ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพระนางมัลลิกา มาตุคามบางคนในโลกนี้
เป็นผู้มักโกรธ มากไปด้วยความแค้นใจ ถูกว่าแม้เล็กน้อยก็ขัดเคือง ฉุนเฉียว
กระฟัดกระเฟียด กระด้างกระเดื่อง แสดงความโกรธความขัดเคืองและความไม่
พอใจให้ปรากฏ เป็นผู้ไม่ให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ยวดยาน ระเบียบ ของหอม
เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย และประทีปโคมไฟ แก่สมณะหรือพราหมณ์
และเป็นผู้มีใจริษยาในลาภ สักการะ ความเคารพ ความนับถือ การไหว้และ
การบูชาของผู้อื่น เกียดกันตัดรอน ผูกความริษยา ถ้ามาตุคามนั้นจุติจากอัตภาพ
นั้นมาสู่ความเป็นอย่างนี้ กลับมาเกิดในชาติใดๆ ย่อมเป็นผู้มีผิวพรรณทราม
รูปชั่ว ไม่น่าดู ทั้งเป็นคนยากจน ขัดสนทรัพย์สมบัติและต่ำศักดิ์ ฯ
             ดูกรพระนางมัลลิกา มาตุคามบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักโกรธ มากไป
ด้วยความแค้นใจ ถูกว่าแม้เล็กน้อยก็ขัดเคือง ฉุนเฉียว กระฟัดกระเฟียด
กระด้างกระเดื่อง แสดงความโกรธความขัดเคือง และความไม่พอใจให้ปรากฏ
แต่เขาเป็นผู้ให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยวดยาน ระเบียบ ของหอม เครื่อง
ลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย และประทีปโคมไฟ แก่สมณะหรือพราหมณ์
และไม่เป็นผู้มีใจริษยาในลาภ สักการะ ความเคารพ ความนับถือ การไหว้
และบูชาของผู้อื่น ไม่เกียดกัน ไม่ตัดรอน ไม่ผูกความริษยา ถ้ามาตุคามนั้น
จุติจากอัตภาพนั้นมาสู่ความเป็นอย่างนี้ กลับมาเกิดในชาติใดๆ ย่อมเป็นผู้มี
ผิวพรรณทราม รูปชั่ว ไม่น่าดู แต่เป็นคนมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคสมบัติมาก
และสูงศักดิ์ ฯ
             ดูกรพระนางมัลลิกา มาตุคามบางคนในโลกนี้ ไม่เป็นผู้มักโกรธ
ไม่มากไปด้วยความคับแค้นใจ ถูกว่าแม้มากก็ไม่ขัดเคือง ไม่ฉุนเฉียว ไม่-
*กระฟัดกระเฟียด ไม่กระด้างกระเดื่อง ไม่แสดงความโกรธความขัดเคืองและ
ความไม่พอใจให้ปรากฏ แต่เป็นผู้ไม่ให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยวดยาน
ระเบียบ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย และประทีปโคมไฟ
แก่สมณะ หรือพราหมณ์ และเป็นผู้มีใจริษยาในลาภ สักการะ ความเคารพ
ความนับถือ การไหว้และการบูชาของผู้อื่น เกียดกัน ตัดรอน ผูกความริษยา
ถ้ามาตุคามนั้นจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว มาสู่ความเป็นอย่างนี้ กลับมาเกิดในชาติ
ใดๆ ย่อมเป็นผู้มีรูปงาม น่าดู น่าชม ประกอบด้วยความเป็นผู้มีผิวพรรณงาม
ยิ่งนัก แต่เป็นคนเข็ญใจ ยากจน ขัดสนและต่ำศักดิ์ ฯ
             ดูกรพระนางมัลลิกา มาตุคามบางคนในโลกนี้ ไม่เป็นผู้มักโกรธ
ไม่มากไปด้วยความคับแค้นใจ ถูกว่าแม้มากก็ไม่ขัดเคือง ไม่ฉุนเฉียว ไม่กระฟัด
กระเฟียด ไม่กระด้างกระเดื่อง ไม่แสดงความโกรธความขัดเคืองและความไม่
พอใจให้ปรากฏ เป็นผู้ให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยวดยาน ระเบียบ ของหอม
เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย และประทีปโคมไฟ แก่สมณะหรือพราหมณ์
และไม่เป็นผู้มีใจริษยาในลาภ สักการะ ความเคารพ ความนับถือ การไหว้ 
และบูชาของผู้อื่น ไม่เกียดกัน ไม่ตัดรอน ไม่ผูกความริษยา
ถ้ามาตุคามนั้นจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว มาสู่ความเป็นอย่างนี้ กลับมาเกิด ในชาติใดๆ ย่อมเป็นผู้มีรูปงาม น่าดู น่าชม ประกอบด้วยความเป็นผู้มีผิวพรรณ งามยิ่งนัก ทั้งเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคสมบัติมากและสูงศักดิ์ ฯ ดูกรพระนางมัลลิกา นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มาตุคามบางคนในโลกนี้ มีผิวพรรณทราม รูปชั่ว ไม่น่าดู ทั้งเป็นคนเข็ญใจ ยากจนขัดสนและต่ำศักดิ์ อนึ่ง นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มาตุคามบางคนในโลกนี้มีผิวพรรณทราม รูปชั่ว ไม่น่าดู แต่เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคสมบัติมาก และสูงศักดิ์ นี้แลเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้มาตุคามบางคนในโลกนี้มีรูปงาม น่าดู น่าชม ประกอบด้วย ความเป็นผู้มีผิวพรรณงามยิ่งนัก แต่เป็นคนเข็ญใจ ยากจน ขัดสนและต่ำศักดิ์ อนึ่ง นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มาตุคามบางคนในโลกนี้มีรูปงาม น่าดู น่าชม ประกอบด้วยความเป็นผู้มีผิวพรรณงามยิ่งนัก ทั้งเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มี โภคสมบัติมากและสูงศักดิ์ ฯ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พระนางมัลลิกาเทวีได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในชาติอื่นชะรอยหม่อมฉันจะเป็นผู้ มักโกรธ มากไปด้วยความแค้นใจ ถูกว่าแม้เล็กน้อยก็ขัดเคือง ฉุนเฉียว กระฟัดกระเฟียด กระด้างกระเดื่อง แสดงความโกรธความขัดเคืองและความ ไม่พอใจให้ปรากฏ ในบัดนี้ หม่อมฉันจึงมีผิวพรรณทราม รูปชั่ว ไม่น่าดู แต่ในชาติอื่น หม่อมฉันคงได้ให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยวดยาน ระเบียบ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย และประทีปโคมไฟ บัดนี้ หม่อมฉันจึงเป็นคนมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคสมบัติมาก ในชาติอื่น หม่อมฉัน คงจะไม่มีใจริษยาในลาภ สักการะ ความเคารพ ความนับถือ การไหว้และ การบูชาของผู้อื่น ไม่เกียดกัน ไม่ตัดรอน ไม่ผูกความริษยา ในบัดนี้ หม่อมฉัน จึงมีศักดิ์สูง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็นางกษัตริย์บ้าง นางพราหมณีบ้าง นาง- *คฤหบดีบ้าง มีอยู่ในราชสกุลนี้ หม่อมฉันได้ดำรงความเป็นใหญ่ยิ่งกว่าหญิง เหล่านั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ตั้งแต่วันนี้ไป หม่อมฉันจักไม่โกรธ ไม่มาก ไปด้วยความแค้นใจ ถึงถูกว่ากล่าวมากก็จักไม่ขัดเคือง ไม่ฉุนเฉียว ไม่กระฟัด- *กระเฟียด ไม่กระด้างกระเดื่อง ไม่แสดงความโกรธความขัดเคืองและความ ไม่พอใจให้ปรากฏ จักให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยวดยาน ระเบียบ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย และประทีปโคมไฟ แก่สมณพราหมณ์ จักไม่มีใจริษยาในลาภ สักการะ ความเคารพ ความนับถือ การไหว้ และบูชา ของผู้อื่น จักไม่เกียดกัน ไม่ตัดรอน ไม่ผูกความริษยา ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ฯลฯ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงจำหม่อมฉันว่า เป็นอุบาสิกา ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ [๑๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก ๔ จำพวกเป็นไฉน คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน ประกอบความขวนขวายในการทำตนให้เดือดร้อน บางคนเป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ประกอบความขวนขวายในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน บางคนทำตนให้เดือดร้อน ประกอบความขวนขวายในการทำตนให้เดือดร้อน และทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ประกอบความขวนขวายในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน บางคนไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ประกอบความขวนขวายในการทำตนให้เดือดร้อน และไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่ประกอบความขวนขวายในการทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน และไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นผู้ไม่หิว ดับร้อน เย็นใจ เสวยสุข มีตน อันประเสริฐ อยู่ในปัจจุบันเทียว ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไร บุคคลชื่อว่าเป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน ประกอบความขวนขวายในการทำตนให้เดือดร้อน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็น ชีเปลือย ไร้มารยาท เลียมือ เขาเชิญให้มารับภิกษาก็ไม่มา เขาเชิญให้หยุด ก็ไม่หยุด ไม่ยินดีภิกษาที่เขานำมาเฉพาะ ไม่ยินดีภิกษาที่เขาทำเฉพาะ ไม่ยินดี การเชิญ ไม่รับภิกษาที่เขาแบ่งไว้ก่อน ไม่รับภิกษาจากปากหม้อข้าว ไม่รับภิกษา ที่คนยืนคร่อมธรณีประตูให้ ไม่รับภิกษาที่คนยืนคร่อมท่อนไม้ให้ ไม่รับภิกษาที่ คนยืนคร่อมสากให้ ไม่รับภิกษาของคนสองคนผู้กำลังบริโภคอยู่ ไม่รับภิกษาของ หญิงมีครรภ์ ไม่รับภิกษาของหญิงผู้กำลังให้ลูกดูดนม ไม่รับภิกษาของหญิงผู้ คลอเคลียบุรุษ ไม่รับภิกษาที่นัดแนะกันไว้ ไม่รับภิกษาในที่ซึ่งสุนัขได้รับเลี้ยงดู ไม่รับภิกษาในที่มีแมลงวันไต่ตอมเป็นกลุ่ม ไม่กินปลา ไม่กินเนื้อ ไม่ดื่มสุรา ไม่ดื่มเมรัย ไม่ดื่มยาดอง เขารับภิกษาที่เรือนหลังเดียว เยียวยาอัตภาพด้วยข้าว คำเดียวบ้าง รับภิกษาที่เรือนสองหลัง เยียวยาอัตภาพด้วยข้าวสองคำบ้าง รับภิกษาที่เรือน ๗ หลัง เยียวยาอัตภาพด้วยข้าว ๗ คำบ้าง เยียวยาอัตภาพ ด้วยภิกษาในถาดน้อยใบเดียวบ้าง ๒ ใบบ้าง ๗ ใบบ้าง กินอาหารที่เก็บค้างไว้ วันหนึ่งบ้าง ๒ วันบ้าง ๗ วันบ้าง เป็นผู้ประกอบความขวนขวายในการบริโภคภัต ที่เวียนมาตั้งกึ่งเดือนเช่นนี้บ้าง ชีเปลือยนั้น เป็นผู้มีผักดองเป็นภักษาบ้าง มีข้าวฟ่างเป็นภักษาบ้าง มีลูกเดือยเป็นภักษาบ้าง มีกากข้าวเป็นภักษาบ้าง มียาง เป็นภักษาบ้าง มีสาหร่ายเป็นภักษาบ้าง มีรำเป็นภักษาบ้าง มีข้าวตังเป็นภักษาบ้าง มีกำยานเป็นภักษาบ้าง มีหญ้าเป็นภักษาบ้าง มีโคมัยเป็นภักษาบ้าง มีเหง้าและ ผลไม้ในป่าเป็นอาหาร บริโภคผลไม้หล่นเยียวยาอัตภาพ ชีเปลือยนั้นทรงผ้าป่าน บ้าง ผ้าแกมกันบ้าง ผ้าห่อศพบ้าง ผ้าบังสุกุลบ้าง ผ้าเปลือกไม้บ้าง หนังเสือบ้าง หนังเสือทั้งเล็บบ้าง ผ้าคากรองบ้าง ผ้าเปลือกปอกรองบ้าง ผ้าผลไม้กรองบ้าง ผ้ากัมพลทำด้วยผมคนบ้าง ผ้ากัมพลทำด้วยขนสัตว์บ้าง ผ้าทำด้วยขนปีกนกเค้าบ้าง เป็นผู้ถอนผมและหนวด ประกอบด้วยความขวนขวายในการถอนผมและหนวดบ้าง เป็นผู้ยืน คือ ห้ามอาสนะบ้าง เป็นผู้กระโหย่ง ประกอบความขวนขวายในการ กระโหย่งบ้าง เป็นผู้นอนบนหนาม คือ สำเร็จการนอนบนหนามบ้าง เป็นผู้อาบน้ำ วันละ ๓ ครั้ง คือ ประกอบความขวนขวายในการลงน้ำบ้าง เขาเป็นผู้ประกอบ ความขวนขวายในการทำกายให้เดือดร้อน ให้เร่าร้อนมีอย่างต่างๆ เห็นปานนี้อยู่ ด้วยประการฉะนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล บุคคลชื่อว่าเป็นผู้ทำตนให้ เดือดร้อน ประกอบความขวนขวายในการทำตนให้เดือดร้อน ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไร บุคคลชื่อว่าเป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ประกอบความขวนขวายในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ ฆ่าแพะ ฆ่าสุกร เป็นนายพรานนก เป็นนายพรานเนื้อ เป็นผู้หยาบช้า เป็นคน ฆ่าปลา เป็นโจร เป็นผู้ฆ่าโจร เป็นนักโทษ หรือเป็นผู้ทำกรรมอันหยาบช้า ชนิดใดชนิดหนึ่งก็ตาม ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล บุคคลชื่อว่าเป็นผู้ทำผู้อื่น ให้เดือดร้อน ประกอบความขวนขวายในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไร บุคคลชื่อว่าเป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน ประกอบความขวนขวายในการทำตนให้เดือดร้อน และเป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ประกอบความขวนขวายในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นพระราชามหากษัตริย์ได้มูรธาภิเษก หรือว่าเป็นพราหมณ์มหาศาล บุคคลนั้น ให้สร้างสัณฐาคารใหม่ทางทิศตะวันออกแห่งพระนคร แล้วปลงผมและหนวด นุ่งหนังสัตว์มีเล็บ ชโลมกายด้วยเนยและน้ำมัน เกาหลังด้วยเขามฤค เข้าไปสู่ สัณฐาคารพร้อมด้วยมเหสีและพราหมณ์ปุโรหิต บุคคลนั้นสำเร็จการนอนบนพื้น อันปราศจากการปูลาด ไล้ด้วยมูลโคสด น้ำนมใดมีอยู่ในนมเต้าหนึ่งของแม่โค ลูกอ่อนตัวหนึ่ง พระราชาย่อมยังพระชนม์ให้เป็นไปด้วยน้ำนมเต้านั้น น้ำนมใด มีอยู่ในนมเต้าที่ ๒ พระมเหสีย่อมยังพระชนม์ให้เป็นไปด้วยน้ำนมเต้านั้น น้ำนม ใดมีอยู่ในนมเต้าที่ ๓ พราหมณ์ปุโรหิตย่อมยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยน้ำนมเต้านั้น น้ำนมใดมีอยู่ในนมเต้าที่ ๔ ย่อมบูชาไฟด้วยน้ำนมเต้านั้น ลูกโคย่อมยังอัตภาพ ให้เป็นไปด้วยน้ำนมที่เหลือ พระราชานั้นตรัสอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายจงฆ่าโคเท่านี้ เพื่อบูชายัญ จงฆ่าลูกโคผู้เท่านี้เพื่อบูชายัญ จงฆ่าลูกโคเมียเท่านี้เพื่อบูชายัญ จงฆ่าแพะเท่านี้เพื่อบูชายัญ จงฆ่าแกะเท่านี้เพื่อบูชายัญ จงตัดต้นไม้เท่านี้เพื่อ ทำหลัก จงเกี่ยวหญ้าคาเท่านี้เพื่อบังและลาด แม้ชนเหล่าใดที่เป็นทาสก็ดี เป็นคนรับใช้ก็ดี เป็นคนงานก็ดี ของพระราชานั้น แม้ชนเหล่านั้นสะดุ้งต่ออาญา สะดุ้งต่อภัย มีหน้านองด้วยน้ำตาร้องไห้ทำการงานอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล บุคคลชื่อว่าเป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน ประกอบด้วยความขวนขวาย ในการทำตนให้เดือดร้อน และเป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ประกอบความ ขวนขวายในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไร บุคคลชื่อว่าไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ ประกอบความขวนขวายในการทำตนให้เดือดร้อน และไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่ประกอบความขวนขวายในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน บุคคลนั้นเป็นผู้ไม่ทำตนให้ เดือดร้อน และไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นผู้ไม่มีความหิว ดับ เย็นใจ เสวยสุข มีตนอันประเสริฐอยู่ในปัจจุบันเทียว ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระตถาคต เสด็จอุบัติขึ้นในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วย วิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม พระตถาคตพระองค์นั้นทรงทำโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เองแล้ว ทรง สอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม พระองค์ทรงแสดง ธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง คฤหบดีหรือบุตร แห่งคฤหบดี หรือบุคคลผู้เกิดในตระกูลใดตระกูลหนึ่ง ย่อมฟังธรรมนั้น เขาฟัง ธรรมนั้นแล้ว ย่อมได้ศรัทธาในพระตถาคต เขาประกอบด้วยการได้ซึ่งศรัทธานั้น ย่อมเห็นตระหนักชัดดังนี้ว่า ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็น ทางปลอดโปร่ง การที่บุคคลผู้ครองเรือน จะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์โดย ส่วนเดียว ให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียว ดุจสังข์ขัด ไม่ใช่ทำได้ง่าย ถ้ากระไร เราพึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกบวชเป็นบรรพชิตเถิด สมัย ต่อมา เขาละกองโภคสมบัติน้อยใหญ่ ละเครือญาติน้อยใหญ่ ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกบวชเป็นบรรพชิต เมื่อเขาบวชแล้วอย่างนี้ ถึงความเป็นผู้ มีสิกขาและสาชีพ เสมอด้วยภิกษุทั้งหลาย ละปาณาติบาต งดเว้นจากปาณาติบาต วางอาชญา วางศาตรา มีความละอาย มีความเอ็นดู อนุเคราะห์เกื้อกูลสรรพ สัตว์อยู่เสมอ ละอทินนาทาน งดเว้นจากอทินนาทาน ถือเอาแต่ของที่เขาให้ จำนงแต่ของที่เขาให้ มีตนไม่เป็นขโมย สะอาดอยู่เสมอ ละกรรมอันเป็นข้าศึก แก่พรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกล เว้นจากเมถุนอันเป็น กิจของชาวบ้าน ละมุสาวาท งดเว้นจากมุสาวาท พูดแต่คำจริง ดำรงคำสัตย์ พูดเป็น หลักฐาน ควรเชื่อได้ ไม่พูดลวงโลก ละคำส่อเสียด เว้นขาดจากคำส่อเสียด ฟัง จากข้างนี้แล้วไม่ไปบอกข้างโน้น เพื่อให้คนหมู่นี้แตกร้าวกัน หรือฟังจากข้างโน้น แล้วไม่มาบอกข้างนี้ เพื่อให้คนหมู่โน้นแตกร้าวกัน สมานคนที่แตกร้าวกันแล้ว บ้าง ส่งเสริมคนที่พร้อมเพรียงกันแล้วบ้าง ชอบคนผู้พร้อมเพรียงกัน ยินดีในคน ผู้พร้อมเพรียงกัน เพลิดเพลินในคนผู้พร้อมเพรียงกัน กล่าวแต่คำที่ทำให้พร้อม เพรียงกัน ละวาจาหยาบ เว้นขาดจากวาจาหยาบ กล่าวแต่คำที่ปราศจากโทษ เสนาะโสต ชวนให้รัก จับใจ สุภาพ คนส่วนมากรักใคร่ พอใจ ละคำ เพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ พูดถูกกาล พูดแต่คำที่เป็นจริง พูดอิงอรรถ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดแต่คำมีหลักฐาน มีที่อ้าง มีที่กำหนด ประกอบ ด้วยประโยชน์ โดยกาลอันควร เธอเว้นขาดจากการพรากพืชคามและภูตคาม ฉันหนเดียว เว้นการฉันในราตรี งดจากการฉันในเวลาวิกาล เว้นขาดจากการ ฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี และดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศล เว้นขาด จากการทัดทรง ประดับและตกแต่งร่างกายด้วยดอกไม้ ของหอม และเครื่อง ประเทืองผิว อันเป็นฐานะแห่งการแต่งตัว เว้นขาดจากการนั่งนอนบนที่นั่งที่นอน อันสูงใหญ่ เว้นขาดจากการรับทองและเงิน เว้นขาดจากการรับธัญชาติดิบ เว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ เว้นขาดจากการรับสตรีและกุมารี เว้นขาดจากการรับ ทาสีและทาส เว้นขาดจากการรับแพะและแกะ เว้นขาดจากการรับไก่และสุกร เว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้าและฬา เว้นขาดจากการรับไร่นาและที่ดิน เว้นขาด จากการประกอบทูตกรรมและการรับใช้ เว้นขาดจากการซื้อขาย เว้นขาดจากการ ฉ้อโกงด้วยตาชั่ง โกงด้วยของปลอมและโกงด้วยเครื่องตวงวัด เว้นขาดจากการ รับสินบน การล่อลวงและการตลบตะแลง เว้นขาดจากการตัด การฆ่า การจองจำ การตีชิง การปล้นและกรรโชก เธอเป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง เธอจะไปทางทิศาภาคใดๆ ก็ถือไปได้เอง นกมีปีกจะบินไปทางทิศาภาคใดๆ ก็มีแต่ปีกของตัวเป็นภาระบินไป ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็น เครื่องบริหารท้อง เธอจะไปทางทิศาภาคใดๆ ก็ถือไปได้เอง เธอเป็นผู้ประกอบ ด้วยศีลขันธ์อันเป็นอริยะเช่นนี้แล้ว ย่อมเสวยสุขอันปราศจากโทษในภายใน เธอเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวม จักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌา และโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมใน จักขุนทรีย์ ฟังเสียงด้วยหู...ดมกลิ่นด้วยจมูก...ลิ้มรสด้วยลิ้น...ถูกต้อง โผฏฐัพพะด้วยกาย...รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถือ อนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุ ให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษา มนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ เธอประกอบด้วยอินทรียสังวรอันเป็น อริยะ เช่นนี้ ย่อมได้เสวยสุขอันบริสุทธิ์ไม่ระคนด้วยกิเลสในภายใน เธอย่อม ทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป ในการถอยกลับ ย่อมทำความรู้สึกตัวในการแล ในการเหลียว ย่อมทำความรู้สึกตัวในการคู้เข้า ในการเหยียดออก ย่อมทำความ รู้สึกตัวในการทรงสังฆาฏิ บาตรและจีวร ย่อมทำความรู้สึกตัวในการฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ย่อมทำความรู้สึกตัวในการถ่ายอุจจาระปัสสาวะ ย่อมทำความ รู้สึกตัวในการเดิน การยืน การนั่ง การหลับ การตื่น ความนิ่ง เธอประกอบ ด้วยศีลขันธ์ อินทรียสังวร และสติสัมปชัญญะ อันเป็นอริยะเช่นนี้ ย่อมเสพ- *เสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง เธอกลับจากบิณฑบาตภายหลังภัตแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอละความโลภในโลก มีใจปราศจากความโลภอยู่ ย่อม ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความโลภ ละความประทุษร้าย คือพยาบาท ไม่คิด พยาบาท มีความกรุณา หวังประโยชน์เกื้อกูล แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ย่อมชำระจิตให้ บริสุทธิ์จากความประทุษร้ายคือ พยาบาท ละถีนมิทธะแล้ว มีความกำหนด หมายอยู่ที่แสงสว่าง มีสติ มีสัมปชัญญะ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะ ละอุทธัจจกุกกุจจะแล้ว เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบภายใน ย่อมชำระจิตให้ บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะ ละวิจิกิจฉาแล้ว เป็นผู้ข้ามวิจิกิจฉา ไม่มีความ สงสัยในกุศลธรรมทั้งหลาย ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉา เธอละนิวรณ์ เหล่านี้อันเป็นอุปกิเลสของใจ เป็นเครื่องทำปัญญาให้ทุรพลแล้ว สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มี กิเลส ปราศจากอุปกิเลส เป็นจิตอ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อบุพเพนิวาสานุสสติญาณ เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้ เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติ บ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า ในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขและทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มี ผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขและทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุ เพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เธอย่อมระลึกถึงชาติ ก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส เป็นจิต อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อรู้จุติ และอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย เธอย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฐิ เมื่อตายไป เขาเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ประกอบด้วย กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียน พระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฐิ เมื่อตายไป เขาเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เธอย่อมเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้ ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส เป็นจิตอ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไป เพื่ออาสวขยญาณ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกข- *นิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เหล่านี้อาสวะ นี้เหตุให้เกิดอาสวะ นี้ความ ดับอาสวะ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะ เมื่อเธอรู้เห็นอย่างนี้ จิตย่อม หลุดพ้นแม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้น แล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบ แล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย อย่างนี้แล บุคคลชื่อว่าเป็นผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ประกอบความ ขวนขวายในการทำตนให้เดือดร้อน และไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่ประกอบความ ขวนขวายในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน และบุคคลนั้นเป็นผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นผู้ไม่มีความหิว เป็นผู้ดับ เย็นใจ เสวยสุข มีตน อันประเสริฐ อยู่ในปัจจุบัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แล มีปรากฏ อยู่ในโลก ฯ [๑๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงตัณหาเช่นดังข่าย ท่องเที่ยวไป แผ่ซ่านไป เกาะเกี่ยวอยู่ในอารมณ์ต่างๆ เป็นเครื่องปกคลุมหุ้มห่อสัตว์โลกนี้ ซึ่งนุงเหมือนกลุ่มด้ายอันยุ่งเหยิง ขอดเป็นปมเป็นเหมือนหญ้าปล้อง ไม่ให้ล่วง พ้นอบาย ทุคติ วินิบาต และสงสารไปได้ เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ตัณหาเช่นดังข่าย ท่องเที่ยวไป แผ่ซ่านไป เกาะเกี่ยวอยู่ ในอารมณ์ต่างๆ เป็นเครื่องปกคลุมหุ้มห่อสัตว์โลกนี้ ซึ่งนุงเหมือนกลุ่มด้ายอัน ยุ่งเหยิง ขอดเป็นปม เป็นเหมือนหญ้ามุงกระต่ายและหญ้าปล้อง ไม่ให้ล่วงพ้น อบาย ทุคติ วินิบาต และสงสารไปได้นั้นเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัณหา วิจริต ๑๘ ประการนี้ อาศัยขันธบัญจกภายใน ตัณหาวิจริต ๑๘ ประการนี้ อาศัยขันธบัญจกภายนอก ตัณหาวิจริต ๑๘ ประการอันอาศัยขันธบัญจกภายใน เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีความถือว่า เรามี ก็ย่อมมีความถือว่า เราเป็น อย่างนี้ เราเป็นอย่างนั้น เราเป็นอย่างอื่น เราไม่เป็นอยู่ เราพึงเป็นอย่างนี้ เราพึงเป็นอย่างนั้น เราพึงเป็นอย่างอื่น แม้ไฉนเราพึงเป็น แม้ไฉนเราพึงเป็น อย่างนี้ แม้ไฉนเราพึงเป็นอย่างนั้น แม้ไฉนเราพึงเป็นอย่างอื่น เราจักเป็น เรา จักเป็นอย่างนี้ เราจักเป็นอย่างนั้น เราจักเป็นอย่างอื่น ตัณหาวิจริต ๑๘ ประการ นี้อาศัยขันธบัญจกภายใน ตัณหาวิจริต ๑๘ ประการอันอาศัยขันธบัญจกภายนอก เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีความถือว่า เรามีด้วยขันธบัญจกนี้ ก็ย่อม มีความถือว่า เราเป็นอย่างนี้ด้วยขันธบัญจกนี้ เราเป็นอย่างนั้นด้วยขันธบัญจกนี้ เราเป็นอย่างอื่นด้วยขันธบัญจกนี้ เราเป็นอยู่ด้วยขันธบัญจกนี้ เราไม่เป็นอยู่ด้วย ขันธบัญจกนี้ เราพึงเป็นด้วยขันธบัญจกนี้ เราพึงเป็นอย่างนี้ด้วยขันธบัญจกนี้ เราพึงเป็นอย่างนั้นด้วยขันธบัญจกนี้ เราพึงเป็นอย่างอื่นด้วยขันธบัญจกนี้ แม้ไฉน เราพึงเป็นอย่างนี้ด้วยขันธบัญจกนี้ แม้ไฉนเราพึงเป็นอย่างนั้นด้วยขันธบัญจกนี้ แม้ไฉนเราพึงเป็นอย่างนั้นด้วยขันธบัญจกนี้ แม้ไฉนเราพึงเป็นอย่างอื่นด้วยขันธ- *บัญจกนี้ เราจักเป็นด้วยขันธบัญจกนี้ เราจักเป็นอย่างนี้ด้วยขันธบัญจกนี้ เราจัก เป็นอย่างนั้นด้วยขันธบัญจกนี้ เราจักเป็นอย่างอื่นด้วยขันธบัญจกนี้ ตัณหาวิจริต ๑๘ ประการนี้อาศัยขันธบัญจกภายนอก ตัณหาวิจริต ๑๘ ประการอาศัยขันธบัญจก ภายใน ตัณหาวิจริต ๑๘ ประการอาศัยขันธบัญจกภายนอก ด้วยประการฉะนี้ รวมเรียกว่า ตัณหาวิจริตเห็นปานนี้ ที่เป็นอดีต ๓๖ อนาคต ๓๖ เป็นปัจจุบัน ๓๖ รวมเป็นตัณหาวิจริต ๑๐๘ ด้วยประการฉะนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัณหานี้ นั้นแล เช่นดังข่าย ท่องเที่ยวไป แผ่ซ่านไป เกาะเกี่ยวอยู่ในอารมณ์ต่างๆ เป็นเครื่องปกคลุมหุ้มห่อสัตว์โลกนี้ ซึ่งนุงเหมือนด้ายอันยุ่งเหยิง ขอดเป็นปม เป็นเหมือนหญ้ามุงกระต่ายและหญ้าปล้อง ไม่ให้ล่วงพ้นอบาย ทุคติ วินิบาต และสงสารไปได้ ฯ [๒๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติ ๔ ประการนี้ย่อมเกิด ๔ ประการ เป็นไฉน คือ ความรักย่อมเกิดเพราะความรัก ๑ โทสะย่อมเกิดเพราะความรัก ๑ ความรักย่อมเกิดเพราะโทสะ ๑ โทสะย่อมเกิดเพราะโทสะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความรักย่อมเกิดเพราะความรักอย่างไร บุคคลในโลกนี้เป็นที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจของบุคคล คนอื่นๆ มาประพฤติต่อบุคคลที่รักนั้น ด้วยอาการที่น่า ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เขาย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า คนอื่นมาประพฤติต่อ บุคคลที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจของเรา ด้วยอาการอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เขาย่อมเกิดความรักในคนเหล่านั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความรัก ย่อมเกิดเพราะความรักอย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็โทสะย่อมเกิดเพราะความรักอย่างไร บุคคลในโลก นี้เป็นที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจของบุคคล คนอื่นมาประพฤติต่อบุคคลนั้น ด้วยอาการอันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ บุคคลนั้นย่อมมีความคิด อย่างนี้ว่า คนอื่นมาประพฤติต่อบุคคลที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจของเรา ด้วยอาการอันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ เขาย่อมเกิดโทสะในคน เหล่านั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทสะย่อมเกิดเพราะความรัก อย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความรักย่อมเกิดเพราะโทสะอย่างไร บุคคลในโลก นี้ไม่เป็นที่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจของบุคคล คนอื่นๆ มาประพฤติ ต่อบุคคลนั้น ด้วยอาการอันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ บุคคลนั้น ย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า คนอื่นๆ มาประพฤติต่อบุคคลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่า ใคร่ ไม่น่าพอใจของเรา ด้วยอาการอันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ เขาย่อมเกิดความรักใคร่ในคนเหล่านั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความรักย่อมเกิดเพราะ โทสะอย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็โทสะย่อมเกิดเพราะโทสะอย่างไร บุคคลในโลกนี้ ไม่เป็นที่น่าปรารถนา ไม่น่ารักใคร่ ไม่น่าพอใจของบุคคล คนอื่นๆ มาประพฤติ ต่อบุคคลนั้น ด้วยอาการอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ บุคคลนั้นย่อมมี ความคิดอย่างนี้ว่า คนอื่นๆ มาประพฤติต่อคนที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่า พอใจของเรา ด้วยอาการอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เขาย่อมเกิดโทสะ ในบุคคลเหล่านั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทสะย่อมเกิดเพราะโทสะอย่างนี้แล ดูกร- *ภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติ ๔ ประการนี้แล ย่อมเกิด ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสงัดจากกาม ฯลฯ เข้าปฐมฌานอยู่ สมัยนั้น แม้ความรักที่เกิดเพราะความรัก ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น แม้โทสะที่เกิด เพราะความรัก ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น แม้ความรักที่เกิดเพราะโทสะ ย่อมไม่มีแก่ ภิกษุนั้น แม้โทสะที่เกิดเพราะโทสะ ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเข้าทุติยฌาน ฯลฯ ตติยฌาน ฯลฯ จตุตถฌาน สมัยนั้น แม้ ความรักที่เกิดเพราะความรัก ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น แม้โทสะที่บังเกิดเพราะความ รัก ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น แม้ความรักที่เกิดเพราะโทสะ ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหา อาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ สมัยนั้น แม้ความรักที่เกิดเพราะความรัก เป็นธรรมชาติอันภิกษุนั้นละ ได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วนทำให้ไม่ให้มี ไม่เกิดขึ้น ต่อไปเป็นธรรมดา แม้โทสะที่เกิดเพราะความรัก...แม้ความรักที่เกิดเพราะโทสะ... แม้โทสะที่เกิดเพราะโทสะ เป็นธรรมชาติอันภิกษุนั้นละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำให้ไม่ให้มี ไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา ภิกษุนี้ เราเรียกว่า ไม่ยึดถือ ไม่โต้ตอบ ไม่บังหวนควัน ไม่ลุกโพลง ไม่ถูกไฟไหม้ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุชื่อว่ายึดถืออย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมเห็น รูปโดยความเป็นตน เห็นตนว่ามีรูป เห็นรูปในตน หรือเห็นตนในรูป ย่อมเห็นเวทนา โดยความเป็นตน เห็นตนว่ามีเวทนา เห็นเวทนาในตน หรือเห็นตนในเวทนา ย่อม เห็นสัญญาโดยความเป็นตน เห็นตนว่ามีสัญญา เห็นสัญญาในตน หรือเห็นตน ในสัญญา ย่อมเห็นสังขารทั้งหลาย โดยความเป็นตน เห็นตนว่ามีสังขาร เห็น สังขารในตน หรือเห็นตนในสังขาร ย่อมเห็นวิญญาณโดยความเป็นตน เห็น ตนว่ามีวิญญาณ เห็นวิญญาณในตน หรือเห็นตนในวิญญาณ ภิกษุชื่อว่ายึดถือ อย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุชื่อว่าไม่ยึดถืออย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่เห็นรูปโดยความเป็นตน ไม่เห็นตนว่ามีรูป ไม่เห็นรูปในตน หรือไม่เห็น ตนในรูป ไม่เห็นเวทนา...ไม่เห็นสัญญา...ไม่เห็นสังขาร...ไม่เห็นวิญญาณ โดยความเป็นตน ไม่เห็นตนว่ามีวิญญาณ ไม่เห็นวิญญาณในตน หรือไม่เห็น ตนในวิญญาณ ภิกษุชื่อว่าไม่ยึดถืออย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าย่อมโต้ตอบอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมด่าตอบผู้ด่าตน ย่อมโกรธตอบผู้โกรธตน ย่อมโต้เถียงตอบผู้โต้เถียงตน ภิกษุชื่อว่าย่อมโต้ตอบอย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าย่อมไม่โต้ตอบอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่ด่าตอบผู้ด่าตน ย่อมไม่โกรธตอบผู้โกรธตน ย่อมไม่โต้เถียงตอบผู้ โต้เถียงตน ภิกษุชื่อว่าไม่โต้ตอบอย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุย่อมบังหวนควันอย่างไร เมื่อมีความถือว่า เราเป็นอย่างนี้ เราเป็นอย่างนั้น เราเป็นอย่างอื่น เราเป็นอยู่ เราไม่เป็นอยู่ เราพึงเป็น เราพึงเป็นอย่างนี้ เราพึงเป็นอย่างนั้น เราพึงเป็นอย่างอื่น แม้ไฉน เราพึงเป็น แม้ไฉนเราพึงเป็นอย่างนี้ แม้ไฉนเราพึงเป็นอย่างนั้น แม้ไฉนเราพึง เป็นอย่างอื่น เราจักเป็น เราจักเป็นอย่างนี้ เราจักเป็นอย่างนั้น เราจักเป็นอย่าง อื่น ภิกษุชื่อว่าย่อมบังหวนควันอย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุย่อมไม่บังหวนควันอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อไม่มีความถือว่า เรามีอยู่ ก็ย่อมไม่มีความถือว่า เราเป็นอย่างนี้ ... เราจัก เป็นอย่างอื่น ภิกษุชื่อว่าย่อมไม่บังหวนควันอย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุลุกโพลงอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อมี ความถือว่า เรามีขันธบัญจกนี้ ก็ย่อมมีความถือว่า เราเป็นอย่างนี้ด้วยขันธบัญจก นี้ เราเป็นอย่างนั้นด้วยขันธบัญจกนี้ เราเป็นอย่างอื่นด้วยขันธบัญจกนี้ เราเป็น อยู่ด้วยขันธบัญจกนี้ เราไม่เป็นอยู่ด้วยขันธบัญจกนี้ เราพึงเป็นขันธบัญจกนี้ เราพึงเป็นอย่างนั้นด้วยขันธบัญจกนี้ เราพึงเป็นอย่างอื่นด้วยขันธบัญจกนี้ แม้ไฉน เราพึงเป็นด้วยขันธบัญจกนี้ แม้ไฉนเราพึงเป็นอย่างนี้ด้วยขันธบัญจกนี้ แม้ไฉน เราพึงเป็นอย่างนั้นด้วยขันธบัญจกนี้ เราจักเป็นอย่างนี้ด้วยขันธบัญจกนี้ เราจัก เป็นอย่างอื่นด้วยขันธบัญจกนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุลุกโพลงอย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุไม่ลุกโพลงอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อไม่มี ความถือว่า เรามีด้วยขันธบัญจกนี้ ก็ย่อมไม่มีความถือว่า เราเป็นอย่างนี้ด้วย ขันธบัญจกนี้...เราจักเป็นอย่างอื่นด้วยขันธบัญจกนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ย่อมไม่ลุกโพลงอย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุถูกไฟไหม้อย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ยังละ อัสมิมานะ ตัดรากขาด ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิด อีกต่อไปเป็นธรรมดา ไม่ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุถูกไฟไหม้อย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุไม่ถูกไฟไหม้อย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละอัสมิมานะได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ถูกไฟไหม้ อย่างนี้แล ฯ
จบมหาวรรคที่ ๕
จบจตุตถปัณณาสก์
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ บรรทัดที่ ๕๔๖๔-๕๘๔๔ หน้าที่ ๒๓๓-๒๔๘. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=21&A=5464&Z=5844&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=21&siri=136              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=191              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [197-200] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=21&item=197&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=9429              The Pali Tipitaka in Roman :- [197-200] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=21&item=197&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=9429              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ https://84000.org/tipitaka/read/?index_21              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i191-e.php# https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i191-e2.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an04/an04.192.than.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an04/an04.199.than.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an04/an04.200.than.html https://suttacentral.net/an4.191/en/sujato https://suttacentral.net/an4.192/en/sujato https://suttacentral.net/an4.192/en/thanissaro https://suttacentral.net/an4.193/en/sujato https://suttacentral.net/an4.194/en/sujato https://suttacentral.net/an4.195/en/sujato https://suttacentral.net/an4.196/en/sujato https://suttacentral.net/an4.197/en/sujato https://suttacentral.net/an4.198/en/sujato https://suttacentral.net/an4.199/en/sujato https://suttacentral.net/an4.199/en/thanissaro https://suttacentral.net/an4.200/en/sujato https://suttacentral.net/an4.200/en/thanissaro

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :