย่อมเกลียดชังแต่สังขารทั้งปวง ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่าสัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญา ฯ ดูกรอานนท์ อานาปานัสสติเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายให้ตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอเป็นผู้มีสติหายใจออก เป็นผู้มีสติ หายใจเข้า เมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาวก็ รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น หรือเมื่อ หายใจเข้าสั้นก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้กำหนดรู้กายทั้งปวง @๑. อุบาย คือ ตัณหาและทิฐิ อุปาทาน คือ อุปาทาน ๔ (ลมหายใจ) หายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้กำหนดรู้กายทั้งปวงหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักระงับกายสังขาร (ลมหายใจ) หายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักระงับกายสังขาร หายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้ปีติหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้ปีติหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้สุขหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้สุขหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้จิตตสังขาร (เวทนา) หายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้จิตตสังขาร หายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักระงับจิตตสังขารหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักระงับจิตตสังขาร หายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้จิตหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้จิตหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักยังจิตให้บันเทิงหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักยังจิตให้บันเทิงหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักตั้งจิตให้มั่นหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักตั้งจิตให้มั่นหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักเปลื้องจิตหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักเปลื้องจิตหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัดหายใจออก ย่อมศึกษา ว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัดหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักเป็น ผู้พิจารณาเห็นโดยความดับสนิทหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็น โดยความดับสนิทหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความสลัด คืนหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความสลัดคืนหายใจเข้า ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่าอานาปานัสสติ ฯ ดูกรอานนท์ ถ้าเธอพึงเข้าไปหาแล้ว กล่าวสัญญา ๑๐ ประการนี้แก่ คิริมานนทภิกษุไซร้ ข้อที่อาพาธของคิริมานนทภิกษุจะพึงสงบระงับโดยพลัน เพราะได้ฟังสัญญา ๑๐ ประการนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ฯ ลำดับนั้นแล ท่านพระอานนท์ได้เรียนสัญญา ๑๐ ประการนี้ในสำนักของ พระผู้มีพระภาคแล้ว ได้เข้าไปหาท่านพระคิริมานนท์ยังที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าว สัญญา ๑๐ ประการแก่ท่านพระคิริมานนท์ ครั้งนั้นแล อาพาธนั้นของท่าน พระคิริมานนท์สงบระงับโดยพลัน เพราะได้ฟังสัญญา ๑๐ ประการนี้ ท่านพระ- *คิริมานนท์หายจากอาพาธนั้น ก็แลอาพาธนั้นเป็นโรคอันท่านพระคิริมานนท์ละได้ แล้วด้วยประการนั้นแล ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
จบสจิตตวรรคที่ ๑
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สจิตตสูตร ๒. สาริปุตตสูตร ๓. ฐิติสูตร ๔. สมถสูตร ๕. ปริหานสูตร ๖. สัญญาสูตรที่ ๑ ๗. สัญญาสูตรที่ ๒ ๘. มูลสูตร ๙. ปัพพชิตสูตร ๑๐. อาพาธสูตร ฯ
-----------------------------------------------------
ยมกวรรคที่ ๒
อวิชชาสูตร
[๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เงื่อนต้นแห่งอวิชชาย่อมไม่ปรากฏในกาลก่อน แต่นี้ อวิชชาไม่มี แต่ภายหลังจึงมี เพราะเหตุนั้น เราจึงกล่าวคำนี้อย่างนี้ว่า ก็ เมื่อเป็นเช่นนั้น อวิชชามีข้อนี้เป็นปัจจัยจึงปรากฏ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อม กล่าวอวิชชาว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของอวิชชา ควรจะกล่าวว่านิวรณ์ ๕ แม้นิวรณ์ ๕ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มี อาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของนิวรณ์ ๕ ควรกล่าวว่า ทุจริต ๓ แม้ทุจริต ๓ เรา ก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของทุจริต ๓ ควร กล่าวว่า การไม่สำรวมอินทรีย์ แม้การไม่สำรวมอินทรีย์เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้ กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารแห่งการไม่สำรวมอินทรีย์ ควรกล่าวว่าความ ไม่มีสติสัมปชัญญะ แม้ความไม่มีสติสัมปชัญญะเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้ กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของความไม่มีสติสัมปชัญญะ ควรกล่าวว่า การกระทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย แม้การทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายเราก็กล่าวว่า มีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของการทำไว้ในใจโดยไม่แยบ คาย ควรกล่าวว่าความไม่มีศรัทธา แม้ความไม่มีศรัทธาเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของความไม่มีศรัทธา ควรกล่าวว่า การ ไม่ฟังสัทธรรม แม้การไม่ฟังสัทธรรมเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของการไม่ฟังสัทธรรม ควรกล่าวว่า การไม่คบสัปบุรุษ ดูกร- *ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้ การไม่คบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมยังการไม่ฟัง สัทธรรมให้บริบูรณ์ การไม่ฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์ ย่อมยังความไม่มีศรัทธาให้ บริบูรณ์ ความไม่มีศรัทธาที่บริบูรณ์ ย่อมยังการทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายให้ บริบูรณ์ การทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายที่บริบูรณ์ ย่อมยังความไม่มีสติสัมปชัญญะ ให้บริบูรณ์ ความไม่มีสติสัมปชัญญะที่บริบูรณ์ ย่อมยังการไม่สำรวมอินทรีย์ให้ บริบูรณ์ การไม่สำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์ ย่อมยังทุจริต ๓ ให้บริบูรณ์ ทุจริต ๓ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังนิวรณ์ ๕ ให้บริบูรณ์ นิวรณ์ ๕ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังอวิชชาให้ บริบูรณ์ อวิชชานี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเมื่อฝนเม็ดหยาบตกลงเบื้องบนภูเขา เมื่อฝนตกหนักๆ อยู่ น้ำนั้นไหลไปตามที่ลุ่ม ย่อมยังซอกเขา ลำธารและห้วย ให้เต็ม ซอกเขา ลำธารและห้วยที่เต็ม ย่อมยังหนองให้เต็ม หนองที่เต็มย่อม ยังบึงให้เต็ม บึงที่เต็มย่อมยังแม่น้ำน้อยให้เต็ม แม่น้ำน้อยที่เต็มย่อมยังแม่น้ำใหญ่ ให้เต็ม แม่น้ำใหญ่ที่เต็มย่อมยังมหาสมุทรสาครให้เต็ม มหาสมุทรสาครนั้น มี- *อาหารอย่างนี้ และเต็มเปี่ยมอย่างนี้ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย การไม่คบ สัปบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมยังการไม่ฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์ ... นิวรณ์ ๕ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังอวิชชาให้บริบูรณ์ อวิชชานี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้ ฉันนั้น เหมือนกันแล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าววิชชาและวิมุตติว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มี อาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของวิชชาและวิมุตติ ควรกล่าวว่า โพชฌงค์ ๗ แม้ โพชฌงค์ ๗ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของ โพชฌงค์ ๗ ควรกล่าวว่า สติปัฏฐาน ๔ แม้สติปัฏฐาน ๔ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของสติปัฏฐาน ๔ ควรกล่าวว่า สุจริต ๓ แม้สุจริต ๓ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของ สุจริต ๓ ควรกล่าวว่า การสำรวมอินทรีย์ แม้การสำรวมอินทรีย์เราก็กล่าวว่า มีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของการสำรวมอินทรีย์ ควร กล่าวว่า สติสัมปชัญญะ แม้สติสัมปชัญญะเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่า ไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของสติสัมปชัญญะ ควรกล่าวว่า การทำไว้ในใจ โดยแยบคาย แม้การทำไว้ในใจโดยแยบคายเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่า ไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ควรกล่าวว่า ศรัทธา แม้ศรัทธาเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็น อาหารของศรัทธา ควรกล่าวว่า การฟังสัทธรรม แม้การฟังสัทธรรมเราก็กล่าวว่า มีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของการฟังสัทธรรม ควรกล่าว ว่า การคบสัปบุรุษ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้ การคบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมยังการฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์ การฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์ ย่อมยังศรัทธาให้ บริบูรณ์ ศรัทธาที่บริบูรณ์ ย่อมยังการทำไว้ในใจโดยแยบคายให้บริบูรณ์ การทำ ไว้ในใจโดยแยบคายที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติสัมปชัญญะให้บริบูรณ์ สติสัมปชัญญะ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังการสำรวมอินทรีย์ให้บริบูรณ์ การสำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์ ย่อม ยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์ สุจริต ๓ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ สติปัฏฐาน ๔ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ โพชฌงค์ ๗ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ วิชชาและวิมุตตินี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์ อย่างนี้ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเมื่อฝนเม็ดหยาบตกลงเบื้องบนภูเขา เมื่อฝนตกหนักๆ อยู่ น้ำนั้นไหลไปตามที่ลุ่ม ย่อมยังซอกเขา ลำธารและห้วย ให้เต็ม ซอกเขา ลำธารและห้วยที่เต็มย่อมยังหนองให้เต็ม หนองที่เต็ม ย่อมยังบึงให้เต็ม บึงที่เต็มย่อมยังแม่น้ำน้อยให้เต็ม แม่น้ำน้อยที่เต็ม ย่อมยัง แม่น้ำใหญ่ให้เต็ม แม่น้ำใหญ่ที่เต็ม ย่อมยังมหาสมุทรสาครให้เต็ม มหาสมุทร สาครนั้นมีอาหารอย่างนี้ และเต็มเปี่ยมอย่างนี้ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย การคบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมยังการฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์ ... โพชฌงค์ ๗ ที่ บริบูรณ์ ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ วิชชาและวิมุตตินี้มีอาหารอย่างนี้ และ บริบูรณ์อย่างนี้ ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ
จบสูตรที่ ๑

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ บรรทัดที่ ๑-๒๗๘๑ หน้าที่ ๑-๑๑๙. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=24&A=1&Z=2781&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6], [7], [8], [9], [10], [11], [12], [13], [14], [15], [16], [17], [18], [19], [max20]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=24&siri=1              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=1              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [1-61] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=24&item=1&items=61              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=7151              The Pali Tipitaka in Roman :- [1-61] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=24&item=1&items=61              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=7151              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ https://84000.org/tipitaka/read/?index_24              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/24i001-e.php# https://suttacentral.net/an10.1/en/sujato https://suttacentral.net/an10.1/en/bodhi

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :