ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
             [๑๔๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เอก เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิด
ขึ้นเป็นผู้ไม่มีที่สอง ไม่มีใครเช่นกับพระองค์ ไม่มีใครเปรียบ ไม่มีใครเปรียบ
เสมอ ไม่มีส่วนเปรียบ ไม่มีบุคคลเปรียบ ไม่มีใครเสมอ เสมอด้วยพระพุทธเจ้า
ผู้ไม่มีใครเสมอ เป็นผู้เลิศกว่าสัตว์ทั้งหลาย บุคคลผู้เอกเป็นไฉน คือ พระตถาคต
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เอกนี้แล เมื่อเกิดขึ้นในโลก
ย่อมเกิดขึ้นเป็นผู้ไม่มีสอง ไม่มีเช่นกับพระองค์ ไม่มีใครเปรียบ ไม่มีใคร
เปรียบเสมอ ไม่มีส่วนเปรียบ ไม่มีบุคคลเปรียบ ไม่มีใครเสมอ เสมอด้วย
พระพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเสมอ เป็นผู้เลิศกว่าสัตว์ทั้งหลาย ฯ
             [๑๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความปรากฏขึ้นแห่งบุคคลผู้เอก เป็นความ
ปรากฏแห่งจักษุใหญ่ แห่งแสงสว่างใหญ่ แห่งโอภาสใหญ่ แห่งอนุตตริยะ ๖
เป็นการกระทำให้แจ้งซึ่งปฏิสัมภิทา ๔ เป็นการแทงตลอดธาตุเป็นอันมาก เป็น
การแทงตลอดธาตุต่างๆ เป็นการกระทำให้แจ้งซึ่งผล คือ วิชชาและวิมุตติ เป็นการ
กระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตผล บุคคลผู้
เอกเป็นไฉน คือ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความ
ปรากฏขึ้นแห่งบุคคลผู้เอกนี้แล เป็นความปรากฏแห่งจักษุใหญ่ แห่งแสงสว่าง
ใหญ่ แห่งโอภาสใหญ่ แห่งอนุตตริยะ ๖ เป็นการทำให้แจ้งซึ่งปฏิสัมภิทา ๔
เป็นการแทงตลอดธาตุเป็นอันมาก เป็นการแทงตลอดธาตุต่างๆ เป็นการกระทำ
ให้แจ้งซึ่งผล คือ วิชชาและวิมุตติ เป็นการกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล
สกทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตผล ฯ
             [๑๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นบุคคลอื่นแม้คนเดียว ผู้
ยังธรรมจักรที่ยอดเยี่ยมอันตถาคตให้เป็นไปแล้ว ให้เป็นไปตามโดยชอบ เหมือน
สารีบุตรนี้เลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรย่อมยังธรรมจักรที่ยอดเยี่ยม อันตถาคต
ให้เป็นไปแล้ว ให้เป็นไปตามโดยชอบทีเดียว ฯ
จบเอกปุคคลวรรค
เอตทัคคบาลี
[๑๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระอัญญาโกณฑัญญะ เลิศกว่าพวกภิกษุ สาวกของเราผู้รู้ราตรีนาน ฯ พระสารีบุตร เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้มีปัญญามาก ฯ พระมหาโมคคัลลานะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้มีฤทธิ์ ฯ พระมหากัสสป เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเรา ผู้ทรงธุดงค์และ สรรเสริญคุณแห่งธุดงค์ ฯ พระอนุรุทธะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้มีทิพยจักษุ ฯ พระภัททิยกาฬิโคธาบุตร เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้เกิดในตระกูล สูง ฯ พระลกุณฏกภัททิยะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้มีเสียงไพเราะ ฯ พระปิณโฑลภารทวาชะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้บันลือสีหนาท ฯ พระปุณณมันตานีบุตร เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้เป็นธรรมกถึก ฯ พระมหากัจจานะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้จำแนกอรรถแห่งภาษิต โดยย่อให้พิสดาร ฯ
จบวรรคที่ ๑
[๑๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระจุลลปันถกะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวก ของเราผู้นฤมิตกายอันสำเร็จด้วยใจ ฯ พระจุลลปันถกะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้ฉลาดในการเปลี่ยน แปลงทางใจ ฯ พระมหาปันถกะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้ฉลาดในการเปลี่ยน แปลงทางปัญญา ฯ พระสุภูติ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้มีปรกติอยู่ด้วยความไม่มี กิเลส ฯ พระสุภูติ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้เป็นทักขิไณยบุคคล ฯ พระเรวตขทิรวนิยะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้อยู่ป่าเป็นวัตร ฯ พระกังขาเรวตะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้ยินดีในฌาน ฯ พระโสณโกลิวิสะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้ปรารภความเพียร ฯ พระโสณกุฏิกัณณะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้มีถ้อยคำไพเราะ ฯ พระสีวลี เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้มีลาภ ฯ พระวักกลิ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้พ้นจากกิเลสได้ด้วยศรัทธา ฯ
จบวรรคที่ ๒
[๑๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระราหุล เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้ ใคร่ต่อการศึกษา ฯ พระรัฐปาละ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเรา ผู้บวชด้วยศรัทธา ฯ พระกุณฑธานะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้รับสลากก่อน ฯ พระวังคีสะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้มีปฏิภาณ ฯ พระอุปเสนวังคันตบุตร เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้นำความเลื่อมใส มาโดยรอบ ฯ พระทัพพมัลลบุตร เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้จัดแจงเสนาสนะ ฯ พระปิลินทวัจฉะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้เป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ ของเทวดาทั้งหลาย ฯ พระพาหิยทารุจีริยะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้ตรัสรู้ได้เร็วพลัน ฯ พระกุมารกัสสปะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้แสดงธรรมได้ วิจิตร ฯ พระมหาโกฏฐิตะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเรา ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ฯ
จบวรรคที่ ๓
[๑๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระอานนท์ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเรา ผู้เป็นพหูสูต ฯ พระอานนท์ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้มีสติ ฯ พระอานนท์ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้มีคติ ฯ พระอานนท์ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้มีความเพียร ฯ พระอานนท์ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้เป็นอุปัฏฐาก ฯ พระอุรุเวลกัสสปะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเรา ผู้มีบริษัทมาก ฯ พระกาฬุทายี เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเรา ผู้ทำสกุลให้เลื่อมใส ฯ พระพักกุละ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้มีอาพาธน้อย ฯ พระโสภิตะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้ระลึกชาติก่อนได้ ฯ พระอุบาลี เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้ทรงวินัย ฯ พระนันทกะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้กล่าวสอนนางภิกษุณี ฯ พระนันทะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ ทั้งหลาย ฯ พระมหากัปปินะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้กล่าวสอนภิกษุ ฯ พระสาคตะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเรา ผู้ฉลาดในเตโชธาตุ ฯ พระราธะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเรา ผู้มีปฏิภาณแจ่มแจ้ง ฯ พระโมฆราชะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเรา ผู้ทรงจีวรเศร้าหมอง ฯ
จบวรรคที่ ๔
[๑๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระมหาปชาบดีโคตมีภิกษุณีเลิศกว่าพวก ภิกษุณีสาวิกาของเราผู้รู้ราตรีนาน ฯ พระเขมาภิกษุณี เลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกาของเราผู้มีปัญญามาก ฯ พระอุบลวัณณาภิกษุณี เลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกาของเราผู้มีฤทธิ์ ฯ พระปฏาจาราภิกษุณี เลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกาของเราผู้ทรงวินัย ฯ พระธัมมทินนาภิกษุณี เลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกาของเราผู้เป็นธรรม- *กถึก ฯ พระนันทาภิกษุณี เลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกาของเราผู้ยินดีในฌาน ฯ พระโสณาภิกษุณี เลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกาของเราผู้ปรารภความ เพียร ฯ พระสกุลาภิกษุณี เลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกาของเราผู้มีจักษุทิพย์ ฯ พระภัททากุณฑลเกสาภิกษุณี เลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกาของเราผู้ตรัสรู้ ได้เร็วพลัน ฯ พระภัททากปิลานีภิกษุณี เลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกาของเราผู้ระลึกชาติ ก่อนๆ ได้ ฯ พระภัททากัจจานาภิกษุณี เลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกาของเราผู้ได้บรรลุ อภิญญาใหญ่ ฯ พระกีสาโคตมีภิกษุณี เลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกาของเราผู้ทรงจีวรเศร้า หมอง ฯ พระสิคาลมาตาภิกษุณี เลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกาของเราผู้พ้นจากกิเลส ได้ด้วยศรัทธา ฯ
จบวรรคที่ ๕

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๖๐๔-๗๑๕ หน้าที่ ๒๖-๓๑. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=604&Z=715&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=20&siri=13              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=139              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [143-150] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=20&item=143&items=8              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=14&A=2013              The Pali Tipitaka in Roman :- [143-150] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=20&item=143&items=8              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=14&A=2013              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ https://84000.org/tipitaka/read/?index_20              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/20i139-e.php# https://suttacentral.net/an1.170-187/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :