ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
นาฬันทสูตร
ว่าด้วยธรรมปริยาย
[๗๒๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปาวาริกอัมพวัน ใกล้เมืองนาฬันทา ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้า พระองค์เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า สมณะหรือพราหมณ์อื่น ซึ่งจะรู้ยิ่งไปกว่าพระผู้ มีพระภาคในทางปัญญา เครื่องตรัสรู้ มิได้มีแล้ว จักไม่มี และย่อมไม่มีในบัดนี้ พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรสารีบุตร นี้เป็นอาสภิวาจาอย่างสูงที่เธอกล่าวแล้ว เธอถือเอาแต่วาทะอย่างเดียว บันลือสีหนาทว่า พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาค อย่างนี้ว่า สมณะหรือ พราหมณ์อื่น ซึ่งจะรู้ยิ่งไปกว่าพระผู้มีพระภาคในทางปัญญาเครื่องตรัสรู้ มิได้มีแล้ว จักไม่มี และย่อมไม่มีในบัดนี้. [๗๒๗] ดูกรสารีบุตร พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่าใด ที่ได้มีมาแล้วในอดีตกาล พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นทุกพระองค์ อันเธอกำหนดซึ่งใจด้วยใจแล้วรู้ว่า พระผู้มีพระภาคเหล่านั้น ทรงมีศีลอย่างนี้ มีธรรมอย่างนี้ มีปัญญาอย่างนี้ มีธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่างนี้ หรือว่าหลุดพ้น แล้วอย่างนี้ ดังนี้ กระนั้นหรือ? สา. หามิได้ พระเจ้าข้า. [๗๒๘] พ. ดูกรสารีบุตร พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่าใด ที่จักมีในอนาคต กาล และพระผู้มีพระภาคเหล่านั้นทุกพระองค์ อันเธอกำหนดซึ่งใจด้วยใจแล้วรู้ว่า พระผู้มีพระภาค เหล่านั้น ทรงมีศีลอย่างนี้ มีธรรมอย่างนี้ มีปัญญาอย่างนี้ มีธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่างนี้ หรือว่า หลุดพ้นแล้วอย่างนี้ ดังนี้ กระนั้นหรือ? สา. หามิได้ พระเจ้าข้า. [๗๒๙] พ. ดูกรสารีบุตร พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในบัดนี้ คือเรา อันเธอ กำหนดซึ่งใจด้วยใจแล้วรู้ว่า พระผู้มีพระภาคเป็นผู้มีศีลอย่างนี้ มีธรรมอย่างนี้ มีปัญญาอย่างนี้ มีธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่างนี้ หรือว่าหลุดพ้นแล้วอย่างนี้ ดังนี้ กระนั้นหรือ? สา. หามิได้ พระเจ้าข้า. [๗๓๐] พ. ดูกรสารีบุตร ก็ในข้อนี้ เธอไม่มีเจโตปริยญาณในพระอรหันตสัมมา- *สัมพุทธเจ้าทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุอะไร? เธอจึง กล่าวอาสภิวาจาอย่างสูงนี้ เธอถือเอาวาทะแต่อย่างเดียวบันลือสีหนาทว่า พระพุทธเจ้าข้า ข้า พระองค์เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า สมณะหรือพราหมณ์อื่น ซึ่งจะรู้ยิ่งไปกว่าพระผู้มี พระภาค ในทางพระปัญญาเครื่องตรัสรู้ มิได้มีแล้ว จักไม่มี และย่อมไม่มีในบัดนี้. สา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จะมีเจโตปริยญาณในพระอรหันตสัมมาสัมพุทธ- *เจ้า ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันก็หามิได้ แต่ว่า ข้าพระองค์รู้ได้ตามกระแสพระธรรม. [๗๓๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เปรียบเหมือนปัจจันตนครของพระราชามีเชิงเทินมั่นคง มีกำแพงและหอรบหนาแน่น มีประตูเดียว คนเฝ้าประตูของพระราชาในนครนั้น มีปัญญาเฉลียว ฉลาด ห้ามคนที่ไม่รู้จัก ให้คนที่รู้จักเข้าไป เขาเดินตรวจตามทางรอบนครนั้น ไม่พบที่ต่อหรือ ช่องแห่งกำแพงโดยที่สุด แม้เพียงแมวอาจลอดออกไปได้ เขาจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า สัตว์ตัว เขื่องๆ ชนิดใดชนิดหนึ่ง จะเข้านครนี้หรือจะออกไป สัตว์เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมเข้าหรือออกโดย ประตูนี้เท่านั้น แม้ฉันใด ข้าพระองค์รู้ตามกระแสพระธรรม ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พระอรหันต- *สัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่าใด ที่ได้มีมาแล้วในอดีตกาล พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นทุกพระองค์ ทรงละ นิวรณ์ ๕ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งใจ ทอนกำลังปัญญา ทรงมีพระหฤทัยตั้งมั่นดีแล้วในสติ ปัฏฐาน ๔ ทรงเจริญโพชฌงค์ ๗ ตามความเป็นจริง ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่าใด จักมีในอนาคตกาล ... จักตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิ- *ญาณ แม้พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในบัดนี้ ก็ทรงละนิวรณ์ ๕ อันเป็นเครื่องเศร้า หมองแห่งใจ ทอนกำลังปัญญา ทรงมีพระหฤทัยตั้งมั่นดีแล้วในสติปัฏฐาน ๔ ทรงเจริญโพชฌงค์ ๗ ตามความเป็นจริง ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ. [๗๓๒] พ. ดีละๆ สารีบุตร เพราะเหตุนั้นแหละ เธอพึงกล่าวธรรมปริยายนี้เนืองๆ แก่ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ด้วยว่า โมฆบุรุษเหล่าใด จักมีความเคลือบแคลงหรือความ สงสัยในตถาคต โมฆบุรุษเหล่านั้น จักละความเคลือบแคลงหรือความสงสัยนั้นเสีย เพราะได้ฟัง ธรรมปริยายนี้.
จบ สูตรที่ ๒

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๔๒๓๐-๔๒๗๙ หน้าที่ ๑๗๖-๑๗๘. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=19&A=4230&Z=4279&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=19&siri=142              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=726              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [726-732] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=19&item=726&items=7              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=6119              The Pali Tipitaka in Roman :- [726-732] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=19&item=726&items=7              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=6119              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ https://84000.org/tipitaka/read/?index_19              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/sn47.12/en/sujato https://suttacentral.net/sn47.12/en/bodhi

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :