ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย อภิภายตนะ ๘ ประการนี้ ๘ ประการเป็นไฉน คือ
คนหนึ่งมีรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปทั้งหลายในภายนอกเล็กน้อย ทั้งที่มีผิวพรรณ
ดี ทั้งที่มีผิวพรรณทราม ก็มีสัญญาอย่างนี้ว่า เรารู้เราเห็นย่ำยีรูปเหล่านั้น นี้เป็น
อภิภายตนะประการที่ ๑ ฯ
             คนหนึ่งมีรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายในภายนอกไม่มีประมาณ
ทั้งที่มีผิวพรรณดี ทั้งที่มีผิวพรรณทราม ก็มีสัญญาอย่างนี้ว่า เรารู้เราเห็นย่ำยีรูป
เหล่านั้น นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๒ ฯ
             คนหนึ่งมีอรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปทั้งหลายในภายนอกเล็กน้อย
ทั้งที่มีผิวพรรณดี ทั้งที่มีผิวพรรณทราม ก็มีสัญญาอย่างนี้ว่า เรารู้เราเห็นย่ำยีรูป
เหล่านั้น นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๓ ฯ
             คนหนึ่งมีอรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปทั้งหลายในภายนอกไม่มีประมาณ
ทั้งที่มีผิวพรรณดี ทั้งที่มีผิวพรรณทราม ก็มีสัญญาอย่างนี้ว่า เรารู้เราเห็นย่ำยีรูป
เหล่านั้น นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๔ ฯ
             คนหนึ่งมีอรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปในภายนอกเขียว มีสีเขียว
รัศมีเขียว แสงสว่างเขียว เปรียบเหมือนดอกผักตบเขียว มีสีเขียว รัศมีเขียว
แสงสว่างเขียว ฉันใด หรือเปรียบเหมือนผ้าเมืองพาราณสี มีเนื้อเกลี้ยงเกลา
ทั้งสองข้าง เขียว มีสีเขียว รัศมีเขียว แสงสว่างเขียว ฉันใด คนหนึ่งมีอรูป-
*สัญญาในภายใน เห็นรูปทั้งหลายในภายนอกเขียว มีสีเขียว รัศมีเขียว แสง
สว่างเขียว ก็มีสัญญาอย่างนี้ว่า เรารู้เราเห็นย่ำยีรูปเหล่านั้น ฉันนั้น นี้เป็น
อภิภายตนะประการที่ ๕ ฯ
             คนหนึ่งมีอรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปทั้งหลายในภายนอกเหลือง
มีสีเหลือง รัศมีเหลือง แสงสว่างเหลือง เปรียบเหมือนดอกกัณณิกาเหลือง
มีสีเหลือง มีรัศมีเหลือง แสงสว่างเหลือง ฉันใด หรือเปรียบเหมือนผ้าเมือง
พาราณสี มีเนื้อเกลี้ยงเกลาทั้งสองข้าง เหลือง มีสีเหลือง มีรัศมีเหลือง แสง
สว่างเหลือง ฉันใด คนหนึ่งมีอรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปทั้งหลายในภายนอก
เหลือง มีสีเหลือง มีรัศมีเหลือง แสงสว่างเหลือง ก็มีสัญญาอย่างนี้ว่า เรารู้เรา
เห็นย่ำยีรูปเหล่านั้น ฉันนั้น นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๖ ฯ
             คนหนึ่งมีอรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปทั้งหลายในภายนอกแดง มีสีแดง
รัศมีแดง แสงสว่างแดง เปรียบเหมือนดอกเส้งแดง มีสีแดง รัศมีแดง
แสงสว่างแดง ฉันใด หรือเปรียบเหมือนผ้าเมืองพาราณสี มีเนื้อเกลี้ยงเกลา
ทั้งสองข้าง แดง รัศมีแดง แสงสว่างแดง ฉันใด คนหนึ่งมีอรูปสัญญา
ในภายใน เห็นรูปทั้งหลายในภายนอกแดง มีสีแดง มีรัศมีแดง แสงสว่างแดง
ก็มีสัญญาอย่างนี้ว่า เรารู้เราเห็นย่ำยีรูปเหล่านั้น ฉันนั้น นี้เป็นอภิภายตนะ
ประการที่ ๗ ฯ
             คนหนึ่งมีอรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปทั้งหลายในภายนอกขาว มีสีขาว
รัศมีขาว แสงสว่างขาว เปรียบเหมือนดาวประกายพฤกษ์ขาว มีสีขาว มีรัศมี
ขาว แสงสว่างขาว ฉันใด หรือเปรียบเหมือนผ้าเมืองพาราณสี มีเนื้อเกลี้ยง
เกลาทั้งสองข้าง ขาว มีสีขาว รัศมีขาว แสดงสว่างขาว ฉันใด คนหนึ่งมีอรูป-
*สัญญาในภายใน เห็นรูปทั้งหลายในภายนอกขาว มีสีขาว รัศมีขาว แสงสว่าง
ขาว ก็มีสัญญาอย่างนี้ว่า เรารู้เราเห็นย่ำยีรูปเหล่านั้น ฉันนั้น นี้เป็นอภิภายตนะ
ประการที่ ๘ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อภิภายตนะ ๘ ประการนี้แล บรรดาอภิภา-
*ยตนะ ๘ ประการนี้ อภิภายตนะประการที่ ๘ คือ คนหนึ่งมีอรูปสัญญาในภายใน
เห็นรูปทั้งหลายในภายนอกขาว มีสีขาว มีรัศมีขาว แสงสว่างขาว ก็มีสัญญา
อย่างนี้ว่า เรารู้เราเห็นย่ำยีรูปเหล่านั้น นี้เป็นเลิศ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สัตว์ทั้งหลายแม้ผู้มีสัญญาอย่างนี้แลมีอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นอย่างอื่นมี
อยู่แท้ ความแปรปรวนมีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลายแม้มีสัญญาอย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่ายแม้ในอภิภายตนะนั้น เมื่อหน่ายใน
อภิภายตนะนั้น ย่อมคลายกำหนัดในสิ่งที่เลิศ จะป่วยกล่าวไปไยในสิ่งที่เลวเล่า ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ ปฏิบัติ
ลำบากทั้งรู้ได้ช้า ๑ ปฏิบัติลำบากแต่รู้ได้เร็ว ๑ ปฏิบัติสะดวกแต่รู้ได้ช้า ๑ ปฏิบัติ
สะดวกทั้งรู้ได้เร็ว ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บรรดาปฏิปทา ๔ ประการนี้ ปฏิบัติสะดวกทั้งรู้ได้เร็วเป็นเลิศ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สัตว์ทั้งหลายแม้ผู้ปฏิบัติอย่างนี้แลมีอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นอย่างอื่นมี
อยู่แท้ ความแปรปรวนมีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลายแม้ปฏิบัติอย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่ายแม้ในปฏิปทานั้น เมื่อหน่ายใน
ปฏิปทานั้น ย่อมคลายกำหนัดในสิ่งที่เลิศ จะป่วยกล่าวไปไยในสิ่งที่เลวเล่า ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ
คนหนึ่งย่อมจำปริตตารมณ์ ๑- คนหนึ่งย่อมจำมหัคคตารมณ์ ๒- คนหนึ่งย่อม
จำอัปปมาณารมณ์ ๓- คนหนึ่งย่อมจำอากิญจัญญายตนะ ๔- ว่า หน่อยหนึ่งไม่มี
ดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๔ ประการนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดา
สัญญา ๔ ประการนี้ อากิญจัญญายตนะที่คนหนึ่งจำได้ว่า หน่อยหนึ่งไม่มี ดังนี้
เป็นเลิศ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายแม้ผู้มีสัญญาอย่างนี้แลมีอยู่ ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ความเป็นอย่างอื่นมีอยู่แท้ ความแปรปรวนมีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลายแม้ผู้มี
สัญญาอย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่าย
แม้ในสัญญานั้น เมื่อหน่ายในสัญญานั้น ย่อมคลายกำหนัดในสิ่งที่เลิศ จะป่วย
กล่าวไปไยในสิ่งที่เลวเล่า ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาทิฐินอกศาสนา ทิฐิว่า ถ้าเราจักไม่ได้มีแล้ว
ไซร้ อัตภาพนี้ไม่พึงมีแก่เรา ถ้าเราจักไม่มีไซร้ ความห่วงในอะไรจักไม่มีแก่เรา
ดังนี้ เป็นเลิศ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้มีทิฐิอย่างนี้พึงหวังข้อนี้ได้ว่า ความที่ใจไม่
ชอบในภพจักไม่มีแก่เขา และความที่ใจชอบในความดับภพจักไม่มีแก่เขา ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายผู้มีทิฐิอย่างนี้แลมีอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นอย่าง
อื่นมีอยู่แท้ ความแปรปรวนมีอยู่แม้แก่สัตว์ทั้งหลายผู้มีทิฐิอย่างนี้ ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่ายแม้ในทิฐินั้น เมื่อหน่ายใน
ทิฐินั้น ย่อมคลายกำหนัดในสิ่งที่เลิศ จะป่วยกล่าวไปไยในสิ่งที่เลวเล่า ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่งย่อมบัญญัติความหมดจด
ในสัตว์ผู้สูงสุดมีอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่ก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการ
ทั้งปวงเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะอยู่นั้นเลิศกว่าบรรดาสมณพราหมณ์ผู้บัญญัติ
ความหมดจดในสัตว์ผู้สูงสุด สมณพราหมณ์เหล่านั้น รู้ยิ่งแล้วซึ่งเนวสัญญานา-
*สัญญายตนะนั้น ย่อมแสดงธรรมเพื่อทำให้แจ้งซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายแม้ผู้มีวาทะอย่างนี้แลมีอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
@๑. กามาวจรสัญญา ๒. รูปาวจรสัญญา ๓. โลกุตรสัญญา ๔. อากิญจัญญายตนะ
ความเป็นอย่างอื่นมีอยู่แท้ ความแปรปรวนมีอยู่แม้แก่สัตว์ทั้งหลายผู้มีวาทะอย่างนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่ายแม้ในเนวสัญญา-
*นาสัญญายตนะนั้น เมื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัดในสิ่งที่เลิศ จะป่วยกล่าวไปไย
ในสิ่งที่เลวเล่า ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัตินิพพานอันยวดยิ่งใน
ปัจจุบันมีอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความหลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น เพราะรู้ความเกิด
ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ประการ เลิศ
กว่าการบัญญัตินิพพานอันยอดยิ่งในปัจจุบันแห่งสมณพราหมณ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมณพราหมณ์พวกหนึ่งย่อมกล่าวตู่เราผู้มีวาทะอย่างนี้ ผู้กล่าวอย่างนี้ด้วยคำไม่จริง
ด้วยคำเปล่า ด้วยคำเท็จ ด้วยคำไม่เป็นจริงว่า พระสมณโคดมไม่บัญญัติความ
กำหนดรู้กามทั้งหลาย ไม่บัญญัติความกำหนดรู้รูปทั้งหลาย ไม่บัญญัติความ
กำหนดรู้เวทนาทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมบัญญัติความกำหนดรู้กาม
ทั้งหลายด้วย ย่อมบัญญัติความกำหนดรู้รูปทั้งหลายด้วย ย่อมบัญญัติความกำหนด
รู้เวทนาทั้งหลายด้วย เราเป็นผู้หายหิวแล้ว ดับแล้ว เย็นแล้ว ย่อมบัญญัติ
อนุปาทาปรินิพพานในปัจจุบัน ฯ
จบสูตรที่ ๙

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ บรรทัดที่ ๑๔๙๓-๑๕๘๙ หน้าที่ ๖๔-๖๘. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=24&A=1493&Z=1589&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=24&siri=29              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=29              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [29] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=24&item=29&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=7604              The Pali Tipitaka in Roman :- [29] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=24&item=29&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=7604              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ https://84000.org/tipitaka/read/?index_24              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/24i021-e.php#sutta9 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an10/an10.029.than.html https://suttacentral.net/an10.29/en/sujato https://suttacentral.net/an10.29/en/bodhi

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :