ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
             [๑๖๒] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรอาวุโส
ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า ดูกรอาวุโส
ทั้งหลาย ธรรมเป็นที่ระงับความอาฆาต ซึ่งเกิดขึ้นแก่ภิกษุโดยประการทั้งปวง
๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีความ
ประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ (แต่) เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ ภิกษุ
พึงระงับความอาฆาตในบุคคลแม้เช่นนี้ อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีความ
ประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ (แต่) เป็นผู้มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ ภิกษุ
พึงระงับความอาฆาตในบุคคลแม้เช่นนี้ อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มี
ความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์
แต่ย่อมได้ทางสงบใจ ได้ความเลื่อมใสโดยกาลอันสมควร ภิกษุพึงระงับความ
อาฆาตในบุคคลแม้เช่นนี้ อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีความประพฤติ
ทางกายไม่บริสุทธิ์ เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ และย่อมไม่ได้
ทางสงบใจ ไม่ได้ความเลื่อมใสโดยกาลอันสมควร ภิกษุพึงระงับความอาฆาตใน
บุคคลแม้เช่นนี้ อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีความประพฤติทางกาย
บริสุทธิ์ เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ และย่อมได้ทางสงบใจ ย่อม
ได้ความเลื่อมใสโดยกาลอันสมควร ภิกษุพึงระงับความอาฆาตในบุคคลแม้เช่นนี้
ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ในบุคคล ๕ จำพวกนั้น บุคคลใด เป็นผู้มีความประพฤติ
ทางกายไม่บริสุทธิ์ (แต่) เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ ภิกษุพึงระงับ
ความอาฆาตในบุคคลนั้นอย่างไร เหมือนอย่างว่า ภิกษุผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร
เห็นผ้าเก่าที่ถนน เหยียบให้มั่นด้วยเท้าซ้าย เขี่ยออกดูด้วยเท้าขวา ส่วนใด
เป็นสาระ ก็เลือกถือเอาส่วนนั้นแล้วหลีกไป แม้ฉันใด บุคคลใด เป็นผู้มี
ความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ (แต่) เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์
ความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ส่วนใดของเขา ภิกษุไม่พึงใส่ใจส่วนนั้นใน
สมัยนั้น ส่วนความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ส่วนใดของเขา ภิกษุพึงใส่ใจส่วน
นั้นในสมัยนั้น ฉันนั้น ภิกษุพึงระงับความอาฆาตในบุคคลนั้นอย่างนี้ ดูกรอาวุโส
ทั้งหลาย บุคคลใด เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ (แต่) เป็นผู้มี
ความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ ภิกษุพึงระงับความอาฆาตในบุคคลนั้นอย่างไร
เหมือนอย่างว่า สระน้ำที่ถูกสาหร่ายและแหนคลุมไว้ บุรุษผู้เดินทางร้อนอบอ้าว
เหนื่อยอ่อน ระหายน้ำ เขาลงสู่สระน้ำนั้น แหวกสาหร่ายและแหนด้วยมือทั้ง
สองแล้ว กอบน้ำขึ้นดื่มแล้วพึงไป แม้ฉันใด บุคคลใด เป็นผู้มีความประพฤติ
ทางวาจาไม่บริสุทธิ์ (แต่) เป็นผู้มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ ความประพฤติ
ทางวาจาไม่บริสุทธิ์ส่วนใดของเขา ภิกษุไม่พึงใส่ใจในส่วนนั้นในสมัยนั้น ส่วน
ความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ส่วนใดของเขา ภิกษุพึงใส่ใจในส่วนนั้นในสมัย
นั้น ฉันนั้น ภิกษุพึงระงับความอาฆาตในบุคคลนี้อย่างนี้ ดูกรอาวุโสทั้งหลาย
บุคคลใด เป็นผู้มีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ เป็นผู้มีความประพฤติทาง
วาจาไม่บริสุทธิ์ แต่ย่อมได้ทางสงบใจ ได้ความเลื่อมใสโดยกาลอันสมควร
ภิกษุพึงระงับความอาฆาตในบุคคลนั้นอย่างไร เหมือนอย่างว่า น้ำเล็กน้อยมีอยู่ใน
รอยโค บุรุษผู้เดินทางร้อนอบอ้าว เหนื่อยอ่อน ระหายน้ำ เขาพึงเกิดความคิดอย่าง
นี้ว่า น้ำเล็กน้อยมีอยู่ในรอยโคนี้ ถ้าเราจักกอบขึ้นดื่มหรือใช้ภาชนะตักขึ้นดื่มไซร้
เราก็จักทำน้ำนั้นให้ไหวบ้าง ให้ขุ่นบ้าง ให้ไม่เป็นที่ควรดื่มบ้าง ถ้ากระไรเรา
พึงคุกเข่าก้มลงดื่มอย่างโคดื่มน้ำแล้วหลีกไปเถิด เขาคุกเข่าก้มลงดื่มน้ำอย่างโคดื่ม
น้ำแล้วไป แม้ฉันใด บุคคลใด เป็นผู้มีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ เป็นผู้มี
ความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ แต่ย่อมได้ทางสงบใจ ได้ความเลื่อมใสโดยกาล
อันสมควร ความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ส่วนใดของเขา ภิกษุไม่พึงใส่ใจ
ส่วนนั้นในสมัยนั้น แม้ความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ส่วนใดของเขา ภิกษุก็
ไม่พึงใส่ใจส่วนนั้นในสมัยนั้น แต่การได้ทางสงบใจ ได้ความเลื่อมใสโดยกาลอัน
สมควรส่วนใดของเขา ภิกษุพึงใส่ใจส่วนนั้นในสมัยนั้น ฉันนั้น ภิกษุพึงระงับ
ความอาฆาตในบุคคลนั้นอย่างนี้  ดูกรอาวุโสทั้งหลาย บุคคลใด เป็นผู้มีความ
ประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์และย่อม
ไม่ได้ทางสงบใจ ไม่ได้ความเลื่อมใสโดยกาลอันสมควร ภิกษุพึงระงับความ
อาฆาตในบุคคลนั้นอย่างไร เหมือนอย่างว่า บุรุษผู้อาพาธ มีทุกข์ เป็นไข้หนัก
เดินทางไกล แม้ข้างหน้าเขาก็มีบ้านอยู่ไกล แม้ข้างหลังเขาก็มีบ้านอยู่ไกล เขาไม่
พึงได้อาหารที่สบาย (ถูกโรค) เภสัชที่สบาย ผู้พยาบาลที่สมควร และผู้นำทาง
ไปสู่บ้าน บุรุษบางคนผู้เดินทางไกลพึงเห็นเขา บุรุษนั้นพึงเข้าไปตั้งความการุณ
ความเอ็นดู ความอนุเคราะห์ในเขาว่า โอ คนๆ นี้พึงได้อาหารที่สบาย เภสัช
ที่สบาย ผู้พยาบาลที่สมควร และผู้นำทางไปสู่บ้าน ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
เหตุว่า คนๆ นี้อย่าถึงความพินาศฉิบหาย ณ ที่นี้เลย แม้ฉันใด บุคคลใด
เป็นผู้มีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์
และย่อมไม่ได้ทางสงบใจ ไม่ได้ความเลื่อมใสโดยกาลอันสมควร ภิกษุพึงเข้าไป
ตั้งความการุณ ความเอ็นดู ความอนุเคราะห์ ในบุคคลแม้เห็นปานนี้ว่า โอท่านผู้
นี้พึงละกายทุจริตแล้ว อบรมกายสุจริต พึงละวจีทุจริตแล้ว อบรมวจีสุจริต พึง
ละมโนทุจริตแล้ว อบรมมโนสุจริต ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า ท่านผู้นี้
เมื่อตายไปแล้ว อย่าเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ฉันนั้น ภิกษุพึงระงับ
ความอาฆาตในบุคคลนั้นอย่างนี้ ดูกรอาวุโสทั้งหลาย บุคคลใด เป็นผู้มีความ
ประพฤติทางกายบริสุทธิ์ เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ ย่อมได้ทางสงบ
ใจ และย่อมได้ความเลื่อมใสโดยกาลอันสมควร ภิกษุพึงระงับความอาฆาตใน
บุคคลนั้นอย่างไร เหมือนอย่างว่า สระน้ำที่มีน้ำใส มีน้ำอร่อยดี มีน้ำเย็น มี
น้ำขาว มีท่าน้ำราบเรียบ น่ารื่นรมย์ดาระดาดไปด้วยต้นไม้พันธุ์ต่างๆ บุคคลผู้
เดินทางร้อนอบอ้าว เหนื่อย อ่อน ระหายน้ำ เขาพึงลงสู่สระน้ำนั้น อาบบ้าง
ดื่มบ้าง แล้วขึ้นมานั่งบ้าง นอนบ้าง ที่ร่มไม้ใกล้สระน้ำนั้น แม้ฉันใด บุคคล
ใด เป็นผู้มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์
ย่อมได้ทางสงบใจ และย่อมได้ความเลื่อมใสโดยกาลอันสมควร แม้ความ
ประพฤติทางกายบริสุทธิ์ส่วนใดของเขา ภิกษุพึงใส่ใจส่วนนั้นในสมัยนั้น แม้
ความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ส่วนใดของเขา ภิกษุพึงใส่ใจส่วนนั้นในสมัยนั้น
แม้การได้ทางสงบใจ ได้ความเลื่อมใสโดยกาลอันสมควร ส่วนใดของเขา ภิกษุ
พึงใส่ใจส่วนนั้นในสมัย ฉันนั้น ภิกษุพึงระงับความอาฆาตในบุคคลนั้นอย่างนี้
ดูกรอาวุโสทั้งหลาย เพราะอาศัยบุคคลผู้เป็นที่น่าเลื่อมใสโดยประการทั้งปวง จิต
ย่อมเลื่อมใส ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ธรรมเป็นที่ระงับความอาฆาต ซึ่งเกิดขึ้นแก่
ภิกษุโดยประการทั้งปวง ๕ ประการนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๒
๓. สากัจฉาสูตร

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ บรรทัดที่ ๔๓๔๓-๔๔๒๓ หน้าที่ ๑๘๙-๑๙๓. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=4343&Z=4423&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=22&siri=162              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=162              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [162-163] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=22&item=162&items=2              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=1367              The Pali Tipitaka in Roman :- [162-163] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=22&item=162&items=2              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=1367              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ https://84000.org/tipitaka/read/?index_22              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i161-e.php#sutta2 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an05/an05.162.than.html https://suttacentral.net/an5.162/en/sujato https://suttacentral.net/an5.162/en/thanissaro

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :