ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
             [๑๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่เล็งเห็นธรรมอย่างอื่นแม้ข้อหนึ่ง ซึ่ง
จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น หรืออกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่ง เหมือนกับมิจฉาทิฐินี้เลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อบุคคลเป็นผู้มีความเห็นผิด อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และอกุศล
ธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญ ไพบูลย์ยิ่ง ฯ
             [๑๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่เล็งเห็นธรรมอย่างอื่นแม้ข้อหนึ่ง ซึ่ง
จะเป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น หรือกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อม
เป็นไปเพื่อความเจริญ ไพบูลย์ยิ่ง เหมือนกับสัมมาทิฐินี้เลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อบุคคลเป็นผู้มีความเห็นชอบ กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และกุศลธรรม
ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญ ไพบูลย์ยิ่ง ฯ
             [๑๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่เล็งเห็นธรรมอย่างอื่นแม้ข้อหนึ่ง ซึ่ง
เป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ไม่เกิดขึ้น หรือกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อม
เสื่อมไป เหมือนกับมิจฉาทิฐินี้เลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลเป็นผู้มีความ
เห็นผิด กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น และกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
ย่อมเสื่อมไป ฯ
             [๑๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่เล็งเห็นธรรมอย่างอื่นแม้ข้อหนึ่ง ซึ่ง
เป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ไม่เกิดขึ้น หรืออกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
ย่อมเสื่อมไป เหมือนกับสัมมาทิฐินี้เลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลเป็นผู้มี
ความเห็นชอบ อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้น
แล้ว ย่อมเสื่อมไป ฯ
             [๑๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่เล็งเห็นธรรมอย่างอื่นแม้ข้อหนึ่ง ซึ่ง
เป็นเหตุให้มิจฉาทิฐิที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น หรือมิจฉาทิฐิที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญ
ยิ่งขึ้น เหมือนกับการทำในใจโดยไม่แยบคายนี้เลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคล
ทำในใจโดยไม่แยบคาย มิจฉาทิฐิที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และมิจฉาทิฐิที่เกิดขึ้น
แล้ว ย่อมเจริญยิ่งขึ้น ฯ
             [๑๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่เล็งเห็นธรรมอย่างอื่นแม้ข้อหนึ่ง ซึ่ง
เป็นเหตุให้สัมมาทิฐิที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น หรือสัมมาทิฐิที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญ
ยิ่งขึ้น เหมือนการทำในใจโดยแยบคายนี้เลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลทำ
ในใจโดยแยบคาย สัมมาทิฐิที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และสัมมาทิฐิที่เกิดขึ้นแล้ว
ย่อมเจริญยิ่งขึ้น ฯ
             [๑๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่เล็งเห็นธรรมอย่างอื่นแม้ข้อหนึ่ง ซึ่ง
เป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลายเมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต
นรก เหมือนกับมิจฉาทิฐินี้เลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายผู้ประกอบด้วย
มิจฉาทิฐิ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ฯ
             [๑๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่เล็งเห็นธรรมอย่างอื่นแม้ข้อหนึ่ง ซึ่ง
เป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลายเมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เหมือน
กับสัมมาทิฐินี้เลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายผู้ประกอบด้วยสัมมาทิฐิ เมื่อ
แตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ฯ
             [๑๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายกรรมที่สมาทานให้บริบูรณ์ตามทิฐิ ๑
วจีกรรมที่สมาทานให้บริบูรณ์ตามทิฐิ ๑ มโนกรรมที่สมาทานให้บริบูรณ์ตามทิฐิ ๑
เจตนา ๑ ความปรารถนา ๑ ความตั้งใจ ๑ สังขาร ๑ ของบุคคลผู้มีความเห็นผิด
ธรรมทั้งหมดนั้นย่อมเป็นไปเพื่อผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ
ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะทิฐิเลวทราม
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเมล็ดสะเดาก็ดี เมล็ดบวบขมก็ดี เมล็ดน้ำเต้าขม
ก็ดี บุคคลหมกไว้ในดินที่ชุ่มชื้น รสดิน รสน้ำที่มันถือเอาทั้งหมด ย่อมเป็นไป
เพื่อความเป็นของขม เพื่อเผ็ดร้อน เพื่อไม่น่ายินดี ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
พืชเลว ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายกรรมที่สมาทานให้บริบูรณ์ตามทิฐิ ๑
วจีกรรมที่สมาทานให้บริบูรณ์ตามทิฐิ ๑ มโนกรรมที่สมาทานให้บริบูรณ์ตามทิฐิ ๑
เจตนา ๑ ความปรารถนา ๑ ความตั้งใจ ๑ สังขาร ๑ ของบุคคลผู้มีความเห็นผิด
ธรรมทั้งหมดนั้นย่อมเป็นไปเพื่อผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ
ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะทิฐิเลวทราม
ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ
             [๑๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายกรรมที่สมาทานให้บริบูรณ์ตามทิฐิ ๑
วจีกรรมที่สมาทานให้บริบูรณ์ตามทิฐิ ๑ มโนกรรมที่สมาทานให้บริบูรณ์ตามทิฐิ ๑
เจตนา ๑ ความปรารถนา ๑ ความตั้งใจ ๑ สังขาร ๑ ของบุคคลผู้มีความเห็น
ชอบ ธรรมทั้งหมดนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อผลที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ
เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะทิฐิเจริญ ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนพันธุ์อ้อยก็ดี พันธุ์ข้าวสาลีก็ดี พันธุ์ผลจันทน์ก็ดี
บุคคลหมกไว้ในดินที่ชุ่มชื้น รสดิน รสน้ำที่มันถือเอาทั้งหมด ย่อมเป็นไปเพื่อ
ความเป็นของหวาน น่ายินดี น่าชื่นใจ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะพืชพันธุ์ดี ฉันใด
กายกรรมที่สมาทานให้บริบูรณ์ตามทิฐิ ๑ วจีกรรมที่สมาทานให้บริบูรณ์ตามทิฐิ ๑
มโนกรรมที่สมาทานให้บริบูรณ์ตามทิฐิ ๑ เจตนา ๑ ความปรารถนา ๑ ความ
ตั้งใจ ๑ สังขาร ๑ ของบุคคลผู้มีความเห็นชอบ ธรรมทั้งหมดนั้นย่อมเป็นไป
เพื่อผลที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะทิฐิเจริญฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ
จบวรรคที่ ๒

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๘๘๔-๙๔๙ หน้าที่ ๓๙-๔๒. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=884&Z=949&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=20&siri=25              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=181              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [181-190] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=20&item=181&items=10              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=14&A=10079              The Pali Tipitaka in Roman :- [181-190] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=20&item=181&items=10              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=14&A=10079              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ https://84000.org/tipitaka/read/?index_20              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/20i179-e.php#sutta2 https://suttacentral.net/an1.306-315/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :