ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
โมคคัลลานสูตร
[๗๘๘] ครั้งนั้นแล วัจฉโคตรปริพาชกเข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะ ถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระมหาโมคคัลลานะ ครั้นผ่านการปราศรัยพอ ให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่าน พระมหาโมคคัลลานะว่า ดูกรท่านโมคคัลลานะ โลกเที่ยงหรือ ท่านพระมหา- *โมคคัลลานะตอบว่า ดูกรวัจฉะ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรง พยากรณ์ ฯ ว. ดูกรท่านโมคคัลลานะ โลกไม่เที่ยงหรือ ฯ ม. ดูกรวัจฉะ แม้ปัญหาข้อนี้ก็เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรง พยากรณ์ ฯ ว. ดูกรท่านโมคคัลลานะ โลกมีที่สุดหรือ ฯ ม. ดูกรวัจฉะ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ ฯ ว. ดูกรท่านโมคคัลลานะ โลกไม่มีที่สุดหรือ ฯ ม. ดูกรวัจฉะ แม้ปัญหาข้อนี้ก็เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรง พยากรณ์ ฯ ว. ดูกรท่านโมคคัลลานะ ชีพก็อันนั้นหรือ ฯ ม. ดูกรวัจฉะ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ ฯ ว. ดูกรโมคคัลลานะ ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่นหรือ ฯ ม. ดูกรวัจฉะ แม้ปัญหาข้อนี้ก็เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรง พยากรณ์ ฯ ว. ดูกรโมคคัลลานะ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกหรือ ฯ ม. ดูกรวัจฉะ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ ฯ ว. ดูกรโมคคัลลานะ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมไม่เกิดอีกหรือ ฯ ม. ดูกรวัจฉะ แม้ปัญหาข้อนี้ก็เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรง พยากรณ์ ฯ ว. ดูกรโมคคัลลานะ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็มี ย่อม ไม่เกิดอีกก็มีหรือ ฯ ม. ดูกรวัจฉะ ปัญหาข้อนี้ก็เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ ฯ ว. ดูกรท่านโมคคัลลานะ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หา มิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้หรือ ฯ ม. ดูกรวัจฉะ แม้ปัญหาข้อนี้ก็เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรง พยากรณ์ ฯ [๗๘๙] ว. ดูกรท่านโมคคัลลานะ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้พวก ปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่น เมื่อถูกถามอย่างนั้นแล้ว พยากรณ์อย่างนี้ว่า โลกเที่ยงบ้าง โลกไม่เที่ยงบ้าง โลกมีที่สุดบ้าง โลกไม่มีที่สุดบ้าง ชีพก็อันนั้น สรีระ ก็อันนั้นบ้าง ชีพเป็นอย่างอื่น สรีระก็เป็นอย่างอื่นบ้าง สัตว์เบื้องหน้าแต่ตาย แล้วย่อมเกิดอีกบ้าง สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เกิดอีกบ้าง สัตว์เบื้องหน้า แต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิดอีกก็มีบ้าง สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อม เกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้บ้าง ดูกรท่านโมคคัลลานะ ก็อะไรเล่า เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้พระสมณโคดม เมื่อถูกถามอย่างนั้นแล้ว ไม่ทรงพยากรณ์ อย่างนี้ว่า โลกเที่ยงก็ดี โลกไม่เที่ยงก็ดี โลกมีที่สุดก็ดี โลกไม่มีที่สุดก็ดี ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้นก็ดี ชีพเป็นอย่างอื่น สรีระก็เป็นอย่างอื่นก็ดี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็ดี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เกิดอีก ก็ดี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิดอีกก็มีก็ดี สัตว์เบื้อง หน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ก็ดี ฯ [๗๙๐] ม. ดูกรวัจฉะ ก็เพราะพวกปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่นย่อมตามเห็น จักษุว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่น ย่อมตามเห็นหู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่น เป็นตัวตนของเรา เพราะเหตุนั้น เมื่อพวกปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่นถูกถามอย่างนั้น แล้ว จึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า โลกเที่ยงบ้าง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อม เกิดอีกก็หามิได้ ไม่เกิดอีกก็หามิได้บ้าง ดูกรวัจฉะ ส่วนพระตถาคตอรหันตสัมมา สัมพุทธเจ้า ย่อมทรงพิจารณาเห็นจักษุว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่น ไม่ใช่ตัวตนของเรา ย่อมทรงพิจารณาเห็น หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา เพราะฉะนั้น เมื่อพระ ตถาคตถูกถามอย่างนั้นแล้ว จึงไม่ทรงพยากรณ์อย่างนี้ว่า โลกเที่ยงก็ดี ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ก็ดี ฯ [๗๙๑] ครั้งนั้นแล วัจฉโคตรปริพาชกลุกขึ้นจากที่นั่งแล้วเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัย พอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถาม พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ โลกเที่ยงหรือ พระผู้มีพระภาคตรัส ตอบว่า ดูกรวัจฉะ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาที่เราไม่พยากรณ์ ฯลฯ ว. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หา มิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้หรือ ฯ พ. ดูกรวัจฉะ แม้ปัญหาข้อนี้เราก็ไม่พยากรณ์ ฯ ว. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรเล่า เป็นเหตุเป็นปัจจัย ให้พวก ปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่น เมื่อถูกถามอย่างนั้นแล้ว ย่อมพยากรณ์อย่างนี้ว่า โลกเที่ยง บ้าง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ บ้าง ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรเล่าเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้พระโคดมผู้เจริญ เมื่อถูกทูลถามอย่างนั้นแล้ว จึงไม่ทรงพยากรณ์อย่างนี้ว่า โลกเที่ยงก็ดี ฯลฯ สัตว์ เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ก็ดี ฯ [๗๙๒] พ. ดูกรวัจฉะ พวกปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่นย่อมตามเห็นจักษุว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา พวกปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่นย่อม ตามเห็น หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่น เป็นตัวตนของเรา เพราะเหตุนั้น เมื่อพวกปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่นถูกถามอย่างนั้น แล้ว จึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า โลกเที่ยงบ้าง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อม เกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้บ้าง ดูกรวัจฉะ ส่วนพระตถาคตอรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้า ย่อมทรงพิจารณาเห็นจักษุว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ย่อมทรงพิจารณาเห็น หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจ ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา เพราะเหตุนั้น เมื่อตถาคตถูกถามอย่างนั้นแล้ว จึงไม่ทรงพยากรณ์อย่างนี้ว่า โลกเที่ยงก็ดี ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ก็ดี ฯ [๗๙๓] ว. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมี ในข้อที่ อรรถกับอรรถ พยัญชนะกับพยัญชนะ ของศาสดากับของสาวก ย่อมเทียบกันได้ สมกันได้ ไม่ผิดเพี้ยนกันในบทที่สำคัญ ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ เมื่อกี้นี้ ข้าพระองค์ได้เข้าไปหาสมณมหาโมคคัลลานะแล้ว ได้ถามความข้อนี้ แม้สมณ มหาโมคคัลลานะก็ได้พยากรณ์ความข้อนี้ ด้วยบทเหล่านี้ด้วยพยัญชนะเหล่านี้ แก่ ข้าพระองค์ ดุจพระโคดมผู้เจริญเหมือนกัน ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมี ในข้อที่อรรถกับอรรถ พยัญชนะกับพยัญชนะ ของศาสดากับของสาวก ย่อมเทียบกันได้ สมกันได้ ไม่ผิดเพี้ยนกันในบทที่สำคัญ ฯ
จบสูตรที่ ๗

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ บรรทัดที่ ๙๗๗๐-๙๘๕๙ หน้าที่ ๔๒๑-๔๒๔. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=18&A=9770&Z=9859&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=18&siri=288              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=788              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [788-793] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=18&item=788&items=6              The Pali Tipitaka in Roman :- [788-793] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=18&item=788&items=6              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ https://84000.org/tipitaka/read/?index_18              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/18i752-e.php#sutta7 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn44/sn44.007.than.html https://suttacentral.net/sn44.7/en/sujato https://suttacentral.net/sn44.7/en/bodhi

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :