ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
ปริพาชกสูตร
[๓๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏใกล้กรุง ราชคฤห์ ก็โดยสมัยนั้นแล พวกปริพาชกผู้มีชื่อเสียงโด่งดัง มากด้วยกัน อาศัยอยู่ในปริพาชการาม ใกล้ฝั่งแม่น้ำสิปปินี คือ อันนภารปริพาชก วธรปริพาชก และสุกุลทายิปริพาชก รวมทั้งปริพาชกผู้มีชื่อเสียงโด่งดังเหล่าอื่นด้วย ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่เร้นในเวลาเย็น เสด็จเข้าไปทางปริพาชการาม ริมฝั่งแม่น้ำสิปปินี ครั้นเสด็จเข้าไปแล้ว ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาจัดไว้ถวาย ครั้นประทับนั่งแล้ว ได้ตรัสกะปริพาชกเหล่านั้นว่า ดูกรปริพาชกทั้งหลาย บทแห่งธรรม ๔ ประการนี้ บัณฑิตสรรเสริญว่าเป็นเลิศ เป็นของมีมานาน เป็น ประเพณีของพระอริยะ เป็นของเก่า ไม่กระจัดกระจาย ไม่เคยกระจัดกระจาย นักปราชญ์ย่อมไม่รังเกียจ จักไม่รังเกียจ วิญญูชนทั้งสมณะและพราหมณ์ไม่เกลียด บทแห่งธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ บทแห่งธรรมคืออนภิชฌา ๑ บทแห่งธรรม คือ อพยาบาท ๑ บทแห่งธรรม คือ สัมมาสติ ๑ บทแห่งธรรมคือสัมมาสมาธิ ๑ ดูกรปริพาชกทั้งหลาย บทแห่งธรรม ๔ ประการนี้แล บัณฑิตสรรเสริญว่าเป็นเลิศ เป็นของมีมานาน เป็นประเพณีของพระอริยะ เป็นของเก่า ไม่กระจัดกระจาย ไม่เคยกระจัดกระจาย บัณฑิตย่อมไม่รังเกียจ จักไม่รังเกียจ วิญญูชนทั้งสมณะ และพราหมณ์ไม่เกลียด บุคคลใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราบอกคืนบทแห่งธรรมคือ อนภิชฌานี้แล้ว จักบัญญัติสมณะหรือพราหมณ์ผู้มากไปด้วยอภิชฌา ผู้มี ราคะแรงกล้าในกามทั้งหลาย ดังนี้ เราพึงกล่าวในเพราะคำนั้นกะบุคคลนั้น อย่างนี้ว่า จงมา จงกล่าว จงพูดเถิด เราจักดูอานุภาพของเขา ดังนี้ ข้อที่บุคคลนั้นแล บอกคืนบทแห่งธรรมคืออนภิชฌาแล้ว จักบัญญัติสมณะ หรือพราหมณ์ผู้มากไปด้วยอภิชฌา มีราคะแรงกล้าในกามทั้งหลาย นั่นไม่เป็น ฐานะที่จะมีได้ บุคคลใดแลพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราบอกคืนบทแห่งธรรมคืออพยาบาท นี้แล้ว จักบัญญัติสมณะหรือพราหมณ์ผู้มีจิตพยาบาท มีความดำริแห่งใจอัน เศร้าหมอง เราพึงกล่าวในเพราะคำนั้นกะบุคคลนั้นอย่างนี้ว่า จงมา จงกล่าว จงพูดเถิด เราจักดูอานุภาพของเขา ดังนี้ ข้อที่บุคคลนั้นแลบอกคืนบทแห่งธรรม คืออพยาบาทแล้ว จักบัญญัติสมณะหรือพราหมณ์ผู้มีจิตพยาบาท มีความดำริแห่งใจ อันเศร้าหมอง นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ บุคคลใดแลพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราบอก คืนบทแห่งธรรมคือสัมมาสตินี้แล้ว จักบัญญัติสมณะหรือพราหมณ์ผู้มีสติหลงลืม ผู้ไม่มีสัมปชัญญะ ดังนี้ เราพึงกล่าวในเพราะคำนั้นกะบุคคลนั้นอย่างนี้ว่า จงมา จงกล่าว จงพูดเถิด เราจักดูอานุภาพของเขา ดังนี้ ข้อที่บุคคลนั้นแลบอกคืนบท แห่งธรรมคือสัมมาสติแล้ว จักบัญญัติสมณะหรือพราหมณ์ผู้มีสติหลงลืม ผู้ไม่มี สัมปชัญญะ นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ บุคคลใดแลพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราบอก คืนบทแห่งธรรมคือสัมมาสมาธิแล้ว จักบัญญัติสมณะหรือพราหมณ์ผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น ผู้มีจิตหมุนเวียน ดังนี้ เราพึงกล่าวในเพราะคำนั้นกะบุคคลนั้นอย่างนี้ว่า จงมา จงกล่าว จงพูดเถิด เราจักดูอานุภาพของเขา ดังนี้ ข้อที่บุคคลนั้นแลบอกคืนบท แห่งธรรมคือสัมมาสมาธิแล้ว จักบัญญัติสมณะหรือพราหมณ์ผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น ผู้มีจิตหมุนเวียน นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ฯ บุคคลใดแลพึงสำคัญบทแห่งธรรม ๔ ประการนี้ว่า ควรติเตียน ควร คัดค้าน ฐานะอันบัณฑิตพึงติเตียน ซึ่งกระทบกระเทือนวาทะอันประกอบด้วย ธรรม ๔ ประการ ย่อมมาถึงบุคคลนั้นในปัจจุบันเทียว บทแห่งธรรม ๔ ประการ เป็นไฉน คือ ถ้าบุคคลย่อมติเตียน ย่อมคัดค้านบทแห่งธรรม คือ อนภิชฌา และสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเป็นผู้มากไปด้วยอภิชฌา มีราคะแรงกล้าในกาม ทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น บุคคลนั้นยกย่องบูชาและสรรเสริญ ถ้า บุคคลย่อมติเตียน ย่อมคัดค้านบทแห่งธรรม คืออพยาบาท สมณะหรือพราหมณ์ ผู้มีจิตพยาบาท มีความดำริแห่งใจอันเศร้าหมอง บุคคลนั้นยกย่องบูชาและสรรเสริญ ถ้าบุคคลย่อมติเตียน ย่อมคัดค้านบทแห่งธรรม คือ สัมมาสติ สมณะหรือพราหมณ์ ผู้มีสติหลงลืม ไม่มีสัมปชัญญะ บุคคลนั้นยกย่องบูชาและสรรเสริญ ถ้าบุคคล ย่อมติเตียน ย่อมคัดค้านบทแห่งธรรม คือ สัมมาสมาธิ สมณะหรือพราหมณ์ ผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น ผู้มีจิตหมุนเวียน บุคคลนั้นยกย่องบูชาและสรรเสริญ ฯ บุคคลใดพึงสำคัญบทแห่งธรรม ๔ ประการนี้ว่า ควรติเตียน ควรคัดค้าน ฐานะอันบัณฑิตพึงติเตียน ซึ่งกระทบกระเทือนวาทะอันประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้ ย่อมเข้าถึงบุคคลนั้นในปัจจุบันเทียว ปริพาชกชื่อวัสสะและภัญญะ ผู้อยู่ในอุกกลชนบทเป็นอเหตุกวาทะ อกิริยวาทะ นัตถิกวาทะ ได้สำคัญบทแห่ง ธรรม ๔ ประการนี้ว่าไม่ควรติเตียน ไม่ควรคัดค้าน ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ กลัวต่อนินทา กลัวต่อความกระทบกระเทือน และกลัวต่อความติเตียน ฯ บุคคลผู้ไม่พยาบาท มีสติในกาลทุกเมื่อ มีจิตตั้งมั่นใน ภายใน ศึกษาในความกำจัดอภิชฌาอยู่ เราเรียกว่าเป็นผู้ ไม่ประมาท ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
จบอุรุเวลวรรคที่ ๓
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อุรุเวลสูตรที่ ๑ ๒. อุรุเวลสูตรที่ ๒ ๓. โลกสูตร ๔. กาฬกสูตร ๕. พรหมจริยสูตร ๖. กุหสูตร ๗. สันตุฏฐิสูตร ๘. อริยวังสสูตร ๙. ธรรมปทสูตร ๑๐. ปริพาชกสูตร ฯ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ บรรทัดที่ ๗๘๐-๘๔๖ หน้าที่ ๓๔-๓๖. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=21&A=780&Z=846&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=21&siri=30              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=30              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [30] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=21&item=30&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=7534              The Pali Tipitaka in Roman :- [30] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=21&item=30&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=7534              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ https://84000.org/tipitaka/read/?index_21              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i021-e.php#sutta10 https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i021-e2.php#sutta10 https://suttacentral.net/an4.30/en/sujato https://suttacentral.net/an4.30/en/bodhi

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :