ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
ภิกขุนีสูตร
ผู้มีจิตตั้งมั่นในสติปัฏฐาน ๔ ย่อมรู้คุณวิเศษ
[๗๑๔] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น เวลาเช้า ท่านพระอานนท์นุ่งแล้ว ถือบาตรและ จีวรเข้าไปยังสำนักของนางภิกษุณีแห่งหนึ่ง แล้วนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้ ครั้งนั้น ภิกษุณี มากรูปเข้าไปหาท่านพระอานนท์ ไหว้ท่านพระอานนท์แล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้น แล้ว จึงพูดกะท่านพระอานนท์ว่า ข้าแต่พระอานนท์ผู้เจริญ ภิกษุณีมากรูปในธรรมวินัยนี้ มีจิต ตั้งมั่นดีแล้วในสติปัฏฐาน ๔ ย่อมรู้คุณวิเศษอันยิ่งอย่างอื่นจากคุณวิเศษในกาลก่อน ท่านพระ- *อานนท์ ตอบว่า น้องหญิง ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง มีจิตตั้งมั่นดีแล้วในสติปัฏฐาน ๔ ภิกษุหรือภิกษุณีรูปนั้นพึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักรู้คุณวิเศษอันยิ่ง อย่างอื่นจากคุณวิเศษในกาลก่อน ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์ยังภิกษุณีเหล่านั้นให้เห็นแจ้ง ให้ สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริงด้วยธรรมีกถา แล้วลุกจากอาสนะหลีกไป. [๗๑๕] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เที่ยวไปบิณฑบาตในพระนครสาวัตถีแล้ว ในเวลา ปัจฉาภัต กลับจากบิณฑบาต เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อ เช้านี้ ข้าพระองค์นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังสำนักนางภิกษุณีแห่งหนึ่ง แล้วนั่งบนอาสนะ ที่เขาปูลาดไว้ ครั้งนั้น ภิกษุณีมากรูปเข้ามาหาข้าพระองค์ ไหว้ข้าพระองค์แล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้พูดกะข้าพระองค์ว่า ข้าแต่ท่านพระอานนท์ผู้เจริญ ภิกษุณีมากรูปใน ธรรมวินัยนี้ มีจิตตั้งมั่นดีแล้วในสติปัฏฐาน ๔ ย่อมรู้คุณวิเศษอันยิ่งอย่างอื่นจากคุณวิเศษในกาล ก่อน เมื่อภิกษุณีทั้งหลายพูดอย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์ตอบว่า น้องหญิง ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ข้อนี้ เป็นอย่างนั้น ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง มีจิตตั้งมั่นดีแล้วในสติปัฏฐาน ๔ ภิกษุหรือภิกษุณี รูปนั้นพึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักรู้คุณวิเศษอันยิ่งอย่างอื่นจากคุณวิเศษในกาลก่อน. [๗๑๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง มีจิตตั้งมั่นดีแล้วในสติปัฏฐาน ๔ ภิกษุหรือภิกษุณีรูปนั้นพึงหวัง ข้อนี้ได้ว่า จักรู้คุณวิเศษอันยิ่งอย่างอื่นจากคุณวิเศษในกาลก่อน สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน? [๗๑๗] ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความ เพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย เมื่อเธอพิจารณาเห็นกายใน กายอยู่ ความเร่าร้อนมีกายเป็นอารมณ์เกิดขึ้นในกายก็ดี ความหดหู่แห่งจิตเกิดขึ้นก็ดี จิตฟุ้งซ่าน ไปในภายนอกก็ดี ภิกษุนั้นพึงตั้งจิตไว้ให้มั่นในนิมิต อันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสอย่างใด อย่างหนึ่ง เมื่อเธอตั้งจิตไว้มั่นในนิมิต อันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อเธอปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด เมื่อเธอมีใจประกอบด้วยปีติ กายย่อมระงับ เธอมีกายระงับแล้ว ย่อมเสวยสุข เมื่อเธอมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น เธอย่อมพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า เราตั้งจิตไว้เพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์นั้นสำเร็จแก่เราแล้ว บัดนี้เราจะคุมจิตไว้ เธอคุมจิตไว้ และไม่ตรึก ไม่ตรอง ย่อมรู้ชัดว่า เราไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีสติ ในภายใน เป็นผู้มีความสุข ดังนี้. [๗๑๘] ดูกรอานนท์ อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นเวทนา ในเวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มี สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย เมื่อเธอพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ ความเร่าร้อนมีธรรมเป็นอารมณ์เกิดขึ้นในกายก็ดี ความหดหู่แห่งจิตเกิดขึ้นก็ดี จิตฟุ้งซ่านไปใน ภายนอกก็ดี ภิกษุนั้นพึงตั้งจิตไว้ให้มั่นในนิมิต อันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อเธอตั้งจิตไว้มั่นในนิมิต อันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ ปราโมทย์ย่อม เกิด เมื่อเธอปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด เมื่อเธอมีใจประกอบด้วยปีติ กายย่อมระงับ เธอมีกาย ระงับแล้ว ย่อมเสวยสุข เมื่อเธอมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น เธอย่อมพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า เราตั้งจิต ไว้เพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์นั้น สำเร็จแก่เราแล้ว บัดนี้เราจะคุมจิตไว้ เมื่อเธอคุมจิตไว้ และไม่ตรึก ไม่ตรอง ย่อมรู้ชัดว่า เราไม่มีวิตก เราไม่มีวิจาร มีสติในภายใน เป็นผู้มีความสุข ดังนี้ ดูกรอานนท์ ภาวนาย่อมมีเพราะตั้งจิตไว้ ด้วยประการฉะนี้แล. [๗๑๙] ดูกรอานนท์ ก็ภาวนาย่อมมีเพราะไม่ตั้งจิตไว้ในภายนอกอย่างไร? ดูกร อานนท์ ภิกษุมิได้ตั้งจิตไว้ในภายนอก ย่อมรู้ชัดว่า จิตอันเรามิได้ตั้งไว้ในภายนอก ในลำดับนั้น เธอย่อมรู้ชัดว่า จิตของเราไม่ได้ฟุ้งซ่านไปข้างหลังและข้างหน้า พ้นแล้วมิได้ตั้งอยู่ ก็แลในกาล นั้น เธอย่อมรู้ชัดว่า เราย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ เป็นผู้มีความสุข ดังนี้. [๗๒๐] ดูกรอานนท์ ภิกษุมิได้ตั้งจิตไว้ในภายนอก ย่อมรู้ชัดว่า จิตอันเรามิได้ตั้งไว้ ในภายนอก ในลำดับนั้น เธอย่อมรู้ชัดว่า จิตของเราไม่ฟุ้งซ่านไป ข้างหลังและข้างหน้า พ้น แล้ว มิได้ตั้งอยู่ ก็แลในกาลนั้น เธอย่อมรู้ชัดว่า เราย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความ เพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ เป็นผู้มีความสุข ดังนี้. [๗๒๑] ดูกรอานนท์ ภิกษุมิได้ตั้งจิตไว้ในภายนอก ย่อมรู้ชัดว่า จิตอันเรามิได้ตั้งไว้ ในภายนอก ในลำดับนั้น เธอย่อมรู้ชัดว่า จิตของเราไม่ฟุ้งซ่านไป ข้างหลังและข้างหน้า พ้น แล้ว มิได้ตั้งอยู่ ก็แลในกาลนั้น เธอย่อมรู้ชัดว่า เราย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ เป็นผู้มีความสุข ดังนี้. [๗๒๒] ดูกรอานนท์ ภิกษุมิได้ตั้งจิตไว้ในภายนอก ย่อมรู้ชัดว่า จิตอันเรามิได้ตั้งไว้ ในภายนอก ในลำดับนั้น เธอย่อมรู้ชัดว่า จิตของเราไม่ฟุ้งซ่านไป ข้างหลังและข้างหน้า พ้น แล้ว มิได้ตั้งอยู่ ก็แลในกาลนั้น เธอย่อมรู้ชัดว่า เราย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความ
เพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ เป็นผู้มีความสุข ดังนี้. [๗๒๓] ดูกรอานนท์ ภาวนาย่อมมีเพราะไม่ได้ตั้งจิตไว้อย่างนี้แล ดูกรอานนท์ ภาวนาย่อมมีเพราะตั้งจิตไว้ เราแสดงแล้ว ภาวนาย่อมมีเพราะมิได้ตั้งจิตไว้ เราก็แสดงแล้ว ด้วยประการฉะนี้แล ดูกรอานนท์ กิจอันใดอันศาสดา ผู้แสวงหาประโยชน์ ผู้อนุเคราะห์ มุ่ง ความอนุเคราะห์จะพึงทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจอันนั้น เรากระทำแล้วแก่เธอทั้งหลาย อานนท์ นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง เธอทั้งหลายจงเพ่งพินิจ อย่าประมาท อย่าได้มีความร้อนใจในภายหลัง นี้เป็นอนุศาสนีของเรา สำหรับเธอทั้งหลาย. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพุทธพจน์นี้แล้ว ท่านพระอานนท์ปลื้มใจชื่นชมภาษิตของพระผู้ มีพระภาคแล้วแล.
จบ สูตรที่ ๑๐
จบ อัมพปาลิวรรค
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อัมพปาลิสูตร ๒. สติสูตร ๓. ภิกขุสูตร ๔. โกสลสูตร ๕. อกุสลราสิสูตร ๖. สกุณัคฆีสูตร ๗. มักกฏสูตร ๘. สูทสูตร ๙. คิลานสูตร ๑๐. ภิกขุนีสูตร
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๔๑๓๖-๔๒๑๒ หน้าที่ ๑๗๒-๑๗๕. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=19&A=4136&Z=4212&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=19&siri=140              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=714              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [714-723] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=19&item=714&items=10              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=6054              The Pali Tipitaka in Roman :- [714-723] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=19&item=714&items=10              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=6054              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ https://84000.org/tipitaka/read/?index_19              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn47/sn47.010.olen.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn47/sn47.010.wlsh.html https://suttacentral.net/sn47.10/en/sujato https://suttacentral.net/sn47.10/en/bodhi

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :