ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
พระสุตตันตปิฎก
เล่ม ๑๐
สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
อนิจจวรรคที่ ๑
อัชฌัตติกอนิจจสูตร
[๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของ ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัส เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระผู้มีพระภาค แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็นของไม่เที่ยง สิ่งใด ไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา หูเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ จมูก เป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ ลิ้นเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ กายเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ ใจ เป็นของไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็น อนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความ เป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน จักษุ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในหู ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจมูก ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในลิ้น ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในใจ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลาย- *กำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ
จบสูตรที่ ๑
อัชฌัตติกทุกขสูตร
[๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็น อนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตาม เป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา หู เป็นทุกข์ ฯลฯ จมูกเป็นทุกข์ ฯลฯ ลิ้นเป็นทุกข์ ฯลฯ กายเป็นทุกข์ ฯลฯ ใจเป็น ทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ฯลฯ ฯ
จบสูตรที่ ๒
อัชฌัตติกอนัตตสูตร
[๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้น ท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของ เรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา หูเป็นอนัตตา ฯลฯ จมูกเป็น อนัตตา ฯลฯ ลิ้นเป็นอนัตตา ฯลฯ กายเป็นอนัตตา ฯลฯ ใจเป็นอนัตตา สิ่งใด เป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ฯลฯ ฯ
จบสูตรที่ ๓
พาหิรอนิจจสูตร
[๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นของไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่าน ทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็นของไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็น อนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความ เป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายในรูป ... ย่อมทราบชัด ... ฯ
จบสูตรที่ ๔
พาหิรทุกขสูตร
[๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ... ฯ
จบสูตรที่ ๕
พาหิรอนัตตสูตร
[๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่าน ทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตาม ความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ... ฯ
จบสูตรที่ ๖
อตีตานาคตปัจจุปันนานิจจสูตร
[๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นของไม่เที่ยง จะกล่าวไปไยถึงจักษุอันเป็นปัจจุบันเล่า อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มีเยื่อใยในจักษุที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินจักษุที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติ เพื่อเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับซึ่งจักษุที่เป็นปัจจุบัน หู จมูก ลิ้น กาย ใจที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นของไม่เที่ยง จะกล่าวไปไยถึงใจที่เป็นปัจจุบัน เล่า อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มีเยื่อใยในใจที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินใจที่เป็นปัจจุบัน ย่อมปฏิบัติเพื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ ซึ่งใจที่เป็นปัจจุบัน ฯ
จบสูตรที่ ๗
อตีตานาคตปัจจุปันนทุกขสูตร
[๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นทุกข์ จะกล่าว ไปไยถึงจักษุที่เป็นปัจจุบันเล่า อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่ มีเยื่อใยในจักษุที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินจักษุที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับซึ่งจักษุที่เป็นปัจจุบัน หู จมูก ลิ้น กาย ใจที่เป็น อดีตและอนาคต เป็นทุกข์ จะกล่าวไปไยถึงใจที่เป็นปัจจุบันเล่า อริยสาวกผู้ได้ สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มีเยื่อใยในใจที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินใจที่ เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับซึ่งใจที่เป็น ปัจจุบัน ฯ
จบสูตรที่ ๘
อตีตานาคตปัจจุปันนานัตตสูตร
[๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นอนัตตา จะ กล่าวไปไยถึงจักษุที่เป็นปัจจุบันเล่า อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อม ไม่มีเยื่อใยในจักษุที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินจักษุที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อ เบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับซึ่งจักษุที่เป็นปัจจุบัน หู จมูก ลิ้น กาย ใจที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นอนัตตา จะกล่าวไปไยถึงใจที่เป็นปัจจุบันเล่า อริย สาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มีเยื่อใยในใจที่เป็นอดีต ไม่เพลิด เพลินใจที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับซึ่งใจ ที่เป็นปัจจุบัน ฯ
จบสูตรที่ ๙
พาหิรสูตร
[๑๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นของไม่เที่ยง จะกล่าวไปไยถึงรูปที่เป็นปัจจุบันเล่า อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มีเยื่อใยในรูปที่เป็นอดีต ย่อมไม่เพลิดเพลินในรูปที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติ เพื่อเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับซึ่งรูปที่เป็นปัจจุบัน เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นของไม่เที่ยง จะกล่าวไปไย ถึงที่เป็นปัจจุบันเล่า อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มีเยื่อใย ในธรรมารมณ์ที่เป็นอดีต ย่อมไม่เพลิดเพลินในธรรมารมณ์ที่เป็นอนาคต ย่อม ปฏิบัติเพื่อเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับซึ่งธรรมารมณ์ที่เป็นปัจจุบัน ฯ [๑๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นทุกข์ จะกล่าว ไปไยถึงรูปที่เป็นปัจจุบันเล่า อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มี เยื่อใยในรูปที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินในรูปที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อเบื่อ หน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับซึ่งรูปที่เป็นปัจจุบัน ฯลฯ ฯ [๑๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นอนัตตา จะ กล่าวไปไยถึงรูปที่เป็นปัจจุบันเล่า อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อม ไม่มีเยื่อใยในรูปที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินในรูปที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติ เพื่อเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับซึ่งรูปที่เป็นปัจจุบัน เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นอนัตตา จะกล่าวไปไยถึงที่ เป็นปัจจุบันเล่า อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มีเยื่อใยใน ธรรมารมณ์ที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินในธรรมารมณ์ที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อ เบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับซึ่งธรรมารมณ์ที่เป็นปัจจุบัน ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
จบอนิจจวรรคที่ ๑
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อัชฌัตติกอนิจจสูตร ๒. อัชฌัตติกทุกขสูตร ๓. อัชฌัตติก- *อนัตตสูตร ๔. พาหิรอนิจจสูตร ๕. พาหิรทุกขสูตร ๖. พาหิรอนัตต- *สูตร ๗. อตีตานาคตปัจจุปันนานิจจสูตร ๘. อตีตานาคตปัจจุปันนทุกขสูตร ๙. อตีตานาคตปัจจุปันนานัตตสูตร ๑๐. พาหิรสูตร ฯ
-----------------------------------------------------
ยมกวรรคที่ ๒
สัมโพธสูตรที่ ๑
[๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังเป็นโพธิสัตว์ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ได้มีความคิดดังนี้ว่า อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ อะไรเป็น ความสลัดออกแห่งจักษุ ฯลฯ แห่งหู ฯลฯ แห่งจมูก ฯลฯ แห่งลิ้น ฯลฯ แห่ง กาย ฯลฯ อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นความสลัดออกแห่งใจ ดูกร- *ภิกษุทั้งหลาย เรานั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า สุขโสมนัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุ นี้เป็นคุณแห่งจักษุ จักษุเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งจักษุ การกำจัด การละฉันทราคะในจักษุ นี้เป็นความสลัดออก แห่งจักษุ ฯลฯ สุขโสมนัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยใจ นี้เป็นคุณแห่งใจ ใจเป็นสภาพ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งใจ การกำจัด การละฉันทราคะในใจ นี้เป็นความสลัดออกแห่งใจ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายัง ไม่รู้ตามความเป็นจริง ซึ่งคุณแห่งอายตนะภายใน ๖ เหล่านี้ โดยเป็นคุณ ซึ่งโทษโดยความเป็นโทษ และซึ่งความสลัดออกโดยเป็นความสลัดออก อย่างนี้ เพียงใด เราก็ยังไม่ปฏิญาณว่าได้ตรัสรู้ซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก พร้อม ทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์เพียงนั้น เมื่อใด เราได้รู้ตามความเป็นจริง ซึ่งคุณแห่งอายตนะภาย ใน ๖ เหล่านี้ โดยเป็นคุณ ซึ่งโทษโดยความเป็นโทษ และซึ่งความสลัดออก โดยเป็นความสลัดออก อย่างนี้ เมื่อนั้น เราจึงปฏิญาณว่า ได้ตรัสรู้ซึ่งอนุตตร สัมมาสัมโพธิญาณในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ก็ญาณทัสนะเกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ความหลุดพ้นของเราไม่กำเริบ ชาตินี้มีในที่สุด บัดนี้ภพใหม่ไม่มี ฯ
จบสูตรที่ ๑
สัมโพธสูตรที่ ๒
[๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังเป็นโพธิสัตว์ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ได้มีความคิดดังนี้ว่า อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ อะไรเป็น ความสลัดออกแห่งรูป ฯลฯ แห่งเสียง ฯลฯ แห่งกลิ่น ฯลฯ แห่งรส ฯลฯ แห่งโผฏฐัพพะ อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นความสลัดออกแห่ง ธรรมารมณ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า สุขโสมนัสเกิดขึ้น เพราะอาศัยรูป นี้เป็นคุณแห่งรูป รูปเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวน เป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งรูป การกำจัด การละฉันทราคะในรูป นี้เป็นความ สลัดออกแห่งรูป ฯลฯ สุขโสมนัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมารมณ์ นี้เป็นคุณแห่ง ธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์เป็นสภาพไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็น ธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งธรรมารมณ์ การกำจัด การละฉันทราคะในธรรมารมณ์ นี้เป็นความสลัดออกแห่งธรรมารมณ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่รู้ตามความเป็น จริง ซึ่งคุณแห่งอายตนะภายนอก ๖ เหล่านี้ โดยเป็นคุณ ซึ่งโทษโดยความ เป็นโทษ และซึ่งความสลัดออกโดยเป็นความสลัดออก อย่างนี้ เพียงใด เราก็ยัง ไม่ปฏิญาณว่า ได้ตรัสรู้ซึ่งอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เพียงนั้น เมื่อใด เราได้รู้ตามความเป็นจริง ซึ่งคุณแห่งอายตนะภายนอก ๖ เหล่านี้ โดยเป็นคุณ ซึ่งโทษโดยความเป็นโทษ และซึ่งความสลัดออกโดยเป็นความสลัด ออกอย่างนี้ เมื่อนั้น เราจึงปฏิญาณว่า ได้ตรัสรู้ซึ่งอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ก็ญาณทัสนะเกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ความหลุดพ้นของเราไม่กำเริบ ชาตินี้มีในที่สุด บัดนี้ภพใหม่ไม่มี ฯ
จบสูตรที่ ๒
อัสสาทสูตรที่ ๑
[๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราได้เที่ยวแสวงหาคุณแห่งจักษุ ได้พบคุณ แห่งจักษุ ได้เห็นด้วยดีด้วยปัญญา เราได้เที่ยวแสวงหาโทษแห่งจักษุ ได้พบโทษ แห่งจักษุ ได้เห็นด้วยดีด้วยปัญญา เราได้เที่ยวแสวงหาความสลัดออกแห่งจักษุ ได้พบความสลัดออกแห่งจักษุ ได้เห็นด้วยดีด้วยปัญญา ฯลฯ แห่งหู ฯลฯ แห่ง จมูก ฯลฯ แห่งลิ้น ฯลฯ แห่งกาย ฯลฯ เราได้เที่ยวแสวงหาคุณแห่งใจ ได้พบ คุณแห่งใจ ได้เห็นด้วยดีด้วยปัญญา เราได้เที่ยวแสวงหาโทษแห่งใจ ได้พบโทษ แห่งใจ ได้เห็นด้วยดีด้วยปัญญา เราได้เที่ยวแสวงหาความสลัดออกแห่งใจ ได้ พบความสลัดออกแห่งใจ ได้เห็นด้วยดีด้วยปัญญา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่รู้ ตามความเป็นจริง ซึ่งคุณแห่งอายตนะภายใน ๖ เหล่านี้โดยเป็นคุณ ซึ่งโทษ โดยความเป็นโทษ ซึ่งความสลัดออกโดยเป็นความสลัดออก เพียงใด ฯลฯ ก็ ญาณทัสนะเกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ความหลุดพ้นของเราไม่กำเริบ ชาตินี้มีในที่สุด บัดนี้ภพใหม่ไม่มี ฯ
จบสูตรที่ ๓
อัสสาทสูตรที่ ๒
[๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราได้เที่ยวแสวงหาคุณแห่งรูป ได้พบคุณแห่ง รูป ได้เห็นด้วยดีด้วยปัญญา เราได้เที่ยวแสวงหาโทษแห่งรูป ได้พบโทษแห่งรูป ได้เห็นด้วยดีด้วยปัญญา เราได้เที่ยวแสวงหาความสลัดออกแห่งรูป ได้พบความ สลัดออกแห่งรูป ได้เห็นด้วยดีด้วยปัญญา ฯลฯ แห่งเสียง ฯลฯ แห่งกลิ่น ฯลฯ แห่งรส ฯลฯ แห่งโผฏฐัพพะ ฯลฯ เราได้เที่ยวแสวงหาคุณแห่งธรรมารมณ์ ได้พบคุณแห่งธรรมารมณ์ ได้เห็นด้วยดีด้วยปัญญา เราได้เที่ยวแสวงหาโทษแห่ง ธรรมารมณ์ ได้พบโทษแห่งธรรมารมณ์ ได้เห็นด้วยดีด้วยปัญญา เราได้เที่ยว แสวงหาความสลัดออกแห่งธรรมารมณ์ ได้พบความสลัดออกแห่งธรรมารมณ์ ได้ เห็นด้วยดีด้วยปัญญา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่รู้ตามความเป็นจริง ซึ่งคุณแห่ง อายตนะภายนอก ๖ เหล่านี้โดยเป็นคุณ ซึ่งโทษโดยความเป็นโทษ ซึ่งความสลัด ออกโดยเป็นความสลัดออก เพียงใด ฯลฯ ก็ญาณทัสนะเกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ความหลุดพ้นของเราไม่กำเริบ ชาตินี้มีในที่สุด บัดนี้ภพใหม่ไม่มี ฯ
จบสูตรที่ ๔
โนอัสสาทสูตรที่ ๑
[๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าคุณแห่งจักษุจักไม่มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลาย ก็จะไม่พึงกำหนัดในจักษุ แต่เพราะคุณในจักษุมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงกำหนัด ในจักษุ ถ้าโทษแห่งจักษุจักไม่มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึงเบื่อหน่ายในจักษุ แต่เพราะโทษแห่งจักษุมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในจักษุ ถ้าความ สลัดออกแห่งจักษุจักไม่มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงสลัดออกจากจักษุ แต่ เพราะความสลัดออกแห่งจักษุมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงสลัดออกจากจักษุ ฯลฯ แห่งหู ฯลฯ แห่งจมูก ฯลฯ แห่งลิ้น ฯลฯ แห่งกาย ฯลฯ ถ้าคุณแห่งใจจักไม่มี แล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึงกำหนัดในใจ แต่เพราะคุณแห่งใจมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงกำหนัดในใจ ถ้าโทษแห่งใจจักไม่มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะ ไม่พึงเบื่อหน่ายในใจ แต่เพราะโทษแห่งใจมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อ หน่ายในใจ ถ้าความสลัดออกแห่งใจจักไม่มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึง สลัดออกจากใจ แต่เพราะความสลัดออกแห่งใจมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึง สลัดออกจากใจ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายยังไม่รู้ตามความเป็นจริง ซึ่ง คุณแห่งอายตนะภายใน ๖ เหล่านี้ โดยเป็นคุณ ซึ่งโทษโดยความเป็นโทษ ซึ่ง ความสลัดออกโดยเป็นความสลัดออก เพียงใด สัตว์ทั้งหลายก็ยังไม่เป็นผู้ออกไป พรากไป หลุดพ้นไปจากโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก จากหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ มีใจหาเขตแดนมิได้อยู่ เพียงนั้น แต่เมื่อใด สัตว์ทั้งหลายได้รู้ตามความเป็นจริง ซึ่งคุณแห่งอายตนะภายใน ๖ เหล่านี้ โดยเป็นคุณ ซึ่งโทษโดยความเป็นโทษ และซึ่งความสลัดออกโดยเป็น ความสลัดออก เมื่อนั้น สัตว์ทั้งหลายก็เป็นผู้ออกไป พรากไป หลุดพ้นไปจาก โลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก จากหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ มีใจอันหาเขตแดนมิได้อยู่ ฯ
จบสูตรที่ ๕
โนอัสสาทสูตรที่ ๒
[๑๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าคุณแห่งรูปจักไม่มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็ จะไม่พึงกำหนัดในรูป แต่เพราะคุณแห่งรูปมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงกำหนัดใน รูป ถ้าโทษแห่งรูปจักไม่มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึงเบื่อหน่ายในรูป แต่ เพราะโทษแห่งรูปมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในรูป ถ้าความสลัดออก แห่งรูปจักไม่มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึงสลัดออกจากรูป แต่เพราะความ สลัดออกแห่งรูปมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงสลัดออกจากรูป ฯลฯ แห่งเสียง ฯลฯ แห่งกลิ่น ฯลฯ แห่งรส ฯลฯ แห่งโผฏฐัพพะ ฯลฯ ถ้าคุณแห่งธรรมารมณ์ จักไม่มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึงกำหนัดในธรรมารมณ์ แต่เพราะคุณแห่ง ธรรมารมณ์มีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงกำหนัดในธรรมารมณ์ ถ้าโทษแห่ง ธรรมารมณ์จักไม่มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึงเบื่อหน่ายในธรรมารมณ์ แต่ เพราะโทษแห่งธรรมารมณ์มีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในธรรมารมณ์ ถ้าความสลัดออกจากธรรมารมณ์จักไม่มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึงสลัดออก จากธรรมารมณ์ แต่เพราะความสลัดออกแห่งธรรมารมณ์มีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลาย จึงสลัดออกจากธรรมารมณ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายยังไม่รู้ตามความเป็น จริง ซึ่งคุณแห่งอายตนะภายนอก ๖ เหล่านี้โดยเป็นคุณ ซึ่งโทษโดยความเป็น โทษ ซึ่งความสลัดออกโดยเป็นความสลัดออกเพียงใด สัตว์ทั้งหลายก็ยังไม่ เป็นผู้ออกไป พรากไป หลุดพ้นไปจากโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก จากหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ มีใจหาเขต แดนมิได้อยู่เพียงนั้น แต่เมื่อใด สัตว์ทั้งหลายได้รู้ตามความเป็นจริง ซึ่งคุณแห่ง อายตนะภายนอก ๖ เหล่านี้โดยเป็นคุณ ซึ่งโทษโดยความเป็นโทษ และซึ่ง ความสลัดออก โดยเป็นความสลัดออก เมื่อนั้น สัตว์ทั้งหลายก็เป็นผู้ออกไป พรากไป หลุดพ้นไปจากโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก จากหมู่ สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ มีใจอันหาเขตแดนมิได้อยู่ ฯ
จบสูตรที่ ๖
อภินันทสูตรที่ ๑
[๑๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดยังเพลิดเพลินจักษุ ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเพลิด เพลินทุกข์ ผู้ใดเพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นยังไม่พ้นไปจากทุกข์ ฯลฯ ผู้ใดยังเพลิดเพลินใจ ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเพลิดเพลินทุกข์ ผู้ใดเพลิดเพลินทุกข์ เรา กล่าวว่า ผู้นั้นยังไม่พ้นไปจากทุกข์ ส่วนผู้ใดไม่เพลิดเพลินจักษุ ผู้นั้นชื่อว่าไม่ เพลิดเพลินทุกข์ ผู้ใดไม่เพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นพ้นไปจากทุกข์ ฯลฯ ผู้ใดไม่เพลิดเพลินใจ ผู้นั้นชื่อว่าไม่เพลิดเพลินทุกข์ ผู้ใดไม่เพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นพ้นไปจากทุกข์ ฯ
จบสูตรที่ ๗
อภินันทสูตรที่ ๒
[๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดยังเพลิดเพลินรูป ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเพลิด เพลินทุกข์ ผู้ใดเพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นยังไม่พ้นไปจากทุกข์ ฯลฯ ผู้ใดยังเพลิดเพลินธรรมารมณ์ ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเพลิดเพลินทุกข์ ผู้ใดเพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นยังไม่พ้นไปจากทุกข์ ส่วนผู้ใดไม่เพลิดเพลินรูป ผู้นั้นชื่อว่าไม่ เพลิดเพลินทุกข์ ผู้ใดไม่เพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นพ้นไปจากทุกข์ ฯลฯ ผู้ใดไม่เพลิดเพลินธรรมารมณ์ ผู้นั้นชื่อว่าไม่เพลิดเพลินทุกข์ ผู้ใดไม่เพลิดเพลิน ทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นพ้นไปจากทุกข์ ฯ
จบสูตรที่ ๘
อุปปาทสูตรที่ ๑
[๒๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งจักษุ นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็น ความปรากฏแห่งชราและมรณะ ฯลฯ ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งใจ นี้เป็นความเกิดแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความ ปรากฏแห่งชราและมรณะ ส่วนความดับ ความสงบ ความไม่มีแห่งจักษุ นี้เป็น ความดับแห่งทุกข์ เป็นความสงบแห่งโรค เป็นความไม่มีแห่งชราและมรณะ ฯลฯ ความดับ ความสงบ ความไม่มีแห่งใจ นี้เป็นความดับแห่งทุกข์ เป็นความสงบ แห่งโรค เป็นความไม่มีแห่งชราและมรณะ ฯ
จบสูตรที่ ๙
อุปปาทสูตรที่ ๒
[๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งรูป นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็น ความปรากฏแห่งชราและมรณะ ฯลฯ ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งธรรมารมณ์ นี้เป็นความเกิดแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ ฯ [๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความดับ ความสงบ ความไม่มีแห่งรูป นี้ เป็นความดับแห่งทุกข์ เป็นความสงบแห่งโรค เป็นความไม่มีแห่งชราและมรณะ ฯลฯ ความดับ ความสงบ ความไม่มีแห่งธรรมารมณ์ นี้เป็นความดับแห่งทุกข์ เป็นความสงบแห่งโรค เป็นความไม่มีแห่งชราและมรณะ ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
จบยมกวรรคที่ ๒
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สัมโพธสูตรที่ ๑ ๒. สัมโพธสูตรที่ ๒ ๓. อัสสาทสูตรที่ ๑ ๔. อัสสาทสูตรที่ ๒ ๕. โนอัสสาทสูตรที่ ๑ ๖. โนอัสสาทสูตรที่ ๒ ๗. อภินันทสูตรที่ ๑ ๘. อภินันทสูตรที่ ๒ ๙. อุปปาทสูตรที่ ๑ ๑๐. อุปปาท- *สูตรที่ ๒ ฯ
-----------------------------------------------------
สัพพวรรคที่ ๓
สัพพสูตร
[๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสิ่งทั้งปวงแก่เธอทั้งหลาย เธอ ทั้งหลายจงฟังข้อนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเป็นสิ่งทั้งปวง จักษุกับรูป หู กับเสียง จมูกกับกลิ่น ลิ้นกับรส กายกับโผฏฐัพพะ ใจกับธรรมารมณ์ อันนี้ เรากล่าวว่าสิ่งทั้งปวง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราบอกปฏิเสธ สิ่งทั้งปวง จักบัญญัติสิ่งอื่นแทน วาจาของผู้นั้นคงเป็นของศักดิ์สิทธิ์ ดุจเทพเจ้า แต่ครั้นถูกถามเข้า ก็คงไม่ปริปากได้ และยิ่งจะอึดอัดลำบากใจ ข้อนั้นเพราะเหตุ อะไร เพราะข้อนั้นไม่ใช่วิสัย ฯ
จบสูตรที่ ๑
ปหานสูตรที่ ๑
[๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมแก่เธอทั้งหลาย เพื่อละสิ่ง ทั้งปวงนั้นเสีย เธอทั้งหลายจงฟังข้อนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมสำหรับละสิ่ง ทั้งปวงนั้นเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลายจักษุ รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส เป็น สิ่งที่ควรละ แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะ จักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นสิ่งที่ควรละ ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส เป็นสิ่งที่ควรละ แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นสิ่งที่ควรละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้แล เป็นธรรมสำหรับละสิ่งทั้งปวง ฯ
จบสูตรที่ ๒
ปหานสูตรที่ ๒
[๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมแก่เธอทั้งหลายเพื่อรู้ยิ่ง รอบรู้แล้วละสิ่งทั้งปวง เธอทั้งหลายจงฟังธรรมนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม สำหรับรู้ยิ่ง รอบรู้แล้วละเสียซึ่งสิ่งทั้งปวงเป็นไฉน จักษุ รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส เป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่งควรรอบรู้แล้วละ แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนาที่เกิดเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง ควรรอบรู้ แล้วละเสีย ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส เป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง ควรรอบรู้แล้วละเสีย แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิด ขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง ควรรอบรู้แล้วละเสีย นี้เป็น ธรรมสำหรับรู้ยิ่ง รอบรู้แล้วละสิ่งทั้งปวงเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้แล เป็น ธรรมสำหรับรู้ยิ่ง รอบรู้แล้วละสิ่งทั้งปวง ฯ
จบสูตรที่ ๓
ปริชานสูตรที่ ๑
[๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่ยังไม่รู้ยิ่ง ยังไม่กำหนดรู้ ยังไม่คลาย กำหนัด ยังละไม่ได้ซึ่งสิ่งทั้งปวง ยังไม่เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ก็สิ่งทั้งปวงคืออะไร บุคคลผู้ยังไม่รู้ยิ่ง ยังไม่กำหนดรู้ ยังไม่คลาย กำหนัด ยังละไม่ได้ ยังไม่เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คือ จักษุ บุคคลยังไม่รู้ยิ่ง ยังไม่กำหนดรู้ ยังไม่คลายกำหนัด ยังละไม่ได้ ยังไม่ เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ รูป ฯลฯ จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส ฯลฯ สุขเวทนา ฯลฯ ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัส เป็นปัจจัย บุคคลยังไม่รู้ยิ่ง ยังไม่กำหนดรู้ ยังไม่คลายกำหนัด ยังละไม่ได้ ก็ ยังเป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ หู ฯลฯ เสียง ฯลฯ ลิ้น ฯลฯ รส ฯลฯ กาย ฯลฯ โผฏฐัพพะ ฯลฯ ใจ ฯลฯ ธรรมารมณ์ ฯลฯ มโนวิญญาณ ฯลฯ มโนสัมผัส ฯลฯ แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย บุคคลยังไม่รู้ยิ่ง ยังไม่กำหนดรู้ ยังไม่คลายกำหนัด ยังละไม่ได้ ก็ยังเป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ที่ยัง ไม่รู้ยิ่ง ยังไม่กำหนดรู้ ยังไม่คลายกำหนัด ยังไม่ละซึ่งสิ่งทั้งปวงนี้ ยังเป็นผู้ไม่ ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ ฯ [๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนบุคคลผู้ที่รู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัดได้ ละได้ซึ่งสิ่งทั้งปวง เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งทั้งปวง คืออะไร บุคคลรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัดได้ ละได้ เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้น ทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คือ จักษุ บุคคลรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัดได้ ละ ได้ เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ รูป ฯลฯ จักษุวิญญาณ ฯลฯ จักษุสัมผัส ฯลฯ แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็น ปัจจัย บุคคลรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัดได้ ละได้ ก็เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ หู ฯลฯ เสียง ฯลฯ ลิ้น ฯลฯ รส ฯลฯ กาย ฯลฯ โผฏฐัพพะ ฯลฯ ใจ ฯลฯ ธรรมารมณ์ ฯลฯ มโนวิญญาณ ฯลฯ มโนสัมผัส ฯลฯ แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย บุคคลรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัดได้ ละได้ ก็เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ผู้รู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัดได้ ละได้ซึ่งสิ่งทั้งปวงนี้แล เป็นผู้ควรเพื่อความ สิ้นทุกข์ ฯ
จบสูตรที่ ๔
ปริชานสูตรที่ ๒
[๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่ยังไม่รู้ยิ่ง ยังไม่กำหนดรู้ ยังไม่คลาย กำหนัด ยังละไม่ได้ซึ่งสิ่งทั้งปวง เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย สิ่งทั้งปวง คืออะไร บุคคลยังไม่รู้ยิ่ง ยังไม่กำหนดรู้ ยังไม่คลาย กำหนัด ยังละไม่ได้ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คือ จักษุ รูป จักษุวิญญาณ และธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุวิญญาณ ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ และธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ยังไม่รู้ยิ่ง ยังไม่กำหนดรู้ ยังคลายกำหนัดไม่ได้ ยังละไม่ได้ ซึ่งสิ่งทั้งปวงนี้แล เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ ฯ [๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนบุคคลผู้รู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัดได้ ละได้ซึ่งสิ่งทั้งปวง เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวง คืออะไร ที่บุคคลรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัดได้ ละได้ เป็นผู้ควรเพื่อความ สิ้นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ รูป จักษุวิญญาณ และธรรมที่จะพึงรู้แจ้ง ด้วยจักษุวิญญาณ ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ และธรรมที่จะพึงรู้แจ้ง ด้วยมโนวิญญาณ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัดได้ ละได้ซึ่งสิ่งทั้งปวงนี้แล เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ ฯ
จบสูตรที่ ๕
อาทิตตปริยายสูตร
[๓๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ตำบลคยาสีสะ ริมฝั่งแม่น้ำคยา พร้อมกับภิกษุ ๑,๐๐๐ รูป ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งทั้งปวงเป็น ของร้อน คืออะไร คือ จักษุ รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส เป็นของร้อน แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็น ปัจจัย ก็เป็นของร้อน ร้อนเพราะอะไร เรากล่าวว่า ร้อนเพราะไฟ คือ ราคะ โทสะ โมหะ ร้อนเพราะชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส เป็นของร้อน แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัส เป็นปัจจัย ก็เป็นของร้อน ร้อนเพราะอะไร เรากล่าวว่า ร้อนเพราะไฟ คือ ราคะ โทสะ โมหะ ร้อนเพราะชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในจักษุ ทั้งในรูป ทั้งในจักษุวิญญาณ ทั้งในจักษุสัมผัส ทั้งใน สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็น ปัจจัย ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในใจ ทั้งในธรรมารมณ์ ทั้งในมโนวิญญาณ ทั้ง ในมโนสัมผัส ทั้งในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความ เป็นอย่างนี้มิได้มี พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้จบลงแล้ว ภิกษุเหล่านั้น ต่างชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาค ก็แหละเมื่อพระองค์ได้ตรัสไวยากรณ์ ภาษิตนี้อยู่ ภิกษุ ๑,๐๐๐ รูปนั้น ต่างมีจิตหลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ถือมั่น ดังนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๖
อันธภูตสูตร
[๓๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวันกลันทกนิวาป สถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นสิ่งมืดมน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งทั้งปวงที่เป็น สิ่งมืดมน คืออะไร คือ จักษุ รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส เป็นสิ่งมืดมน แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัส เป็นปัจจัย ก็เป็นสิ่งมืดมน มืดมนเพราะอะไร เรากล่าวว่า มืดมนเพราะชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส เป็นสิ่งมืดมน แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นสิ่งมืดมน มืดมน เพราะอะไร เรากล่าวว่า มืดมนเพราะชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในจักษุ ทั้งในรูป ทั้งในจักษุวิญญาณ ทั้งในจักษุสัมผัส ทั้งใน สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในใจ ทั้งในธรรมารมณ์ ทั้งในมโนวิญญาณ ทั้งในมโนสัมผัส ทั้งในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัส เป็นปัจจัย เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุด พ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้จบลงแล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชม ยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาค ก็แหละเมื่อพระองค์ได้ตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้อยู่ ภิกษุเหล่านั้นต่างมีจิตหลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ถือมั่น ดังนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๗
สารูปสูตร
[๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงข้อปฏิบัติอันสมควรแก่การ เพิกถอนซึ่งความสำคัญสิ่งทั้งปวงด้วยตัณหา มานะและทิฐิแก่เธอทั้งหลาย เธอ ทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อปฏิบัติอัน สมควรแก่การเพิกถอนซึ่งความสำคัญสิ่งทั้งปวงด้วยตัณหา มานะและทิฐิ เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมไม่สำคัญซึ่งจักษุ ย่อมไม่สำคัญในจักษุ ย่อมไม่สำคัญแต่จักษุ ย่อมไม่สำคัญว่า จักษุของเรา ย่อมไม่สำคัญซึ่งรูป ... ในรูป ... แต่รูป ... ว่า รูปของเรา ย่อมไม่สำคัญซึ่งจักษุวิญญาณ ... ในจักษุวิญญาณ ... แต่ จักษุวิญญาณ ... ว่า จักษุวิญญาณของเรา ย่อมไม่สำคัญจักษุสัมผัส ... ในจักษุ สัมผัส ... แต่จักษุสัมผัส ... ว่า จักษุสัมผัสของเรา ย่อมไม่สำคัญสุขเวทนา ทุกข- *เวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ... ในเวทนา นั้น ... แต่เวทนานั้น ... ว่า เวทนานั้นเป็นของเรา ฯลฯ ย่อมไม่สำคัญซึ่งใจ ... ในใจ ... แต่ใจ ... ว่า ใจของเรา ย่อมไม่สำคัญซึ่งธรรมารมณ์ ... ในธรรมารมณ์ ... แต่ธรรมารมณ์ ... ว่า ธรรมารมณ์ของเรา ย่อมไม่สำคัญซึ่งมโนวิญญาณ ... ใน มโนวิญญาณ ... แต่มโนวิญญาณ ... ว่า มโนวิญญาณของเรา ย่อมไม่สำคัญซึ่ง มโนสัมผัส ... ในมโนสัมผัส ... แต่มโนสัมผัส ... ว่า มโนสัมผัสของเรา ย่อมไม่ สำคัญในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัส เป็นปัจจัย ... ในเวทนานั้น ... แต่เวทนานั้น ... ว่า เวทนานั้นเป็นของเรา ย่อมไม่ สำคัญซึ่งสิ่งทั้งปวง ... ในสิ่งทั้งปวง ... แต่สิ่งทั้งปวง ... ว่า สิ่งทั้งปวงเป็นของเรา บุคคลผู้ไม่สำคัญอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก เมื่อไม่ถือมั่น ย่อมไม่ สะดุ้งกลัว เมื่อไม่สะดุ้งกลัว ย่อมปรินิพพานได้เฉพาะตนทีเดียว รู้ชัดว่า ชาติ สิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความ เป็นอย่างนี้มิได้มี ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้แล คือ ข้อปฏิบัติที่สมควรแก่การ เพิกถอนซึ่งความสำคัญสิ่งทั้งปวงด้วยตัณหา มานะ และทิฐิ ฯ
จบสูตรที่ ๘
สัปปายสูตรที่ ๑
[๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงข้อปฏิบัติอันเป็นที่สบายแก่การ เพิกถอนซึ่งความสำคัญสิ่งทั้งปวงด้วยตัณหา มานะ และทิฐิแก่เธอทั้งหลาย เธอ ทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อปฏิบัติอันเป็นที่สบายแก่ การเพิกถอนซึ่งความสำคัญ สิ่งทั้งปวงด้วยตัณหา มานะและทิฐิเป็นไฉน ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมไม่สำคัญซึ่งจักษุ ... ในจักษุ ... แต่จักษุ ... ว่า จักษุของเรา ย่อมไม่สำคัญรูป ... ย่อมไม่สำคัญซึ่งจักษุวิญญาณ ... ย่อมไม่สำคัญ ซึ่งจักษุสัมผัส ... ย่อมไม่สำคัญซึ่งสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ... ในเวทนานั้น ... แต่เวทนานั้น ... ว่า เวทนา นั้นเป็นของเรา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะสิ่งใดที่ตนสำคัญไว้ เป็นที่ให้สำคัญ เป็นแดนให้สำคัญ เป็นเหตุให้สำคัญว่า เป็นของเรา สิ่งนั้นล้วนเป็นอื่นออกไป จากที่สำคัญนั้น คือ สัตว์ในภพก็มีความเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่น สัตว์โลก ย่อมเพลิดเพลินเฉพาะภพเท่านั้น ฯลฯ ย่อมไม่สำคัญซึ่งใจ ... ในใจ ... แต่ใจ ... ว่า ใจของเรา ย่อมไม่สำคัญซึ่งธรรมารมณ์ ... ในธรรมารมณ์ ... แต่ธรรมารมณ์ ... ว่า ธรรมารมณ์ของเรา ย่อมไม่สำคัญซึ่งมโนวิญญาณ... ในมโนวิญญาณ ... แต่มโน วิญญาณ ... ว่า มโนวิญญาณของเรา ย่อมไม่สำคัญซึ่งมโนสัมผัส ... ในมโนสัมผัส ... แต่มโนสัมผัส ... ว่า มโนสัมผัสของเรา ย่อมไม่สำคัญซึ่งสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย... ในเวทนานั้น... แต่เวทนานั้น ... ว่า เวทนานั้นเป็นของเรา ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนั้นย่อมไม่ สำคัญซึ่งขันธ์ ธาตุและอายตนะ... ในขันธ์ ธาตุและอายตนะ... แต่ขันธ์ ธาตุ และอายตนะ ... ว่า ขันธ์ ธาตุและอายตนะเป็นของเรา บุคคลผู้ไม่สำคัญอยู่ อย่างนี้ ย่อมไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก เมื่อไม่ถือมั่น ย่อมไม่สะดุ้งกลัว เมื่อไม่ สะดุ้งกลัว ย่อมปรินิพพานได้เฉพาะตนทีเดียว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้แล คือ ข้อปฏิบัติอันเป็นที่สบายแก่การเพิกถอนซึ่งความ สำคัญสิ่งทั้งปวงด้วยตัณหา มานะและทิฐิ ฯ
จบสูตรที่ ๙
สัปปายสูตรที่ ๒
[๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงข้อปฏิบัติอันเป็นที่สบายแก่การ เพิกถอนซึ่งความสำคัญสิ่งทั้งปวงด้วยตัณหา มานะและทิฐิแก่เธอทั้งหลาย เธอ ทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติอันเป็นที่สบายแก่การ เพิกถอน ซึ่งความสำคัญสิ่งทั้งปวงด้วยตัณหา มานะและทิฐิเป็นไฉน ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุเที่ยงหรือไม่เที่ยง ภิกษุ ทั้งหลายกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควร หรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. รูป... จักษุวิญญาณ... จักษุสัมผัส... สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควร หรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯลฯ พ. ใจเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควร หรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ ที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อ หน่ายทั้งในจักษุ ทั้งในรูป ทั้งในจักษุวิญญาณ ทั้งในจักษุสัมผัส ทั้งในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในใจ ทั้งในธรรมารมณ์... ทั้งในมโนวิญญาณ... ทั้งในมโน สัมผัส ทั้งในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะ มโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความ เป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้แล คือ ข้อปฏิบัติอันเป็นที่สบาย แก่การเพิกถอนซึ่งความสำคัญสิ่งทั้งปวงด้วยตัณหา มานะและทิฐิ ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
จบสัพพวรรคที่ ๓
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สัพพสูตร ๒. ปหานสูตรที่ ๑ ๓. ปหานสูตรที่ ๒ ๔. ปริชาน สูตรที่ ๑ ๕. ปริชานสูตรที่ ๒ ๖. อาทิตตปริยายสูตร ๗. อันธภูตสูตร ๘. สารูปสูตร ๙. สัปปายสูตรที่ ๑ ๑๐. สัปปายสูตรที่ ๒ ฯ
-----------------------------------------------------
ชาติธรรมวรรคที่ ๔
[๓๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีความเกิดเป็นธรรมดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งทั้งปวงที่มีความเกิดเป็นธรรมดาคืออะไรเล่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย คือ จักษุ รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส มีความเกิดเป็นธรรมดา แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็น ปัจจัย ก็มีความเกิดเป็นธรรมดา ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส มีความเกิดเป็นธรรมดา แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็มีความเกิดเป็นธรรมดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริย- *สาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในจักษุทั้งในรูป ทั้งในจักษุ วิญญาณ ทั้งในจักษุสัมผัส ทั้งในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ ทั้งในใจ ทั้งในธรรมารมณ์ ทั้งใน มโนวิญญาณ ทั้งในมโนสัมผัส ทั้งในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุข เวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้น แล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่น เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้ ฯ [๓๗] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีความแก่เป็นธรรมดา ... ฯ [๓๘] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีความป่วยไข้เป็นธรรมดา ... ฯ [๓๙] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีความตายเป็นธรรมดา ... ฯ [๔๐] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีความเศร้าโศกเป็นธรรมดา ... ฯ [๔๑] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา ... ฯ [๔๒] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีความสิ้นไปเป็นธรรมดา ... ฯ [๔๓] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ... ฯ [๔๔] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีเหตุให้เกิดเป็นธรรมดา ... ฯ [๔๕] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งทั้งปวงที่มีความดับไปเป็นธรรมดา คือ อะไรเล่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย คือ จักษุ รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส มีความดับไปเป็นธรรมดา แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็น ปัจจัย ก็มีความดับไปเป็นธรรมดา ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโน สัมผัส มีความดับไปเป็นธรรมดา แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุข เวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็มีความดับไปเป็นธรรมดา ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในจักษุ ทั้งในรูป ทั้งในจักษุวิญญาณ ทั้งในจักษุสัมผัส ทั้งในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ ทั้งในใจ ทั้ง ในธรรมารมณ์ ทั้งในมโนวิญญาณ ทั้งในมโนสัมผัส ทั้งในสุขเวทนา ทั้งใน ทุกขเวทนา ทั้งในอทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อ เบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ
จบชาติธรรมวรรคที่ ๔
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ชาติธรรมสูตร ๒. ชราธรรมสูตร ๓. พยาธิธรรมสูตร ๔. มรณธรรมสูตร ๕. โสกธรรมสูตร ๖. สังกิเลสธรรมสูตร ๗. ขยธรรม สูตร ๘. วยธรรมสูตร ๙. สมุทยธรรมสูตร ๑๐. นิโรธธรรมสูตร ฯ
-----------------------------------------------------
อนิจจวรรคที่ ๕
[๔๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นของไม่เที่ยง ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงที่เป็นของไม่เที่ยง คือ อะไร คือ จักษุ รูป จักษุ วิญญาณ จักษุสัมผัส เป็นของไม่เที่ยง แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส เป็นของไม่เที่ยง แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นของ ไม่เที่ยง ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อ หน่ายทั้งในจักษุ ทั้งในรูป ทั้งในจักษุวิญญาณ ทั้งในจักษุสัมผัส ทั้งในสุข เวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ ทั้งในใจ ทั้งในธรรมารมณ์ ทั้งในมโนวิญญาณ ทั้งในมโนสัมผัส ทั้งใน สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็น ปัจจัยเมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อ หลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้ ฯ [๔๗] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นทุกข์ ... ฯ [๔๘] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นอนัตตา ... ฯ [๔๙] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นของควรรู้ยิ่ง ... ฯ [๕๐] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นของควรกำหนดรู้ ... ฯ [๕๑] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรละ ... ฯ [๕๒] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรทำให้แจ้ง ... ฯ [๕๓] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรรู้ยิ่งแล้วกำหนดรู้ ... ฯ [๕๔] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นของถูกประทุษร้าย ... ฯ [๕๕] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นของถูกเบียดเบียน ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นของถูกเบียดเบียน คืออะไรเล่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย คือ จักษุ รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส เป็นของถูกเบียดเบียน ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส ก็ถูกเบียดเบียน แม้สุขเวทนา ทุกข- *เวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็ถูก เบียดเบียน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อม เบื่อหน่าย ทั้งในจักษุ ทั้งในรูป ทั้งในจักษุวิญญาณ ทั้งในจักษุสัมผัส ทั้งใน สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ ทั้งในใจ ทั้งในธรรมารมณ์ ทั้งในมโนวิญญาณ ทั้งในมโนสัมผัส ทั้งใน สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็น ปัจจัย เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี ดังนี้ ฯ
จบอนิจจวรรคที่ ๕
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อนิจจสูตร ๒. ทุกขสูตร ๓. อนัตตสูตร ๔. อภิญเญยยสูตร ๕. ปริญเญยยสูตร ๖. ปหาตัพพสูตร ๗. สัจฉิกาตัพพสูตร ๘. อภิญญาย- *ปริญเญยยสูตร ๙. อุปทุตสูตร ๑๐. อุปัสสัฏฐสูตร
จบปัณณาสก์ที่ ๑ ในสฬายตนวรรค
-----------------------------------------------------
รวมวรรคที่มีในปัณณาสก์นี้ คือ
๑. สุทธวรรค ๒. ยมกวรรค ๓. สัพพวรรค ๔. ชาติธรรมวรรค ๕. อนิจจวรรค ฯ
-----------------------------------------------------
อวิชชาวรรคที่ ๑
อวิชชาสูตร
[๕๖] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้น แล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลเมื่อรู้อย่างไร เห็น อย่างไร จึงจะละอวิชชาได้ วิชาจึงจะเกิดขึ้น พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งจักษุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละอวิชชาได้ วิชา จึงจะเกิด บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งรูป ... จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย โดย ความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละอวิชชาได้ วิชาจึงจะเกิดขึ้น บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ ซึ่งหู จมูก ลิ้น กาย ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย โดย ความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละอวิชชาได้ วิชาจึงจะเกิด ดูกรภิกษุ บุคคลรู้อยู่ อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงจะละอวิชชาได้ วิชาจึงจะเกิด ฯ
จบสูตรที่ ๑
สังโยชนสูตรที่ ๑
[๕๗] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่ อย่างไร จึงจะละสังโยชน์ได้ ฯ พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งจักษุ โดยความเป็นของ ไม่เที่ยง จึงจะละสังโยชน์ได้ บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งรูป ... จักษุวิญญาณ จักษุ สัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุ สัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละสังโยชน์ได้ ฯลฯ บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโน สัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละสังโยชน์ได้ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย บุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงจะละสังโยชน์ได้ ฯ
จบสูตรที่ ๒
สังโยชนสูตรที่ ๒
[๕๘] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่ อย่างไร สังโยชน์จึงถึงความเพิกถอน ฯ พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งจักษุ โดยความเป็น อนัตตา สังโยชน์จึงจะถึงความเพิกถอน เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งรูป จักษุ วิญญาณ จักษุสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นอนัตตา สังโยชน์จึงจะถึงความเพิกถอน เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งหู จมูก ลิ้น กาย ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโน สัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นอนัตตา สังโยชน์จึงจะถึงความเพิกถอน ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล สังโยชน์จึงจะถึงความ เพิกถอน ฯ
จบสูตรที่ ๓
อาสวสูตรที่ ๑
[๕๙] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่ อย่างไร จึงจะละอาสวะได้ ฯลฯ
จบสูตรที่ ๔
อาสวสูตรที่ ๒
[๖๐] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่ อย่างไร อาสวะจึงจะถึงความเพิกถอน ฯลฯ
จบสูตรที่ ๕
อนุสัยสูตรที่ ๑
[๖๑] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร จึงจะละอนุสัยได้ ฯลฯ
จบสูตรที่ ๖
อนุสัยสูตรที่ ๒
[๖๒] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่ อย่างไร อนุสัยจึงจะถึงความเพิกถอน ฯ พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งจักษุ โดยความเป็น อนัตตา อนุสัยจึงจะถึงความเพิกถอน ฯลฯ เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งหู จมูก ลิ้น กาย ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็น อนัตตา อนุสัยจึงจะถึงความเพิกถอน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล อนุสัยจึงจะถึงความเพิกถอน ฯ
จบสูตรที่ ๗
ปริญญาสูตร
[๖๓] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเพื่อกำหนดรู้อุปาทาน ทั้งปวงแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังธรรมนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเพื่อ กำหนดรู้ซึ่งอุปาทานทั้งปวงเป็นไฉน อาศัยจักษุและรูป เกิดจักษุวิญญาณ รวม ธรรม ๓ ประการ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงเกิดเวทนา ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในจักษุ ทั้ง ในรูป ทั้งในจักษุวิญญาณ ทั้งในจักษุสัมผัส ทั้งในเวทนา เมื่อเบื่อหน่าย ย่อม คลายกำหนัด เพราะคลายกำหนด ย่อมหลุดพ้น เธอย่อมทราบชัดว่า อุปาทาน เรากำหนดรู้แล้วด้วยวิโมกข์ อาศัยหูและเสียง ฯลฯ อาศัยจมูกและกลิ่น ฯลฯ อาศัยลิ้นและรส ฯลฯ อาศัยกายและโผฏฐัพพะ ฯลฯ อาศัยใจและธรรมารมณ์ จึง เกิดมโนวิญญาณ รวมธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงเกิด เวทนา ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อ หน่ายทั้งในใจ ทั้งในธรรมารมณ์ ทั้งในมโนวิญญาณ ทั้งในมโนสัมผัส ทั้งใน เวทนา เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เธอย่อมทราบชัดว่า อุปาทานเรากำหนดรู้แล้วด้วยวิโมกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นธรรมเพื่อกำหนดรู้อุปาทานทั้งปวง ฯ
จบสูตรที่ ๘
ปริยาทานสูตรที่ ๑
[๖๔] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเพื่อความครอบงำ อุปาทานทั้งปวงแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังธรรมนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมเพื่อความครอบงำอุปาทานทั้งปวงเป็นไฉน อาศัยจักษุและรูป เกิดจักษุ วิญญาณ รวมธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงเกิดเวทนา ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย ทั้ง ในจักษุ ทั้งในรูป ทั้งในจักษุวิญญาณ ทั้งในจักษุสัมผัส ทั้งในเวทนา เมื่อ เบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เธอย่อมทราบ ชัดว่า อุปาทานอันเราครอบงำได้แล้วด้วยวิโมกข์ ฯลฯ อาศัยใจและธรรมารมณ์ จึงเกิดมโนวิญญาณ รวมธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิด เวทนา อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในใจ ทั้งใน ธรรมารมณ์ ทั้งในมโนวิญญาณ ทั้งในมโนสัมผัส ทั้งในเวทนา เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เธอย่อมทราบชัดว่า อุปาทานอันเราครอบงำได้แล้วด้วยวิโมกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นธรรมเพื่อ ความครอบงำอุปาทานทั้งปวง ฯ
จบสูตรที่ ๙
ปริยาทานสูตรที่ ๒
[๖๕] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเพื่อความครอบงำ อุปาทานทั้งปวงแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังธรรมนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมเพื่อความครอบงำอุปาทานทั้งปวงเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอจะสำคัญ ความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุเที่ยงหรือไม่เที่ยง ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. รูป ฯลฯ จักษุวิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. จักษุสัมผัสเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯลฯ พ. สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะ จักษุสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯลฯ พ. โสตะ ... ฆาน ... ชิวหา ... กาย ... ใจ ... ธรรมารมณ์ ... มโน วิญญาณ ... มโนสัมผัส ... สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่ เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อม เบื่อหน่ายทั้งในจักษุ ทั้งในรูป ทั้งในจักษุวิญญาณ ทั้งในจักษุสัมผัส ทั้งใน สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ ทั้งในใจ ทั้งในธรรมารมณ์ ทั้งในมโนวิญญาณ ทั้งในมโนสัมผัส ทั้งใน สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุด พ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่ จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย นี้แลเป็นธรรมเพื่อความครอบงำอุปาทานทั้งปวง ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
จบอวิชชาวรรคที่ ๑
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อวิชชาสูตร ๒. สังโยชนสูตรที่ ๑ ๓. สังโยชนสูตรที่ ๒ ๔. อาสว- *สูตรที่ ๑ ๕. อาสวสูตรที่ ๒ ๖. อนุสัยสูตรที่ ๑ ๗. อนุสัยสูตรที่ ๒ ๘. ปริญญาสูตร ๙. ปริยาทานสูตรที่ ๑ ๑๐. ปริยาทานสูตรที่ ๒ ฯ
-----------------------------------------------------
มิคชาลวรรคที่ ๒
มิคชาลสูตรที่ ๑
[๖๖] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ครั้งนั้นแล ท่านพระมิคชาละเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่พระองค์ตรัสว่า ผู้มีปรกติ อยู่ผู้เดียว ผู้มีปรกติอยู่ผู้เดียวฉะนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร พระเจ้าข้า ภิกษุจึงชื่อว่ามี ปรกติอยู่ผู้เดียว และด้วยเหตุเพียงเท่าไร ภิกษุจึงชื่อว่าอยู่ด้วยเพื่อน ๒ พระผู้มี พระภาคตรัสว่า ดูกรมิคชาละ รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ให้เกิดความรัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุยินดี กล่าว สรรเสริญ หมกมุ่นรูปนั้นอยู่ เมื่อเธอยินดี กล่าวสรรเสริญ หมกมุ่นรูปนั้นอยู่ ย่อมเกิดความเพลิดเพลิน เมื่อมีความเพลิดเพลิน ก็มีความกำหนัดกล้า เมื่อมี ความกำหนัดกล้า ก็มีความเกี่ยวข้อง ดูกรมิคชาละ ภิกษุผู้ประกอบด้วยความ เพลิดเพลินและความเกี่ยวข้อง เราเรียกว่าผู้มีปรกติอยู่ด้วยเพื่อน ๒ ฯลฯ ธรรมา- *รมณ์ที่พึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ให้เกิดความรัก ชัก ให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุยินดี กล่าวสรรเสริญ หมกมุ่นธรรมารมณ์ นั้นอยู่ เมื่อเธอยินดี กล่าวสรรเสริญ หมกมุ่นธรรมารมณ์นั้นอยู่ ย่อมเกิดความ เพลิดเพลิน เมื่อมีความเพลิดเพลิน ก็มีความกำหนัดกล้า เมื่อมีความกำหนัด กล้า ก็มีความเกี่ยวข้อง ดูกรมิคชาละ ภิกษุผู้ประกอบด้วยความเพลิดเพลินและ ความเกี่ยวข้อง เราเรียกว่า มีปรกติอยู่ด้วยเพื่อน ๒ ดูกรมิคชาละ ภิกษุผู้มีปรกติ อยู่ด้วยอาการอย่างนี้ ถึงจะเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่าหญ้าและป่าไม้ เงียบ เสียง ไม่อื้ออึง ปราศจากลมแต่ชนเดินเข้าออก ควรเป็นที่ประกอบกิจของมนุษย์ ผู้ต้องการสงัด สมควรเป็นที่หลีกเร้นอยู่ก็จริง ถึงอย่างนั้น ก็ยังเรียกว่ามีปรกติ อยู่ด้วยเพื่อน ๒ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผู้นั้นยังมีตัณหาเป็นเพื่อน ๒ เขา ยังละตัณหานั้นไม่ได้ ฉะนั้นจึงเรียกว่า มีปรกติอยู่ด้วยเพื่อน ๒ [๖๗] ดูกรมิคชาละ รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ให้เกิดความรัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุไม่ยินดี ไม่กล่าวสรรเสริญ ไม่หมกมุ่นรูปนั้น เมื่อเธอไม่ยินดี ไม่กล่าวสรรเสริญ ไม่ หมกมุ่นรูปนั้นอยู่ ความเพลิดเพลินย่อมดับ เมื่อไม่มีความเพลิดเพลิน ก็ไม่มี ความกำหนัด เมื่อไม่มีความกำหนัด ก็ไม่มีความเกี่ยวข้อง ดูกรมิคชาละ ภิกษุ ผู้ไม่ประกอบด้วยความเพลิดเพลินและความเกี่ยวข้อง เราเรียกว่ามีปรกติอยู่ผู้เดียว ฯลฯ ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ให้ เกิดความรัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุไม่ยินดี ไม่กล่าวสรรเสริญ ไม่หมกมุ่นธรรมารมณ์นั้นอยู่ เมื่อเธอไม่ยินดี ไม่กล่าวสรรเสริญ ไม่หมกมุ่น ธรรมารมณ์นั้น ความเพลิดเพลินก็ดับ เมื่อไม่มีความเพลิดเพลิน ก็ไม่มีความ กำหนัดกล้า เมื่อไม่มีความกำหนัดกล้า ก็ไม่มีความเกี่ยวข้อง ดูกรมิคชาละ ภิกษุ ผู้ไม่ประกอบด้วยความเพลิดเพลินและความเกี่ยวข้อง เราเรียกว่า มีปรกติอยู่ ผู้เดียว ดูกรมิคชาละ ภิกษุผู้มีปรกติอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ แม้จะอยู่ปะปนกับภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา เดียรถีย์ สาวก ของเดียรถีย์ ในที่สุดบ้านก็จริง ถึงอย่างนั้น ก็ยังเรียกว่า มีปรกติอยู่ผู้เดียว ดูกร มิคชาละ เราเรียกผู้มีปรกติอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ว่า มีปรกติอยู่ผู้เดียว ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะตัณหาซึ่งเป็นเพื่อน ๒ เธอละได้แล้ว เพราะเหตุนั้นจึงเรียกว่า มีปรกติอยู่ผู้เดียว ฯ
จบสูตรที่ ๑
มิคชาลสูตรที่ ๒
[๖๘] ครั้งนั้นแล ท่านพระมิคชาละเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอโอกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรง แสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ที่ข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว พึงเป็นผู้หลีกออกจากหมู่ อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนอันส่งไปแล้วอยู่เถิด พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรมิคชาละ รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ให้เกิดความรัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุยินดี กล่าวสรรเสริญ หมกมุ่นรูปนั้นอยู่ ย่อมเกิดความเพลิดเพลิน เรากล่าวว่า เพราะความเพลิดเพลิน จึงเกิดทุกข์ ฯลฯ ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ให้เกิดความรัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุยินดี กล่าวสรรเสริญ หมกมุ่นธรรมารมณ์นั้นอยู่ เมื่อเธอยินดี กล่าวสรรเสริญ หมกมุ่นธรรมารมณ์นั้นอยู่ ย่อมเกิดความเพลิดเพลิน เรากล่าวว่า เพราะเกิดความเพลิดเพลิน จึงเกิดทุกข์ [๖๙] ดูกรมิคชาละรูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ให้เกิดความรัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุไม่ยินดี ไม่กล่าวสรรเสริญ ไม่หมกมุ่นรูปนั้นอยู่ เมื่อไม่ยินดี ไม่กล่าวสรรเสริญ ไม่ หมกมุ่นรูปนั้น ความเพลิดเพลินก็ดับ เรากล่าวว่า เพราะความเพลิดเพลินดับ ทุกข์จึงดับ ฯลฯ ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ให้เกิดความรัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุไม่ยินดี ไม่กล่าว สรรเสริญ ไม่หมกมุ่นธรรมารมณ์นั้นอยู่ เมื่อเธอไม่ยินดี ไม่กล่าวสรรเสริญ ไม่หมกมุ่นธรรมารมณ์นั้น ความเพลิดเพลินก็ดับ เรากล่าวว่า เพราะความ เพลิดเพลินดับ ทุกข์จึงดับ ฯ [๗๐] ครั้งนั้นแล ท่านพระมิคชาละยินดีอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มี พระภาค ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้วหลีกไป ครั้งนั้นแล ท่านพระมิคชาละหลีกออกจากหมู่ อยู่แต่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความ เพียร มีตนอันส่งไปแล้ว ทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตร ทั้งหลายออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี และท่านพระมิคชาละได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย ฉะนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๒
สมิทธิสูตรที่ ๑
[๗๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ครั้งนั้นแล ท่านพระสมิทธิเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า มาร มาร ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร พระเจ้าข้า จึงเป็นมารหรือการบัญญัติว่ามาร พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรสมิทธิ จักษุ รูป จักษุวิญญาณ ธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุวิญญาณ มีอยู่ ณ ที่ใด มารหรือการบัญญัติ ว่ามารก็มีอยู่ ณ ที่นั้น หู เสียง โสตวิญญาณ ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยโสตวิญญาณ มีอยู่ ณ ที่ใด มารหรือการบัญญัติว่ามารก็มีอยู่ ณ ที่นั้น จมูก กลิ่น ฆานวิญญาณ ธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยฆานวิญญาณ มีอยู่ ณ ที่ใด มารหรือการบัญญัติว่ามารก็มี อยู่ ณ ที่นั้น ลิ้น รส ชิวหาวิญญาณ ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยชิวหาวิญญาณมีอยู่ ณ ที่ใด มารหรือการบัญญัติว่ามารก็มีอยู่ ณ ที่นั้น กาย โผฏฐัพพะ กายวิญญาณ ธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยกายวิญญาณ มีอยู่ ณ ที่ใด มารหรือการบัญญัติว่ามารก็มี อยู่ ณ ที่นั้น ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ ธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณ มีอยู่ ณ ที่ใด มารหรือการบัญญัติว่ามารก็มีอยู่ ณ ที่นั้น ฯ [๗๒] ดูกรสมิทธิ จักษุ รูป จักษุวิญญาณ ธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วย จักษุวิญญาณ ไม่มี ณ ที่ใด มารหรือการบัญญัติว่ามารก็ไม่มี ณ ที่นั้น ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ ธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณ ไม่มี ณ ที่ใด มารหรือการบัญญัติว่ามารก็ไม่มี ณ ที่นั้น ฯ
จบสูตรที่ ๓
สมิทธสูตรที่ ๒
[๗๓] ... ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า สัตว์ สัตว์ ดังนี้ ด้วย เหตุเพียงเท่าไร พระเจ้าข้า จึงเป็นสัตว์หรือบัญญัติว่าสัตว์ ฯลฯ
จบสูตรที่ ๔
สมิทธิสูตรที่ ๓
[๗๔] ... ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า ทุกข์ ทุกข์ ดังนี้ ด้วย เหตุเพียงเท่าไร พระเจ้าข้า จะพึงเป็นทุกข์ หรือบัญญัติว่าทุกข์ ฯลฯ
จบสูตรที่ ๕
สมิทธิสูตรที่ ๔
[๗๕] ... ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า โลก โลก ดังนี้ ด้วย เหตุเพียงเท่าไร จึงเป็นโลก หรือบัญญัติว่าโลก พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกร สมิทธิ จักษุ รูป จักษุวิญญาณ ธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุวิญญาณ มีอยู่ ณ ที่ใด โลกหรือการบัญญัติว่าโลกก็มีอยู่ ณ ที่นั้น ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ ธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณ มีอยู่ ณ ที่ใด โลกหรือการบัญญัติว่าโลกก็มี อยู่ ณ ที่นั้น ฯ [๗๖] ดูกรสมิทธิ จักษุ รูป จักษุวิญญาณ ธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วย จักษุวิญญาณ ไม่มี ณ ที่ใด โลกหรือการบัญญัติว่าโลกก็ไม่มี ณ ที่นั้น ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ ธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณ ไม่มี ณ ที่ใด โลก หรือการบัญญัติว่าโลกก็ไม่มี ณ ที่นั้น ฯ
จบสูตรที่ ๖
อุปเสนสูตร
[๗๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคและท่านพระสารีบุตร ท่านพระ อุปเสนะ อยู่ที่ป่าชื่อสีตวัน ใกล้เงื้อมสัปปโสณฑิกะ ใกล้พระนครราชคฤห์ สมัยนั้นแล อสรพิษตัวหนึ่งได้ตกลงที่กายของท่านพระอุปเสนะ ครั้งนั้นแล ท่านพระอุปเสนะเรียกภิกษุทั้งหลายว่า จงมาเถิด ผู้มีอายุ จงยกกายเรานี้ขึ้นสู่เตียง แล้วนำออกไปในภายนอก ก่อนที่กายนี้จะเรี่ยรายในที่นี้แล ประดุจกำแกลบ เมื่อท่านพระอุปเสนะกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวกะท่านพระ อุปเสนะว่า ความที่กายของท่านพระอุปเสนะเป็นอย่างอื่น หรือความแปรปรวนแห่ง อินทรีย์ของท่านพระอุปเสนะ เราทั้งหลายยังไม่เห็นเลย เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านพระ อุปเสนะยังพูดอย่างนี้ว่า จงมาเถิด ผู้มีอายุ จงยกกายเรานี้ขึ้นสู่เตียงแล้วนำไป ภายนอก ก่อนที่กายนี้จะเรี่ยราย ณ ที่นี้ ประดุจกำแกลบเล่า ท่านพระอุปเสนะ กล่าวว่า ดูกรท่านพระสารีบุตร ผู้ใดพึงมีความตรึกอย่างนี้ว่า เราเป็นจักษุ หรือ จักษุเป็นของเรา ฯลฯ เราเป็นใจ หรือใจเป็นของเรา ความที่กายเป็นอย่างอื่น หรือความแปรปรวนแห่งอินทรีย์พึงมีแก่ผู้นั้นแน่นอน ดูกรท่านพระสารีบุตร เรา มิได้มีความตรึกอย่างนี้ว่า เราเป็นจักษุ หรือจักษุเป็นของเรา ฯลฯ เราเป็นใจ หรือใจเป็นของเรา ความที่กายจักกลายเป็นอย่างอื่น หรือความแปรปรวนแห่ง อินทรีย์จักมีแก่เรานั้น ได้อย่างไร ฯ สา. จริงอย่างนั้น ท่านพระอุปเสนะได้ถอนอหังการ มมังการและมานา นุสัยได้เด็ดขาดเป็นเวลานานมาแล้ว ฉะนั้น ท่านพระอุปเสนะจึงไม่มีความตรึก อย่างนั้น ฯ ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นยกกายของท่านพระอุปเสนะขึ้นสู่เตียง นำไป ภายนอก กายของท่านพระอุปเสนะเรี่ยรายในที่นั้นเองประดุจกำแกลบ ฉะนั้น ฯ
จบสูตรที่ ๗
อุปวาณสูตร
[๗๘] ครั้งนั้นแล ท่านพระอุปวาณะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่ตรัสว่า ธรรม อันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร พระธรรมจึงชื่อว่าอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน พระเจ้าข้า ฯ [๗๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุปวาณะ ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้วเป็นผู้เสวยรูป เสวยความกำหนัดในรูป และรู้ชัดซึ่งความ กำหนัดในรูปอันมีอยู่ในภายในว่า เรายังมีความกำหนัดในรูปในภายใน อาการที่ ภิกษุเห็นรูปด้วยจักษุแล้วเป็นผู้เสวยรูป เสวยความกำหนัดในรูป และรู้ชัดซึ่งความ กำหนัดในรูปอันมีอยู่ในภายในว่า เรายังมีความกำหนัดในรูปในภายใน อย่างนี้แล เป็นธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควร น้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ฯ [๘๐] อีกประการหนึ่ง ดูกรอุปวาณะ ภิกษุลิ้มรสด้วยลิ้น ฯลฯ [๘๑] อีกประการหนึ่ง ดูกรอุปวาณะ ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ ด้วยใจ แล้วเป็นผู้เสวยธรรมารมณ์ เสวยความกำหนัดในธรรมารมณ์ และรู้ชัดซึ่งความ กำหนัดในธรรมารมณ์อันมีอยู่ภายในว่า เรายังมีความกำหนัดในธรรมารมณ์ในภาย- *ใน อาการที่ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้วเป็นผู้เสวยธรรมารมณ์ เสวยความ กำหนัดในธรรมารมณ์ และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในธรรมารมณ์อันมีอยู่ในภายในว่า เรายังมีความกำหนัดในธรรมารมณ์ในภายใน อย่างนี้แล เป็นธรรมอันผู้บรรลุจะพึง เห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชน พึงรู้เฉพาะตน ฯ [๘๒] ดูกรอุปวาณะ ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้วเป็น ผู้เสวยรูป แต่ไม่เสวยความกำหนัดในรูป และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในรูปอันไม่มี ในภายในว่า เราไม่มีความกำหนัดในรูปในภายใน อาการที่ภิกษุเป็นผู้เห็นรูปด้วย จักษุแล้วเป็นผู้เสวยรูป แต่ไม่เสวยความกำหนัดในรูป และรู้ชัดซึ่งความกำหนัด ในรูปอันไม่มีในภายในว่า เราไม่มีความกำหนัดในรูปในภายในอย่างนี้แล เป็น ธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อม เข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ฯ [๘๓] ดูกรอุปวาณะ อีกประการหนึ่ง ภิกษุฟังเสียงด้วยหู สูดกลิ่นด้วย จมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ฯลฯ [๘๔] ดูกรอุปวาณะ อีกประการหนึ่ง ภิกษุรู้ซึ่งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว เป็นผู้เสวยธรรมารมณ์ แต่ไม่เสวยความกำหนัดในธรรมารมณ์ และรู้ชัดซึ่งความ กำหนัดในธรรมารมณ์อันไม่มีในภายในว่า เราไม่มีความกำหนัดในธรรมารมณ์ใน ภายใน อาการที่ภิกษุรู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้วเป็นผู้เสวยธรรมารมณ์ แต่ไม่เสวย ความกำหนัดในธรรมารมณ์ และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในธรรมารมณ์อันไม่มีในภาย ในว่า เราไม่มีความกำหนัดในธรรมารมณ์ในภายใน อย่างนี้แล เป็นธรรมอันผู้ บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ฯ
จบสูตรที่ ๘
ผัสสายตนสูตรที่ ๑
[๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งไม่ทราบชัด ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ตามความ เป็นจริง พรหมจรรย์อันเธอไม่อยู่จบแล้ว เธอเป็นผู้ไกลจากธรรมวินัยนี้ เมื่อ พระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็นผู้ฉิบหายในศาสนานี้ เพราะข้าพระองค์ไม่ทราบชัด ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง ฯ พ. ดูกรภิกษุ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอพิจารณาเห็นจักษุ ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ดังนี้หรือ ฯ ภิ. หามิได้ พระเจ้าข้า ฯ พ. ดีละ ภิกษุ ในข้อนี้ การที่เธอพิจารณาเห็นจักษุด้วยอาการอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ดังนี้ จักเป็นอันเธอเห็นดี แล้วด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง นี้แล เป็นที่สุดแห่งทุกข์ ฯลฯ พ. เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอพิจารณาเห็นใจว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ดังนี้หรือ ฯ ภิ. หามิได้ พระเจ้าข้า ฯ พ. ดีละ ภิกษุ ในข้อนี้ การที่เธอพิจารณาเห็นใจว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ดังนี้ จักเป็นอันเธอเห็นดีแล้วด้วยปัญญา อันชอบ ตามความเป็นจริง นี้แล เป็นที่สุดแห่งทุกข์ ฯ
จบสูตรที่ ๙
ผัสสายตนสูตรที่ ๒
[๘๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ไม่ทราบชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง พรหมจรรย์อันภิกษุนั้นไม่อยู่จบแล้ว เธอเป็นผู้ไกลจากธรรม วินัยนี้ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ข้าพระองค์เป็นผู้ฉิบหายแล้วในธรรมวินัยนี้ เพราะ ข้าพระองค์ไม่ทราบชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออก แห่งผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง ฯ พ. ดูกรภิกษุ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอพิจารณาเห็นจักษุ ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ดังนี้หรือ ฯ ภิ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ดีละ ภิกษุ ในข้อนี้ การที่เธอพิจารณาเห็นจักษุว่า นั่นไม่ใช่ของ เรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ดังนี้ จักเป็นอันเธอเห็นดีแล้วด้วย ปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง ด้วยอาการอย่างนี้ ผัสสายตนะที่ ๑ นี้จักเป็น อันเธอละได้แล้ว เพื่อมิให้ผัสสายตนะนั้นเกิดขึ้นอีกต่อไป ฯลฯ ภิ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ดีละ ภิกษุ ในข้อนี้ การที่เธอพิจารณาเห็นใจว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ดังนี้ จักเป็นอันเธอเห็นดีแล้วด้วยปัญญา อันชอบ ตามความเป็นจริง ด้วยอาการอย่างนี้ ผัสสายตนะที่ ๖ นี้จักเป็นอันเธอ ละได้แล้ว เพื่อมิให้ผัสสายตนะนั้นเกิดขึ้นอีกต่อไป ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
ผัสสายตนสูตรที่ ๓
[๘๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ไม่ทราบชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่ง ผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง พรหมจรรย์อันเธอไม่อยู่จบแล้ว เธอเป็นผู้ไกล จากธรรมวินัยนี้ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็นผู้ฉิบหายแล้วในธรรม วินัยนี้ เพราะข้าพระองค์ไม่ทราบชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบาย เครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง ฯ พ. ดูกรภิกษุ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุเที่ยงหรือ ไม่เที่ยง ฯ ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรภิกษุ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในจักษุ แม้ในหู แม้ในจมูก แม้ในลิ้น แม้ในกาย แม้ในใจ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณ หยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ
จบสูตรที่ ๑๑
จบมิคชาลวรรคที่ ๒
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. มิคชาลสูตรที่ ๑ ๒. มิคชาลสูตรที่ ๒ ๓. สมิทธิสูตรที่ ๑ ๔. สมิทธิสูตรที่ ๒ ๕. สมิทธิสูตรที่ ๓ ๖. สมิทธิสูตรที่ ๔ ๗. อุปเสนสูตร ๘. อุปวาณสูตร ๙. ผัสสายตนสูตรที่ ๑ ๑๐. ผัสสายตนสูตรที่ ๒ ๑๑. ผัสสายตนสูตรที่ ๓ ฯ
-----------------------------------------------------
คิลานวรรคที่ ๓
คิลานสูตรที่ ๑
[๘๘] สาวัตถีนิทาน ฯ ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในวิหารโน้น มีภิกษุรูปหนึ่ง เป็นผู้ใหม่ ไม่ปรากฏนามและโคตร เป็นผู้อาพาธ ถึงความทุกข์ เป็นไข้หนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานโอกาส ขอพระผู้มีพระภาคจงอาศัยความเอ็นดู เสด็จเข้าไปหาภิกษุนั้นเถิด พระเจ้าข้า ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงสดับคำว่า ภิกษุใหม่ และว่าเป็นไข้ ทรงทราบชัดว่าเป็นภิกษุไม่ปรากฏชื่อและโคตร เสด็จ เข้าไปหาภิกษุนั้น ภิกษุนั้นได้เห็นพระผู้มีพระภาคเสด็จมาแต่ไกล ครั้นเห็นแล้ว ปูอาสนะไว้ที่เตียง ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะภิกษุนั้นว่า อย่าเลย ภิกษุ เธออย่าปูอาสนะไว้ที่เตียงเลย อาสนะที่เขาจัดไว้เหล่านี้มีอยู่ เราจักนั่ง บนอาสนะนั้น พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนอาสนะซึ่งเขาจัดไว้ ครั้นแล้วได้ตรัส ถามภิกษุนั้นว่า เธอพอทนได้หรือ เธอยังอัตภาพให้เป็นไปได้หรือ ทุกขเวทนาลด น้อยลง ไม่เจริญแก่กล้าหรือ ความทุเลาย่อมปรากฏ ความกำเริบไม่ปรากฏหรือ ฯ ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทนไม่ไหว ยังอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนาของข้าพระองค์แก่กล้ายิ่งนัก ไม่ลดน้อยไปเลย ความกำเริบปรากฏ ความทุเลาไม่ปรากฏ พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรภิกษุ เธอไม่มีความรังเกียจ ไม่มีความเดือดร้อนไรๆ หรือ ฯ ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์มีความรังเกียจ มีความเดือดร้อน ไม่น้อยเลย พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรภิกษุ เธอไม่ติเตียนตนเองโดยศีลบ้างหรือ ฯ ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่ติเตียนตนโดยศีลเลย พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรภิกษุ ถ้าเธอไม่ติเตียนตนโดยศีล เมื่อเป็นเช่นนั้น เธอจะมี ความรังเกียจ มีความเดือดร้อนเพราะเรื่องอะไรเล่า ฯ ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ยังไม่รู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงเพื่อสีลวิสุทธิเลย พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรภิกษุ ถ้าว่าเธอยังไม่รู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วเพื่อสีลวิสุทธิ ไซร้ เมื่อเป็นเช่นนั้น เธอจะรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วประพฤติเพื่ออะไรเล่า ฯ ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรง แสดงแล้วเพื่อคลายจากราคะ พระเจ้าข้า ฯ พ. ดีแล้วๆ ภิกษุ เป็นการถูกต้องดีแล้ว ที่เธอรู้ทั่วถึงธรรมที่แสดงแล้ว เพื่อคลายจากราคะ ดูกรภิกษุ เพราะว่าธรรมที่เราแสดงแล้ว ล้วนมีความคลาย จากราคะเป็นความมุ่งหมาย ฯ [๘๙] พ. ดูกรภิกษุ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุเที่ยง หรือไม่เที่ยง ฯ ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า พ. ดูกรภิกษุ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในจักษุ ฯลฯ แม้ในใจ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติ สิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็น อย่างนี้มิได้มี ฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว ภิกษุนั้นชื่นชมยินดี ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ ธรรม จักษุอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน เกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้นว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความ เกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา ฯ
จบสูตรที่ ๑
คิลานสูตรที่ ๒
[๙๐] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุรูปหนึ่งในวิหารโน้น เป็นผู้ใหม่ ไม่ปรากฏชื่อและโคตร เป็นผู้อาพาธ ถึงความทุกข์ เป็นไข้หนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทาน- *โอกาส ขอพระผู้มีพระภาค ทรงอาศัยความอนุเคราะห์เสด็จไปหาภิกษุนั้นเถิด พระเจ้าข้า ฯ ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงสดับคำว่าภิกษุใหม่ เป็นไข้ทรงทราบชัด ว่า เป็นภิกษุไม่ปรากฏชื่อและโคตร จึงเสด็จเข้าไปหาภิกษุนั้น ภิกษุนั้นได้เห็น พระผู้มีพระภาคเสด็จมาแต่ไกล ครั้นแล้วปูอาสนะไว้ที่เตียง ครั้งนั้นแล พระผู้มี พระภาคได้ตรัสกะภิกษุนั้นว่า อย่าเลย ภิกษุ เธออย่าปูอาสนะที่เตียงเลย อาสนะ ที่เขาจัดไว้เหล่านี้มีอยู่ เราจักนั่งบนอาสนะนั้น พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบน อาสนะซึ่งเขาจัดไว้ ครั้นแล้วได้ตรัสกะภิกษุนั้นว่า ดูกรภิกษุ เธอพอทนได้หรือ เธอยังอัตภาพให้เป็นไปได้หรือ ทุกขเวทนาลดน้อยลง ไม่เจริญแก่กล้าหรือ ความทุเลาย่อมปรากฏ ความกำเริบไม่ปรากฏหรือ ฯ ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทนไม่ไหว ยังอัตภาพให้เป็นไปไม่ ได้ ฯลฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่ติเตียนตนโดยศีลเลย พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรภิกษุ ถ้าเธอไม่ติเตียนตนโดยศีลไซร้ เมื่อเป็นเช่นนั้น เธอจะ มีความรังเกียจ มีความเดือดร้อนเพราะเรื่องอะไรเล่า ฯ ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่รู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงเพื่อสีลวิสุทธิเลย พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรภิกษุ ถ้าเธอยังไม่รู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วเพื่อสีลวิสุทธิไซร้ เมื่อเป็นเช่นนั้น เธอจะรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วประพฤติเพื่ออะไรเล่า ฯ ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงธรรมอันพระผู้มีพระภาคทรง แสดงแล้วเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน พระเจ้าข้า ฯ พ. ดีแล้วๆ ภิกษุ เป็นการถูกต้องดีแล้ว ที่เธอรู้ทั่วถึงธรรมอันเรา แสดงแล้วเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน เพราะว่าธรรมที่เราแสดงแล้ว ล้วนมีอนุปาทา- *ปรินิพพานเป็นความมุ่งหมาย ฯ [๙๑] พ. ดูกรภิกษุ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุเที่ยง หรือไม่เที่ยง ฯ ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯลฯ พ. หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยง หรือไม่เที่ยง ฯ ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรภิกษุ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในจักษุ ฯลฯ แม้ในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิด เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีวิญญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความ เป็นอย่างนี้มิได้มีฉะนี้ ฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว ภิกษุนั้นชื่นชม ยินดี ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ จิต ของภิกษุนั้นหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น ดังนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๒
ราธสูตรที่ ๑
[๙๒] ครั้งนั้นแล ท่านพระราธะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานโอกาส ขอพระผู้มีพระภาค ทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ซึ่งข้าพระองค์ได้สดับแล้ว พึงเป็นผู้ๆ เดียว หลีกออกจากหมู่ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้วอยู่เถิด พระเจ้าข้า ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรราธะ สิ่งใดไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจ ในสิ่งนั้นเสีย ดูกรราธะ อะไรเล่าไม่เที่ยง จักษุแลไม่เที่ยง เธอพึงละความ พอใจในจักษุนั้นเสีย รูปไม่เที่ยง จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในเวทนานั้นเสีย ฯลฯ ใจไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจ ในสิ่งนั้นๆ เสีย ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่เที่ยง เธอพึงละ- *ความพอใจในเวทนานั้นเสีย ดูกรราธะ สิ่งใดแลไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจ ในสิ่งนั้นเสีย ฯ
จบสูตรที่ ๓
ราธสูตรที่ ๒
[๙๓] ดูกรราธะ สิ่งใดเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้นเสีย อะไรเล่าเป็นทุกข์ จักษุแลเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในจักษุนั้นเสีย รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิด ขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย เป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้นเสีย ฯลฯ ใจเป็นทุกข์ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เป็นทุกข์ เธอพึง ละความพอใจในสิ่งนั้นเสีย ดูกรราธะ สิ่งใดแลเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจ ในสิ่งนั้นเสีย ฯ
จบสูตรที่ ๔
ราธสูตรที่ ๓
[๙๔] ดูกรราธะ สภาพใดแลไม่ใช่ตัวตน เธอพึงละความพอใจใน สภาพนั้นเสีย อะไรเล่าไม่ใช่ตัวตน จักษุแลไม่ใช่ตัวตน เธอพึงละความพอใจ ในจักษุนั้นเสีย รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิด ขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่ใช่ตัวตน เธอพึงละความพอใจในสภาพนั้นเสีย ดูกรราธะ สภาพใดแลไม่ใช่ตัวตน เธอพึงละความพอใจในสภาพนั้นเสีย ฯ
จบสูตรที่ ๕
อวิชชาสูตรที่ ๑
[๙๕] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมข้อหนึ่ง ซึ่งเมื่อภิกษุละได้แล้ว ย่อมละอวิชชาได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น มีอยู่หรือ พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ ธรรมข้อหนึ่งซึ่งเมื่อภิกษุละได้แล้ว ย่อมละ อวิชชาได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น มีอยู่ ฯ ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมข้อหนึ่งซึ่งเมื่อภิกษุละได้แล้ว ย่อมละ อวิชชาได้ วิชชาเกิดขึ้นนั้น เป็นไฉน พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรภิกษุ ธรรมข้อหนึ่ง คือ อวิชชาแล ซึ่งเมื่อภิกษุละได้แล้ว ย่อมละอวิชชาได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น ฯ ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เมื่อภิกษุรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร จึง ละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรภิกษุ เมื่อภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งจักษุโดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น เมื่อภิกษุรู้อยู่เห็นอยู่ซึ่งรูปทั้งหลาย ฯลฯ ซึ่ง สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัส เป็นปัจจัย โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น ดูกรภิกษุ เมื่อภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น ฯ
จบสูตรที่ ๖
อวิชชาสูตรที่ ๒
[๙๖] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมข้อหนึ่ง ซึ่งภิกษุละได้แล้ว ย่อมละอวิชชาได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น มีอยู่หรือหนอแล ฯ พ. ดูกรภิกษุ ธรรมข้อหนึ่งซึ่งภิกษุละได้แล้ว ย่อมละอวิชชาได้ วิชชา ย่อมเกิดขึ้น มีอยู่ ฯ ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมข้อหนึ่งซึ่งภิกษุละได้แล้ว ย่อมละ อวิชชาได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น เป็นไฉน พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรภิกษุ ธรรมข้อหนึ่ง คือ อวิชชาแล ซึ่งภิกษุละได้แล้ว ย่อมละ อวิชชาได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น ฯ ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เมื่อภิกษุรู้อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร จึงละ อวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรภิกษุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้สดับว่า ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น เธอย่อมรู้ยิ่งซึ่งธรรมทั้งปวง ครั้นรู้ยิ่งซึ่งธรรมทั้งปวงแล้ว ย่อมกำหนดรู้ธรรม ทั้งปวง ครั้นกำหนดรู้ธรรมทั้งปวงแล้ว ย่อมเห็นนิมิตทั้งปวงโดยประการอื่น คือ เห็นจักษุโดยประการอื่น เห็นรูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย โดยประการอื่น ฯลฯ เห็นใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย โดยประการอื่น ดูกรภิกษุ เมื่อภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงละอวิชชาได้ วิชชา จึงเกิดขึ้น ฯ
จบสูตรที่ ๗
ภิกขุสูตร
[๙๗] ครั้งนั้นแล ภิกษุเป็นอันมากเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกปริพาชก ผู้ถือลัทธิอื่นในโลกนี้แล ย่อมถามข้าพระองค์อย่างนี้ว่า อาวุโส ท่านอยู่ประพฤติ พรหมจรรย์ในพระสมณโคดมเพื่ออะไรเล่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อข้าพระองค์ ถูกถามอย่างนี้ จึงพยากรณ์แก่ปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่นเหล่านั้นอย่างนี้ว่า เรา ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่อกำหนดรู้ทุกข์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อข้าพระองค์ถูกถามแล้วอย่างนี้ พยากรณ์แล้วอย่างนี้ ย่อมชื่อว่าเป็นผู้กล่าว ตามพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว ไม่กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำไม่จริง ย่อมพยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม อนึ่ง การกล่าวและกล่าวตามที่ชอบแก่เหตุ แม้น้อยหนึ่ง จะไม่ถึงฐานะที่ควรติเตียนละหรือ ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ถูกแล้ว ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายถูกถาม อย่างนี้แล้ว เมื่อพยากรณ์อย่างนั้น ย่อมชื่อว่าเป็นผู้กล่าวตามคำที่เรากล่าวแล้ว ไม่กล่าวตู่เราด้วยคำไม่จริง ย่อมพยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งการกล่าวและ กล่าวตามที่ชอบแก่เหตุแม้น้อยหนึ่ง ย่อมไม่ถึงฐานะที่ควรติเตียน ดูกรภิกษุ- *ทั้งหลาย เธอทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในเรา ก็เพื่อกำหนดรู้ทุกข์ ถ้าพวก อัญญเดียรถีย์ปริพาชกจะพึงถามเธอทั้งหลายอย่างนี้ว่า อาวุโส ก็ทุกข์ซึ่งพวกท่าน อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณโคดมเพื่อกำหนดรู้นั้นเป็นไฉน เธอทั้งหลาย ถูกถามแล้วอย่างนี้ พึงพยากรณ์แก่อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า อาวุโส จักษุแลเป็นทุกข์ เราอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่อกำหนดรู้จักษุ เป็นทุกข์นั้น รูป ฯลฯ สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิด ขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย เป็นทุกข์ เราอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มี พระภาคเพื่อกำหนดรู้ทุกข์นั้น ฯลฯ ใจก็เป็นทุกข์ ฯลฯ สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นทุกข์ เราอยู่ ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่อกำหนดรู้ทุกข์ข้อนั้นๆ อาวุโส ข้อนี้ นั้นแลเป็นทุกข์ เราอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่อกำหนดรู้ทุกข์ ข้อนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์แก่ อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๘
โลกสูตร
[๙๘] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า โลก โลก ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล จึงเรียกว่า โลก พระเจ้าข้า ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ ที่เรียกว่าโลก เพราะจะต้องแตกสลาย อะไรเล่าแตกสลาย ดูกรภิกษุ จักษุแลแตกสลาย รูปแตกสลาย จักษุวิญญาณ แตกสลาย จักษุสัมผัสแตกสลาย สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย แตกสลาย ฯลฯ ใจแตกสลาย ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัสแตกสลาย สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุข- *เวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็แตกสลาย ดูกรภิกษุ ที่เรียกว่า โลก เพราะจะต้องแตกสลาย ฉะนี้ ฯ
จบสูตรที่ ๙
ผัคคุณสูตร
[๙๙] ครั้งนั้นแล ท่านพระผัคคุณะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลเมื่อจะ บัญญัติ พึงบัญญัติพระพุทธเจ้าผู้ตัดตัณหาเครื่องให้เนิ่นช้าแล้ว ตัดทางได้แล้ว ครอบงำวัฏฏะได้แล้ว ล่วงพ้นทุกข์ทั้งปวง ปรินิพพานล่วงไปแล้ว ด้วยจักษุใด จักษุนั้นมีอยู่หรือหนอ ฯลฯ บุคคลเมื่อจะบัญญัติ พึงบัญญัติพระพุทธเจ้าผู้ตัด ตัณหาเครื่องให้เนิ่นช้าแล้ว ตัดทางได้แล้ว ครอบงำวัฏฏะได้แล้ว ล่วงพ้นทุกข์ ทั้งปวง ปรินิพพานล่วงไปแล้ว ด้วยใจใด ใจนั้นมีอยู่หรือหนอ พระพุทธเจ้าข้า ฯ [๑๐๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรผัคคุณะ บุคคลเมื่อจะบัญญัติ พึงบัญญัติพระพุทธเจ้าผู้ตัดตัณหาเครื่องให้เนิ่นช้าแล้ว ตัดทางได้แล้ว ครอบงำ วัฏฏะได้แล้ว ล่วงพ้นทุกข์ทั้งปวง ปรินิพพานล่วงไปแล้ว ด้วยจักษุใด จักษุนั้น ไม่มีเลย ฯลฯ บุคคลเมื่อจะบัญญัติ พึงบัญญัติพระพุทธเจ้าผู้ตัดตัณหาเครื่องให้ เนิ่นช้าแล้ว ตัดทางได้แล้ว ครอบงำวัฏฏะได้แล้ว ล่วงพ้นทุกข์ทั้งปวง ปรินิพพาน ล่วงไปแล้ว ด้วยใจใด ใจนั้นไม่มีเลย ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
จบคิลานวรรคที่ ๓
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. คิลานสูตรที่ ๑ ๒. คิลานสูตรที่ ๒ ๓. ราธสูตรที่ ๑ ๔. ราธสูตร ที่ ๒ ๕. ราธสูตรที่ ๓ ๖. อวิชชาสูตรที่ ๑ ๗. อวิชชาสูตรที่ ๒ ๘. ภิกขุสูตร ๙. โลกสูตร ๑๐. ผัคคุณสูตร ฯ
ฉันนวรรคที่ ๔
ปโลกสูตร
[๑๐๑] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียก กันว่าโลกๆ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอจึงเรียกกันว่า โลก พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรอานนท์ สิ่งใดมีความแตกสลายเป็นธรรมดา นี้เรียกว่าโลกใน อริยวินัย ก็อะไรเล่ามีความแตกสลายเป็นธรรมดา จักษุแลมีความแตกสลายเป็น ธรรมดา รูปมีความแตกสลายเป็นธรรมดา จักษุวิญญาณมีความแตกสลายเป็น- *ธรรมดา จักษุสัมผัสมีความแตกสลายเป็นธรรมดา สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็มีความแตกสลาย เป็นธรรมดา ฯลฯ ใจมีความแตกสลายเป็นธรรมดา ธรรมารมณ์มีความแตกสลาย เป็นธรรมดา มโนวิญญาณมีความแตกสลายเป็นธรรมดา มโนสัมผัสมีความแตก สลายเป็นธรรมดา สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะ มโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็มีความแตกสลายเป็นธรรมดา ดูกรอานนท์ สิ่งใดมี ความแตกสลายเป็นธรรมดา นี้เรียกว่าโลกในอริยวินัย ฯ
จบสูตรที่ ๑
สุญญสูตร
[๑๐๒] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ ฯลฯ ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่าโลกว่างเปล่าๆ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ จึงเรียกว่า โลกว่างเปล่า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ เพราะว่างเปล่า จากตนหรือจากของๆ ตน ฉะนั้นจึงเรียกว่า โลกว่างเปล่า อะไรเล่าว่างเปล่า จากตนหรือจากของๆ ตน จักษุแลว่างเปล่าจากตนหรือจากของๆ ตน รูป ว่างเปล่าจากตนหรือจากของๆ ตน จักษุวิญญาณว่างเปล่าจากตนหรือจากของๆ ตน จักษุสัมผัสว่างเปล่าจากตนหรือจากของๆ ตน สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็ว่างเปล่าจากตน หรือจากของๆ ตน ฯลฯ ใจว่างเปล่าจากตนหรือจากของๆ ตน ธรรมารมณ์ ว่างเปล่าจากตนหรือจากของๆ ตน มโนวิญญาณว่างเปล่าจากตนหรือจากของๆ ตน มโนสัมผัสว่างเปล่าจากตนหรือจากของๆ ตน สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็ว่างเปล่าจากตนหรือจาก ของๆ ตน ดูกรอานนท์ เพราะว่างเปล่าจากตนหรือจากของๆ ตน ฉะนั้นจึงเรียกว่า โลกว่างเปล่า ฯ
จบสูตรที่ ๒
สังขิตสูตร
[๑๐๓] ฯลฯ ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอประทานโอกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดง ธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ที่ข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว พึงเป็นผู้ๆ เดียว หลีกออก จากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่เถิด พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ อา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควร หรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ อา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ อา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ อา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ อา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุข- *เวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ อา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือสุขเล่า ฯ อา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ อา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯลฯ พ. ใจเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ อา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ อา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ อา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขม- *สุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ อา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า อา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา อา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ดูกรอานนท์ อริยสาวกผู้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งใน จักษุ ทั้งในรูป ทั้งในจักษุวิญญาณ ทั้งในจักษุสัมผัส ทั้งในสุขเวทนา ทุกข- *เวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ ย่อม เบื่อหน่ายทั้งในใจ ทั้งในธรรมารมณ์ ทั้งในมโนวิญญาณ ทั้งในมโนสัมผัส ทั้ง ในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็น ปัจจัย เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อ หลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหม- *จรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก
จบสูตรที่ ๓
ฉันนสูตร
[๑๐๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ สมัยนั้นแล ท่านพระสารีบุตร ท่าน พระมหาจุนทะ และท่านพระฉันนะ อยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ สมัยนั้นแล ท่านพระ ฉันนะอาพาธ ถึงความทุกข์ เป็นไข้หนัก ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเย็น ท่านพระ- *สารีบุตรออกจากที่พักผ่อนแล้ว เข้าไปหาท่านพระมหาจุนทะถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว ได้กล่าวกะท่านพระมหาจุนทะว่า ดูกรท่านจุนทะ เราจงพากันเข้าไปหาท่าน พระฉันนะ ถามถึงความเป็นไข้เถิด ท่านพระมหาจุนทะรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาจุนทะ เข้าไปหาท่านพระฉันนะถึงที่ อยู่ แล้วนั่งบนอาสนะที่ปูไว้ ครั้นแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้ถามท่านพระฉันนะว่า ดูกรท่านฉันนะ ท่านพออดทนได้หรือ พอยังอัตภาพให้เป็นไปได้หรือ ทุกขเวทนา ลดลง ไม่กำเริบขึ้น ความทุเลาปรากฏ ความกำเริบไม่ปรากฏหรือ ฯ [๑๐๕] ท่านพระฉันนะกล่าวว่า ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร กระผมทนไม่ ไหว ยังอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนาของกระผมกำเริบหนัก ไม่ลดลงเลย ความกำเริบปรากฏ ความทุเลาไม่ปรากฏ เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีกำลัง เอาเหล็ก แหลมคมทิ่มศีรษะ ฉันใด ลมอันกล้ายิ่งเข้ากระทบที่ศีรษะของกระผม ก็ฉันนั้น เหมือนกัน ฯลฯ เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีกำลังเอาเส้นเชือกหนังอันเหนียวขันที่ศีรษะ ฉันใด ลมอันกล้ายิ่งเสียดแทงที่ศีรษะของกระผม ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ เปรียบเหมือนนายโคฆาตหรือลูกมือของนายโคฆาตผู้ขยัน เอามีดสำหรับแล่เนื้อ โคที่คมกรีดท้อง แม้ฉันใด ลมอันกล้ายิ่งย่อมเสียดแทงท้องของกระผม ฉันนั้น เหมือนกัน ฯลฯ เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีกำลัง ๒ คน จับบุรุษผู้มีกำลังน้อยกว่า คนละแขน ลนให้เร่าร้อนบนหลุมถ่านเพลิง แม้ฉันใด ความเร่าร้อนในกายของ กระผมก็มากยิ่ง ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร กระผมทนไม่ไหว เยียวยาอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนาของกระผมกำเริบหนัก ไม่ลดลงเลย ความกำเริบปรากฏ ความทุเลาไม่ปรากฏ ท่านพระฉันนะกล่าวว่า ข้าแต่ท่านพระ สารีบุตร กระผมจักนำศาตรามา ไม่ปรารถนาเป็นอยู่ ดังนี้แล้ว ก็นำศาตรามา ฯ [๑๐๖] ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า ท่านพระฉันนะจงเยียวยาอัตภาพให้ เป็นไปเถิด เราทั้งหลายปรารถนาให้ท่านพระฉันนะเยียวยาอัตภาพให้เป็นไปอยู่ ถ้าโภชนะเป็นที่สบายมิได้มีแก่ท่านพระฉันนะ ผมจักแสวงหามาให้ ถ้าเภสัชเป็น ที่สบายมิได้มีแก่ท่านพระฉันนะ ผมจักแสวงหามาให้ ถ้าพวกอุปัฏฐากที่สมควร มิได้มีแก่ท่านพระฉันนะ ผมจักอุปัฏฐากเอง ท่านพระฉันนะอย่านำศาตรามาเลย จงเยียวยาอัตภาพให้เป็นไปเถิด เราทั้งหลายปรารถนาให้ท่านพระฉันนะเยียวยา อัตภาพให้เป็นไปอยู่ ท่านพระฉันนะกล่าวว่า ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร โภชนะ เป็นที่สบายของกระผมมิใช่ไม่มี โภชนะเป็นที่สบายของกระผมมีอยู่ แม้อุปัฏฐาก เป็นที่สบายของกระผมก็มิใช่ไม่มี เภสัชเป็นที่สบายของกระผมมีอยู่ แม้อุปัฏฐาก ที่สมควรของกระผมมิใช่ไม่มี อุปัฏฐากที่สมควรของกระผมมีอยู่ ก็พระศาสดาอัน กระผมบำเรอแล้วด้วยอาการเป็นที่พอใจอย่างเดียว ไม่บำเรอด้วยอาการเป็นที่ไม่พอ ใจตลอดกาลนานมา ข้อที่พระสาวกบำเรอพระศาสดาด้วยอาการเป็นที่พอใจ ไม่ บำเรอด้วยอาการเป็นที่ไม่พอใจ นี้สมควรแก่พระสาวก ความบำเรอนั้นไม่เป็นไป ฉันนภิกษุจักนำศาตรามา ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร ขอท่านจงทรงจำความนี้ไว้อย่างนี้ ดังนี้เถิด ฯ [๑๐๗] สา. เราทั้งหลายขอถามปัญหาบางข้อกะท่านพระฉันนะ ถ้าท่าน พระฉันนะให้โอกาสเพื่อจะแก้ปัญหา ฯ ฉ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร นิมนต์ถามเถิด กระผมฟังแล้วจักให้ทราบ ฯ สา. ท่านพระฉันนะ ท่านย่อมพิจารณาเห็นจักษุ จักษุวิญญาณและธรรม ทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุวิญญาณว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตน ของเรา ฯลฯ ท่านย่อมพิจารณาเห็นใจ มโนวิญญาณ และธรรมทั้งหลายที่พึงรู้ แจ้งด้วยมโนวิญญาณว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ดังนี้ หรือ ฯ ฉ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร กระผมย่อมพิจารณาเห็นจักษุ จักษุวิญญาณ และธรรมทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุวิญญาณว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่เป็นตัวตนของเรา ฯลฯ กระผมย่อมพิจารณาเห็นใจ มโนวิญญาณ และ ธรรมทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่น ไม่ใช่เป็นตัวตนของเรา ฯ [๑๐๘] สา. ดูกรท่านพระฉันนะ ท่านเห็นอย่างไร รู้อย่างไร ในจักษุ ในจักษุวิญญาณ และในธรรมทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุวิญญาณ จึงพิจารณา เห็นจักษุ จักษุวิญญาณ และธรรมทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุวิญญาณว่า นั่นไม่ ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่เป็นตัวตนของเรา ฯลฯ ท่านเห็นอย่างไร รู้ อย่างไรในใจ ในมโนวิญญาณ และในธรรมทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณ จึงพิจารณาเห็นใจ มโนวิญญาณ และธรรมทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่เป็นตัวตนของเรา ฯ [๑๐๙] ฉ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร กระผมเห็นความดับ รู้ความดับ ในจักษุ ในจักขุวิญญาณ และในธรรมทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุวิญญาณ จึง พิจารณาเห็นจักษุ จักษุวิญญาณ และธรรมทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุวิญญาณว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ฯลฯ กระผมเห็นความดับ รู้ความดับ ในใจ ในมโนวิญญาณ และในธรรมทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยมโน วิญญาณ จึงพิจารณาเห็นใจ มโนวิญญาณ และธรรมทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วย มโนวิญญาณว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ฯ [๑๑๐] เมื่อท่านพระฉันนะกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระมหาจุนทะได้กล่าว กะท่านพระฉันนะว่า ดูกรท่านพระฉันนะ เพราะเหตุนั้นแล แม้ความพิจารณาเห็นนี้ เป็นคำสอนของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ท่านพึงทำไว้ในใจให้ดีตลอดกาลเป็น นิตย์ไป ความหวั่นไหวของบุคคลที่มีตัณหา มานะและทิฐิอาศัยอยู่ ยังมีอยู่ ความหวั่นไหวย่อมไม่มีแก่บุคคลที่ไม่มีตัณหา มานะและทิฐิอาศัยอยู่ เมื่อความ หวั่นไหวไม่มี ย่อมมีปัสสัทธิ เมื่อมีปัสสัทธิ ก็ไม่มีความเพลิดเพลิน เมื่อไม่มี ความเพลิดเพลิน ความมาความไปก็ไม่มี เมื่อความมาความไปไม่มี จุติและอุปบัติ ก็ไม่มี เมื่อจุติและอุปบัติไม่มี โลกนี้และโลกหน้าก็ไม่มี และระหว่างโลกทั้งสอง ก็ไม่มี นี้แหละเป็นที่สุดแห่งทุกข์ ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหา จุนทะ ครั้นกล่าวสอนท่านพระฉันนะด้วยโอวาทนี้แล้ว ลุกจากอาสนะหลีกไป ครั้นเมื่อท่านทั้งสองหลีกไปแล้วไม่นาน ท่านพระฉันนะก็นำศาตรามา ฯ [๑๑๑] ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระฉันนะนำศาตรามาแล้ว ท่านมีคติและอภิสัมปรายภพเป็นอย่างไร พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรสารีบุตร ความเป็นผู้ไม่เข้าไป อันฉันนภิกษุพยากรณ์แล้วต่อหน้าเธอมิใช่ หรือ ฯ สา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วัชชีคามอันมีชื่อว่า บุพพวิชชนะมีอยู่ สกุล ที่เป็นมิตรและสกุลที่เป็นสหายในวัชชีคามนั้น เป็นสกุลที่ท่านพระฉันนะเข้าไป มีอยู่ ฯ พ. ดูกรสารีบุตร ก็สกุลที่เป็นมิตรและสกุลที่เป็นสหายเหล่านั้น เป็น สกุลที่พระฉันนภิกษุเข้าไป มีอยู่ แต่เราไม่กล่าวว่า ฉันนภิกษุมีสกุลที่ตนพึง เข้าไปด้วยเหตุเท่านั้นเลย ภิกษุใดแล ละทิ้งกายนี้ด้วย เข้าถือกายอื่นด้วย เรา กล่าวภิกษุนั้นว่า มีสกุลที่ตนพึงเข้าไป สกุลนั้นย่อมไม่มีแก่ฉันนภิกษุ ฉันนภิกษุ มิได้เข้าไป ศาตราอันฉันนภิกษุนำมาแล้ว ดูกรสารีบุตร เธอพึงทรงจำความนี้ไว้ อย่างนี้ดังนี้เถิด ฯ
จบสูตรที่ ๔
ปุณณสูตร
[๑๑๒] ครั้งนั้นแล ท่านพระปุณณะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่- *ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ ประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อที่ ข้าพระองค์ได้สดับแล้วพึงเป็นผู้ๆ เดียว หลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความ เพียร มีใจเด็ดเดี่ยว อยู่เถิด พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรปุณณะ รูปที่พึงรู้แจ้ง ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุยินดี กล่าวสรรเสริญ พัวพันรูปนั้น เรากล่าวว่า เมื่อภิกษุนั้นยินดี กล่าวสรรเสริญ พัวพันรูปนั้น ความเพลินก็เกิดขึ้น ดูกรปุณณะ เพราะความ เพลินเกิดขึ้น จึงเกิดทุกข์ ฯลฯ ดูกรปุณณะ ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่า ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุ ยินดี กล่าวสรรเสริญ พัวพันธรรมารมณ์นั้น เรากล่าวว่า เมื่อภิกษุนั้นยินดี กล่าวสรรเสริญ พัวพันธรรมารมณ์นั้น ความเพลินก็บังเกิดขึ้น ดูกรปุณณะ เพราะความเพลินเกิดขึ้น จึงเกิดทุกข์ ฯ [๑๑๓] ดูกรปุณณะ รูปทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุไม่ยินดี ไม่กล่าวสรรเสริญ ไม่พัวพันรูปนั้น เรากล่าวว่า เมื่อภิกษุนั้นไม่ยินดี ไม่กล่าว สรรเสริญ ไม่พัวพันรูปนั้น ความเพลินก็ดับไป ดูกรปุณณะ เพราะความเพลิน ดับไป ทุกข์จึงดับ ฯลฯ ดูกรปุณณะ ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุไม่ยินดี ไม่กล่าวสรรเสริญ ไม่พัวพันธรรมารมณ์นั้น เรากล่าวว่า เมื่อภิกษุนั้นไม่ยินดี ไม่กล่าวสรรเสริญ ไม่พัวพันธรรมารมณ์นั้น ความเพลินก็ดับไป ดูกรปุณณะ เพราะความเพลินดับไป ทุกข์จึงดับ ดูกรปุณณะ ด้วยประการฉะนี้ เธอนั้นจึง ไม่ห่างไกลจากธรรมวินัยนี้ ฯ [๑๑๔] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ยังไม่เบาใจในธรรมนี้ เพราะข้าพระองค์ยังไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และความสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอจะ สำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอย่อมพิจารณาเห็นจักษุว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่น ไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ดังนี้หรือ ฯ ภิ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ดีละ ภิกษุ ก็ในข้อนี้ จักษุเป็นอันเธอพิจารณาเห็นด้วยดีด้วยปัญญา อันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ ตัวตนของเรา ผัสสายตนะที่ ๑ นี้เป็นอันเธอละขาดแล้วเพื่อไม่เกิดอีกต่อไป ด้วยอาการอย่างนี้ ฯลฯ เธอพิจารณาเห็นใจว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตน ของเรา ดังนี้หรือ ฯ ภิ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ดีละ ภิกษุ ก็ในข้อนั้น ใจจักเป็นอันเธอพิจารณาเห็นด้วยดีด้วย ปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ผัสสายตนะที่ ๖ นี้ จักเป็นอันเธอละขาดแล้วเพื่อความ ไม่เกิดอีกต่อไป ด้วยอาการอย่างนี้ ดูกรปุณณะ ดีละ เธออันเรากล่าวสอนแล้ว ด้วยโอวาทอันย่อนี้ จักอยู่ในชนบทไหน ฯ ท่านพระปุณณเถระทูลว่า พระเจ้าข้า ชนบทชื่อสุนาปรันตะมีอยู่ ข้าพระ- *องค์จักอยู่ในชนบทนั้น ฯ [๑๑๕] พ. ดูกรปุณณะ พวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทดุร้าย หยาบ คายนัก ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักด่า จักบริภาษเธอ ในข้อนั้น เธอ จักมีความคิดอย่างไร ฯ ปุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักด่า จัก บริภาษข้าพระองค์ไซร้ ในข้อนั้น ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ว่า มนุษย์ชาว สุนาปรันตชนบทนี้เจริญหนอ เจริญดีหนอ ที่เขาไม่ประหารเราด้วยมือ ข้าแต่ พระผู้มีพระภาค ในข้อนี้ ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ ข้าแต่พระสุคต ในข้อนี้ ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ ฯ พ. ดูกรปุณณะ ก็ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหารเธอด้วย มือเล่า ในข้อนั้น เธอจักมีความคิดอย่างไร ฯ ปุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหาร ข้าพระองค์ด้วยมือไซร้ ในข้อนั้น ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ว่า พวกมนุษย์ ชาวสุนาปรันตชนบทเจริญหนอ เจริญดีหนอ ที่เขาไม่ประหารเราด้วยก้อนดิน ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ในข้อนี้ ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ ข้าแต่พระสุคต ในข้อนี้ ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ ฯ พ. ดูกรปุณณะ ก็ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหารเธอด้วย ก้อนดินเล่า ในข้อนั้น เธอจักมีความคิดอย่างไร ฯ ปุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหาร ข้าพระองค์ด้วยก้อนดินไซร้ ในข้อนั้น ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ว่า พวก มนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทนี้เจริญหนอ เจริญดีหนอ ที่เขาไม่ประหารเราด้วย ท่อนไม้ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ในข้อนี้ ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ ข้าแต่ พระสุคต ในข้อนี้ ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ ฯ พ. ดูกรปุณณะ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหารเธอด้วย ท่อนไม้เล่า ในข้อนั้น เธอจักมีความคิดอย่างไร ฯ ปุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหาร ข้าพระองค์ด้วยท่อนไม้ไซร้ ในข้อนั้น ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ว่า พวกมนุษย์ ชาวสุนาปรันตชนบทนี้เจริญหนอ เจริญดีหนอ ที่เขาไม่ประหารเราด้วยศาตรา ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ในข้อนี้ ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ ข้าแต่พระสุคต ในข้อนี้ ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ ฯ พ. ดูกรปุณณะ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหารเธอด้วย ศาตราเล่า ในข้อนั้น เธอจักมีความคิดอย่างไร ฯ ปุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหาร ข้าพระองค์ด้วยศาตราไซร้ ในข้อนั้น ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ว่า พวก มนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทนี้เจริญหนอ เจริญดีหนอ ที่เขาไม่ปลงเราเสียจากชีวิต ด้วยศาตราอันคม ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ในข้อนี้ ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ ข้าแต่พระสุคต ในข้อนี้ ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ ฯ [๑๑๖] พ. ดูกรปุณณะ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักปลงเธอ เสียจากชีวิตด้วยศาตราอันคมเล่า ในข้อนั้น เธอจักมีความคิดอย่างไร ฯ ปุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักปลง ข้าพระองค์เสียจากชีวิตด้วยศาตราอันคมไซร้ ในข้อนั้น ข้าพระองค์จักมีความคิด อย่างนี้ว่า พระสาวกทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคนั้น อึดอัดระอาเกลียดชังอยู่ด้วย กายและชีวิต ย่อมแสวงหาศาตราสำหรับปลงชีวิตเสีย มีอยู่ ศาตราสำหรับปลง ชีวิตที่เราแสวงหาอยู่นั้น เราได้แล้ว ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ในข้อนี้ ข้าพระองค์ จักมีความคิดอย่างนี้ ข้าแต่พระสุคต ในข้อนี้ ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ ฯ พ. ดีละๆ ปุณณะ เธอประกอบด้วยทมะและอุปสมะเช่นนี้ จักอาจอยู่ ในสุนาปรันตชนบทได้ บัดนี้ เธอย่อมรู้กาลอันควรไปได้ ฯ [๑๑๗] ครั้งนั้นแล ท่านพระปุณณะชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มี- พระภาค ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้ว เก็บ เสนาสนะแล้ว ถือบาตรและจีวรหลีกจาริกไปทางสุนาปรันตชนบท เมื่อเที่ยวจาริก ไปโดยลำดับ ก็บรรลุถึงสุนาปรันตชนบท ได้ยินว่า ท่านพระปุณณะอยู่ในสุนา- ปรันตชนบทนั้น ครั้งนั้นแล ในระหว่างพรรษานั้น ท่านพระปุณณะให้ชาว- สุนาปรันตชนบทแสดงตนเป็นอุบาสกประมาณ ๕๐๐ คน ได้ทำวิชชา ๓ ให้แจ้ง และปรินิพพานแล้ว ครั้งนั้นแล ภิกษุมากรูปด้วยกันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กุลบุตรชื่อว่าปุณณะที่พระผู้มีพระภาคตรัสสอนด้วยพระ โอวาทอย่างย่อนั้น ทำกาละแล้ว กุลบุตรนั้นมีคติเป็นอย่างไร มีอภิสัมปรายภพเป็น อย่างไร พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรชื่อว่าปุณณะ เป็น บัณฑิต กล่าวคำจริง กล่าวธรรมสมควรแก่ธรรม มิได้ลำบากเพราะเหตุแห่งธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรชื่อว่าปุณณะปรินิพพานแล้ว ฯ
จบสูตรที่ ๕
พาหิยสูตร
[๑๑๘] ครั้งนั้นแล ท่านพระพาหิยะได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ ประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ที่ข้าพระองค์ได้ฟังแล้วพึงเป็นผู้ๆ เดียวหลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว อยู่เถิด ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพาหิยะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุเที่ยงหรือไม่เที่ยง ท่านพระพาหิยะกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ พา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ พา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ พา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯลฯ พ. จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุข เวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ พา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ พา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ พา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ใจเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ พา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ พา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ พา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ธรรมารมณ์เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ พา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯลฯ พ. มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุข เวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ พา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ พา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดาควรหรือ หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ พา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรพาหิยะ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในจักษุ ทั้งในรูป ทั้งในจักษุวิญญาณ ทั้งในจักษุสัมผัส ทั้งในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในใจ ทั้งในธรรมารมณ์ ทั้งในมโนวิญญาณ ทั้งในมโนสัมผัส ทั้งในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็น ปัจจัย เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อ หลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้ มี ฯ [๑๑๙] ครั้งนั้นแล ท่านพระพาหิยะชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มี พระภาค ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้วหลีกไป ครั้งนั้นแล ท่านพระพาหิยะเป็นผู้ๆ เดียว หลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความ เพียร มีใจเด็ดเดี่ยว กระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ซึ่งกุลบุตร ทั้งหลายออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ได้รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควร ทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มีได้มี ก็แหละท่านพระพาหิยะได้ เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย ฯ
จบสูตรที่ ๖
เอชสูตรที่ ๑
[๑๒๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความหวั่นไหว เป็นโรค ความหวั่นไหวเป็นฝี ความหวั่นไหวเป็นลูกศร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะ เหตุนั้นแล ตถาคตเป็นผู้ไม่มีความหวั่นไหว ปราศจากลูกศรอยู่ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงเป็นผู้ไม่มีความหวั่นไหว ปราศจากลูกศรอยู่ ภิกษุไม่พึงสำคัญซึ่งจักษุ ไม่พึงสำคัญในจักษุ ไม่พึงสำคัญแต่ จักษุ ไม่พึงสำคัญว่าจักษุของเรา ไม่พึงสำคัญซึ่งรูปทั้งหลาย ไม่พึงสำคัญในรูป ทั้งหลาย ไม่พึงสำคัญแต่รูปทั้งหลาย ไม่พึงสำคัญว่า รูปทั้งหลายของเรา ไม่พึง สำคัญซึ่งจักษุวิญญาณ ไม่พึงสำคัญในจักษุวิญญาณ ไม่พึงสำคัญแต่จักษุวิญญาณ ไม่พึงสำคัญว่า จักษุวิญญาณของเรา ไม่พึงสำคัญซึ่งจักษุสัมผัส ไม่พึงสำคัญใน จักษุสัมผัส ไม่พึงสำคัญแต่จักษุสัมผัส ไม่พึงสำคัญว่า จักษุสัมผัสของเรา ไม่พึง สำคัญซึ่งสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัส เป็นปัจจัย ไม่พึงสำคัญในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงสำคัญแต่สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุข เวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงสำคัญว่า สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ของเรา ไม่พึงสำคัญซึ่งโสตะ... ไม่พึงสำคัญซึ่งฆานะ... ไม่พึงสำคัญซึ่งกาย... ไม่พึงสำคัญ ซึ่งใจ ไม่พึงสำคัญในใจ ไม่พึงสำคัญแต่ใจ ไม่พึงสำคัญว่า ใจของเรา ไม่พึง สำคัญซึ่งธรรมารมณ์ทั้งหลาย ... ไม่พึงสำคัญซึ่งมโนวิญญาณ ไม่พึงสำคัญในมโน วิญญาณ ไม่พึงสำคัญแต่มโนวิญญาณ ไม่พึงสำคัญว่า มโนวิญญาณของเรา ไม่ พึงสำคัญซึ่งมโนสัมผัส ไม่พึงสำคัญในมโนสัมผัส ไม่พึงสำคัญแต่มโนสัมผัส ไม่พึงสำคัญว่ามโนสัมผัสของเรา ไม่พึงสำคัญซึ่งสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงสำคัญในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึง สำคัญแต่สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโน- *สัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงสำคัญว่า สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ของเรา ไม่พึงสำคัญซึ่งสิ่งทั้งปวง ไม่พึง สำคัญในสิ่งทั้งปวง ไม่พึงสำคัญแต่สิ่งทั้งปวง ไม่พึงสำคัญว่า สิ่งทั้งปวงของเรา เธอนั้นเมื่อไม่สำคัญอย่างนี้ ก็ไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก เมื่อไม่ถือมั่น ก็ไม่สะดุ้ง ย่อมดับเฉพาะตนทีเดียว ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจ ที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ [๑๒๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความหวั่นไหวเป็น โรค ความหวั่นไหวเป็นฝี ความหวั่นไหวเป็นลูกศร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะ เหตุนั้นแล ตถาคตย่อมเป็นผู้ไม่มีความหวั่นไหว ปราศจากลูกศร เพราะเหตุนั้น แล ถึงแม้ภิกษุก็พึงหวังว่าเราพึงเป็นผู้ไม่มีความหวั่นไหว ปราศจากลูกศรอยู่ ฯ
จบสูตรที่ ๗
เอชสูตรที่ ๒
[๑๒๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุไม่พึงสำคัญซึ่งจักษุ ไม่พึงสำคัญ ในจักษุ ไม่พึงสำคัญแต่จักษุ ไม่พึงสำคัญว่า จักษุของเรา ไม่พึงสำคัญซึ่งรูป ทั้งหลาย ไม่พึงสำคัญในรูปทั้งหลาย ไม่พึงสำคัญแต่รูปทั้งหลาย ไม่พึงสำคัญว่า รูปทั้งหลายของเรา ไม่พึงสำคัญซึ่งจักษุวิญญาณ ไม่พึงสำคัญในจักษุวิญญาณ ไม่ พึงสำคัญแต่จักษุวิญญาณ ไม่พึงสำคัญว่า จักษุวิญญาณของเรา ไม่พึงสำคัญซึ่ง จักษุสัมผัส ไม่พึงสำคัญในจักษุสัมผัส ไม่พึงสำคัญแต่จักษุสัมผัส ไม่พึงสำคัญ ว่า จักษุสัมผัสของเรา ไม่พึงสำคัญซึ่งสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุข- *เวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงสำคัญในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงสำคัญแต่ สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็น ปัจจัย ไม่พึงสำคัญว่า สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ของเรา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุย่อมสำคัญซึ่งสิ่งใด ย่อมสำคัญในสิ่งใด ย่อมสำคัญแต่สิ่งใด ย่อมสำคัญว่า สิ่งใดของเรา สิ่งนั้น ย่อมเป็นอย่างอื่นจากสิ่งนั้น โลกมีภาวะเป็นอย่างอื่น ข้องอยู่ในภพ ย่อมยินดี ภพนั่นแหละ ไม่พึงสำคัญซึ่งโสตะ ฯลฯ ไม่พึงสำคัญซึ่งฆานะ ฯลฯ ไม่พึง สำคัญซึ่งชิวหา ฯลฯ ไม่พึงสำคัญซึ่งกาย ฯลฯ ไม่พึงสำคัญซึ่งใจ ไม่พึงสำคัญ ในใจ ไม่พึงสำคัญแต่ใจ ไม่พึงสำคัญว่า ใจของเรา ไม่พึงสำคัญซึ่งธรรมารมณ์ ทั้งหลาย ไม่พึงสำคัญในธรรมารมณ์ทั้งหลาย ไม่พึงสำคัญแต่ธรรมารมณ์ทั้งหลาย ไม่พึงสำคัญว่า ธรรมารมณ์ทั้งหลายของเรา ไม่พึงสำคัญซึ่งมโนวิญญาณ ไม่พึง สำคัญในมโนวิญญาณ ไม่พึงสำคัญแต่มโนวิญญาณ ไม่พึงสำคัญว่า มโนวิญญาณ ของเรา ไม่พึงสำคัญซึ่งมโนสัมผัส ไม่พึงสำคัญในมโนสัมผัส ไม่พึงสำคัญแต่ มโนสัมผัส ไม่พึงสำคัญว่า มโนสัมผัสของเรา ไม่พึงสำคัญซึ่งสุขเวทนา ทุกข เวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงสำคัญ ในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็น ปัจจัย ไม่พึงสำคัญแต่สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงสำคัญว่า สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขม สุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ของเรา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุย่อมสำคัญซึ่งสิ่งใด ย่อมสำคัญในสิ่งใด ย่อมสำคัญแต่สิ่งใด ย่อมสำคัญ ว่า สิ่งใดของเรา สิ่งนั้นย่อมเป็นอย่างอื่นจากสิ่งนั้น โลกมีภาวะเป็นอย่างอื่น ข้อง อยู่ในภพ ย่อมยินดีภพนั่นแหละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสำคัญซึ่งขันธ์ ธาตุและอายตนะ ไม่พึงสำคัญในขันธ์ ธาตุและอายตนะ ไม่พึงสำคัญแต่ขันธ์ ธาตุและอายตนะ ไม่พึงสำคัญว่า ขันธ์ ธาตุ และอายตนะของเรา เธอเมื่อไม่ สำคัญอย่างนี้ ย่อมไม่ถือมั่นสิ่งอะไรๆ ในโลก เมื่อไม่ถือมั่น ย่อมไม่สะดุ้ง เมื่อ ไม่สะดุ้ง ย่อมดับเฉพาะตนทีเดียว ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่ จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ
จบสูตรที่ ๘
ทวยสูตรที่ ๑
[๑๒๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงส่วน สองแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ก็ส่วนสองเป็นไฉน คือ จักษุ และรูป ๑ โสตะและเสียง ๑ ฆานะและกลิ่น ๑ ชิวหาและรส ๑ กาย และโผฏฐัพพะ ๑ ใจและธรรมารมณ์ ๑ นี้เรียกว่าส่วนสอง ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย บุคคลใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราบอกเลิกส่วนสองนั้นเสียแล้ว จักบัญญัติ ส่วนสองเป็นอย่างอื่น วาจาของบุคคลนั้นเป็นเรื่องของเทวดา ฯ ก็บุคคลนั้นถูก เขาถามเข้าแล้วก็อธิบายไม่ได้ และถึงความอึดอัดยิ่งขึ้น ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร เพราะข้อนั้นไม่ใช่วิสัย ฯ
จบสูตรที่ ๙
ทวยสูตรที่ ๒
[๑๒๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณเกิดขึ้น เพราะอาศัยส่วนสอง วิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยส่วนสองเป็นอย่างไร จักษุ วิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุและรูป จักษุไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความ เป็นอย่างอื่น รูปไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น ส่วนสองอย่าง นี้ หวั่นไหวและอาพาธ ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น จักษุ วิญญาณไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น แม้เหตุปัจจัยเพื่อความ เกิดขึ้นแห่งจักษุวิญญาณก็ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น ดูกร- *ภิกษุทั้งหลาย ก็จักษุวิญญาณที่เกิดขึ้นแล้ว เพราะอาศัยปัจจัยอันไม่เที่ยงจักเป็น ของเที่ยงแต่ไหน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความประจวบ ความประชุม ความพร้อมกัน แห่งธรรมทั้ง ๓ นี้แล เรียกว่าจักษุสัมผัส ฯ [๑๒๕] ถึงจักษุสัมผัสก็ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งจักษุสัมผัสก็ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความ เป็นอย่างอื่น ก็จักษุสัมผัสที่เกิดขึ้นแล้ว เพราะอาศัยปัจจัยอันไม่เที่ยง จักเป็น ของเที่ยงแต่ไหน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอันผัสสะกระทบแล้วย่อมรู้สึก อัน ผัสสะกระทบแล้วย่อมคิด อันผัสสะกระทบแล้วย่อมจำ แม้ธรรมเหล่านี้ก็หวั่นไหว และอาพาธ ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น ฯลฯ ชิวหาวิญญาณ ย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัยลิ้นและรส ลิ้นไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็น อย่างอื่น รสไม่เที่ยงมีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น ส่วนสองอย่างนี้ หวั่นไหวและอาพาธ ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น ชิวหา วิญญาณ ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น แม้เหตุปัจจัยเพื่อ ความเกิดขึ้นแห่งชิวหาวิญญาณ ก็ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ชิวหาวิญญาณที่เกิดขึ้นแล้ว เพราะอาศัยปัจจัยอันไม่เที่ยง จักเป็นของเที่ยงแต่ไหน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความประจวบ ความประชุม ความ พร้อมกัน แห่งธรรมทั้ง ๓ นี้แล เรียกว่าชิวหาสัมผัส ฯ [๑๒๖] แม้ชิวหาสัมผัสก็ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่าง อื่น แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งชิวหาสัมผัสก็ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ชิวหาสัมผัสที่เกิดขึ้นแล้ว เพราะอาศัย ปัจจัยอันไม่เที่ยง จักเป็นของเที่ยงแต่ไหน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอันผัสสะ กระทบแล้วย่อมรู้สึก อันผัสสะกระทบแล้วย่อมคิด อันผัสสะกระทบแล้วย่อมจำ แม้ธรรมเหล่านี้ก็หวั่นไหวและอาพาธ ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็น อย่างอื่น ฯลฯ มโนวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยใจและธรรมารมณ์ ใจไม่เที่ยง มี ความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น ธรรมทั้งหลายก็ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น ส่วนสองอย่างนี้หวั่นไหวและอาพาธ ไม่เที่ยง มีความแปร ปรวน มีความเป็นอย่างอื่น มโนวิญญาณไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็น อย่างอื่น แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งมโนวิญญาณก็ไม่เที่ยง มีความ แปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น มโนวิญญาณที่เกิดขึ้นแล้ว เพราะอาศัยปัจจัย อันไม่เที่ยง จักเป็นของเที่ยงแต่ไหน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความประจวบ ความ ประชุม ความพร้อมกัน แห่งธรรม ๓ ประการนี้แล เรียกว่ามโนสัมผัส ฯ [๑๒๗] แม้มโนสัมผัสก็ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งมโนสัมผัสก็ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความ เป็นอย่างอื่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มโนสัมผัสที่เกิดขึ้นแล้ว เพราะอาศัยปัจจัย อันไม่เที่ยง จักเป็นของเที่ยงแต่ไหน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอันผัสสะกระทบ แล้วย่อมรู้สึก อันผัสสะกระทบแล้วย่อมคิด อันผัสสะกระทบแล้วย่อมจำ แม้ ธรรมเหล่านี้ก็หวั่นไหวและอาพาธ ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย มโนวิญญาณย่อมเกิดเพราะอาศัยส่วนสองอย่าง ด้วยประการ ฉะนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
จบฉันนวรรคที่ ๔
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ปโลกสูตร ๒. สุญญสูตร ๓. สังขิตตสูตร ๔. ฉันนสูตร ๕. ปุณณสูตร ๖. พาหิยสูตร ๗. เอชสูตรที่ ๑ ๘. เอชสูตรที่ ๒ ๙. ทวย สูตรที่ ๑ ๑๐. ทวยสูตรที่ ๒ ฯ
-----------------------------------------------------
ฉฬวรรคที่ ๕
สังคัยหสูตรที่ ๑
[๑๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผัสสายตนะ ๖ ประการนี้ ที่บุคคลไม่ฝึกฝน ไม่คุ้มครอง ไม่รักษา ไม่สำรวมระวังแล้ว ย่อมนำทุกข์หนักมาให้ ผัสสายตนะ ๖ ประการเป็นไฉน คือ จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย ใจ ที่บุคคลไม่ ฝึกฝน ไม่คุ้มครอง ไม่รักษา ไม่สำรวมระวังแล้ว ย่อมนำทุกข์หนักมาให้ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ผัสสายตนะ ๖ ประการนี้แล ที่บุคคลไม่ฝึกฝน ไม่คุ้มครอง ไม่ รักษา ไม่สำรวมระวังแล้ว ย่อมนำทุกข์หนักมาให้ ฯ [๑๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผัสสายตนะ ๖ ประการนี้ ที่บุคคลฝึกฝนดี คุ้มครองดี รักษาดี สำรวมระวังดีแล้ว ย่อมนำสุขมากมาให้ ผัสสายตนะ ๖ เป็นไฉน คือ จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย ใจ ที่บุคคลฝึกฝนดี คุ้มครองดี รักษาดี สำรวมระวังดีแล้ว ย่อมนำสุขมากมาให้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผัสสายตนะ ๖ ประการนี้แล ที่บุคคลฝึกฝนดี คุ้มครองดี รักษาดี สำรวมระวังดีแล้ว ย่อม นำสุขมากมาให้ พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลง แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า ฯ [๑๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่สำรวมผัสสายตนะ ๖ นั่นแหละ เว้นการสำรวมในอายตนะใด ย่อมเข้าถึงทุกข์ บุคคลเหล่าใด ได้สำรวมระวังอายตนะเหล่านั้น บุคคล เหล่านั้น มีศรัทธาเป็นเพื่อนสอง ย่อมเป็นผู้อันราคะไม่ชุ่มอยู่ บุคคลเห็นรูปที่ชอบใจและเห็นรูปที่ไม่ชอบใจแล้ว พึง บรรเทาราคะในรูปที่ชอบใจ และไม่พึงเสียใจว่า รูปไม่น่ารัก ของเรา (เราเห็นรูปไม่น่ารักเข้าแล้ว) ได้ยินเสียงที่น่ารัก และเสียงที่ไม่น่ารัก พึงสงบใจในเสียงที่น่ารัก และพึง บรรเทาโทสะในเสียงที่ไม่น่ารัก และไม่พึงเสียใจว่า เสียงไม่ น่ารักของเรา (เราได้ฟังเสียงที่ไม่น่ารักเข้าแล้ว) ได้ดมกลิ่น ที่ชอบใจอันน่ายินดี และได้ดมกลิ่นที่ไม่สะอาด ไม่น่ารัก ใคร่ พึงบรรเทาความหงุดหงิดในกลิ่นที่ไม่น่าใคร่ และไม่ พึงพอใจในกลิ่นที่น่าใคร่ ได้ลิ้มรสที่อร่อยเล็กน้อย และ ลิ้มรสที่ไม่อร่อยในบางคราว ไม่พึงลิ้มรสที่อร่อยด้วยความ ติดใจ และไม่ควรยินร้ายในเมื่อลิ้มรสที่ไม่อร่อย ถูกสัมผัส ที่เป็นสุขกระทบเข้าแล้ว และถูกผัสสะที่เป็นทุกข์กระทบเข้า แล้ว ไม่พึงหวั่นไหวในระหว่างๆ ควรวางเฉยผัสสะทั้งที่ เป็นสุข ทั้งที่เป็นทุกข์ทั้งสอง ไม่ควรยินดี ไม่ควรยินร้าย เพราะผัสสะอะไรๆ นรชนทั้งหลายที่ทรามปัญญา มีความ สำคัญในกิเลสเป็นเหตุให้เนิ่นช้า ยินดีอยู่ด้วยกิเลสเป็นเหตุ ให้เนิ่นช้า เป็นสัตว์ที่มีสัญญา ย่อมวกเวียนอยู่ ก็บุคคล บรรเทาใจ ที่ประกอบด้วยปัญจกามคุณทั้งปวงแล้ว ย่อมรักษา ใจให้ประกอบด้วยเนกขัมมะ ใจที่บุคคลเจริญดีแล้วใน อารมณ์ ๖ อย่างนี้ ในกาลใด ในกาลนั้น จิตของบุคคลนั้น อันสุขสัมผัสกระทบเข้าแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหวในที่ไหนๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายปราบราคะและโทสะเสียแล้ว ย่อมเป็นผู้ถึงนิพพานซึ่งเป็นฝั่งข้างโน้นแห่งชาติและมรณะ ฯ
จบสูตรที่ ๑
สังคัยหสูตรที่ ๒
[๑๓๑] ครั้งนั้นแล ท่านพระมาลุกยบุตร มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาค โปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ที่ข้าพระองค์สดับแล้ว พึงเป็นผู้ๆ เดียว หลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่เถิด พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรมาลุกยบุตร ในการที่เธอขอโอวาทนี้ในบัดนี้ เราจักบอกกะพวก ทหรภิกษุทำไม ก็ท่านใดแก่แล้ว เป็นผู้เฒ่า ผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยแล้ว ย่อม ขอโอวาทโดยย่อ เราจักบอกแก่เธอนั้น ฯ [๑๓๒] มา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์แก่แล้ว เป็นผู้เฒ่า ผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยแล้วก็จริง ถึงกระนั้น ขอพระผู้มีพระภาคผู้สุคตโปรด แสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์เถิด ไฉนข้าพระองค์พึงรู้ถึงพระภาษิตของพระผู้มี- *พระภาค พึงเป็นผู้ได้รับพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ฯ พ. ดูกรมาลุกยบุตร เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปที่พึงรู้แจ้ง ด้วยจักษุเหล่าใด เธอไม่เห็นแล้ว ทั้งไม่เคยเห็นแล้ว ย่อมไม่เห็นในบัดนี้ด้วย ความกำหนดว่า เราเห็น มิได้มีแก่เธอด้วย เธอมีความพอใจ มีความกำหนัด หรือมีความรักในรูปเหล่านั้นหรือ ฯ มา. ไม่มีเลย พระเจ้าข้า ฯ พ. เสียงที่พึงรู้แจ้งด้วยหูเหล่าใด เธอไม่ได้ฟังแล้ว ทั้งไม่เคยได้ฟังแล้ว ย่อมไม่ได้ฟังในบัดนี้ด้วย ความกำหนดว่า เราได้ฟัง มิได้มีแก่เธอด้วย เธอมี ความพอใจ มีความกำหนัด หรือมีความรักในเสียงเหล่านั้นหรือ ฯ มา. ไม่มีเลย พระเจ้าข้า ฯ พ. กลิ่นที่พึงรู้แจ้งด้วยจมูกเหล่าใด เธอไม่ได้ดมแล้ว ทั้งไม่เคยได้ดม แล้ว ย่อมไม่ได้ดมในบัดนี้ด้วย ความกำหนดว่า เราได้ดม มิได้มีแก่เธอด้วย เธอมีความพอใจ มีความกำหนัด หรือมีความรักในกลิ่นเหล่านั้นหรือ ฯ มา. ไม่มีเลย พระเจ้าข้า ฯ พ. รสที่พึงรู้แจ้งด้วยลิ้นเหล่าใด เธอไม่ได้ลิ้มแล้ว ทั้งไม่เคยได้ลิ้มแล้ว ย่อมไม่ได้ลิ้มในบัดนี้ด้วย ความกำหนดว่า เราได้ลิ้ม มิได้มีแก่เธอด้วย เธอมี ความพอใจ มีความกำหนัด หรือความรักในรสเหล่านั้นหรือ ฯ มา. ไม่มีเลย พระเจ้าข้า ฯ พ. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกายเหล่าใด เธอไม่ได้ถูกต้องแล้ว ทั้ง ไม่ได้เคยถูกต้องแล้ว ย่อมไม่ได้ถูกต้องในบัดนี้ด้วย ความกำหนดว่า เราถูกต้อง มิได้มีแก่เธอด้วย เธอมีความพอใจ มีความกำหนัด หรือมีความรักในโผฏฐัพพะ เหล่านั้นหรือ ฯ มา. ไม่มีเลย พระเจ้าข้า ฯ พ. ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งด้วยใจเหล่าใด เธอไม่ได้รู้แล้ว ทั้งไม่ได้ เคยรู้แล้ว ย่อมไม่รู้ในบัดนี้ด้วย ความกำหนดว่า เรารู้ มิได้มีแก่เธอด้วย เธอมี ความพอใจ มีความกำหนัด หรือความรักในธรรมารมณ์เหล่านั้นหรือ ฯ มา. ไม่มีเลย พระเจ้าข้า ฯ [๑๓๓] พ. ดูกรมาลุกยบุตร ก็ในธรรมเหล่านั้น คือ รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ และธรรมที่จะพึงรู้แจ้ง ในรูปที่ได้เห็นแล้ว เธอ จักเป็นเพียงแต่ว่าเห็น ในเสียงที่ได้ฟังแล้ว เธอจักเป็นเพียงแต่ว่าได้ฟัง ใน อารมณ์ที่ได้ทราบแล้ว เธอจักเป็นเพียงแต่ได้ทราบ ในธรรมที่ได้รู้แจ้ง เธอจัก เป็นเพียงแต่ได้รู้แจ้ง ดูกรมาลุกยบุตร ในธรรมทั้งหลาย คือ รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ และธรรมที่จะพึงรู้แจ้ง ในรูปที่ได้เห็นแล้ว เธอ จักเป็นเพียงแต่ว่าเห็น ในเสียงที่ได้ฟังแล้ว เธอจักเป็นเพียงแต่ว่าได้ฟัง ในอารมณ์ ที่ได้ทราบแล้ว เธอจักเป็นเพียงแต่ได้ทราบ ในธรรมที่ได้รู้แจ้งแล้ว เธอจักเป็น เพียงแต่ได้รู้แจ้งแล้ว ในกาลใด ในกาลนั้น เธอจักเป็นผู้ไม่ถูกราคะย้อม ไม่ ถูกโทสะประทุษร้าย ไม่หลงเพราะโมหะ เธอจักเป็นผู้ไม่ถูกราคะย้อม ไม่ถูก โทสะประทุษร้าย ไม่หลงเพราะโมหะ ในกาลใด ในกาลนั้น เธอจักไม่พัวพัน ในรูปที่ได้เห็น ในเสียงที่ได้ฟัง ในอารมณ์ที่ได้ทราบ หรือในธรรมารมณ์ที่ได้ รู้แจ้ง ดูกรมาลุกยบุตร ในโลกนี้ก็ไม่มี ในโลกอื่นก็ไม่มี ในระหว่างโลกทั้งสอง ก็ไม่มี นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์ ฯ มา. พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ย่อมรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งธรรม ที่พระผู้มี- *พระภาคตรัสแล้วโดยย่อนี้ได้โดยพิสดารว่า [๑๓๔] สติหลงไปแล้วเพราะเห็นรูป บุคคลเมื่อใส่ใจถึงรูปเป็น นิมิตที่รัก ก็มีจิตกำหนัด เสวยอารมณ์นั้น ทั้งมีความติดใจ ในอารมณ์นั้นตั้งอยู่ มีเวทนาอันมีรูปเป็นแดนเกิดเป็นอเนก ทวีขึ้น และมีจิตอันอภิชฌาและวิหิงสาเข้าไปกระทบ เมื่อ สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า ห่างไกลนิพพาน สติ หลงไปแล้ว เพราะได้ฟังเสียง บุคคลเมื่อใส่ใจถึงเสียงเป็น นิมิตที่รัก ก็มีจิตกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งมีความติดใจ ในอารมณ์นั้นตั้งอยู่ มีเวทนาอันมีเสียงเป็นแดนเกิดเป็นอเนก ทวีขึ้น และมีจิตอันอภิชฌาและวิหิงสาเข้าไปกระทบ เมื่อ สั่งสมทุกข์อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า ห่างไกลนิพพาน สติหลง ไปแล้วเพราะได้ดมกลิ่น บุคคลเมื่อใส่ใจถึงกลิ่นเป็นนิมิต ที่รัก ก็มีจิตกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งมีความติดใจอารมณ์ นั้นตั้งอยู่ มีเวทนาอันมีกลิ่นเป็นแดนเกิดเป็นอเนกทวีขึ้น และมีจิตอันอภิชฌาและวิหิงสาเข้าไปกระทบ เมื่อสั่งสมทุกข์ อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า ห่างไกลนิพพาน สติหลงไปแล้ว เพราะลิ้มรส บุคคลเมื่อใส่ใจถึงรสเป็นนิมิตที่รัก ก็มีจิต กำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งมีความติดใจในอารมณ์นั้นตั้งอยู่ มีเวทนาอันมีรสเป็นแดนเกิดเป็นอเนกทวีขึ้น และมีจิตอัน อภิชฌาและวิหิงสาเข้าไปกระทบ เมื่อสั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า ห่างไกลนิพพาน สติหลงไปแล้ว เพราะ ถูกต้องโผฏฐัพพะ บุคคลเมื่อใส่ใจถึงโผฏฐัพพะเป็นนิมิต ที่รัก ก็มีจิตกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งมีความติดใจในอารมณ์ นั้นตั้งอยู่ มีเวทนาอันมีโผฏฐัพพะเป็นแดนเกิดเป็นอเนก ทวีขึ้น และมีจิตอันอภิชฌาและวิหิงสาเข้าไปกระทบ เมื่อ สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า ห่างไกลนิพพาน สติหลงไปแล้วเพราะรู้ธรรมารมณ์ บุคคลเมื่อใส่ใจถึง ธรรมารมณ์เป็นนิมิตที่รัก ก็มีจิตกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งมีความติดใจในอารมณ์นั้นตั้งอยู่ มีเวทนาอันมีธรรมารมณ์ เป็นแดนเกิดเป็นอเนกทวีขึ้น และมีจิตอันอภิชฌาและวิหิงสา เข้าไปกระทบ เมื่อสั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า ห่างไกลนิพพาน ฯ [๑๓๕] บุคคลนั้นเห็นรูปแล้ว มีสติไม่กำหนัดในรูปทั้งหลาย มี จิตคลายกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งไม่มีความติดใจอารมณ์ นั้นตั้งอยู่ บุคคลนั้นเมื่อเห็นรูปและเสวยเวทนาอยู่ ทุกข์สิ้นไป และไม่สั่งสมทุกข์ ฉันใด บุคคลนั้นเป็นผู้มีสติเที่ยวไป ฉันนั้น เมื่อไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า ใกล้ นิพพาน บุคคลนั้นได้ฟังเสียงแล้ว มีสติไม่กำหนัดในเสียง ทั้งหลาย มีจิตคลายกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งไม่มีความ ติดใจอารมณ์นั้นตั้งอยู่ บุคคลนั้นเมื่อได้ฟังเสียงและเสวย เวทนาอยู่ ทุกข์สิ้นไปและไม่สั่งสมทุกข์ ฉันใด บุคคลนั้น เป็นผู้มีสติเที่ยวไป ฉันนั้น เมื่อไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า ใกล้นิพพาน บุคคลนั้นเมื่อดมกลิ่นแล้ว มีสติไม่กำหนัดในกลิ่นทั้งหลาย มีจิตคลายกำหนัดเสวย อารมณ์นั้น ทั้งไม่มีความติดใจอารมณ์นั้นตั้งอยู่ บุคคลนั้น เมื่อดมกลิ่นและเสวยเวทนาอยู่ ทุกข์สิ้นไปและไม่สั่งสมทุกข์ ฉันใด บุคคลนั้นเป็นผู้มีสติเที่ยวไป ฉันนั้น เมื่อไม่สั่งสม ทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า ใกล้นิพพาน บุคคลนั้น ลิ้มรสแล้ว มีสติไม่กำหนัดในรสทั้งหลาย มีจิตคลายกำหนัด เสวยอารมณ์นั้น ทั้งไม่มีความติดใจอารมณ์นั้นตั้งอยู่ บุคคล นั้นเมื่อลิ้มรสและเสวยเวทนาอยู่ ทุกข์สิ้นไปและไม่สั่งสม ทุกข์ ฉันใด บุคคลนั้นเป็นผู้มีสติเที่ยวไป ฉันนั้น เมื่อไม่ สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า ใกล้นิพพาน บุคคล นั้นถูกต้องผัสสะแล้ว มีจิตไม่กำหนัดในผัสสะทั้งหลาย มีจิตคลายกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งไม่มีความติดใจอารมณ์ นั้นตั้งอยู่ บุคคลนั้นเมื่อถูกต้องผัสสะและเสวยเวทนาอยู่ ทุกข์สิ้นไปและไม่สั่งสมทุกข์ ฉันใด บุคคลนั้นเป็นผู้มีสติ เที่ยวไป ฉันนั้น เมื่อไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิต กล่าวว่า ใกล้นิพพาน บุคคลนั้นรู้ธรรมารมณ์แล้ว มีสติไม่ กำหนัดในธรรมารมณ์ทั้งหลาย มีจิตคลายกำหนัดเสวยอารมณ์ นั้น ทั้งไม่มีความติดใจอารมณ์นั้นตั้งอยู่ บุคคลนั้นเมื่อรู้ ธรรมารมณ์และเสวยเวทนาอยู่ ทุกข์สิ้นไปและไม่สั่งสมทุกข์ ฉันใด บุคคลนั้นเป็นผู้มีสติเที่ยวไป ฉันนั้น เมื่อไม่สั่งสม ทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่าใกล้นิพพาน ฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งธรรมที่พระผู้มี- *พระภาคตรัสโดยย่อนี้ได้โดยพิสดาร ด้วยประการฉะนี้ ฯ [๑๓๖] พ. ดูกรมาลุกยบุตร สาธุๆ เธอรู้ทั่งถึงเนื้อความแห่งธรรมที่เรา กล่าวโดยย่อได้โดยพิสดารดีอยู่แล ว่า [๑๓๗] สติหลงไปเพราะเห็นรูป บุคคลเมื่อใส่ใจถึงรูปเป็นนิมิต ที่รัก ก็มีจิตกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งมีความติดใจอารมณ์ นั้นตั้งอยู่ มีเวทนาอันมีรูปเป็นแดนเกิดเป็นอเนกทวีขึ้น และ มีจิตอันอภิชฌาและวิหิงสาเข้าไปกระทบ เมื่อบุคคลสั่งสม ทุกข์อยู่อย่างนี้ เรากล่าวว่าไกลนิพพาน ฯลฯ [๑๓๘] บุคคลนั้นรู้ธรรมารมณ์แล้ว มีสติไม่กำหนัดในธรรมารมณ์ มีจิตคลายกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งไม่มีความติดใจอารมณ์ นั้นตั้งอยู่ บุคคลนั้นเมื่อรู้ธรรมารมณ์และเสวยเวทนาอยู่ ทุกข์สิ้นไปและไม่สั่งสมทุกข์ ฉันใด บุคคลนั้นเป็นผู้มีสติ เที่ยวไป ฉันนั้น เมื่อไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ ฯลฯ เรากล่าว ว่าใกล้นิพพาน ฯ ดูกรมาลุกยบุตร เธอพึงเห็นเนื้อความแห่งธรรมที่กล่าวแล้วโดยย่อนี้โดย พิสดารอย่างนี้แล ฯ [๑๓๙] ครั้งนั้นแล ท่านพระมาลุกยบุตรชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้ มีพระภาค ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาท กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป ครั้ง นั้นแล ท่านพระมาลุกยบุตรเป็นผู้ๆ เดียว หลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีจิตเด็ดเดี่ยว ไม่ช้าก็กระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอด เยี่ยมที่กุลบุตรทั้งหลายออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่ง เอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ก็แลท่านพระมาลุกย บุตร ได้เป็นอรหันต์องค์หนึ่งในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย ฯ
จบสูตรที่ ๒
ปริหานสูตร
[๑๔๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปริหาน ธรรม อปริหานธรรม และอภิภายตนะ ๖ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง เถิด ก็ปริหานธรรมย่อมมีอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย อกุศลบาปธรรมทั้งหลาย มีความดำริแล่นไป เป็นฝ่ายสังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุในศาสนานี้ เพราะเห็น รูปด้วยจักษุ ถ้าภิกษุให้กิเลสนั้นอยู่อาศัย ไม่ละ ไม่บรรเทา ไม่กำจัดเสีย ไม่ ให้หายไป ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า เราย่อมเสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย เหตุนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นความเสื่อม ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง อกุศลบาปธรรมทั้งหลาย มีความดำริ แล่นไป เป็นฝ่ายสังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุในศาสนานี้ เพราะได้ลิ้มรส ด้วยลิ้น ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง อกุศลบาปธรรมทั้งหลาย มีความ ดำริแล่นไป เป็นฝ่ายสังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุในศาสนานี้ เพราะได้รู้แจ้ง ธรรมารมณ์ด้วยใจ ถ้าภิกษุให้กิเลสนั้นอยู่อาศัย ไม่ละ ไม่บรรเทา ไม่กำจัดเสีย ไม่ให้หายไป ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า เราย่อมเสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย เหตุนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นความเสื่อม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปริหานธรรมย่อมมี อย่างนี้แล ฯ [๑๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อปริหานธรรมย่อมมีอย่างไร อกุศลบาป ธรรมทั้งหลาย มีความดำริแล่นไป เป็นฝ่ายสังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุในศาสนา นี้ เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ ถ้าภิกษุไม่ให้กิเลสนั้นอยู่อาศัย ละ บรรเทา กำจัด ให้หายไป ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า เราย่อมไม่เสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย เหตุนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นความไม่เสื่อม ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง อกุศลบาปธรรมทั้งหลาย มีความ ดำริแล่นไป เป็นฝ่ายสังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุในศาสนานี้ เพราะได้ลิ้มรส ด้วยลิ้น ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง อกุศลบาปธรรมทั้งหลายมีความดำริ แล่นไป เป็นฝ่ายสังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุในศาสนานี้ เพราะได้รู้แจ้ง ธรรมารมณ์ด้วยใจ ถ้าภิกษุไม่ให้กิเลสนั้นอยู่อาศัย ละ บรรเทา กำจัด ให้หาย ไป ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า เราย่อมไม่เสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย เหตุนี้ พระผู้ มีพระภาคตรัสว่าเป็นความไม่เสื่อม ดูกรภิกษุทั้งหลาย อปริหานธรรมย่อมมี อย่างนี้แล ฯ [๑๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อภิภายตนะ ๖ เป็นไฉน ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย อกุศลบาปธรรมทั้งหลาย มีความดำริแล่นไป เป็นฝ่ายสังโยชน์ ย่อมไม่ เกิดขึ้นแก่ภิกษุในศาสนานี้ เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า อายตนะ นี้เราครอบงำแล้ว อายตนะนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นอภิภายตนะ ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง อกุศลบาปธรรมทั้งหลายมีความดำริ แล่นไป เป็นฝ่ายสังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุในศาสนานี้เพราะได้รู้แจ้งธรรมารมณ์ ด้วยใจ ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า อายตนะนี้เราครอบงำแล้ว อายตนะนี้ พระผู้มี พระภาคตรัสว่าเป็นอภิภายตนะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อายตนะเหล่านี้ เรากล่าวว่า อภิภายตนะ ๖ ฯ
จบสูตรที่ ๓
ปมาทวิหารีสูตร
[๑๔๓] พระนครสาวัตถี ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เราจักแสดงภิกษุผู้อยู่ด้วยความประมาท และภิกษุผู้อยู่ด้วยความไม่ ประมาท เธอทั้งหลายจงฟังเถิด ก็ภิกษุเป็นผู้อยู่ด้วยความประมาทอย่างไร ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไม่สำรวมจักขุนทรีย์อยู่ จิตย่อมแส่ไปในรูปทั้งหลายที่พึง รู้แจ้งด้วยจักษุ เมื่อภิกษุมีจิตแส่ไปแล้ว ปราโมทย์ก็ไม่มี เมื่อปราโมทย์ไม่มี ปีติก็ไม่ มี เมื่อปีติไม่มี ปัสสัทธิก็ไม่มี เมื่อปัสสัทธิไม่มี ภิกษุนั้นก็อยู่ลำบาก จิตของภิกษุผู้ มีความลำบาก ย่อมไม่ตั้งมั่น เมื่อจิตไม่ตั้งมั่น ธรรมทั้งหลายก็ไม่ปรากฏ เพราะ ธรรมทั้งหลายไม่ปรากฏ ภิกษุนั้นก็ถึงความนับว่า เป็นผู้อยู่ด้วยความประมาทแท้ จริง ฯลฯ เมื่อภิกษุไม่สำรวมชิวหินทรีย์ จิตย่อมแส่ไปในรสทั้งหลายที่พึงรู้แจ้ง ด้วยลิ้น เมื่อภิกษุมีจิตแส่ไปแล้ว ฯลฯ ภิกษุนั้นก็ถึงความนับว่า เป็นผู้อยู่ด้วยความ ประมาทแท้จริง ฯลฯ เมื่อภิกษุไม่สำรวมมนินทรีย์อยู่ จิตย่อมแส่ไปในธรรมา- *รมณ์ทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยใจ เมื่อภิกษุมีจิตแส่ไปแล้ว ปราโมทย์ก็ไม่มี เมื่อ ปราโมทย์ไม่มี ปีติก็ไม่มี เมื่อปีติไม่มี ปัสสัทธิก็ไม่มี เมื่อปัสสัทธิไม่มี ภิกษุ นั้นก็อยู่ลำบาก จิตของภิกษุผู้มีความลำบากย่อมไม่ตั้งมั่น เมื่อจิตไม่ตั้งมั่น ธรรม ทั้งหลายก็ไม่ปรากฏ เพราะธรรมทั้งหลายไม่ปรากฏ ภิกษุนั้นก็ถึงความนับว่า เป็น ผู้อยู่ด้วยความประมาทแท้จริง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้อยู่ด้วยความประมาท ด้วยประการฉะนี้ ฯ [๑๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาทอย่างไร เมื่อ ภิกษุสำรวมจักขุนทรีย์อยู่ จิตก็ไม่แส่ไปในรูปทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุ เมื่อ ภิกษุนั้นมีจิตไม่แส่ไปแล้ว ปราโมทย์ก็เกิด เมื่อภิกษุเกิดปราโมทย์แล้ว ปีติก็เกิด เมื่อภิกษุมีใจเกิดปีติ กายก็สงบ ภิกษุผู้มีกายสงบ ก็อยู่สบาย จิตของภิกษุผู้มี ความสุขก็ตั้งมั่น เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ธรรมทั้งหลายก็ปรากฏ เพราะธรรมทั้งหลาย ปรากฏ ภิกษุนั้นก็ถึงความนับว่า เป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาทแท้จริง ฯลฯ เมื่อภิกษุสำรวมชิวหินทรีย์อยู่ จิตก็ไม่แส่ไปในรสทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยลิ้น ฯลฯ เมื่อภิกษุสำรวมมนินทรีย์อยู่ จิตก็ไม่แส่ไปในธรรมารมณ์ทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยใจ เมื่อภิกษุมีจิตไม่แส่ไปแล้ว ปราโมทย์ก็เกิด เมื่อภิกษุเกิดปราโมทย์แล้ว ปีติก็ เกิด เมื่อภิกษุมีใจเกิดปีติ กายก็สงบ ภิกษุผู้มีกายสงบแล้ว ก็อยู่สบาย จิตของ ภิกษุผู้มีความสุขก็ตั้งมั่น เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ธรรมทั้งหลายก็ปรากฏ เพราะธรรม ทั้งหลายปรากฏ ภิกษุนั้นก็ถึงความนับว่า เป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาทแท้จริง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท ด้วยประการฉะนี้ ฯ
จบสูตรที่ ๔
สังวรสูตร
[๑๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสังวรและอสังวรแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเถิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อสังวรย่อมมีอย่างไร รูปทั้งหลายที่พึง รู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุยินดีกล่าวสรรเสริญ พัวพันรูปนั้น ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า เราย่อม เสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นความเสื่อม ฯลฯ รสทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยลิ้น อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ฯลฯ ธรรมารมณ์ทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่า ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ถ้า ภิกษุยินดีกล่าวสรรเสริญ พัวพันธรรมารมณ์นั้น ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า เราย่อม เสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นความเสื่อม ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสังวรย่อมมีด้วยประการฉะนี้ ฯ [๑๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สังวรย่อมมีอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูป ทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุไม่ยินดี ไม่กล่าวสรรเสริญ ไม่พัวพันรูปนั้น ข้อนั้น ภิกษุพึงทราบว่า เราย่อมไม่เสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย เหตุนั้น พระผู้มีพระภาค ตรัสว่าเป็นความไม่เสื่อม ฯลฯ รสทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยลิ้น ฯลฯ ธรรมารมณ์ ทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่ยินดี ไม่กล่าวสรรเสริญ ไม่พัวพันธรรมารมณ์ นั้น ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า เราย่อมไม่เสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นความไม่เสื่อม ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังวรย่อมมีด้วย ประการฉะนี้ ฯ
จบสูตรที่ ๕
สมาธิสูตร
[๑๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิเถิด ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุผู้มีจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ตามความเป็นจริง รู้อะไรตามความเป็นจริง รู้ตามความเป็นจริงว่า จักษุไม่เที่ยง รู้ตามความเป็นจริงว่า รูปทั้งหลายไม่เที่ยง รู้ตามความเป็นจริงว่า จักษุวิญญาณไม่เที่ยง รู้ตามความเป็นจริงว่า จักษุสัมผัสไม่ เที่ยง รู้ตามความเป็นจริงว่า สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่ เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่เที่ยง ฯลฯ รู้ตามความเป็นจริงว่า ใจไม่ เที่ยง รู้ตามความเป็นจริงว่า ธรรมารมณ์ทั้งหลายไม่เที่ยง รู้ตามความเป็นจริงว่า มโนวิญญาณไม่เที่ยง รู้ตามความเป็นจริงว่า มโนสัมผัสไม่เที่ยง รู้ตามความเป็นจริงว่า สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่เที่ยง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงเจริญสมาธิเถิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีจิตตั้งมั่นแล้วย่อมรู้ตามความเป็นจริง ฯ
จบสูตรที่ ๖
ปฏิสัลลีนสูตร
[๑๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเมื่ออยู่ในที่สงัด จงประกอบ ความเพียรเถิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ในที่สงัดย่อมรู้ตามความเป็นจริง รู้ อะไรตามความเป็นจริง รู้ตามความเป็นจริงว่า จักษุไม่เที่ยง รู้ตามความเป็น จริงว่า รูปทั้งหลายไม่เที่ยง รู้ตามความเป็นจริงว่า จักษุวิญญาณไม่เที่ยง รู้ตาม ความเป็นจริงว่า จักษุสัมผัสไม่เที่ยง รู้ตามความเป็นจริงว่า สุขเวทนา ทุกข- *เวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่เที่ยง ฯลฯ รู้ตามความเป็นจริงว่า ใจไม่เที่ยง รู้ตามความเป็นจริงว่า ธรรมารมณ์ทั้งหลายไม่ เที่ยง รู้ตามความเป็นจริงว่า มโนวิญญาณไม่เที่ยง รู้ตามความเป็นจริงว่า มโน- *สัมผัสไม่เที่ยง รู้ตามความเป็นจริงว่า สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุข- *เวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่เที่ยง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย เมื่ออยู่ในที่สงัด จงประกอบความเพียรเถิด ภิกษุผู้อยู่ในที่สงัด ย่อมรู้ตามความ เป็นจริง ฯ
จบสูตรที่ ๗
นตุมหากสูตรที่ ๑
[๑๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงละสิ่งนั้นเสีย สิ่งนั้นเธอทั้งหลายละเสียแล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อ ความสุข ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเล่าไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย จักษุไม่ใช่ของเธอ ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละจักษุนั้นเสีย จักษุนั้นเธอทั้งหลายละเสียแล้ว จักมี เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข รูปไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละรูป นั้นเสีย รูปนั้นเธอทั้งหลายละเสียแล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข จักษุ วิญญาณไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละจักษุวิญญาณนั้นเสีย จักษุ วิญญาณนั้นเธอทั้งหลายละเสียแล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข จักษุสัมผัส ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละจักษุสัมผัสนั้นเสีย จักษุสัมผัสนั้นเธอ ทั้งหลายละเสียแล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนานั้นเสีย สุข เวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขนั้น เธอทั้งหลายละเสียแล้ว จักมีเพื่อ ประโยชน์ เพื่อความสุข ฯลฯ ใจไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละใจ นั้นเสีย ใจนั้นเธอทั้งหลายละเสียแล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข ธรรมารมณ์ทั้งหลายไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละธรรมารมณ์นั้นเสีย ธรรมารมณ์นั้น เธอทั้งหลายละเสียแล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข มโนวิญญาณไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละมโนวิญญาณนั้นเสีย มโน วิญญาณนั้นเธอทั้งหลายละเสียแล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข มโน- *สัมผัสไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละมโนสัมผัสนั้นเสีย มโนสัมผัส นั้นเธอทั้งหลายละเสียแล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข สุขเวทนา ทุกข- *เวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่ใช่ของ เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนานั้น เสีย สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนานั้น เธอทั้งหลายละเสียแล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข ดูกรภิกษุทั้งหลาย หญ้า ไม้ กิ่งไม้ และ ใบไม้ อันมีที่วิหารเชตวันนี้ หญ้า ไม้ กิ่งไม้ และใบไม้ ชนนำไปบ้าง เผา เสียบ้าง ทำให้เป็นไปตามปัจจัยบ้าง เธอทั้งหลายมีความคิดอย่างนี้บ้างไหมว่า เราทั้งหลาย ชนนำไปบ้าง เผาเสียบ้าง ทำให้เป็นไปตามปัจจัยบ้าง ฯ ภิ. ข้อนั้นไม่มีเลย พระเจ้าข้า ฯ พ. ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร ฯ ภิ. เพราะหญ้า ไม้ กิ่งไม้ และใบไม้นั้น ไม่ใช่ตน หรือไม่ใช่ของ แห่งตนของข้าพระองค์ทั้งหลาย พระเจ้าข้า ฯ พ. ข้อนั้นเป็นฉันใด ข้อนี้ก็เป็นฉันนั้นแหละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุไม่ ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละจักษุนั้นเสีย จักษุนั้นเธอทั้งหลายละเสีย แล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข รูปไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย ... จักษุ วิญญาณ... จักษุสัมผัส... สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่ เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละสุข เวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนานั้นเสีย สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนานั้น เธอทั้งหลายละเสียแล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข ฯ
จบสูตรที่ ๘
นตุมหากสูตรที่ ๒
[๑๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง สิ่งใดไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงละสิ่งนั้นเสีย สิ่งนั้นเธอทั้งหลายละเสียแล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งไรเล่าไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย จักษุไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอ ทั้งหลายจงละจักษุนั้นเสีย จักษุนั้นเธอทั้งหลายละเสียแล้ว จักมีเพื่อประโยชน์เพื่อ ความสุข รูปไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงละรูปนั้นเสีย รูปนั้นเธอ ทั้งหลายละเสียแล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข จักษุวิญญาณไม่ใช่ของเธอ ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละจักษุวิญญาณนั้นเสีย จักษุวิญญาณนั้นเธอทั้งหลายละ เสียแล้วจักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข จักษุสัมผัสไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอ ทั้งหลายจงละจักษุสัมผัสนั้นเสีย จักษุสัมผัสนั้นเธอทั้งหลายละเสียแล้ว จักมี เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่ เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละสุข เวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนานั้นเสีย สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนานั้น เธอทั้งหลายละเสียแล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข ฯลฯ ใจไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละใจนั้นเสีย ใจนั้นเธอทั้งหลาย ละเสียแล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข ธรรมารมณ์ทั้งหลาย ไม่ใช่ของ เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละธรรมารมณ์นั้นเสีย ธรรมารมณ์นั้นเธอ ทั้งหลายละเสียแล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข มโนวิญญาณไม่ใช่ ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละมโนวิญญาณนั้นเสีย มโนวิญญาณนั้นเธอ ทั้งหลายละเสียแล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข มโนสัมผัสไม่ใช่ของ เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละมโนสัมผัสนั้นเสีย มโนสัมผัสนั้นเธอ ทั้งหลายละเสีย จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนานั้นเสีย สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนานั้น เธอทั้งหลายละเสียแล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจง ละสิ่งนั้นเสีย สิ่งนั้นเธอทั้งหลายละเสียแล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อ ความสุข ฯ
จบสูตรที่ ๙
อุทกสูตร
[๑๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า อุทกดาบสรามบุตร ย่อมกล่าววาจา อย่างนี้ว่า เราขอบอก เราเป็นผู้ถึงซึ่งเวทโดยส่วนเดียว เราขอบอก เราเป็นผู้ ชนะก่อนโดยส่วนเดียว เราขอบอก เราขุดเสียแล้วซึ่งมูลรากแห่งทุกข์ที่ใครขุด ไม่ได้โดยส่วนเดียว ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุทกดาบสรามบุตรยังเป็นผู้ไม่ถึงซึ่งเวทก็ กล่าวว่าเราเป็นผู้ถึงซึ่งเวท ยังเป็นผู้ไม่ชนะก่อน ก็กล่าวว่าเราเป็นผู้ชนะก่อน ยัง ไม่ได้ขุดมูลรากแห่งทุกข์ ก็กล่าวว่า เราขุดมูลรากแห่งทุกข์ได้แล้ว ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุเมื่อจะกล่าวข้อนั้นโดยชอบ ควรกล่าวว่า เราขอบอก เราเป็นผู้ ถึงซึ่งเวทโดยส่วนเดียว เราขอบอก เราเป็นผู้ชนะก่อนโดยส่วนเดียว เราขอบอก เราขุดมูลรากแห่งทุกข์ที่ใครขุดไม่ได้โดยส่วนเดียว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อม เป็นผู้ถึงซึ่งเวทอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมรู้ตามความเป็นจริงซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุย่อมเป็นผู้ถึงซึ่งเวทอย่างนี้แล ภิกษุย่อมเป็นผู้ชนะก่อนอย่างไร ภิกษุรู้แจ้งตามความเป็นจริงซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่อง สลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ เป็นผู้หลุดพ้นแล้วเพราะไม่ถือมั่น ภิกษุย่อมเป็น ผู้ชนะก่อนอย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย มูลรากแห่งทุกข์ที่ใครขุดไม่ได้ อันภิกษุ ขุดได้แล้วอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำว่า "คัณฑะ" นี้ เป็นชื่อของกายนี้ อันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตรูป ๔ ซึ่งมีมารดาบิดาเป็นแดนเกิด เติบโตขึ้นเพราะ ข้าวสุกและขนมสด มีความไม่เที่ยง ต้องขัดสี นวดฟั้น แตกสลายกระจัดกระจาย เป็นธรรมดา คำว่า "คัณฑมูล" นี้ เป็นชื่อของตัณหา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัณหา ภิกษุละเสียแล้ว ให้มีรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำให้ไม่มี ไม่ให้เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย มูลรากแห่งทุกข์ที่ใครๆ ขุด ไม่ได้ ภิกษุขุดเสียแล้วอย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า อุทกดาบส- *รามบุตร ย่อมกล่าววาจาอย่างนี้ว่า เราขอบอก เราเป็นผู้ถึงซึ่งเวทโดยส่วนเดียว เราขอบอก เราชนะก่อนโดยส่วนเดียว เราขอบอก เราขุดเสียแล้วซึ่งมูลราก แห่งทุกข์ที่ใครขุดไม่ได้โดยส่วนเดียว ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุทกดาบสรามบุตรยัง เป็นผู้ไม่ถึงซึ่งเวท ก็กล่าวว่า เราเป็นผู้ถึงซึ่งเวท ยังเป็นผู้ไม่ชนะก่อน ก็กล่าวว่า เราชนะก่อน ยังขุดมูลรากแห่งทุกข์ไม่ได้ ก็กล่าวว่า เราขุดมูลรากแห่งทุกข์เสีย แล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อจะกล่าวข้อนี้โดยชอบ ควรกล่าวว่า เราขอบอก เราเป็นผู้ถึงซึ่งเวทโดยส่วนเดียว เราขอบอก เราเป็นผู้ชนะก่อนโดยส่วนเดียว เราขอบอก เราขุดมูลรากแห่งทุกข์ที่ใครขุดไม่ได้โดยส่วนเดียว ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
จบฉฬวรรคที่ ๕
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สังคัยหสูตรที่ ๑ ๒. สังคัยหสูตรที่ ๒ ๓. ปริหานสูตร ๔ ปมาทวิหารีสูตร ๕. สังวรสูตร ๖. สมาธิสูตร ๗. ปฏิสัลลีนสูตร ๘. นตุมหากสูตรที่ ๑ ๙. นตุมหากสูตรที่ ๒ ๑๐. อุทกสูตร
รวมวรรคที่มีในทุติยปัณณาสก์ คือ
๑. อวิชชาวรรค ๒. มิคชาลวรรค ๓. คิลานวรรค ๔. ฉันนวรรค ๕. ฉฬวรรค ฯ
จบทุติยปัณณาสก์
-----------------------------------------------------
โยคักเขมีวรรคที่ ๑
โยคักเขมีสูตร
[๑๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมปริยายอันเป็นเหตุแห่ง บุคคลผู้มีความเกษมจากโยคะแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ก็ธรรมปริยาย อันเป็นเหตุแห่งบุคคลผู้มีความเกษมจากโยคะเป็นไฉน ธรรมปริยายอันเป็นเหตุ แห่งบุคคลผู้มีความเกษมจากโยคะนั้น คือรูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด อันตถาคตละได้แล้ว ถอนรากขึ้นหมดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำให้ไม่มี ไม่ให้เกิดขึ้น ต่อไปเป็นธรรมดา ตถาคตได้บอกความเพียรที่ควรประกอบเพื่อละรูปเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น ตถาคตบัณฑิตจึงกล่าวว่า ผู้มีความเกษมจากโยคะ ฯลฯ ธรรมารมณ์ ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด อันตถาคตละได้แล้ว ถอนรากขึ้นหมดแล้ว ทำให้เป็นเหมือน ตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดต่อไปเป็นธรรมดา ตถาคตได้บอกความเพียร ที่ควรประกอบเพื่อละธรรมารมณ์เหล่านั้น เพราะเหตุนั้น ตถาคตบัณฑิตจึงกล่าวว่า ผู้มีความเกษมจากโยคะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลธรรมปริยายอันเป็นเหตุแห่ง บุคคลผู้มีความเกษมจากโยคะ ฯ
จบสูตรที่ ๑
อุปาทายสูตร
[๑๕๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมี สุขและ ทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นเพราะอาศัยอะไร ฯ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า พระเจ้าข้า ธรรมทั้งหลายของพวกข้าพระองค์ มีพระผู้มีพระภาคเป็นต้นเหตุ ฯ พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อจักษุมี สุขและทุกข์ที่เป็นภายในเกิดขึ้น เพราะอาศัยจักษุ ฯลฯ เมื่อใจมี สุขและทุกข์ที่เป็นภายในเกิดขึ้นเพราะอาศัยใจ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุเที่ยงหรือ ไม่เที่ยง ฯ ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา สุขและ ทุกข์อันเป็นภายใน พึงเกิดขึ้นเพราะไม่อาศัยสิ่งนั้นหรือ ฯ ภิ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯลฯ พ. ใจเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา สุขและ ทุกข์อันเป็นภายใน พึงเกิดขึ้นเพราะไม่อาศัยสิ่งนั้นหรือ ฯ ภิ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในจักษุ ฯลฯ ทั้งในใจ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติ สิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็น อย่างนี้มิได้มี ฯ
จบสูตรที่ ๒
ทุกขสูตร
[๑๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความเกิดและความดับแห่งทุกข์ เธอทั้งหลายจงฟัง ก็ความเกิดแห่งทุกข์เป็นไฉน ความเกิดแห่งทุกข์นั้น คือ อาศัยจักษุและรูป เกิดจักขุวิญญาณ รวมธรรมทั้ง ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะ ผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา นี้เป็น ความเกิดแห่งทุกข์ ฯลฯ อาศัยใจและธรรมารมณ์ เกิดมโนวิญญาณ รวมธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา นี้แลเป็นความเกิดแห่งทุกข์ ฯ [๑๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับแห่งทุกข์เป็นไฉน ความดับแห่ง ทุกข์นั้น คือ อาศัยจักษุและรูป เกิดจักขุวิญญาณ รวมธรรม ๓ ประการเป็น ผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิด ตัณหา เพราะตัณหานั้นแลดับเพราะสำรอกโดยไม่เหลือ อุปาทานจึงดับ เพราะ อุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวล นี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ นี้แลเป็นความดับแห่งทุกข์ ฯลฯ อาศัยใจและ ธรรมารมณ์ เกิดมโนวิญญาณ รวมธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะ เป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา เพราะตัณหานั้น แลดับเพราะสำรอกโดยไม่เหลือ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยอาการ อย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความดับแห่งทุกข์ ฯ
จบสูตรที่ ๓
โลกสูตร
[๑๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความเกิดและความดับแห่งโลก เธอทั้งหลายจงฟัง ก็ความเกิดแห่งโลกเป็นไฉน ความเกิดแห่งโลกนั้น คือ อาศัย จักษุและรูป เกิดจักขุวิญญาณ รวมธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะ เป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา เพราะตัณหา เป็นปัจจัย จึงเกิดอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงเกิดภพ เพราะภพเป็น ปัจจัย จึงเกิดชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงเกิดชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสนี้เป็นความเกิดแห่งโลก ฯลฯ อาศัยใจและธรรมารมณ์ เกิดมโนวิญญาณ รวมธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึง เกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงเกิด อุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงเกิดภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงเกิดชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จึงเกิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความเกิดแห่งโลก ฯ [๑๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับแห่งโลกเป็นไฉน ความดับแห่ง โลกนั้น คือ อาศัยจักษุและรูป เกิดจักขุวิญญาณ รวมธรรม ๓ ประการเป็น ผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิด ตัณหา เพราะตัณหานั้นแลดับเพราะสำรอกโดยไม่เหลือ อุปาทานจึงดับ เพราะ อุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ นี้เป็นความดับแห่งโลก ฯลฯ อาศัยใจและ ธรรมารมณ์ เกิดมโนวิญญาณ รวมธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะ เป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา เพราะตัณหานั้น แลดับเพราะสำรอกโดยไม่เหลือ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยอาการ อย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความดับแห่งโลก ฯ
จบสูตรที่ ๔
เสยยสูตร
[๑๕๘] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมี เพราะยึดมั่นอะไร ถือมั่นอะไร จึงมีความสำคัญตนว่า ประเสริฐกว่าเขา เสมอเขา หรือว่าเลวกว่าเขา ฯ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลายของพวก ข้าพระองค์ มีพระผู้มีพระภาคเป็นต้นเหตุ ฯ พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อจักษุมี เพราะยึดมั่นจักษุ ถือมั่นจักษุ จึง มีความสำคัญตนว่า ประเสริฐกว่าเขา เสมอเขา หรือว่าเลวกว่าเขา ฯลฯ เมื่อใจมี เพราะยึดมั่นใจ ถือมั่นใจ จึงมีความสำคัญตนว่า ประเสริฐกว่าเขา เสมอเขา หรือว่าเลวกว่าเขา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือสุขเล่า ฯ ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ไม่ยึดมั่น สิ่งนั้นแล้ว จะพึงมีความสำคัญตนว่า เป็นผู้ประเสริฐกว่าเขา เสมอเขา หรือว่า เลวกว่าเขา บ้างหรือหนอ ฯ ภิ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯลฯ พ. ใจเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ไม่ยึดมั่น สิ่งนั้นแล้ว จะพึงมีความสำคัญตนว่า ประเสริฐกว่าเขา เสมอเขา หรือว่าเลว กว่าเขา บ้างหรือหนอ ฯ ภิ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อม เบื่อหน่ายทั้งในจักษุ ฯลฯ ทั้งในใจ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะ คลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่น เพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี ฯ
จบสูตรที่ ๕
สังโยชนสูตร
[๑๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเป็นเหตุแห่งสังโยชน์และ สังโยชน์ เธอทั้งหลายจงฟัง ก็ธรรมที่เป็นเหตุแห่งสังโยชน์และสังโยชน์เป็นไฉน ธรรมที่เป็นเหตุแห่งสังโยชน์และสังโยชน์นั้น คือ จักษุเป็นธรรมอันเป็นเหตุแห่ง สังโยชน์ ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในจักษุนั้น เป็นสังโยชน์ในจักษุ นั้น ฯลฯ ใจเป็นธรรมอันเป็นเหตุแห่งสังโยชน์ ความกำหนัดด้วยอำนาจความ พอใจในใจนั้น เป็นสังโยชน์ในใจนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ธรรม เป็นเหตุแห่งสังโยชน์และสังโยชน์ ฯ
จบสูตรที่ ๖
อุปาทานสูตร
[๑๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเป็นเหตุแห่งอุปาทานและ อุปาทาน เธอทั้งหลายจงฟัง ก็ธรรมที่เป็นเหตุแห่งอุปาทานและอุปาทานเป็นไฉน ธรรมที่เป็นเหตุแห่งอุปาทานและอุปาทานนั้น คือ จักษุเป็นธรรมอันเป็นเหตุแห่ง อุปาทาน ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในจักษุนั้น เป็นอุปาทานในจักษุ นั้น ฯลฯ ใจเป็นธรรมอันเป็นเหตุแห่งอุปาทาน ความกำหนัดด้วยอำนาจความ พอใจในใจนั้น เป็นอุปาทานในใจนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ธรรม เป็นเหตุแห่งอุปาทานและอุปาทาน ฯ
จบสูตรที่ ๗
อปริชานสูตรที่ ๑
[๑๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่หน่าย ไม่ละ จักษุ ย่อมไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ ฯลฯ บุคคลไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่หน่าย ไม่ละใจ ย่อมไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนบุคคลรู้ยิ่ง กำหนดรู้ หน่าย ละจักษุ ย่อมควรเพื่อความสิ้นทุกข์ ฯลฯ บุคคลรู้ยิ่ง กำหนดรู้ หน่าย ละใจ ย่อมควรเพื่อความสิ้นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่รู้ยิ่ง ไม่ กำหนดรู้ ไม่หน่าย ไม่ละรูป ย่อมไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ บุคคลไม่รู้ยิ่ง ไม่ กำหนดรู้ ไม่หน่าย ไม่ละเสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ย่อมไม่ควร เพื่อความสิ้นทุกข์ บุคคลรู้ยิ่ง กำหนดรู้ หน่าย ละรูป ย่อมควรเพื่อความสิ้นทุกข์ บุคคลรู้ยิ่ง กำหนดรู้ หน่าย ละเสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ย่อม ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ ฯ
จบสูตรที่ ๘
อปริชานสูตรที่ ๒
[๑๖๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่หน่าย ไม่ละรูป ย่อมไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ บุคคลไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่ หน่าย ไม่ละเสียง...กลิ่น...รส...โผฏฐัพพะ...ธรรมารมณ์ ย่อมไม่ควรเพื่อ ความสิ้นทุกข์ บุคคลรู้ยิ่ง กำหนดรู้ หน่าย ละรูป ย่อมควรเพื่อความ สิ้นทุกข์ บุคคลรู้ยิ่ง กำหนดรู้ หน่าย ละเสียง...กลิ่น...รส...โผฏฐัพพะ... ธรรมารมณ์ ย่อมควรเพื่อความสิ้นทุกข์
อุปัสสุติสูตร
[๑๖๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระตำหนัก ซึ่งมุง ด้วยกระเบื้อง ของหมู่พระประยูรญาติ ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคประทับพักผ่อน อยู่ในที่สงัด ได้ทรงภาษิตธรรมปริยายนี้ว่า อาศัยจักษุและรูป เกิดจักขุวิญญาณ รวมธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะ เวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงเกิดอุปาทาน เพราะ อุปาทานเป็นปัจจัย จึงเกิดภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงเกิดชาติ เพราะชาติเป็น ปัจจัย จึงเกิดชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ ฯลฯ อาศัยใจและ ธรรมารมณ์ เกิดมโนวิญญาณ รวมธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็น ปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา เพราะตัณหาเป็น ปัจจัย จึงเกิดอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงเกิดภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงเกิดชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงเกิดชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยอาการ อย่างนี้ ฯ [๑๖๔] อาศัยจักษุและรูป เกิดจักขุวิญญาณ รวมธรรม ๓ ประการเป็น ผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิด ตัณหา เพราะตัณหานั้นแลดับเพราะสำรอกโดยไม่เหลือ อุปาทานจึงดับ เพราะ อุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ ฯลฯ อาศัยใจและธรรมารมณ์ เกิดมโนวิญญาณ รวมธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะ เวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา เพราะตัณหานั้นแลดับเพราะสำรอกโดยไม่เหลือ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะ ชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ ฯ ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งยืนแอบฟังพระผู้มีพระภาคอยู่ พระผู้มีพระภาคทอดพระเนตรเห็นภิกษุนั้นแล้ว ตรัสถามเธอว่า ดูกรภิกษุ เธอ ได้ฟังธรรมปริยายนี้แล้วหรือ ภิกษุนั้นกราบทูลว่า ได้ฟังแล้ว พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรภิกษุ เธอจงเรียน จงทรงจำธรรมปริยายนี้ไว้เถิด เพราะว่าธรรมปริยายนี้ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
จบโยคักเขมิวรรรคที่ ๑
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. โยคักเขมิสูตร ๒. อุปาทายสูตร ๓. ทุกขสูตร ๔.โลกสูตร ๕. เสยยสูตร ๖. สังโยชนสูตร ๗. อุปาทานสูตร ๘. อปริชานสูตรที่ ๑ ๙. อปริชานสูตรที่ ๒ ๑๐. อุปัสสุติสูตร ฯ
-----------------------------------------------------
โลกกามคุณวรรคที่ ๒
มารปาสสูตรที่ ๑
[๑๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ หากภิกษุเพลิด เพลิน หมกมุ่น พัวพันรูปนั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ไปสู่ที่อยู่ของมาร ตกอยู่ใน อำนาจของมาร ถูกมารคล้อง รัด มัดด้วยบ่วง ภิกษุนั้นพึงถูกมารผู้มีบาปใช้บ่วง ทำได้ตามปรารถนา ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ อัน น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ หาก ภิกษุเพลิดเพลิน หมกมุ่น พัวพันธรรมารมณ์นั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ไปสู่ที่อยู่ ของมาร ตกอยู่ในอำนาจ ถูกมารคล้อง รัด มัดด้วยบ่วง ภิกษุนั้นพึงถูกมารผู้มี บาปใช้บ่วงทำได้ตามปรารถนา ฯ [๑๖๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ หากภิกษุไม่เพลิด เพลิน ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพันรูปนั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ไม่ไปสู่ที่อยู่ของมาร ไม่ตกอยู่ในอำนาจของมาร ไม่ถูกมารคล้อง เป็นผู้พ้นจากบ่วงมาร ภิกษุนั้น อันมารผู้มีบาปพึงใช้บ่วงทำตาม ความปรารถนาไม่ได้ ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชัก ให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ หากภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพัน ธรรมารมณ์นั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ไม่ไปสู่ที่อยู่ของมาร ไม่ตกอยู่ในอำนาจของ มาร ไม่ถูกมารคล้อง เป็นผู้พ้นจากบ่วงมาร ภิกษุนั้นอันมารผู้มีบาปพึงใช้บ่วงทำ ตามความปรารถนาไม่ได้ ฯ
จบสูตรที่ ๑
มารปาสสูตรที่ ๒
[๑๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ หากภิกษุเพลิด เพลิน หมกมุ่น พัวพันรูปนั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า พัวพันอยู่ในรูป ไปสู่ที่อยู่ ของมาร ตกอยู่ในอำนาจของมาร ถูกมารผู้มีบาปทำได้ตามปรารถนา ฯลฯ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ หากภิกษุเพลิดเพลิน หมกมุ่น พัวพันธรรมารมณ์นั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า พัวพันอยู่ในธรรมารมณ์ ไปสู่ที่อยู่ของ มาร ตกอยู่ในอำนาจของมาร ถูกมารผู้มีบาปทำได้ตามปรารถนา ฯ [๑๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง รูปที่จะพึงรู้ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ หากภิกษุไม่เพลิด เพลิน ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพันรูปนั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า พ้นไปจากรูป ไม่ไปสู่ ที่อยู่ของมาร ไม่ตกอยู่ในอำนาจของมาร อันมารผู้มีบาปพึงทำตามปรารถนาไม่ได้ ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ หากภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพันธรรมารมณ์นั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า พ้นไปจากธรรมารมณ์ ไม่ไปสู่ที่อยู่ของมาร ไม่ตกอยู่ในอำนาจของมาร อันมารผู้มีบาปพึงทำตามปรารถนา ไม่ได้ ฯ
จบสูตรที่ ๒
โลกกามคุณสูตรที่ ๑
[๑๖๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรามิได้กล่าวว่า ที่สุดของโลกอันบุคคลพึงรู้ พึงเห็น พึงถึงด้วยการไป และเรายังไม่ถึงที่สุดแห่ง โลกแล้ว ย่อมไม่กล่าวการกระทำที่สุดทุกข์ ครั้นพระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้แล้ว ก็เสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์เข้าไปสู่พระวิหาร ครั้งนั้นแล เมื่อพระผู้มีพระภาค เสด็จหลีกไปไม่นาน ภิกษุเหล่านั้นกล่าวกันว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย พระผู้มี พระภาคทรงแสดงอุเทศข้อนี้แก่เราทั้งหลายโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้ พิสดาร เสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์เข้าไปสู่พระวิหาร ใครหนอจะพึงจำแนกเนื้อ ความแห่งอุเทศที่แสดงทรงโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้พิสดารนี้โดยพิสดาร ได้ ลำดับนั้น ภิกษุเหล่านั้นคิดกันว่า ท่านพระอานนท์นี้พระศาสดา และเพื่อน สพรหมจารีผู้เป็นปราชญ์ ยกย่องสรรเสริญ ทั้งท่านย่อมสามารถเพื่อจำแนก เนื้อความแห่งอุเทศ ที่ทรงแสดงโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้พิสดารนี้ โดยพิสดารได้ ถ้ากระไร พวกเราพึงเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ แล้วเรียน ถามเนื้อความข้อนั้นกะท่านเถิด ฯ [๑๗๐] ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นพากันเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่าน ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า ท่านพระอานนท์ พระผู้มี พระภาคทรงแสดงอุเทศข้อนี้โดยย่อ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้พิสดาร เสด็จ ลุกจากพุทธอาสน์เข้าไปสู่พระวิหารเสีย เมื่อพระองค์เสด็จลุกไปไม่นาน พวกผม จึงใคร่ครวญดูว่า ใครหนอจะช่วยจำแนกเนื้อความแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาคทรง แสดงโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้พิสดารนี้ โดยพิสดารได้ พวกผมจึงคิด ได้ว่า ท่านพระอานนท์นี้ อันพระศาสดา และเพื่อนสพรหมจารีผู้เป็นปราชญ์ ยกย่องสรรเสริญ ทั้งท่านพระอานนท์นี้ย่อมสามารถจำแนกเนื้อความแห่งอุเทศที่ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้พิสดารนี้ โดย พิสดารได้ ถ้ากระไร เราพากันเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ แล้วไต่ถาม เนื้อความข้อนั้นกะท่าน ขอท่านพระอานนท์ได้โปรดจำแนกเนื้อความเถิด ฯ ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษผู้ต้อง การแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวหาแก่นไม้อยู่ กลับล่วงเลยรากล่วงเลยลำต้น แห่งต้นไม้มีแก่นต้นใหญ่ ซึ่งตั้งอยู่เฉพาะหน้าไปเสีย มาสำคัญแก่นไม้ที่จะพึง แสวงหาได้ที่กิ่งและใบ ฉันใด คำอุปไมยนี้ก็ฉันนั้น คือ พวกท่านล่วงเลยพระผู้มี พระภาคผู้ประทับอยู่เฉพาะหน้า ในฐานะเป็นศาสดาของท่านทั้งหลายไปเสีย มา สำคัญเนื้อความที่จะไต่ถามนี้ (กะผม) แท้จริง พระผู้มีพระภาคนั้น เมื่อทรง ทราบ ย่อมทราบ เมื่อทรงเห็น ย่อมเห็น พระองค์เป็นผู้มีพระจักษุ มีพระญาณ มีธรรม เป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้กล่าว เป็นผู้ประกาศ เป็นผู้ทำเนื้อความให้ตื้น เป็นผู้ให้อมตธรรม เป็นเจ้าของแห่งธรรม เป็นผู้ถึงธรรมที่แท้ เวลานี้ เป็นกาล สมควรที่จะทูลถามเนื้อความข้อนั้นกะพระผู้มีพระภาค พระองค์ทรงแก้ปัญหาแก่ ท่านทั้งหลายอย่างใด ท่านทั้งหลายพึงทรงจำความข้อนั้นไว้อย่างนั้นเถิด ฯ ภิ. ดูกรท่านอานนท์ ข้อที่ท่านว่านั้นเป็นการถูกต้องแล้ว พระผู้มี พระภาคเมื่อทรงทราบ ย่อมทราบ เมื่อทรงเห็น ย่อมเห็น พระองค์เป็นผู้มี พระจักษุ มีพระญาณ มีธรรม เป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้กล่าว เป็นผู้ประกาศ เป็นผู้ทำเนื้อความให้ตื้น เป็นผู้ให้อมตธรรม เป็นเจ้าของแห่งธรรม เป็นผู้ถึง ธรรมที่แท้ เวลานี้เป็นกาลสมควรที่จะทูลถามเนื้อความข้อนั้นกะพระผู้มีพระภาค พระองค์ทรงแก้ปัญหาแก่พวกผมอย่างใด พวกผมควรทรงจำความข้อนั้นไว้อย่างนั้น ก็แต่ว่าท่านอานนท์ก็เป็นผู้ที่พระศาสดา และเพื่อนสพรหมจารีผู้เป็นปราชญ์ยกย่อง สรรเสริญ ทั้งท่านก็สามารถจะจำแนกเนื้อความแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาคทรง แสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้พิสดารนี้ โดยพิสดารได้ ขอท่าน อย่าได้หนักใจ โปรดช่วยจำแนกเนื้อความทีเถิด ฯ [๑๗๑] อา. ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น ท่านทั้งหลาย จงคอยฟัง จงใส่ใจให้ดี ผมจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระอานนท์แล้ว ท่านพระ อานนท์จึงกล่าวว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ข้อที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุเทศโดย ย่อ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้พิสดาร เสด็จลุกจากพุทธอาสน์เข้าไปสู่พระวิหาร เสียนั้น ผมทราบแล้ว ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ผมย่อมทราบเนื้อความแห่งอุเทศที่ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้พิสดารนี้ โดยพิสดาร ได้ ดูกรอาวุโสทั้งหลาย บุคคลย่อมมีความสำคัญในโลกว่าโลก ถือว่าโลก ด้วย ธรรมอันใด ธรรมนี้เรียกว่าโลกในวินัยของพระอริยะ ดูกรอาวุโสทั้งหลาย บุคคลย่อมมีความสำคัญในโลกว่าโลก ถือว่าโลก ด้วยธรรมอะไรเล่า ดูกรอาวุโส ทั้งหลาย บุคคลย่อมมีความสำคัญในโลกว่าโลก ถือว่าโลก ด้วยจักษุ ... ด้วยหู... ด้วยจมูก... ด้วยลิ้น... ด้วยกาย... ด้วยใจ ดูกรอาวุโสทั้งหลาย บุคคลย่อมมีความสำคัญในโลกว่าโลก ถือว่าโลก ด้วยธรรมอันใด ธรรมนี้เรียก ว่าโลกในวินัยของพระอริยะ ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ข้อที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง อุเทศโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้พิสดารว่า เรามิได้กล่าวว่า ที่สุดของ โลกอันบุคคลพึงรู้ พึงเห็น พึงถึงด้วยการไป และเรายังไม่ถึงที่สุดแห่งโลกแล้ว ย่อมไม่กล่าวการกระทำที่สุดทุกข์ ดังนี้แล้ว เสด็จลุกจากพุทธอาสน์เข้าไปสู่ พระวิหารเสียนั้น ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ผมย่อมทราบเนื้อความแห่งอุเทศที่ทรง แสดงโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้พิสดารนี้ โดยพิสดารอย่างนี้ ท่านผู้มี อายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายประสงค์ความแจ่มแจ้ง พึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค แล้วทูลถามเนื้อความข้อนั้นเถิด พระองค์ทรงพยากรณ์แก่พวกท่านอย่างไร ก็พึง ทรงจำข้อที่ตรัสนั้นอย่างนั้นเถิด ฯ [๑๗๒] ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระอานนท์ว่า อย่างนั้นท่านผู้มีอายุ ดังนี้แล้วลุกจากอาสนะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มี พระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ว่า พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุเทศโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความ ให้พิสดารแก่พวกข้าพระองค์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรามิได้กล่าวว่า ที่สุดของโลก อันบุคคลพึงรู้ พึงเห็น พึงถึงด้วยการไป และเรายังไม่ถึงที่สุดแห่งโลกแล้ว ย่อมไม่กล่าวการกระทำที่สุดทุกข์ ดังนี้แล้ว เสด็จลุกจากพุทธอาสน์เข้าไปสู่พระ วิหารเสีย เมื่อพระองค์เสด็จลุกไปไม่นาน พวกข้าพระองค์คิดกันว่า พระผู้มี พระภาคทรงแสดงอุเทศนี้แก่เราทั้งหลายโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้พิสดาร เสด็จลุกจากพุทธอาสน์เข้าไปสู่พระวิหารเสีย ใครหนอจะจำแนกเนื้อความแห่ง อุเทศที่ทรงแสดงโดยย่อ ไม่ทรงแสดงเนื้อความให้พิสดารนี้ โดยพิสดารได้ ลำดับนั้น พวกข้าพระองค์มีความคิดว่า ท่านพระอานนท์นี้เป็นผู้ที่พระศาสดาและ เพื่อนสพรหมจารีผู้เป็นปราชญ์ยกย่องสรรเสริญ ทั้งสามารถเพื่อจะจำแนกเนื้อ ความแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้ พิสดารนี้ โดยพิสดารได้ ถ้ากระไรพวกเราพึงเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ แล้วพึงไต่ถามเนื้อความข้อนั้นกะท่านเถิด ครั้นคิดดังนั้นแล้ว พวกข้าพระองค์ก็ เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่แล้วไต่ถามเนื้อความข้อนั้นกะท่าน ท่านพระ อานนท์ก็จำแนกเนื้อความแก่พวกข้าพระองค์ด้วยอาการเหล่านี้ ด้วยบทเหล่านี้ ด้วยพยัญชนะเหล่านี้ พระเจ้าข้า ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานนท์เป็นบัณฑิต มีปัญญา มาก หากท่านทั้งหลายพึงไต่ถามเนื้อความข้อนั้นกะเรา แม้เราก็พึงแก้ปัญหานั้น เหมือนอย่างที่อานนท์กล่าวแก้ปัญหานั้นแหละ นั่นเป็นเนื้อความแห่งอุเทศนั้น ท่านทั้งหลายพึงทรงจำเนื้อความนั้นไว้อย่างนี้เถิด ฯ
จบสูตรที่ ๓
โลกกามคุณสูตรที่ ๒
[๑๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อก่อนตรัสรู้ เมื่อเราเป็นพระโพธิสัตว์ ยังมิได้ตรัสรู้ ได้มีความปริวิตกว่า เบญจกามคุณของเราที่เราเคยสัมผัสด้วยใจมา แล้ว ล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว แปรปรวนไปแล้ว จิตของเราเมื่อเกิด พึงเกิดขึ้น ในเบญจกามคุณที่เป็นปัจจุบันมาก หรือที่เป็นอนาคตน้อย ลำดับนั้น เราคิดว่า เบญจกามคุณของเราที่เราเคยสัมผัสด้วยใจมาแล้ว ล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว แปรปรวนไปแล้ว เราปรารถนาประโยชน์แก่ตน พึงทำความไม่ประมาทในเบญจ- *กามคุณนั้น และสติให้เป็นเครื่องรักษาจิต เพราะเหตุนั้นแหละ เบญจกามคุณ แม้ของท่านทั้งหลาย ที่ท่านทั้งหลายเคยสัมผัสด้วยใจมาแล้ว ล่วงไปแล้ว ดับไป แล้ว แปรปรวนไปแล้ว จิตของท่านทั้งหลายเมื่อเกิด พึงเกิดขึ้นในเบญจกามคุณ ที่เป็นปัจจุบันมาก หรือที่เป็นอนาคตน้อย (เช่นเดียวกัน) เพราะเหตุนั้นแหละ เบญจกามคุณแม้ของท่านทั้งหลาย ที่ท่านทั้งหลายเคยสัมผัสด้วยใจมาแล้ว ล่วง ไปแล้ว ดับไปแล้ว แปรปรวนไปแล้ว ท่านทั้งหลายปรารถนาประโยชน์แก่ตน พึงทำความไม่ประมาทในเบญจกามคุณนั้น และสติให้เป็นเครื่องรักษาจิต แล้ว พระองค์ตรัสต่อไปอีกว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ อายตนะอัน บุคคลจำต้องรู้ไว้ คือ จักษุดับ ณ ที่ใด รูปสัญญาก็สิ้นไป ณ ที่นั้น หูดับ ณ ที่ใด สัททสัญญาก็สิ้นไป ณ ที่นั้น จมูกดับ ณ ที่ใด คันธสัญญาก็สิ้นไป ณ ที่นั้น ลิ้นดับไป ณ ที่ใด รสสัญญาก็สิ้นไป ณ ที่นั้น กายดับ ณ ที่ใด โผฏ- *ฐัพพสัญญาก็สิ้นไป ณ ที่นั้น ใจดับ ณ ที่ใด ธรรมสัญญาก็สิ้นไป ณ ที่นั้น ครั้นพระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้แล้ว ก็เสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์เข้าไปสู่พระวิหาร เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จไปไม่นาน ภิกษุเหล่านั้นมีความคิดว่า พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงอุเทศนี้แก่เราทั้งหลายโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้พิสดารว่า เพราะเหตุนั้นแหละ อายตนะอันบุคคลจำต้องรู้ไว้ คือ จักษุดับ ณ ที่ใด รูป สัญญาก็สิ้นไป ณ ที่นั้น ฯลฯ ใจดับ ณ ที่ใด ธรรมสัญญาก็สิ้นไป ณ ที่นั้น ดังนี้ แล้ว เสด็จลุกจากพุทธอาสน์เข้าไปสู่พระวิหารเสีย ใครหนอจะจำแนกเนื้อความ แห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้พิสดารนี้ โดยพิสดารได้ ลำดับนั้น ภิกษุเหล่านั้นคิดว่าท่านพระอานนท์นี้ เป็นผู้ที่ พระศาสดาและเพื่อนสพรหมจารีผู้เป็นปราชญ์ยกย่องสรรเสริญ ทั้งท่านสามารถ จำแนกเนื้อความแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกเนื้อ ความให้พิสดารนี้ โดยพิสดารได้ ถ้ากระไร พวกเราพึงเข้าไปหาท่านพระอานนท์ ถึงที่อยู่ แล้วพึงไต่ถามเนื้อความข้อนั้นกะท่านเถิด ฯ [๑๗๔] ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นจึงเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่าน ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า ท่านอานนท์ พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงอุเทศนี้แก่พวกผมโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้พิสดาร เสด็จลุก ขึ้นจากพุทธอาสน์เข้าไปสู่พระวิหารเสีย เมื่อพระองค์เสด็จลุกไปไม่นาน พวกผม จึงใคร่ครวญว่า ใครหนอจะช่วยจำแนกเนื้อความแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาคทรง แสดงโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้พิสดารนี้ โดยพิสดารได้ พวกผมจึงคิด ได้ว่า ท่านพระอานนท์นี้เป็นผู้อันพระศาสดาและเพื่อนสพรหมจารีผู้เป็นปราชญ์ ยกย่องสรรเสริญ ทั้งสามารถเพื่อจำแนกเนื้อความแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาคทรง แสดงโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้พิสดารนี้โดยพิสดารได้ ถ้ากระไร เรา พึงเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ แล้วไต่ถามเนื้อความข้อนั้นกะท่าน ขอท่าน พระอานนท์ได้โปรดจำแนกเนื้อความเถิด ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษผู้ต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวหาแก่นไม้อยู่ กลับ ล่วงเลยราก ล่วงเลยลำต้น แห่งต้นไม้มีแก่นต้นใหญ่ซึ่งตั้งอยู่เฉพาะหน้าไปเสีย มาสำคัญแก่นไม้ที่จะพึงแสวงหาได้ที่กิ่งและใบ ฉันใด คำอุปไมยนี้ก็ฉันนั้น คือ พวกท่านล่วงเลยพระผู้มีพระภาคผู้ประทับอยู่เฉพาะหน้า ในฐานะเป็นศาสดาของ ท่านทั้งหลายไปเสีย มาสำคัญเนื้อความที่จะไต่ถามนี้กะผม แท้จริง พระผู้มี พระภาคเมื่อทรงทราบ ย่อมทราบ เมื่อทรงเห็น ย่อมเห็น พระองค์เป็นผู้มีพระ จักษุ มีพระญาณ มีธรรม เป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้กล่าว เป็นผู้ประกาศ เป็นผู้ ทำเนื้อความให้ตื้น เป็นผู้ให้อมตธรรม เป็นเจ้าของแห่งธรรม เป็นผู้ถึงธรรมที่แท้ เวลานี้เป็นกาลสมควรที่จะทูลถามเนื้อความข้อนั้นกะพระผู้มีพระภาค พระองค์ทรง แก้ปัญหาแก่ท่านทั้งหลายอย่างใด ท่านทั้งหลายพึงทรงจำความข้อนั้นไว้อย่างนั้น เถิด ฯ ภิ. ดูกรท่านอานนท์ ข้อที่ท่านว่านั้นเป็นการถูกต้องแล้ว พระผู้มี พระภาคเมื่อทรงทราบ ย่อมทราบ เมื่อทรงเห็น ย่อมเห็น พระองค์เป็นผู้มี พระจักษุ มีพระญาณ มีธรรม เป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้กล่าว เป็นผู้ประกาศ เป็นผู้ทำเนื้อความให้ตื้น เป็นผู้ให้อมตธรรม เป็นเจ้าของแห่งธรรม เป็นผู้ถึง ธรรมที่แท้ เวลานี้เป็นกาลสมควรที่จะทูลถามเนื้อความข้อนั้นกะพระผู้มีพระภาค พระองค์ทรงแก้ปัญหาแก่พวกผมอย่างใด พวกผมก็ควรทรงจำความข้อนั้นไว้อย่าง นั้น ก็แต่ว่า ท่านอานนท์เป็นผู้ที่พระศาสดาและเพื่อนสพรหมจารีผู้เป็นปราชญ์ ยกย่องสรรเสริญ ทั้งท่านก็สามารถจะจำแนกเนื้อความแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้พิสดารนี้ โดยพิสดารได้ ขอ ท่านอย่าได้หนักใจ โปรดช่วยจำแนกเนื้อความทีเถิด ฯ [๑๗๕] อา. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น ท่านทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี ผมจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระอานนท์แล้ว ท่านพระอานนท์ กล่าวว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุเทศโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้พิสดาร เสด็จลุกจากพุทธอาสน์เข้าไปสู่พระวิหารเสีย นั้น ผมทราบแล้ว ผู้มีอายุทั้งหลาย ผมย่อมทราบเนื้อความแห่งอุเทศที่ทรงแสดง โดยย่อ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้พิสดารนี้ โดยพิสดารว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย พระพุทธวจนะนั้น อันพระผู้มีพระภาคทรงภาษิต หมายเอาความดับแห่งอายตนะ ๖ ข้อที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุเทศโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้พิสดาร เสด็จลุกจากพุทธอาสน์เข้าไปสู่พระวิหารเสียนั้น ผมรู้เนื้อความแห่งอุเทศที่ทรง แสดงโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้พิสดารนี้ โดยพิสดารอย่างนี้แล ผู้มีอายุ ทั้งหลาย ท่านทั้งหลายประสงค์ความแจ่มแจ้ง พึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้ว ทูลถามเนื้อความข้อนั้น พระองค์ทรงพยากรณ์แก่ท่านทั้งหลายอย่างไร ท่านทั้งหลาย พึงทรงจำข้อที่ตรัสนั้นไว้อย่างนั้นเถิด ฯ [๑๗๖] ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระอานนท์ว่า อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ ดังนี้แล้ว ลุกจากอาสนะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มี พระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ว่า พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุเทศโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความ ให้พิสดารแก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย เสด็จลุกจากพุทธอาสน์เข้าไปสู่วิหารเสีย เมื่อ พระองค์เสด็จลุกไปไม่นาน ข้าพระองค์ทั้งหลายจึงใคร่ครวญดูว่า... ใครหนอจะ ช่วยจำแนกเนื้อความแห่งอุเทศที่ทรงแสดงโดยย่อไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้พิสดาร นี้ โดยพิสดารได้ ข้าพระองค์ทั้งหลายคิดว่า ท่านพระอานนท์นี้ เป็นผู้ที่พระศาสดา และเพื่อนสพรหมจารีผู้เป็นปราชญ์ยกย่องสรรเสริญ ทั้งท่านสามารถจะจำแนกเนื้อ ความแห่งอุเทศที่ทรงแสดงโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้พิสดารนี้ โดยพิสดาร ได้ ถ้ากระไร เราทั้งหลายพึงเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ แล้วไต่ถามเนื้อ ความข้อนั้นกะท่านเถิด ครั้นคิดฉะนี้แล้ว ข้าพระองค์ทั้งหลายก็เข้าไปหาท่านพระ อานนท์ถึงที่อยู่ แล้วไต่ถามเนื้อความข้อนั้นกะท่าน ท่านพระอานนท์ก็จำแนกเนื้อ ความแก่ข้าพระองค์ทั้งหลายด้วยอาการเหล่านี้ ด้วยบทเหล่านี้ ด้วยพยัญชนะเหล่า นี้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานนท์เป็นบัณฑิต มีปัญญามาก หากท่านทั้งหลายพึงถามเนื้อความข้อนั้นกะเรา แม้เราพึงพยากรณ์ปัญหานั้น เหมือนอย่างที่อานนท์พยากรณ์แล้วนั้นแหละ นั่นเป็นเนื้อความแห่งอุเทศนั้น ท่าน ทั้งหลายพึงทรงจำเนื้อความนั้นไว้อย่างนั้นเถิด ฯ
จบสูตรที่ ๔
สักกสูตร
[๑๗๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ ใกล้ พระนครราชคฤห์ ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งเทวดาทั้งหลาย เสด็จเข้า ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ทรงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว ประทับอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหตุปัจจัยอะไรหนอ ที่เป็นเครื่องให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน อนึ่ง เหตุปัจจัยอะไร ที่เป็นเครื่องให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ปรินิพพานในปัจจุบัน ฯ [๑๗๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรท่านผู้เป็นจอมเทพ รูปที่จะพึงรู้ แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้ กำหนัด มีอยู่ หากภิกษุเพลิดเพลิน หมกมุ่น พัวพันรูปนั้นอยู่ เมื่อเธอเพลิด- *เพลิน หมกมุ่น พัวพันรูปนั้นอยู่ วิญญาณอันอาศัยตัณหานั้นย่อมมี อุปาทาน อันอาศัยตัณหานั้นก็ย่อมมี ภิกษุผู้ยังมีอุปาทาน ยังไม่ปรินิพพาน ฯลฯ ธรรมารมณ์ ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวน ให้กำหนัดมี อยู่ หากภิกษุเพลิดเพลิน หมกมุ่น พัวพันธรรมารมณ์นั้น เมื่อ เธอเพลิดเพลิน หมกมุ่น พัวพันธรรมารมณ์นั้นอยู่ วิญญาณอันอาศัยตัณหานั้น ย่อมมี อุปาทานอันอาศัยตัณหานั้นย่อมมี ภิกษุผู้ยังมีอุปาทาน ยังไม่ปรินิพพาน ดูกรท่านผู้เป็นจอมเทพ เหตุปัจจัยนี้แล ที่เป็นเครื่องให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ไม่ ปรินิพพานในปัจจุบัน ฯ [๑๗๙] ดูกรท่านผู้เป็นจอมเทพ รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ หากภิกษุไม่เพลิด- *เพลิน ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพันรูปนั้น เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่หมกมุ่น ไม่ พัวพันรูปนั้น วิญญาณอันอาศัยตัณหานั้นย่อมไม่มี อุปาทานอันอาศัยตัณหานั้น ย่อมไม่มี ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทาน ย่อมปรินิพพาน ฯลฯ ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้ง ด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ หากภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพันธรรมารมณ์นั้น เมื่อเธอไม่ เพลิดเพลิน ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพันธรรมารมณ์นั้น วิญญาณอันอาศัยตัณหานั้น ย่อมไม่มี อุปาทานอันอาศัยตัณหานั้นย่อมไม่มี ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทาน ย่อมปรินิพพาน ดูกรท่านผู้เป็นจอมเทพ เหตุปัจจัยนี้แล ที่เป็นเครื่องให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ ปรินิพพานในปัจจุบัน ฯ
จบสูตรที่ ๕
ปัญจสิขสูตร
[๑๘๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ ใกล้ พระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น ปัญจสิขเทพบุตรผู้เป็นบุตรแห่งคนธรรพ์ เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหตุปัจจัยอะไรหนอ ที่เป็นเครื่องให้สัตว์บางจำพวกในโลกนี้ ไม่ปรินิพพานใน ปัจจุบัน เหตุปัจจัยอะไร ที่เป็นเครื่องให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ ปรินิพพาน ในปัจจุบัน ฯ [๑๘๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรปัญจสิขะ รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วย จักษุ ฯลฯ ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ หากภิกษุเพลิดเพลิน หมกมุ่น พัวพันธรรมารมณ์นั้น เมื่อเธอเพลิดเพลิน หมกมุ่น พัวพันธรรมารมณ์นั้นอยู่ วิญญาณอันอาศัยตัณหานั้นย่อมมี อุปาทานอันอาศัยตัณหานั้นย่อมมี ภิกษุยังมี อุปาทาน ยังไม่ปรินิพพาน ดูกรปัญจสิขะ เหตุปัจจัยนี้แล เป็นเครื่องให้สัตว์ บางพวกในโลกนี้ ไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน ฯ [๑๘๒] ดูกรปัญจสิขะ รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่า ใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ฯลฯ ธรรมารมณ์ที่จะ พึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้ กำหนัด มีอยู่ หากภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพันธรรมารมณ์นั้น เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพันธรรมารมณ์นั้นอยู่ วิญญาณอัน อาศัยตัณหานั้นย่อมไม่มี อุปาทานอันอาศัยตัณหานั้นย่อมไม่มี ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทาน ย่อมปรินิพพาน ดูกรปัญจสิขะ เหตุปัจจัยนี้แล เป็นเครื่องให้สัตว์บางพวกใน โลกนี้ ปรินิพพานในปัจจุบัน ฯ
จบสูตรที่ ๖
สารีปุตตสูตร
[๑๘๓] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปหา ท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัย พอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กล่าวกะ ท่านพระสารีบุตรว่า ท่านผู้มีอายุสารีบุตร ภิกษุผู้เป็นสัทธิวิหาริกของท่านลาสิกขา สึกเสียแล้ว ฯ ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า ดูกรผู้มีอายุ ผู้ที่ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ ทั้งหลาย ไม่รู้ประมาณในโภชนะ ไม่ประกอบความเพียร ย่อมเป็นเช่นนี้แหละ ดูกรผู้มีอายุ ข้อที่ภิกษุไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้จักประมาณใน โภชนะ ไม่ประกอบความเพียร จักประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์ บริบูรณ์ ติดต่อกันไปจนตลอดชีวิตนั้น ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ดูกรผู้มีอายุ ข้อที่ภิกษุ คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้ประมาณในโภชนะ ประกอบความเพียร จักประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์ บริบูรณ์ ติดต่อกันไปจนตลอดชีวิตนั้น เป็น ฐานะที่จะมีได้ ฯ [๑๘๔] ดูกรผู้มีอายุ ก็ภิกษุเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายอย่างไร ดูกรผู้มีอายุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุ- *พยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุ ให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ภิกษุฟังเสียงด้วยหู... ดมกลิ่นด้วยจมูก... ลิ้มรสด้วยลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ... รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวม แล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษามนินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ดูกรผู้มีอายุ ภิกษุเป็นผู้ คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายอย่างนี้แล ฯ [๑๘๕] ดูกรผู้มีอายุ ภิกษุเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะอย่างไร ดูกร ผู้มีอายุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว จึงฉันอาหาร ไม่ฉันเพื่อ เล่น ไม่ฉันเพื่อเมามัว ไม่ฉันเพื่อประดับ ไม่ฉันเพื่อตกแต่ง ย่อมฉันเพียงเพื่อ ความดำรงอยู่แห่งกายนี้ เพื่อยังกายนี้ให้เป็นไป เพื่อกำจัดความเบียดเบียน เพื่อ จะอนุเคราะห์พรหมจรรย์ ด้วยคิดเห็นว่า เพราะเหตุที่ฉันอาหารนี้ เราจักกำจัด เวทนาเก่าเสียด้วย จักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้นด้วย ความที่กายเป็นไปได้นาน ความไม่มีโทษและความอยู่สำราญจักมีแก่เรา ดูกรผู้มีอายุ ภิกษุเป็นผู้รู้ประมาณ ในโภชนะอย่างนี้แล ฯ [๑๘๖] ดูกรผู้มีอายุ ภิกษุเป็นผู้ประกอบความเพียรอย่างไร ดูกรผู้มีอายุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมอันกั้นจิตทั้งหลายด้วยการเดิน ด้วยการนั่ง ตลอดวัน ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมอันกั้นจิตทั้งหลายด้วยการ เดิน ด้วยการนั่ง ตลอดปฐมยามแห่งราตรี ในมัชฌิมยามแห่งราตรี สำเร็จ สีหไสยาโดยข้างเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ ทำในใจถึง สัญญาที่จะลุกขึ้น รีบลุกขึ้นในปัจฉิมยามแห่งราตรี ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรม อันกั้นจิตทั้งหลายด้วยการเดิน ด้วยการนั่ง ดูกรผู้มีอายุ ภิกษุเป็นผู้ประกอบความ เพียรอย่างนี้แล เพราะเหตุนั้นแหละ ท่านทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักเป็น ผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย จักเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ จักเป็นผู้ประกอบ ความเพียร ดูกรผู้มีอายุ ท่านทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๗
ราหุลสูตร
[๑๘๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาค ทรงหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด ทรงเกิดปริวิตกแห่งพระหฤทัยอย่างนี้ว่า ธรรมที่เป็น เครื่องบ่มวิมุติของราหุลแก่กล้าแล้ว ถ้ากระไร เราควรแนะนำราหุลในธรรมเป็นที่ สิ้นอาสวะยิ่งขึ้นไปเถิด ครั้นทรงพระดำริฉะนี้แล้ว ในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาค ทรงครองอันตรวาสก ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังพระนคร สาวัตถี ครั้นเวลาภายหลังภัต เสด็จกลับจากบิณฑบาตแล้ว ตรัสเรียกพระท่าน ราหุลมาตรัสว่า ราหุล เธอจงถือผ้านิสีทนะไปสู่ป่าอันธวันด้วยกัน เพื่อพักผ่อน ในกลางวัน ฯ ท่านพระราหุลทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคแล้ว ได้ถือผ้านิสีทนะตาม เสด็จพระผู้มีพระภาคไปข้างหลัง ก็สมัยนั้น พวกเทวดาหลายพันติดตามพระผู้มี พระภาคไปด้วยคิดว่า วันนี้ พระผู้มีพระภาคจักทรงแนะนำท่านพระราหุลในธรรม เป็นที่สิ้นอาสวะอันยิ่งขึ้นไป ฯ [๑๘๘] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปสู่ป่าอันธวัน ประทับ ณ พุทธอาสน์ที่พระราหุลปูลาดถวาย ที่ควงต้นไม้แห่งหนึ่ง ฝ่ายท่านพระราหุลถวาย อภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาค จึงตรัสถามว่า ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุเที่ยงหรือไม่ เที่ยง ท่านพระราหุลกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ รา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ รา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ รา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ รา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ รา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. จักษุวิญญาณ... จักษุสัมผัส... เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ รา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ รา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ รา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯลฯ พ. ใจเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ รา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ รา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ รา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ธรรมารมณ์เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ รา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ รา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ รา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. มโนวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ รา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ รา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ รา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. มโนสัมผัสเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ รา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ รา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ รา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกิดขึ้นเพราะ มโนสัมผัสเป็น ปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ รา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ รา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ รา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อ หน่ายทั้งในจักษุ ทั้งในรูป ทั้งในจักษุวิญญาณ ทั้งในจักษุสัมผัส ทั้งใน เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัส เป็นปัจจัย ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในใจ ทั้งในธรรมารมณ์ ทั้งในมโนวิญญาณ ทั้งในมโนสัมผัส ทั้งในเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกิดขึ้นเพราะ มโนสัมผัส เป็นปัจจัย เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุด พ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติ สิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความ เป็นอย่างนี้มิได้มี พระผู้มีพระภาคตรัสพระสูตรนี้จบลงแล้ว ท่านพระราหุลชื่นชม ยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค อนึ่ง เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิต นี้อยู่ จิตของท่านพระราหุลหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน ฝ่าย เทวดาหลายพันก็เกิดธรรมจักษุอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทินว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา ฯ
จบสูตรที่ ๘
สังโยชนสูตร
[๑๘๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรม อันเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์และสังโยชน์ เธอทั้งหลายจงฟังธรรมนั้น ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ก็ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ และสังโยชน์เป็นไฉน ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์และสังโยชน์นั้น คือรูปที่จะพึงรู้แจ้ง ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด เหล่านี้เรียกว่าธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในรูปนั้น เป็นตัวสังโยชน์ในรูปนั้น ฯลฯ ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่า ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด เหล่านี้เรียกว่า ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในธรรมารมณ์ นั้น เป็นตัวสังโยชน์ในธรรมารมณ์นั้น ฯ
จบสูตรที่ ๙
อุปาทานสูตร
[๑๙๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรม อันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทานและอุปาทาน เธอทั้งหลายจงฟังธรรมนั้น ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ก็ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน และอุปาทานเป็นไฉน ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทานและอุปาทานนั้น คือรูปที่จะพึงรู้แจ้ง ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด เหล่านี้เรียกว่าธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในรูปนั้น เป็นตัวอุปาทานในรูปนั้น ฯลฯ ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่า ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด เหล่านี้เรียก ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในธรรมารมณ์ นั้น เป็นตัวอุปาทานในธรรมารมณ์นั้น ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
จบโลกกามคุณวรรคที่ ๒
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. มารปาสสูตรที่ ๑ ๒. มารปาสสูตรที่ ๒ ๓. โลกกามคุณสูตรที่ ๑ ๔. โลกกามคุณสูตรที่ ๒ ๕. สักกสูตร ๖. ปัญจสิขสูตร ๗. สารีปุตตสูตร ๘. ราหุลสูตร ๙. สังโยชนสูตร ๑๐. อุปาทานสูตร ฯ
-----------------------------------------------------
คหปติวรรคที่ ๓
เวสาลีสูตร
[๑๙๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ในป่า มหาวัน ใกล้พระนครเวสาลี ครั้งนั้นแล อุคคคฤหบดีชาวเมืองเวสาลี ได้เข้า ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหตุปัจจัยอะไรหนอแล เป็นเครื่องให้สัตว์บางพวกในโลก นี้ไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน อนึ่ง เหตุปัจจัยอะไร เป็นเครื่องให้สัตว์บางพวก ในโลกนี้ปรินิพพานในปัจจุบัน พระผู้มีพระภาคตรัสว่า มีอยู่แล คฤหบดี รูป ทั้งหลายอันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด หากว่าภิกษุเพลิดเพลิน หมกมุ่นพัวพันรูปนั้น เมื่อ ภิกษุนั้นเพลิดเพลิน หมกมุ่น พัวพันรูปนั้นอยู่ วิญญาณอันอาศัยซึ่งตัณหานั้น ย่อมมี อุปาทานอันอาศัยซึ่งตัณหานั้นก็ย่อมมี ภิกษุผู้มีอุปาทาน ย่อมไม่ปรินิพพาน ฯลฯ ธรรมารมณ์อันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด หากว่าภิกษุเพลิดเพลิน หมกมุ่นพัวพัน ธรรมารมณ์นั้น เมื่อภิกษุนั้นเพลิดเพลิน หมกมุ่น พัวพันธรรมารมณ์นั้นอยู่ วิญญาณอันอาศัยซึ่งตัณหานั้นย่อมมี อุปาทานอันอาศัยซึ่งตัณหานั้นก็ย่อมมี ภิกษุ ผู้มีอุปาทานย่อมไม่ปรินิพพาน ดูกรคฤหบดี เหตุปัจจัยนี้แล เป็นเครื่องให้สัตว์ บางพวกในโลกนี้ไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน ฯ [๑๙๒] ดูกรคฤหบดี รูปอันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด หากว่าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพันรูปนั้น เมื่อภิกษุนั้นไม่เพลิดเพลิน ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพัน รูปนั้นอยู่ วิญญาณอันอาศัยซึ่งตัณหานั้นย่อมไม่มี อุปาทานอันอาศัยซึ่งตัณหานั้น ย่อมไม่มี ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทานย่อมปรินิพพาน ฯลฯ ธรรมารมณ์อันบุคคลพึงรู้แจ้ง ด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด หากภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพันธรรมารมณ์นั้น เมื่อภิกษุนั้นไม่ เพลิดเพลิน ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพันธรรมารมณ์นั้นอยู่ วิญญาณอันอาศัยซึ่งตัณหา นั้นย่อมไม่มี อุปาทานอันอาศัยซึ่งตัณหานั้นย่อมไม่มี ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทาน ย่อมปรินิพพาน ดูกรคฤหบดี เหตุปัจจัยนี้แล เป็นเครื่องให้สัตว์บางพวกใน โลกนี้ปรินิพพานในปัจจุบัน ฯ
จบสูตรที่ ๑
วัชชีสูตร
[๑๙๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ หัตถิคามใกล้แคว้น วัชชี ครั้งนั้นแล อุคคคฤหบดีชาวบ้านหัตถิคาม ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง ที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหตุปัจจัยอะไรหนอแล เป็นเครื่องให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ไม่ปรินิพพานใน ปัจจุบัน อนึ่ง เหตุปัจจัยอะไร เป็นเครื่องให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ปรินิพพาน ในปัจจุบัน พระผู้มีพระภาคตรัสว่า มีอยู่แล คฤหบดี รูปทั้งหลายอันบุคคล พึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวน ให้กำหนัด หากว่าภิกษุเพลิดเพลิน หมกมุ่น พัวพันรูปนั้น เมื่อภิกษุนั้น เพลิดเพลิน หมกมุ่น พัวพันรูปนั้นอยู่ วิญญาณอันอาศัยซึ่งตัณหานั้นย่อมมี อุปาทานอันอาศัยซึ่งตัณหานั้นย่อมมี ภิกษุผู้มีอุปาทานย่อมไม่ปรินิพพาน ฯลฯ ธรรมารมณ์อันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด หากว่าภิกษุเพลิดเพลิน หมกมุ่น พัวพันธรรมารมณ์ นั้น เมื่อภิกษุนั้นเพลิดเพลิน หมกมุ่น พัวพันธรรมารมณ์นั้นอยู่ วิญญาณ อันอาศัยซึ่งตัณหานั้นย่อมมี อุปาทานอันอาศัยซึ่งตัณหานั้นย่อมมี ภิกษุผู้มีอุปาทาน ย่อมไม่ปรินิพพาน ดูกรคฤหบดีเหตุปัจจัยนี้แล เป็นเครื่องให้สัตว์บางพวกใน โลกนี้ไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน ฯ ดูกรคฤหบดี รูปอันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด หากว่าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่ หมกมุ่น ไม่พัวพันรูปนั้น เมื่อภิกษุนั้นไม่เพลิดเพลิน ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพัน รูปนั้นอยู่ วิญญาณอันอาศัยซึ่งตัณหานั้นย่อมไม่มี อุปาทานอันอาศัยซึ่งตัณหานั้น ย่อมไม่มี ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทานย่อมปรินิพพาน ฯลฯ ธรรมารมณ์อันบุคคลพึงรู้แจ้ง ด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด หากภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพันธรรมารมณ์นั้น เมื่อภิกษุนั้นไม่ เพลิดเพลิน ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพันธรรมารมณ์นั้นอยู่ วิญญาณอันอาศัยซึ่งตัณหา นั้นย่อมไม่มี อุปาทานอันอาศัยซึ่งตัณหานั้นย่อมไม่มี ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทานย่อม ปรินิพพาน ดูกรคฤหบดี เหตุปัจจัยนี้แล เป็นเครื่องให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ ปรินิพพานในปัจจุบัน ฯ
จบสูตรที่ ๒
นาฬันทสูตร
[๑๙๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปาวาริกัมพวัน ใกล้เมืองนาฬันทา ครั้งนั้นแล อุบาลีคฤหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหตุปัจจัย อะไรหนอแล เป็นเครื่องให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน อนึ่ง เหตุปัจจัยอะไรเป็นเครื่องให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ปรินิพพานในปัจจุบัน พระผู้มี พระภาคตรัสว่า มีอยู่แล คฤหบดี รูปทั้งหลายอันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่า ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด หากว่าภิกษุ เพลิดเพลิน หมกมุ่น พัวพันรูปนั้น เมื่อภิกษุนั้นเพลิดเพลิน หมกมุ่น พัวพัน รูปนั้นอยู่ วิญญาณอันอาศัยซึ่งตัณหานั้นย่อมมี อุปาทานอันอาศัยซึ่งตัณหานั้น ก็ย่อมมี ภิกษุผู้มีอุปาทานย่อมไม่ปรินิพพาน ฯลฯ ธรรมารมณ์อันบุคคลพึงรู้แจ้ง ด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด หากว่าภิกษุเพลิดเพลิน หมกมุ่น พัวพันธรรมารมณ์นั้น เมื่อภิกษุนั้นเพลิดเพลิน หมกมุ่น พัวพันธรรมารมณ์นั้นอยู่ วิญญาณอันอาศัยซึ่งตัณหานั้นย่อมมี อุปาทาน อันอาศัยซึ่งตัณหานั้นย่อมมี ภิกษุผู้มีอุปาทานย่อมไม่ปรินิพพาน ดูกรคฤหบดี เหตุปัจจัยนี้แล เป็นเครื่องให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน ฯ ดูกรคฤหบดี รูปอันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด หากว่าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่ หมกมุ่น ไม่พัวพันรูปนั้น เมื่อภิกษุนั้นไม่เพลิดเพลิน ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพัน รูปนั้นอยู่ วิญญาณอันอาศัยซึ่งตัณหานั้นย่อมไม่มี อุปาทานอันอาศัยซึ่งตัณหานั้น ย่อมไม่มี ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทานย่อมปรินิพพาน ฯลฯ ธรรมารมณ์อันบุคคลพึงรู้แจ้ง ด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด หากภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพันธรรมารมณ์นั้น เมื่อภิกษุนั้นไม่ เพลิดเพลิน ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพันธรรมารมณ์นั้นอยู่ วิญญาณอันอาศัยซึ่งตัณหา นั้นย่อมไม่มี อุปาทานอันอาศัยซึ่งตัณหานั้นย่อมไม่มี ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทานย่อม ปรินิพพาน ดูกรคฤหบดี เหตุปัจจัยนี้แล เป็นเครื่องให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ ปรินิพพานในปัจจุบัน ฯ
จบสูตรที่ ๓
ภารทวาชสูตร
[๑๙๕] สมัยหนึ่ง ท่านพระบิณโฑลภารทวาชะอยู่ ณ พระวิหารโฆสิ- *ตาราม ใกล้พระนครโกสัมพี ครั้งนั้นแล พระเจ้าอุเทนได้เสด็จไปหาท่าน พระบิณโฑลภารทวาชะ ทรงสนทนาปราศรัยกับท่านพระบิณโฑลภารทวาชะ ครั้น ผ่านการสนทนาปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันแล้ว จึงประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ตรัสถามท่านพระบิณโฑลภารทวาชะว่า ท่านภารทวาชะผู้เจริญ เหตุ ปัจจัยอะไรหนอแล เป็นเครื่องให้ภิกษุทั้งหลายเหล่านี้ผู้ยังเป็นหนุ่มแรกรุ่น มีผม ดำสนิท เป็นหนุ่มแน่น อยู่ในปฐมวัย ยังไม่หมดความระเริงในกามทั้งหลาย ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์จนตลอดชีวิต และปฏิบัติอยู่ได้นาน ท่าน พระบิณโฑลภารทวาชะทูลตอบว่า ขอถวายพระพร พระผู้มีพระภาคผู้รู้ ผู้เห็น เป็น พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ตรัสไว้ดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอ ทั้งหลายจงมาตั้งจิตว่าเป็นมารดา ในสตรีปูนมารดา เธอทั้งหลายจงตั้งจิตว่าเป็น พี่สาวน้องสาว ในสตรีปูนพี่สาวน้องสาว เธอทั้งหลายจงตั้งจิตว่าเป็นธิดา ในสตรี ปูนธิดา ขอถวายพระพร ข้อนี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ภิกษุเหล่านี้ผู้ยังเป็นหนุ่ม แรกรุ่น มีผมดำสนิท เป็นหนุ่มแน่น อยู่ในปฐมวัย ผู้ยังไม่หมดความระเริงใน กามทั้งหลาย ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์จนตลอดชีวิต และปฏิบัติอยู่ได้ นาน ฯ [๑๙๖] อุ. ท่านภารทวาชะผู้เจริญ จิตเป็นธรรมชาติโลเลบางคราว ธรรมคือ ความโลภทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้นในเหล่าสตรีปูนมารดาก็มี ปูนพี่สาว น้องสาวก็มี ปูนธิดาก็มี มีไหมหนอ ท่านภารทวาชะ ข้ออื่นที่เป็นเหตุเป็นปัจจัย ให้ภิกษุเหล่านี้ผู้ยังเป็นหนุ่ม แรกรุ่น มีผมดำสนิท เป็นหนุ่มแน่น อยู่ในปฐมวัย ยังไม่หมดความระเริงในกามทั้งหลาย ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์จน ตลอดชีวิตและปฏิบัติอยู่ได้นาน ฯ บิ. ขอถวายพระพร พระผู้มีพระภาคผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมา- *สัมพุทธเจ้า พระองค์ตรัสไว้ดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมาพิจารณา กายนี้แหละ เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงมา อันมีหนังหุ้มอยู่ โดยรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่า มีอยู่ในกายนี้ คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ น้ำมูตร ดังนี้ ขอ ถวายพระพร แม้ข้อนี้ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ภิกษุเหล่านี้ผู้ยังเป็นหนุ่ม แรกรุ่น มีผมดำสนิท เป็นหนุ่มแน่น อยู่ในปฐมวัย ผู้ยังไม่หมดความระเริงในกาม ทั้งหลาย ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์จนตลอดชีวิตและปฏิบัติอยู่ได้นาน ฯ [๑๙๗] อุ. ท่านภารทวาชะผู้เจริญ ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้มีกายอันอบรม แล้ว เป็นผู้มีศีลอันอบรมแล้ว เป็นผู้มีจิตอันอบรมแล้ว เป็นผู้มีปัญญาอันอบรม แล้ว การอบรมกายเป็นต้นนั้น ไม่เป็นกิจอันภิกษุเหล่านั้นทำได้โดยยาก ส่วน ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้มีกายยังไม่ได้อบรมแล้ว เป็นผู้มีศีลยังไม่ได้อบรมแล้ว เป็นผู้ มีจิตยังไม่ได้อบรมแล้ว เป็นผู้มีปัญญายังไม่ได้อบรมแล้ว การอบรมกายเป็นต้นนั้น เป็นกิจอันภิกษุเหล่านั้นทำได้โดยยาก ท่านภารทวาชะผู้เจริญ บางคราวเมื่อบุคคล ตั้งใจอยู่ว่า เราจักทำไว้ในใจโดยความเป็นของไม่งาม แต่อารมณ์ย่อมมาโดย ความเป็นของงามก็มี มีไหมหนอแล ท่านภารทวาชะผู้เจริญ ข้ออื่นที่เป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้ภิกษุเหล่านี้ ผู้ยังเป็นหนุ่ม แรกรุ่น มีผมดำสนิท เป็นหนุ่มแน่น อยู่ในปฐมวัย ผู้ยังไม่หมดความระเริงในกามทั้งหลาย ประพฤติพรหมจรรย์ บริสุทธิ์บริบูรณ์จนตลอดชีวิตและปฏิบัติอยู่ได้นาน ฯ บิ. ขอถวายพระพร พระผู้มีพระภาคผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมา- *สัมพุทธเจ้า พระองค์ได้ตรัสไว้ดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมาเถิด เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลายอยู่เถิด เธอทั้งหลาย เห็นรูปด้วยตาแล้ว จงอย่าเป็นผู้ถือเอาโดยนิมิต อย่าเป็นผู้ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ จงปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว เป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จงรักษาจักขุนทรีย์ จงถึงความสำรวมใน จักขุนทรีย์ เธอทั้งหลายฟังเสียงด้วยหูแล้ว... สูดกลิ่นด้วยจมูกแล้ว ... ลิ้มรส ด้วยลิ้นแล้ว... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว... รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว อย่าได้เป็นผู้ถือเอาโดยนิมิต อย่าได้เป็นผู้ถือเอาโดยอนุพยัญชนะจงปฏิบัติเพื่อ ความสำรวมมนินทรีย์ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว เป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จงรักษามนินทรีย์ จงถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ขอถวายพระพร แม้ข้อนี้ ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ภิกษุเหล่านี้ผู้ยังเป็นหนุ่ม แรกรุ่น มีผมดำสนิท เป็นหนุ่มแน่น อยู่ในปฐมวัย ผู้ยังไม่หมดความระเริงในกาม ทั้งหลาย ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์จนตลอดชีวิตและปฏิบัติอยู่ได้นาน ฯ [๑๙๘] อุ. น่าอัศจรรย์ ท่านภารทวาชะผู้เจริญ ไม่เคยมีแล้ว ท่าน ภารทวาชะผู้เจริญ ตามกำหนดธรรมปริยายนี้ อันพระผู้มีพระภาคผู้รู้ ผู้เห็น เป็น พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสดีแล้ว ท่านภารทวาชะผู้เจริญ ข้อนี้แล เป็น เหตุเป็นปัจจัยให้ภิกษุเหล่านี้ผู้ยังเป็นหนุ่ม แรกรุ่น มีผมดำสนิท เป็นหนุ่มแน่น อยู่ในปฐมวัย ยังเป็นผู้ไม่หมดความระเริงในกามทั้งหลาย ประพฤติพรหมจรรย์ บริสุทธิ์บริบูรณ์จนตลอดชีวิตและปฏิบัติอยู่ได้นาน ท่านภารทวาชะผู้เจริญ ใน สมัยใด แม้ข้าพเจ้าเอง มีกายมิได้รักษาแล้ว มีวาจามิได้รักษาแล้ว มีจิตมิได้ รักษาแล้ว มีสติมิได้ตั้งไว้แล้ว มีอินทรีย์ทั้งหลายมิได้สำรวมแล้ว เข้าไปสู่ฝ่ายใน ในสมัยนั้น ธรรม คือ ความโลภทั้งหลายย่อมครอบงำข้าพเจ้ายิ่งนัก ท่าน ภารทวาชะผู้เจริญ แต่ว่า ในสมัยใดแล ข้าพเจ้ามีกายอันรักษาแล้ว มีวาจาอัน รักษาแล้ว มีจิตอันรักษาแล้ว มีสติอันตั้งไว้แล้ว มีอินทรีย์ทั้งหลายอันสำรวมแล้ว เข้าไปสู่ฝ่ายใน ในสมัยนั้น ธรรม คือ ความโลภทั้งหลายไม่ครอบงำข้าพเจ้า ท่านภารทวาชะผู้เจริญ ภาษิตของท่านแจ่มแจ้งนัก ท่านภารทวาชะผู้เจริญ ภาษิต ของท่านแจ่มแจ้งนัก ท่านภารทวาชะประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือน หงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปไว้ในที่มืด ด้วยหวังว่า ผู้มีจักษุจะเห็นรูปได้ ฉะนั้น ท่านภารทวาชะผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอถึง พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นกับทั้งพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นที่พึ่ง ขอท่าน ภารทวาชะจงจำข้าพเจ้าว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งจนตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปเถิด ฯ
จบสูตรที่ ๔
โสณสูตร
[๑๙๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ครั้งนั้นแล บุตรแห่งคฤหบดีชื่อว่า โสณะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ เหตุปัจจัยอะไรหนอแล เป็นเครื่องให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ไม่ปรินิพพาน ในปัจจุบัน และเหตุปัจจัยอะไร เป็นเครื่องให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ปรินิพพาน ในปัจจุบัน พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า มีอยู่แล คฤหบดีบุตร ฯลฯ (เหมือน สูตรที่ ๑ ข้อที่ ๑๙๑ และ ๑๙๒)
จบสูตรที่ ๕
โฆสิตสูตร
[๒๐๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ พระวิหารโฆสิตาราม ใกล้ พระนครโกสัมพี ครั้งนั้นแล โฆสิตคฤหบดีเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ฯลฯ ครั้นแล้ว ได้ถามพระอานนท์ว่า ข้าแต่ท่านพระอานนท์ผู้เจริญ ที่เรียกว่าความ แตกต่างแห่งธาตุๆ ดังนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสความแตกต่างแห่งธาตุไว้ด้วยเหตุมี ประมาณเท่าไรหนอแล ท่านพระอานนท์ตอบว่า ดูกรคฤหบดี มีอยู่แล จักขุธาตุ รูปอันน่าพอใจและจักขุวิญญาณ สุขเวทนาย่อมบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะ อัน เป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา มีอยู่แล คฤหบดี จักขุธาตุ รูปอันไม่น่าพอใจและจักขุ วิญญาณ ทุกขเวทนาย่อมบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา มีอยู่แล คฤหบดี จักขุธาตุ รูปอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาและจักขุวิญญาณ อทุก- *ขมสุขเวทนา ย่อมบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา มีอยู่แล คฤหบดี โสตธาตุ ... ฆานธาตุ ... ชิวหาธาตุ ... กายธาตุ ... มโนธาตุ ธรรมารมณ์อันน่าพอใจและมโนวิญญาณ สุขเวทนาย่อมบังเกิดขึ้นเพราะ อาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา มีอยู่แล คฤหบดี มโนธาตุ ธรรมารมณ์ อันไม่น่าพอใจ และมโนวิญญาณ ทุกขเวทนาย่อมบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา มีอยู่แล คฤหบดี มโนธาตุ ธรรมารมณ์อันเป็น ที่ตั้งแห่งอุเบกขาและมโนวิญญาณ อทุกขมสุขเวทนาย่อมบังเกิดขึ้นเพราะอาศัย ผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ดูกรคฤหบดี พระผู้มีพระภาคได้ตรัส ความต่างแห่งธาตุไว้ ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้ ฯ
จบสูตรที่ ๖
หาลิททกานิสูตร
[๒๐๑] สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัจจายนะอยู่ที่เรือนสกุล ใกล้สังปวัตต- *บรรพต ในอวันตีชนบท ครั้งแล หาลิททกานิคฤหบดีเข้าไปหาท่านพระ มหากัจจายนะถึงที่อยู่ ฯลฯ ครั้นแล้ว ได้ถามท่านพระมหากัจจายนะว่า พระผู้ เป็นเจ้าผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ดังนี้ว่า ความต่างกันแห่งเวทนาย่อม บังเกิดขึ้น เพราะอาศัยความต่างกันแห่งผัสสะ ดังนี้ พระผู้เป็นเจ้าผู้เจริญ ความ ต่างกันแห่งผัสสะย่อมบังเกิดขึ้น เพราะอาศัยความต่างกันแห่งธาตุ ความต่างกัน แห่งเวทนาย่อมบังเกิดขึ้น เพราะอาศัยความต่างกันแห่งผัสสะ อย่างไรหนอแล ฯ [๒๐๒] ท่านพระมหากัจจายนะตอบว่า ดูกรคฤหบดี ภิกษุในธรรมวินัย นี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้วย่อมรู้ชัดว่า รูปอย่างนี้น่าพอใจ สุขเวทนาย่อมบังเกิดขึ้น เพราะอาศัยจักขุวิญญาณและผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา อนึ่ง ภิกษุเห็นรูป ด้วยจักษุอย่างนั้นแล้วย่อมรู้ชัดว่า รูปอย่างนี้ไม่น่าพอใจ ทุกขเวทนาย่อมบังเกิด ขึ้นเพราะอาศัยจักขุวิญญาณและผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา อีกประการ หนึ่ง ภิกษุเห็นรูปด้วยจักษุอย่างนั้นแล้ว ย่อมรู้ชัดว่ารูปอย่างนี้เป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา อทุกขมสุขเวทนาย่อมบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุวิญญาณและผัสสะ อันเป็นที่ตั้ง แห่งอทุกขมสุขเวทนา ดูกรคฤหบดี อีกประการหนึ่ง ภิกษุฟังเสียงด้วยหูแล้ว... สูดกลิ่นด้วยจมูกแล้ว ... ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว ... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ... รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมรู้ชัดว่า ธรรมารมณ์อย่างนี้น่าพอใจ สุขเวทนา ย่อมบังเกิดขึ้น เพราะอาศัยมโนวิญญาณและผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา อนึ่ง ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจอย่างนี้แล้ว ย่อมรู้ชัดว่า ธรรมารมณ์นี้ไม่น่า พอใจ ทุกขเวทนาย่อมบังเกิดขึ้น เพราะอาศัยมโนวิญญาณและผัสสะ อันเป็นที่ตั้ง แห่งทุกขเวทนา อีกประการหนึ่ง ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจอย่างนี้แล้ว ย่อม รู้ชัดว่า ธรรมารมณ์อย่างนี้เป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา อทุกขมสุขเวทนาย่อมบังเกิดขึ้น เพราะอาศัยมโนวิญญาณและผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ดูกร คฤหบดี ความต่างกันแห่งผัสสะย่อมบังเกิดขึ้น เพราะอาศัยความต่างกันแห่งธาตุ ความต่างกันแห่งเวทนาย่อมบังเกิดขึ้น เพราะอาศัยความต่างกันแห่งผัสสะ ด้วย ประการอย่างนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๗
นกุลปิตุสูตร
[๒๐๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ เภสกฬาวัน อันเป็น ที่พระราชทานอภัยแก่มฤค ใกล้สุงสุมารคิรินคร ในภัคคชนบท ครั้งนั้นแล นกุลบิดาคฤหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้ว ได้ทูลถาม พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหตุปัจจัยอะไรหนอแล เป็นเครื่องให้ สัตว์บางพวกในโลกนี้ไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน เหตุปัจจัยอะไร เป็นเครื่องให้ สัตว์บางพวกในโลกนี้ปรินิพพานในปัจจุบัน พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า มีอยู่แล คฤหบดี ฯลฯ (เหมือนสูตรที่ ๑ ข้อที่ ๑๙๒) ฯ [๒๐๔] อนึ่ง มีอยู่แล คฤหบดี ฯลฯ (เหมือนสูตรที่ ๑ ข้อที่ ๑๙๑ และ ๑๙๒) ฯ
จบสูตรที่ ๘
โลหิจจสูตร
[๒๐๕] สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัจจายนะอยู่ ณ อรัญญกุฎี ใกล้ มักกรกฏนคร ในอวันตีชนบท ครั้งนั้นแล พวกมาณพผู้เที่ยวหาฟืนเป็นอันมาก ซึ่งเป็นอันเตวาสิกของโลหิจจพราหมณ์ ได้พากันเข้าไปยังอรัญญกุฎีของท่านพระ มหากัจจายนะ ครั้นแล้วพากันเดินตามกันไปมา เที่ยวตามกันไปรอบๆ กุฎีเล่น เสเลยยกกีฬามีเสียงเอ็ดอึงอึกทึกอยู่ว่า อันสมณะโล้นเหล่านี้เป็นเชื้อแถวคฤหบดี เป็นชั้นเลว เป็นเหล่ากอเกิดแต่เท้าแห่งพรหม อันชาวแว่นแคว้นเหล่านี้สักการะ เคารพ นับถือ บูชา ยำเกรง ดังนี้ ฯ ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัจจายนะออกจากวิหารแล้ว ได้กล่าวกะมาณพ เหล่านั้นว่า ดูกรมาณพทั้งหลาย พวกเธออย่าได้ส่งเสียงไป เราจักกล่าวธรรม ให้เธอทั้งหลายฟัง เมื่อท่านพระมหากัจจายนะกล่าวอย่างนี้แล้ว มาณพเหล่านั้นก็ ได้พากันนิ่งอยู่ ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัจจายนะได้กล่าวกะมาณพเหล่านั้นด้วย คาถาทั้งหลายว่า ฯ [๒๐๖] พราหมณ์เหล่าใด ย่อมระลึกถึงธรรมของพราหมณ์ ดั้งเดิมได้ พราหมณ์เหล่านั้นเป็นผู้สูงสุดโดยศีล เป็นผู้ก่อน กว่า ทวารทั้งหลายย่อมเป็นอันพราหมณ์เหล่านั้นคุ้มครองแล้ว รักษาดีแล้ว เพราะครอบงำความโกรธเสียได้ พราหมณ์ เหล่าใด ระลึกถึงธรรมของพราหมณ์ดั้งเดิมได้ พราหมณ์ เหล่านั้นเป็นผู้ประพฤติในธรรม (กุศลกรรมบถ) และใน ฌาน พราหมณ์เหล่าใดละเลยธรรมข้อนี้เสีย เป็นผู้เมาด้วย โคตรว่า พวกเราผู้อันความโกรธครอบงำแล้ว ผู้มีอาชญา ในตนมากมาย ผู้ประพฤติผิดในสัตว์ทั้งหลาย ทั้งที่สดุ้งและ มั่นคง จึงประพฤติไม่สม่ำเสมอ การสมาทานวัตรทั้งปวง คือ การไม่กิน การนอนบนหนาม การอาบน้ำในเวลาเช้า และพระเวท ๓ ของบุคคลผู้ไม่คุ้มครองทวาร เป็นการเปล่า ผล เหมือนของปลื้มใจอันบุรุษได้แล้วในความฝันฉะนั้น การ กล่าวสรรเสริญบริขารภัณฑ์เหล่านี้ คือ หนังเสือทั้งเล็บ ชะฎา การหมักหมมมูลฟัน มนต์ ศีลพรตที่กล่าวว่าเป็นตบะ การ ล่อลวง ไม้เท้าอันคด และการประพรมน้ำที่กล่าวว่าเป็น ความรู้ของพวกพราหมณ์ เป็นการบำเพ็ญเพื่ออามิส อันพวก พราหมณ์ทำแล้ว ส่วนจิตอันตั้งมั่นดีแล้ว อันผ่องใส ไม่ หม่นหมอง ไม่เหี้ยมโหดในสัตว์ทั้งปวง ข้อนั้นเป็นทางแห่ง การถึงความเป็นพรหม ฯ [๒๐๗] ครั้งนั้นแล มาณพเหล่านั้นขัดเคือง ไม่พอใจ ได้พากัน เข้าไปหาโลหิจจพราหมณ์ถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว ได้กล่าวกะโลหิจจพราหมณ์ว่า ขอ ท่านผู้เจริญพึงทราบเถิด พระสมณมหากัจจายนะค่อนว่า คัดค้านมนต์ของพราหมณ์ ทั้งหลายโดยส่วนเดียว เมื่อมาณพเหล่านั้นกล่าวแล้วอย่างนี้ โลหิจจพราหมณ์ ก็ขัดเคือง ไม่พอใจ ลำดับนั้น โลหิจจพราหมณ์จึงคิดดังนี้ว่า การที่เราพึงด่า พึงเหน็บแนม พึงบริภาษพระสมณมหากัจจายนะ เพราะเชื่อฟังคำของมาณพเป็น แน่นอนนี้ ไม่สมควรแก่เราเลย อย่ากระนั้นเลย เราไปหาแล้วถามดูเถิด ครั้ง นั้นแล โลหิจจพราหมณ์กับมาณพเหล่านั้นได้เข้าไปหาท่านพระมหากัจจายนะถึงที่ อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระมหากัจจายนะ ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไป แล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ถามท่านพระมหากัจจายนะว่า ท่านกัจจายนะผู้เจริญ พวกมาณพผู้เที่ยวหาฟืนเป็นอันมาก ซึ่งเป็นอันเตวาสิกของ ข้าพเจ้า ได้มาแล้วในที่นี้หรือหนอแล ท่านพระมหากัจจายนะตอบว่า ดูกรพราหมณ์ พวกมาณพผู้เที่ยวหาฟืนเป็นอันมาก ซึ่งเป็นอันเตวาสิกของท่าน ได้มาแล้วใน ที่นี้ ฯ โล. ท่านกัจจายนะผู้เจริญได้ปราศรัยอะไรกับมาณพเหล่านั้นบ้างหรือ ฯ ก. ดูกรพราหมณ์ อาตมาได้ปราศรัยกับมาณพเหล่านั้นแล ฯ โล. ก็ท่านกัจจายนะผู้เจริญได้ปราศรัยกับมาณพเหล่านั้นอย่างไรเล่า ฯ ก. ดูกรพราหมณ์ อาตมาได้ปราศรัยกับมาณพเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ฯ พราหมณ์เหล่าใด ย่อมระลึกถึงธรรมของพราหมณ์ดั้งเดิมได้ พราหมณ์เหล่านั้นเป็นผู้สูงสุดโดยศีล เป็นผู้ก่อนกว่า ฯลฯ ข้อนั้นเป็นทางแห่งการถึงความเป็นพรหม ฯ ดูกรพราหมณ์ อาตมาได้ปราศรัยกับมาณพเหล่านั้นอย่างนี้แล ฯ โล. ท่านกัจจายนะผู้เจริญได้กล่าวว่า ผู้มีทวารอันไม่คุ้มครองแล้ว ดังนี้ ท่านกัจจายนะผู้เจริญ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรหนอแล บุคคลจึงชื่อว่าเป็นผู้มี ทวารอันไม่คุ้มครองแล้ว ฯ ก. ดูกรพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อม ยินดีในรูปที่น่ารัก ย่อมยินร้ายในรูปที่ไม่น่ารัก มีสติอันไม่เข้าไปตั้งไว้แล้ว มีจิต มีอารมณ์อันน้อยอยู่ และย่อมไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ ตามความเป็นจริง โดยประการที่อกุศลธรรมทั้งหลายอันลามกเหล่านั้นบังเกิดขึ้นแล้วแก่บุคคลนั้น ไม่ ดับไปหาส่วนเหลือมิได้ ฟังเสียงด้วยหูแล้ว ... สูดกลิ่นด้วยจมูกแล้ว ... ลิ้มรส ด้วยลิ้นแล้ว... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว... รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมยินดีในธรรมารมณ์อันน่ารัก ย่อมยินร้ายในธรรมารมณ์อันไม่น่ารัก มีสติอัน ไม่เข้าไปตั้งไว้แล้ว มีจิตมีอารมณ์อันน้อยอยู่ และไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญา วิมุติ ตามความเป็นจริง โดยประการที่อกุศลธรรมทั้งหลายอันลามกบังเกิดขึ้นแล้ว แก่บุคคลนั้น ไม่ดับไปโดยหาส่วนเหลือมิได้ ดูกรพราหมณ์ บุคคลเป็นผู้มีทวารอัน ไม่คุ้มครองแล้ว ด้วยประการอย่างนี้แล ฯ [๒๐๘] ข้าแต่ท่านกัจจายนะผู้เจริญ ข้อที่ท่านกัจจายนะผู้เจริญกล่าว บุคคลเป็นผู้มีทวารอันไม่คุ้มครองแล้วว่า ผู้มีทวารอันไม่คุ้มครองแล้วนี้ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมี ท่านกัจจายนะผู้เจริญได้กล่าวว่า ผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้ว ดังนี้ ด้วย เหตุมีประมาณเท่าไรหนอแล บุคคลจึงชื่อว่าเป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้ว ฯ ดูกรพราหมณ์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมไม่ยินดี ในรูปที่น่ารัก ไม่ยินร้ายในรูปที่ไม่น่ารัก มีสติอันเข้าไปตั้งไว้แล้ว มีจิตมีอารมณ์ หาประมาณมิได้อยู่ และย่อมรู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ ตามความเป็นจริง โดยประการที่อกุศลธรรมทั้งหลายอันลามกบังเกิดขึ้นแล้วแก่ภิกษุนั้น ดับไปโดย หาส่วนเหลือมิได้ ฟังเสียงด้วยหูแล้ว ... สูดกลิ่นด้วยจมูกแล้ว ... ลิ้มรสด้วยลิ้น แล้ว... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว... รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมไม่ ยินดีในธรรมารมณ์ที่น่ารัก ย่อมไม่ยินร้ายในธรรมารมณ์ที่ไม่น่ารัก มีสติอันเข้า ไปตั้งไว้แล้ว มีจิตมีอารมณ์หาประมาณมิได้อยู่ และย่อมรู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญา วิมุติ ตามความเป็นจริง โดยประการที่อกุศลธรรมทั้งหลายอันลามกบังเกิดขึ้นแล้ว แก่ภิกษุนั้น ดับไปโดยหาส่วนเหลือมิได้ ดูกรพราหมณ์ ภิกษุเป็นผู้มีทวารอัน คุ้มครองแล้ว ด้วยประการอย่างนี้แล ฯ [๒๐๙] ข้าแต่ท่านกัจจายนะผู้เจริญ ข้อที่ท่านกัจจายนะผู้เจริญกล่าว บุคคลเป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วว่า เป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วนี้ น่า อัศจรรย์ ไม่เคยมี ข้าแต่ท่านกัจจายนะผู้เจริญ ภาษิตของท่านแจ่มแจ้งนัก ข้า แต่ท่านกัจจายนะผู้เจริญ ภาษิตของท่านแจ่มแจ้งนัก ข้าแต่ท่านกัจจายนะผู้เจริญ ท่านกัจจายนะประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ เปิด ของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยหวังว่า ผู้มีจักษุ จักเห็นรูปได้ ฉะนั้น ข้าแต่ท่านกัจจายนะผู้เจริญ ข้าพเจ้านี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น กับทั้งพระธรรมและภิกษุสงฆ์เป็นสรณะ ขอท่านกัจจายนะผู้เจริญ จงจำข้าพเจ้าว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้ เป็นต้นไป อนึ่ง ขอท่านกัจจายนะผู้เจริญจงเข้าไปสู่โลหิจจสกุล เหมือนอย่างที่ ท่านกัจจายนะผู้เจริญเข้าไปสู่สกุลอุบาสกทั้งหลายในมักกรกฏนครเถิด มาณพ ทั้งหลายหรือมาณวิกาทั้งหลายเหล่าใดในโลหิจจสกุลนั้น จักกราบไหว้ จักลุกขึ้น ต้อนรับท่านกัจจายนะผู้เจริญ หรือจักนำอาสนะ จักถวายน้ำแก่ท่านกัจจายนะผู้ เจริญ สามีจิกรรม มีการกราบไหว้เป็นต้นนั้นจักมีเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อ ความสุขตลอดกาลนาน แก่มาณพหรือมาณวิกาเหล่านั้น ฯ
จบสูตรที่ ๙
เวรหัญจานีสูตร
[๒๑๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระอุทายีอยู่ ณ สวนมะม่วงของโตเทยย- *พราหมณ์ ใกล้กามัณฑานคร ครั้งนั้นแล มาณพผู้เป็นศิษย์ของนางพราหมณีผู้เป็น เวรหัญจานิโคตร ได้เข้าไปหาท่านพระอุทายีถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระอุทายี ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้น แล้ว ท่านพระอุทายียังมาณพนั้นให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริง ด้วยธรรมีกถา ครั้งนั้นแล มาณพผู้อันท่านพระอุทายีให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว ลุกขึ้นจากอาสนะเข้าไปหานางพราหมณี เวรหัญจานิโคตรถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าวกะนางพราหมณีเวรหัญจานิโคตรว่า ขอ แม่เจ้าผู้เจริญพึงทราบเถิด พระสมณะอุทายีแสดงธรรมไพเราะในเบื้องต้น ไพเราะ ในท่ามกลาง ไพเราะในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้ง พยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ สิ้นเชิง ดังนี้ นางพราหมณีเวรหัญจานิโคตรกล่าวว่า แน่ะมาณพ ถ้าอย่างนั้นเธอจงนิมนต์พระสมณะอุทายีตามคำของฉันด้วยภัตอันจะมี ในวันพรุ่งนี้ด้วยเถิด มาณพนั้นรับคำของนางพราหมณีเวรหัญจานิโคตรแล้ว เข้า ไปหาท่านอุทายีถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าวกะท่านพระอุทายีว่า ได้ยินว่า ขอท่านอุทายี ผู้เจริญจงรับภัตเพื่อภัตตกิจอันจะมีในวันพรุ่งนี้ ของนางพราหมณีเวรหัญจานิโคตร ผู้เป็นอาจารย์ของข้าพเจ้าเถิด ท่านพระอุทายีได้รับนิมนต์ด้วยดุษณีภาพ ครั้งนั้น แล โดยกาลล่วงไปแห่งราตรีนั้น ในเวลาเช้า ท่านพระอุทายีนุ่งแล้ว ถือบาตรและ จีวรเข้าไปยังนิเวศของนางพราหมณีเวรหัญจานิโคตร แล้วนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาด ไว้แล้ว ครั้งนั้นแล นางพราหมณีเวรหัญจานิโคตรยังท่านพระอุทายีให้อิ่มหนำ สำราญ ด้วยขาทนียโภชนียหารอันประณีต ด้วยมือของตนเองแล้ว ทราบว่า ท่านพระอุทายีผู้ฉันแล้ว ลดมือจากบาตรแล้ว ได้สวมเขียงเท้านั่งบนอาสนะอัน สูง คลุมศีรษะแล้ว ได้กล่าวกะท่านพระอุทายีว่า ท่านสมณะ ขอท่านจงกล่าว ธรรม ท่านพระอุทายีกล่าวว่า น้องหญิง เวลาจักมี ดังนี้แล้ว ลุกขึ้นจากอาสนะ แล้วหลีกไป ฯ [๒๑๑] แม้ครั้งที่สอง มาณพนั้นได้เข้าไปหาท่านพระอุทายีถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระอุทายี ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ท่านพระอุทายีได้ยังมาณพนั้นให้เห็นแจ้ง ให้ สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว มาณพนั้นผู้อันท่านพระอุทายี ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว ได้ลุกขึ้น จากอาสนะ เข้าไปหานางพราหมณีเวรหัญจานิโคตรถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าวกะ นางพราหมณีเวรหัญจานิโคตรว่า ขอแม่เจ้าผู้เจริญพึงทราบเถิด พระสมณะอุทายี แสดงธรรมไพเราะในเบื้องต้น ไพเราะในท่ามกลาง ไพเราะในที่สุด ประกาศ พรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง นาง พราหมณีเวรหัญจานิโคตรกล่าวว่า แน่ะมาณพ ก็เธอกล่าวคุณของพระสมณะอุทายี อย่างนี้ๆ พระสมณะอุทายีผู้อันฉันกล่าวแล้วว่า ท่านสมณะ ขอท่านจงกล่าว ธรรม ดังนี้ กล่าวว่า น้องหญิง เวลาจักมี ดังนี้แล้ว ก็ลุกขึ้นจากอาสนะหลีก ไปเสีย มาณพนั้นกล่าวว่า ข้าแต่แม่เจ้าผู้เจริญ ที่เป็นอย่างนั้นก็เพราะว่า แม่เจ้า สวมเขียงเท้า นั่งบนอาสนะสูง คลุมศีรษะแล้วได้กล่าวดังนี้ว่า พระสมณะ ขอท่าน จงกล่าวธรรม ด้วยว่าท่านผู้เจริญเหล่านั้นเป็นผู้หนักในธรรม เป็นผู้เคารพธรรม นางพราหมณีเวรหัญจานิโคตรกล่าวว่า แน่ะมาณพ ถ้าเช่นนั้น เธอจงนิมนต์พระ สมณะอุทายีตามคำของเรา ด้วยภัตเพื่อภัตตกิจอันจะมีในวันพรุ่งนี้ มาณพนั้นรับ คำของนางพราหมณีเวรหัญจานิโคตรแล้ว ได้เข้าไปหาท่านพระอุทายีถึงที่อยู่ ครั้น แล้วได้กล่าวกะท่านพระอุทายีว่า ได้ยินว่า ขอท่านพระอุทายีผู้เจริญจงรับภัตเพื่อ ภัตตกิจอันจะมีในวันพรุ่งนี้ของนางพราหมณีเวรหัญจานิโคตร ผู้เป็นอาจารย์ของ ข้าพเจ้าดังนี้ ท่านพระอุทายีรับนิมนต์ด้วยดุษณีภาพ ครั้งนั้นแล โดยล่วงไปแห่ง ราตรีนั้น ในเวลาเช้า ท่านพระอุทายีนุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวร เข้าไปยังนิเวศน์ ของนางพราหมณีเวรหัญจานิโคตร นั่งบนอาสนะอันเขาปูลาดไว้แล้ว ครั้งนั้น แล นางพราหมณีเวรหัญจานิโคตรยังท่านพระอุทายีให้อิ่มหนำสำราญด้วยขาทนีย โภชนียาหารอันประณีต ด้วยมือของตนเองแล้ว ทราบว่า ท่านพระอุทายีฉันเสร็จ แล้ว ลดมือจากบาตรแล้ว ได้ถอดเขียงเท้า นั่งบนอาสนะต่ำ เปิดศีรษะแล้ว ได้กล่าวกะท่านพระอุทายีว่า ท่านเจ้าข้า เมื่ออะไรหนอแล มีอยู่ พระอรหันต์ ทั้งหลายจึงบัญญัติสุขและทุกข์ เมื่ออะไรไม่มี พระอรหันต์ทั้งหลายจึงไม่บัญญัติสุข และทุกข์ ฯ [๒๑๒] ท่านพระอุทายีตอบว่า ดูกรน้องหญิง เมื่อจักษุแลมีอยู่ พระอรหันต์ทั้งหลายจึงบัญญัติสุขและทุกข์ เมื่อจักษุไม่มีพระอรหันต์ทั้งหลายจึงไม่ บัญญัติสุขและทุกข์ ฯลฯ เมื่อใจมีอยู่ พระอรหันต์ทั้งหลายจึงบัญญัติสุขและทุกข์ เมื่อใจไม่มี พระอรหันต์ทั้งหลายจึงไม่บัญญัติสุขและทุกข์ ฯ เมื่อท่านพระอุทายีกล่าวอย่างนี้แล้ว นางพราหมณีเวรหัญจานิโคตรได้ กล่าวกะท่านพระอุทายีว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ภาษิตของท่านแจ่มแจ้งนัก ข้าแต่ท่าน ผู้เจริญ ภาษิตของท่านแจ่มแจ้งนัก ข้าแต่ท่านอุทายีผู้เจริญ ดิฉันนี้ขอถึงพระผู้มี พระภาคพระองค์นั้น กับทั้งพระธรรม และพระภิกษุสงฆ์เป็นสรณะ ขอพระคุณเจ้า อุทายีจงจำดิฉันไว้ว่าเป็นอุบาสิกาผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่บัดนี้ เป็นต้นไป ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
จบคหปติวรรคที่ ๓
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. เวสาลีสูตร ๒. วัชชีสูตร ๓. นาฬันทาสูตร ๔. ภารทวาชสูตร ๕. โสณสูตร ๖. โฆสิตสูตร ๗. หาลิททกานิสูตร ๘. นกุลปิตุสูตร ๙. โลหิจจสูตร ๑๐. เวรหัญจานิสูตร
-----------------------------------------------------
เทวทหวรรคที่ ๔
เทวทหสูตร
[๒๑๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมชื่อว่าเทวทหะ ของสากยราชทั้งหลาย ในสักกชนบท ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสกะภิกษุ ทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวว่า ความไม่ประมาทในผัสสายตนะ ๖ อันภิกษุทั้งปวงเทียวควรทำ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แต่เราไม่กล่าวว่า ความไม่ ประมาทในผัสสายตนะ ๖ อันภิกษุทั้งปวงเทียวไม่ควรทำ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใดเป็นอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลง ภาระลงแล้ว มีประโยชน์ตนอันบรรลุโดยลำดับแล้ว มีสังโยชน์ในภพหมดสิ้นแล้ว เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้โดยชอบ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ความไม่ ประมาทในผัสสายตนะ ๖ อันภิกษุเหล่านั้นไม่ควรทำ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะเหตุว่า ความไม่ประมาทของภิกษุเหล่านั้น ไม่ควรแล้วเพื่อประมาทได้อีก เพราะความไม่ประมาทนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แต่ว่าภิกษุเหล่าใด ยังเป็นเสขะ ยังไม่บรรลุอรหัตผล ปรารถนาธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่ง กว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ความไม่ประมาทในผัสสายตนะ ๖ อันภิกษุ เหล่านั้นควรทำ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะเหตุว่า รูปทั้งหลายอันจะพึงรู้แจ้ง ด้วยจักษุ อันเป็นที่รื่นรมย์ใจก็มี อันไม่เป็นที่รื่นรมย์ใจก็มี รูปเหล่านั้นถูกต้อง แล้วๆ ย่อมไม่กลุ้มรุมจิตของบุคคลผู้ไม่ประมาทตั้งอยู่ เพราะการไม่ถูกกลุ้มรุม จิต ความเพียรเป็นคุณอันบุคคลนั้นปรารภแล้ว ไม่ให้ย่อหย่อน สติเป็นธรรมชาติ อันบุคคลนั้นเข้าไปตั้งไว้แล้ว ไม่ให้หลงลืม กายสงบ ไม่กระสับกระส่าย จิตตั้ง มั่น มีอารมณ์อันเดียว ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราเห็นผลแห่งความไม่ประมาทนี้แล จึงกล่าวว่า ความไม่ประมาทในผัสสายตนะ ๖ อันภิกษุเหล่านั้นควรทำ ฯลฯ ธรรมารมณ์อันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจอันเป็นที่รื่นรมย์ใจก็มี อันไม่เป็นที่รื่นรมย์ใจก็มี ธรรมารมณ์เหล่านั้นถูกต้องแล้วๆ ย่อมไม่กลุ้มรุมจิตของบุคคลผู้ไม่ประมาทตั้งอยู่ เพราะการไม่กลุ้มรุมจิต ความเพียรเป็นคุณอันบุคคลนั้นปรารภแล้ว ไม่ให้ย่อ หย่อน สติเป็นธรรมชาติอันบุคคลนั้นเข้าไปตั้งไว้แล้ว ไม่ให้หลงลืม กายสงบ ไม่กระสับกระส่าย จิตตั้งมั่น มีอารมณ์อันเดียว ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราเห็นผล แห่งความไม่ประมาทนี้แล จึงกล่าวว่า ความไม่ประมาทในผัสสายตนะ ๖ อัน ภิกษุเหล่านั้นควรทำ ฯ
จบสูตรที่ ๑
ขณสูตร
[๒๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เป็นลาภของเธอทั้งหลายแล้ว เธอทั้งหลาย ได้ดีแล้ว ขณะเพื่อการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ เธอทั้งหลายได้เฉพาะแล้ว ดูกร ภิกษุทั้งหลาย นรกชื่อว่าผัสสายตนิกะ ๖ อันเราเห็นแล้ว ในผัสสายตนิก- *นรกนั้น สัตว์จะเห็นรูปอะไรๆ ด้วยจักษุ ก็ย่อมเห็นแต่รูปอันไม่น่าปรารถนา ย่อม ไม่เห็นรูปอันน่าปรารถนา ย่อมเห็นแต่รูปไม่น่าใคร่ ย่อมไม่เห็นรูปอันน่าใคร่ ย่อม เห็นแต่รูปอันไม่น่าพอใจ ย่อมไม่เห็นรูปอันน่าพอใจ จะฟังเสียงอะไรๆ ด้วยหู... จะดมกลิ่นอะไรๆ ด้วยจมูก... จะลิ้มรสอะไรๆ ด้วยลิ้น... จะถูกต้อง โผฏฐัพพะอะไรๆ ด้วยกาย... จะรู้แจ้งธรรมารมณ์อะไรๆ ด้วยใจ ก็ย่อมรู้แจ้ง แต่ธรรมารมณ์อันไม่น่าปรารถนา ย่อมไม่รู้แจ้งธรรมารมณ์อันน่าปรารถนา ย่อมรู้ แจ้งแต่ธรรมารมณ์อันไม่น่าใคร่ ย่อมไม่รู้แจ้งธรรมารมณ์อันน่าใคร่ ย่อมรู้แจ้งแต่ ธรรมารมณ์อันไม่น่าพอใจ ย่อมไม่รู้แจ้งธรรมารมณ์อันน่าพอใจ [๒๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เป็นลาภของเธอทั้งหลายแล้ว เธอทั้งหลาย ได้ดีแล้ว ขณะเพื่อการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ เธอทั้งหลายได้เฉพาะแล้ว ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สวรรค์ชื่อว่า ผัสสายตนิกะ ๖ ชั้น เราได้เห็นแล้ว ในผัสสายต- *นิกสวรรค์นั้น บุคคลจะเห็นรูปอะไรๆ ด้วยจักษุ ก็ย่อมเห็นแต่รูปอันน่าปรารถนา ย่อมไม่เห็นรูปอันไม่น่าปรารถนา ย่อมเห็นแต่รูปอันน่าใคร่ ย่อมไม่เห็นรูปอันไม่น่า ใคร่ ย่อมเห็นแต่รูปอันน่าพอใจ ย่อมไม่เห็นรูปอันไม่น่าพอใจ ฯลฯ จะรู้แจ้ง ธรรมารมณ์อะไรๆ ด้วยใจ ก็ย่อมรู้แจ้งแต่ธรรมารมณ์อันน่าปรารถนา ย่อมไม่รู้ แจ้งธรรมารมณ์อันไม่น่าปรารถนา ย่อมรู้แจ้งแต่ธรรมารมณ์ที่น่าใคร่ ย่อมไม่รู้แจ้ง ธรรมารมณ์ที่ไม่น่าใคร่ ย่อมรู้แจ้งแต่ธรรมารมณ์อันน่าพอใจ ย่อมไม่รู้แจ้งธรรมารมณ์ อันไม่น่าพอใจ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เป็นลาภของเธอทั้งหลายแล้ว เธอทั้งหลายได้ดี แล้ว ขณะเพื่อการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ เธอทั้งหลายได้เฉพาะแล้ว ฯ
จบสูตรที่ ๒
ปัคคัยหสูตรที่ ๑
[๒๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์เป็นผู้มีรูปเป็นที่มายินดี เป็นผู้ยินดีแล้วในรูป เป็นผู้เพลิดเพลินแล้วในรูป เพราะรูปแปรปรวน คลายไป และดับไป เทวดาและมนุษย์ย่อมอยู่เป็นทุกข์ เทวดาและมนุษย์เป็นผู้มีเสียงเป็น ที่มายินดี ... เป็นผู้มีกลิ่นเป็นที่มายินดี ... เป็นผู้มีรสเป็นที่มายินดี ... เป็นผู้มี โผฏฐัพพะเป็นที่มายินดี ... เป็นผู้มีธรรมารมณ์เป็นที่มายินดี เป็นผู้ยินดีแล้วใน ธรรมารมณ์ เป็นผู้เพลิดเพลินแล้วในธรรมารมณ์ เพราะธรรมารมณ์แปรปรวน คลาย ไปและดับไป เทวดาและมนุษย์ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนตถาคต ผู้เป็นอรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบ รู้แจ้งแล้วซึ่งความเกิดขึ้น ความดับไป คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งรูปทั้งหลาย ตามความเป็นจริง ไม่เป็นผู้มีรูปเป็น ที่มายินดี ไม่เป็นผู้ยินดีแล้วในรูป ไม่เป็นผู้เพลิดเพลินแล้วในรูป เพราะรูปแปร ปรวน คลายไปและดับไป ตถาคตย่อมอยู่เป็นสุข ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตผู้ เป็นอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ รู้แจ้งแล้วซึ่งความเกิดขึ้นความดับไป คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งเสียง ... กลิ่น ... รส ... โผฏฐัพพะ ... ธรรมารมณ์ ตามความเป็นจริง ย่อมไม่เป็นผู้มีธรรมารมณ์เป็นที่มายินดี ไม่เป็นผู้ ยินดีแล้วในธรรมารมณ์ ไม่เป็นผู้เพลิดเพลินแล้วในธรรมารมณ์ เพราะธรรมารมณ์ แปรปรวนไป คลายไปและดับไป ตถาคตก็ย่อมอยู่เป็นสุข ฯ ครั้นพระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ได้ตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้จบลงแล้ว จึง ได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปว่า ฯ [๒๑๗] รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ ทั้งสิ้น อันน่าปรารถนา น่าใคร่และน่าพอใจ ที่กล่าวกันว่ามีอยู่ ประมาณเท่าใด รูปารมณ์เป็นต้นเหล่านั้นนั่นแล เป็นสิ่งอัน ชาวโลกพร้อมทั้งเทวโลก สมมติว่าเป็นสุข ถ้าว่ารูปารมณ์เป็น ต้นเหล่านั้นดับไปในที่ใด ที่นั้น เทวดา และมนุษย์เหล่านั้น สมมติว่าเป็นทุกข์ ส่วนว่าพระอริยะเจ้าทั้งหลาย เห็นการดับ สักกายะ (รูปารมณ์เป็นต้นที่บุคคลถือว่าเป็นของตน) ว่าเป็น สุข การเห็นของพระอริยะเจ้าทั้งหลายผู้เห็นอยู่นี้ ย่อมเป็น ข้าศึกกับชาวโลกทั้งปวง บุคคลเหล่าอื่นกล่าวสิ่งใดว่าเป็นสุข พระอริยะเจ้าทั้งหลายกล่าวสิ่งนั้นว่าเป็นทุกข์ บุคคลเหล่าอื่น กล่าวสิ่งใดว่าเป็นทุกข์ พระอริยะเจ้าทั้งหลายรู้แจ้งสิ่งนั้นว่า เป็นสุข เธอจงเห็นธรรมที่รู้ได้ยาก คนพาลผู้หลง ไม่รู้แจ้ง ในนิพพานนี้ ความมืดย่อมมีแก่บุคคลผู้ถูกนิวรณ์หุ้มห่อ เหมือน ความมัวมนย่อมมีแก่บุคคลผู้ไม่เห็น นิพพานย่อมมีแก่ สัตบุรุษ เหมือนแสงสว่างย่อมมีแก่บุคคลผู้เห็น ชนทั้งหลาย แสวงหา ไม่ฉลาดในธรรม ย่อมไม่รู้แจ้งนิพพานอันมีในที่ ใกล้ ธรรมนี้อันบุคคลผู้ถูกความกำหนัดในภพครอบงำ ผู้ แล่นไปตามกระแสตัณหาในภพ ผู้อันบ่วงแห่งมารท่วมทับ ไม่ตรัสรู้ได้ง่าย ใครหนอ เว้นจากพระอริยะเจ้าทั้งหลายแล้ว ย่อมควรเพื่อจะตรัสรู้นิพพานบท ที่พระอริยะเจ้าทั้งหลายรู้โดย ชอบ เป็นผู้ไม่มีอาสวะปรินิพพาน ฯ
จบสูตรที่ ๓
ปัคคัยหสูตรที่ ๒
[๒๑๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์เป็นผู้มีรูปเป็นที่มายินดี เป็นผู้ยินดีแล้วในรูป เป็นผู้เพลิดเพลินแล้วในรูป เพราะรูปแปรปรวน คลายไป และดับไป เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายย่อมอยู่เป็นทุกข์ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้มีเสียงเป็นที่มายินดี ... เป็นผู้มีกลิ่นเป็นที่มายินดี ... เป็นผู้มีรสเป็นที่มายินดี ... เป็นผู้มีโผฏฐัพพะเป็นที่มายินดี... เป็นผู้มีธรรมารมณ์เป็นที่มายินดี เป็นผู้ยินดี แล้วในธรรมารมณ์ เป็นผู้เพลิดเพลินแล้วในธรรมารมณ์ เพราะธรรมารมณ์ แปรปรวน คลายไปและดับไป เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายย่อมอยู่เป็นทุกข์ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ส่วนตถาคตผู้อรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบ รู้แจ้งแล้วซึ่งความเกิดขึ้น ความดับไป คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งรูปทั้งหลาย ไม่เป็น ผู้มีรูปเป็นที่มายินดี ไม่เป็นผู้ยินดีแล้วในรูป ไม่เป็นผู้เพลิดเพลินแล้วในรูป เพราะรูปแปรปรวน คลายไปและดับไป ตถาคตย่อมอยู่เป็นสุข ตถาคตผู้อรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ รู้แจ้งแล้วซึ่งความเกิดขึ้น ความดับไป คุณ โทษ และอุบาย เครื่องสลัดออกแห่งเสียง ... แห่งกลิ่น ... แห่งรส ... แห่งโผฏฐัพพะ ... แห่ง ธรรมารมณ์ ตามความเป็นจริง ไม่เป็นผู้มีธรรมารมณ์เป็นที่มายินดี ไม่เป็นผู้ยินดี แล้วในธรรมารมณ์ ไม่เป็นผู้เพลิดเพลินแล้วในธรรมารมณ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะธรรมารมณ์แปรปรวนไป คลายไปและดับไป ตถาคตก็ย่อมอยู่เป็นสุข ฯ
จบสูตรที่ ๔
อัคคัยหสูตรที่ ๑
[๒๑๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงละสิ่งนั้นเสีย สิ่งนั้นอันเธอทั้งหลายละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์ เกื้อกูล เพื่อความสุข ดูกรภิกษุทั้งหลาย อะไรเล่าไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย ดูกร ภิกษุทั้งหลาย จักษุไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละจักษุนั้นเสีย จักษุนั้น อันเธอทั้งหลายละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข หู ... จมูก ... ลิ้น ... กาย ... ใจ ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละใจนั้นเสีย ใจนั้นอันเธอทั้งหลายละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชนพึงนำหญ้า กิ่งไม้และใบไม้ที่มีอยู่ในเชตวันนี้ไป หรือพึงเผา หรือพึงทำตามสมควรแก่เหตุ เธอทั้งหลายพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ชนนำพวกเราไป หรือเผา หรือทำพวกเราตามสมควรแก่เหตุ ดังนี้บ้างหรือหนอ ภิกษุเหล่านั้น กราบทูลว่า หาเป็นดังนั้นไม่ พระเจ้าข้า ฯ พ. ข้อนั้น เพราะเหตุอะไร ภิ. เพราะเหตุว่า หญ้าเป็นต้นนั้นมิได้เป็นตน หรือเป็นของเนื่องด้วยตน ของข้าพระองค์ทั้งหลายเลย พระเจ้าข้า พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล จักษุไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละจักษุนั้นเสีย จักษุนั้นอันเธอทั้งหลายละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อ ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข หู ... จมูก ... ลิ้น ... กาย ... ใจ ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละใจนั้นเสีย ใจนั้นอันเธอทั้งหลายละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อ ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ฯ
จบสูตรที่ ๕
อัคคัยหสูตรที่ ๒
[๒๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงละสิ่งนั้นเสีย สิ่งนั้นอันเธอทั้งหลายละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ดูกรภิกษุทั้งหลาย อะไรเล่าไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย รูปไม่ใช่ของ เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละรูปนั้นเสีย รูปนั้นอันเธอทั้งหลายละได้แล้ว จักเป็น ไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข เสียง... กลิ่น... รส... โผฏฐัพพะ... ธรรมารมณ์ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละธรรมารมณ์นั้นเสีย ธรรมารมณ์ นั้นอันเธอทั้งหลายละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชนพึงนำหญ้า กิ่งไม้และใบไม้ที่มีอยู่ในเชตวันนี้ไป หรือพึงเผา หรือพึงทำตามสมควรแก่เหตุ เธอทั้งหลายพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ชนนำพวกเราไป หรือเผา หรือทำตามสมควรแก่เหตุ ดังนี้ บ้างหรือหนอ ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลว่า หาเป็นดั่งนั้นไม่ พระเจ้าข้า ฯ พ. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ภิ. เพราะเหตุว่า หญ้าเป็นต้นนั้นมิได้เป็นตน หรือเป็นของเนื่องด้วยตน ของข้าพระองค์ทั้งหลายเลย พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล รูปไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละรูปนั้นเสีย รูปนั้นอันเธอทั้งหลายละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อ ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข เสียง... กลิ่น... รส... โผฏฐัพพะ... ธรรมารมณ์ ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละธรรมารมณ์นั้นเสีย ธรรมารมณ์นั้นอันเธอ ทั้งหลายละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ฯ
จบสูตรที่ ๖
เหตุอัชฌัตตสูตรที่ ๑
[๒๒๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็นของไม่เที่ยง แม้เหตุและปัจจัย เพื่อความเกิดขึ้นแห่งจักษุนั้นก็ไม่เที่ยง จักษุอันเกิดแต่เหตุที่ไม่เที่ยง ที่ไหนจัก เที่ยงเล่า ฯลฯ ใจเป็นของไม่เที่ยง แม้เหตุและปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งใจนั้น ก็ไม่เที่ยง ใจอันเกิดแต่เหตุที่ไม่เที่ยง ที่ไหนจักเที่ยงเล่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ แม้ในหู แม้ใน จมูก แม้ในลิ้น แม้ในกาย แม้ในใจ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะ คลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่น เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ
จบสูตรที่ ๗
เหตุอัชฌัตตสูตรที่ ๒
[๒๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็นทุกข์ แม้เหตุและปัจจัยเพื่อความ เกิดขึ้นแห่งจักษุนั้นก็เป็นทุกข์ จักษุอันเกิดแต่เหตุที่เป็นทุกข์ ที่ไหนจักเป็นสุขเล่า ฯลฯ ใจเป็นทุกข์ แม้เหตุและปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งใจก็เป็นทุกข์ ใจอันเกิด แต่เหตุที่เป็นทุกข์ ที่ไหนจักเป็นสุขเล่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ แล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ แม้ในหู แม้ในจมูก แม้ในลิ้น แม้ในกาย แม้ในใจ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึง หลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้น แล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็น อย่างนี้มิได้มี ฯ [๒๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็นอนัตตา แม้เหตุและปัจจัยเพื่อ ความเกิดขึ้นแห่งจักษุก็เป็นอนัตตา จักษุอันเกิดแต่เหตุที่เป็นอนัตตา ที่ไหนจักเป็น อัตตาเล่า ฯลฯ ใจเป็นอนัตตา แม้เหตุและปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งใจก็เป็น อนัตตา ที่ไหนจักเป็นอัตตาเล่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็น อยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ แม้ในหู แม้ในจมูก แม้ในลิ้น แม้ในกาย แม้ในใจ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อ หลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ
จบสูตรที่ ๘
เหตุพาหิรสูตรที่ ๑
[๒๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นของไม่เที่ยง แม้เหตุและปัจจัย เพื่อความเกิดขึ้นแห่งรูปก็ไม่เที่ยง รูปอันเกิดแต่เหตุที่ไม่เที่ยง ที่ไหนจัก เที่ยงเล่า เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์เป็นของไม่เที่ยง แม้เหตุ และปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งธรรมารมณ์ก็ไม่เที่ยง ธรรมารมณ์อันเกิดแต่เหตุที่ ไม่เที่ยง ที่ไหนจักเที่ยงเล่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วเห็นอยู่ อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป แม้ในเสียง แม้ในกลิ่น แม้ในรส แม้ใน โผฏฐัพพะ แม้ในธรรมารมณ์ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลาย กำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความ เป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ [๒๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นทุกข์ แม้เหตุและปัจจัยเพื่อความ เกิดขึ้นแห่งรูปก็เป็นทุกข์ รูปอันเกิดแต่เหตุที่เป็นทุกข์ ที่ไหนจักเป็นสุขเล่า เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์เป็นทุกข์ แม้เหตุและปัจจัยเพื่อความ เกิดขึ้นแห่งธรรมารมณ์ก็เป็นทุกข์ ธรรมารมณ์อันเกิดแต่เหตุที่เป็นทุกข์ ที่ไหนจัก เป็นสุขเล่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อ หน่ายแม้ในรูป แม้ในเสียง แม้ในกลิ่น แม้ในรส แม้ในโผฏฐัพพะ แม้ใน ธรรมารมณ์ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี ฯ
จบสูตรที่ ๙
เหตุพาหิรสูตรที่ ๒
[๒๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา แม้เหตุและปัจจัยเพื่อความ เกิดขึ้นแห่งรูปก็เป็นอนัตตา รูปอันเกิดแต่เหตุที่เป็นอนัตตา ที่ไหนจักเป็นอัตตา เล่า เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา แม้เหตุและปัจจัย เพื่อความเกิดขึ้นแห่งธรรมารมณ์ก็เป็นอนัตตา ธรรมารมณ์อันเกิดแต่เหตุที่เป็น อนัตตาที่ไหนจักเป็นอัตตาเล่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป แม้ในเสียง แม้ในกลิ่น แม้ในรส แม้ในโผฏฐัพพะ แม้ในธรรมารมณ์ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะ คลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อ ความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
จบเทวทหวรรคที่ ๔
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. เทวทหสูตร ๒. ขณสูตร ๓. ปัคคัยหสูตรที่ ๑ ๔. ปัคคัยหสูตร ที่ ๒ ๕. อัคคัยหสูตรที่ ๑ ๖. อัคคัยหสูตรที่ ๒ ๗. เหตุอัชฌัตตสูตรที่ ๑ ๘. เหตุอัชฌัตตสูตรที่ ๒ ๙. เหตุพาหิรสูตรที่ ๑ ๑๐. เหตุพาหิรสูตรที่ ๒ ฯ
-----------------------------------------------------
นวปุราณวรรคที่ ๕
กรรมสูตร
[๒๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงกรรมทั้งใหม่และเก่า ความดับ แห่งกรรม และปฏิปทาอันเป็นเครื่องให้ถึงความดับแห่งกรรม ท่านทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมเก่าเป็นไฉน จักษุอันบัณฑิต พึงเห็นว่าเป็นกรรมเก่า อันปัจจัยทั้งหลายปรุงแต่งแล้ว สำเร็จด้วยเจตนา เป็น ที่ตั้งแห่งเวทนา หู ... จมูก ... ลิ้น ... กาย ... ใจอันบัณฑิตพึงเห็นว่าเป็นกรรมเก่า อัน ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว สำเร็จด้วยเจตนา เป็นที่ตั้งแห่งเวทนา ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า กรรมเก่า ฯ [๒๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมใหม่เป็นไฉน กรรมที่บุคคลทำด้วย กาย วาจา ใจ ในบัดนี้ นี้เราเรียกว่า กรรมใหม่ ฯ [๒๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับแห่งกรรมเป็นไฉน นิโรธที่ถูกต้อง วิมุตติ เพราะความดับแห่งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม นี้เราเรียกว่า ความดับ แห่งกรรม ฯ [๒๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาอันเป็นเครื่องให้ถึงความดับแห่งกรรม เป็นไฉน อริยมรรคมีองค์ ๘ ประการ คือ สัมมาทิฏฐิ ๑ สัมมาสังกัปปะ ๑ สัมมาวาจา ๑ สัมมากัมมันตะ ๑ สัมมาอาชีวะ ๑ สัมมาวายามะ ๑ สัมมาสติ ๑ สัมมาสมาธิ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ปฏิปทาอันเป็นเครื่องให้ถึงความ ดับกรรม ฯ [๒๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กรรมเก่า กรรมใหม่ ความดับแห่งกรรม และปฏิปทาอันเป็นเครื่องให้ถึงความดับกรรม เราได้แสดงแล้วแก่ท่านทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้แล กิจใดแล อันเราผู้ศาสดา ผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ผู้ อนุเคราะห์แก่สาวกทั้งหลาย พึงทำ กิจนั้นเราทำแล้วเพราะอาศัยความอนุเคราะห์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่างเปล่า เธอทั้งหลายจงพยายาม อย่า ประมาท อย่าได้เป็นผู้มีความเดือดร้อนใจในภายหลัง นี้เป็นอนุศาสนีของเราเพื่อ เธอทั้งหลาย ฯ
จบสูตรที่ ๑
สัปปายสูตรที่ ๑
[๒๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจะแสดงปฏิปทาอันเป็นอุปการะแก่นิพพาน แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาอันเป็นอุปการะ แก่นิพพานนั้นเป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมเห็นว่า จักษุไม่เที่ยง รูปทั้งหลาย ไม่เที่ยง จักษุวิญญาณไม่เที่ยง จักษุสัมผัสไม่เที่ยง แม้สุขเวทนา ทุกข์เวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยง ฯลฯ ภิกษุ ในศาสนานี้ ย่อมเห็นว่า ใจไม่เที่ยง ธรรมารมณ์ไม่เที่ยง มโนวิญญาณไม่เที่ยง มโนสัมผัสไม่เที่ยง แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยง ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นปฏิปทาอันเป็น อุปการะแก่นิพพาน ฯ
จบสูตรที่ ๒
สัปปายสูตรที่ ๒
[๒๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปฏิปทาอันเป็นอุปการะแก่ นิพพานแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาอัน เป็นอุปการะแก่นิพพานนั้นเป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ เห็นว่า จักษุเป็นทุกข์ รูปเป็น ทุกข์ จักษุวิญญาณเป็นทุกข์ จักษุสัมผัสเป็นทุกข์ แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นทุกข์ ฯลฯ ภิกษุใน ศาสนานี้ เห็นว่า ใจเป็นทุกข์ ธรรมารมณ์เป็นทุกข์ มโนวิญญาณเป็นทุกข์ มโนสัมผัสเป็นทุกข์ แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิด ขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลปฏิปทาอันเป็น อุปการะแก่นิพพาน ฯ
จบสูตรที่ ๓
สัปปายสูตรที่ ๓
[๒๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปฏิปทาอันเป็นอุปการะแก่ นิพพานแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาอัน เป็นอุปการะแก่นิพพานนั้นเป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ เห็นว่า จักษุเป็นอนัตตา รูปเป็นอนัตตา จักษุวิญญาณเป็นอนัตตา จักษุสัมผัสเป็นอนัตตา แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็น อนัตตา ฯลฯ ภิกษุในศาสนานี้ เห็นว่า ใจเป็นอนัตตา ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา มโนวิญญาณเป็นอนัตตา มโนสัมผัสเป็นอนัตตา แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นอนัตตา ดูกร ภิกษุทั้งหลาย นี้แลปฏิปทาอันเป็นอุปการะแก่นิพพาน ฯ
จบสูตรที่ ๔
สัปปายสูตรที่ ๔
[๒๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปฏิปทาอันเป็นอุปการะแก่นิพพาน แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาอันเป็นอุปการะ แก่นิพพานนั้นเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจักสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน จักษุเที่ยงหรือไม่เที่ยง ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. รูป... จักษุวิญญาณ... จักษุสัมผัส... แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือสุขเล่า ฯ ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯลฯ พ. ใจเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ธรรมารมณ์... มโนวิญญาณ... มโนสัมผัส... แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยง หรือไม่เที่ยง ฯ ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อม เบื่อหน่ายแม้ในจักษุ แม้ในรูป แม้ในจักษุวิญญาณ แม้ในจักษุสัมผัส แม้ใน สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในใจ แม้ในธรรมารมณ์ แม้ในมโนวิญญาณ แม้ใน มโนสัมผัส แม้ในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะ มโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติ สิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็น อย่างนี้มิได้มี ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นปฏิปทาอันเป็นอุปการะแก่นิพพาน ฯ
จบสูตรที่ ๕
อนันเตวาสิกานาจริยสูตร
[๒๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอยู่ประพฤติพรหมจรรย์นี้อันไม่มีอัน เตวาสิก ไม่มีอาจารย์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังมีอันเตวาสิก ยังมีอาจารย์ อยู่เป็นทุกข์ ไม่สำราญ ส่วนภิกษุไม่มีอันเตวาสิก ไม่มีอาจารย์ อยู่เป็นสุข สำราญ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุยังมีอันเตวาสิก ยังมีอาจารย์ ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ไม่สำราญเป็นไฉน ธรรมทั้งหลายอันเป็นบาป เป็นอกุศล คือ ความดำริอันฟุ้งซ่าน อันเป็นเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพ ย่อมบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุในศาสนานี้ เพราะ เห็นรูปด้วยจักษุ อกุศลธรรมเหล่านั้นย่อมสิงอยู่ภายในของภิกษุนั้น เพราะอกุศล ธรรมสิงอยู่ภายในของภิกษุนั้น เหตุนั้น เราจึงเรียกภิกษุนั้นว่า มีอันเตวาสิก เพราะ อกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้นย่อมครอบงำภิกษุนั้น เหตุนั้นเราจึงเรียกภิกษุนั้นว่า มีอาจารย์ อีกประการหนึ่ง อกุศลธรรมอันลามก คือ ความดำริอันฟุ้งซ่าน เป็น เครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุ เพราะฟังเสียงด้วยหู ... เพราะ สูดกลิ่นด้วยจมูก ... เพราะลิ้มรสด้วยลิ้น ... เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ... เพราะรู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจ อกุศลธรรมเหล่านั้นสิงอยู่ภายในของภิกษุนั้น เพราะ อกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้นสิงอยู่ภายในของภิกษุนั้น เหตุนั้น เราจึงเรียกภิกษุ นั้นว่า มีอันเตวาสิก เพราะอกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้นย่อมครอบงำภิกษุนั้น เหตุนั้นเราจึงเรียกภิกษุนั้นว่า มีอาจารย์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีอันเตวาสิก มีอาจารย์ ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ไม่สำราญ อย่างนี้แล ฯ [๒๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้ไม่มีอันเตวาสิก ไม่มีอาจารย์ ย่อม อยู่เป็นสุข สำราญอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย อกุศลธรรมอันลามก คือ ความดำริ ที่ฟุ้งซ่าน เป็นเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพ ไม่เกิดขึ้นแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ อกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้น ไม่สิงอยู่ในภายในของภิกษุ นั้น เพราะอกุศลธรรมอันลามกไม่สิงอยู่ในภายในของภิกษุนั้น เหตุนั้น เราจึง เรียกภิกษุนั้นว่า ไม่มีอันเตวาสิก เพราะอกุศลธรรมอันลามกไม่ครอบงำภิกษุนั้น เหตุนั้น เราจึงเรียกภิกษุนั้นว่า ไม่มีอาจารย์ อกุศลธรรมอันลามก คือ ความดำริ อันฟุ้งซ่าน เป็นเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพ ย่อมไม่เกิดขึ้นแก่ภิกษุ เพราะ ฟังเสียงด้วยหู ... เพราะสูดกลิ่นด้วยจมูก ... เพราะลิ้มรสด้วยลิ้น ... เพราะถูก ต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ... เพราะรู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจ อกุศลธรรมอันลามก เหล่านั้น ไม่สิงอยู่ในภายในของภิกษุนั้น เพราะอกุศลธรรมอันลามกไม่สิงอยู่ ในภายในของภิกษุนั้น เหตุนั้น เราจึงเรียกภิกษุนั้นว่า ไม่มีอันเตวาสิก เพราะ อกุศลธรรมอันลามกไม่ครอบงำภิกษุนั้น เหตุนั้น เราจึงเรียกภิกษุนั้นว่า ไม่มี อาจารย์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่มีอันเตวาสิก ไม่มีอาจารย์ ย่อมอยู่เป็นสุข สำราญ ด้วยประการอย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ อันไม่มีอันเตวาสิก ไม่มีอาจารย์ ดังนี้ ภิกษุผู้มีอันเตวาสิก มีอาจารย์ ย่อมอยู่ เป็นทุกข์ ไม่สำราญ (ส่วน) ผู้ไม่มีอันเตวาสิก ไม่มีอาจารย์ ย่อมอยู่เป็นสุข สำราญ ดังนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๖
ติตถิยสูตร
[๒๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าว่าพวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์พึงถามพวก เธออย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย พวกท่านอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักพระสมณ- *โคดมเพื่อประสงค์อะไร พวกเธอเมื่อถูกถามอย่างนี้ พึงพยากรณ์แก่พวกเขา อย่างนี้ว่า พวกเราอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักพระผู้มีพระภาค เพื่อกำหนด รู้ทุกข์ ก็ถ้าพวกเขาถามอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ก็ทุกข์ที่ท่านทั้งหลาย อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักพระสมณโคดมเพื่อกำหนดรู้นั้น เป็นไฉน พวก เธอพึงพยากรณ์แก่พวกเขาอย่างนี้ว่า พวกเราอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักพระ ผู้มีพระภาค เพื่อกำหนดรู้ทุกข์ คือ จักษุ ทุกข์ คือ รูป ทุกข์ คือ จักษุวิญญาณ ทุกข์ คือ จักษุสัมผัส ทุกข์ คือสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ พวกเราอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ในสำนักพระผู้มีพระภาค เพื่อกำหนดรู้ทุกข์ คือ ใจ ทุกข์ คือธรรมารมณ์ ทุกข์ คือมโนวิญญาณ ทุกข์ คือมโนสัมผัส ทุกข์ คือสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ดูกรอาวุโส ทั้งหลาย พวกเธอเมื่อถูกถามอย่างนี้ พึงพยากรณ์แก่พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ เหล่านั้น อย่างนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๗
ปริยายสูตร
[๒๓๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุมีหรือหนอแล ที่จะให้ภิกษุอาศัย พยากรณ์อรหัตผล เว้นจากเชื่อผู้อื่น หรือเว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟัง ต่อๆ กันมา เว้นจากการนึกเดาเอาตามเหตุ เว้นจากการถือเอาใจความตามความเห็น ของตน ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จ แล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลายของพวกข้าพระองค์ มีพระผู้มีพระภาคเป็นต้นเดิม เป็น ผู้แนะนำ เป็นที่พึ่ง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอเนื้อความ แห่งภาษิตนี้จงแจ่มแจ้งกะพระผู้มีพระภาคเถิด ภิกษุทั้งหลายได้ฟังต่อพระผู้มีพระ- *ภาคแล้ว จักทรงจำไว้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น พวกเธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวบัดนี้ ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสพระ- *ผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุมีอยู่ ที่จะให้ ภิกษุอาศัยพยากรณ์อรหัตผล เว้นจากการเชื่อต่อผู้อื่น เว้นจากความชอบใจ เว้น จากการฟังต่อๆ กันมา เว้นจากการนึกเดาเอาตามเหตุ เว้นจากการถือเอาใจความ ตามความเห็นของตน ย่อมทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจ ที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ [๒๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เหตุที่จะให้ภิกษุอาศัยพยากรณ์อรหัตผล ฯลฯ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมรู้ชัดซึ่งราคะ โทสะและโมหะอันมีอยู่ในภายในว่าราคะ โทสะ และโมหะมีอยู่ในภายในของเรา ภิกษุเห็นรูปชนิดใดด้วยจักษุแล้ว ย่อมรู้ชัดซึ่งราคะ โทสะ และโมหะอันมีอยู่ใน ภายในว่า ราคะ โทสะ และโมหะมีอยู่ในภายในของเรา หรือรู้ชัดซึ่งราคะ โทสะ และโมหะอันไม่มีอยู่ในภายในว่า ราคะ โทสะ และโมหะไม่มีอยู่ในภายในของเรา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้พึงทราบด้วยการเชื่อต่อผู้อื่น พึงทราบด้วยความชอบ ใจ พึงทราบด้วยการฟังต่อๆ กันมา พึงทราบด้วยการนึกเดาเอาตามเหตุ หรือพึง ทราบด้วยการถือเอาใจความตามความเห็นของตนบ้างหรือหนอ ภิกษุเหล่านั้นกราบ ทูลว่า ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้พึงทราบได้เพราะเห็นด้วยปัญญา มิใช่หรือ ฯ ภิ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อนี้ก็เป็นเหตุให้ภิกษุอาศัยพยากรณ์อรหัตผล เว้นจากการเชื่อผู้อื่น เว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟังต่อๆ กันมา เว้นจาก การนึกเดาเอาตามเหตุ เว้นจากการถือเอาใจความตามความเห็นของตน ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความ เป็นอย่างนี้มิได้มี ฯลฯ [๒๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุลิ้มรสด้วยลิ้น ... [๒๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ ด้วยใจแล้ว ย่อมรู้ชัดซึ่งราคะ โทสะ และโมหะอันมีอยู่ในภายในว่า ราคะ โทสะ และโมหะมีอยู่ในภายในของเรา หรือย่อมรู้ชัดซึ่งราคะ โทสะ และโมหะอันไม่มี อยู่ในภายในว่า ราคะ โทสะ และโมหะไม่มีอยู่ในภายในของเรา ภิกษุรู้แจ้ง ธรรมารมณ์อย่างใดด้วยใจแล้ว ย่อมรู้ชัดซึ่งราคะ โทสะ และโมหะอันมีอยู่ในภาย ในว่า ราคะ โทสะ และโมหะมีอยู่ในภายในของเรา หรือย่อมรู้ชัดซึ่งราคะ โทสะ และโมหะอันไม่มีอยู่ในภายในว่า ราคะ โทสะ และโมหะไม่มีอยู่ในภายในของเรา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านั้นพึงทราบได้ด้วยการเชื่อต่อผู้อื่น ทราบได้ด้วยความ ชอบใจ ทราบได้ด้วยการฟังต่อๆ กันมา ทราบได้ด้วยการนึกเดาเอาตามเหตุ หรือพึงทราบได้ด้วยการถือเอาใจความตามความเห็นของตน บ้างหรือหนอ ฯ ภิ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ธรรมเหล่านี้พึงทราบได้เพราะเห็นด้วยปัญญามิใช่หรือ ฯ ภิ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อนี้ก็เป็นเหตุให้ภิกษุอาศัยพยากรณ์อรหัตผล เว้นจากการเชื่อต่อผู้อื่น เว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟังต่อๆ กันมา เว้น จากการนึกเดาเอาตามเหตุ เว้นจากการถือเอาใจความตามความเห็นของตน ย่อม รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่น เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ
จบสูตรที่ ๘
อินทรียสูตร
[๒๔๓] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่พระองค์ ตรัสว่า ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยอินทรีย์ๆ ดังนี้ ภิกษุเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอินทรีย์ด้วย เหตุเพียงเท่าไรหนอ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ ถ้าว่าภิกษุพิจารณาเห็น ความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในจักขุนทรีย์ ย่อมเบื่อหน่ายในจักขุนทรีย์ ฯลฯ พิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมในมนินทรีย์ ย่อมเบื่อหน่ายในมนินทรีย์ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุด พ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่ จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดูกรภิกษุ ภิกษุเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอินทรีย์ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๙
ธรรมกถิกสูตร
[๒๔๔] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า ภิกษุเป็นพระธรรมกถึกๆ ดังนี้ ภิกษุเป็นพระธรรมกถึกด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ ถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับจักษุ ควรเรียกได้ว่า ภิกษุเป็นพระธรรมกถึก ถ้าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับจักษุ ควรเรียกได้ว่า ภิกษุปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ถ้าเป็นผู้หลุดพ้นเพราะหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะดับ เพราะไม่ถือมั่นจักษุ ควรเรียกได้ว่า ภิกษุผู้บรรลุนิพพานในปัจจุบัน ฯลฯ ภิกษุแสดงธรรมเพื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับใจ ควรเรียกได้ว่า ภิกษุเป็นพระธรรมกถึก ถ้าเป็นผู้ ปฏิบัติเพื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับใจ ควรเรียกได้ว่า ภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติ ธรรมสมควรแก่ธรรม ถ้าเป็นผู้หลุดพ้นเพราะหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะ ดับ เพราะไม่ถือมั่นใจ ควรเรียกได้ว่า ภิกษุผู้บรรลุนิพพานในปัจจุบัน ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
จบนวปุราณวรรคที่ ๕
-----------------------------------------------------
รวมสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. กรรมสูตร ๒. สัปปายสูตรที่ ๑ ๓. สัปปายสูตรที่ ๒ ๔. สัปปาย- *สูตรที่ ๓ ๕. สัปปายสูตรที่ ๔ ๖. อนันเตวาสิกานาจริยสูตร ๗. ติตถิยสูตร ๘. ปริยายสูตร ๙. อินทรียสูตร ๑๐. ธรรมกถิกสูตร ฯ
-----------------------------------------------------
รวมวรรคในตติยปัณณาสก์นี้ คือ
๑. โยคักเขมิวรรค ๒. โลกกามคุณวรรค ๓. คหปติวรรค ๔. เทวทหวรรค ๕. นวปุราณวรรค ฯ
-----------------------------------------------------
นันทิขยวรรคที่ ๑
นันทิขยสูตรที่ ๑
[๒๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเห็นจักษุอันไม่เที่ยงนั่นแลว่า ไม่เที่ยง ความเห็นของภิกษุนั้น ชื่อว่าเป็นความเห็นชอบ เมื่อเห็นชอบย่อมเบื่อหน่าย เพราะสิ้นความเพลิดเพลิน จึงสิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะ จึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นความเพลิดเพลิน และราคะ เราจึงเรียกว่า จิตหลุดพ้นดีแล้ว ฯลฯ ภิกษุเห็นใจอันไม่เที่ยงนั่นแลว่า ไม่เที่ยง ความเห็นของภิกษุนั้น ชื่อว่าเป็นความ เห็นชอบ เมื่อเห็นชอบย่อมเบื่อหน่าย เพราะสิ้นความเพลิดเพลิน จึงสิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะ จึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นความเพลิดเพลินและราคะ เรา จึงเรียกว่า จิตหลุดพ้นดีแล้ว ฯ
จบสูตรที่ ๑
นันทิขยสูตรที่ ๒
[๒๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเห็นรูปอันไม่เที่ยงนั่นแลว่า ไม่เที่ยง ความเห็นของภิกษุนั้น ชื่อว่าเป็นความเห็นชอบ เมื่อเห็นชอบย่อมเบื่อหน่าย เพราะสิ้นความเพลิดเพลิน จึงสิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะ จึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นความเพลิดเพลินและราคะ เราจึงเรียกว่า จิตหลุดพ้นดีแล้ว ภิกษุเห็น เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ อันไม่เที่ยงนั่นแลว่า ไม่เที่ยง ความเห็น ของภิกษุนั้น ชื่อว่าเป็นความเห็นชอบ เมื่อเห็นชอบย่อมเบื่อหน่าย เพราะสิ้น ความเพลิดเพลิน จึงสิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะ จึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้น ความเพลิดเพลินและราคะ เราจึงเรียกว่า จิตหลุดพ้นดีแล้ว ฯ
จบสูตรที่ ๒
นันทิขยสูตรที่ ๓
[๒๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงใส่ใจถึงจักษุโดยอุบายอัน แยบคาย และจงพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งจักษุตามความเป็นจริง เมื่อใส่ใจถึง จักษุโดยอุบายอันแยบคาย และพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งจักษุตามความเป็น จริง ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ เพราะสิ้นความเพลิดเพลิน จึงสิ้นราคะ เพราะ สิ้นราคะ จึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นความเพลิดเพลินและราคะ เราจึง เรียกว่าจิตหลุดพ้นดีแล้ว ฯลฯ เธอทั้งหลายจงใส่ใจถึงใจ โดยอุบายอันแยบคาย และจงพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งใจตามความเป็นจริง เมื่อใส่ใจถึงใจ โดย อุบายอันแยบคาย และพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งใจตามความเป็นจริง ย่อม เบื่อหน่ายแม้ในใจ เพราะสิ้นความเพลิดเพลิน จึงสิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะ จึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นความเพลิดเพลินและราคะ เราจึงเรียกว่า จิตหลุดพ้นดีแล้ว ฯ
จบสูตรที่ ๓
นันทิขยสูตรที่ ๔
[๒๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงใส่ใจถึงรูปโดยอุบายอัน แยบคาย และจงพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งรูปตามความเป็นจริง เมื่อใส่ใจถึง รูปโดยอุบายอันแยบคาย และพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งรูปตามความเป็นจริง ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป เพราะสิ้นความเพลิดเพลิน จึงสิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะ จึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นความเพลิดเพลินและราคะ เราจึงเรียกว่า จิต หลุดพ้นดีแล้ว ฯลฯ เธอทั้งหลายจงใส่ใจถึงธรรมารมณ์โดยอุบายอันแยบคาย และจงพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งธรรมารมณ์ตามความเป็นจริง เมื่อใส่ใจถึง ธรรมารมณ์โดยอุบายอันแยบคาย และพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งธรรมารมณ์ ตามความเป็นจริง ย่อมเบื่อหน่ายในธรรมารมณ์ เพราะสิ้นความเพลิดเพลิน จึง สิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะ จึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นความเพลิดเพลิน และราคะ เราจึงเรียกว่า จิตหลุดพ้นดีแล้ว ฯ
จบสูตรที่ ๔
ชีวกัมพวนสูตรที่ ๑
[๒๔๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ชีวกัมพวันใกล้พระ- *นครราชคฤห์ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิ เพราะเมื่อภิกษุมีจิตตั้งมั่นแล้ว สิ่งทั้งปวง ย่อมปรากฏตามความเป็นจริง ก็อะไรเล่าปรากฏตามความเป็นจริง คือ จักษุย่อม ปรากฏตามความเป็นจริงว่า ไม่เที่ยง รูปย่อมปรากฏตามความเป็นจริงว่า ไม่เที่ยง จักษุวิญญาณย่อมปรากฏตามความเป็นจริงว่า ไม่เที่ยง จักษุสัมผัสย่อมปรากฏตาม ความเป็นจริงว่า ไม่เที่ยง แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ย่อมปรากฏตามความเป็นจริงว่า ไม่เที่ยง ฯลฯ ใจย่อมปรากฏตามความเป็นจริงว่า ไม่เที่ยง ธรรมารมณ์ย่อมปรากฏตาม ความเป็นจริงว่า ไม่เที่ยง มโนวิญญาณย่อมปรากฏตามความเป็นจริงว่า ไม่เที่ยง มโนสัมผัสย่อมปรากฏตามความเป็นจริงว่า ไม่เที่ยง แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ย่อมปรากฏตามความ เป็นจริงว่า ไม่เที่ยง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิ เพราะเมื่อ ภิกษุมีจิตตั้งมั่นแล้ว สิ่งทั้งปวงย่อมปรากฏตามความเป็นจริง ฯ
จบสูตรที่ ๕
ชีวกัมพวนสูตรที่ ๒
[๒๕๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ชีวกัมพวัน ใกล้ พระนครราชคฤห์ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงหลีกเร้นบำเพ็ญความเพียร เพราะเมื่อภิกษุหลีกเร้น อยู่ สิ่งทั้งปวงย่อมปรากฏตามความเป็นจริง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าย่อม ปรากฏตามความเป็นจริง คือ จักษุย่อมปรากฏตามความเป็นจริงว่า ไม่เที่ยง รูป ย่อมปรากฏตามความเป็นจริงว่า ไม่เที่ยง จักษุวิญญาณย่อมปรากฏตามความเป็น จริงว่า ไม่เที่ยง จักษุสัมผัสย่อมปรากฏตามความเป็นจริงว่า ไม่เที่ยง แม้สุข- *เวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็ย่อมปรากฏตามความเป็นจริงว่า ไม่เที่ยง ฯลฯ ใจย่อมปรากฏตามความเป็นจริงว่า ไม่เที่ยง ธรรมารมณ์ย่อมปรากฏตามความเป็นจริงว่า ไม่เที่ยง มโนวิญญาณย่อม ปรากฏตามความเป็นจริงว่า ไม่เที่ยง มโนสัมผัสย่อมปรากฏตามความเป็นจริงว่า ไม่เที่ยง แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะ มโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็ย่อมปรากฏตามความเป็นจริงว่า ไม่เที่ยง ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงหลีกเร้นบำเพ็ญความเพียร เพราะเมื่อภิกษุหลีกเร้นอยู่ สิ่งทั้งปวงย่อมปรากฏตามความเป็นจริง ฯ
จบสูตรที่ ๖
มหาโกฏฐิกสูตรที่ ๑
[๒๕๑] ครั้งนั้นแล ท่านพระมหาโกฏฐิกะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอพระองค์โปรดทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ที่ข้าพระองค์ฟังแล้ว พึงเป็นผู้หลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว เป็นผู้ไม่ประมาท มี ความเพียร มีตนส่งไปแล้วอยู่เถิด พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรโกฏฐิกะ สิ่งใด แล ไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้น ก็สิ่งอะไรเล่าไม่เที่ยง จักษุไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในจักษุนั้น รูปไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในรูปนั้น จักษุวิญญาณไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในจักษุวิญญาณนั้น จักษุสัมผัสไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในจักษุสัมผัสนั้น แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขม- *สุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจใน สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็น ปัจจัยนั้นเสีย หูไม่เที่ยง ... จมูกไม่เที่ยง... ลิ้นไม่เที่ยง... กายไม่เที่ยง... ใจ ไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในใจนั้น ธรรมารมณ์ไม่เที่ยง เธอพึงละความ พอใจในธรรมารมณ์นั้น มโนวิญญาณไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในมโน- *วิญญาณนั้น มโนสัมผัสไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในมโนสัมผัสนั้น แม้สุข เวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยนั้นเสีย ดูกรโกฏฐิกะ สิ่งใดไม่เที่ยง เธอ พึงละความพอใจในสิ่งนั้นเสีย ฯ
จบสูตรที่ ๗
มหาโกฏฐิกสูตรที่ ๒
[๒๕๒] ครั้งนั้นแล ท่านพระมหาโกฏฐิกะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง ที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอพระองค์โปรดทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ที่ข้าพระองค์ฟังแล้ว พึงเป็นผู้หลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว เป็นผู้ไม่ประมาท มี ความเพียร มีตนอันส่งไปแล้วอยู่เถิด พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรโกฏฐิกะ สิ่งใดแลเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้นเสีย ก็สิ่งอะไรเล่าเป็นทุกข์ จักษุแลเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในจักษุนั้น รูปเป็นทุกข์ เธอพึงละความ พอใจในรูปนั้น จักษุวิญญาณเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในจักษุวิญญาณนั้น จักษุสัมผัสเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในจักษุสัมผัสนั้น แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้น เพราะจักษุสัมผัสนั้นเสีย หูเป็นทุกข์... จมูกเป็นทุกข์... ลิ้นเป็นทุกข์... กาย เป็นทุกข์... ใจเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในใจนั้น ธรรมารมณ์เป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในธรรมารมณ์นั้น มโนวิญญาณเป็นทุกข์ เธอพึงละความ พอใจในมโนวิญญาณนั้น มโนสัมผัสเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในมโน- *สัมผัสนั้น แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะ มโนสัมผัสเป็นปัจจัยเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยนั้นเสีย ดูกรโกฏฐิกะ สิ่งใดแลเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้นเสีย ฯ
จบสูตรที่ ๘
มหาโกฏฐิกสูตรที่ ๓
[๒๕๓] ครั้งนั้นแล ท่านพระมหาโกฏฐิกะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง ที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอพระองค์โปรดทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ที่ข้าพระองค์ฟังแล้ว พึงเป็นผู้หลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว เป็นผู้ไม่ประมาท มี ความเพียร มีตนอันส่งไปแล้วอยู่เถิด พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรโกฏฐิกะ ก็ สิ่งใดแลเป็นอนัตตา เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้น ก็สิ่งอะไรเล่าเป็นอนัตตา ดูกรโกฏฐิกะ จักษุแลเป็นอนัตตา เธอพึงละความพอใจในจักษุนั้น รูปเป็น อนัตตา เธอพึงละความพอใจในรูปนั้น จักษุวิญญาณเป็นอนัตตา เธอพึงละความ พอใจในจักษุวิญญาณนั้น จักษุสัมผัสเป็นอนัตตา เธอพึงละความพอใจในจักษุ สัมผัสนั้น แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะจักษุ สัมผัสเป็นปัจจัยเป็นอนัตตา เธอพึงละความพอใจในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยนั้นเสีย หูเป็นอนัตตา... จมูกเป็นอนัตตา... ลิ้นเป็นอนัตตา... กายเป็นอนัตตา... ใจเป็นอนัตตา เธอพึง ละความพอใจในใจนั้น ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา เธอพึงละความพอใจในธรรมา- *รมณ์นั้น มโนวิญญาณเป็นอนัตตา เธอพึงละความพอใจในมโนวิญญาณนั้น มโนสัมผัสเป็นอนัตตา เธอพึงละความพอใจในมโนสัมผัสนั้น แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยเป็นอนัตตา เธอพึงละความพอใจในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้น เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยนั้นเสีย ดูกรโกฏฐิกะ สิ่งใดแลเป็นอนัตตา เธอพึง ละความพอใจในสิ่งนั้นเสีย ฯ
จบสูตรที่ ๙
มิจฉาทิฏฐิสูตร
[๒๕๔] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลรู้อยู่ อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร จึงจะละมิจฉาทิฐิได้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ บุคคลรู้เห็นจักษุแล โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละมิจฉาทิฐิได้ รู้เห็นรูป โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละมิจฉาทิฐิได้ รู้เห็นจักษุวิญญาณโดยความเป็น ของไม่เที่ยง จึงจะละมิจฉาทิฐิได้ รู้เห็นจักษุสัมผัสโดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละมิจฉาทิฐิได้ รู้เห็นแม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่ เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละมิจฉาทิฐิ ได้ บุคคลรู้เห็นหู... รู้เห็นจมูก... รู้เห็นลิ้น... รู้เห็นกาย... รู้เห็นใจโดยความ เป็นของไม่เที่ยง จึงจะละมิจฉาทิฐิได้ รู้เห็นธรรมารมณ์โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละมิจฉาทิฐิได้ รู้เห็นมโนวิญญาณโดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละมิจฉา- *ทิฐิได้ รู้เห็นมโนสัมผัสโดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละมิจฉาทิฐิได้ รู้เห็น สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละมิจฉาทิฐิได้ ดูกรภิกษุ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงจะละมิจฉาทิฐิได้ ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
สักกายทิฏฐิสูตร
[๒๕๕] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็น อยู่อย่างไร จึงจะละสักกายทิฐิได้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ บุคคลรู้เห็น จักษุแลโดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิได้ รู้เห็นรูปโดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิได้ รู้เห็นจักษุวิญญาณโดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิ ได้ รู้เห็นจักษุสัมผัสโดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิได้ รู้เห็นแม้สุข- *เวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิได้ บุคคลรู้เห็นหู ... รู้เห็นจมูก... รู้เห็น ลิ้น... รู้เห็นกาย... รู้เห็นใจโดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิได้ รู้เห็น ธรรมารมณ์โดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิได้ รู้เห็นมโนวิญญาณโดยความ เป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิได้ รู้เห็นมโนสัมผัสโดยความเป็นทุกข์ จึงจะละ สักกายทิฐิได้ รู้เห็นแม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้น เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิได้ ดูกรภิกษุ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงจะละสักกายทิฐิได้ ฯ
จบสูตรที่ ๑๑
อัตตานุทิฏฐิสูตร
[๒๕๖] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็น อยู่อย่างไร จึงจะละอัตตานุทิฐิได้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ บุคคล รู้เห็นจักษุแล โดยความเป็นอนัตตา จึงจะละอัตตานุทิฐิได้ รู้เห็นรูปโดยความเป็น อนัตตา จึงจะละอัตตานุทิฐิได้ รู้เห็นจักษุวิญญาณโดยความเป็นอนัตตา จึงจะละ อัตตานุทิฐิได้ รู้เห็นจักษุสัมผัสโดยความเป็นอนัตตา จึงจะละอัตตานุทิฐิได้ รู้เห็นแม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัส เป็นปัจจัย โดยความเป็นอนัตตา จึงจะละอัตตานุทิฐิได้ บุคคลรู้เห็นหู... รู้เห็น จมูก... รู้เห็นลิ้น... รู้เห็นกาย... รู้เห็นใจโดยความเป็นอนัตตา จึงจะละอัตตานุทิฐิ ได้ รู้เห็นธรรมารมณ์โดยความเป็นอนัตตา จึงจะละอัตตานุทิฐิได้ รู้เห็นมโน- *วิญญาณโดยความเป็นอนัตตา จึงจะละอัตตานุทิฐิได้ รู้เห็นมโนสัมผัสโดยความ เป็นอนัตตา จึงจะละอัตตานุทิฐิได้ รู้เห็นแม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นอนัตตา จึง จะละอัตตานุทิฐิได้ ดูกรภิกษุ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงจะ ละอัตตานุทิฐิได้ ฯ
จบสูตรที่ ๑๒
จบนันทิขยวรรคที่ ๑
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. นันทิขยสูตรที่ ๑ ๒. นันทิขยสูตรที่ ๒ ๓. นันทิขยสูตรที่ ๓ ๔. นันทิขยสูตรที่ ๔ ๕. ชีวกัมพวนสูตรที่ ๑ ๖. ชีวกัมพวนสูตรที่ ๒ ๗. มหาโกฏฐิกสูตรที่ ๑ ๘. มหาโกฏฐิกสูตรที่ ๒ ๙. มหาโกฏฐิกสูตรที่ ๓ ๑๐. มิจฉาทิฏฐิสูตร ๑๑. สักกายทิฏฐิสูตร ๑๒. อัตตานุทิฏฐิสูตร ฯ
-----------------------------------------------------
สัฏฐิเปยยาลที่ ๒
ฉันทสูตรที่ ๑
[๒๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละความพอ ใจในสิ่งนั้นเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งอะไรเล่าไม่เที่ยง ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละความพอใจในจักษุนั้นเสีย หูไม่เที่ยง ... จมูกไม่เที่ยง ... ลิ้นไม่เที่ยง ... กายไม่เที่ยง ... ใจไม่เที่ยงเธอทั้งหลายพึงละความพอใจในใจ นั้นเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้นเสีย ฯ
จบสูตรที่ ๑
ราคสูตรที่ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละความรักใคร่ในสิ่ง นั้นเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งอะไรเล่าไม่เที่ยง ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุไม่ เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละความรักใคร่ในจักษุนั้นเสีย หูไม่เที่ยง ... จมูกไม่ เที่ยง ... ลิ้นไม่เที่ยง ... กายไม่เที่ยง ... ใจไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละความ รักใคร่ในใจนั้นเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละความ รักใคร่ในสิ่งนั้นเสีย ฯ
จบสูตรที่ ๒
ฉันทราคสูตรที่ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละความพอใจและ ความรักใคร่ในสิ่งนั้นเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งอะไรเล่าไม่เที่ยง ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย จักษุไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละความพอใจและความรักใคร่ในจักษุนั้นเสีย หูไม่เที่ยง ... จมูกไม่เที่ยง ... ลิ้นไม่เที่ยง ... กายไม่เที่ยง ... ใจไม่เที่ยงเธอทั้งหลาย พึงละความพอใจและความรักใคร่ในใจนั้นเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละความพอใจและความรักใคร่ในสิ่งนั้นเสีย ฯ
จบสูตรที่ ๓
ฉันทสูตรที่ ๒
[๒๕๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละความพอใจในสิ่งนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งอะไรเล่าเป็นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละความพอใจในจักษุนั้น หู เป็นทุกข์ ... จมูกเป็นทุกข์ ... ลิ้นเป็นทุกข์ ... กายเป็นทุกข์ ... ใจเป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละความรักใคร่ในใจนั้นเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละความพอใจในสิ่งนั้นเสีย ฯ
จบสูตรที่ ๔
ราคสูตรที่ ๒
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละความรักใคร่ในสิ่ง นั้นเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งอะไรเล่าเป็นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็น ทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละความรักใคร่ในจักษุนั้นเสีย หูเป็นทุกข์ ... จมูกเป็นทุกข์ ... ลิ้นเป็นทุกข์ ... กายเป็นทุกข์ ... ใจเป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละความรักใคร่ ในใจนั้นเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละความรักใคร่ ในสิ่งนั้นเสีย ฯ
จบสูตรที่ ๕
ฉันทราคสูตรที่ ๒
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละความพอใจและความ รักใคร่ในสิ่งนั้นเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งอะไรเล่าเป็นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละความพอใจและความรักใคร่ในจักษุนั้นเสีย หู เป็นทุกข์ ... จมูกเป็นทุกข์ ... ลิ้นเป็นทุกข์ ... กายเป็นทุกข์... ใจเป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละความพอใจและความรักใคร่ในใจนั้นเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่ง ใดเป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละความพอใจและความรักใคร่ในสิ่งนั้นเสีย ฯ
จบสูตรที่ ๖
ฉันทสูตรที่ ๓
[๒๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละความ พอใจในสิ่งนั้นเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งอะไรเล่าเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย จักษุเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละความพอใจในจักษุนั้นเสีย หูเป็น อนัตตา ... จมูกเป็นอนัตตา ... ลิ้นเป็นอนัตตา ... กายเป็นอนัตตา ... ใจเป็น อนัตตา เธอทั้งหลายพึงละความพอใจในใจนั้นเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใด เป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละความพอใจในสิ่งนั้นเสีย ฯ
จบสูตรที่ ๗
ราคสูตรที่ ๓
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละความรักใคร่ใน สิ่งนั้นเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งอะไรเล่าเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ เป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละความรักใคร่ในจักษุนั้นเสีย หูเป็นอนัตตา ... จมูกเป็นอนัตตา ... ลิ้นเป็นอนัตตา ... กายเป็นอนัตตา ... ใจเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละความรักใคร่ในใจนั้นเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละความรักใคร่ในสิ่งนั้นเสีย ฯ
จบสูตรที่ ๘
ฉันทราคสูตรที่ ๓
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละความพอใจและ ความรักใคร่ในสิ่งนั้นเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งอะไรเล่าเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย จักษุเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละความพอใจและความรักใคร่ในจักษุนั้น เสีย หูเป็นอนัตตา ... จมูกเป็นอนัตตา ... ลิ้นเป็นอนัตตา ... กายเป็นอนัตตา ... ใจเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละความพอใจและความรักใคร่ในใจนั้นเสีย ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละความพอใจและความรักใคร่ในสิ่ง นั้นเสีย ฯ
จบสูตรที่ ๙
ฉันทสูตรที่ ๔
[๒๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละความพอ ใจในสิ่งนั้นเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งอะไรเล่าไม่เที่ยง ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูป ไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละความพอใจในรูปนั้นเสีย เสียงไม่เที่ยง ... กลิ่นไม่ เที่ยง ... รสไม่เที่ยง ... โผฏฐัพพะไม่เที่ยง ... ธรรมารมณ์ไม่เที่ยง เธอทั้งหลาย พึงละความพอใจในธรรมารมณ์นั้นเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่เที่ยง เธอ ทั้งหลายพึงละความพอใจในสิ่งนั้นเสีย ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
ราคสูตรที่ ๔
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละความรักใคร่ในสิ่ง นั้นเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งอะไรเล่าไม่เที่ยง ดูกรภิกษุทั้งหลายรูปไม่เที่ยง เธอ ทั้งหลายพึงละความรักใคร่ในรูปนั้นเสีย เสียงไม่เที่ยง ... กลิ่นไม่เที่ยง ... รสไม่ เที่ยง ... โผฏฐัพพะไม่เที่ยง ... ธรรมารมณ์ไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละความรักใคร่ ในธรรมารมณ์นั้นเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละความ รักใคร่ในสิ่งนั้นเสีย ฯ
จบสูตรที่ ๑๑
ฉันทราคสูตรที่ ๔
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละความพอใจและ ความรักใคร่ในสิ่งนั้นเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งอะไรเล่าไม่เที่ยง ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละความพอใจและความรักใคร่ในรูปนั้นเสีย เสียงไม่เที่ยง ... กลิ่นไม่เที่ยง ... รสไม่เที่ยง ... โผฏฐัพพะไม่เที่ยง ... ธรรมารมณ์ ไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละความพอใจและความรักใคร่ในธรรมารมณ์นั้นเสีย ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละความพอใจและความรักใคร่ในสิ่ง นั้นเสีย ฯ
จบสูตรที่ ๑๒
ฉันทสูตรที่ ๕
[๒๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละความ พอใจในสิ่งนั้นเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งอะไรเล่าเป็นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละความพอใจในรูปนั้นเสีย เสียงเป็นทุกข์ ... กลิ่น เป็นทุกข์ ... รสเป็นทุกข์... โผฏฐัพพะเป็นทุกข์ ... ธรรมารมณ์เป็นทุกข์ เธอ ทั้งหลายพึงละความพอใจในธรรมารมณ์นั้นเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็น ทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละความพอใจในสิ่งนั้นเสีย ฯ
จบสูตรที่ ๑๓
ราคสูตรที่ ๕
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละความรักใคร่ในสิ่ง นั้นเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งอะไรเล่าเป็นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็น ทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละความรักใคร่ในรูปนั้นเสีย เสียงเป็นทุกข์ ... กลิ่นเป็น ทุกข์ ... รสเป็นทุกข์ ... โผฏฐัพพะเป็นทุกข์ ... ธรรมารมณ์เป็นทุกข์ เธอ ทั้งหลายพึงละความรักใคร่ในธรรมารมณ์นั้นเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็น ทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละความรักใคร่ในสิ่งนั้นเสีย ฯ
จบสูตรที่ ๑๔
ฉันทราคสูตรที่ ๕
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละความพอใจและ ความรักใคร่ในสิ่งนั้นเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งอะไรเล่าเป็นทุกข์ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย รูปเป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละความพอใจและความรักใคร่ในรูปนั้นเสีย เสียงเป็นทุกข์ ... กลิ่นเป็นทุกข์ ... รสเป็นทุกข์ ... โผฏฐัพพะเป็นทุกข์ ... ธรรมารมณ์เป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละความพอใจและความรักใคร่ในธรรมารมณ์นั้น เสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละความพอใจและความรัก ใคร่ในสิ่งนั้นเสีย ฯ
จบสูตรที่ ๑๕
ฉันทสูตรที่ ๖
[๒๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละความ พอใจในสิ่งนั้นเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งอะไรเล่าเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละความพอใจในรูปนั้น เสียงเป็นอนัตตา ... กลิ่นเป็นอนัตตา ... รสเป็นอนัตตา ... โผฏฐัพพะเป็นอนัตตา ... ธรรมารมณ์ เป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละความพอใจในธรรมารมณ์นั้นเสีย ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละความพอใจในสิ่งนั้นเสีย ฯ
จบสูตรที่ ๑๖
ราคสูตรที่ ๖
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละความรักใคร่ใน สิ่งนั้นเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งอะไรเล่าเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูป เป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละความรักใคร่ในรูปนั้นเสีย เสียงเป็นอนัตตา ... กลิ่นเป็นอนัตตา ... รสเป็นอนัตตา ... โผฏฐัพพะเป็นอนัตตา ... ธรรมารมณ์ เป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละความรักใคร่ในธรรมารมณ์นั้นเสีย ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละความรักใคร่ในสิ่งนั้นเสีย ฯ
จบสูตรที่ ๑๗
ฉันทราคสูตรที่ ๖
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละความพอใจและ ความรักใคร่ในสิ่งนั้นเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งอะไรเล่าเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละความพอใจและความรักใคร่ในรูปนั้น เสีย เสียงเป็นอนัตตา ... กลิ่นเป็นอนัตตา ... รสเป็นอนัตตา ... โผฏฐัพพะ เป็นอนัตตา ... ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละความพอใจและความ รักใคร่ในธรรมารมณ์นั้นเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลาย พึงละความพอใจและความรักใคร่ในสิ่งนั้นเสีย ฯ
จบสูตรที่ ๑๘
อตีตสูตรที่ ๑
[๒๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุที่เป็นอดีตเป็นของไม่เที่ยง หูที่เป็น อดีตเป็นของไม่เที่ยง จมูกที่เป็นอดีตเป็นของไม่เที่ยง ลิ้นที่เป็นอดีตเป็นของไม่ เที่ยง กายที่เป็นอดีตเป็นของไม่เที่ยง ใจที่เป็นอดีตเป็นของไม่เที่ยง ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในจักษุ แม้ใน หู แม้ในจมูก แม้ในลิ้น แม้ในกาย แม้ในใจ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะ คลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่น เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ
จบสูตรที่ ๑๙
อนาคตสูตรที่ ๑
[๒๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุที่เป็นอนาคตเป็นของไม่เที่ยง หูที่เป็น อนาคตเป็นของไม่เที่ยง จมูกที่เป็นอนาคตเป็นของไม่เที่ยง ลิ้นที่เป็นอนาคตเป็น ของไม่เที่ยง กายที่เป็นอนาคตเป็นของไม่เที่ยง ใจที่เป็นอนาคต เป็นของไม่เที่ยง ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความ เป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ
จบสูตรที่ ๒๐
ปัจจุปันนสูตรที่ ๑
[๒๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุที่เป็นปัจจุบันเป็นของไม่เที่ยง หูที่เป็น ปัจจุบันเป็นของไม่เที่ยง จมูกที่เป็นปัจจุบันเป็นของไม่เที่ยง ลิ้นที่เป็นปัจจุบันเป็น ของ ไม่เที่ยง กายที่เป็นปัจจุบันเป็นของไม่เที่ยง ใจที่เป็นปัจจุบันเป็นของไม่เที่ยง ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความ เป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ
จบสูตรที่ ๒๑
อตีตสูตรที่ ๒
[๒๖๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุที่เป็นอดีตเป็นทุกข์ หูที่เป็นอดีตเป็น ทุกข์ จมูกที่เป็นอดีตเป็นทุกข์ ลิ้นที่เป็นอดีตเป็นทุกข์ กายที่เป็นอดีตเป็นทุกข์ ใจที่เป็นอดีตเป็นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ
จบสูตรที่ ๒๒
อนาคตสูตรที่ ๒
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุที่เป็นอนาคตเป็นทุกข์ หูที่เป็นอนาคตเป็นทุกข์ จมูกที่เป็นอนาคตเป็นทุกข์ ลิ้นที่เป็นอนาคตเป็นทุกข์ กายที่เป็นอนาคตเป็นทุกข์ ใจที่เป็นอนาคตเป็นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่าง นี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ
จบสูตรที่ ๒๓
ปัจจุปันนสูตรที่ ๒
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์ หูที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์ จมูกที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์ ลิ้นที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์ กายที่เป็นปัจจุบันเป็น ทุกข์ ใจที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ
จบสูตรที่ ๒๔
อตีตสูตรที่ ๓
[๒๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุที่เป็นอดีตเป็นอนัตตา หูที่เป็นอดีต เป็นอนัตตา จมูกที่เป็นอดีตเป็นอนัตตา ลิ้นที่เป็นอดีตเป็นอนัตตา กายที่เป็นอดีต เป็นอนัตตา ใจที่เป็นอดีตเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ
จบสูตรที่ ๒๕
อนาคตสูตรที่ ๓
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุที่เป็นอนาคตเป็นอนัตตา หูที่เป็นอนาคตเป็น อนัตตา จมูกที่เป็นอนาคตเป็นอนัตตา ลิ้นที่เป็นอนาคตเป็นอนัตตา กายที่เป็น อนาคตเป็นอนัตตา ใจที่เป็นอนาคตเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ
จบสูตรที่ ๒๖
ปัจจุปันนสูตรที่ ๓
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุที่เป็นปัจจุบันเป็นอนัตตา หูที่เป็นปัจจุบันเป็น อนัตตา จมูกที่เป็นปัจจุบันเป็นอนัตตา ลิ้นที่เป็นปัจจุบันเป็นอนัตตา กายที่เป็น ปัจจุบันเป็นอนัตตา ใจที่เป็นปัจจุบันเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวก ผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ
จบสูตรที่ ๒๗
อตีตสูตรที่ ๔
[๒๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอดีตเป็นของไม่เที่ยง เสียงที่เป็น อดีตเป็นของไม่เที่ยง กลิ่นที่เป็นอดีตเป็นของไม่เที่ยง รสที่เป็นอดีตเป็นของ ไม่เที่ยง โผฏฐัพพะที่เป็นอดีตเป็นของไม่เที่ยง ธรรมารมณ์ที่เป็นอดีตเป็นของ ไม่เที่ยง ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจ อื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ
จบสูตรที่ ๒๘
อนาคตสูตรที่ ๔
ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอนาคตเป็นของไม่เที่ยง เสียงที่เป็นอนาคต เป็นของไม่เที่ยง กลิ่นที่เป็นอนาคตเป็นของไม่เที่ยง รสที่เป็นอนาคตเป็นของ ไม่เที่ยง โผฏฐัพพะที่เป็นอนาคตเป็นของไม่เที่ยง ธรรมารมณ์ที่เป็นอนาคตเป็นของ ไม่เที่ยง ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจ อื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ
จบสูตรที่ ๒๙
ปัจจุปันนสูตรที่ ๔
ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นปัจจุบันเป็นของไม่เที่ยง เสียงที่เป็นปัจจุบัน เป็นของไม่เที่ยง กลิ่นที่เป็นปัจจุบันเป็นของไม่เที่ยง รสที่เป็นปัจจุบันเป็นของไม่ เที่ยง โผฏฐัพพะที่เป็นปัจจุบันเป็นของไม่เที่ยง ธรรมารมณ์ที่เป็นปัจจุบันเป็นของ ไม่เที่ยง ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจ อื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ
จบสูตรที่ ๓๐
อตีตสูตรที่ ๕
[๒๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอดีตเป็นทุกข์ เสียงที่เป็นอดีตเป็น ทุกข์ กลิ่นที่เป็นอดีตเป็นทุกข์ รสที่เป็นอดีตเป็นทุกข์ โผฏฐัพพะที่เป็นอดีต เป็นทุกข์ ธรรมารมณ์ที่เป็นอดีตเป็นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ แล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ
จบสูตรที่ ๓๑
อนาคตสูตรที่ ๕
ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอนาคตเป็นทุกข์ เสียงที่เป็นอนาคตเป็นทุกข์ กลิ่นที่เป็นอนาคตเป็นทุกข์ รสที่เป็นอนาคตเป็นทุกข์ โผฏฐัพพะที่เป็นอนาคตเป็น ทุกข์ ธรรมารมณ์ที่เป็นอนาคตเป็นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ แล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ
จบสูตรที่ ๓๒
ปัจจุปันนสูตรที่ ๕
ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์ เสียงที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์ กลิ่นที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์ รสที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์ โผฏฐัพพะที่เป็นปัจจุบัน เป็นทุกข์ ธรรมารมณ์ที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้ สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ
จบสูตรที่ ๓๓
อตีตสูตรที่ ๖
[๒๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอดีตเป็นอนัตตา เสียงที่เป็นอดีต เป็นอนัตตา กลิ่นที่เป็นอดีตเป็นอนัตตา รสที่เป็นอดีตเป็นอนัตตา โผฏฐัพพะที่ เป็นอดีตเป็นอนัตตา ธรรมารมณ์ที่เป็นอดีตเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริย- *สาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ
จบสูตรที่ ๓๔
อนาคตสูตรที่ ๖
ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอนาคตเป็นอนัตตา เสียงที่เป็นอนาคตเป็น อนัตตา กลิ่นที่เป็นอนาคตเป็นอนัตตา รสที่เป็นอนาคตเป็นอนัตตา โผฏฐัพพะ ที่เป็นอนาคตเป็นอนัตตา ธรรมารมณ์ที่เป็นอนาคตเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี ฯ
จบสูตรที่ ๓๕
ปัจจุปันนสูตรที่ ๖
ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นปัจจุบันเป็นอนัตตา เสียงที่เป็นปัจจุบันเป็น อนัตตา กลิ่นที่เป็นปัจจุบันเป็นอนัตตา รสที่เป็นปัจจุบันเป็นอนัตตา โผฏฐัพพะ ที่เป็นปัจจุบันเป็นอนัตตา ธรรมารมณ์ที่เป็นปัจจุบันเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี ฯ
จบสูตรที่ ๓๖
อนิจจสูตรที่ ๑
[๒๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุที่เป็นอดีตไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้น ไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ หูที่เป็นอดีตไม่เที่ยง ... จมูกที่เป็นอดีตไม่เที่ยง ... ลิ้น ที่เป็นอดีตไม่เที่ยง ... กายที่เป็นอดีตไม่เที่ยง ... ใจที่เป็นอดีตไม่เที่ยง ก็สิ่งใด ไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ
จบสูตรที่ ๓๗
อนิจจสูตรที่ ๒
[๒๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุที่เป็นอนาคตไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้น ไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ หูที่เป็นอนาคตไม่เที่ยง ... จมูกที่เป็นอนาคตไม่เที่ยง ... ลิ้นที่เป็นอนาคตไม่เที่ยง ... กายที่เป็นอนาคตไม่เที่ยง ... ใจที่เป็นอนาคตไม่เที่ยง... ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ
จบสูตรที่ ๓๘
อนิจจสูตรที่ ๓
[๒๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุที่เป็นปัจจุบันไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้น ไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ หูที่เป็นปัจจุบันไม่เที่ยง ... จมูกที่เป็นปัจจุบันไม่เที่ยง ... ลิ้นที่เป็นปัจจุบันไม่เที่ยง ... กายที่เป็นปัจจุบันไม่เที่ยง ... ใจที่เป็นปัจจุบันไม่เที่ยง ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ
จบสูตรที่ ๓๙
ทุกขสูตรที่ ๑
[๒๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุที่เป็นอดีตเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัว ตนของเรา ข้อนี้พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ หูที่เป็นอดีต เป็นทุกข์ ... จมูกที่เป็นอดีตเป็นทุกข์ ... ลิ้นที่เป็นอดีตเป็นทุกข์ ... กายที่เป็นอดีต เป็นทุกข์ ... ใจที่เป็นอดีตเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใด เป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้พึงเห็น ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้ สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ
จบสูตรที่ ๔๐
ทุกขสูตรที่ ๒
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุที่เป็นอนาคตเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้น เป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของ เรา ข้อนี้พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ หูที่เป็นอนาคตเป็น ทุกข์ ... จมูกที่เป็นอนาคตเป็นทุกข์ ... ลิ้นที่เป็นอนาคตเป็นทุกข์ ... กายที่เป็น อนาคตเป็นทุกข์ ... ใจที่เป็นอนาคตเป็นทุกข์ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี ฯ
จบสูตรที่ ๔๑
ทุกขสูตรที่ ๓
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้น เป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ หูที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์ ... จมูกที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์ ... ลิ้นที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์ ... กายที่เป็นปัจจุบัน เป็นทุกข์ ... ใจที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ
จบสูตรที่ ๔๒
อนัตตสูตรที่ ๑
[๒๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุที่เป็นอดีตเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็น อนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้พึงเห็นด้วยปัญญา อันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ หูที่เป็นอดีตเป็นอนัตตา ... จมูกที่เป็นอดีตเป็น อนัตตา ... ลิ้นที่เป็นอดีตเป็นอนัตตา ... กายที่เป็นอดีตเป็นอนัตตา ... ใจที่เป็น อดีตเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัว ตนของเรา ข้อนี้พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี ฯ
จบสูตรที่ ๔๓
อนัตตสูตรที่ ๒
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุที่เป็นอนาคตเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้พึงเห็นด้วยปัญญา อันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ หูที่เป็นอนาคตเป็นอนัตตา ... จมูกที่เป็นอนาคต เป็นอนัตตา ... ลิ้นที่เป็นอนาคตเป็นอนัตตา ... กายที่เป็นอนาคตเป็นอนัตตา ... ใจที่เป็นอนาคตเป็นอนัตตา ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ
จบสูตรที่ ๔๔
อนัตตสูตรที่ ๓
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุที่เป็นปัจจุบันเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้พึงเห็นด้วยปัญญา อันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ หูที่เป็นปัจจุบันเป็นอนัตตา ... จมูกที่เป็น ปัจจุบันเป็นอนัตตา ... ลิ้นที่เป็นปัจจุบันเป็นอนัตตา ... กายที่เป็นปัจจุบันเป็น อนัตตา ... ใจที่เป็นปัจจุบันเป็นอนัตตา ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี ฯ
จบสูตรที่ ๔๕
อนิจจสูตรที่ ๔
[๒๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอดีตไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของ เรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็น จริงอย่างนี้ เสียงที่เป็นอดีตไม่เที่ยง ... กลิ่นที่เป็นอดีตไม่เที่ยง ... รสที่เป็นอดีต ไม่เที่ยง ... โผฏฐัพพะที่เป็นอดีตไม่เที่ยง ... ธรรมารมณ์ที่เป็นอดีตไม่เที่ยง สิ่งใด ไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้พึงเห็นด้วยปัญญา อันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็น อยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ
จบสูตรที่ ๔๖
อนิจจสูตรที่ ๕
ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอนาคตไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็น ทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง อย่างนี้ เสียงที่เป็นอนาคตไม่เที่ยง ... กลิ่นที่เป็นอนาคตไม่เที่ยง ... รสที่เป็น อนาคตไม่เที่ยง ... โผฏฐัพพะที่เป็นอนาคตไม่เที่ยง ... ธรรมารมณ์ที่เป็นอนาคต ไม่เที่ยง ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ
จบสูตรที่ ๔๗
อนิจจสูตรที่ ๖
ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นปัจจุบันไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่ เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง อย่างนี้ เสียงที่เป็นปัจจุบันไม่เที่ยง ... กลิ่นที่เป็นปัจจุบันไม่เที่ยง ... รสที่เป็น ปัจจุบันไม่เที่ยง ... โผฏฐัพพะที่เป็นปัจจุบันไม่เที่ยง ... ธรรมารมณ์ที่เป็นปัจจุบัน ไม่เที่ยง ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ
จบสูตรที่ ๔๘
ทุกขสูตรที่ ๔
[๒๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอดีตเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัว ตนของเรา ข้อนี้พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ เสียงที่เป็น อดีตเป็นทุกข์ ... กลิ่นที่เป็นอดีตเป็นทุกข์ ... รสที่เป็นอดีตเป็นทุกข์ ... โผฏฐัพพะ ที่เป็นอดีตเป็นทุกข์ ... ธรรมารมณ์ที่เป็นอดีตเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็น อนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริย- *สาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ
จบสูตรที่ ๔๙
ทุกขสูตรที่ ๕
ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอนาคตเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็น อนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ เสียงที่เป็นอนาคตเป็น ทุกข์ ... กลิ่นที่เป็นอนาคตเป็นทุกข์ ... รสที่เป็นอนาคตเป็นทุกข์ ... โผฏฐัพพะ ที่เป็นอนาคตเป็นทุกข์ ... ธรรมารมณ์ที่เป็นอนาคตเป็นทุกข์ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความ เป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ
จบสูตรที่ ๕๐
ทุกขสูตรที่ ๖
ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้น เป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตน ของเรา ข้อนี้พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ เสียงที่เป็น ปัจจุบันเป็นทุกข์ ... กลิ่นที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์ ... รสที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์ ... โผฏฐัพพะที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์ ... ธรรมารมณ์ที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ
จบสูตรที่ ๕๑
อนัตตสูตรที่ ๔
[๒๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอดีตเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ เสียงที่เป็นอดีตเป็นอนัตตา ... กลิ่นที่เป็นอดีตเป็น อนัตตา ... รสที่เป็นอดีตเป็นอนัตตา ... โผฏฐัพพะที่เป็นอดีตเป็นอนัตตา ... ธรรมารมณ์ที่เป็นอดีตเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็น เรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความ เป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ
จบสูตรที่ ๕๒
อนัตตสูตรที่ ๕
ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอนาคตเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้น ไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ เสียงที่เป็นอนาคตเป็นอนัตตา ... กลิ่นที่เป็นอนาคตเป็น อนัตตา ... รสที่เป็นอนาคตเป็นอนัตตา ... โผฏฐัพพะที่เป็นอนาคตเป็นอนัตตา ... ธรรมารมณ์ที่เป็นอนาคตเป็นอนัตตา ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ
จบสูตรที่ ๕๓
อนัตตสูตรที่ ๖
ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นปัจจุบันเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้พึงเห็นด้วยปัญญาอัน ชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ เสียงที่เป็นปัจจุบันเป็นอนัตตา ... กลิ่นที่เป็น ปัจจุบันเป็นอนัตตา ... รสที่เป็นปัจจุบันเป็นอนัตตา ... โผฏฐัพพะที่เป็นปัจจุบัน เป็นอนัตตา ... ธรรมารมณ์ที่เป็นปัจจุบันเป็นอนัตตา ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความอย่างนี้ มิได้มี ฯ
จบสูตรที่ ๕๔
อัชฌัตตายตนสูตรที่ ๑
[๒๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็นของไม่เที่ยง หูเป็นของไม่เที่ยง จมูกเป็นของไม่เที่ยง ลิ้นเป็นของไม่เที่ยง กายเป็นของไม่เที่ยง ใจเป็นของไม่ เที่ยง ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อ ความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ
จบสูตรที่ ๕๕
อัชฌัตตายตนสูตรที่ ๒
[๒๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็นทุกข์ หูเป็นทุกข์ จมูกเป็นทุกข์ ลิ้นเป็นทุกข์ กายเป็นทุกข์ ใจเป็นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ แล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี ฯ
จบสูตรที่ ๕๖
อัชฌัตตายตนสูตรที่ ๓
[๒๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็นอนัตตา หูเป็นอนัตตา จมูกเป็น อนัตตา ลิ้นเป็นอนัตตา กายเป็นอนัตตา ใจเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ ฯลฯ กิจอื่น เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ
จบสูตรที่ ๕๗
พาหิรายตนสูตรที่ ๑
[๒๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง เสียงไม่เที่ยง กลิ่นไม่เที่ยง รสไม่เที่ยง โผฏฐัพพะไม่เที่ยง ธรรมารมณ์ไม่เที่ยง ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวก ผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ
จบสูตรที่ ๕๘
พาหิรายตนสูตรที่ ๒
[๒๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นทุกข์ เสียงเป็นทุกข์ กลิ่นเป็น ทุกข์ รสเป็นทุกข์ โผฏฐัพพะเป็นทุกข์ ธรรมารมณ์เป็นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี ฯ
จบสูตรที่ ๕๙
พาหิรายตนสูตรที่ ๓
[๒๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา เสียงเป็นอนัตตา กลิ่นเป็น อนัตตา รสเป็นอนัตตา โผฏฐัพพะเป็นอนัตตา ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา ดูกร- *ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป แม้ในเสียง แม้ในกลิ่น แม้ในรส แม้ในโผฏฐัพพะ แม้ในธรรมารมณ์ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ
จบสูตรที่ ๖๐
จบสัฏฐิเปยยาลวรรคที่ ๒
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ฉันทสูตรที่ ๑ ๒. ราคสูตรที่ ๑ ๓. ฉันทราคสูตรที่ ๑ ๔. ฉันทสูตรที่ ๒ ๕. ราคสูตรที่ ๒ ๖. ฉันทราคสูตรที่ ๒ ๗. ฉันทสูตรที่ ๓ ๘. ราคสูตรที่ ๓ ๙. ฉันทราคสูตรที่ ๓ ๑๐. ฉันทสูตรที่ ๔ ๑๑. ราคสูตรที่ ๔ ๑๒. ฉันทราค- *สูตรที่ ๔ ๑๓. ฉันทสูตรที่ ๕ ๑๔. ราคสูตรที่ ๕ ๑๕. ฉันทราคสูตรที่ ๕ ๑๖. ฉันทสูตรที่ ๖ ๑๗. ราคสูตรที่ ๖ ๑๘. ฉันทราคสูตรที่ ๖ ๑๙. อตีต สูตรที่ ๑ ๒๐. อนาคตสูตรที่ ๑ ๒๑. ปัจจุปันนสูตรที่ ๑ ๒๒. อตีตสูตรที่ ๒ ๒๓. อนาคตสูตรที่ ๒ ๒๔. ปัจจุปันนสูตรที่ ๒ ๒๕. อตีตสูตรที่ ๓ ๒๖. อนาคตสูตรที่ ๓ ๒๗. ปัจจุปันนสูตรที่ ๓ ๒๘. อตีตสูตรที่ ๔ ๒๙. อนาคตสูตรที่ ๔ ๓๐. ปัจจุปันนสูตรที่ ๔ ๓๑. อตีตสูตรที่ ๕ ๓๒. อนาคตสูตรที่ ๕ ๓๓. ปัจจุปันนสูตรที่ ๕ ๓๔. อตีตสูตรที่ ๖ ๓๕. อนาคตสูตรที่ ๖ ๓๖. ปัจจุปันนสูตรที่ ๖ ๓๗. อนิจจสูตรที่ ๑ ๓๘. อนิจจสูตรที่ ๒ ๓๙. อนิจจสูตรที่ ๓ ๔๐. ทุกขสูตรที่ ๑ ๔๑. ทุกขสูตร ที่ ๒ ๔๒. ทุกขสูตรที่ ๓ ๔๓. อนัตตสูตรที่ ๑ ๔๔. อนัตตสูตรที่ ๒ ๔๕. อนัตตสูตรที่ ๓ ๔๖. อนิจจสูตรที่ ๔ ๔๗. อนิจจสูตรที่ ๕ ๔๘. อนิจจสูตรที่ ๖ ๔๙. ทุกขสูตรที่ ๔ ๕๐. ทุกขสูตรที่ ๕ ๕๑. ทุกขสูตร ที่ ๖ ๕๒. อนัตตสูตรที่ ๔ ๕๓. อนัตตสูตรที่ ๕ ๕๔. อนัตตสูตรที่ ๖ ๕๕. อัชฌัตตายตนสูตรที่ ๑ ๕๖. อัชฌัตตายตนสูตรที่ ๒ ๕๗. อัชฌัตตาย- *ตนสูตรที่ ๓ ๕๘. พาหิรายตนสูตรที่ ๑ ๕๙. พาหิรายตนสูตรที่ ๒ ๖๐. พาหิ รายตนสูตรที่ ๓ ฯ
-----------------------------------------------------
สมุททวรรคที่ ๓
สมุทรสูตรที่ ๑
[๒๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้ว ย่อมกล่าวว่า สมุทรๆ ดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย สมุทรนั้นไม่ชื่อว่า เป็นสมุทรในวินัยของพระอริยเจ้า ดูกรภิกษุ- *ทั้งหลาย สมุทรนั้นเรียกว่า เป็นแอ่งน้ำใหญ่ เป็นห้วงน้ำใหญ่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็นสมุทรของบุรุษ กำลังของจักษุนั้นเกิดจากรูป บุคคลใดย่อมอดกลั้นกำลังอัน เกิดจากรูปนั้นได้ บุคคลนี้เรียกว่าเป็นพราหมณ์ ข้ามสมุทรคือจักษุ ซึ่งมีทั้งคลื่น มีทั้งน้ำวน มีทั้งสัตว์ร้าย มีทั้งผีเสื้อน้ำ แล้วขึ้นถึงฝั่งตั้งอยู่บนบก ฯลฯ ใจเป็น สมุทรของบุรุษ กำลังของใจนั้นเกิดจากธรรมารมณ์ บุคคลใดย่อมอดกลั้นกำลัง อันเกิดจากธรรมารมณ์นั้นได้ บุคคลนี้เรียกว่าเป็นพราหมณ์ข้ามสมุทรคือใจได้ ซึ่ง มีทั้งคลื่น มีทั้งน้ำวน มีทั้งสัตว์ร้าย มีทั้งผีเสื้อน้ำ แล้วขึ้นถึงฝั่งตั้งอยู่บนบก ฯ พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปว่า [๒๘๖] บุคคลใดข้ามสมุทรนี้ ซึ่งมีทั้งคลื่น มีทั้งน้ำวน มีทั้ง สัตว์ร้าย มีทั้งผีเสื้อน้ำ น่าหวาดกลัว ข้ามได้แสนยาก ได้ แล้ว บุคคลนั้นเราเรียกว่า เป็นผู้เรียนจบเวท อยู่จบ พรหมจรรย์ ถึงที่สุดแห่งโลก ข้ามถึงฝั่งแล้ว ฯ
จบสูตรที่ ๑
สมุทรสูตรที่ ๒
[๒๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนไม่ได้สดับแล้ว ย่อมกล่าวว่า สมุทรๆ ดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย สมุทรนั้นไม่ชื่อว่าเป็นสมุทรในวินัยของพระอริยเจ้า ดูกร- *ภิกษุทั้งหลาย สมุทรนั้นเรียกว่า เป็นแอ่งน้ำใหญ่ เป็นห้วงน้ำใหญ่ รูปอันจะพึง รู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้ กำหนัด นี้เรียกว่าเป็นสมุทรในวินัยของพระอริยเจ้า โลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ มีอยู่ ในสมุทรนี้ โดยมากเป็นผู้เศร้าหมอง เกิดเป็นผู้ยุ่งประดุจด้ายของช่างหูก เกิด เป็นปมประหนึ่งกระจุกด้าย ๑- เป็นดุจหญ้าปล้องและหญ้ามุงกระต่าย หาล่วงอบาย ทุคติ วินิบาต สงสารไปได้ไม่ ฯลฯ ธรรมารมณ์อันจะพึงรู้ได้ด้วยใจ น่า ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด นี้เรียกว่าเป็น สมุทรในวินัยของพระอริยเจ้า โลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ มีอยู่ในสมุทรนี้ โดยมากเป็น ผู้เศร้าหมอง เกิดเป็นผู้ยุ่งดุจด้ายของช่างหูก เกิดเป็นปมประหนึ่งกระจุกด้าย เป็นดุจหญ้าปล้องและหญ้ามุงกระต่าย หาล่วงอบาย ทุคติ วินิบาต สงสารไป ได้ไม่ ฯ [๒๘๘] บุคคลใดคลายราคะ โทสะ และอวิชชาได้แล้ว บุคคล นั้นชื่อว่าข้ามสมุทรนี้ ซึ่งมีทั้งสัตว์ร้าย มีทั้งผีเสื้อน้ำ มีทั้ง คลื่นและภัย ที่ข้ามได้แสนยาก ได้แล้ว เรากล่าวว่า บุคคลนั้นล่วงพ้นเครื่องข้อง ละมัจจุ ไม่มีอุปธิ ละทุกข์ได้ @๑. บาลีสูตรนี้ปรากฏเป็น กนฺตา กุลกชาตา กุลคุณฺฑิกชาตา มุญฺชปพฺพชภูตา อปายํ @ทุคคตึ วินิปาตํ สํสารํ นาติวตฺตนฺติ" มีปัญหาว่าน่าจะวิปลาศทางอักขระในการ @คัดลอก อรรถกถาของบาลีแห่งนี้ ไม่แก้ กล่าวไว้แต่เพียงว่า "ศัพท์ว่า กนฺตา @กุลกชาตา เป็นต้น ให้พิสดารแล้วในหนหลัง" ได้สอบทานบาลีพระสูตรข้างต้น @ดูตลอดแล้ว ปรากฏในมหานิทานสูตร ทีฆนิกาย มหาวรรค ข้อ ๕๗ ว่า "เอวมยํ ปชา @ตนฺตากุลกชาตา คุณคณฺฐิกชาตา มุญฺชปพฺพชภูตา อปายํ ทุคฺคตึ วินิปาตํ สํสารํ นาติ- @*วตฺตติ" ในสูตรนั้นแสดงนัยของมหาสมุทรเช่นกัน ฉบับแปลแปลไว้ว่า "หมู่สัตว์นี้จึง @เกิดเป็นผู้ยุ่งประดุจด้ายของช่างหูก เกิดเป็นปมประหนึ่งกระจุกด้าย เป็นผู้เกิดมาเหมือน @หญ้ามุงกระต่ายและหญ้าปล้อง ฯลฯ" ได้สอบทานอรรถกถามหานิทานสูตรแล้ว เห็น @ว่าแปลตรงตามอรรถกถาทุกประการ เมื่อเป็นเช่นนี้ บาลีที่ว่า "กนฺตา กุลกชาตา @กุลคุณฺฑิกชาตา" ต้องพลาดแน่ เพราะอรรถกถาแห่งสูตรนี้ ไม่แก้ แต่ยืนยันว่า @มีพิสดารแล้วข้างต้น ซึ่งเมื่อค้นดูข้างต้นแล้วก็พบในมหานิทานสูตรนั้นเอง ฉบับแปล @ของเดิมในสูตรนี้แปลศัพท์ไว้ จึงได้แก้แปลแบบเดียวกับมหานิทานสูตรข้างต้น โดย @หลักฐานที่ค้นพบดังกล่าวแล้ว ฯ (คณะกรรมการตรวจชำระและสอบทานพิมพ์ครั้งที่ ๒) ขาดเพื่อไม่เกิดต่อไป ถึงความดับสูญ ไม่กลับมาเกิดอีก ลวงพระยามัจจุราชให้หลงได้ ฯ
จบสูตรที่ ๒
พาลิสิกสูตร
[๒๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พรานเบ็ดหย่อนเบ็ดที่มีเหยื่อลงในห้วงน้ำลึก ปลาที่เห็นแก่เหยื่อตัวใดตัวหนึ่งกลืนกินเบ็ดนั้น ปลานั้นชื่อว่ากลืนกินเบ็ดของ นายพรานเบ็ด ถึงความวิบัติ ถึงความพินาศ พรานเบ็ดพึงกระทำได้ตามชอบใจ ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในโลกมีเบ็ดอยู่ ๖ ชนิดเหล่านี้ เพื่อจะนำสัตว์ ทั้งหลายไป เพื่อจะฆ่าสัตว์ทั้งหลายเสีย ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เบ็ด ๖ ชนิด คือ อะไรบ้าง คือ รูปอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุเพลิดเพลิน สรรเสริญ หมกมุ่นในรูปนั้น ภิกษุนี้เราเรียกว่า กลืนกินเบ็ดของมาร ถึงความวิบัติ ถึงความ พินาศ มารใจบาปพึงกระทำได้ตามชอบใจ เสียง ... กลิ่น ... รส ... โผฏฐัพพะ ... ธรรมารมณ์อันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุเพลิดเพลิน สรรเสริญ หมกมุ่น ธรรมารมณ์นั้น ภิกษุนี้เราเรียกว่า กลืนกินเบ็ดของมาร ถึงความวิบัติ ถึงความ พินาศ มารใจบาปพึงกระทำได้ตามชอบใจ ฯ [๒๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิด- *เพลิน ไม่สรรเสริญ ไม่หมกมุ่นรูปนั้น ภิกษุนี้เราเรียกว่า ไม่กลืนกินเบ็ดของ มาร ได้ทำลายเบ็ด ย่ำยีเบ็ด ไม่ถึงความวิบัติ ไม่ถึงความพินาศ มารใจบาปไม่ พึงกระทำได้ตามชอบใจ เสียง ... กลิ่น ... รส ... โผฏฐัพพะ ... ธรรมารมณ์ อันจะพึงรู้ได้ด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวน ให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่สรรเสริญ ไม่หมกมุ่นธรรมารมณ์ นั้น ภิกษุนี้เราเรียกว่า ไม่กลืนกินเบ็ดของมาร ได้ทำลายเบ็ด ย่ำยีเบ็ด ไม่ถึงความวิบัติ ไม่ถึงความพินาศ มารใจบาปไม่พึงกระทำได้ตามชอบใจ ฯ
จบสูตรที่ ๓
ขีรรุกขสูตร
[๒๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ราคะ โทสะ โมหะ ของภิกษุหรือภิกษุณี รูปใดรูปหนึ่ง มีอยู่ในรูปทั้งหลาย อันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ ภิกษุหรือภิกษุณีนั้น ไม่ละราคะ โทสะ โมหะนั้นแล้ว ถ้าแม้รูป อันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ ซึ่งเป็น ของเล็กน้อย ผ่านคลองจักษุของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไป ก็ครอบงำจิตของภิกษุ หรือภิกษุณีนั้นได้แท้ จะป่วยกล่าวไปไยถึงรูปอันใหญ่ยิ่ง จักไม่ครอบงำจิตของ ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นเล่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะราคะ โทสะ โมหะนั้นยังมี อยู่ ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นยังละราคะ โทสะ โมหะนั้นไม่ได้ ราคะ โทสะ โมหะ ของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง มีอยู่ในเสียง ... ในกลิ่น ... ในรส ... ใน โผฏฐัพพะ ... ในธรรมารมณ์อันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจ ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไม่ละ ราคะ โทสะ โมหะนั้นแล้ว ถ้าแม้ธรรมารมณ์อันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจ ซึ่งเป็นของ เล็กน้อย ผ่านทางใจของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไป ก็ครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณี นั้นได้แท้ จะป่วยกล่าวไปไยถึงธรรมารมณ์อันใหญ่ยิ่ง จักไม่ครอบงำจิตของภิกษุ หรือภิกษุณีนั้นเล่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะราคะ โทสะ โมหะนั้นยังมีอยู่ ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นยังละราคะ โทสะ โมหะนั้นไม่ได้ ฯ [๒๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นโพธิ์ ต้นไทร ต้นกร่าง หรือต้นมะเดื่อ เป็นต้นไม้มียาง ขนาดเขื่อง ขนาดรุ่น ขนาดเล็ก บุรุษเอาขวานอันคมสับต้นไม้ นั้น ณ ที่แห่งหนึ่ง ยางพึงไหลออกหรือ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ข้อนั้น เพราะอะไร ฯ ภิ. เพราะยางมีอยู่ พระเจ้าข้า ฯ พ. ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ราคะ โทสะ โมหะ ของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง มีอยู่ในรูปอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ ภิกษุหรือ ภิกษุณีนั้นไม่ละราคะ โทสะ โมหะนั้นแล้ว ถ้าแม้รูปอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุซึ่ง เป็นของเล็กน้อย ผ่านคลองจักษุของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไป ก็ครอบงำจิตของ ภิกษุหรือภิกษุณีได้แท้ จะป่วยกล่าวไปไยถึงรูปอันใหญ่ยิ่ง จักไม่ครอบงำจิตของ ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นเล่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะราคะ โทสะ โมหะนั้นยังมีอยู่ ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นยังละราคะ โทสะ โมหะนั้นไม่ได้ ราคะ โทสะ โมหะ ของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งมีอยู่ในเสียง ... ในกลิ่น ... ในรส ... ใน โผฏฐัพพะ ... ในธรรมารมณ์อันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจ ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไม่ละ ราคะ โทสะ โมหะนั้นแล้ว ถ้าแม้ธรรมารมณ์อันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจซึ่งเป็นของ เล็กน้อย ผ่านทางใจของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไป ย่อมครอบงำจิตของภิกษุหรือ ภิกษุณีนั้นได้แท้ จะป่วยกล่าวไปไยถึงธรรมารมณ์อันใหญ่ยิ่ง จักไม่ครอบงำจิต ของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นเล่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะราคะ โทสะ โมหะ ยัง มีอยู่ ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นยังละราคะ โทสะ โมหะนั้นไม่ได้ ฯ [๒๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ราคะ โทสะ โมหะ ของภิกษุหรือภิกษุณี รูปใดรูปหนึ่ง ไม่มีอยู่ในรูปอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นละราคะ โทสะ โมหะนั้นแล้ว ถ้าแม้รูปอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุซึ่งเป็นของใหญ่ยิ่ง ผ่าน คลองจักษุของภิกษุหรือภิกษุณีนั้น ก็ครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไม่ได้เลย จะป่วยกล่าวไปไยถึงรูปอันเล็กน้อย จักครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นเล่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะราคะ โทสะ โมหะนั้นไม่มี ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นละ ราคะ โทสะ โมหะนั้นได้แล้ว ราคะ โทสะ โมหะ ของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใด รูปหนึ่งไม่มีอยู่ในเสียง ... ในกลิ่น ... ในรส ... ในโผฏฐัพพะ ... ในธรรมารมณ์ อันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจ ซึ่งเป็นของใหญ่ยิ่ง ผ่านมาทางใจของภิกษุหรือภิกษุณีนั้น ก็ครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไม่ได้เลย จะป่วยกล่าวไปไยถึงธรรมารมณ์ อันเล็กน้อย จักครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นเล่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ ราคะ โทสะ โมหะนั้นไม่มี ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นละราคะ โทสะ โมหะนั้น ได้แล้ว ฯ [๒๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นโพธิ์ ต้นไทร ต้นกร่าง หรือต้นมะเดื่อ ซึ่งเป็นไม้มียาง เป็นต้นไม้แห้ง เป็นไม้ผุ ภายนอกฤดูฝน บุรุษเอาขวานอันคม สับต้นไม้นั้น ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่ง ยางพึงไหลออกมาหรือ ภิกษุทั้งหลายกราบทูล ว่า ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ข้อนั้น เพราะเหตุไร ฯ ภิ. เพราะยางไม่มี พระเจ้าข้า ฯ พ. ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน ราคะ โทสะ โมหะ ของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง ไม่มีอยู่ในรูปอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ ภิกษุหรือ ภิกษุณีนั้นละราคะ โทสะ โมหะนั้นแล้ว ถ้าแม้รูปอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุซึ่งเป็น ของใหญ่ยิ่ง ผ่านคลองจักษุของภิกษุหรือภิกษุณีนั้น ก็ครอบงำจิตของภิกษุหรือ ภิกษุณีนั้นไม่ได้เลย จะป่วยกล่าวไปไยถึงรูปอันเล็กน้อย จักครอบงำจิตของภิกษุ หรือภิกษุณีนั้นเล่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะราคะ โทสะ โมหะนั้นไม่มี ภิกษุ หรือภิกษุณีนั้นละราคะ โทสะ โมหะนั้นแล้ว ราคะ โทสะ โมหะ ของภิกษุ หรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง ไม่มีอยู่ในเสียง ... ในกลิ่น ... ในรส ... ใน โผฏฐัพพะ ... ในธรรมารมณ์อันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจ ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นละราคะ โทสะ โมหะนั้นแล้ว ถ้าธรรมารมณ์อันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจซึ่งเป็นของใหญ่ยิ่ง ผ่านมาทางใจของภิกษุหรือภิกษุณีนั้น ก็ครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไม่ได้ เลย จะป่วยกล่าวไปไยถึงธรรมารมณ์อันเล็กน้อย จักครอบงำจิตของภิกษุหรือ ภิกษุณีนั้นเล่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะราคะ โทสะ โมหะนั้นไม่มี ภิกษุ หรือภิกษุณีนั้นละราคะ โทสะ โมหะนั้นได้แล้ว ฯ
จบสูตรที่ ๔
โกฏฐิกสูตร
[๒๙๕] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโกฏฐิกะ อยู่ในป่า อิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้พระนครพาราณสี ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเย็น ท่าน พระมหาโกฏฐิกะออกจากที่พักผ่านแล้วเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้ ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึง นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า ดูกรท่านพระ- *สารีบุตร จักษุเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของรูป รูปเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของจักษุ หู เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของเสียง เสียงเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของหู จมูกเป็นเครื่อง เกาะเกี่ยวของกลิ่น กลิ่นเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของจมูก ลิ้นเป็นเครื่องเกาะเกี่ยว ของรส รสเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของลิ้น กายเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของโผฏฐัพพะ โผฏฐัพพะเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของกาย ใจเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของใจหรือ ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ดูกรท่าน- *โกฏฐิกะ จักษุเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของรูป รูปเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของจักษุหามิได้ ความพอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุและรูปทั้งสองนั้น เป็นเครื่องเกาะเกี่ยว ในจักษุและรูปนั้น หูเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของเสียง เสียงเป็นเครื่องเกาะเกี่ยว ของหูหามิได้ ความพอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยหูและเสียงทั้งสองนั้น เป็น เครื่องเกาะเกี่ยวในหูและเสียงนั้น จมูกเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของกลิ่น กลิ่นเป็น เครื่องเกาะเกี่ยวของจมูกหามิได้ ความพอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยจมูกและ กลิ่นทั้งสองนั้น เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวในจมูกและกลิ่นนั้น ลิ้นเป็นเครื่องเกาะเกี่ยว ของรส รสก็เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของลิ้นหามิได้ ความพอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะ อาศัยลิ้นกับรสทั้งสองนั้น เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวในลิ้นและรสนั้น กายเป็นเครื่อง เกาะเกี่ยวของโผฏฐัพพะ โผฏฐัพพะก็เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของกายหามิได้ ความ พอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะทั้งสองนั้น เป็นเครื่องเกาะเกี่ยว ในกายและโผฏฐัพพะนั้น ใจเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์ก็ เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของใจหามิได้ ความพอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยใจและ ธรรมารมณ์ทั้งสองนั้น เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวในใจและธรรมารมณ์นั้น ฯ [๒๙๖] ดูกรท่านโกฏฐิกะ โคดำกับโคขาว เขาผูกติดกันด้วยสายทาม หรือด้วยเชือกเส้นเดียวกัน หากจะมีบุคคลใดกล่าวว่า โคดำเกี่ยวเนื่องกับโคขาว โคขาวเกี่ยวเนื่องกับโคดำ ดังนี้ บุคคลนั้นกล่าวชอบหรือ ฯ ก. ดูกรท่านพระสารีบุตร ไม่ใช่อย่างนั้น โคดำไม่เกี่ยวเนื่องกับโคขาว ทั้งโคขาวก็ไม่เกี่ยวเนื่องกับโคดำ โคดำกับโคขาวนั้นเขาผูกติดกันด้วยสายทามหรือ ด้วยเชือกเส้นเดียวกัน สายทามหรือเชือกนั้นเป็นเครื่องเกี่ยวเนื่องในโคทั้งสองนั้น ฉันใด ฯ สา. ดูกรท่านโกฏฐิกะ ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักษุเป็นเครื่องเกาะ เกี่ยวของรูป รูปเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของจักษุหามิได้ ความพอใจรักใคร่เกิดขึ้น เพราะอาศัยจักษุและรูปทั้งสองนั้น เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวในจักษุและรูปนั้น ฯลฯ ใจเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของใจหา มิได้ ความพอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยใจและธรรมารมณ์ทั้งสองนั้น เป็น เครื่องเกาะเกี่ยวในใจและธรรมารมณ์นั้น ฯ [๒๙๗] ดูกรท่านโกฏฐิกะ จักษุจักเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของรูป หรือรูป จักเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของจักษุ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อความสิ้นทุกข์โดย ชอบ ย่อมไม่ปรากฏ แต่เพราะจักษุไม่เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของรูป รูปก็ไม่เป็น เครื่องเกาะเกี่ยวของจักษุ ความพอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุและรูปทั้งสอง นั้น เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวในจักษุและรูปนั้น เพราะฉะนั้น การอยู่ประพฤติ พรหมจรรย์เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ จึงปรากฏ ฯลฯ ใจจักเป็นเครื่องเกาะเกี่ยว ของธรรมารมณ์ หรือธรรมารมณ์จักเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของใจ การอยู่ประพฤติ พรหมจรรย์เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ ย่อมไม่ปรากฏ แต่เพราะใจไม่เป็นเครื่อง เกาะเกี่ยวของธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์ก็ไม่เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของใจ ความพอใจ รักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยใจและธรรมารมณ์ทั้งสองนั้น เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวในใจ และธรรมารมณ์นั้น เพราะฉะนั้น การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อความสิ้นทุกข์ โดยชอบ จึงปรากฏ ดูกรท่านโกฏฐิกะ ข้อนี้พึงทราบโดยปริยายแม้นี้ จักษุไม่ เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของรูป รูปก็ไม่เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของจักษุ ความพอใจ รักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุและรูปทั้งสองนั้น เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวในจักษุและ รูปนั้น ฯลฯ ใจไม่เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์ก็ไม่เป็นเครื่อง เกาะเกี่ยวของใจ ความพอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยใจและธรรมารมณ์ทั้งสอง นั้น เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวในใจและธรรมารมณ์นั้น ฯ [๒๙๘] ดูกรท่านโกฏฐิกะ พระเนตรของพระผู้มีพระภาคมีอยู่แท้ พระ- *องค์ก็ทรงเห็นรูปด้วยพระเนตร แต่พระองค์ไม่มีความพอใจรักใคร่เลย พระองค์ ทรงมีจิตหลุดพ้นดีแล้ว พระโสตของพระผู้มีพระภาคมีอยู่แท้ พระองค์ก็ยังทรง ฟังเสียงด้วยพระโสต แต่พระองค์ไม่มีความพอใจรักใคร่ พระองค์ทรงมีจิต หลุดพ้นดีแล้ว พระนาสิกของพระผู้มีพระภาคมีอยู่แท้ พระองค์ก็ทรงสูดกลิ่นด้วย พระนาสิก แต่พระองค์ไม่มีความพอใจรักใคร่ พระองค์ทรงมีจิตหลุดพ้นดีแล้ว พระชิวหาของพระผู้มีพระภาคมีอยู่แท้ พระองค์ก็ทรงลิ้มรสด้วยพระชิวหา แต่ พระองค์ไม่มีความพอใจรักใคร่ พระองค์ทรงมีจิตหลุดพ้นดีแล้ว พระกายของ พระผู้มีพระภาคมีอยู่แท้ พระองค์ก็ทรงถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยพระกาย แต่พระองค์ ไม่มีความพอใจรักใคร่ พระองค์ทรงมีจิตหลุดพ้นดีแล้ว พระมนัสของพระผู้มี- *พระภาคมีอยู่แท้ พระองค์ก็ทรงรู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยพระมนัส แต่พระองค์ไม่มี ความพอใจรักใคร่ พระองค์ทรงมีจิตหลุดพ้นแล้ว ดูกรท่านโกฏฐิกะ ข้อนี้พึงทราบ โดยปริยายนี้ จักษุไม่เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของรูป รูปก็ไม่เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของ จักษุ ความพอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุและรูปทั้งสองนั้น เป็นเครื่อง เกาะเกี่ยวในจักษุและรูปนั้น ฯลฯ ใจไม่เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์ก็ไม่เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของใจ ความพอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัย ใจและธรรมารมณ์ทั้งสองนั้น เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวในใจและธรรมารมณ์นั้น ฯ
จบสูตรที่ ๕
กามภูสูตร
[๒๙๙] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์และท่านพระกามภูอยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้พระนครโกสัมพี ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเย็น ท่านพระกามภูออกจากที่พักผ่อน แล้ว เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระอานนท์ ครั้นผ่าน การปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ ถามท่านพระอานนท์ว่า ดูกรท่านพระอานนท์ จักษุเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของรูป รูปเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของจักษุ ฯลฯ ใจเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของใจหรือ ฯ ท่านพระอานนท์ตอบว่า ดูกรท่านพระกามภู จักษุเป็นเครื่องเกาะเกี่ยว ของรูป รูปเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของจักษุหามิได้ ความพอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะ อาศัยจักษุและรูปทั้งสองนั้น เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวในจักษุและรูปนั้น ฯลฯ ใจเป็น เครื่องเกาะเกี่ยวของธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของใจหามิได้ ความพอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยใจและธรรมารมณ์ทั้งสองนั้น เป็นเครื่องเกาะ เกี่ยวในใจและธรรมารมณ์นั้น ดูกรท่านพระกามภู โคดำกับโคขาว เขาผูกติดกัน ด้วยสายทามหรือด้วยเชือกเส้นเดียวกัน หากจะมีบุคคลใดกล่าวว่า โคดำเกี่ยว เนื่องกับโคขาว โคขาวเกี่ยวเนื่องกับโคดำ ดังนี้ บุคคลนั้นกล่าวชอบหรือ ฯ กา. ดูกรท่านพระอานนท์ ไม่ใช่เช่นนั้น โคดำไม่เกี่ยวเนื่องกับโคขาว ทั้งโคขาวก็ไม่เกี่ยวเนื่องกับโคดำ โคดำกับโคขาวนั้น เขาผูกติดกันด้วยสายทาม หรือด้วยเชือกเส้นเดียวกัน สายทามหรือเชือกเส้นเดียวกันนั้น เป็นเครื่องเกี่ยว เนื่องในโคทั้งสองนั้น ฉันใด ฯ อา. ดูกรท่านกามภู ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักษุเป็นเครื่องเกาะเกี่ยว ของรูป รูปก็เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของจักษุหามิได้ ความพอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะ อาศัยจักษุและรูปทั้งสองนั้น เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวในจักษุและรูปนั้น ฯลฯ ใจเป็น เครื่องเกาะเกี่ยวของธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์ก็เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของใจหามิได้ ความพอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยใจและธรรมารมณ์ทั้งสองนั้น เป็นเครื่องเกาะ เกี่ยวในใจและธรรมารมณ์นั้น ฯ
จบสูตรที่ ๖
อุทายีสูตร
[๓๐๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์และท่านพระอุทายีอยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้พระนครโกสัมพี ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเย็น ท่านพระอุทายีออกจากที่พักผ่อน แล้ว เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระอานนท์ ครั้นผ่าน การปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ กล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า ดูกรท่านพระอานนท์ กายนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสบอก เปิดเผย ประกาศแล้วโดยปริยายต่างๆ ว่า แม้เพราะเหตุนี้ กายนี้เป็นอนัตตา ดังนี้ ฉันใด แม้วิญญาณนี้ ท่านอาจจะบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก กระทำให้ตื้นว่า แม้เพราะเหตุนี้ วิญญาณนี้เป็นอนัตตา ฉันนั้นหรือ ฯ ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ดูกรท่านพระอุทายี กายนี้ พระผู้มีพระภาค ตรัสบอก เปิดเผย ประกาศแล้วโดยปริยายต่างๆ ว่า แม้เพราะเหตุนี้ กายนี้ เป็นอนัตตา ดังนี้ ฉันใด แม้วิญญาณนี้ ผมอาจจะบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก กระทำให้ตื้นว่า แม้เพราะเหตุนี้ วิญญาณนี้เป็นอนัตตา ฉันนั้น ฯ [๓๐๑] ดูกรท่านพระอุทายี จักษุวิญญาณย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุ และรูปหรือ ฯ อุ. อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ ฯ อา. เหตุและปัจจัยที่อาศัยจักษุวิญญาณเกิดขึ้น พึงดับไปหมดสิ้น หา ส่วนเหลือมิได้ จักษุวิญญาณจะปรากฏบ้างหรือหนอ ฯ อุ. ไม่ปรากฏเลย ท่านผู้มีอายุ ฯ อา. แม้โดยปริยายนี้แล จักษุวิญญาณนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสบอก เปิดเผย ประกาศแล้วว่า แม้เพราะเหตุนี้ วิญญาณนี้เป็นอนัตตา ดังนี้ ฯลฯ ดูกรท่านพระอุทายี มโนวิญญาณย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัยใจและธรรมารมณ์หรือ ฯ อุ. อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ ฯ อา. เหตุและปัจจัยที่อาศัยมโนวิญญาณเกิดขึ้น พึงดับไปหมดสิ้น หา ส่วนเหลือมิได้ มโนวิญญาณจะปรากฏบ้างหรือหนอ ฯ อุ. ไม่ปรากฏเลย ท่านผู้มีอายุ ฯ อา. ดูกรท่านผู้มีอายุ แม้โดยปริยายนี้แล มโนวิญญาณนี้ พระผู้มี- *พระภาคตรัสบอก เปิดเผย ประกาศแล้วว่า แม้เพราะเหตุนี้ วิญญาณนี้เป็น อนัตตา ฯ [๓๐๒] ดูกรท่านพระอุทายี บุรุษต้องการแก่นไม้ เที่ยวเสาะแสวงหา แก่นไม้ ถือเอาขวานอันคมเข้าไปสู่ป่า พบต้นกล้วยใหญ่ ตรง ใหม่ ไม่รุงรัง ใน ป่านั้น พึงตัดที่โคนต้นแล้วตัดที่ปลาย ครั้นแล้วลอกกาบออก แม้กระพี้ที่ต้นกล้วย นั้นก็ไม่พบ ที่ไหนจะพบแก่นได้ ฉันใด ดูกรท่านพระอุทายี ภิกษุจะพิจารณา หาตัวตนหรือสิ่งที่เป็นตัวตนในผัสสายตนะ ๖ ไม่ได้ ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อ เล็งเห็นอยู่อย่างนี้ ก็ไม่ยึดถือสิ่งใดในโลก เมื่อไม่ยึดถือ ก็ไม่ดิ้นรน เมื่อไม่ ดิ้นรน ก็ปรินิพพานโดยแน่แท้ ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ
จบสูตรที่ ๗
อาทิตตปริยายสูตร
[๓๐๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอาทิตตปริยายและธรรมปริยาย แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาทิตตปริยายและธรรม ปริยายเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลแทงจักขุนทรีย์ด้วยหลาวเหล็กอันร้อน ไฟติดลุกโพลงแล้ว ยังดีกว่า การถือนิมิตโดยอนุพยัญชนะในรูป อันจะพึงรู้แจ้ง ด้วยจักษุ จะดีอะไร วิญญาณอันเนื่องด้วยความยินดีในนิมิต หรือเนื่องด้วยความ ยินดีในอนุพยัญชนะ พึงตั้งอยู่ ถ้าบุคคลพึงทำกาลกิริยาในสมัยนั้น พึงเข้าถึงคติ ๒ อย่าง คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์เดียรัจฉานอย่างใดอย่างหนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่ จะมีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราเห็นโทษอันนี้ จึงกล่าวอย่างนี้ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเกี่ยวโสตินทรีย์ด้วยขอเหล็กอันคม ไฟติดลุก โพลงแล้ว ยังดีกว่า การถือนิมิตโดยอนุพยัญชนะในเสียงอันจะพึงรู้แจ้งด้วยหู จะดีอะไร วิญญาณอันเนื่องด้วยความยินดีในนิมิตหรือเนื่องด้วยความยินดีในอนุ- *พยัญชนะ พึงตั้งอยู่ ถ้าบุคคลพึงทำกาลกิริยาในสมัยนั้น พึงเข้าถึงคติ ๒ อย่าง คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์เดียรัจฉานอย่างใดอย่างหนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราเห็นโทษอันนี้ จึงได้กล่าวอย่างนี้ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลคว้านฆานินทรีย์ด้วยมีดตัดเล็บอันคม ไฟติด ลุกโพลงแล้ว ยังดีกว่า การถือนิมิตโดยอนุพยัญชนะในกลิ่นอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจมูก จะดีอะไร วิญญาณอันเนื่องด้วยความยินดีในนิมิต หรือเนื่องด้วยความยินดีใน อนุพยัญชนะ พึงตั้งอยู่ ถ้าบุคคลพึงทำกาลกิริยาในสมัยนั้น พึงเข้าถึงคติ ๒ อย่าง คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์เดียรัจฉานอย่างใดอย่างหนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราเห็นโทษอันนี้ จึงได้กล่าวอย่างนี้ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเฉือนชิวหินทรีย์ด้วยมีดโกนอันคม ไฟติดลุก โพลงแล้ว ยังดีกว่า การถือนิมิตโดยอนุพยัญชนะในรส อันจะพึงรู้แจ้งด้วยลิ้น จะดีอะไร วิญญาณอันเนื่องด้วยความยินดีในนิมิต หรือเนื่องด้วยความยินดีใน อนุพยัญชนะ พึงตั้งอยู่ ถ้าบุคคลพึงทำกาลกิริยาในสมัยนั้น พึงเข้าถึงคติ ๒ อย่าง คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์เดียรัจฉานอย่างใดอย่างหนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราเห็นโทษอันนี้ จึงได้กล่าวอย่างนี้ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลแทงกายินทรีย์ด้วยหอกอันคม ไฟติดลุกโพลง แล้ว ยังดีกว่า การถือนิมิตโดยอนุพยัญชนะในโผฏฐัพพะ อันจะพึงรู้แจ้งด้วยกาย จะดีอะไร วิญญาณอันเนื่องด้วยความยินดีในนิมิต หรือเนื่องด้วยความยินดีใน อนุพยัญชนะ พึงตั้งอยู่ ถ้าบุคคลทำกาลกิริยาในสมัยนั้น พึงเข้าถึงคติ ๒ อย่าง คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์เดียรัจฉานอย่างใดอย่างหนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราเห็นโทษอันนี้ จึงได้กล่าวอย่างนี้ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความหลับยังดีกว่า แต่เรากล่าวความหลับว่าเป็นโทษ ไร้ผล เป็นความโง่เขลา ของบุคคลผู้เป็นอยู่ ตนลุอำนาจของวิตกเช่นใดแล้ว พึง ทำลายสงฆ์ให้แตกกันได้ บุคคลไม่ควรตรึกถึงวิตกเช่นนั้นเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราเห็นโทษอันนี้แลว่าเป็นอาทีนพของบุคคลผู้เป็นอยู่ จึงกล่าวอย่างนี้ ฯ [๓๐๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อม พิจารณาเห็นดังนี้ว่า จักขุนทรีย์ที่บุคคลแทงด้วยหลาวเหล็กอันร้อน ไฟติดลุก โพลงแล้ว จงงดไว้ก่อน ผิฉะนั้น เราจะทำไว้ในใจอย่างนี้ว่า จักษุไม่เที่ยง รูปไม่เที่ยง จักษุวิญญาณไม่เที่ยง จักษุสัมผัสไม่เที่ยง แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยไม่เที่ยง โสตินทรีย์ที่ บุคคลเกี่ยวด้วยขอเหล็กอันคม ไฟติดลุกโพลงแล้ว จงงดไว้ก่อน ผิฉะนั้น เราจะทำไว้ในใจอย่างนี้ว่า หูไม่เที่ยง เสียงไม่เที่ยง โสตวิญญาณไม่เที่ยง โสต- *สัมผัสไม่เที่ยง แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัยไม่เที่ยง ฆานินทรีย์ที่บุคคลคว้านด้วยมีดตัดเล็บอันคม ไฟติดลุกโพลงแล้ว จงงดไว้ก่อน ผิฉะนั้น เราจะทำไว้ในใจอย่างนี้ว่า จมูก ไม่เที่ยง กลิ่นไม่เที่ยง ฆานวิญญาณไม่เที่ยง ฆานสัมผัสไม่เที่ยง แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยง ชิวหินทรีย์ที่บุคคลเฉือนด้วยมีดโกนอันคม ไฟติดลุกโพลงแล้ว จงงดไว้ก่อน ผิฉะนั้น เราจะทำไว้ในใจอย่างนี้ว่า ลิ้นไม่เที่ยง รสไม่เที่ยง ชิวหาวิญญาณไม่เที่ยง ชิวหาสัมผัสไม่เที่ยง แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยง กายินทรีย์ที่บุคคลแทงด้วยหอกอันคม ไฟติดลุกโพลงแล้ว จงงดไว้ก่อน ผิฉะนั้น เราจะทำไว้ในใจอย่างนี้ว่า กาย ไม่เที่ยง โผฏฐัพพะไม่เที่ยง กายวิญญาณไม่เที่ยง กายสัมผัสไม่เที่ยง แม้ สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะกายสัมผัสเป็น ปัจจัยก็ไม่เที่ยง ความหลับจงงดไว้ก่อน ผิฉะนั้น เราจะทำไว้ในใจอย่างนี้ว่า ใจไม่เที่ยง ธรรมารมณ์ไม่เที่ยง มโนวิญญาณไม่เที่ยง มโนสัมผัสไม่เที่ยง สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็น ปัจจัยก็ไม่เที่ยง ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ แม้ในรูป แม้ในจักษุวิญญาณ แม้ในจักษุสัมผัส แม้ ในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็น ปัจจัย ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในใจ แม้ในธรรมารมณ์ แม้ในมโนวิญญาณ แม้ในมโนสัมผัส แม้ในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติ สิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็น อย่างนี้มิได้มี ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเรียกว่าอาทิตตปริยาย และธรรมปริยาย ฉะนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๘
หัตถปาทปัพพสูตรที่ ๑
[๓๐๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อมือทั้ง ๒ มีอยู่ การจับและการวางก็ ปรากฏ เมื่อเท้าทั้ง ๒ มีอยู่ การก้าวไปและถอยกลับก็ปรากฏ เมื่อข้อทั้งหลาย มีอยู่ การคู้เข้าและเหยียดออกก็ปรากฏ เมื่อท้องมีอยู่ ความหิวและความระหาย ก็ปรากฏ ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อจักษุมีอยู่ สุขและทุกข์อันเป็นภายใน ย่อมเกิดขึ้น เพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เมื่อใจมีอยู่ สุขและทุกข์อันเป็น ภายในย่อมเกิดขึ้น เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ [๓๐๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อมือทั้ง ๒ ไม่มี การจับและการวางก็ไม่ ปรากฏ เมื่อเท้าทั้ง ๒ ไม่มี การก้าวไปและถอยกลับก็ไม่ปรากฏ เมื่อข้อทั้งหลาย ไม่มี การคู้เข้าและเหยียดออกก็ไม่ปรากฏ เมื่อท้องไม่มี ความหิวและความระหาย ก็ไม่ปรากฏ ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อจักษุไม่มี สุขและทุกข์อันเป็นภายใน ย่อมไม่เกิดขึ้น เพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เมื่อใจไม่มี สุขและทุกข์อันเป็น ภายในย่อมไม่เกิดขึ้น เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ
จบสูตรที่ ๙
หัตถปาทปัพพสูตรที่ ๒
[๓๐๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อมือทั้ง ๒ มี การจับและการวางก็มี เมื่อเท้าทั้ง ๒ มี การก้าวไปและถอยกลับก็มี เมื่อข้อทั้งหลายมี การคู้เข้าและ เหยียดออกก็มี เมื่อท้องมี ความหิวและความระหายก็มี ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อจักษุมีอยู่ สุขและทุกข์อันเป็นภายในย่อมเกิดขึ้น เพราะจักษุสัมผัสเป็น ปัจจัย ฯลฯ เมื่อใจมีอยู่ สุขและทุกข์อันเป็นภายในย่อมเกิดขึ้น เพราะมโน- *สัมผัสเป็นปัจจัย ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ [๓๐๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อมือทั้ง ๒ ไม่มี การจับและการวางก็ไม่มี เมื่อเท้าทั้ง ๒ ไม่มี การก้าวไปและถอยกลับก็ไม่มี เมื่อข้อทั้งหลายไม่มี การคู้เข้า และเหยียดออกก็ไม่มี เมื่อท้องไม่มี ความหิวและความระหายก็ไม่มี ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อจักษุไม่มี สุขและทุกข์อันเป็นภายในไม่เกิดขึ้น เพราะจักษุ สัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เมื่อใจไม่มี สุขและทุกข์อันเป็นภายในก็ไม่เกิดขึ้น เพราะ มโนสัมผัสเป็นปัจจัย ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
จบสมุททวรรคที่ ๓
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สมุทรสูตรที่ ๑ ๒. สมุทรสูตรที่ ๒ ๓. พาลิสิกสูตร ๔. ขีรรุกขสูตร ๕. โกฏฐิกสูตร ๖. กามภูสูตร ๗. อุทายีสูตร ๘. อาทิตตปริยายสูตร ๙. หัตถปาทปัพพสูตรที่ ๑ ๑๐. หัตถปาทปัพพ- *สูตรที่ ๒ ฯ
อาสีวิสวรรคที่ ๔
อาสีวิสสูตร
[๓๐๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของ ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัส กะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนอย่างว่า มีอสรพิษ ๔ จำพวก ซึ่ง มีฤทธิ์เดชแรงกล้า ถ้ามีบุรุษรักชีวิต ผู้ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์ ชน ทั้งหลายพึงกล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า ดูกรท่าน อสรพิษ ๔ จำพวกนี้ มีฤทธิ์เดชแรง กล้า ท่านพึงปลุกให้ลุกตามเวลา ให้อาบน้ำตามเวลา ให้กินอาหารตามเวลา ให้ เข้าสู่ที่อยู่ตามเวลา เวลาใดอสรพิษทั้ง ๔ จำพวกนี้ ตัวใดตัวหนึ่งโกรธขึ้น เวลา นั้น ท่านก็จะพึงถึงความตาย หรือถึงทุกข์แทบปางตาย กิจใดที่ท่านควรทำ ก็จงทำ กิจนั้นเสีย ฯ [๓๑๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น บุรุษนั้นกลัวอสรพิษทั้ง ๔ จำพวกนั้น จึงหนีไปในที่อื่น ชนทั้งหลายพึงกล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า ดูกรท่าน มีเพชฌฆาตผู้ เป็นข้าศึกอยู่ ๕ คน ได้ติดตามมาข้างหลังท่าน พบท่านในที่ใด ก็จะฆ่าท่านเสีย ในที่นั้น กิจใดที่ท่านควรทำ ก็จงทำกิจนั้นเสีย ฯ [๓๑๑] ครั้งนั้นแล บุรุษนั้นกลัวอสรพิษทั้ง ๔ จำพวก และกลัว เพชฌฆาตผู้เป็นข้าศึกทั้ง ๕ คนนั้น จึงหนีไปในที่อื่น ชนทั้งหลายพึงกล่าวกะเขา อย่างนี้ว่า ดูกรท่าน มีเพชฌฆาตคนที่ ๖ ซึ่งเที่ยวไปในอากาศ เงื้อดาบติดตาม มาข้างหลังท่าน พบท่านในที่ใด ก็จะตัดศีรษะของท่านเสียในที่นั้น กิจใดที่ท่าน ควรทำ ก็จงทำกิจนั้นเสีย ฯ [๓๑๒] ครั้งนั้น บุรุษนั้นกลัวอสรพิษทั้ง ๔ จำพวกซึ่งมีฤทธิ์เดชแรงกล้า กลัวเพชฌฆาตผู้เป็นข้าศึกทั้ง ๕ และกลัวเพชฌฆาตคนที่ ๖ ซึ่งเที่ยวไปในอากาศ เงื้อดาบอยู่ จึงหนีไปในที่อื่น เขาพบบ้านร้างเข้า จึงเข้าไปสู่เรือนร้างว่างเปล่า หลังหนึ่ง ลูบคลำภาชนะว่างเปล่าชนิดหนึ่ง ชนทั้งหลายพึงกล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า ดูกรท่าน มีโจรทั้งหลายคอยฆ่าชาวบ้าน เข้ามาสู่บ้านร้างนี้เสมอ กิจใดที่ท่านควรทำ ก็จงทำกิจนั้นเสีย ฯ [๓๑๓] ครั้งนั้น บุรุษนั้นกลัวอสรพิษทั้ง ๔ กลัวเพชฌฆาตทั้ง ๕ กลัว เพชฌฆาตคนที่ ๖ และกลัวโจรผู้คอยฆ่าชาวบ้าน จึงหนีไปในที่อื่น เขาไปพบ ห้วงน้ำใหญ่แห่งหนึ่ง ฝั่งข้างนี้น่ารังเกียจ เต็มไปด้วยภัยอันตราย ฝั่งข้างโน้น เป็นที่เกษมปลอดภัย เรือแพ หรือสะพานที่จะข้ามไปฝั่งโน้นไม่มี ฯ [๓๑๔] ครั้งนั้น บุรุษนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า ห้วงน้ำนี้ใหญ่นัก ฝั่งข้าง นี้เป็นที่น่ารังเกียจ เต็มไปด้วยภัยอันตราย ฝั่งข้างโน้นเป็นที่เกษมปลอดภัยเรือ แพ หรือสะพานที่จะข้ามไปฝั่งโน้นก็ไม่มี ผิฉะนั้น เราควรจะมัดหญ้ากิ่งไม้และ ใบไม้ ผูกเป็นแพ เกาะแพนั้น พยายามไปด้วยมือและด้วยเท้า ก็พึงถึงฝั่งโน้น ได้โดยความสวัสดี ครั้นแล้ว บุรุษนั้นทำตามความคิดของตน ก็ว่ายข้ามฟากถึง ฝั่งข้างโน้นแล้ว เป็นพราหมณ์ขึ้นบกไป ฯ [๓๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้ออุปมานี้ เราสมมติขึ้นเพื่อจะให้รู้เนื้อความ โดยง่าย ในข้อนั้นมีเนื้อความดังนี้ คำว่า อสรพิษที่มีฤทธิ์แรงกล้าทั้ง ๔ จำพวก นั้น เป็นชื่อแห่งมหาภูตรูป ๔ คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม คำว่า เพชฌฆาตทั้ง ๕ คนที่เป็นข้าศึกนั้น เป็นชื่อแห่งอุปาทานขันธ์ ๕ คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ คำว่า เพชฌฆาตคนที่ ๖ ซึ่งเที่ยวไปในอากาศเงื้อดาบอยู่นั้น เป็นชื่อแห่งนันทิราคะ คำว่า บ้านร้างนั้น เป็นชื่อแห่งอายตนะภายใน ๖ ฯ [๓๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้บัณฑิตผู้ฉลาด มีปัญญาใคร่ครวญ อายตนะภายใน ๖ นั้น ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็จะปรากฏว่าเป็นของ ว่าง เปล่า สูญทั้งนั้น ฯ คำว่า โจรผู้ฆ่าชาวบ้านนั้น เป็นชื่อแห่งอายตนะภายนอก ๖ ตาย่อม เดือดร้อนเพราะรูปเป็นที่พอใจและไม่พอใจ หูย่อมเดือดร้อน เพราะเสียงเป็นที่ พอใจและไม่พอใจ จมูกย่อมเดือดร้อนเพราะกลิ่นเป็นที่พอใจและไม่พอใจ ลิ้น ย่อมเดือดร้อนเพราะรสเป็นที่พอใจและไม่พอใจ กายย่อมเดือดร้อนเพราะโผฏ- *ฐัพพะเป็นที่พอใจและไม่พอใจ ใจย่อมเดือดร้อนเพราะธรรมารมณ์เป็นที่พอใจและ ไม่พอใจ คำว่า ห้วงน้ำใหญ่นั้น เป็นชื่อแห่งโอฆะทั้ง ๔ คือ กาโมฆะ ภโวฆะ ทิฏโฐฆะ อวิชโชฆะ คำว่า ฝั่งข้างนี้อันเป็นที่น่ารังเกียจ เต็มไปด้วยภัยอันตราย นั้น เป็นชื่อแห่งร่างกายของตน คำว่า ฝั่งข้างโน้นเป็นที่เกษม ปลอดภัยนั้น เป็นชื่อแห่งนิพพาน คำว่า แพนั้น เป็นชื่อแห่งอริยมรรคมีองค์ ๘ ประการ คือ สัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ คำว่า พยายามข้ามไปด้วยมือและเท้า เป็นชื่อแห่ง วิริยารัมภะ คำว่า ผู้เป็นพราหมณ์ว่ายข้ามฟากถึงฝั่งโน้นแล้วขึ้นบกไป เป็นชื่อ แห่งพระอรหันต์ ฯ
จบสูตรที่ ๑
รถสูตร
[๓๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ย่อม มากด้วยความสุขโสมนัสอยู่ในปัจจุบัน และย่อมปรารภอุบายเพื่อความสิ้นอาสวะ ทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ ทั้งหลาย ๑ รู้ประมาณในโภชนะ ๑ ประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายอย่างไร ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อม ปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะพึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรม อันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์ ชื่อว่าถึง ความสำรวมในจักขุนทรีย์ ภิกษุฟังเสียงด้วยหู ... ดมกลิ่นด้วยจมูก ... ลิ้มรส ด้วยลิ้น... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ... รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ถือ นิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อความสำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่ สำรวมแล้ว จะพึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัส ครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษามนินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย นายสารถีฝึกม้าผู้ฉลาด เป็นอาจารย์ฝึกฝนม้า ขึ้นสู่รถม้าอันเทียมแล้ว ซึ่งมีประตักอันวางไว้แล้ว ถือเชือกด้วยมือซ้าย ถือประตักด้วยมือขวา ขับไป ทางหน้าก็ได้ ถอยกลับข้างหลังก็ได้ ในถนนใหญ่ ๔ แยก ซึ่งมีพื้นเรียบดี ตาม ความประสงค์ ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมศึกษาเพื่อจะรักษา ศึกษา เพื่อจะสำรวมศึกษาเพื่อจะฝึกฝน ศึกษาเพื่อจะระงับอินทรีย์ทั้ง ๖ เหล่านี้ ก็ฉันนั้น เหมือนกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย อย่างนี้แล ฯ [๓๑๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะอย่างไร ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคาย บริโภคอาหารด้วยมนสิการว่า เราไม่บริโภค เพื่อเล่น เพื่อความมัวเมา เพื่อจะประดับ เพื่อจะตกแต่ง บริโภคเพียงเพื่อดำรง อยู่แห่งร่างกายนี้ เพื่อยังอัตภาพให้เป็นไป เพื่อจะกำจัดความลำบาก เพื่ออนุเคราะห์ พรหมจรรย์ ด้วยประการดังกล่าวมานี้ เราจักกำจัดเวทนาเก่าเสีย จักไม่ให้เวทนา ใหม่เกิดขึ้น การยังชีพให้เป็นไป ความไม่มีโทษและความอยู่สบายจักมีแก่เรา ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษพึงฉาบทาผิวกาย ก็เพียงเพื่อต้องการเสพ หรือบุรุษพึง หยอดน้ำมันเพลารถก็เพียงเพื่อต้องการขนสิ่งของไปได้ ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาโดยแยบคาย บริโภคอาหารด้วยมนสิการว่า เราไม่บริโภคเพื่อเล่น เพื่อความมัวเมา เพื่อจะประดับ เพื่อจะตกแต่งผิว บริโภคเพียงเพื่อดำรงอยู่แห่ง ร่างกายนี้ เพื่อยังอัตภาพให้เป็นไป เพื่อจะกำจัดความลำบาก เพื่ออนุเคราะห์ พรหมจรรย์ ด้วยประการดังกล่าวมานี้ เราจักกำจัดเวทนาเก่าเสีย จักไม่ให้เวทนา ใหม่เกิดขึ้น การยังชีพให้เป็นไป ความไม่มีโทษและความอยู่สบายจักมีแก่เรา ฉันนั้นเหมือนกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะอย่างนี้ แล ฯ [๓๑๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่ อย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกั้นความดี ด้วยการเดิน การนั่ง ในเวลากลางวัน พอถึงกลางคืนตอนปฐมยาม ย่อมชำระจิตให้ บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกั้นความดี ด้วยการเดิน การนั่ง ในตอนมัชฌิมยามแห่ง ราตรี ย่อมสำเร็จสีหไสยาโดยข้างเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ ทำไว้ในใจซึ่งอุฏฐานสัญญา พอถึงปัจฉิมยามแห่งราตรี ก็ลุกขึ้นชำระจิตให้บริสุทธิ์ จากธรรมเครื่องกั้นความดีด้วยการเดิน การนั่ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบ ด้วยธรรม ๓ ประการนี้ ชื่อว่าย่อมมากด้วยความสุขโสมนัสอยู่ในปัจจุบัน และ ย่อมปรารภอุบายเพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย ฯ
จบสูตรที่ ๒
กุมมสูตร
[๓๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว มีเต่าตัวหนึ่ง เที่ยวหากิน อยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำน้อยแห่งหนึ่งในเวลาเย็น สุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่งก็ได้เที่ยวหากินอยู่ ที่ริมฝั่งแม่น้ำน้อยแห่งหนึ่งในเวลาเย็น เต่าได้แลเห็นสุนัขจิ้งจอกซึ่งเที่ยวหากินอยู่ แต่ไกลแล้ว ก็หดอวัยวะ ๕ ทั้งหัว (หดขาทั้ง ๔ มีคอเป็นที่ ๕) เข้าอยู่ในกระดอง ของตนเสีย มีความขวนขวายน้อย นิ่งอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฝ่ายสุนัขจิ้งจอก ก็ได้แลเห็นเต่าซึ่งเที่ยวหากินอยู่แต่ไกลแล้ว เข้าไปหาเต่าถึงที่แล้ว ได้ยืนอยู่ใกล้ เต่าด้วยคิดว่า เวลาใดเต่าตัวนี้จักเหยียดคอหรือขาข้างใดข้างหนึ่งออกมา เวลานั้น เราจักงับมันฟาดแล้วกัดกินเสีย เวลาใด เต่าไม่เหยียดคอหรือขาข้างใดข้างหนึ่ง ออกมา เวลานั้น สุนัขจิ้งจอกก็หมดความอาลัย ไม่ได้โอกาส จึงหลีกไปจากเต่า ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย มารผู้ใจบาปอันท่านทั้งหลายเข้าใกล้อยู่เสมอๆ แล้ว ก็คิดว่า บางทีเราจะพึงได้โอกาสทางจักษุ หู จมูก ลิ้น กายหรือใจ ของภิกษุ เหล่านี้บ้าง เพราะฉันนั้นแล ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย อยู่ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว อย่าถือนิมิต อย่าถืออนุพยัญชนะ จงปฏิบัติเพื่อสำรวม จักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะพึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌา และโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียงด้วยหู... ดมกลิ่นด้วยจมูก... ลิ้มรสด้วยลิ้น... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย... รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว อย่าถือนิมิต อย่าถืออนุพยัญชนะ จงปฏิบัติเพื่อ สำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะพึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษามนินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมใน มนินทรีย์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวลาใด ท่านทั้งหลายจักเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ ทั้งหลายอยู่ เวลานั้นมารผู้ใจบาปก็จักหมดความอาลัย ไม่ได้โอกาส หลีกจากท่าน ทั้งหลายไป ดุจสุนัขจิ้งจอกหมดความอาลัยหลีกจากเต่า ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ [๓๒๑] ภิกษุผู้มีใจตั้งมั่นในมโนวิตก อันตัณหามานะและทิฐิไม่ อิงอาศัย ไม่เบียดเบียนผู้อื่นดับกิเลสได้แล้ว ไม่ติเตียนผู้ใด ผู้หนึ่ง เหมือนเต่าหดคอและขาอยู่ในกระดองของตน ฉะนั้น ฯ
จบสูตรที่ ๓
ทารุขันธสูตรที่ ๑
[๓๒๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคาแห่งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นท่อนไม้ใหญ่ท่อนหนึ่ง อันกระแสน้ำพัดลอย มาริมฝั่งแม่น้ำคงคา แล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย เห็นหรือไม่ ท่อนไม้ใหญ่โน้นอันกระแสน้ำพัดลอยมาในแม่น้ำคงคา ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลว่า เห็น พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าท่อนไม้จะไม่เข้ามาใกล้ฝั่งนี้หรือฝั่งโน้น จักไม่ จมเสียในท่ามกลาง จักไม่เกยบก ไม่ถูกมนุษย์หรืออมนุษย์จับเอาไว้ ไม่ถูกน้ำ วนๆ ไว้ จักไม่เน่าในภายใน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล ท่อนไม้นั้นจักลอยไหลเลื่อนไปสู่สมุทรได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า กระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคาลุ่มลาดไหลไปสู่สมุทร ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้า ท่านทั้งหลายจะไม่แวะเข้าฝั่งข้างนี้หรือฝั่งข้างโน้น ไม่จมลงในท่ามกลาง ไม่เกยบก ไม่ถูกมนุษย์หรืออมนุษย์จับไว้ ไม่ถูกเกลียวน้ำวนๆ ไว้ จักไม่เป็นผู้เสียในภายใน ไซร้ ด้วยประการดังกล่าวมานี้ ท่านทั้งหลายจักโน้มน้อมเอียงโอนไปสู่นิพพาน ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า สัมมาทิฐิย่อมโน้มน้อมเอียงโอนไปสู่นิพพาน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ [๓๒๓] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถาม พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ฝั่งนี้ได้แก่อะไร ฝั่งโน้นได้แก่อะไร การจมลงในท่ามกลางได้แก่อะไร การเกยบนบกได้แก่อะไร มนุษย์ผู้จับคืออะไร อมนุษย์ผู้จับคืออะไร เกลียวน้ำวนๆ ไว้คืออะไร ความเป็นของเน่าในภายใน คืออะไร พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ คำว่า ฝั่งนี้ เป็นชื่อแห่งอายตนะ ภายใน ๖ คำว่าฝั่งโน้น เป็นชื่อแห่งอายตนะภายนอก ๖ คำว่าจมในท่ามกลาง เป็นชื่อแห่งนันทิราคะ คำว่าเกยบก เป็นชื่อแห่งอัสมิมานะ ดูกรภิกษุ ก็ มนุษย์ผู้จับเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้คลุกคลี เพลิดเพลิน โศกเศร้า อยู่กับพวกคฤหัสถ์ เมื่อเขาสุขก็สุขด้วย เมื่อเขาทุกข์ก็ทุกข์ด้วย ย่อมถึงการ ประกอบตนในกิจการอันบังเกิดขึ้นแล้วของเขา ดูกรภิกษุ นี้เรียกว่ามนุษย์ผู้จับ ดูกรภิกษุ อมนุษย์ผู้จับเป็นไฉน ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมประพฤติ พรหมจรรย์ ปรารถนาเป็นเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่งว่า ด้วยศีล ด้วยวัตร ด้วยตบะ หรือด้วยพรหมจรรย์นี้ เราจักได้เป็นเทวดาหรือเทพยเจ้าองค์ใดองค์หนึ่ง ดูกรภิกษุ นี้เรียกว่าอมนุษย์ผู้จับ ดูกรภิกษุ คำว่าเกลียวน้ำวนๆ ไว้ เป็นชื่อแห่งกามคุณ ๕ ดูกรภิกษุ ความเป็นของเน่าในภายในเป็นไฉน ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็น ผู้ทุศีล มีธรรมอันลามก ไม่สะอาด มีความประพฤติน่ารังเกียจ มีการงานปกปิดไว้ ไม่เป็นสมณะ ก็ปฏิญาณว่าเป็นสมณะ ไม่เป็นพรหมจารี ก็ปฏิญาณว่าเป็นพรหมจารี เป็นผู้เน่าในภายใน มีใจชุ่มด้วยกาม เป็นดุจขยะมูลฝอย ดูกรภิกษุ นี้เรียกว่า ความเป็นผู้เน่าในภายใน ฯ [๓๒๔] ก็โดยสมัยนั้นแล นายนันทโคบาลยืนอยู่ในที่ไม่ไกลพระผู้มี- *พระภาค ณ ที่นั้นแล นายนันทโคบาลได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่เข้าใกล้ฝั่งนี้ ไม่เข้าใกล้ฝั่งโน้น ไม่จมลงใน ท่ามกลาง ไม่ติดบนบก ไม่ถูกมนุษย์จับ ไม่ถูกอมนุษย์จับ ไม่ถูกเกลียวน้ำวนๆ ไว้ จักไม่เน่าในภายใน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอประทานพระวโรกาส ข้าพระองค์พึงได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรนันทะ ถ้าอย่างนั้น ท่านจงมอบโคให้เจ้าของเถิด ฯ น. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โคที่ติดลูกจักไปเอง ฯ พ. ท่านจงมอบโคให้แก่เจ้าของเถิด นันทะ ฯ ครั้งนั้นแล นายนันทโคบาลมอบโคให้แก่เจ้าของแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มี- *พระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์มอบโคให้เจ้าของแล้ว ข้าพระองค์พึงได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของ พระผู้มีพระภาค นายนันทโคบาลได้บรรพชาอุปสมบทแล้วในสำนักของพระผู้มี- *พระภาค ก็แลท่านพระนันทะอุปสมบทแล้วไม่นาน เป็นผู้ๆ เดียว หลีกออกจาก หมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้วอยู่ ไม่นานนัก ก็ทำให้แจ้งซึ่ง ที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ซึ่งกุลบุตรทั้งหลายผู้ออกบวชเป็นบรรพชิตโดย ชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า ชาติ สิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็น อย่างนี้มิได้มี ก็ท่านพระนันทะได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ ทั้งหลาย ฯ
จบสูตรที่ ๔
ทารุขันธสูตรที่ ๒
[๓๒๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคา ใกล้เมือง กิมมิลา พระผู้มีพระภาคได้ทรงเห็นท่อนไม้ท่อนใหญ่ ถูกกระแสน้ำพัดไปในแม่น้ำ คงคา ครั้นแล้วตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอ ทั้งหลายเห็นหรือไม่ท่อนไม้ใหญ่โน้น ถูกกระแสน้ำพัดไปในแม่น้ำคงคา ภิกษุ ทั้งหลายกราบทูลว่า เห็นพระเจ้าข้า ฯลฯ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระกิมมิละได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ฝั่งนี้ได้แก่ อะไร ฯลฯ ดูกรกิมมิละ ความเป็นผู้เน่าในภายในเป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ เป็นผู้ต้องอาบัติที่เศร้าหมองอย่างใดอย่างหนึ่ง การออกจากอาบัติเช่นนั้น ยังไม่ ปรากฏ นี้เราเรียกว่าความเป็นผู้เน่าในภายใน ฯ
จบสูตรที่ ๕
อวัสสุตสูตร
[๓๒๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม ใกล้ พระนครกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกชนบท ก็โดยสมัยนั้นแล เจ้าศากยราชทั้งหลาย อยู่ครองเมืองกบิลพัสดุ์ ได้รับสั่งให้สร้างสัณฐาคารใหม่ในกาลไม่นาน เป็นสถาน ที่อันสมณพราหมณ์หรือมนุษย์ใดๆ ยังไม่ได้อยู่ครอง ครั้งนั้นแล เจ้าศากยราช ทั้งหลายผู้ครองเมืองกบิลพัสดุ์ เสด็จไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย บังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอประทานพระวโรกาส เจ้า ศากยราชทั้งหลายผู้ครองเมืองกบิลพัสดุ์ รับสั่งให้สร้างสัณฐาคารใหม่ในกาล ไม่นาน เป็นสถานที่อันสมณพราหมณ์ หรือมนุษย์ใดๆ ยังไม่ได้อยู่ครอง ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงบริโภคสัณฐาคารนั้นก่อน สัณฐาคารนั้น พระผู้มีพระภาคทรงบริโภคก่อนแล้ว เจ้าศากยราชทั้งหลายผู้ครองเมืองกบิลพัสดุ์ จักทรงบริโภคในภายหลัง การทรงบริโภคของพระผู้มีพระภาคนั้น พึงมีเพื่อ ประโยชน์ เพื่อความสุข แก่เจ้าศากยราชทั้งหลายผู้ครองเมืองกบิลพัสดุ์สิ้นกาล นาน พระผู้มีพระภาคทรงรับด้วยดุษณีภาพ ครั้งนั้นแล เจ้าศากยราชทั้งหลาย ผู้ครองเมืองกบิลพัสดุ์ทรงทราบการรับของพระผู้มีพระภาคแล้ว เสด็จลุกขึ้นจาก อาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทรงทำประทักษิณแล้ว เสด็จเข้าไปยัง สัณฐาคารใหม่ รับสั่งให้ลาดสัณฐาคารที่บุคคลลาดแล้วด้วยเครื่องลาดทั้งปวง ปูอาสนะแล้ว รับสั่งให้ตั้งแก้วน้ำไว้ประจำ แล้วรับสั่งให้ตามประทีปน้ำมันขึ้น แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สัณฐาคารอันบุคคลปูลาดแล้วด้วยเครื่องลาดทั้งปวง ปูอาสนะ แล้ว ตั้งแก้วน้ำประจำไว้แล้ว ตามประทีปน้ำมันแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้พระผู้มีพระภาคย่อมทรงสำคัญกาลที่จะเสด็จเข้าไป ฯ [๓๒๗] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกแล้ว ทรงถือ บาตรและจีวร เสด็จเข้าไปยังสัณฐาคารใหม่พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ครั้นแล้วทรง ล้างพระบาท แล้วเสด็จเข้าไปสู่สัณฐาคาร ประทับนั่งพิงเสากลาง ทรงผินพระพักตร์ ไปทางทิศบูรพา ฝ่ายภิกษุสงฆ์ล้างเท้าแล้วเข้าไปสู่สัณฐาคาร แล้วนั่งพิงฝาด้าน หลัง ผินหน้าไปทางทิศบูรพา ทำพระผู้มีพระภาคไว้ในเบื้องหน้า แม้เจ้าศากยราช ทั้งหลายผู้ครองเมืองกบิลพัสดุ์ล้างพระบาทแล้ว เสด็จเข้าไปสู่สัณฐาคาร แล้ว ประทับนั่งพิงฝาด้านหน้า ทรงผินพระพักตร์ไปเบื้องหลัง ทรงทำพระผู้มีพระภาคไว้ ในเบื้องหน้าอย่างเดียวกัน ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงยังเจ้าศากยราช ทั้งหลายผู้ครองเมืองกบิลพัสดุ์ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาหลายราตรี แล้วทรงส่งไปด้วยพระดำรัสว่า ดูกรท่านผู้โคตมโคตรทั้ง หลาย ราตรีล่วงไปแล้ว บัดนี้ท่านทั้งหลายจงสำคัญกาลที่จะเสด็จไปเถิด เจ้า ศากยราชทั้งหลายผู้ครองเมืองกบิลพัสดุ์ทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า แล้วเสด็จลุกขึ้นจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทรงทำประทักษิณแล้ว เสด็จไป ฯ [๓๒๘] ลำดับนั้นแล เมื่อเจ้าศากยราชทั้งหลายผู้ครองเมืองกบิลพัสดุ์ เสด็จไปแล้วไม่นาน พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพระมหาโมคคัลลานะมาตรัสว่า ดูกรโมคคัลลานะ ภิกษุสงฆ์ปราศจากถีนมิทธะแล้วแล ธรรมีกถาของเธอจงแจ่ม แจ้งแก่ภิกษุทั้งหลาย เราเมื่อยหลัง จักเหยียดหลัง ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงปูลาดผ้าสังฆาฏิ ๔ ชั้น แล้วทรงสำเร็จสีหไสยาโดยพระปรัสเบื้องขวา ทรงซ้อนพระบาทด้วยพระบาท มีพระสติสัมปชัญญะ ทรงทำไว้ในพระทัยซึ่งอุฏฐานสัญญา ในลำดับนั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะ เรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุ เหล่านั้นรับต่อพระมหาโมคคัลลานะแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย เราจักแสดงอวัสสุตปริยายและอนวัสสุตปริยายแก่ท่าน ทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงฟังอวัสสุตปริยายและอนวัสสุตปริยายนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นรับต่อท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้ว ท่านพระมหา- *โมคคัลลานะได้กล่าวว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุย่อมเป็นผู้มีใจชุ่มด้วยกาม อย่างไร ภิกษุในศาสนานี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมน้อมใจไปในรูปอันน่ารัก ย่อมขัดเคืองในรูปอันไม่น่ารัก เป็นผู้ไม่ตั้งกายคตาสติไว้ มีใจมีประมาณน้อยอยู่ และย่อมไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับไปไม่เหลือแห่งอกุศลธรรม อันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ตามความเป็นจริง ฯลฯ ภิกษุในศาสนานี้ รู้แจ้ง ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมน้อมใจไปในธรรมารมณ์อันน่ารัก ย่อมขัดเคืองใน ธรรมารมณ์อันไม่น่ารัก เป็นผู้ไม่เข้าไปตั้งกายคตาสติไว้ มีใจมีประมาณน้อยอยู่ และย่อมไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติอันเป็นที่ดับไปไม่เหลืออกุศลธรรมอัน ลามกที่บังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ตามความเป็นจริง ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุนี้ เรียกว่า เป็นผู้มีใจชุ่มแล้วในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ อันจะพึงรู้แจ้งด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ฯ [๓๒๙] ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ถ้าแม้ว่า มารเข้าไปหาภิกษุนั้นผู้มีปรกติ อยู่อย่างนั้นทางจักษุ มารย่อมได้ช่องได้เหตุ ฯลฯ ถ้าแม้ว่ามารเข้าไปหาภิกษุนั้น ผู้มีปรกติอยู่อย่างนั้นทางใจ มารย่อมได้ช่องได้เหตุ ดูกรอาวุโส เรือนไม้อ้อก็ดี เรือนหญ้าก็ดี ที่แห้งเกราะ เขาทำไว้ภายนอกกาลฝน ถ้าแม้บุรุษพึงเข้าไปใกล้ เรือนไม้อ้อหรือเรือนหญ้านั้นในทิศบูรพา ด้วยคบหญ้าอันไฟติดทั่วแล้ว ไฟพึงได้ ช่องได้เหตุ ถ้าแม้บุรุษพึงเข้าไปใกล้เรือนไม้อ้อหรือเรือนหญ้านั้นในทิศปัศจิม ใน ทิศอุดร ในทิศทักษิณ ในทิศเบื้องต่ำ ในทิศเบื้องบน ด้วยคบหญ้าอันไฟติดทั่ว แล้ว ไฟพึงได้ช่องได้เหตุ ถ้าแม้ว่าบุรุษนั้นพึงเข้าไปใกล้เรือนไม้อ้อหรือเรือนหญ้า นั้น แต่ทิศใดทิศหนึ่ง ด้วยคบหญ้าอันไฟติดทั่วแล้ว ไฟพึงได้ช่องได้เหตุ แม้ ฉันใด ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ถ้าแม้ว่ามารเข้าไปหาภิกษุนั้น ผู้มีปรกติอยู่อย่างนั้น ทางจักษุ ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ มารพึงได้ช่องได้เหตุ ฉันนั้น ฯ [๓๓๐] ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ก็รูปครอบงำภิกษุผู้มีปรกติอยู่อย่างนั้น ภิกษุไม่ครอบงำรูป เสียงครอบงำภิกษุ ภิกษุไม่ครอบงำเสียง กลิ่นครอบงำภิกษุ ภิกษุไม่ครอบงำกลิ่น รสครอบงำภิกษุ ภิกษุไม่ครอบงำรส โผฏฐัพพะครอบงำภิกษุ ภิกษุไม่ครอบงำโผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ครอบงำภิกษุ ภิกษุไม่ครอบงำธรรมารมณ์ ภิกษุนี้เรียกว่าเป็นผู้ถูกรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ครอบงำ ไม่ครอบงำรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ธรรมทั้งหลายที่เป็น บาป เป็นอกุศล มีความเศร้าหมอง ให้เกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชราและมรณะต่อไป ครอบงำแล้ว ดูกร อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีใจชุ่มแล้วด้วยกามอย่างนี้แล ฯ [๓๓๑] ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้มีใจไม่ชุ่มด้วยกามอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมไม่น้อมใจไปในรูปอันน่ารัก ไม่ ขัดเคืองในรูปอันไม่น่ารัก เป็นผู้เข้าไปตั้งกายคตาสติไว้ มีใจหาประมาณมิได้อยู่ และย่อมรู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับไปไม่เหลือแห่งอกุศลธรรม อันลามก ที่บังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ตามความเป็นจริง ฯลฯ รู้แจ้งธรรมารมณ์ ด้วยใจแล้ว ย่อมไม่น้อมใจไปในธรรมารมณ์อันน่ารัก ไม่ขัดเคืองในธรรมารมณ์ อันไม่น่ารัก เป็นผู้เข้าไปตั้งกายคตาสติไว้แล้ว มีใจหาประมาณมิได้อยู่ และย่อม รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับไปไม่เหลือแห่งอกุศลธรรมอันลามก ที่บังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ตามความเป็นจริง ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุนี้เรียกว่า เป็นผู้มีใจไม่ชุ่มแล้วในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ อันจะ พึงรู้แจ้งด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ถ้าแม้มารเข้าไป หาภิกษุนั้นผู้มีปรกติอยู่อย่างนั้นทางจักษุ มารย่อมไม่ได้ช่องไม่ได้เหตุ ฯลฯ ถ้า แม้มารเข้าไปหาภิกษุนั้นทางใจ มารย่อมไม่ได้ช่องไม่ได้เหตุ ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ถ้าแม้บุรุษพึงเข้าไปใกล้กูฏาคารศาลาในทิศบูรพาด้วยคบหญ้าอันไฟติดทั่วแล้ว ไฟ ไม่พึงได้ช่องไม่พึงได้เหตุ เพราะการขยำดินทาอย่างแน่นหนา ถ้าแม้บุรุษพึงเข้า ไปใกล้กูฏาคารศาลานั้นในทิศปัศจิม ในทิศอุดร ในทิศทักษิณ ทิศเบื้องต่ำ ทิศ เบื้องบน ด้วยคบหญ้าอันไฟติดทั่วแล้ว ไฟไม่พึงได้ช่อง ไม่พึงได้เหตุ เพราะ การขยำดินทาอย่างแน่นหนา ถ้าแม้บุรุษพึงเข้าไปใกล้กูฏาคารนั้นแต่ที่ใดที่หนึ่งด้วย คบหญ้าอันไฟติดทั่วแล้ว ไฟไม่พึงได้ช่องไม่พึงได้เหตุ แม้ฉันใด ดูกรอาวุโส ทั้งหลาย ถ้าแม้มารเข้าไปหาภิกษุนั้นผู้มีปรกติอยู่อย่างนั้นทางจักษุ มารก็ไม่ได้ช่อง ไม่ได้เหตุ ถ้าแม้มารเข้าไปหาภิกษุนั้นผู้มีปรกติอยู่อย่างนั้นทางหู ทางจมูก ทาง ลิ้น ทางกาย ทางใจ มารย่อมไม่ได้ช่องไม่ได้เหตุ ฉันนั้น ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้มีปรกติอยู่อย่างนั้น ครอบงำรูป รูปไม่ครอบงำภิกษุ ภิกษุครอบงำเสียง เสียงไม่ครอบงำภิกษุ ภิกษุครอบงำกลิ่น กลิ่นไม่ครอบงำภิกษุ ภิกษุครอบงำรส รสไม่ครอบงำภิกษุ ภิกษุครอบงำโผฏฐัพพะ โผฏฐัพพะไม่ครอบงำภิกษุ ภิกษุ ครอบงำธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์ไม่ครอบงำภิกษุ ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุนี้ เรียกว่า ผู้ครอบงำรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ อันเป็นบาป เป็นอกุศลเหล่านั้น อันมีความเศร้าหมอง ให้เกิดในภพใหม่ มีความกระวน กระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชราและมรณะต่อไป ดูกรอาวุโส ทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีใจไม่ชุ่มแล้วด้วยกามอย่างนี้ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาค เสด็จลุกขึ้นแล้ว ตรัสเรียกท่านพระมหาโมคคัลลานะมาว่า ดีละ ดีละ โมคคัล- *ลานะ ดูกรโมคคัลลานะ เธอได้ภาษิตอวัสสุตปริยายและอนวัสสุตปริยายแก่ภิกษุ ทั้งหลาย ดีแล้วๆ ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ได้กล่าวไวยากรณภาษิตนี้จบลง แล้ว พระศาสดาได้ทรงพอพระทัย ภิกษุเหล่านั้นมีใจชื่นชม เพลิดเพลินภาษิต ของท่านพระมหาโมคคัลลานะ ฉะนั้นแล ฯ
จบสูตรที่ ๖
ทุกขธรรมสูตร
[๓๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลใด ภิกษุย่อมรู้ทั่วถึงเหตุเกิดและ ความดับสูญแห่งทุกขธรรมทั้งปวง ตามความเป็นจริง ก็ในกาลนั้นแล ภิกษุนั้น เป็นผู้เห็นกาม เมื่อเธอเห็นกามแล้ว ความพอใจ ความเสน่หา ความหมกมุ่น ความเร่าร้อนเพราะกามในกามทั้งหลาย ไม่นอนเนื่องอยู่ด้วยอาการใด ก็ธรรม เป็นเครื่องประพฤติ และธรรมเป็นเครื่องอยู่ เป็นอันติดตามเธออยู่ด้วยอาการนั้น อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัส ไม่ครอบงำ ภิกษุผู้ประพฤติอยู่ ด้วยอาการใด ธรรมเป็นเครื่องประพฤติและธรรมเป็นเครื่องอยู่ เป็นอันติดตาม เธออยู่ด้วยอาการนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุย่อมรู้ทั่วถึงเหตุเกิดขึ้นและความ ดับสูญแห่งทุกขธรรมทั้งปวงตามความเป็นจริงอย่างไร ภิกษุย่อมรู้ทั่วถึงเหตุเกิดขึ้น และความดับสูญแห่งทุกขธรรมทั้งปวงตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า รูปดังนี้ ความ เกิดขึ้นแห่งรูปดังนี้ ความดับสูญแห่งรูปดังนี้ เวทนาดังนี้... สัญญาดังนี้ สังขาร ทั้งหลายดังนี้... วิญญาณดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณดังนี้ ความดับสูญแห่ง วิญญาณดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมรู้ทั่วถึงเหตุเกิดขึ้นและความดับสูญแห่ง ทุกขธรรมทั้งปวง ตามความเป็นจริง อย่างนี้แล ฯ [๓๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้เห็นกามแล้วอย่างไรเล่า เมื่อเธอ เห็นกามทั้งหลายอยู่ ความพอใจ ความเสน่หา ความหมกมุ่น ความเร่าร้อน เพราะกามในกามทั้งหลาย ไม่นอนเนื่องด้วยอาการใด ธรรมเป็นเครื่องประพฤติ และธรรมเป็นเครื่องอยู่ เป็นอันติดตามเธออยู่ด้วยอาการนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย หลุมถ่านเพลิงลึกกว่าชั่วบุรุษ เต็มด้วยถ่านเพลิงที่ปราศจากเปลว ปราศจากควัน ครั้งนั้นแล บุรุษผู้ปรารถนาเป็นอยู่ ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์ พึงมา บุรุษผู้มีกำลัง ๒ คน จับบุรุษคนนั้นข้างละแขน แล้วฉุดเข้าไปหาหลุมถ่านเพลิง นั้น บุรุษนั่นพึงน้อมกายนี้แหละเข้าไปด้วยประการดังนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะว่าบุรุษนั้นไม่มีความรู้ว่า เราเห็นหลุมถ่านเพลิงนี้และจะถึงความตายหรือความ ทุกข์แทบตาย เพราะหลุมถ่านเพลิงนั้นเป็นเหตุ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้เห็นกามอันเปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง ฉันนั้นแล เมื่อเธอเห็นกาม ทั้งหลายอยู่ ความพอใจ ความเสน่หา ความหมกมุ่น ความเร่าร้อนเพราะกามในกาม ทั้งหลาย ไม่นอนเนื่องอยู่ด้วยอาการใด ธรรมเป็นเครื่องประพฤติและธรรมเป็น เครื่องอยู่ เป็นอันติดตามเธออยู่ด้วยอาการนั้น ฯ [๓๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นเครื่องประพฤติและธรรมเป็น เครื่องอยู่ เป็นอันติดตามภิกษุอย่างไรเล่า อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและ โทมนัส ย่อมไม่ครอบงำภิกษุผู้ประพฤติอยู่ด้วยอาการใด ธรรมเป็นเครื่องประพฤติ และธรรมเป็นเครื่องอยู่ เป็นอันติดตามภิกษุด้วยอาการนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษพึงเข้าไปสู่ป่าที่มีหนามมาก ข้างหน้าบุรุษนั้นก็มีหนาม ข้างซ้ายก็มีหนาม ข้าง ขวาก็มีหนาม ข้างล่างก็มีหนาม ข้างบนก็มีหนาม บุรุษนั้นมีสติก้าวเข้าไปข้างหน้า ถอยกลับข้างหลัง ด้วยคิดว่า หนามอย่าเบียดเบียนเรา แม้ฉันใด ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ธรรมคือปิยรูปและสาทรูปในโลก นี้เรากล่าวว่าเป็นหนามในวินัยของ พระอริยเจ้า ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุรู้แจ้งอย่างนี้แล้ว พึงทราบอสังวรและสังวร ฯ [๓๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสังวรย่อมมีอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อม น้อมใจไปในรูปอันน่ารัก ย่อมขัดเคืองในรูปอันไม่น่ารัก เป็นผู้ไม่เข้าไปตั้งกาย คตาสติไว้ มีใจมีประมาณน้อยอยู่ และย่อมไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับไปไม่เหลือแห่งอกุศลธรรมอันลามก ที่บังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ตาม ความเป็นจริง ฯลฯ ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมน้อมใจไปในธรรมารมณ์ อันน่ารัก ย่อมขัดเคืองในธรรมารมณ์อันไม่น่ารัก เป็นผู้ไม่เข้าไปตั้งกายคตาสติไว้ แล้ว มีใจมีประมาณน้อยอยู่ และย่อมไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ ดับไปไม่เหลือแห่งอกุศลธรรมอันลามก ที่บังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ตามความเป็น จริง ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสังวรย่อมมีอย่างนี้แล ฯ [๓๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังวรย่อมมีอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมไม่น้อมใจไปในรูปอันน่ารัก ย่อม ไม่ขัดเคืองในรูปอันไม่น่ารัก เป็นผู้เข้าไปตั้งกายคตาสติไว้ มีใจหาประมาณมิได้ อยู่ ย่อมรู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับไปไม่เหลือแห่งอกุศลธรรม อันลามก ที่บังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ตามความเป็นจริง ฯลฯ ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ ด้วยใจแล้ว ย่อมไม่น้อมใจไปในธรรมารมณ์อันน่ารัก ไม่ขัดเคืองในธรรมารมณ์ อันไม่น่ารัก เป็นผู้เข้าไปตั้งกายคตาสติไว้ มีใจหาประมาณมิได้อยู่ และย่อมรู้ชัด ซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับไปไม่เหลือแห่งอกุศลธรรมอันลามก ที่ บังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ตามความเป็นจริง ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังวรย่อมมี อย่างนี้แล ฯ [๓๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุนั้นประพฤติอย่างนี้ อยู่อย่างนี้ อกุศลธรรมอันลามก คือ ความดำริอันซ่านไป เป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ ย่อมบังเกิด ขึ้นเพราะความหลงลืมแห่งสติบางครั้งบางคราว การบังเกิดขึ้นแห่งสติช้า ที่นั้นแล ภิกษุนั้นย่อมละ ย่อมบรรเทาอกุศลธรรมอันลามกนั้น ย่อมกระทำให้พินาศ ย่อม ให้ถึงความไม่มีได้เร็วพลัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษพึงให้หยาดน้ำสองหรือสาม หยาดตกลงในกระทะเหล็กอันร้อนจัดตลอดวัน หยาดน้ำตกลงช้า ทีนั้นแล น้ำนั้น พึงถึงความสิ้นไป เหือดแห้งไปเร็วพลัน แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อ ภิกษุนั้นประพฤติอย่างนี้ อยู่อย่างนี้ อกุศลธรรมอันลามก คือ ความดำริอันซ่าน ไป เป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ ย่อมบังเกิดขึ้นเพราะความหลงลืมแห่งสติบางครั้งบาง คราว การบังเกิดขึ้นแห่งสติช้า ที่นั้นแล ภิกษุนั้นย่อมละ ย่อมบรรเทาอกุศล ธรรมอันลามกนั้น ย่อมกระทำให้พินาศ ย่อมให้ถึงความไม่มีได้เร็วพลัน ฉันนั้น เหมือนกันแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัส ย่อมไม่ครอบงำภิกษุผู้ประพฤติอยู่ด้วยอาการใด ธรรมเป็นเครื่องประพฤติและธรรม เป็นเครื่องอยู่ เป็นอันติดตามภิกษุด้วยอาการอย่างนี้แล ฯ [๓๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าว่าพระราชา มหาอำมาตย์ แห่งพระราชา มิตร อำมาตย์ ญาติ หรือสาโลหิต พึงปวารณาภิกษุนั้นผู้ประพฤติอย่างนี้ อยู่ อย่างนี้ เพื่อให้ยินดียิ่ง ด้วยโภคะทั้งหลายว่า ท่านจงมาเถิดบุรุษผู้เจริญ ผ้ากาสาวะ เหล่านี้ยังความเร่าร้อนให้เกิดขึ้นแก่ท่านมิใช่หรือ ท่านจะเป็นคนโล้นเที่ยวถือ กระเบื้องอยู่ทำไม ท่านจงสึกมาบริโภคและจงทำบุญเถิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุ นั้นประพฤติอย่างนี้ อยู่อย่างนี้ จักบอกคืนสิกขาสึกมาเป็นคฤหัสถ์ ข้อนั้นไม่ใช่ ฐานะที่จะมีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไป หลั่งไป เทไปในทิศปราจีน ถ้าว่ามหาชนพึงเอาจอบและตะกร้ามาด้วยคิดว่า พวกเราจักช่วยกันทำแม่น้ำคงคา นี้ให้ไหลไป หลั่งไป เทไปข้างหลัง เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน หมู่มหาชนนั้นพึงกระทำแม่น้ำคงคานี้ให้ไหลไป หลั่งไป เทไปข้างหลังได้บ้าง หรือหนอแล ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า หามิได้ พระเจ้าข้า ฯ พ. ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร ฯ ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะแม่น้ำคงคาไหลไป หลั่งไป เทไปใน ทิศปราจีน แม่น้ำคงคานั้นอันบุคคลจะทำให้ไหลไป หลั่งไป เทไปข้างหลัง ไม่ใช่ กระทำได้ง่าย ก็หมู่มหาชนนั้นพึงเป็นผู้มีส่วนแห่งความลำบาก ความคับแค้นเพียงไร แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าว่าพระราชา มหาอำมาตย์แห่งพระราชา มิตร อำมาตย์ ญาติหรือสาโลหิต พึงปวารณาภิกษุนั้นผู้ประพฤติอย่างนี้ อยู่อย่างนี้ เพื่อจะให้ยินดียิ่งด้วยโภคะทั้งหลายว่า ท่านจงมาเถิดบุรุษผู้เจริญ ผ้ากาสาวะเหล่านี้ ยังความเร่าร้อนให้เกิดขึ้นแก่ท่านมิใช่หรือ ท่านจะเป็นคนโล้นเที่ยวถือกระเบื้อง อยู่ทำไม ท่านจงสึกมาบริโภคโภคะและจงทำบุญเถิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้น ประพฤติอย่างนี้ อยู่อย่างนี้ จักบอกคืนสิกขาสึกออกมาเป็นคฤหัสถ์ ข้อนั้นไม่ ใช่ฐานะที่จะมีได้ ฉันนั้นเหมือนกันแล ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าจิตของเธอ น้อมไป เอนไป เงื้อมไปในวิเวกสิ้นกาลนาน ก็จิตนั้นจักเวียนมาเพื่อเป็นคฤหัสถ์ ข้อนั้นไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ฯ
จบสูตรที่ ๗
กึสุกสูตร
[๓๓๙] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่งถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว ได้ถามภิกษุรูปนั้นว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุ เพียงเท่าไรหนอแล ภิกษุรูปนั้นกล่าวว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุเป็นอัน หมดจดดีด้วยเหตุที่ภิกษุรู้ชัดเหตุเกิด และความดับแห่งผัสสายตนะ ๖ ตามความ เป็นจริง ที่นั้นแล ภิกษุนั้นไม่ยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหาของภิกษุนั้น จึงเข้าไป หาภิกษุอีกรูปหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุเป็นอัน หมดจดดีด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล ภิกษุรูปนั้นกล่าวว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะ ของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุที่ภิกษุรู้ชัดเหตุเกิด และความดับแห่งอุปาทาน- *ขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริง ที่นั้นแล ภิกษุนั้นไม่ยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหาของ ภิกษุนั้น จึงเข้าไปหาภิกษุอีกรูปหนึ่งแล้วได้ถามว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของ ภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล ภิกษุนั้นกล่าวว่า ดูกรท่านผู้มี อายุ ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดี ด้วยเหตุที่ภิกษุรู้ชัดเหตุเกิด และความดับ แห่งมหาภูตรูป ๔ ตามความเป็นจริง ทีนั้นแล ภิกษุนั้นไม่ยินดีด้วยการพยากรณ์ ปัญหาของภิกษุนั้น จึงเข้าไปหาภิกษุอีกรูปหนึ่งแล้วได้ถามว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล ภิกษุรูปนั้นกล่าวว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุที่ภิกษุรู้ชัด ตามความ เป็นจริงว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับ ไปเป็นธรรมดา ฯ [๓๔๐] ที่นั้นแล ภิกษุไม่ยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหาของภิกษุนั้น จึง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอ ประทานพระวโรกาส ข้าพระองค์เข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่งถึงที่อยู่ แล้วได้ถามว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อข้าพระองค์ถามอย่างนี้แล้ว ภิกษุนั้นได้กล่าวกะข้า- *พระองค์ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุที่ภิกษุรู้ชัด เหตุเกิด และความดับแห่งผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง ทีนั้นแล ข้าพระองค์ ไม่ยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหาของภิกษุนั้น จึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่งถึงที่อยู่ แล้ว ได้ถามว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุเพียงเท่าไร เมื่อข้าพระองค์ถามอย่างนี้แล้ว ภิกษุนั้นได้กล่าวกะข้าพระองค์ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุที่ภิกษุรู้ชัดเหตุเกิด และความดับแห่ง อุปาทานขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริง ทีนั้นแล ข้าพระองค์ไม่ยินดีด้วยการพยากรณ์ ปัญหาของภิกษุนั้น จึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่งถึงที่อยู่ แล้วได้ถามว่า ดูกรท่านผู้มี อายุ ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุเพียงเท่าไร เมื่อข้าพระองค์ถาม อย่างนี้แล้ว ภิกษุนั้นได้กล่าวกะข้าพระองค์ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุ เป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุที่ภิกษุรู้ชัดเหตุเกิด และความดับแห่งมหาภูตรูป ๔ ตาม ความเป็นจริง ทีนั้นแล ข้าพระองค์ไม่ยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหาของภิกษุนั้น จึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่งถึงที่อยู่ แล้วได้ถามว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุ เป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุเพียงเท่าไร เมื่อข้าพระองค์ถามอย่างนี้แล้ว ภิกษุนั้นได้ กล่าวกะข้าพระองค์ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุ ที่ภิกษุรู้ชัด ตามความเป็นจริงว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้น ทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา ทีนั้นแล ข้าพระองค์ไม่ยินดีด้วยการ พยากรณ์ปัญหาของภิกษุนั้น จึงเข้ามาเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ขอทูลถาม พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วย เหตุเพียงเท่าไรหนอแล ฯ [๓๔๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ บุรุษยังไม่เคยเห็นต้นทอง- *กวาว บุรุษนั้นพึงเข้าไปหาบุรุษคนใดคนหนึ่งผู้เคยเห็นต้นทองกวาวถึงที่อยู่ แล้ว ถามอย่างนี้ว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ ต้นทองกวาวเป็นเช่นไร บุรุษนั้นพึงตอบว่า ดูกร บุรุษผู้เจริญ ต้นทองกวาวดำเหมือนตอไม้ไหม้ ก็สมัยนั้นแล ต้นทองกวาวเป็น ดังที่บุรุษนั้นเห็น ทีนั้นแล บุรุษนั้นไม่ยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหาของบุรุษนั้น พึงเข้าไปหาบุรุษคนหนึ่งผู้เคยเห็นต้นทองกวาวถึงที่อยู่ แล้วถามว่า ดูกรบุรุษ ผู้เจริญ ต้นทองกวาวเป็นเช่นไร บุรุษนั้นพึงตอบว่า ต้นทองกวาวแดงเหมือนชิ้น เนื้อ ก็สมัยนั้น ต้นทองกวาวเป็นดังที่บุรุษนั้นเห็น ทีนั้นแล บุรุษนั้นไม่ยินดี ด้วยการพยากรณ์ปัญหาของบุรุษนั้น พึงเข้าไปหาบุรุษคนหนึ่งผู้เคยเห็นต้นทองกวาว ถึงที่อยู่ แล้วถามอย่างนี้ว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ ต้นทองกวาวเป็นเช่นไร บุรุษนั้น พึงตอบอย่างนี้ว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ ต้นทองกวาวที่เกิดนานมีฝักเหมือนต้นซึก ก็ สมัยนั้นแล ต้นทองกวาวเป็นดังที่บุรุษนั้นเห็น ทีนั้นแล บุรุษนั้นไม่ยินดีด้วย การพยากรณ์ปัญหาของบุรุษนั้น พึงเข้าไปหาบุรุษคนหนึ่งผู้เคยเห็นต้นทองกวาวถึง ที่อยู่ แล้วถามอย่างนี้ว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ ต้นทองกวาวเป็นเช่นไร บุรุษนั้นพึง ตอบว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ ต้นทองกวาวมีใบแก่และใบอ่อนหนาแน่น มีร่มทึบ เหมือนต้นไทร ก็สมัยนั้น ต้นทองกวาวเป็นดังที่บุรุษนั้นเห็น แม้ฉันใด ดูกร ภิกษุ ทัศนะของสัตบุรุษเหล่านั้น ผู้น้อมไปแล้ว เป็นอันหมดจดดีด้วยประการ ใดๆ เป็นอันสัตบุรุษทั้งหลายผู้ฉลาด พยากรณ์แล้วด้วยประการนั้นๆ ฉันนั้นแล ฯ [๓๔๒] ดูกรภิกษุ เหมือนอย่างว่า เมืองชายแดนของพระราชาเป็น เมืองที่มั่นคง มีกำแพงและเชิงเทิน มีประตู ๖ ประตู นายประตูเมืองนั้นเป็น คนฉลาด เฉียบแหลม มีปัญญา คอยห้ามคนที่ตนไม่รู้จัก อนุญาตให้คนที่ตน รู้จักเข้าไปในเมืองนั้น ราชทูตคู่หนึ่งมีราชการด่วน มาแต่ทิศบูรพา พึงถามนาย ประตูนั้นว่า แน่ะบุรุษผู้เจริญ เจ้าเมืองนี้อยู่ที่ไหน นายประตูนั้นตอบว่า แน่ะ ท่านผู้เจริญ นั่นเจ้าเมืองนั่งอยู่ ณ ทางสามแพร่งกลางเมือง ทีนั้นแล ราชทูตคู่ นั้นมอบถ้อยคำตามความเป็นจริงแก่เจ้าเมืองแล้ว พึงดำเนินกลับไปตามทางที่มา แล้ว ราชทูตคู่หนึ่งมีราชการด่วนมาแต่ทิศปัศจิม... ราชทูตคู่หนึ่งมีราชการด่วนมา แต่ทิศอุดร... ราชทูตคู่หนึ่งมีราชการด่วนมาแต่ทิศทักษิณ แล้วถามนายประตูนั้น อย่างนี้ว่า แน่ะบุรุษผู้เจริญ เจ้าเมืองนี้อยู่ที่ไหน นายประตูนั้นพึงตอบว่า แน่ะ ท่านผู้เจริญ นั่นเจ้าเมืองนั่งอยู่ ณ ทางสามแพร่งกลางเมือง ทีนั้นแล ราชทูตคู่ หนึ่งนั้นมอบถ้อยคำตามความเป็นจริงแก่เจ้าเมืองแล้ว พึงดำเนินกลับไปทางตาม ที่มาแล้ว ดูกรภิกษุ อุปมานี้แล เรากระทำแล้วเพื่อจะให้เนื้อความแจ่มแจ้ง ก็ใน อุปมานั้นมีเนื้อความดังต่อไปนี้ คำว่าเมือง เป็นชื่อของกายนี้ที่ประกอบด้วยมหา- *ภูตรูป ๔ ซึ่งมีมารดาและบิดาเป็นแดนเกิด เจริญขึ้นด้วยข้าวสุกและขนมสด มี อันต้องอบ ต้องนวดฟั้นเป็นนิตย์ มีอันทำลายและกระจัดกระจายเป็นธรรมดา คำว่าประตู ๖ ประตู เป็นชื่อของอายตนะภายใน ๖ คำว่านายประตูเป็นชื่อของสติ คำว่าราชทูตคู่หนึ่งมีราชการด่วน เป็นชื่อของสมถะและวิปัสสนา คำว่าเจ้าเมือง เป็นชื่อของวิญญาณ คำว่าทางสามแพร่งกลางเมือง เป็นชื่อของมหาภูตรูป ๔ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ คำว่าถ้อยคำตามความเป็นจริง เป็น ชื่อของนิพพาน คำว่าทางตามที่มาแล้ว เป็นชื่อของอริยมรรคมีองค์ ๘ คือ สัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ฯ
จบสูตรที่ ๘
วีณาสูตร
[๓๔๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความพอใจ ความกำหนัด ความขัดเคือง ความหลง หรือแม้ความคับแค้นใจในรูปอันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ พึงบังเกิดขึ้น แก่ภิกษุหรือแก่ภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง ภิกษุหรือภิกษุณีพึงห้ามจิตเสียจากรูปอัน บุคคลพึงรู้แจ้งด้วยจักษุนั้น ด้วยมนสิการว่า หนทางนั้นมีภัย มีภัยตั้งอยู่เฉพาะ หน้า มีหนาม มีรกชัฏ เป็นทางผิด เป็นทางที่บัณฑิตเกลียดและเป็นทางที่ไป ลำบาก เป็นทางอันอสัตบุรุษเสพ ไม่ใช่ทางที่สัตบุรุษเสพ ท่านไม่ควรเสพหน ทางนั้น ภิกษุหรือภิกษุณีพึงห้ามจิตเสียจากรูปอันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยจักษุนั้น ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความพอใจ ความกำหนัด ความขัดเคือง ความหลง หรือ แม้ความคับแค้นใจในธรรมารมณ์อันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยใจ พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุ หรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง ภิกษุหรือภิกษุณีพึงห้ามจิตเสียจากธรรมารมณ์นั้น ด้วย มนสิการว่า หนทางนั้นมีภัย มีภัยตั้งอยู่เฉพาะหน้า มีหนาม มีรกชัฏ เป็นทาง ผิด เป็นทางอันบัณฑิตเกลียด และเป็นทางที่ไปลำบาก เป็นทางอันอสัตบุรุษเสพ ไม่ใช่ทางที่สัตบุรุษเสพ ท่านย่อมไม่ควรเสพหนทางนั้น ภิกษุหรือภิกษุณีพึง ห้ามจิตเสียจากธรรมารมณ์อันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยใจนั้น ฯ [๓๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้าวกล้าถึงสมบูรณ์ แต่เจ้าของผู้รักษาข้าว กล้าเป็นผู้ประมาท และโคกินข้าวกล้าลงสู่ข้าวกล้าโน้น พึงถึงความเมา ความ ประมาทตามต้องการ แม้ฉันใด ปุถุชนผู้ไม่สดับแล้ว ไม่ทำความสำรวมใน ผัสสายตนะ ๖ ย่อมถึงความเมา ความประมาทในกามคุณ ๕ ตามความต้องการ ฉันนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้าวกล้าสมบูรณ์แล้ว เจ้าของผู้รักษาข้าวกล้าเป็นผู้ไม่ ประมาท และโคกินข้าวกล้าพึงลงสู่ข้าวกล้าโน้น เจ้าของผู้รักษาข้าวกล้า พึงจับ โคนั้นสนสะพาย แล้วผูกรวมไว้ที่ระหว่างเขาทั้งสอง ครั้นแล้วพึงตีกระหน่ำด้วย ท่อนไม้แล้วพึงปล่อยไป โคตัวกินข้าวกล้าพึงลงสู่ข้าวกล้าโน้น แม้ครั้งที่ ๒... แม้ครั้งที่ ๓ เจ้าของผู้รักษาข้าวกล้าพึงจับโคสนสะพายแล้วผูกรวมไว้ที่ระหว่างเขา ทั้ง ๒ ครั้นแล้วพึงตีกระหน่ำด้วยท่อนไม้ แล้วพึงปล่อยไป โคกินข้าวกล้านั้นอยู่ ในบ้านก็ดี อยู่ในป่าก็ดี พึงเป็นสัตว์ยืนมากหรือนอนมาก ไม่พึงลงสู่ข้าวกล้านั้น อีก พลางระลึกถึงการถูกตีด้วยไม้ครั้งก่อนนั้นนั่นแหละ ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย คราวใด จิตอันภิกษุข่มแล้ว ข่มไว้ดีแล้ว ในผัสสายตนะ ๖ คราวนั้น จิตย่อม ดำรงอยู่ สงบนิ่งในภายใน มีธรรมเอกผุดขึ้น ย่อมตั้งมั่น ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ [๓๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระราชาหรือมหาอำมาตย์แห่งพระราชา ยัง ไม่เคยได้ฟังเสียงพิณ พระราชาหรือมหาอำมาตย์แห่งพระราชา ฟังเสียงพิณแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า แน่ะท่านผู้เจริญ นั่นเสียงอะไรหนอ น่าชอบใจ น่าใคร่ น่า บันเทิง น่าหมกมุ่น น่าพัวพันอย่างนี้ บุรุษนั้นกราบทูลว่า ขอเดชะ เสียงนั้น เป็นเสียงพิณ พระราชาหรือมหาอำมาตย์แห่งพระราชาพึงกล่าวว่า แน่ะท่านผู้เจริญ ท่านทั้งหลายจงนำพิณนั้นมาให้แก่เรา ราชบุรุษทั้งหลายพึงนำพิณมาถวาย พึง กราบทูลว่า นี่คือพิณนั้น พระราชาหรือมหาอำมาตย์แห่งพระราชานั้นพึงกล่าวว่า แน่ะท่านผู้เจริญ ฉันไม่ต้องการพิณนั้น ท่านทั้งหลายจงนำเสียงพิณนั้นมาให้แก่ เราเถิด ราชบุรุษกราบทูลว่า ขอเดชะ ขึ้นชื่อว่าพิณนี้มีเครื่องประกอบหลายอย่าง มีเครื่องประกอบมาก นายช่างประกอบดีแล้วด้วยเครื่องประกอบหลายอย่าง คือ ธรรมดาว่าพิณนี้ อาศัยกระพอง อาศัยแท่น อาศัยลูกบิด อาศัยนม อาศัยสาย อาศัยคัน และอาศัยความพยายามของบุรุษซึ่งสมควรแก่พิณนั้น มีเครื่องประกอบ หลายอย่าง มีเครื่องประกอบมาก นายช่างประกอบดีแล้วด้วยเครื่องประกอบ หลายอย่างจึงจะเปล่งเสียงได้ พระราชาหรือมหาอำมาตย์ของพระราชาทรงผ่าพิณ นั้น ๑๐ เสี่ยงหรือ ๑๐๐ เสี่ยง แล้วกระทำให้เป็นส่วนน้อยๆ แล้วพึงเผาด้วยไฟ แล้วพึงกระทำให้เป็นเขม่า โปรยไปด้วยลมแรง หรือพึงลอยไปเสียในแม่น้ำมี กระแสอันเชี่ยว ท้าวเธอตรัสอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญได้ยินว่า ชื่อว่าพิณนี้เลวทราม สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่จะเลวทรามกว่าพิณนี้ไม่มี เพราะพิณนี้ คนต้องมัวเมา ประมาท หลงใหลจนเกินขอบเขต ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นนั่นแล ย่อม แสวงหารูปเท่าที่มีคติ เวทนา ... สัญญา ... สังขารทั้งหลาย ... วิญญาณเท่าที่มีคติ อยู่ เมื่อเธอแสวงหารูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเท่าที่มีคติอยู่ ความยึด ถือโดยคติของภิกษุนั้นว่าเรา หรือว่าของเรา หรือว่าเป็นเรา แม้นั้นก็ไม่มีแก่เธอ ฯ
จบสูตรที่ ๙
ฉัปปาณสูตร
[๓๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้มีตัวเป็นแผล มีตัวเป็นพุพอง พึงเข้า ไปสู่ป่าหญ้าคา ถ้าแม้หน่อหญ้าคาพึงตำเท้าของบุรุษนั้น ใบหญ้าคาพึงบาดตัวที่ พุพอง บุรุษนั้นพึงเสวยทุกข์โทมนัส ซึ่งมีการตำและการบาดนั้นเป็นเหตุ โดย ยิ่งกว่าประมาณ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ อยู่ใน บ้านก็ดี อยู่ในป่าก็ดี ย่อมได้บุคคลผู้กล่าวท้วงว่า ท่านผู้นี้แล กระทำอย่างนี้ มีสมาจารอย่างนี้ เป็นหนามแห่งชาวบ้านผู้ไม่สะอาด เพราะฉะนั้น ภิกษุจึงชื่อ ว่า เป็นหนามแห่งชาวบ้านผู้ไม่สะอาดนั้น ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุรู้แจ้ง อย่างนี้แล้ว พึงทราบอสังวรและสังวร ฯ [๓๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสังวรย่อมมีอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อม น้อมใจไปในรูปอันน่ารัก ย่อมขัดเคืองในรูปอันไม่น่ารัก ย่อมไม่เป็นผู้เข้าไปตั้ง กายสติไว้ มีใจมีประมาณน้อยอยู่ และย่อมไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับไปไม่เหลือแห่งอกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้น อันบังเกิดขึ้นแล้วแก่ เธอ ตามความเป็นจริง ภิกษุฟังเสียงด้วยหู ... ดมกลิ่นด้วยจมูก ... ลิ้มรสด้วย ลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ... รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมน้อมใจ ไปในธรรมารมณ์อันน่ารัก ย่อมขัดเคืองในธรรมารมณ์อันไม่น่ารัก ย่อมไม่เป็นผู้ เข้าไปตั้งกายสติไว้ มีใจมีประมาณน้อยอยู่ และย่อมไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับไปไม่เหลือ แห่งอกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้น อัน บังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ตามความเป็นจริง ฯ [๓๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษจับสัตว์ ๖ ชนิด ซึ่งมี วิสัยต่างกัน มีโคจรต่างกัน แล้วผูกด้วยเชือกอันเหนียวแน่น คือ จับงู จระเข้ นก สุนัขบ้าน สุนัขจิ้งจอก ลิง แล้วผูกด้วยเชือกอันเหนียวแน่น ครั้นแล้วพึง ขมวดปมไว้ตรงกลางปล่อยไป ทีนั้นแล สัตว์ ๖ ชนิดซึ่งมีวิสัยต่างกัน มีโคจร ต่างกันเหล่านั้น พึงดึงมาหาโคจรและวิสัยของตนๆ งูพึงดึงมาด้วยคิดว่า เราจัก เข้าไปสู่จอมปลวก จระเข้พึงดึงมาด้วยคิดว่า เราจักลงน้ำ นกพึงดึงมาด้วยคิดว่า เราจักบินขึ้นสู่อากาศ สุนัขบ้านพึงดึงมาด้วยคิดว่า เราจักเข้าบ้าน สุนัขจิ้งจอก พึงดึงมาด้วยคิดว่า เราจักไปสู่ป่าช้า ลิงพึงดึงมาด้วยคิดว่า เราจักเข้าไปสู่ป่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล สัตว์ ๖ ชนิดเหล่านั้น ต่างก็จะไปตามวิสัยของ ตนๆ พึงลำบาก เมื่อนั้น บรรดาสัตว์เหล่านั้น สัตว์ใดมีกำลังมากกว่าสัตว์ ทั้งหลาย สัตว์เหล่านั้นพึงอนุวัตรคล้อยตามไปสู่อำนาจแห่งสัตว์นั้น แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งไม่ได้อบรม ไม่กระทำให้มากซึ่งกายคตาสติ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักษุย่อมฉุดภิกษุนั้นไปในรูปอันเป็นที่พอใจ รูปอันไม่เป็นที่ พอใจ ย่อมเป็นของปฏิกูล ฯลฯ ใจย่อมฉุดไปในธรรมารมณ์อันเป็นที่พอใจ ธรรมารมณ์อันไม่เป็นที่พอใจ ย่อมเป็นของปฏิกูล ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสังวรย่อม มีได้ด้วยอาการอย่างนี้แล ฯ [๓๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังวรย่อมมีอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมไม่น้อมใจไปในรูปอันน่ารัก ย่อม ไม่ขัดเคืองในรูปอันไม่น่ารัก เป็นผู้เข้าไปตั้งกายสติไว้ มีใจหาประมาณมิได้อยู่ และย่อมรู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับไปไม่เหลือแห่งอกุศลธรรม อันลามกเหล่านั้น อันบังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ตามความเป็นจริง ฯลฯ ภิกษุรู้แจ้ง ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมไม่น้อมใจไปในธรรมารมณ์อันน่ารัก ย่อมไม่ขัดเคือง ในธรรมารมณ์อันไม่น่ารัก เป็นผู้เข้าไปตั้งกายสติไว้ มีใจหาประมาณมิได้อยู่ และ ย่อมรู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับไปไม่เหลือแห่งอกุศลธรรมอัน ลามกเหล่านั้น อันบังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ตามความเป็นจริง ฯ [๓๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษจับสัตว์ ๖ ชนิดซึ่งมีวิสัย ต่างกัน มีโคจรต่างกัน คือ พึงจับงู จระเข้ นก สุนัขบ้าน สุนัขจิ้งจอก ลิง แล้วผูกด้วยเชือกอันเหนียวแน่น ครั้นแล้วพึงผูกไว้ที่หลักหรือที่เสาอันมั่นคง ทีนั้นแล สัตว์ ๖ ชนิดเหล่านั้น ซึ่งมีวิสัยต่างกัน มีโคจรต่างกัน พึงดึงมาสู่ โคจรและวิสัยของตนๆ คือ งูพึงดึงมาด้วยคิดว่า เราจักเข้าไปสู่จอมปลวก จระเข้พึงดึงมาด้วยคิดว่า เราจักลงแม่น้ำ นกพึงดึงมาด้วยคิดว่า เราจักบินขึ้นสู่ อากาศ สุนัขบ้านพึงดึงมาด้วยคิดว่า เราจักเข้าไปบ้าน สุนัขจิ้งจอกพึงดึงมาด้วย คิดว่า เราจักเข้าสู่ป่าช้า ลิงพึงดึงมาด้วยคิดว่า เราจักเข้าไปสู่ป่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เมื่อใดแล สัตว์ ๖ ชนิดเหล่านั้นต่างก็จะไปตามวิสัยของตนๆ พึง ลำบาก เมื่อนั้นสัตว์เหล่านั้นพึงยืนแนบ นั่งแนบ นอนแนบหลักหรือเสานั้นเอง แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งอบรม กระทำให้มากซึ่งกาย คตาสติ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักษุย่อมไม่ฉุดภิกษุนั้นไปในรูปอันเป็นที่พอใจ รูป อันไม่เป็นที่พอใจ ย่อมไม่เป็นของปฏิกูล ฯลฯ ใจย่อมไม่ฉุดไปในธรรมารมณ์อัน เป็นที่พอใจ ธรรมารมณ์อันไม่เป็นที่พอใจ ย่อมไม่เป็นของปฏิกูล ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย สังวรย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำว่า หลักหรือ เสาอันมั่นคงนั้น เป็นชื่อของกายคตาสติ เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึง ศึกษาอย่างนี้ว่า กายคตาสติ เราทั้งหลายจักอบรม กระทำให้มาก กระทำให้ เป็นดังยาน กระทำให้เป็นที่ตั้ง ให้มั่นคง สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
ยวกลาปิสูตร
[๓๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฟ่อนข้าวเหนียวบุคคลกองไว้ในหนทางใหญ่ ๔ แพร่ง ทีนั้นบุรุษ ๖ คนถือไม้คานมา บุรุษเหล่านั้นพึงฟาดฟ่อนข้าวเหนียวด้วย ไม้คาน ๖ อัน ฟ่อนข้าวเหนียวนั้นถูกบุรุษเหล่านั้นฟาดกระหน่ำอยู่ด้วยไม้คาน ๖ อันอย่างนี้แล ทีนั้นบุรุษคนที่ ๗ ถือไม้คานมาฟาดฟ่อนข้าวเหนียวนั้นด้วยไม้คาน อันที่ ๗ ฟ่อนข้าวเหนียวนั้นถูกบุรุษฟาดกระหน่ำอยู่ด้วยไม้คานอันที่ ๗ อย่างนี้แล แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้ว ก็ฉันนั้นแล ถูกรูปอัน เป็นที่พอใจและไม่เป็นที่พอใจกระทบจักษุ ฯลฯ ถูกธรรมารมณ์อันเป็นที่พอใจและ ไม่เป็นที่พอใจกระทบใจ ถ้าว่าปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้วนั้น ย่อมคิดเพื่อเกิดต่อไป ปุถุชนนั้นเป็นโมฆบุรุษ เป็นผู้ถูกอายตนะกระทบกระหน่ำแล้ว เหมือนฟ่อนข้าว เหนียวถูกบุรุษฟาดกระหน่ำด้วยไม้คานอันที่ ๗ ฉะนั้นแล ฯ
จบสูตรที่ ๑๑
เทวาสุรสังคามสูตร
[๓๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว สงครามเทวดากับอสูร ได้ประชิดกันแล้ว ครั้งนั้นแล ท้าวเวปจิตติจอมอสูรตรัสเรียกอสูรทั้งหลายว่า ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลายว่า ถ้าเมื่อสงครามเทวดากับอสูรประชิดกันแล้ว พวก อสูรพึงชนะ พวกเทวดาพึงปราชัยไซร้ เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลายพึงจองจำ ท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทวดานั้นด้วยเครื่องจองจำ ๕ ประการ แล้วพึงนำมายังอสูรบุรี ในสำนักของเรา ฝ่ายท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทวดา ก็ได้ตรัสเรียกเทวดาทั้งหลาย ผู้อยู่ในชั้นดาวดึงส์มาว่า ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ถ้าเมื่อสงครามเทวดากับอสูร ประชิดกันแล้ว พวกเทวดาพึงชนะ พวกอสูรพึงปราชัยไซร้ เพราะฉะนั้น ท่าน ทั้งหลายพึงจองจำท้าวเวปจิตติจอมอสูรนั่นด้วยเครื่องจองจำ ๕ ประการ แล้วพึงนำ มายังเทวสภาชื่อสุธรรมา ในสำนักของเรา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ในสงครามนั้น พวกเทวดาชนะ ทีนั้นแล เทวดาทั้งหลายผู้อยู่ในชั้นดาวดึงส์ จองจำท้าวเวปจิตติ จอมอสูรด้วยเครื่องจองจำ ๕ ประการ แล้วนำมายังเทวสภาชื่อสุธรรมา ในสำนัก ของท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทวดา ฯ [๓๕๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า ท้าวเวปจิตติจอมอสูรถูกจองจำด้วย เครื่องจองจำ ๕ ประการ อยู่ที่ประตูในเทวสภาชื่อสุธรรมานั้น ก็ในกาลใดแล ท้าว เวปจิตติจอมอสูรดำริอย่างนี้ว่าเทวดาทั้งหลายตั้งอยู่ในธรรมแล อสูรทั้งหลายไม่ตั้ง อยู่ในธรรม บัดนี้เราจะไปเทพนคร ในกาลนั้น ท้าวเวปจิตติจอมอสูรย่อมพิจารณา เห็นตนพ้นจากเครื่องจองจำ ๕ ประการ และก็ย่อมเป็นผู้อิ่มเอิบพรั่งพร้อม บำเรอ อยู่ด้วยกามคุณ ๕ อันเป็นทิพย์ เมื่อใดแล ท้าวเวปจิตติจอมอสูรดำริอย่างนี้ว่า อสูรทั้งหลายตั้งอยู่ในธรรมแล เทวดาทั้งหลายไม่ตั้งอยู่ในธรรม บัดนี้เราจักไป อสูรบุรี ในที่นั้นแล เมื่อนั้น ท้าวเวปจิตติจอมอสูรพิจารณาเห็นตนถูกจองจำด้วย เครื่องจองจำ ๕ ประการ และย่อมเสื่อมจากกามคุณ ๕ อันเป็นทิพย์ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เครื่องจองจำของท้าวเวปจิตติจอมอสูรละเอียดอย่างนี้แล บุคคลผู้อัน มารผูกแล้ว สำคัญอยู่ซึ่งเครื่องผูกแห่งมารว่า ละเอียดกว่าเครื่องจองจำของท้าว เวปจิตติจอมอสูรนั้น บุคคลไม่สำคัญเครื่องจองจำของมารว่าละเอียดกว่านั้น ย่อม พ้นจากมารผู้มีใจบาป ฯ [๓๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสำคัญด้วยตัณหา ท่านกล่าวด้วยบทว่า อสฺมิ (เราเป็น) ความสำคัญด้วยทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อยมหมสฺมิ (นี้เป็น เรา) ความสำคัญด้วยสัสสตทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า ภวิสฺสํ (เราจักเป็น) ความ สำคัญด้วยอุจเฉททิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า น ภวิสฺสํ (เราจักไม่เป็น) ความสำคัญ ด้วยสัสสตทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า รูปี ภวิสฺสํ (เราจักมีรูป) ความสำคัญด้วย อุจเฉททิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อรูปี ภวิสฺสํ (เราจักไม่มีรูป) ความสำคัญ ด้วยสัสสตทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า สญฺญี ภวิสฺสํ (เราจักมีสัญญา) ความ สำคัญด้วยอุจเฉททิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อสญฺญี ภวิสฺสํ (เราจักไม่มีสัญญา) ความสำคัญด้วยทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า เนวสญฺญินาสญฺญี ภวิสฺสํ (เราจักมีสัญญา ก็หามิได้ ไม่มีสัญญาก็หามิได้) ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสำคัญเป็นโรค เป็นดัง หัวฝี เป็นดังลูกศร เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงศึกษาว่า เราจักมีใจไม่ สำคัญอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล ฯ [๓๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความหวั่นไหวด้วยตัณหา ท่านกล่าวด้วยบทว่า อสฺมิ (เราเป็น) ความหวั่นไหวด้วยทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อยมหมสฺมิ (นี้เป็น เรา) ความหวั่นไหวด้วยสัสสตทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า ภวิสฺสํ (เราจักเป็น) ความหวั่นไหวด้วยอุจเฉททิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า น ภวิสฺสํ (เราจักไม่เป็น) ความหวั่นไหวด้วยสัสสตทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า รูปี ภวิสฺสํ (เราจักมีรูป) ความหวั่นไหวด้วยอุจเฉททิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อรูปี ภวิสฺสํ (เราจักไม่มี รูป) ความหวั่นไหวด้วยสัสสตทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า สญฺญี ภวิสฺสํ (เราจัก มีสัญญา) ความหวั่นไหวด้วยอุจเฉททิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อสญฺญี ภวิสฺสํ (เราจักไม่มีสัญญา) ความหวั่นไหวด้วยทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า เนวสญฺญินา- สญฺญี ภวิสฺสํ (เราจักมีสัญญาก็หามิได้ ไม่มีสัญญาก็หามิได้) ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความหวั่นไหวเป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เพราะเหตุนั้นแล เธอ ทั้งหลายพึงศึกษาว่า เราจักมีใจไม่ถูกกิเลสให้หวั่นไหวอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอ ทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล ฯ [๓๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความดิ้นรนด้วยตัณหา ท่านกล่าวด้วยบทว่า อสฺมิ (เราเป็น) ความดิ้นรนด้วยทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อยมหมสฺมิ (นี้เป็น เรา) ฯลฯ ความดิ้นรนด้วยอุจเฉททิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อสญฺญีภ ภวิสฺสํ (เราจักไม่มีสัญญา) ความดิ้นรนด้วยทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า เนวสญฺญินาสญฺญี ภวิสฺสํ (เราจักมีสัญญาก็หามิได้ ไม่มีสัญญาก็หามิได้) ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความ ดิ้นรนเป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงศึกษา ว่า เราจักมีใจไม่ถูกกิเลส ให้ดิ้นรนอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษา อย่างนี้แล ฯ [๓๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเนิ่นช้าด้วยตัณหา ท่านกล่าวด้วยบท ว่า อสฺมิ (เราเป็น) ความเนิ่นช้าด้วยทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อยมหมสฺมิ (นี้เป็นเรา) ฯลฯ ความเนิ่นช้าด้วยอุจเฉททิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อสญฺญี ภวิสฺสํ (เราจักไม่มีสัญญา) ความเนิ่นช้าด้วยทิฐิท่านกล่าวด้วยบทว่า เนวสญฺญินา- *สญฺญี ภวิสฺสํ (เราจักมีสัญญาก็หามิได้ ไม่มีสัญญาก็หามิได้) ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเนิ่นช้าเป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึง ศึกษาว่า เราจักมีใจไม่เนิ่นช้าอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล ฯ [๓๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความถือตัวด้วยตัณหา ท่านกล่าวด้วยบทว่า อสฺมิ (เราเป็น) ความถือตัวด้วยทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อยมหมสฺมิ (นี้เป็นเรา) ความถือตัวด้วยสัสสตทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า ภวิสฺสํ (เราจักเป็น) ความถือ ตัวด้วยอุจเฉททิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า น ภวิสฺสํ (เราจักไม่เป็น) ความถือตัวด้วย สัสสตทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า รูปี ภวิสฺสํ (เราจักมีรูป) ความถือตัวด้วย อุจเฉททิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อรูปี ภวิสฺสํ (เราจักไม่มีรูป) ความถือตัว ด้วยสัสสตทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า สญฺญี ภวิสฺสํ (เราจักมีสัญญา) ความถือ ตัวด้วยอุจเฉททิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อสญฺญี ภวิสฺสํ (เราไม่มีสัญญา) ความ ถือตัวด้วยทิฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า เนวสญฺญินาสญฺญี ภวิสฺสํ (เราจักมีสัญญา ก็หามิได้ ไม่มีสัญญาก็หามิได้) ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความถือตัวเป็นโรค เป็นดัง หัวฝี เป็นดังลูกศร เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักมีใจ กำจัดมานะออกได้อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๑๒
จบอาสีวิสวรรคที่ ๔
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อาสีวิสสูตร ๒. รถสูตร ๓. กุมมสูตร ๔. ทารุขันธสูตรที่ ๑ ๕. ทารุขันธสูตรที่ ๒ ๖. อวัสสุตสูตร ๗. ทุกขธรรมสูตร ๘. กึสุกสูตร ๙. วีณาสูตร ๑๐. ฉัปปาณสูตร ๑๑. ยวกลาปิสูตร ๑๒. เทวาสุรสังคามสูตร ฯ
รวมวรรคที่มีในจตุปัณณาสก์ คือ
๑. นันทิขยวรรค ๒. สัฏฐินยวรรค ๓. สมุททวรรค ๔. อาสีวีสวรรค ฯ
-----------------------------------------------------
ปฐมกสคาถวรรคที่ ๑
สมาธิสูตร
[๓๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ เหล่านี้ เวทนา ๓ เป็น ไฉน คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนา- *๓ เหล่านี้แล ฯ [๓๖๐] สาวกของพระพุทธเจ้ามีจิตมั่นคงดีแล้ว มีสัมปชัญญะ มี สติ ย่อมรู้ชัดซึ่งเวทนาและเหตุเกิดแห่งเวทนาทั้งหลาย อนึ่ง เวทนาเหล่านี้จะดับไปในที่ใด ย่อมรู้ชัดซึ่งที่นั้น (คือ นิพพาน) และทางดำเนินให้ถึงความสิ้นไปแห่งเวทนาเหล่า นั้น เพราะสิ้นเวทนา ภิกษุเป็นผู้หมดความหิว ปรินิพพาน แล้ว ฯ
จบสูตรที่ ๑
สุขสูตร
[๓๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ เหล่านี้ เวทนา ๓ เป็นไฉน คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ เหล่านี้แล ฯ [๓๖๒] ความเสวยอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ตาม ทั้งที่เป็นภายใน ทั้งที่เป็นภายนอกมีอยู่ ภิกษุรู้ว่า เวทนานี้เป็นทุกข์ มีความ พินาศเป็นธรรมดา มีความทำลายเป็นธรรมดา ถูกต้องความ สิ้นไปอยู่ ย่อมคลายความยินดีในเวทนาเหล่านั้น ด้วย ประการอย่างนี้ ฯ
จบสูตรที่ ๒
ปหานสูตร
[๓๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ เหล่านี้ เวทนา ๓ เป็นไฉน คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย พึงละราคานุสัยในสุขเวทนา พึงละปฏิฆานุสัยในทุกขเวทนา พึงละอวิชชานุสัยใน อทุกขมสุขเวทนา เพราะเหตุที่ภิกษุละราคานุสัยในสุขเวทนา ละปฏิฆานุสัยใน ทุกขเวทนา ละอวิชชานุสัยในอทุกขมสุขเวทนา ภิกษุนี้เราเรียกว่า เป็นผู้ไม่มีราคา นุสัย มีความเห็นชอบ ตัดตัณหาได้เด็ดขาด เพิกถอนสังโยชน์ได้แล้ว ได้ กระทำที่สุดแห่งทุกข์แล้ว เพราะละมานะได้โดยชอบ ฯ [๓๖๔] ราคานุสัยนั้น ย่อมมีแก่ภิกษุผู้เสวยสุขเวทนาไม่รู้สึกตัว อยู่ มีปรกติไม่เห็นธรรมเป็นเครื่องสลัดออก ปฏิฆานุสัย ย่อมมีแก่ภิกษุผู้เสวยทุกขเวทนา ไม่รู้สึกตัว มีปรกติไม่เห็น ธรรมเป็นเครื่องสลัดออก บุคคลเพลิดเพลิน อทุกขมสุข เวทนาซึ่งมีอยู่ อันพระผู้มีพระภาคผู้มีปัญญาประดุจปฐพีทรง แสดงแล้ว ย่อมไม่หลุดพ้นไปจากทุกข์เลย เพราะเหตุที่ ภิกษุผู้มีความเพียรละทิ้งเสียได้ด้วยสัมปชัญญะ เธอชื่อว่า เป็นบัณฑิต ย่อมกำหนดรู้เวทนาทั้งปวง ครั้นกำหนด รู้เวทนาแล้ว เป็นผู้หาอาสวะมิได้ในปัจจุบัน ตั้งอยู่ในธรรม ถึงที่สุดเวท เมื่อตายไป ย่อมไม่เข้าถึงความนับว่า เป็นผู้ กำหนัด ขัดเคือง เป็นผู้หลง ดังนี้ ฯ
จบสูตรที่ ๓
ปาตาลสูตร
[๓๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้ว ย่อมพูดอย่างนี้ว่า ในมหาสมุทรมีบาดาล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้ว ย่อมพูดวาจา อันไม่มีไม่ปรากฏอย่างนี้ว่าในมหาสมุทรมีบาดาล ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำว่า บาดาล นี้เป็นชื่อของทุกขเวทนาที่เป็นไปในสรีระแล ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับถูกทุกขเวทนา อันเป็นไปในสรีระถูกต้องแล้ว ย่อมเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอกคร่ำครวญ ย่อมถึงความงมงาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับนี้ เรากล่าวว่า ไม่ปรากฏในบาดาล ทั้งหยั่ง ไม่ถึงอีกด้วย ส่วนอริยสาวกผู้สดับแล้ว ถูกทุกขเวทนาอันเป็นไปในสรีระถูกต้อง ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบาก ไม่ร่ำไร ไม่ทุบอกคร่ำครวญ ย่อมไม่ถึงความงมงาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้สดับแล้วนี้ เรากล่าวว่า ย่อมปรากฏในบาดาล ทั้งหยั่งถึงอีกด้วย ฯ [๓๖๖] นรชนใดถูกทุกขเวทนาเหล่านี้ อันเป็นไปในสรีระ เครื่องนำชีวิตเสีย บังเกิดขึ้น ถูกต้องแล้ว อดกลั้นไม่ได้ ย่อมหวั่นไหว เป็นผู้ทุรพล กำลังน้อย ย่อมคร่ำครวญ ร่ำไร นรชนนั้นย่อมไม่ปรากฏในบาดาล ทั้งหยั่งไม่ถึงอีกด้วย ส่วน นรชนใดถูกทุกขเวทนาเหล่านี้ อันเป็นไปในสรีระ เครื่อง นำชีวิตเสีย บังเกิดขึ้น ถูกต้อง อดกลั้นไว้ได้ ย่อมไม่ หวั่นไหว นรชนนั้นแล ย่อมปรากฏในบาดาล ทั้งหยั่งถึง อีกด้วย
จบสูตรที่ ๔
ทัฏฐัพพสูตร
[๓๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ เหล่านี้ เวทนา ๓ เป็นไฉน คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ภิกษุทั้งหลาย พึงเห็นสุขเวทนา โดยความเป็นทุกข์ พึงเห็นทุกขเวทนาโดยความเป็นลูกศร พึงเห็นอทุกขมสุข เวทนาโดยความเป็นของไม่เที่ยง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่ภิกษุเห็นสุขเวทนา โดยความเป็นทุกข์ เห็นทุกขเวทนาโดยความเป็นลูกศร เห็นอทุกขมสุขเวทนา โดยความเป็นของไม่เที่ยง ภิกษุนี้เรากล่าวว่า มีความเห็นโดยชอบ ตัดตัณหา ได้เด็ดขาด เพิกถอนสังโยชน์ได้แล้ว ได้กระทำที่สุดแห่งทุกข์แล้ว เพราะละ มานะได้ โดยชอบ [๓๖๘] ถ้าภิกษุใดเห็นสุขโดยความเป็นทุกข์ เห็นทุกข์โดยความ เป็นลูกศร เห็นอทุกขมสุขซึ่งมีอยู่นั้นโดยความเป็นของไม่ เที่ยง ภิกษุนั้นเป็นผู้เห็นโดยชอบ ย่อมกำหนดรู้เวทนา ทั้งหลายได้ ครั้นกำหนดรู้เวทนาแล้ว เป็นผู้หาอาสวะมิได้ ในปัจจุบัน ตั้งอยู่ในธรรม ถึงที่สุดเวท เมื่อตายไปย่อมไม่ เข้าถึงความนับว่าเป็นผู้กำหนัด ขัดเคือง เป็นผู้งมงาย ฯ
จบสูตรที่ ๕
สัลลัตถสูตร
[๓๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้ว ย่อมเสวยสุขเวทนา บ้าง ทุกขเวทนาบ้าง อทุกขมสุขเวทนาบ้าง อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ก็ย่อม เสวยสุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนาบ้าง อทุกขมสุขเวทนาบ้าง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ใน ชน ๒ จำพวกนั้น อะไรเป็นความพิเศษ เป็นความแปลก เป็นเครื่องทำให้ต่างกัน ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลายของพวกข้าพระองค์มีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ อันทุกขเวทนา ถูกต้องแล้ว ย่อมเศร้าโศก ร่ำไร รำพัน ทุบอก คร่ำครวญ ย่อมถึงความ งมงาย เขาย่อมเสวยเวทนา ๒ อย่าง คือเวทนาทางกายและเวทนาทางใจ ฯ [๓๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนายขมังธนู พึงยิงบุรุษด้วย ลูกศร ยิงซ้ำบุรุษนั้นด้วยลูกศรดอกที่ ๒ อีก ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ บุรุษนั้นย่อมเสวย เวทนาเพราะลูกศร ๒ อย่าง คือ ทางกายและทางใจ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชน ผู้ไม่ได้สดับ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมเศร้าโศก ร่ำไร รำพัน ทุบอกคร่ำครวญ ย่อมถึงความงมงาย เขาย่อมเสวยเวทนา ๒ อย่าง คือ เวทนาทางกายและเวทนาทางใจ อนึ่ง เขาเป็นผู้มีความขัดเคืองเพราะทุกขเวทนา นั้น ปฏิฆานุสัยเพราะทุกขเวทนานั้น ย่อมนอนตามเขาผู้มีความขัดเคืองเพราะ ทุกขเวทนา เขาเป็นผู้อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมเพลิดเพลินกามสุข ข้อนั้น เพราะเหตุอะไร เพราะปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ย่อมไม่รู้อุบายเครื่องสลัดออกจาก ทุกขเวทนานอกจากกามสุข และเมื่อเขาเพลิดเพลินกามสุขอยู่ ราคานุสัยเพราะ สุขเวทนานั้นย่อมนอนเนื่อง เขาย่อมไม่รู้เหตุเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบาย เป็นเครื่องสลัดออกแห่งเวทนาเหล่านั้น ตามความเป็นจริง เมื่อเขาไม่รู้เหตุเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งเวทนาเหล่านั้น ตาม ความเป็นจริง อวิชชานุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนาย่อมนอนเนื่อง เขาย่อมเสวยสุข เวทนา เป็นผู้ประกอบด้วยกิเลสเสวยสุขเวทนานั้น ย่อมเสวยทุกขเวทนา เป็น ผู้ประกอบด้วยกิเลสเสวยทุกขเวทนานั้น และย่อมเสวยอทุกขมสุขเวทนา เป็น ผู้ประกอบด้วยกิเลสเสวยอทุกขมสุขเวทนานั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้ สดับนี้ เราเรียกว่า เป็นผู้ประกอบด้วยชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส เรากล่าวว่า เป็นผู้ประกอบด้วยทุกข์ ฯ [๓๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฝ่ายอริยสาวกผู้ได้สดับ อันทุกขเวทนาถูก ต้องแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ร่ำไร ไม่รำพัน ไม่ทุบอกคร่ำครวญ ไม่ถึงความ งมงาย เธอย่อมเสวยเวทนาทางกายอย่างเดียว ไม่ได้เสวยเวทนาทางใจ ฯ [๓๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนายขมังธนูพึงยิงบุรุษด้วย ลูกศร ยิงซ้ำบุรุษนั้นด้วยลูกศรดอกที่ ๒ ผิดไป ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ บุรุษนั้นย่อม เสวยเวทนาเพราะลูกศรดอกเดียว ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ ก็ฉัน นั้นเหมือนกัน ผู้อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ร่ำไร ไม่รำพัน ไม่ทุบอกคร่ำครวญ ไม่ถึงความงมงาย เธอย่อมเสวยเวทนาทางกายอย่างเดียว ไม่ ได้เสวยเวทนาทางใจ อนึ่ง เธอย่อมไม่มีความขัดเคืองเพราะทุกขเวทนานั้น ปฏิฆานุสัยเพราะทุกขเวทนานั้น ย่อมไม่นอนตามเธอผู้ไม่มีความขัดเคืองเพราะ ทุกขเวทนา เธอผู้อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่เพลิดเพลินกามสุข ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะอริยสาวกผู้ได้สดับนั้น ย่อมรู้ชัดซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออก จากทุกขเวทนา นอกจากกามสุข เมื่อเธอไม่เพลิดเพลินกามสุข ราคานุสัยเพราะ สุขเวทนาย่อมไม่นอนเนื่อง เธอย่อมรู้ชัดซึ่งเหตุเกิด ความดับ คุณ โทษ และ อุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งเวทนาเหล่านั้น ตามความเป็นจริง เมื่อเธอรู้ชัดซึ่ง เหตุเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งเวทนาเหล่านั้น ตามความเป็นจริง อวิชชานุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนาย่อมไม่นอนเนื่อง ถ้าเธอ เสวยสุขเวทนา ย่อมเป็นผู้ปราศจากกิเลสเสวยสุขเวทนานั้น ถ้าเสวยทุกขเวทนา ย่อมเป็นผู้ปราศจากกิเลสเสวยทุกขเวทนานั้น ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนา ย่อม เป็นผู้ปราศจากกิเลสเสวยอทุกขมสุขเวทนานั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวก ผู้ได้สดับแล้วนี้ เราเรียกว่า เป็นผู้ปราศจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เราย่อมกล่าวว่า เป็นผู้ปราศจากทุกข์ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย นี้แลเป็นความพิเศษ เป็นความแปลกกัน เป็นเครื่องกระทำให้ต่างกัน ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ฯ [๓๗๓] อริยสาวกนั้นเป็นผู้มีปัญญา ทั้งเป็นพหูสูต ย่อมไม่ เสวยทั้งสุขเวทนา ทั้งทุกขเวทนา นี้แล เป็นความ แปลกกันระหว่างธีรชนผู้ฉลาดกับปุถุชน ธรรมส่วนที่ น่าปรารถนา ย่อมไม่ย่ำยีจิตของอริยสาวกนั้น ผู้มีธรรม อันรู้แจ้งแล้ว เป็นพหูสูตเห็นแจ้งโลกนี้และโลกหน้า อยู่ ท่านย่อมไม่ถึงความขัดเคืองเพราะอนิฏฐารมณ์ อนึ่ง เวทนาเป็นอันตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะอริยสาวกนั้นไม่ยินดี และไม่ยินร้าย อริยสาวกนั้นรู้ทางดำเนินอันปราศจากธุลี และหาความโศกมิได้ ย่อมเป็นผู้ถึงฝั่งแห่งภพรู้โดยชอบ ฯ
จบสูตรที่ ๖
เคลัญญสูตรที่ ๑
[๓๗๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่า มหาวัน ใกล้เมืองเวสาลี ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจาก ที่หลีกเร้น เสด็จเข้าไปยังศาลาคนไข้ แล้วประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ ครั้น แล้วตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติ มี สัมปชัญญะ รอกาลเวลา นี้เป็นคำเราสั่งสอนพวกเธอ ฯ [๓๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุย่อมเป็นผู้มีสติอย่างไร ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มีปรกติเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมเป็นผู้มีปรกติ เห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ โทมนัสในโลกเสีย ย่อมเป็นผู้มีปรกติเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมเป็นผู้มีปรกติเห็นธรรมในธรรม อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมเป็นผู้มีสติอย่างนี้แล ฯ [๓๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุย่อมเป็นผู้มีสัมปชัญญะอย่างไร ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มีปรกติทำความรู้สึกตัวในการก้าว ไป ในการถอยกลับ ย่อมเป็นผู้มีปรกติทำความรู้สึกในการแล ในการเหลียว ย่อมเป็นผู้มีปรกติทำความรู้สึกตัวในการคู้เข้า เหยียดออก ย่อมเป็นผู้มีปรกติทำ ความรู้สึกตัวในการทรงผ้าสังฆาฏิ บาตร และจีวร ย่อมเป็นผู้มีปรกติทำความรู้ สึกตัวในการกิน ดื่ม เคี้ยว ลิ้ม ย่อมเป็นผู้มีปรกติทำความรู้สึกตัวในการถ่าย อุจจาระ ปัสสาวะ ย่อมเป็นผู้มีปรกติทำความรู้สึกตัวในการเดิน ยืน นั่ง หลับ ตื่น พูด นิ่ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ รอกาลเวลา นี้เป็นคำเราสั่งสอนพวกเธอ ฯ [๓๗๗] ถ้าเมื่อภิกษุนั้นมีสติสัมปชัญญะ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่อย่างนี้ สุขเวทนาย่อมบังเกิดขึ้น เธอย่อมรู้อย่างนี้ว่า สุขเวทนา นี้บังเกิดขึ้นแล้วแก่เราแล ก็แต่ว่าสุขเวทนานั้นอาศัยจึงเกิดขึ้น ไม่อาศัยไม่เกิด ขึ้น อาศัยอะไร อาศัยกายนี้เอง ก็กายนี้แลไม่เที่ยง ปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกัน เกิดขึ้น ก็สุขเวทนาอาศัยกายอันไม่เที่ยง ปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น แล้วจึงเกิดขึ้น จักเที่ยงแต่ที่ไหน ดังนี้ เธอย่อมพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง ความเสื่อมไป ความคลายไป ความดับ ความสละคืนในกายและสุขเวทนาอยู่ เมื่อเธอพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง ความเสื่อมไป ความคลายไป ความดับ ความสละคืนในกายและสุขเวทนาอยู่ ย่อมละราคานุสัยในกายและในสุขเวทนา เสียได้ ฯ [๓๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุนั้นมีสติสัมปชัญญะ เป็นผู้ไม่ ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่อย่างนี้ ทุกขเวทนาย่อมบังเกิดขึ้น เธอ ย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ทุกขเวทนานี้ บังเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็แต่ว่าทุกขเวทนานั้น อาศัยจึงเกิดขึ้น ไม่อาศัยไม่เกิดขึ้น อาศัยอะไร อาศัยกายนี้เอง ก็กายนี้แลไม่ เที่ยง ปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น ก็ทุกขเวทนาอาศัยกายอันไม่เที่ยง ปัจจัย ปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น แล้วจึงบังเกิดขึ้น จักเที่ยงแต่ที่ไหน ดังนี้ เธอย่อม พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง ความเสื่อมไป ความคลายไป ความดับ ความสละคืน ในกายและในทุกขเวทนาอยู่ เมื่อเธอพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง ความเสื่อมไป ความคลายไป ความดับ ความสละคืนในกายและในทุกขเวทนาอยู่ ย่อมละ ปฏิฆานุสัยในกายและในทุกขเวทนาเสียได้ ฯ [๓๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุนั้นมีสติสัมปชัญญะ เป็นผู้ไม่ ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่อย่างนี้ อทุกขมสุขเวทนาย่อมบังเกิดขึ้น เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า อทุกขมสุขเวทนานี้บังเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็แต่ว่าอทุกขมสุข เวทนานั้น อาศัยจึงเกิดขึ้น ไม่อาศัยไม่เกิดขึ้น อาศัยอะไร อาศัยกายนี้เอง ก็กายนี้แลไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น ก็อทุกขมสุขเวทนาอาศัย กายอันไม่เที่ยง ปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น แล้วจึงบังเกิดขึ้น จักเที่ยงแต่ ที่ไหน ดังนี้ เธอย่อมพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง ความเสื่อมไป ความคลายไป ความดับ ความสละคืนในกายและในอทุกขมสุขเวทนาอยู่ เมื่อเธอพิจารณาเห็น ความไม่เที่ยง ความเสื่อมไป ความคลายไป ความดับ ความสละคืนในกายและ ในอทุกขมสุขเวทนาอยู่ ย่อมละอวิชชานุสัยในกายและในอทุกขมสุขเวทนา เสียได้ ฯ [๓๘๐] ถ้าภิกษุนั้นเสวยสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า สุขเวทนานั้นไม่เที่ยง ไม่น่าหมกมุ่น ไม่น่าเพลิดเพลิน ถ้าเธอเสวยทุกขเวทนา ฯลฯ ถ้าเธอเสวย อทุกขมสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า อทุกขมสุขเวทนานั้นไม่เที่ยง ไม่น่าหมกมุ่น ไม่น่า เพลิดเพลิน ถ้าเธอเสวยสุขเวทนา ย่อมเป็นผู้ปราศจากกิเลสเสวยสุขเวทนานั้น ถ้าเธอเสวยทุกขเวทนา ย่อมเป็นผู้ปราศจากกิเลสเสวยทุกขเวทนานั้น ถ้าเธอ เสวยอทุกขมสุขเวทนา ย่อมเป็นผู้ปราศจากกิเลสเสวยอทุกขมสุขเวทนานั้น ภิกษุ นั้นเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด เมื่อ เสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า เมื่อตายไป เวทนาทั้งปวงอันไม่น่าเพลิดเพลิน จักเป็นความเย็นในโลกนี้ ทีเดียว ฯ [๓๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนประทีปน้ำมัน อาศัยน้ำมัน และไส้จึงโพลงอยู่ได้ เพราะสิ้นน้ำมันและไส้ ประทีปนั้นไม่มีเชื้อพึงดับไป ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถ้าเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า เรา เสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด เสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนา มีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า เมื่อตายไป เวทนาทั้งปวงอันไม่น่าเพลิดเพลินจัก เป็นความเย็นในโลกนี้ทีเดียว ฯ
จบสูตรที่ ๗
เคลัญญสูตรที่ ๒
[๓๘๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลาป่า มหาวัน ใกล้เมืองเวสาลี ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออก จากที่หลีกเร้น เสด็จเข้าไปยังศาลาคนไข้ แล้วประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ ครั้นแล้วตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติ สัมปชัญญะ รอกาลเวลา นี้เป็นคำเราสั่งสอนพวกเธอ ฯ [๓๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุย่อมเป็นผู้มีสติอย่างไร ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มี สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็น เวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ ในจิต ฯลฯ ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ดูกร- *ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมเป็นผู้มีสติอย่างนี้แล ฯ [๓๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้มีสัมปชัญญะอย่างไร ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มีปรกติทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป ในการถอยกลับ ฯลฯ ในการพูด ในการนิ่ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมเป็นผู้ มีสัมปชัญญะอย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะรอกาล เวลา นี้เป็นคำเราสั่งสอนพวกเธอ ฯ [๓๘๕] ถ้าเมื่อภิกษุมีสติสัมปชัญญะ เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่อย่างนี้ สุขเวทนาย่อมเกิดขึ้น เธอย่อมรู้อย่างนี้ว่า สุขเวทนา เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็สุขเวทนานั้นแล อาศัยจึงเกิดขึ้น ไม่อาศัยไม่เกิดขึ้น อาศัย อะไร อาศัยผัสสะนี้เอง ก็แต่ว่าผัสสะนี้ไม่เที่ยง ปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัย เกิดขึ้น ก็สุขเวทนาซึ่งอาศัยผัสสะอันไม่เที่ยง ปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น เกิดขึ้นแล้วแก่เรา จักเที่ยงแต่ที่ไหน ดังนี้ เธอย่อมพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง เธอย่อมพิจารณาเห็นความเสื่อมไป พิจารณาเห็นความคลายไป พิจารณาเห็นความ ดับไป พิจารณาเห็นความสละคืน เมื่อเธอพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง พิจารณา เห็นความเสื่อมไป พิจารณาเห็นความคลายไป พิจารณาเห็นความดับไป พิจารณา เห็นความสละคืน ในผัสสะและในสุขเวทนาอยู่ ย่อมละราคานุสัยในผัสสะและ ในสุขเวทนาเสียได้ ฯ [๓๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุนั้นมีสติ มีสัมปชัญญะ เป็นผู้ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่อย่างนี้ ทุกขเวทนาย่อมเกิดขึ้น ฯลฯ อทุกขมสุขเวทนาย่อมเกิดขึ้น เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า อทุกขมสุขเวทนานี้เกิดขึ้น แล้วแก่เรา ก็อทุกขมสุขเวทนานั้นแล อาศัยจึงเกิดขึ้น ไม่อาศัยไม่เกิดขึ้น อาศัยอะไร อาศัยผัสสะนี้แลบังเกิดขึ้น ก็ผัสสะนี้แลไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ ถ้าภิกษุนั้นเสวยสุขเวทนา เธอย่อมรู้ชัดว่า สุขเวทนา นั้นไม่เที่ยง ไม่น่าหมกมุ่น ไม่น่าเพลิดเพลิน ถ้าเธอเสวยทุกขเวทนา ฯลฯ ถ้า เสวยอทุกขมสุขเวทนา เธอย่อมรู้ชัดว่า อทุกขมสุขเวทนานั้นไม่เที่ยง ไม่น่า หมกมุ่น ไม่น่าเพลิดเพลิน ถ้าเธอเสวยสุขเวทนา ย่อมเป็นผู้ปราศจากกิเลส เสวยสุขเวทนานั้น ถ้าเธอเสวยทุกขเวทนา ย่อมเป็นผู้ปราศจากกิเลสเสวย ทุกขเวทนานั้น ถ้าเธอเสวยอทุกขมสุขเวทนา ย่อมเป็นผู้ปราศจากกิเลสเสวย อทุกขมสุขเวทนานั้น ภิกษุนั้นเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า เราเสวย เวทนามีกายเป็นที่สุด เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนา มีชีวิตเป็นที่สุด รู้ชัดว่า เมื่อตายไป เวทนาทั้งปวง อันไม่น่าเพลิดเพลิน จัก เป็นความเย็นในโลกนี้ทีเดียว ฯ [๓๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนประทีปน้ำมัน อาศัยน้ำมัน และไส้จึงติดอยู่ได้ เพราะสิ้นน้ำมันและไส้ ประทีปนั้นไม่มีเชื้อพึงดับไป ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อม รู้ชัดว่าเราเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ ชัดว่า เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า เมื่อตายไป เวทนาทั้งปวง อันไม่น่าเพลิดเพลิน จักเป็นความเย็นในโลกนี้ทีเดียว ฯ
จบสูตรที่ ๘
อนิจจสูตร
[๓๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ เหล่านี้ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุง แต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับเป็นธรรมดา เวทนา ๓ เป็นไฉน เวทนา ๓ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ นี้แล ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัย เกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา ฯ
จบสูตรที่ ๙
ผัสสมูลกสูตร
[๓๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ นี้เกิดแต่ผัสสะ มีผัสสะเป็นมูล มีผัสสะเป็นเหตุ มีผัสสะเป็นปัจจัย เวทนา ๓ เป็นไฉน เวทนา ๓ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุขเวทนาเกิดขึ้นเพราะ อาศัยผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งสุขเวทนา ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะนั้น ชื่อว่า สุขเวทนา เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้น ย่อมดับไป สงบไป เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้นแลดับไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกขเวทนาย่อมเกิดขึ้น เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ความ เสวยอารมณ์ อันเกิดแต่ผัสสะนั้น ชื่อว่าทุกขเวทนา เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะ อันเป็นตั้งแห่งทุกขเวทนานั้น ย่อมดับไป สงบไป เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่ง ทุกขเวทนานั้นแลดับไป อทุกขมสุขเวทนา ย่อมเกิดขึ้น เพราะอาศัยผัสสะอัน เป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ความเสวยอารมณ์อันเกิดแก่ผัสสะนั้น ชื่อว่า อทุกขมสุขเวทนา เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา นั้นย่อมดับไป สงบไป เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้นแล ดับไป ฯ [๓๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะไม้สองอันเสียดสีกัน เพราะการ เสียดสีกันจึงเกิดไออุ่น จึงเกิดไฟ เพราะแยกไม้สองอันนั้นแหละออกจากกัน ไออุ่นที่เกิดเพราะการเสียดสีนั้นย่อมดับไป สงบไป ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ นี้ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล เกิดแต่ผัสสะ มีผัสสะเป็นมูล มีผัสสะเป็น เหตุ มีผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาอันเกิดแต่ผัสสะ เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะที่เกิด แต่ปัจจัยนั้น ย่อมดับเพราะผัสสะที่เกิดแต่ปัจจัยนั้นดับไป ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
จบเวทนาสังยุตต์ ปฐมกสคาถวรรค
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สมาธิสูตร ๒. สุขสูตร ๓. ปหานสูตร ๔. ปาตาลสูตร ๕. ทัฏฐัพพสูตร ๖. สัลลัตถสูตร ๗. เคลัญญสูตรที่ ๑ ๘. เคลัญญ- *สูตรที่ ๒ ๙. อนิจจสูตร ๑๐. ผัสสมูลกสูตร ฯ
-----------------------------------------------------
รโหคตวรรคที่ ๒
รโหคตสูตร
[๓๙๑] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอประทานพระวโรกาส ความปริวิตกแห่งใจ เกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์ผู้หลีกเร้นอยู่ในที่ลับอย่างนี้ว่า พระผู้มี- *พระภาคตรัสเวทนา ๓ อย่าง คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนา ๓ อย่างนี้ ก็พระผู้มีพระภาคตรัสพระดำรัสนี้ว่า ความ เสวยอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นทุกข์ ดังนี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสพระดำรัส นี้ว่า ความเสวยอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นทุกข์ ดังนี้ ทรงหมายเอาอะไรหนอ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ถูกแล้ว ถูกแล้ว ภิกษุ ดูกรภิกษุ เรากล่าวเวทนา ๓ นี้ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา เรากล่าวเวทนา ๓ นี้ ดูกรภิกษุ เรากล่าวคำนี้ว่า ความเสวยอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นทุกข์ ดังนี้ ดูกรภิกษุ ก็คำนี้ว่า ความเสวยอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นทุกข์ ดังนี้ เรากล่าวหมายเอา ความที่สังขารทั้งหลายนั่นเองไม่เที่ยง ดูกรภิกษุ ก็คำนี้ว่า ความเสวยอารมณ์ อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นทุกข์ ดังนี้ เรากล่าวหมายเอาความที่สังขารทั้งหลายนั่นแหละ มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไป แปรปรวนไปเป็นธรรมดา ฯ [๓๙๒] ดูกรภิกษุ ก็ลำดับนั้นแล เรากล่าวความดับสนิทแห่งสังขาร ทั้งหลายโดยลำดับ คือ เมื่อภิกษุเข้าปฐมฌาน วาจาย่อมดับ เมื่อเข้าทุติยฌาน วิตกวิจารย่อมดับ เมื่อเข้าตติยฌาน ปีติย่อมดับ เมื่อเข้าจตุตถฌาน ลมอัสสาสะ ปัสสาสะย่อมดับ เมื่อเข้าอากาสานัญจายตนฌาน รูปสัญญาย่อมดับ เมื่อเข้า วิญญาณัญจายตนฌาน อากาสานัญจายตนสัญญาย่อมดับ เมื่อเข้าอากิญจัญญายตน ฌาน วิญญาณัญจายตนสัญญาย่อมดับ เมื่อเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน อากิญจัญญายตนสัญญาย่อมดับ เมื่อเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญาและเวทนา ย่อมดับ ราคะ โทสะ โมหะของภิกษุผู้สิ้นอาสวะ ย่อมดับ ฯ [๓๙๓] ดูกรภิกษุ ลำดับนั้นแล เรากล่าวความสงบแห่งสังขารทั้งหลาย โดยลำดับ คือ เมื่อภิกษุเข้าปฐมฌาน วาจาย่อมสงบ เมื่อเข้าทุติยฌาน วิตกวิจาร ย่อมสงบ ฯลฯ เมื่อเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญาและเวทนาย่อมสงบ ราคะ โทสะ โมหะของภิกษุผู้สิ้นอาสวะ ย่อมสงบ ฯ [๓๙๔] ดูกรภิกษุ ปัสสัทธิ ๖ อย่างนี้ คือ เมื่อภิกษุเข้าปฐมฌาน วาจาย่อมระงับ เมื่อเข้าทุติยฌาน วิตกวิจารย่อมระงับ เมื่อเข้าตติยฌาน ปีติย่อม ระงับ เมื่อเข้าจตุตถฌาน ลมอัสสาสะปัสสาสะย่อมระงับ เมื่อเข้าสัญญาเวท- *ยิตนิโรธ สัญญาและเวทนาย่อมระงับ ราคะ โทสะ โมหะของภิกษุขีณาสพย่อม ระงับ ฯ
จบสูตรที่ ๑
วาตสูตรที่ ๑
[๓๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนลมต่างชนิด พัดไปแม้ใน อากาศ คือ ลมทิศตะวันออกบ้าง ลมทิศตะวันตกบ้าง ลมทิศเหนือบ้าง ลม ทิศใต้บ้าง ลมมีธุลีบ้าง ลมไม่มีธุลีบ้าง ลมหนาวบ้าง ลมร้อนบ้าง ลมอ่อนบ้าง ลมแรงบ้าง ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนาต่างชนิดย่อมเกิดขึ้นในกายนี้ ฉันนั้นเหมือนกันแล คือ สุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนาบ้าง อทุกขมสุขเวทนา บ้าง ฯ พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า [๓๙๖] เปรียบเหมือนลมมากมายหลายชนิด พัดไปในอากาศ คือ บางครั้งลมทิศตะวันออกบ้าง บางครั้งทิศตะวันตกบ้าง บางครั้งทิศเหนือบ้าง บางครั้งทิศใต้บ้าง บางครั้งมีธุลีบ้าง บางครั้งไม่มีธุลีบ้าง บางครั้งลมหนาวบ้าง บางครั้งลมร้อน บ้าง บางครั้งลมแรงบ้าง บางครั้งลมอ่อนบ้าง ฉันใด เวทนา ย่อมเกิดขึ้นในกายนี้ ฉันนั้นเหมือนกัน คือสุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนาบ้าง อทุกขมสุขเวทนาบ้าง เมื่อใดภิกษุมีความ เพียร รู้สึกอยู่ เข้านิโรธ เมื่อนั้น เธอผู้เป็นบัณฑิตย่อม กำหนดรู้เวทนา ได้ทุกอย่าง ภิกษุนั้นกำหนดรู้เวทนาแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะ ตั้งอยู่ในธรรม เรียนจบพระเวทในปัจจุบัน เพราะกายแตกย่อมไม่เข้าถึงซึ่งบัญญัติ ฯ
จบสูตรที่ ๒
วาตสูตรที่ ๒
[๓๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนลมต่างชนิด พัดไปในอากาศ คือ ลมทิศตะวันออกบ้าง ฯลฯ ลมแรงบ้าง ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนา ต่างชนิดย่อมเกิดขึ้นในกายนี้ ฉันนั้นเหมือนกันแล คือ สุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนา บ้าง อทุกขมสุขเวทนาบ้าง ฯ
จบสูตรที่ ๓
นิวาสสูตร
[๓๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเรือนพักคนเดินทาง ชนทั้งหลาย มาจากทิศตะวันออกบ้าง มาจากทิศตะวันตกบ้าง มาจากทิศเหนือบ้าง มาจาก ทิศใต้บ้าง เป็นกษัตริย์บ้าง เป็นพราหมณ์บ้าง เป็นพ่อค้าบ้าง เป็นคนงานบ้าง มาพักในเรือนนั้น ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนาต่างชนิดย่อมเกิดขึ้นในกายนี้ ฉันนั้นเหมือนกัน คือ สุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนาบ้าง อทุกขมสุขเวทนาบ้าง สุขเวทนามีอามิสบ้าง ทุกขเวทนามีอามิสบ้าง อทุกขมสุขเวทนามีอามิสบ้าง สุขเวทนาไม่มีอามิสบ้าง ทุกขเวทนาไม่มีอามิสบ้าง อทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส บ้าง ฯ
จบสูตรที่ ๔
อานันทสูตรที่ ๑
[๓๙๙] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถาม พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เวทนามีเท่าไร ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา เป็นไฉน ความดับแห่งเวทนาเป็นไฉน ปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับแห่งเวทนา เป็นไฉน อะไรเป็นคุณแห่งเวทนา อะไรเป็นโทษแห่งเวทนา อะไรเป็นอุบาย เครื่องสลัดออกแห่งเวทนา พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ เวทนามี ๓ เหล่านี้ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ดูกรอานนท์ เหล่านี้ เราเรียกว่าเวทนา เพราะผัสสะเกิดขึ้นเวทนาจึงเกิด เพราะผัสสะดับเวทนาจึงดับ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ เป็นปฏิปทาเครื่อง ให้ถึงความดับแห่งเวทนา สุข โสมนัส ย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัยเวทนาใด นี้เป็น คุณแห่งเวทนา เวทนาใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้ เป็นโทษแห่งเวทนา การกำจัด การละฉันทราคะในเวทนาใด นี้เป็นอุบายเครื่อง สลัดออกแห่งเวทนา ฯ [๔๐๐] ดูกรอานนท์ โดยที่แท้ เราได้กล่าวความดับแห่งสังขารทั้งหลาย โดยลำดับแล้ว คือ เมื่อภิกษุเข้าปฐมฌาน วาจาย่อมดับ ฯลฯ เมื่อเข้าสัญญา- *เวทยิตนิโรธ สัญญาและเวทนาย่อมดับ ราคะ โทสะ โมหะของภิกษุผู้ขีณาสพ ย่อมดับ ฯ [๔๐๑] ดูกรอานนท์ โดยที่แท้ เราได้กล่าวความสงบแห่งสังขารทั้งหลาย โดยลำดับแล้ว คือ เมื่อภิกษุเข้าปฐมฌาน วาจาย่อมสงบ ฯลฯ เมื่อเข้าสัญญา- *เวทยิตนิโรธ สัญญาและเวทนาย่อมสงบ ราคะ โทสะ โมหะของภิกษุผู้ขีณาสพ ย่อมสงบ ฯ [๔๐๒] ดูกรอานนท์ โดยที่แท้ เราได้กล่าวความระงับแห่งสังขาร ทั้งหลายโดยลำดับแล้ว คือ เมื่อภิกษุเข้าปฐมฌาน วาจาย่อมระงับ ฯลฯ เมื่อ เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญาและเวทนาย่อมระงับ ราคะ โทสะ โมหะของ ภิกษุผู้ขีณาสพย่อมระงับ ฯ
จบสูตรที่ ๕
อานันทสูตรที่ ๒
[๔๐๓] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระอานนท์ว่า ดูกรอานนท์ เวทนามีเท่าไร ความ เกิดขึ้นแห่งเวทนาเป็นไฉน ความดับแห่งเวทนาเป็นไฉน ปฏิปทาเครื่องให้ถึง ความดับแห่งเวทนาเป็นไฉน อะไรเป็นคุณแห่งเวทนา อะไรเป็นโทษแห่งเวทนา อะไรเป็นอุบายเครื่องสลัดออกแห่งเวทนา ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า ข้าแต่- *พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลายของพวกข้าพระองค์ มีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่งอาศัย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอเนื้อความแห่งภาษิตนี้จงแจ่มแจ้งกะพระผู้มีพระภาค เท่านั้นเถิด ภิกษุทั้งหลายฟังพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้วจักทรงจำไว้ พระผู้มี- *พระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ ถ้ากระนั้นเธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ท่านพระอานนท์ทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์ นี้ว่า ดูกรอานนท์ เวทนา ๓ เหล่านี้ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุข เวทนา ดูกรอานนท์ เหล่านี้เราเรียกว่าเวทนา ฯลฯ ราคะ โทสะ โมหะของ ภิกษุผู้ขีณาสพย่อมระงับ ฯ
จบสูตรที่ ๖
สัมพหุลสูตรที่ ๑
[๔๐๔] ครั้งนั้นแล ภิกษุมากรูปด้วยกันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เวทนามีเท่าไร ความเกิดขึ้น แห่งเวทนาเป็นไฉน ความดับแห่งเวทนาเป็นไฉน ปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับ แห่งเวทนาเป็นไฉน อะไรเป็นคุณแห่งเวทนา อะไรเป็นโทษแห่งเวทนา อะไร เป็นอุบายเครื่องสลัดออกแห่งเวทนา พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนามี ๓ เหล่านี้ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เราเรียกว่าเวทนา เพราะผัสสะเกิดขึ้นเวทนาจึงเกิด เพราะผัสสะดับไป เวทนาจึงดับ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้นั่นแล คือ สัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ เป็นปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับแห่งเวทนา สุข โสมนัส ย่อมเกิดขึ้นเพราะ อาศัยเวทนาใด นี้เป็นคุณแห่งเวทนา เวทนาใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความ แปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งเวทนา การกำจัด การละฉันทราคะใน เวทนาใด นี้เป็นอุบายเครื่องสลัดออกแห่งเวทนา ฯ [๔๐๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โดยที่แท้ เราได้กล่าวความดับแห่งสังขาร ทั้งหลายโดยลำดับแล้ว คือ เมื่อภิกษุเข้าปฐมฌาน วาจาย่อมดับ ฯลฯ ราคะ โทสะ โมหะของภิกษุผู้ขีณาสพย่อมดับ ฯ [๔๐๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โดยที่แท้ เราได้กล่าวความสงบแห่งสังขาร ทั้งหลายโดยลำดับแล้ว คือ เมื่อภิกษุเข้าปฐมฌาน วาจาย่อมสงบ ฯลฯ ราคะ โทสะ โมหะของภิกษุผู้ขีณาสพย่อมสงบ ฯ [๔๐๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัสสัทธิ ๖ ประการนี้ คือ เมื่อภิกษุเข้า ปฐมฌาน วาจาย่อมระงับ เมื่อเข้าทุติยฌาน วิตกวิจารย่อมระงับ เข้าตติยฌาน ปีติ ย่อมระงับ เมื่อเข้าจตุตถฌาน ลมอัสสาสะปัสสาสะย่อมระงับ เมื่อเข้าสัญญา- *เวทยิตนิโรธ สัญญาและเวทนาย่อมระงับ ราคะ โทสะ โมหะ ของภิกษุผู้ ขีณาสพย่อมระงับ ฯ
จบสูตรที่ ๗
สัมพหุลสูตรที่ ๒
[๔๐๘] ครั้งนั้นแล ภิกษุมากรูปด้วยกัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามภิกษุเหล่านั้นว่า ดูกรภิกษุ- *ทั้งหลาย เวทนามีเท่าไร ฯลฯ อะไรเป็นอุบายเครื่องสลัดออกแห่งเวทนา ภิกษุ เหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลายของพวกข้าพระองค์มี พระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้า กระนั้นพวกเธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มี- *พระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ เหล่านี้ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ดูกรภิกษุ- *ทั้งหลาย เหล่านี้เราเรียกว่า เวทนา ฯลฯ (พึงขยายความให้พิสดารเหมือน สูตรต้นๆ )
จบสูตรที่ ๘
ปัญจกังคสูตร
[๔๐๙] ครั้งนั้นแล ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะเข้าไปหาท่านพระอุทายีถึงที่อยู่ ไหว้ท่านพระอุทายีแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระอุทายี ว่า ท่านพระอุทายีผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนาไว้เท่าไรหนอ ท่านพระอุทายี ตอบว่า ดูกรคฤหบดี พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนาไว้ ๓ อย่าง คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ดูกรคฤหบดี พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนาไว้ ๓ อย่างนี้แล ฯ [๔๑๐] เมื่อท่านพระอุทายีกล่าวอย่างนี้แล้ว ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะได้กล่าว กะท่านพระอุทายีว่า ท่านพระอุทายีผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคไม่ได้ตรัสเวทนาไว้ ๓ อย่าง ตรัสไว้ ๒ อย่าง คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา ท่านผู้เจริญ อทุกขมสุข เวทนาอันเป็นไปฝ่ายละเอียด พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ในสุขอันประณีต แม้ครั้งที่ ๒ ท่านพระอุทายีก็ได้กล่าวกะช่างไม้ว่า ดูกรคฤหบดี พระผู้มีพระภาคไม่ได้ตรัสเวทนา ไว้ ๒ อย่างเลย พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนา ๓ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนา ๓ อย่างนี้ แม้ครั้งที่ ๒ ช่างไม้ ชื่อปัญจกังคะก็ได้กล่าวกะท่านพระอุทายีว่า ท่านพระอุทายีผู้เจริญ พระผู้มีพระภาค ไม่ได้ตรัสเวทนาไว้ ๓ อย่างเลย ตรัสเวทนาไว้ ๒ อย่าง คือ สุขเวทนา ทุกข- *เวทนา ท่านผู้เจริญ อทุกขมสุขเวทนาอันเป็นไปในฝ่ายละเอียด พระผู้มีพระภาค ตรัสไว้ในสุขอันประณีต แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระอุทายีก็ได้กล่าวกะช่างไม้ว่า ดูกร คฤหบดี พระผู้มีพระภาคไม่ได้ตรัสเวทนาไว้ ๒ อย่างเลย ตรัสเวทนาไว้ ๓ อย่าง คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนา ๓ อย่างนี้ แม้ครั้งที่ ๓ ช่างไม้ได้กล่าวกะท่านพระอุทายีว่า ท่านพระอุทายีผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคไม่ได้ตรัสเวทนาไว้ ๓ อย่างเลย ตรัสเวทนาไว้ ๒ อย่าง คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา ท่านผู้เจริญ อทุกขมสุขเวทนาอันเป็นไปในฝ่ายละเอียด พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ในสุขอันประณีต ท่านพระอุทายีไม่สามารถจะให้ช่างไม้ ตกลงได้ ฝ่ายช่างไม้ก็ไม่สามารถให้ท่านพระอุทายีตกลงได้ ฯ [๔๑๑] ท่านพระอานนท์ ได้ฟังการสนทนาปราศรัยนี้ของท่านพระอุทายี กับช่างไม้ ครั้นแล้วได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ นั่ง ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูลการสนทนาปราศรัยแม้นั้นทั้งหมดแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะไม่คล้อยตามเหตุอันมีอยู่ ของภิกษุอุทายี ส่วนภิกษุอุทายีก็ไม่คล้อยตามเหตุอันมีอยู่ของช่างไม้ ฯ [๔๑๒] ดูกรอานนท์ โดยปริยายหนึ่ง เรากล่าวเวทนา ๒ ก็มี โดย ปริยายหนึ่ง เรากล่าวเวทนา ๓ ก็มี โดยปริยายหนึ่ง เรากล่าวเวทนา ๕ ก็มี โดยปริยายหนึ่ง เรากล่าวเวทนา ๖ ก็มี โดยปริยายหนึ่ง เรากล่าวเวทนา ๑๘ ก็มี โดยปริยายหนึ่ง เรากล่าวเวทนา ๓๖ ก็มี โดยปริยายหนึ่ง เรากล่าวเวทนา ๑๐๘ ก็มี ดูกรอานนท์ ธรรมอันเราแสดงแล้วโดยปริยายอย่างนี้ ดูกรอานนท์ เมื่อ ธรรมอันเราแสดงแล้วโดยปริยายอย่างนี้แล ชนเหล่าใดจักไม่สำคัญตาม จักไม่รู้ ตาม จักไม่บันเทิงตาม ซึ่งคำที่เรากล่าวดีแล้ว เจรจาดีแล้ว แก่กันและกัน เหตุนี้จักเป็นอันชนเหล่านั้นหวังได้ คือ ชนเหล่านั้นจักเกิดความบาดหมางกัน เกิดความทะเลาะกัน วิวาทกัน จักทิ่มแทงกันและกันด้วยหอกคือปาก ดูกรอานนท์ ธรรมอันเราแสดงแล้วโดยปริยายอย่างนี้แล ดูกรอานนท์ เมื่อธรรมอันเราแสดง แล้วโดยปริยายอย่างนี้ ชนเหล่าใดจักสำคัญตาม จักรู้ตาม จักบันเทิงตาม ซึ่ง คำที่เรากล่าวดีแล้ว เจรจาดีแล้ว แก่กันและกัน เหตุนี้ชนเหล่านั้นพึงหวังได้ คือ ชนเหล่านั้นจักพร้อมเพรียงกัน ชื่นบานต่อกัน ไม่วิวาทกัน เป็นดุจน้ำเจือ ด้วยน้ำนม มองกันและกันด้วยจักษุอันเปี่ยมด้วยความรักอยู่ ฯ [๔๑๓] ดูกรอานนท์ กามคุณ ๕ เหล่านี้ กามคุณ ๕ เป็นไฉน คือ รูปที่พึงรู้แจ้งได้ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด ฯลฯ โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกาย น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด กามคุณ ๕ เหล่านี้แล ดูกรอานนท์ สุข โสมนัสย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัยกามคุณ ๕ เหล่านี้ นี้เราเรียกว่ากามสุข ฯ [๔๑๔] ดูกรอานนท์ ชนเหล่าใดแลพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ชนทั้งหลาย ย่อมเสวยสุขโสมนัสนั่นอันเป็นเยี่ยมและละเอียด ดังนี้ เราไม่ยอมตามคำนี้แก่ชน เหล่านั้น ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะสุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุข นั่น มีอยู่ ฯ [๔๑๕] ดูกรอานนท์ ก็สุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั่น เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ นี้แลเป็นสุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่า และประณีตกว่าสุขนั่น ดูกรอานนท์ ชนเหล่าใดแลพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ชนทั้งหลาย ย่อมเสวยสุขโสมนัสนั่นอันเป็นเยี่ยมและละเอียด ดังนี้ เราไม่ยอมตามคำนี้แก่ ชนเหล่านั้น ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะสุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีต กว่าสุขนั่น มีอยู่ ฯ [๔๑๖] ดูกรอานนท์ ก็สุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั่น เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าทุติยฌานอันมีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารระงับไป มีปีติและสุข อันเกิดแต่สมาธิอยู่ นี้แลเป็นสุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั่น ดูกร อานนท์ ชนเหล่าใดแลพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ชนทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัสนั่น อันเป็นเยี่ยมและละเอียด ดังนี้ เราไม่ยอมตามคำนี้แก่ชนเหล่านั้น ข้อนั้นเพราะ เหตุไร เพราะสุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั่น มีอยู่ ฯ [๔๑๗] ดูกรอานนท์ ก็สุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั่น เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วย นามกาย เพราะปีติสิ้นไปเข้าตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขามีสติอยู่เป็นสุข นี้แลเป็นสุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีต กว่าสุขนั่น ดูกรอานนท์ ชนเหล่าใดแลพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ชนทั้งหลายย่อมเสวย สุขโสมนัสนั่น อันเป็นเยี่ยมและละเอียด ดังนี้ เราไม่ยอมตามคำนี้แก่ชนเหล่านั้น ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะสุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั่น มีอยู่ [๔๑๘] ดูกรอานนท์ ก็สุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั่น เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ นี้แลเป็นสุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่า และประณีตกว่าสุขนั่น ฯ [๔๑๙] ดูกรอานนท์ ชนเหล่าใดแลพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ชนทั้งหลายย่อม เสวยสุขโสมนัสนั่น อันเป็นเยี่ยมและละเอียด ดังนี้ เราไม่ยอมตามคำนี้แก่ชน เหล่านั้น ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะสุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่า สุขนั่น มีอยู่ ฯ [๔๒๐] ดูกรอานนท์ สุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั่น เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าอากาสานัญจายตนฌานโดยบริกรรมว่า อากาศ ไม่มีที่สุด เพราะก้าวล่วงรูปสัญญาทั้งหลาย เพราะความดับสูญแห่งปฏิฆสัญญา ทั้งหลาย เพราะไม่มนสิการถึงนานัตตสัญญาทั้งหลาย โดยประการทั้งปวงอยู่ นี้แลเป็นสุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั่น ชนเหล่าใดแลพึงกล่าว อย่างนี้ว่า ชนทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัสนั่นอันเป็นเยี่ยมและละเอียด ดังนี้ เราไม่ยอมตามคำนี้แก่ชนเหล่านั้น ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะสุขอื่นอันน่าใคร่ ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั่น มีอยู่ ฯ [๔๒๑] ดูกรอานนท์ สุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั่น เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ก้าวล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง แล้ว เข้าวิญญาณัญจายตนฌานโดยบริกรรมว่า วิญญาณไม่มีที่สุด นี้แลเป็นสุข อื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั่น ชนเหล่าใดแลพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ชน ทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัสนั่นอันเป็นเยี่ยมและละเอียด ดังนี้ เราไม่ยอมตาม คำนี้แก่ชนเหล่านั้น ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะสุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและ ประณีตกว่าสุขนั่น มีอยู่ ฯ [๔๒๒] ดูกรอานนท์ สุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั่น เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง แล้ว เข้าอากิญจัญญายตนฌานโดยบริกรรมว่า อะไรหน่อยหนึ่งไม่มี นี้แลเป็น สุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั่น ชนเหล่าใดแลพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ชนทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัสนั่นอันเป็นเยี่ยมและละเอียด ดังนี้ เราไม่ยอม ตามคำนี้แก่ชนเหล่านั้น ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะสุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและ ประณีตกว่าสุขนั่น มีอยู่ ฯ [๔๒๓] ดูกรอานนท์ ก็สุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั่น เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ก้าวล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง แล้ว เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ นี้แลเป็นสุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและ ประณีตกว่าสุขนั่น ชนเหล่าใดแลพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ชนทั้งหลายย่อมเสวยสุข โสมนัสนั่นอันเป็นเยี่ยมและละเอียด ดังนี้ เราไม่ยอมตามคำนี้แก่ชนเหล่านั้น ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะสุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั่น มีอยู่ ฯ [๔๒๔] ดูกรอานนท์ สุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั่นเป็น ไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง แล้ว เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติอยู่ นี้แลเป็นสุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีต กว่าสุขนั่น ก็ข้อที่ปริพาชกอัญญเดียรถีย์พึงกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมกล่าว สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ และย่อมบัญญัตินิโรธนั้นไว้ในความสุข ข้อนี้นั้นเพราะ เหตุไร ข้อนี้นั้นเป็นอย่างไร นั้นเป็นฐานะที่จะมีได้ พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์มี วาทะอย่างนี้ พวกเธอพึงค้านอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคไม่ได้ ทรงหมายเอาสุขเวทนาบัญญัตินิโรธนั้นไว้ในความสุขเลย บุคคลย่อมได้สุขใน ฐานะใดๆ พระตถาคตย่อมทรงบัญญัติฐานะนั้นๆ อันเป็นสุขไว้ในความสุข ทุกแห่ง ฯ
จบสูตรที่ ๙
ภิกขุสูตร
[๔๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โดยปริยายหนึ่ง เรากล่าวเวทนา ๒ ก็มี โดยปริยายหนึ่ง เรากล่าวเวทนา ๓ ก็มี โดยปริยายหนึ่ง เรากล่าวเวทนา ๕ ก็มี โดยปริยายหนึ่ง เรากล่าวเวทนา ๖ ก็มี โดยปริยายหนึ่ง เรากล่าวเวทนา ๑๘ ก็มี โดยปริยายหนึ่ง เรากล่าวเวทนา ๓๖ ก็มี โดยปริยายหนึ่ง เรากล่าวเวทนา ๑๐๘ ก็มี ธรรมอันเราแสดงแล้วโดยปริยายอย่างนี้ เมื่อเราแสดงธรรมโดยปริยายอย่างนี้ แล้ว ชนเหล่าใดจักไม่สำคัญตาม จักไม่รู้ตาม จักไม่บันเทิงตาม ซึ่งคำที่เรา กล่าวดีแล้ว เจรจาดีแล้ว แก่กันและกัน เหตุนี้จักเป็นอันชนเหล่านั้นพึงหวังได้ คือ ชนเหล่านั้นจักเกิดความบาดหมางกัน จักเกิดความทะเลาะกัน วิวาทกัน จักทิ่มแทงกันและกันด้วยหอกคือปากอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเราแสดง แล้วโดยปริยายอย่างนี้ เมื่อธรรมอันเราแสดงแล้วโดยปริยายอย่างนี้มีอยู่ ชน เหล่าใดจักสำคัญตาม จักรู้ตาม จักบันเทิงตาม ซึ่งคำที่เรากล่าวดีแล้ว เจรจา ดีแล้ว แก่กันและกัน เหตุนี้อันชนเหล่านั้นพึงหวังได้ คือพวกเขาจักพร้อมเพรียง กัน จักชื่นบานต่อกัน จักไม่วิวาทกัน จักเป็นดุจน้ำเจือด้วยน้ำนม จักมองกัน และกันด้วยจักษุอันเปี่ยมด้วยความรักอยู่ ฯ [๔๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ เหล่านี้ ฯลฯ (เหมือนข้อ ๔๑๓ ถึงข้อ ๔๒๔) ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อที่ปริพาชกอัญญเดียรถีย์พึงกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมกล่าวสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ และย่อมบัญญัตินิโรธนั้นไว้ใน ความสุข ข้อนี้นั้นเพราะเหตุไร ข้อนี้นั้นเป็นอย่างไร ข้อนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้ พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ผู้มีวาทะอย่างนี้ พวกเธอพึงค้านอย่างนี้ว่า ดูกรผู้มีอายุ ทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคไม่ได้ทรงหมายเอาสุขเวทนาบัญญัตินิโรธนั้นไว้ในความ สุข บุคคลย่อมได้สุขในฐานะใดๆ พระตถาคตย่อมทรงบัญญัติฐานะนั้นๆ อัน เป็นสุขไว้ในความสุขทุกแห่ง ดังนี้ ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
จบรโหคตวรรคที่ ๒
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. รโหคตสูตร ๒. วาตสูตรที่ ๑ ๓. วาตสูตรที่ ๒ ๔. นิวาสสูตร ๕. อานันทสูตรที่ ๑ ๖. อานันทสูตรที่ ๒ ๗. สัมพหุลสูตรที่ ๑ ๘. สัมพหุล สูตรที่ ๒ ๙. ปัญจกังคสูตร ๑๐. ภิกขุสูตร ฯ
-----------------------------------------------------
อัฏฐสตปริยายวรรคที่ ๓
สิวกสูตร
[๔๒๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ครั้งนั้นแล โมฬิยสิวกปริพาชกเข้า ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการ ปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมี วาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า บุคคลนี้ได้เสวยสุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขอย่างใด อย่างหนึ่ง สุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขทั้งมวลนั้น มีการกระทำไว้ในปางก่อน เป็นเหตุ ก็ในข้อนี้ท่านพระโคดมตรัสอย่างไร พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกร สิวกะ เวทนาบางอย่างมีดีเป็นสมุฏฐานก็มี ย่อมเกิดขึ้นในโลกนี้ ข้อที่เวทนา บางอย่างซึ่งมีดีเป็นสมุฏฐานเกิดขึ้นในโลกนี้ บุคคลพึงทราบได้เองอย่างนี้ก็มี โลก สมมติว่าเป็นของจริงก็มีในข้อนั้น สมณพราหมณ์เหล่าใดมีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิ อย่างนี้ว่า บุคคลนี้ได้เสวยสุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขอย่างใดอย่างหนึ่ง สุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขทั้งมวลนั้น มีการกระทำไว้ในปางก่อนเป็นเหตุ ย่อมแล่นไปสู่สิ่ง ที่รู้ด้วยตนเอง และแล่นไปสู่สิ่งที่สมมติกันว่าเป็นความจริงในโลก เพราะฉะนั้น เรากล่าวว่า เป็นความผิดของสมณพราหมณ์เหล่านั้น เวทนาบางอย่างมีเสมหะเป็น สมุฏฐานก็มี ฯลฯ มีลมเป็นสมุฏฐานก็มี ฯลฯ มีร่วมกันเป็นสมุฏฐานก็มี ฯลฯ เกิดแต่เปลี่ยนฤดูก็มี ฯลฯ เกิดแต่รักษาตัวไม่สม่ำเสมอก็มี ฯลฯ เกิดจากการถูก ทำร้ายก็มี ฯลฯ เวทนาบางอย่างเกิดแต่ผลของกรรมก็มี ย่อมเกิดขึ้นในโลกนี้ ข้อที่เวทนาบางอย่างซึ่งเกิดแต่ผลของกรรมเกิดขึ้นในโลกนี้ บุคคลพึงทราบได้เอง อย่างนี้ก็มี โลกสมมติว่าเป็นของจริงก็มี ในข้อนั้นสมณพราหมณ์เหล่าใดมีวาทะ อย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า บุคคลนี้ได้เสวยสุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขอย่างใดอย่างหนึ่ง สุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขทั้งมวลนั้น มีการกระทำไว้ในปางก่อนเป็นเหตุ ย่อม แล่นไปสู่สิ่งที่รู้ด้วยตนเอง และแล่นไปสู่สิ่งที่สมมติกันว่าเป็นความจริงในโลก เพราะฉะนั้นเรากล่าวว่า เป็นความผิดของสมณพราหมณ์เหล่านั้น ฯ [๔๒๘] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว โมฬิยสิวกปริพาชกได้ กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ขอท่านพระโคดมโปรด ทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะจนตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ [๔๒๙] เรื่องดี ๑ เสมหะ ๑ ลม ๑ ดี เสมหะ ลม รวมกัน ๑ ฤดู ๑ รักษาตัวไม่สม่ำเสมอ ๑ ถูกทำร้าย ๑ ผลของกรรม ๑ เป็นที่ ๘ ฯ
จบสูตรที่ ๑
อัฏฐสตปริยายสูตร
[๔๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมปริยายอันมีปริยาย ๑๐๘ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังธรรมปริยายนั้น ก็ธรรมปริยายอันมีปริยาย ๑๐๘ เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย โดยปริยายหนึ่ง เรากล่าวเวทนา ๒ ก็มี โดยปริยายหนึ่ง เรากล่าวเวทนา ๓ ก็มี โดยปริยายหนึ่ง เรากล่าวเวทนา ๑๘ ก็มี โดยปริยายหนึ่ง เรากล่าวเวทนา ๓๖ ก็มี โดยปริยายหนึ่ง เรากล่าวเวทนา ๑๐๘ ก็มี ฯ [๔๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เวทนา ๒ เป็นไฉน เวทนา ๒ คือ เวทนาทางกาย ๑ เวทนาทางใจ ๑ เหล่านี้เราเรียกว่า เวทนา ๒ ฯ [๔๓๒] ก็เวทนา ๓ เป็นไฉน เวทนา ๓ คือ สุขเวทนา ๑ ทุกขเวทนา ๑ อทุกขมสุขเวทนา ๑ เหล่านี้เรียกว่า เวทนา ๓ ฯ [๔๓๓] ก็เวทนา ๕ เป็นไฉน เวทนา ๕ คือ สุขินทรีย์ ๑ ทุกขินทรีย์ ๑ โสมนัสสินทรีย์ ๑ โทมนัสสินทรีย์ ๑ อุเบกขินทรีย์ ๑ เหล่านี้เราเรียกว่า เวทนา ๕ ฯ [๔๓๔] ก็เวทนา ๖ เป็นไฉน เวทนา ๖ คือจักขุสัมผัสสชาเวทนา ๑ โสตสัมผัสสชาเวทนา ๑ ฆานสัมผัสสชาเวทนา ๑ ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา ๑ กายสัมผัสสชาเวทนา ๑ มโนสัมผัสสชาเวทนา ๑ เหล่านี้เรียกว่าเวทนา ๖ ฯ [๔๓๕] ก็เวทนา ๑๘ เป็นไฉน เวทนา ๑๘ คือ เวทนาที่สหรคตด้วย โสมนัส ๖ เวทนาที่สหรคตด้วยโทมนัส ๖ เวทนาที่สหรคตด้วยอุเบกขา ๖ เหล่านี้เราเรียกว่าเวทนา ๑๘ ฯ [๔๓๖] ก็เวทนา ๓๖ เป็นไฉน เวทนา ๓๖ คือ เคหสิตโสมนัส ๖ เนกขัมมโสมนัส ๖ เคหสิตโทมนัส ๖ เนกขัมมสิตโทมนัส ๖ เคหสิตอุเบกขา ๖ เนกขัมมสิตอุเบกขา ๖ เหล่านี้เราเรียกว่าเวทนา ๓๖ ฯ [๔๓๗] เวทนา ๑๐๘ เป็นไฉน เวทนา ๑๐๘ คือ เวทนาที่เป็นอดีต ๓๖ ที่เป็นอนาคต ๓๖ ที่เป็นปัจจุบัน ๓๖ เหล่านี้เราเรียกว่าเวทนา ๑๐๘ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ธรรมปริยายอันมีปริยาย ๑๐๘ แม้นี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๒
ภิกขุสูตร
[๔๓๘] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เวทนา เป็นไฉนหนอ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาเป็นไฉน ปฏิปทาเครื่องให้ถึงความเกิดขึ้น แห่งเวทนาเป็นไฉน ความดับแห่งเวทนาเป็นไฉน ปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับ แห่งเวทนาเป็นไฉน อะไรเป็นคุณแห่งเวทนา อะไรเป็นโทษแห่งเวทนา อะไร เป็นอุบายเครื่องสลัดออกแห่งเวทนา พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ เหล่านี้ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา นี้เราเรียก ว่าเวทนา เพราะผัสสะเกิดเวทนาจึงเกิด ตัณหาเป็นปฏิปทาเครื่องให้ถึงเหตุเกิด แห่งเวทนา เพราะผัสสะดับเวทนาจึงดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ สัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ เป็นปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับแห่งเวทนา สุขโสมนัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยเวทนาอันใด นี้เป็นคุณแห่งเวทนา เวทนาอันใด ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งเวทนา ความ กำจัด ความละฉันทราคะในเวทนา นี้เป็นอุบายเครื่องสลัดออกแห่งเวทนา ฯ
จบสูตรที่ ๓
ปุพพสูตร
[๔๓๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อก่อนแต่ตรัสรู้ ครั้งยังมิได้ตรัสรู้ ยัง เป็นโพธิสัตว์อยู่ เราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า เวทนาเป็นไฉนหนอ ความเกิดขึ้น แห่งเวทนาเป็นไฉน ปฏิปทาเครื่องให้ถึงความเกิดขึ้นแห่งเวทนาเป็นไฉน ความ ดับแห่งเวทนาเป็นไฉน ปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับแห่งเวทนาเป็นไฉน อะไร เป็นคุณแห่งเวทนา อะไรเป็นโทษแห่งเวทนา อะไรเป็นอุบายเครื่องสลัดออก แห่งเวทนา เราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า เวทนา ๓ นี้ เหล่านี้ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา นี้เราเรียกว่าเวทนา เพราะผัสสะเกิด เวทนา จึงเกิด ตัณหาเป็นปฏิปทาเครื่องให้ถึงความเกิดขึ้นแห่งเวทนา ฯลฯ ความกำจัด ความละฉันทราคะในเวทนา นี้เป็นอุบายเครื่องสลัดออกแห่งเวทนา ฯ
จบสูตรที่ ๔
ญาณสูตร
[๔๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแก่เรา ในธรรมที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้เวทนา ... นี้ความเกิดขึ้น แห่งเวทนา... นี้ปฏิปทาเครื่องให้ถึงความเกิดขึ้นแห่งเวทนา... นี้ความดับแห่ง เวทนา... นี้ปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับแห่งเวทนา... นี้เป็นคุณแห่งเวทนา... นี้เป็นโทษแห่งเวทนา... นี้เป็นอุบายเครื่องสลัดออกแห่งเวทนา ฯ
จบสูตรที่ ๕
ภิกขุสูตร
[๔๔๑] ครั้งนั้นแล ภิกษุเป็นอันมากเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เวทนา เป็นไฉนหนอ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาเป็นไฉน ปฏิปทาเครื่องให้ถึงความเกิดขึ้น แห่งเวทนาเป็นไฉน ฯลฯ อะไรเป็นคุณแห่งเวทนา อะไรเป็นโทษแห่งเวทนา อะไรเป็นอุบายเครื่องสลัดออกแห่งเวทนา พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เวทนา ๓ เหล่านี้ ฯลฯ ความกำจัด ความละฉันทราคะในเวทนา นี้ เป็นอุบายเครื่องสลัดออกแห่งเวทนา ฯ
จบสูตรที่ ๖
สมณพราหมณสูตรที่ ๑
[๔๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ เหล่านี้ เวทนา ๓ เป็นไฉน คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ก็สมณะ หรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมไม่รู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งเวทนา ๓ เหล่านี้ ตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ยังไม่นับว่าเป็นสมณะ ในหมู่สมณะ หรือเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ และท่านเหล่านั้น ย่อมไม่กระทำ ให้แจ้งซึ่งประโยชน์ของความเป็นสมณะ หรือของความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญา อันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมรู้ ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งเวทนา ๓ เหล่านี้ ตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น นับว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ และท่านเหล่านั้นย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ ของความเป็นสมณะหรือของความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ฯ
จบสูตรที่ ๗
สมณพราหมณสูตรที่ ๒
[๔๔๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ เหล่านี้ เวทนา ๓ เป็นไฉน คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด เหล่าหนึ่ง ย่อมไม่รู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออก แห่งเวทนา ๓ เหล่านี้ ตามความเป็นจริง ฯลฯ ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ ของความเป็นสมณะ หรือของความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ฯ
จบสูตรที่ ๘
สมณพราหมณสูตรที่ ๓
[๔๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมไม่รู้เวทนา ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา ความดับแห่งเวทนา ปฏิปทาเครื่องให้ ถึงความดับแห่งเวทนา ฯลฯ ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ของความเป็นสมณะ หรือของความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ฯ
จบสูตรที่ ๙
สุทธิกสูตร
[๔๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ เหล่านี้ เวทนา ๓ เป็นไฉน คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ เหล่านี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
นิรามิสสูตร
[๔๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปีติมีอามิสมีอยู่ ปีติไม่มีอามิสมีอยู่ ปีติที่ ไม่มีอามิสกว่าปีติที่ไม่มีอามิสมีอยู่ สุขมีอามิสมีอยู่ สุขไม่มีอามิสมีอยู่ สุขไม่มี อามิสกว่าสุขไม่มีอามิสมีอยู่ อุเบกขามีอามิสมีอยู่ อุเบกขาไม่มีอามิสมีอยู่ อุเบกขาไม่มีอามิสกว่าอุเบกขาไม่มีอามิสมีอยู่ วิโมกข์มีอามิสมีอยู่ วิโมกข์ไม่มี อามิสมีอยู่ วิโมกข์ไม่มีอามิสกว่าวิโมกข์ไม่มีอามิสมีอยู่ ฯ [๔๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปีติมีอามิสเป็นไฉน กามคุณ ๕ เหล่านี้ กามคุณ ๕ เป็นไฉน คือ รูปที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่า พอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด ฯลฯ โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย กามคุณ ๕ เหล่านี้แล ปีติเกิดขึ้นเพราะอาศัยกามคุณ ๕ เหล่านี้ เรา เรียกว่า ปีติมีอามิส ฯ [๔๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปีติไม่มีอามิสเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัย นี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและ สุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็น ธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่ สมาธิอยู่ นี้เราเรียกว่า ปีติไม่มีอามิส ฯ [๔๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปีติไม่มีอามิสกว่าปีติไม่มีอามิสเป็นไฉน ปีติที่เกิดขึ้นแก่ภิกษุขีณาสพผู้พิจารณาเห็นจิตซึ่งหลุดพ้นแล้วจากราคะ จากโทสะ จากโมหะ นี้เราเรียกว่า ปีติไม่มีอามิสกว่าปีติไม่มีอามิส ฯ [๔๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สุขมีอามิสเป็นไฉน กามคุณ ๕ เหล่านี้ กามคุณ ๕ เป็นไฉน คือ รูปที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอ ใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด ฯลฯ โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกายอันน่า ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย กามคุณ ๕ เหล่านี้ สุขโสมนัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยกามคุณ ๕ เหล่านี้ นี้เราเรียกว่า สุขมีอามิส ฯ [๔๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สุขไม่มีอามิสเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุข เกิดแต่วิเวกอยู่ ฯลฯ เธอมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนาม กาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขามีสติอยู่เป็นสุข นี้เราเรียกว่า สุขไม่มีอามิส ฯ [๔๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สุขไม่มีอามิสกว่าสุขไม่มีอามิสเป็นไฉน สุขโสมนัสที่เกิดขึ้นแก่ภิกษุขีณาสพผู้พิจารณาเห็นจิตซึ่งหลุดพ้นแล้วจากราคะ จาก โทสะ จากโมหะ นี้เราเรียกว่าสุขไม่มีอามิสกว่าสุขไม่มีอามิส ฯ [๔๕๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อุเบกขามีอามิสเป็นไฉน กามคุณ ๕ เหล่านี้ กามคุณ ๕ เป็นไฉน คือรูปที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด ฯลฯ โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วย กายอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด ดูกรภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ เหล่านี้แล อุเบกขาเกิดขึ้นเพราะอาศัยกามคุณ ๕ เหล่านี้ เราเรียกว่า อุเบกขามีอามิส ฯ [๔๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อุเบกขาไม่มีอามิสเป็นไฉน ภิกษุในธรรม วินัยนี้ บรรลุจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับ โสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ นี้เราเรียกว่า อุเบกขาไม่มีอามิส [๔๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อุเบกขาไม่มีอามิสกว่าอุเบกขาไม่มีอามิส เป็นไฉน อุเบกขาเกิดขึ้นแก่ภิกษุขีณาสพผู้พิจารณาเห็นจิตซึ่งหลุดพ้นแล้วจาก ราคะ จากโทสะ จากโมหะ นี้เราเรียกว่า อุเบกขาไม่มีอามิสกว่าอุเบกขาไม่มีอามิส ฯ [๔๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็วิโมกข์มีอามิสเป็นไฉน วิโมกข์ที่ปฏิสังยุต ด้วยรูป ชื่อว่าวิโมกข์มีอามิส วิโมกข์ที่ไม่ปฏิสังยุตด้วยรูป ชื่อว่าวิโมกข์ไม่มี อามิส ฯ [๔๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็วิโมกข์ไม่มีอามิสกว่าวิโมกข์ไม่มีอามิส เป็นไฉน วิโมกข์เกิดขึ้นแก่ภิกษุขีณาสพผู้พิจารณาเห็นจิตซึ่งหลุดพ้นแล้วจากราคะ จากโทสะ จากโมหะ นี้เราเรียกว่าวิโมกข์ไม่มีอามิสกว่าวิโมกข์ไม่มีอามิส ฯ
จบสูตรที่ ๑๑
จบอัฏฐสตปริยายวรรคที่ ๓
-----------------------------------------------------
๑. สิวกสูตร ๒. อัฏฐสตปริยายสูตร ๓. ภิกขุสูตร ๔. ปุพพสูตร ๕. ญาณสูตร ๖. ภิกขุสูตร ๗. สมณพราหมณสูตรที่ ๑ ๘. สมณพราหมณ สูตรที่ ๒ ๙. สมณพราหมณสูตรที่ ๓ ๑๐. สุทธิกสูตร ๑๑. นิรามิสสูตร ฯ
จบเวทนาสังยุตต์
-----------------------------------------------------
เปยยาลวรรคที่ ๑
อมนาปสูตร
[๔๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย มาตุคามผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ย่อมไม่เป็น ที่ชอบใจของบุรุษโดยส่วนเดียว องค์ ๕ เป็นไฉน คือรูปไม่สวย ๑ ไม่มีโภค สมบัติ ๑ ไม่มีมารยาท ๑ เกียจคร้าน ๑ ไม่ได้บุตรเพื่อเขา ๑ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย มาตุคามผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล ย่อมไม่เป็นที่ชอบใจของ บุรุษโดยส่วนเดียว ฯ [๔๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย มาตุคามผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ย่อมเป็นที่ ชอบใจของบุรุษโดยส่วนเดียว องค์ ๕ เป็นไฉน คือ มีรูปสวย ๑ มีโภค สมบัติ ๑ มีมารยาท ๑ ขยันไม่เกียจคร้าน ๑ ได้บุตรเพื่อเขา ๑ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย มาตุคามผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล ย่อมเป็นที่ชอบใจของบุรุษ โดยส่วนเดียว ฯ
จบสูตรที่ ๑
มนาปสูตร
[๔๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ย่อมไม่เป็นที่ชอบ ใจของมาตุคามโดยส่วนเดียว องค์ ๕ เป็นไฉน คือ รูปไม่สวย ๑ ไม่มีโภคสมบัติ ๑ ไม่มีมารยาท ๑ เกียจคร้าน ๑ ไม่ได้บุตรเพื่อเขา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้ ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล ย่อมไม่เป็นที่ชอบใจของมาตุคามโดยส่วนเดียว ฯ [๔๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ย่อมเป็นที่ชอบ ใจของมาตุคามโดยส่วนเดียว องค์ ๕ เป็นไฉน คือ มีรูปสวย ๑ มีโภคสมบัติ ๑ มีมารยาท ๑ ขยันไม่เกียจคร้าน ๑ ได้บุตรเพื่อเขา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษ ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล ย่อมเป็นที่ชอบใจของมาตุคามโดยส่วนเดียว ฯ
จบสูตรที่ ๒
อาเวณิกสูตร
[๔๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความทุกข์แผนกหนึ่งของมาตุคามที่ตนจะต้อง เสวย เว้นจากบุรุษ ๕ อย่างนี้ ความทุกข์ ๕ อย่างเป็นไฉน คือ มาตุคามใน โลกนี้ เมื่อยังกำลังสาวไปสู่สกุลผัวเว้นจากญาติ อันนี้เป็นความทุกข์แผนกหนึ่ง ของมาตุคามข้อต้นที่ตนจะต้องเสวย เว้นจากบุรุษ ฯ [๔๖๓] อีกประการหนึ่ง มาตุคามมีระดู อันนี้เป็นความทุกข์แผนกหนึ่ง ของมาตุคามข้อที่ ๒ ที่ตนจะต้องเสวย เว้นจากบุรุษ ฯ [๔๖๔] อีกประการหนึ่ง มาตุคามมีครรภ์ อันนี้เป็นความทุกข์แผนก หนึ่งของมาตุคามข้อที่ ๓ ที่ตนจะต้องเสวย เว้นจากบุรุษ ฯ [๔๖๕] อีกประการหนึ่ง มาตุคามคลอดบุตร อันนี้เป็นความทุกข์แผนก หนึ่งของมาตุคามข้อที่ ๔ ที่ตนจะต้องเสวย เว้นจากบุรุษ ฯ [๔๖๖] อีกประการหนึ่ง มาตุคามเข้าถึงความเป็นหญิงบำเรอของบุรุษ อันนี้เป็นความทุกข์แผนกหนึ่งของมาตุคามที่ ๕ ที่ตนจะต้องเสวย เว้นจากบุรุษ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ความทุกข์แผนกหนึ่งของมาตุคามที่ตนจะต้องเสวย เว้นจากบุรุษ ๕ อย่างนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๓
มาตุคามสูตร
[๔๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ โดยมากเมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน คือ มาตุคามในโลกนี้ เวลาเช้ามีใจอันมลทิน คือความตระหนี่ กลุ้มรุมแล้วอยู่ครองเรือน เวลาเที่ยงมีใจอันความริษยากลุ้มรุมแล้วอยู่ครองเรือน เวลาเย็นมีใจอันกามราคะกลุ้มรุมแล้วอยู่ครองเรือน ดูกรภิกษุทั้งหลาย มาตุคามผู้ ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล โดยมากเมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก ฯ
จบสูตรที่ ๔
อนุรุทธสูตร
[๔๖๘] ครั้งนั้นแล ท่านพระอนุรุทธะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ ประทานพระวโรกาส ข้าพระองค์ได้เห็นมาตุคามเมื่อแตกกายตายไป เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรมเท่าไรหนอ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก ฯ [๔๖๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วย ธรรม ๕ ประการ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ มาตุคามเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑ ไม่มีหิริ ๑ ไม่มี โอตตัปปะ ๑ มักโกรธ ๑ มีปัญญาทราม ๑ ดูกรอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบ ด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ฯ
จบสูตรที่ ๕
อุปนาหีสูตร
[๔๗๐] ดูกรอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เมื่อ แตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ มาตุคามเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑ ไม่มีหิริ ๑ ไม่มีโอตตัปปะ ๑ มักผูกโกรธ ๑ มีปัญญาทราม ๑ ดูกรอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ฯ
จบสูตรที่ ๖
อิสสุกีสูตร
[๔๗๑] ดูกรอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เมื่อ แตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ มาตุคามเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑ ไม่มีหิริ ๑ ไม่มีโอตตัปปะ ๑ มีความริษยา ๑ มีปัญญาทราม ๑ ดูกรอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ฯ
จบสูตรที่ ๗
มัจฉรีสูตร
[๔๗๒] ดูกรอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เมื่อ แตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ มาตุคามเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑ ไม่มีหิริ ๑ ไม่มีโอตตัปปะ ๑ มีความตระหนี่ ๑ มีปัญญาทราม ๑ ดูกรอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ฯ
จบสูตรที่ ๘
อติจารีสูตร
[๔๗๓] ดูกรอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เมื่อ แตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ มาตุคามเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑ ไม่มีหิริ ๑ ไม่มีโอตตัปปะ ๑ ประพฤติ นอกใจ ๑ มีปัญญาทราม ๑ ดูกรอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ นี้แล เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ฯ
จบสูตรที่ ๙
ทุสสีลสูตร
[๔๗๔] ดูกรอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เมื่อ แตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ มาตุคามเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑ ไม่มีหิริ ๑ ไม่มีโอตตัปปะ ๑ เป็นคนทุศีล ๑ มีปัญญาทราม ๑ ดูกรอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
อัปปัสสุตสูตร
[๔๗๕] ดูกรอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เมื่อ แตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ มาตุคามเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑ ไม่มีหิริ ๑ ไม่มีโอตตัปปะ ๑ มีสุตะน้อย ๑ มีปัญญาทราม ๑ ดูกรอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ฯ
จบสูตรที่ ๑๑
กุสีตสูตร
[๔๗๖] ดูกรอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เมื่อ แตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ มาตุคามเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑ ไม่มีหิริ ๑ ไม่มีโอตตัปปะ ๑ เกียจคร้าน ๑ มีปัญญาทราม ๑ ดูกรอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ฯ
จบสูตรที่ ๑๒
มุฏฐัสสติสูตร
[๔๗๗] ดูกรอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เมื่อ แตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ มาตุคามเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑ ไม่มีหิริ ๑ ไม่มีโอตตัปปะ ๑ มีสติหลง ๑ มีปัญญาทราม ๑ ดูกรอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ฯ
จบสูตรที่ ๑๓
ปัญจเวรสูตร
[๔๗๘] ดูกรอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เมื่อ แตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ มาตุคามเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ๑ ลักทรัพย์ ๑ ประพฤติผิดในกาม ๑ พูดเท็จ ๑ ดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ๑ ดูกรอนุรุทธะ มาตุคาม ผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ฯ
จบสูตรที่ ๑๔
อนุรุทธสูตร
[๔๗๙] ครั้งนั้นแล ท่านพระอนุรุทธะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ ประทานพระวโรกาส ข้าพระองค์เห็นมาตุคามเมื่อแตกกายตายไปเข้าถึงสุคติโลก สวรรค์ ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรมเท่าไรหนอ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ธรรม ๕ ประการ เป็นไฉน คือ มาตุคามเป็นผู้มีศรัทธา ๑ มีหิริ ๑ มีโอตตัปปะ ๑ ไม่มักโกรธ ๑ มีปัญญา ๑ ดูกรอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เมื่อ แตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ฯ
อนุปนาหีสูตร
[๔๘๐] ดูกรอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เมื่อ แตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ มาตุคามเป็นผู้มีศรัทธา ๑ มีหิริ ๑ มีโอตตัปปะ ๑ ไม่ผูกโกรธ ๑ มีปัญญา ๑ ดูกรอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ฯ
อนิสสุกีสูตร
[๔๘๑] ดูกรอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เมื่อ แตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ มาตุคามเป็นผู้มีศรัทธา ๑ มีหิริ ๑ มีโอตตัปปะ ๑ ไม่มีความริษยา ๑ มีปัญญา ๑ ดูกรอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ฯ
อมัจฉรีสูตร
[๔๘๒] ดูกรอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เมื่อ แตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ มาตุคามเป็นผู้มีศรัทธา ๑ มีหิริ ๑ มีโอตตัปปะ ๑ ไม่มีความตระหนี่ ๑ มีปัญญา ๑ ฯลฯ ไม่ประพฤตินอกใจ ๑ มีปัญญา ๑ ฯลฯ มีศีล ๑ มีปัญญา ๑ ฯลฯ มี สุตะมาก ๑ มีปัญญา ๑ ฯลฯ ปรารภความเพียร ๑ มีปัญญา ๑ ฯลฯ มีสติ ตั้งมั่น ๑ มีปัญญา ๑ ดูกรอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้ แล เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ฯ
ปัญจสีลสูตร
[๔๘๓] ดูกรอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เมื่อ แตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ มาตุคามเป็นผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ๑ จากการลักทรัพย์ ๑ จากการประพฤติผิด ในกาม ๑ จากการพูดเท็จ ๑ จากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่ง ความประมาท ๑ ดูกรอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ฯ
จบเปยยาลวรรค
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อมนาปสูตร ๒. มนาปสูตร ๓. อาเวณิกสูตร ๔. มาตุคามสูตร ๕. อนุรุทธสูตร ๖. อุปนาหีสูตร ๗. อิสสุกีสูตร ๘. มัจฉรีสูตร ๙. อติจารีสูตร ๑๐. ทุสสีลสูตร ๑๑. อัปปัสสุตสูตร ๑๒. กุสีตสูตร ๑๓. มุฏฐัสสติสูตร ๑๔. ปัญจเวรสูตร ฯ
-----------------------------------------------------
มาตุคามพลวรรคที่ ๓
วิสารทสูตร
[๔๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำลังของมาตุคาม ๕ ประการนี้ ๕ ประการ เป็นไฉน กำลังคือรูป ๑ กำลังคือโภคะ ๑ กำลังคือญาติ ๑ กำลังคือบุตร ๑ กำลังคือศีล ๑ กำลังของมาตุคาม ๕ นี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย มาตุคามผู้ประกอบ ด้วยกำลัง ๕ ประการนี้แล เป็นผู้สามารถอยู่ครองเรือน ฯ
จบสูตรที่ ๑
ปัสสัยหสูตร
[๔๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำลังของมาตุคาม ๕ ประการนี้ ๕ ประการ เป็นไฉน กำลังคือรูป ๑ กำลังคือโภคะ ๑ กำลังคือญาติ ๑ กำลังคือบุตร ๑ กำลังคือศีล ๑ กำลังของมาตุคาม ๕ นี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย มาตุคามผู้ประกอบ ด้วยกำลัง ๕ ประการนี้แล ย่อมบังคับสามีอยู่ครองเรือนได้ ฯ
จบสูตรที่ ๒
อภิภุยยสูตร
[๔๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำลังของมาตุคาม ๕ ประการนี้ ๕ ประการ เป็นไฉน กำลังคือรูป ๑ กำลังคือโภคะ ๑ กำลังคือญาติ ๑ กำลังคือบุตร ๑ กำลังคือศีล ๑ กำลังของมาตุคาม ๕ นี้แล มาตุคามผู้ประกอบด้วยกำลัง ๕ ประการนี้ ย่อมประพฤติข่มขี่สามีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนบุรุษผู้ประกอบด้วย กำลังอย่างเดียว ย่อมประพฤติข่มขี่มาตุคามได้ กำลังอย่างเดียวเป็นไฉน ได้แก่ กำลังคือความเป็นใหญ่ กำลังคือรูป ย่อมป้องกันมาตุคามผู้ถูกบุรุษข่มขี่แล้วไม่ได้ กำลังคือโภคะ กำลังคือญาติ กำลังคือบุตร กำลัง คือศีล ป้องกันไม่ได้ ฯ
จบสูตรที่ ๓
อังคสูตร
[๔๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำลังของมาตุคาม ๕ ประการนี้ ๕ ประการ เป็นไฉน กำลังคือรูป ๑ กำลังคือโภคะ ๑ กำลังคือญาติ ๑ กำลังคือบุตร ๑ กำลังคือศีล ๑ ฯ [๔๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มาตุคามผู้ประกอบด้วยกำลังคือรูป แต่ไม่ ประกอบด้วยกำลังคือโภคะ อย่างนี้ชื่อว่ายังไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น แต่เมื่อ มาตุคามประกอบด้วยกำลังคือรูปและกำลังคือโภคะ อย่างนี้ชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยองค์ นั้น ก็มาตุคามผู้ประกอบด้วยกำลังคือรูปและกำลังคือโภคะ แต่ไม่ประกอบด้วย กำลังคือญาติ อย่างนี้ชื่อว่ายังไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น แต่เมื่อมาตุคามประกอบด้วย กำลังคือรูป กำลังคือโภคะ และกำลังคือญาติ อย่างนี้ชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยองค์นั้น ก็มาตุคามผู้ประกอบด้วยกำลังคือรูป กำลังคือโภคะ และกำลังคือญาติ แต่ไม่ ประกอบด้วยกำลังคือบุตร อย่างนี้ชื่อว่ายังไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น แต่เมื่อมาตุคาม ประกอบด้วยกำลังคือรูป กำลังคือโภคะ กำลังคือญาติ และกำลังคือบุตร แต่ไม่ ประกอบด้วยกำลังคือศีล อย่างนี้ชื่อว่ายังไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น แต่เมื่อมาตุคาม ประกอบด้วยกำลังคือรูป กำลังคือโภคะ กำลังคือญาติ กำลังคือบุตร และกำลัง คือศีล อย่างนี้ชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยองค์นั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำลังของมาตุคาม ๕ ประการนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๔
นาสยิตถสูตร
[๔๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำลังของมาตุคาม ๕ ประการนี้ ๕ ประการ เป็นไฉน กำลังคือรูป ๑ กำลังคือโภคะ ๑ กำลังคือญาติ ๑ กำลังคือบุตร ๑ กำลังคือศีล ๑ ฯ [๔๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มาตุคามผู้ประกอบด้วยกำลังคือรูป แต่ไม่ ประกอบด้วยกำลังคือศีล พวกญาติย่อมยังมาตุคามนั้นให้พินาศ คือไม่ให้อยู่ใน สกุล มาตุคามผู้ประกอบด้วยกำลังคือรูปและกำลังคือโภคะ แต่ไม่ประกอบด้วย กำลังคือศีล พวกญาติย่อมยังมาตุคามนั้นให้พินาศ คือไม่ให้อยู่ในสกุล มาตุคาม ผู้ประกอบด้วยกำลังคือรูป กำลังคือโภคะ และกำลังคือญาติ แต่ไม่ประกอบด้วย กำลังคือศีล พวกญาติย่อมยังมาตุคามนั้นให้พินาศ คือไม่ให้อยู่ในสกุล มาตุคาม ผู้ประกอบด้วยกำลังคือรูป กำลังคือโภคะ กำลังคือญาติ และกำลังคือบุตร แต่ ไม่ประกอบด้วยกำลังคือศีล พวกญาติย่อมยังมาตุคามนั้นให้พินาศ คือไม่ให้อยู่ ในสกุล แต่เมื่อมาตุคามประกอบด้วยกำลังคือรูป กำลังคือโภคะ กำลังคือญาติ กำลังคือบุตร และกำลังคือศีล พวกญาติย่อมยังมาตุคามนั้นให้อยู่ในสกุล ย่อม ไม่ให้พินาศ มาตุคามผู้ประกอบด้วยกำลังคือศีล แต่ไม่ประกอบด้วยกำลังคือรูป พวกญาติย่อมยังมาตุคามนั้นให้อยู่ในสกุล ย่อมไม่ให้พินาศ ก็มาตุคามผู้ประกอบ ด้วยกำลังคือศีล แต่ไม่ประกอบด้วยกำลังคือโภคะ พวกญาติย่อมยังมาตุคามนั้น ให้อยู่ในสกุล ย่อมไม่ให้พินาศ มาตุคามผู้ประกอบด้วยกำลังคือศีล แต่ไม่ ประกอบด้วยกำลังคือญาติ พวกญาติย่อมยังมาตุคามนั้นให้อยู่ในสกุล ย่อมไม่ให้ พินาศ มาตุคามผู้ประกอบด้วยกำลังคือศีล แต่ไม่ประกอบด้วยกำลังคือบุตร พวก ญาติย่อมยังมาตุคามนั้นให้อยู่ในสกุล ย่อมไม่ให้พินาศ ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำลัง ของมาตุคาม ๕ ประการนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๕
เหตุสูตร
[๔๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำลังของมาตุคาม ๕ ประการนี้ ๕ ประการ เป็นไฉน กำลังคือรูป ๑ กำลังคือโภคะ ๑ กำลังคือญาติ ๑ กำลังคือบุตร ๑ กำลังคือศีล ๑ ฯ [๔๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย มาตุคามเมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึง สุคติโลกสวรรค์เพราะกำลังคือรูปเป็นเหตุ เพราะกำลังคือโภคะเป็นเหตุ เพราะ กำลังคือญาติเป็นเหตุ หรือเพราะกำลังคือบุตรเป็นเหตุ หามิได้ แต่ย่อมเข้าถึง สุคติโลกสวรรค์เพราะกำลังคือศีลเป็นเหตุ ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำลังของมาตุคาม ๕ ประการนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๖
ฐานสูตร
[๔๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๕ ประการนี้ อันมาตุคามผู้มิได้ทำบุญ ไว้ยากที่จะได้ ฐานะ ๕ ประการเป็นไฉน คือ ขอเราพึงเกิดในสกุลอันสมควร นี้เป็นฐานะข้อที่ ๑ อันมาตุคามผู้มิได้ทำบุญไว้ยากที่จะได้ เกิดในสกุลอันสมควร แล้ว ขอเราพึงไปสู่สกุลอันสมควร นี้เป็นฐานะข้อที่ ๒... เกิดในสกุลอัน สมควรแล้ว ไปสู่สกุลอันสมควรแล้ว ขอเราพึงอยู่ครองเรือนปราศจากหญิงร่วม สามี นี้เป็นฐานะข้อที่ ๓ ... เกิดในสกุลอันสมควรแล้ว ไปสู่สกุลอันสมควร แล้ว อยู่ครองเรือนปราศจากหญิงร่วมสามี ขอเราพึงมีบุตร นี้เป็นฐานะข้อที่ ๔... เกิดในสกุลอันสมควรแล้ว ไปสู่สกุลอันสมควรแล้ว อยู่ครองเรือนปราศจาก หญิงร่วมสามี มีบุตร ขอเราประพฤติครอบงำสามี นี้เป็นฐานะข้อที่ ๕ อัน มาตุคามผู้มิได้ทำบุญไว้ยากที่จะได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๕ ประการนี้แล อัน มาตุคามผู้มิได้ทำบุญไว้ยากที่จะได้ ฯ
วิสารทสูตร
[๔๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๕ ประการนี้ อันมาตุคามผู้ทำบุญไว้ ได้โดยง่าย ฐานะ ๕ ประการเป็นไฉน คือ ขอเราพึงเกิดในสกุลอันสมควร นี้เป็นฐานะข้อที่ ๑ อันมาตุคามผู้ทำบุญไว้ได้โดยง่าย เกิดในสกุลอันสมควรแล้ว ขอเราพึงไปสู่สกุลอันสมควร นี้เป็นฐานะข้อที่ ๒... เกิดในสกุลอันสมควรแล้ว ไปสู่สกุลอันสมควรแล้ว ขอเราพึงอยู่ครองเรือนปราศจากหญิงร่วมสามี นี้เป็น ฐานะข้อที่ ๓ ... เกิดในสกุลอันสมควรแล้ว ไปสู่สกุลอันสมควรแล้ว อยู่ครอง เรือนปราศจากหญิงร่วมสามี ขอเราพึงมีบุตร นี้เป็นฐานะข้อที่ ๔ ... เกิดในสกุล อันสมควรแล้ว ไปสู่สกุลอันสมควรแล้ว อยู่ครองเรือนปราศจากหญิงร่วมสามี มีบุตร ขอเราพึงประพฤติครอบงำสามี นี้เป็นฐานะข้อที่ ๕ อันมาตุคามผู้ทำบุญ ไว้ ได้โดยง่าย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๕ ประการนี้แล อันมาตุคามผู้ทำบุญไว้ ได้โดยง่าย ฯ
จบสูตรที่ ๘
ปัญจเวรสูตร
[๔๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นผู้สามารถอยู่ครองเรือน ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ มาตุคามเป็นผู้งด เว้นจากการฆ่าสัตว์ ๑ จากการลักทรัพย์ ๑ จากการประพฤติผิดในกาม ๑ จาก การพูดเท็จ ๑ จากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นผู้สามารถ อยู่ครองเรือน ฯ
จบสูตรที่ ๙
วัฑฒิสูตร
[๔๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวิกาเมื่อเจริญด้วยวัฑฒิธรรม ๕ ประการ ย่อมเจริญด้วยวัฑฒิธรรมอันเป็นอริยะ เป็นผู้ถือเอาสาระและถือเอาสิ่งประเสริฐ ของกายไว้ได้ วัฑฒิธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ อริยสาวิกาย่อมเจริญด้วย ศรัทธา ๑ ศีล ๑ สุตะ ๑ จาคะ ๑ ปัญญา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวิกาเมื่อ เจริญด้วยวัฑฒิธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเจริญด้วยวัฑฒิธรรมอันเป็นอริยะ เป็นผู้ ถือเอาสาระและถือเอาสิ่งประเสริฐแห่งกายไว้ได้ ฯ สตรีใดเจริญด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา สตรีเช่นนั้น เป็นอุบาสิกาผู้มีศีล ย่อมถือสาระของตนในโลก นี้ไว้ได้ ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
จบมาตุคามพลวรรคที่ ๓
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. วิสารทสูตร ๒. ปัสสัยหสูตร ๓. อภิภุยยสูตร ๔. อังคสูตร ๕. นาสยิตถสูตร ๖. เหตุสูตร ๗. ฐานะสูตร ๘. วิสารทสูตร ๙. ปัญจ เวรสูตร ๑๐. วัฑฒิสูตร ฯ
-----------------------------------------------------
ชัมพุขาทกสังยุตต์
[๔๙๗] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ บ้านนาลคาม ในแคว้นมคธ ครั้งนั้นแล ปริพาชกชื่อว่าชัมพุขาทกะ เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้ ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า ดูกรท่านสารีบุตร ที่เรียกว่า นิพพานๆ ดังนี้ นิพพานเป็นไฉนหนอ ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ดูกรผู้มีอายุ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่านิพพาน ฯ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคามีอยู่หรือ ปฏิปทามีอยู่หรือ เพื่อกระทำ นิพพานนั้นให้แจ้ง ฯ สา. มีอยู่ ผู้มีอายุ ฯ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน เพื่อกระทำ นิพพานนั้นให้แจ้ง ฯ สา. ดูกรผู้มีอายุ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ เพียรชอบ ตั้งสติชอบ ตั้งใจมั่นชอบ นี้แลเป็นมรรคา เป็นปฏิปทาเพื่อกระทำนิพพานนั้นให้แจ้ง ฯ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ มรรคาดีนัก ปฏิปทาดีนัก เพื่อกระทำนิพพาน ให้แจ้ง และเพียงพอเพื่อความไม่ประมาท นะท่านสารีบุตร ฯ [๔๙๘] ดูกรท่านสารีบุตร ที่เรียกว่า อรหัตๆ ดังนี้ อรหัตเป็นไฉน ฯ สา. ดูกรผู้มีอายุ ธรรมเป็นที่สิ้นราคะ ธรรมเป็นที่สิ้นโทสะ ธรรม เป็นที่สิ้นโมหะ นี้เรียกว่าอรหัต ฯ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคามีอยู่หรือ ปฏิปทามีอยู่หรือ เพื่อกระทำ อรหัตนั้นให้แจ้ง ฯ สา. มีอยู่ ผู้มีอายุ ฯ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน เพื่อกระทำ อรหัตนั้นให้แจ้ง ฯ สา. ดูกรผู้มีอายุ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ตั้งใจมั่นชอบ นี้แลเป็นมรรคา เป็นปฏิปทา เพื่อกระทำอรหัตนั้นให้แจ้ง ฯ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ มรรคาดีนัก ปฏิปทาดีนัก เพื่อกระทำอรหัตนั้น ให้แจ้ง และเพียงพอเพื่อความไม่ประมาท นะท่านสารีบุตร ฯ [๔๙๙] ดูกรท่านสารีบุตร ใครหนอเป็นธรรมวาทีในโลก ใครเป็นผู้ ปฏิบัติดีในโลก ใครเป็นผู้ไปดีแล้วในโลก ฯ สา. ดูกรผู้มีอายุ ท่านผู้ใดแสดงธรรมเพื่อละราคะ โทสะ โมหะ ท่านผู้นั้นเป็นธรรมวาทีในโลก อนึ่ง ท่านผู้ใดปฏิบัติเพื่อละราคะ โทสะ โมหะ ท่านผู้นั้นเป็นผู้ปฏิบัติดีในโลก ราคะ โทสะ โมหะ อันท่านผู้ใดละแล้ว ถอน รากเสียแล้วทำให้เป็นดังตาลยอดด้วน กระทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นต่อไปเป็น ธรรมดา ท่านผู้นั้นเป็นผู้ไปดีแล้วในโลก ฯ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ มรรคามีอยู่หรือ ปฏิปทามีอยู่หรือ เพื่อละราคะ โทสะ โมหะนั้น ฯ สา. มีอยู่ ผู้มีอายุ ฯ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน เพื่อละราคะ โทสะ โมหะนั้น ฯ สา. อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ตั้งใจมั่น- *ชอบ นี้แลเป็นมรรคา เป็นปฏิปทาเพื่อละราคะ โทสะ โมหะนั้น ฯ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ มรรคาดีนัก ปฏิปทาดีนัก เพื่อละราคะ โทสะ โมหะนั้น และเพียงพอเพื่อความไม่ประมาท นะท่านสารีบุตร ฯ [๕๐๐] ดูกรท่านสารีบุตร ท่านอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณะ โคดม เพื่อประโยชน์อะไร ฯ สา. ดูกรผู้มีอายุ เราอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่อ กำหนดรู้ทุกข์ ฯ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ มรรคามีอยู่หรือ ปฏิปทามีอยู่หรือ เพื่อกำหนด รู้ทุกข์นั้น ฯ สา. มีอยู่ ผู้มีอายุ ฯ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน เพื่อกำหนดรู้ ทุกข์นั้น ฯ สา. ดูกรผู้มีอายุ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ตั้งใจมั่นชอบ นี้แลเป็นมรรคา เป็นปฏิปทา เพื่อกำหนดรู้ทุกข์นั้น ฯ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ มรรคาดีนัก ปฏิปทาดีนัก เพื่อกำหนดรู้ทุกข์นั้น และเพียงพอเพื่อความไม่ประมาท นะท่านสารีบุตร ฯ [๕๐๑] ดูกรท่านสารีบุตร ที่เรียกว่า ถึงความโล่งใจๆ ดังนี้ ด้วยเหตุ เพียงเท่าไรหนอแล จึงจะชื่อว่าถึงความโล่งใจ ฯ สา. ดูกรผู้มีอายุ เมื่อไรภิกษุย่อมรู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง ด้วยเหตุเพียง เท่านี้แล จึงจะชื่อว่าถึงความโล่งใจ ฯ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคามีอยู่หรือ ปฏิปทามีอยู่หรือ เพื่อกระทำ ความโล่งใจนั้นให้แจ้ง ฯ สา. มีอยู่ ผู้มีอายุ ฯ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน เพื่อกระทำ ความโล่งใจนั้นให้แจ้ง ฯ สา. อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ตั้งใจมั่น ชอบ นี้แลเป็นมรรคา เป็นปฏิปทา เพื่อกระทำความโล่งใจนั้นให้แจ้ง ฯ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ มรรคาดีนัก ปฏิปทาดีนัก เพื่อกระทำความโล่งใจ นั้นให้แจ้ง และเพียงพอเพื่อความไม่ประมาท นะท่านสารีบุตร ฯ [๕๐๒] ดูกรท่านสารีบุตร ที่เรียกว่า ถึงความโล่งใจอย่างยิ่งๆ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล จึงจะชื่อว่าถึงความโล่งใจอย่างยิ่ง ฯ สา. ดูกรผู้มีอายุ เมื่อไรภิกษุรู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และ อุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริงแล้ว เป็นผู้หลุดพ้น เพราะไม่ถือมั่น ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล จึงจะชื่อว่าถึงความโล่งใจอย่างยิ่ง ฯ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคามีอยู่หรือ ปฏิปทามีอยู่หรือ เพื่อกระทำ ความโล่งใจอย่างยิ่งนั้นให้แจ้ง ฯ สา. มีอยู่ ผู้มีอายุ ฯ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน เพื่อกระทำ ความโล่งใจอย่างยิ่งนั้นให้แจ้ง ฯ สา. ดูกรผู้มีอายุ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ตั้งใจมั่นชอบ นี้แลเป็นมรรคา เป็นปฏิปทา เพื่อกระทำความโล่งใจอย่างยิ่ง นั้นให้แจ้ง ฯ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ มรรคาดีนัก ปฏิปทาดีนัก เพื่อกระทำความโล่งใจ อย่างยิ่งนั้นให้แจ้ง และเพียงพอเพื่อความไม่ประมาท นะท่านสารีบุตร ฯ [๕๐๓] ดูกรท่านสารีบุตร ที่เรียกว่า เวทนาๆ ดังนี้ เวทนา เป็นไฉนหนอ ฯ สา. ดูกรผู้มีอายุ เวทนา ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา เวทนา ๓ อย่าง นี้แล ฯ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคามีอยู่หรือ ปฏิปทามีอยู่หรือ เพื่อกำหนด รู้เวทนา ๓ อย่างนั้น ฯ สา. มีอยู่ ผู้มีอายุ ฯ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน เพื่อกำหนด รู้เวทนา ๓ อย่างนั้น ฯ สา. ดูกรผู้มีอายุ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือความเห็นชอบ ฯลฯ ตั้งใจมั่นชอบ นี้แลเป็นมรรคา เป็นปฏิปทา เพื่อกำหนดรู้เวทนา ๓ อย่างนั้น ฯ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ มรรคาดีนัก ปฏิปทาดีนัก เพื่อกำหนดรู้เวทนา ๓ อย่างนั้น และเพียงพอเพื่อความไม่ประมาท นะท่านสารีบุตร ฯ [๕๐๔] ดูกรท่านสารีบุตร ที่เรียกว่า อาสวะๆ ดังนี้ อาสวะเป็นไฉน หนอ ฯ สา. ดูกรผู้มีอายุ อาสวะ ๓ อย่างนี้ คือ กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชา- *สวะ อาสวะ ๓ อย่างนี้แล ฯ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคามีอยู่หรือ ปฏิปทามีอยู่หรือ เพื่อละอาสวะ เหล่านั้น ฯ สา. มีอยู่ ผู้มีอายุ ฯ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน เพื่อละอาสวะ เหล่านั้น ฯ สา. ดูกรผู้มีอายุ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ตั้งใจมั่นชอบ นี้แลเป็นมรรคา เป็นปฏิปทา เพื่อละอาสวะเหล่านั้น ฯ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ มรรคาดีนัก ปฏิปทาดีนัก เพื่อละอาสวะเหล่านั้น และเพียงพอเพื่อความไม่ประมาท นะท่านสารีบุตร ฯ [๕๐๕] ดูกรท่านสารีบุตร ที่เรียกว่า อวิชชาๆ ดังนี้ อวิชชาเป็น ไฉนหนอ ฯ สา. ดูกรผู้มีอายุ ความไม่รู้ในทุกข์ ในเหตุเกิดแห่งทุกข์ ในความ ดับทุกข์ ในปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับทุกข์ นี้เรียกว่าอวิชชา ฯ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคามีอยู่หรือ ปฏิปทามีอยู่หรือ เพื่อละอวิชชา เหล่านั้น ฯ สา. มีอยู่ ผู้มีอายุ ฯ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน เพื่อละอวิชชา เหล่านั้น ฯ สา. ดูกรผู้มีอายุ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ตั้งใจมั่นชอบ นี้แลเป็นมรรคา เป็นปฏิปทา เพื่อละอวิชชาเหล่านั้น ฯ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ มรรคาดีนัก ปฏิปทาดีนัก เพื่อละอวิชชา เหล่านั้น และเพียงพอเพื่อความไม่ประมาท นะท่านสารีบุตร ฯ [๕๐๖] ดูกรท่านสารีบุตร ที่เรียกว่า ตัณหาๆ ดังนี้ ตัณหาเป็นไฉน หนอ ฯ สา. ดูกรผู้มีอายุ ตัณหา ๓ ประการนี้ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ตัณหา ๓ ประการนี้แล ฯ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคามีอยู่หรือ ปฏิปทามีอยู่หรือ เพื่อละตัณหา เหล่านั้น ฯ สา. มีอยู่ ผู้มีอายุ ฯ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน เพื่อละตัณหา เหล่านั้น ฯ สา. ดูกรท่านผู้มีอายุ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ตั้งใจมั่นชอบ นี้แลเป็นมรรคา เป็นปฏิปทา เพื่อละตัณหาเหล่านั้น ฯ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ มรรคาดีนัก ปฏิปทาดีนัก เพื่อละตัณหาเหล่านั้น และเพียงพอเพื่อความไม่ประมาท นะท่านสารีบุตร ฯ [๕๐๗] ดูกรท่านสารีบุตร ที่เรียกว่า โอฆะๆ ดังนี้ โอฆะเป็นไฉน หนอ ฯ สา. ดูกรผู้มีอายุ โอฆะ ๔ ประการนี้ คือ กาโมฆะ ภโวฆะ ทิฏโฐฆะ อวิชโชฆะ โอฆะ ๔ ประการนี้แล ฯ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคามีอยู่หรือ ปฏิปทามีอยู่หรือ เพื่อละโอฆะ เหล่านั้น ฯ สา. มีอยู่ ผู้มีอายุ ฯ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน เพื่อละโอฆะ เหล่านั้น ฯ สา. ดูกรผู้มีอายุ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ตั้งใจมั่นชอบ นี้แลเป็นมรรคา เป็นปฏิปทา เพื่อละโอฆะเหล่านั้น ฯ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ มรรคาดีนัก ปฏิปทาดีนัก เพื่อละโอฆะเหล่านั้น และเพียงพอเพื่อความไม่ประมาท นะท่านสารีบุตร ฯ [๕๐๘] ดูกรท่านสารีบุตร ที่เรียกว่า อุปาทานๆ ดังนี้ อุปาทานเป็น ไฉนหนอ ฯ สา. ดูกรผู้มีอายุ อุปาทาน ๔ ประการนี้ คือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน อุปาทาน ๔ ประการนี้แล ฯ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคามีอยู่หรือ ปฏิปทามีอยู่หรือ เพื่อละอุปาทาน เหล่านั้น ฯ สา. มีอยู่ ผู้มีอายุ ฯ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน เพื่อละ อุปาทานเหล่านั้น ฯ สา. ดูกรผู้มีอายุ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ตั้งใจมั่นชอบ นี้แลเป็นมรรคา เป็นปฏิปทา เพื่อละอุปาทานเหล่านั้น ฯ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ มรรคาดีนัก ปฏิปทาดีนัก เพื่อละอุปาทานเหล่านั้น และเพียงพอเพื่อความไม่ประมาท นะท่านสารีบุตร ฯ [๕๐๙] ดูกรท่านสารีบุตร ที่เรียกว่า ภพๆ ดังนี้ ภพเป็นไฉนหนอ ฯ สา. ดูกรผู้มีอายุ ภพ ๓ เหล่านี้ คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ ภพ ๓ เหล่านี้แล ฯ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคามีอยู่หรือ ปฏิปทามีอยู่หรือ เพื่อกำหนด รู้ภพเหล่านั้น ฯ สา. มีอยู่ ผู้มีอายุ ฯ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน เพื่อกำหนด รู้ภพเหล่านั้น ฯ สา. ดูกรผู้มีอายุ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ตั้งใจมั่นชอบ นี้แลเป็นมรรคา เป็นปฏิปทา เพื่อกำหนดรู้ภพเหล่านั้น ฯ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ มรรคาดีนัก ปฏิปทาดีนัก เพื่อกำหนดรู้ภพเหล่า นั้น และเพียงพอเพื่อความไม่ประมาท นะท่านสารีบุตร ฯ [๕๑๐] ดูกรท่านสารีบุตร ที่เรียกว่า ทุกข์ๆ ดังนี้ ทุกข์เป็นไฉน หนอ ฯ สา. ดูกรผู้มีอายุ สภาพทุกข์ ๓ ประการนี้ คือ สภาพทุกข์คือทุกข์ สภาพทุกข์คือสังขาร สภาพทุกข์คือความแปรปรวน สภาพทุกข์ ๓ ประการนี้แล ฯ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคามีอยู่หรือ ปฏิปทามีอยู่หรือ เพื่อกำหนดรู้ สภาพทุกข์เหล่านั้น ฯ สา. มีอยู่ ผู้มีอายุ ฯ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน เพื่อกำหนดรู้ สภาพทุกข์เหล่านั้น ฯ สา. ดูกรผู้มีอายุ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือความเห็นชอบ ฯลฯ ตั้งใจมั่นชอบ นี้แลเป็นมรรคา เป็นปฏิปทา เพื่อกำหนดรู้สภาพทุกข์เหล่า นั้น ฯ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ มรรคาดีนัก ปฏิปทาดีนัก เพื่อกำหนดรู้สภาพ ทุกข์เหล่านั้น และเพียงพอเพื่อความไม่ประมาท นะท่านสารีบุตร ฯ [๕๑๑] ดูกรท่านสารีบุตร ที่เรียกว่า สักกายะๆ ดังนี้ สักกายะเป็น ไฉนหนอ ฯ สา. ดูกรผู้มีอายุ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ คือ อุปาทานขันธ์คือรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้แล พระผู้มีพระภาค ตรัสว่าสักกายะ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคามีอยู่หรือ ปฏิปทามีอยู่หรือ เพื่อกำหนดรู้ สักกายะนั้น ฯ สา. มีอยู่ ผู้มีอายุ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน เพื่อกำหนดรู้ สักกายะนั้น ฯ สา. ดูกรท่านผู้มีอายุ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือความเห็นชอบ ฯลฯ ตั้งใจมั่นชอบ นี้แลเป็นมรรคา เป็นปฏิปทา เพื่อกำหนดรู้สักกายะนั้น ฯ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ มรรคาดีนัก ปฏิปทาดีนัก เพื่อกำหนดรู้สักกายะ นั้น และเพียงพอเพื่อความไม่ประมาท นะท่านสารีบุตร ฯ [๕๑๒] ดูกรท่านสารีบุตร อะไรหนอ เป็นการยากที่จะกระทำได้ใน ธรรมวินัยนี้ ฯ สา. บรรพชา ผู้มีอายุ ฯ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็สิ่งอะไรอันบุคคลผู้บวชแล้ว กระทำได้โดย ยาก ฯ สา. ความยินดียิ่ง ผู้มีอายุ ฯ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็สิ่งอะไร อันภิกษุผู้ยินดียิ่งแล้วกระทำได้โดย ยาก ฯ สา. การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ผู้มีอายุ ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมแล้ว จะพึงเป็น พระอรหันต์ได้นานเพียงไร ฯ สา. ไม่นานนัก ผู้มีอายุ ฯ
จบชัมพุขาทกสังยุตต์
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. นิพพานสูตร ๒. อรหัตตสูตร ๓. ธรรมวาทีสูตร ๔. กิมัตถิย- *สูตร ๕. อัสสาสสูตร ๖. ปรมัสสาสสูตร ๗. เวทนาสูตร ๘. อาสวสูตร ๙. อวิชชาสูตร ๑๐. ตัณหาสูตร ๑๑. โอฆสูตร ๑๒. อุปาทานสูตร ๑๓. ภวสูตร ๑๔. ทุกขสูตร ๑๕. สักกายสูตร ๑๖. ทุกกรสูตร ฯ
-----------------------------------------------------
สามัณฑกสังยุตต์
[๕๑๓] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ ฝั่งแม่น้ำคงคาใกล้อุกก- *เจลนคร ในแคว้นวัชชี ครั้งนั้น ปริพาชกชื่อ สามัณฑกะ เข้าไปหาท่านพระ- *สารีบุตรถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึก ถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ถามท่านพระสารีบุตร ว่า ดูกรท่านสารีบุตร ที่เรียกว่า นิพพานๆ ดังนี้ นิพพานเป็นไฉนหนอ ท่าน พระสารีบุตรตอบว่า ดูกรผู้มีอายุ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่า นิพพาน ฯ ป. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคามีอยู่หรือ ปฏิปทามีอยู่หรือเพื่อกระทำ นิพพานนั้นให้แจ้ง ฯ สา. มีอยู่ ผู้มีอายุ ฯ ป. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉนเพื่อกระทำ นิพพานนั้นให้แจ้ง ฯ สา. ดูกรผู้มีอายุ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือความเห็นชอบ ฯลฯ ตั้งใจมั่นชอบ นี้แลเป็นมรรคา เป็นปฏิปทาเพื่อกระทำนิพพานนั้นให้แจ้ง ฯ ป. ดูกรท่านผู้มีอายุ มรรคาดีนัก ปฏิปทาดีนัก เพื่อกระทำนิพพานนั้นให้ แจ้ง และเพียงพอเพื่อความไม่ประมาท นะท่านสารีบุตร ฯลฯ [๕๑๔] ดูกรท่านสารีบุตร อะไรหนอเป็นการยากที่จะกระทำได้ในธรรม วินัยนี้ ฯ สา. บรรพชา ผู้มีอายุ ฯ ป. ดูกรภิกษุผู้มีอายุ ก็สิ่งอะไรอันบุคคลผู้บวชแล้วกระทำได้โดยยาก ฯ สา. ความยินดียิ่ง ผู้มีอายุ ฯ ป. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็สิ่งอะไรอันภิกษุผู้ยินดียิ่งแล้วกระทำได้โดยยาก ฯ สา. การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ผู้มีอายุ ฯ ป. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมแล้ว จะพึง เป็นพระอรหันต์ได้นานเพียงไร ฯ สา. ไม่นานนัก ผู้มีอายุ ฯ รวมพระสูตรในสังยุตต์นี้ เช่นเดียวกับสูตรก่อน ฯ
จบสามัณฑกสังยุตต์
-----------------------------------------------------
โมคคัลลานสังยุตต์
[๕๑๕] สมัยหนึ่ง ท่านพระมหาโมคคัลลานะอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล ท่านพระมหา- *โมคคัลลานะเรียกภิกษุทั้งหลายแล้ว ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระมหาโมคคัลลานะ แล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ได้กล่าวกะภิกษุเหล่านั้นว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ขอ โอกาส เมื่อเราหลีกเร้นอยู่ในที่ลับ ความปริวิตกแห่งใจได้เกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ที่เรียก ว่า ปฐมฌานๆ ดังนี้ ปฐมฌาน เป็นไฉนหนอ เราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุใน พระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌานอันมีวิตกวิจาร มีปีติ และสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ นี้เรียกว่า ปฐมฌาน เราก็สงัด จากกาม สงัดจาก อกุศลธรรม เข้าปฐมฌานอันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เมื่อเราอยู่ ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอันประกอบด้วยกามย่อมฟุ้งซ่าน ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาเราด้วยพระฤทธิ์ แล้วได้ตรัสว่า โมคคัลลานะๆ เธอ อย่าประมาทปฐมฌาน จงดำรงจิตไว้ในปฐมฌาน จงกระทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุด ขึ้นในปฐมฌาน จงตั้งจิตไว้ให้มั่นในปฐมฌาน สมัยต่อมา เราสงัดจากกาม สงัด จากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌานอันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ดูกรผู้ มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำใดว่า สาวกอันพระศาสดาทรง อนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูกพึงพูดคำนั้นกะเราว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ ฯ [๕๑๖] ที่เรียกว่า ทุติยฌานๆ ดังนี้ ทุติยฌานเป็นไฉนหนอ เรา ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าทุติยฌานอันมีความผ่องใสแห่ง จิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและ สุขเกิดแต่สมาธิอยู่ นี้เรียกว่าทุติยฌาน เราก็เข้าทุติยฌานอันมีความผ่องใสแห่ง จิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติ และสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอันประกอบ ด้วยวิตกย่อมฟุ้งซ่าน ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาเราด้วยพระฤทธิ์ แล้วได้ตรัสว่า โมคคัลลานะๆ เธออย่าประมาททุติยฌาน จงดำรงจิตไว้ใน ทุติยฌาน จงกระทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้นในทุติยฌาน จงตั้งจิตไว้ให้มั่นในทุติย- *ฌาน สมัยต่อมา เราเข้าทุติยฌานอันมีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรม เอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ อยู่ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำใดว่า สาวกอันพระ- *ศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูด คำนั้นกะเราว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ ฯ [๕๑๗] ที่เรียกว่า ตติยฌานๆ ดังนี้ ตติยฌานเป็นไฉนหนอ เราได้มีความ คิดอย่างนี้ว่าภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วย นามกาย เพราะปีติสิ้นไป เข้าตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข นี้เรียกว่าตติยฌาน เราก็มีอุเบกขา มีสติ มี สัมปชัญญะ เสวยสุข ด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป เข้าตติยฌานที่พระอริยเจ้า ทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข เมื่อเราอยู่ด้วย วิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอันประกอบด้วยปีติย่อมฟุ้งซ่าน ครั้งนั้นแล พระผู้มี พระภาคเสด็จเข้าไปหาเราด้วยพระฤทธิ์ แล้วได้ตรัสว่า โมคคัลลานะๆ เธออย่า ประมาท ตติยฌาน จงดำรงจิตไว้ในตติยฌาน จงกระทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ในตติยฌาน จงตั้งจิตไว้ในตติยฌาน สมัยต่อมา เรามีอุเบกขา มีสติ มีสัม- *ปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป เข้าตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูกพึงพูดคำใดว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึง ความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำนั้นกะเราว่า สาวกอัน พระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ ฯ [๕๑๘] ที่เรียกว่า จตุตถฌานๆ ดังนี้ จตุตถฌานเป็นไฉนหนอ เราได้ มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติ บริสุทธิ์อยู่ นี้เรียกว่าจตุตถฌาน เราก็เข้าจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละ สุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอันประกอบด้วยสุขย่อมฟุ้งซ่าน ครั้งนั้น แล พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาเราด้วยพระฤทธิ์ แล้วได้ตรัสว่า โมคคัลลานะๆ เธออย่าประมาทจตุตถฌาน จงดำรงจิตไว้ในจตุตถฌาน จงกระทำจิตให้เป็นธรรม เอกผุดขึ้นในจตุตถฌาน จงตั้งจิตไว้ให้มั่นในจตุตถฌาน สมัยต่อมา เราเข้า จตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อจะพูด ให้ถูก พึงพูดคำใดว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ ยิ่งใหญ่ บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำนั้นกะเราว่า สาวกอันพระศาสดาทรง อนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ ฯ [๕๑๙] ที่เรียกว่า อากาสานัญจายตนฌานๆ ดังนี้ อากาสานัญจายตน ฌานเป็นไฉนหนอ เราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้า อากาสานัญจายตนฌานด้วยคำนึงว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญาเสียได้ เพราะดับปฏิฆสัญญาเสียได้ เพราะไม่กระทำไว้ในใจซึ่งนานัตตสัญญาโดยประการ ทั้งปวง นี้เรียกว่าอากาสานัญจายตนฌาน เราก็เข้าอากาสานัญจายตนฌานด้วย คำนึงว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญาเสียได้ เพราะดับปฏิฆสัญญาเสีย ได้ เพราะไม่กระทำไว้ในใจซึ่งนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง เมื่อเราอยู่ด้วย วิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอันประกอบด้วยรูป สัญญาย่อมฟุ้งซ่าน ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาเราด้วยพระฤทธิ์ แล้วได้ตรัสว่า โมคคัลลานะๆ เธออย่าประมาทอากาสานัญจายตนฌาน จงดำรงจิตไว้ในอากาสานัญจายตนฌาน จงกระทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้นในอากาสานัญจายตนฌาน จงตั้งจิตไว้ให้มั่นใน อากาสานัญจายตนฌาน สมัยต่อมา เราเข้าอากาสานัญจายตนฌานด้วยคำนึงว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญาเสียได้ เพราะดับปฏิฆสัญญาเสียได้ เพราะไม่กระทำไว้ในใจซึ่งนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำใดว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำนั้นกะเราว่า สาวก อันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ ฯ [๕๒๐] ที่เรียกว่า วิญญาณัญจายตนฌานๆ ดังนี้ วิญญาณัญจายตนฌาน เป็น ไฉนหนอ เราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าวิญญาณัญจายตน ฌานด้วยคำนึงว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนฌาน เสียได้โดยประการทั้งปวง นี้เรียกว่าวิญญาณัญจายตนฌาน เราก็เข้า วิญญาณัญจายตนฌานด้วยคำนึงว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงอากาสา นัญจายตนฌานเสียได้โดยประการทั้งปวง เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญา มนสิการอันประกอบด้วยอากาสานัญจายตนะย่อมฟุ้งซ่าน ครั้งนั้นแล พระผู้มี พระภาคเสด็จเข้าไปหาเราด้วยพระฤทธิ์ แล้วได้ตรัสว่า โมคคัลลานะๆ เธอ อย่าประมาทวิญญาณัญจายตนฌาน จงดำรงจิตไว้ในวิญญาณัญจายตนฌาน จง กระทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้นในวิญญาณัญจายตนฌาน จงตั้งจิตไว้ให้มั่นใน วิญญาณัญจายตนฌาน สมัยต่อมา เราเข้าวิญญาณัญจายตนฌานด้วยคำนึงว่า วิญญาณ หาที่สุดมิได้ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนฌานเสียได้โดยประการทั้งปวง ดูกรผู้ มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำใดว่า สาวกอันพระศาสดาทรง อนุเคราะห์ ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำนั้นกะเราว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ ฯ [๕๒๑] ที่เรียกว่า อากิญจัญญายตนฌานๆ ดังนี้ อากิญจัญญายตนฌาน เป็นไฉนหนอเราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าอากิญจัญญายตน ฌานด้วยคำนึงว่า สิ่งอะไรหน่อยหนึ่งไม่มี เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌาน เสียได้โดยประการทั้งปวง นี้เรียกว่าอากิญจัญญายตนฌาน เราก็เข้าอากิญจัญญายตน ฌานด้วยคำนึงว่า สิ่งอะไรหน่อยหนึ่งไม่มี เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌาน เสียได้โดยประการทั้งปวง เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอัน ประกอบด้วยวิญญาณัญจายตนะย่อมฟุ้งซ่าน ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไป หาเราด้วยพระฤทธิ์ แล้วได้ตรัสว่า โมคคัลลานะๆ เธออย่าประมาท อากิญจัญญายตนฌาน จงดำรงจิตไว้ในอากิญจัญญายตนฌาน จงกระทำจิตให้เป็น ธรรมเอกผุดขึ้นในอากิญจัญญายตนฌาน จงตั้งจิตไว้ให้มั่นในอากิญจัญญายตนฌาน สมัยต่อมาเราเข้าอากิญจัญญายตนฌานด้วยคำนึงว่า สิ่งอะไรหน่อยหนึ่งไม่มี เพราะ ล่วงวิญญาณัญจายตนฌานเสียได้โดยประการทั้งปวง ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคล เมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำใดว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความ เป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำนั้นกะเราว่า สาวกอันพระศาสดา ทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ ฯ [๕๒๒] ที่เรียกว่า เนวสัญญานาสัญญายตนฌานๆ ดังนี้ เนวสัญญา- *นาสัญญายตนฌานเป็นไฉนหนอ เราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในพระธรรมวินัย นี้เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เพราะล่วงอากิญจัญญายตนฌานเสียได้โดย ประการทั้งปวง นี้เรียกว่าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เราก็เข้าเนวสัญญา นาสัญญายตนฌาน เพราะล่วงอากิญจัญญายตนฌานเสียได้โดยประการทั้งปวง เมื่อ เราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอันประกอบด้วยอากิญจัญญายตนะย่อมฟุ้ง ซ่าน ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาเราด้วยพระฤทธิ์ แล้วได้ ตรัสว่า โมคคัลลานะๆ เธออย่าประมาทเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน จงดำรงจิตไว้ใน เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน จงกระทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ในเนวสัญญานา สัญญายตนฌาน จงตั้งจิตไว้ให้มั่นในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน สมัย ต่อมา เราเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เพราะล่วงอากิญจัญญายตนฌาน เสียได้โดยประการทั้งปวง ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูด คำใดว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ บุคคล เมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำนั้นกะเราว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ ฯ [๕๒๓] ที่เรียกว่า อนิมิตตเจโตสมาธิๆ ดังนี้ อนิมิตตเจโตสมาธิ เป็นไฉนหนอ เราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าอนิมิตตเจโต สมาธิอยู่ เพราะไม่กระทำไว้ในใจซึ่งนิมิตทั้งปวง นี้เรียกว่าอนิมิตตเจโตสมาธิ เราก็เข้าอนิมิตตเจโตสมาธิอยู่ เพราะไม่กระทำไว้ในใจซึ่งนิมิตทั้งปวง เมื่อเราอยู่ ด้วยวิหารธรรมนี้ วิญญาณอันซ่านไปตามซึ่งอนิมิตย่อมมี ครั้งนั้นแล พระผู้มี- *พระภาคเสด็จเข้าไปหาเราด้วยพระฤทธิ์ แล้วได้ตรัสว่า โมคคัลลานะๆ เธออย่า ประมาทอนิมิตตเจโตสมาธิ จงดำรงจิตไว้ในอนิมิตตเจโตสมาธิ จงกระทำจิตให้ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นในอนิมิตตเจโตสมาธิ จงตั้งจิตไว้ให้มั่นในอนิมิตตเจโตสมาธิ สมัยต่อมา เราเข้าอนิมิตตเจโตสมาธิอยู่ เพราะไม่กระทำไว้ในใจซึ่งนิมิตทั้งปวง ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำใดว่า สาวกอันพระศาสดา ทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำนั้น กะเราว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ ฯ [๕๒๔] ครั้งนั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะหายจากพระวิหารเชตวัน ไปปรากฏในดาวดึงสเทวโลก เหมือนบุรุษมีกำลังพึงเหยียดแขนที่คู้ หรือพึงคู้แขน ที่เหยียด ฉะนั้น ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพกับเทวดา ๕๐๐ องค์ เข้าไป หาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ไหว้ท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้ว ได้ ประทับอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้พูดกะ ท้าวสักกะจอมเทพว่า ดูกรจอมเทพ การถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะดีนัก เพราะ เหตุแห่งการถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตาย ไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ การถึงพระธรรมเป็นสรณะดีนัก ... การถึง พระสงฆ์เป็นสรณะดีนัก เพราะเหตุแห่งการถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ สัตว์บางพวก ในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ท้าวสักกะจอมเทพ ตรัสว่า ข้าแต่พระโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ การถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะดีนัก เพราะเหตุแห่งการถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกาย ตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ การถึงพระธรรมเป็นสรณะดีนัก ... การถึง พระสงฆ์เป็นสรณะดีนัก เพราะเหตุแห่งการถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ สัตว์บางพวก ในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ฯ [๕๒๕] ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพกับเทวดา ๖๐๐ องค์ ฯลฯ ๗๐๐ องค์ ฯลฯ ๘๐๐ องค์ ฯลฯ ฯ [๕๒๖] ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพกับเทวดา ๘๔,๐๐๐ องค์ เข้า ไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ไหว้ท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้ว ได้ ประทับยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วท่านพระมหาโมคคัลลานะได้พูด กะท้าวสักกะจอมเทพว่า ดูกรจอมเทพ การถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะดีนัก เพราะ เหตุแห่งการถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ การถึงพระธรรมเป็นสรณะดีนัก ... การถึงพระสงฆ์ เป็นสรณะดีนัก เพราะเหตุแห่งการถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ท้าวสักกะจอมเทพตรัสว่า ข้าแต่ท่านพระโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ การถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะดีนัก เพราะ เหตุแห่งการถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ การถึงพระธรรมเป็นสรณะดีนัก ... การถึงพระสงฆ์ เป็นสรณะดีนัก เพราะเหตุแห่งการถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ฯ [๕๒๗] ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพกับเทวดา ๕๐๐ องค์ เข้าไปหา ท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ไหว้ท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้ว ได้ประทับ ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้พูดกะท้าว- *สักกะจอมเทพว่า ดูกรจอมเทพ การประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม ดังนี้ ดีนัก เพราะเหตุแห่ง การประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า สัตว์บางพวกใน โลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดูกรจอมเทพ การ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มี- *พระภาคตรัสดีแล้ว อันผู้ได้บรรลุพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้ มาดู ควรน้อมเข้ามา อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ดังนี้ ดีนัก เพราะเหตุ แห่งการประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม สัตว์บางพวกใน โลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดูกรจอมเทพ การ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของ พระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ปฏิบัติตรง ปฏิบัติเป็นธรรม ปฏิบัติชอบ คือ คู่แห่งบุรุษ ๔ บุรุษบุคคล ๘ นี้ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็น ผู้ควรของคำนับ ควรของต้อนรับ ควรของทำบุญ ควรทำอัญชลี เป็นนาบุญของ โลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้ ดีนัก เพราะเหตุแห่งการประกอบด้วยความ เลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดูกรจอมเทพ การประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่ แล้ว อันไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทย วิญญูชนสรรเสริญ อัน ตัณหาและทิฐิลูบคลำไม่ได้ เป็นไปเพื่อสมาธิ ดีนัก เพราะเหตุแห่งการประกอบ ด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อม เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ท้าวสักกะจอมเทพตรัสว่า ข้าแต่ท่านพระโมคคัลลานะ ผู้นิรทุกข์ การประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้ เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ... ดีนัก เพราะเหตุแห่งการประกอบ ด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อ แตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ข้าแต่ท่านพระโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ การประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มี- *พระภาคตรัสดีแล้ว ... ดีนัก เพราะเหตุการประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่ หวั่นไหวในพระธรรม สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึง สุคติโลกสวรรค์ ข้าแต่ท่านพระโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ การประกอบด้วยความ เลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ ปฏิบัติดีแล้ว ... ดีนัก เพราะเหตุแห่งการประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่น- *ไหวในพระสงฆ์ สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ ข้าแต่ท่านพระโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ การประกอบด้วยศีลที่พระ- *อริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ... เป็นไปเพื่อสมาธิ ดีนัก เพราะเหตุแห่งการประกอบ ด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อม เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ฯ [๕๒๘] ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพกับเทวดา ๖๐๐ องค์ ... ฯลฯ ๗๐๐ องค์ ฯลฯ ๘๐๐ องค์ ฯลฯ ฯ [๕๒๙] ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพกับเทวดา ๘๔,๐๐๐ องค์ เข้าไป หาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ไหว้ท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้ว ได้ประทับ ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้พูดกะ ท้าวสักกะจอมเทพว่า ดูกรจอมเทพ การประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่น ไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ... ดีนัก เพราะเหตุแห่งการประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า สัตว์ บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดูกรจอมเทพ การประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มี- *พระภาคตรัสดีแล้ว ... ดีนัก เพราะเหตุแห่งการประกอบด้วยความเลื่อมใสอัน ไม่หวั่นไหวในพระธรรม สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้า ถึงสุคติโลกสวรรค์ ดูกรจอมเทพ การประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว ในพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ... ดีนัก เพราะเหตุแห่งการประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ สัตว์ บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดูกรจอมเทพ การประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว อันไม่ขาด ... ดีนัก เพราะเหตุแห่ง การประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกาย ตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ท้าวสักกะจอมเทพตรัสว่า ข้าแต่ท่าน พระโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ การประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวใน พระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ... ดีนัก เพราะเหตุ แห่งการประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า สัตว์บางพวกใน โลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ การประกอบด้วยความ เลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว ... ดีนัก เพราะเหตุแห่งการประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ การ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของ พระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ... ดีนัก เพราะเหตุแห่งการประกอบด้วย ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกาย ตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ การประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว อันไม่ขาด ... ดีนัก เพราะเหตุแห่งการประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ฯ [๕๓๐] ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพกับเทวดา ๕๐๐ องค์ เข้าไปหา ท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ไหว้ท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้ว ได้ประทับ ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้พูดกะ ท้าวสักกะจอมเทพว่า ดูกรจอมเทพ การถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะดีนัก เพราะ เหตุแห่งการถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เขาเหล่านั้นย่อมครอบงำเทวดาพวกอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ ด้วยอายุ วรรณะ สุข ยศ ความเป็นใหญ่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นทิพย์ ดูกรจอมเทพ การถึงพระธรรมเป็นสรณะ ดีนัก เพราะเหตุแห่งการถึงพระธรรมเป็นสรณะ สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อ แตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เขาเหล่านั้นย่อมครอบงำเทวดาพวก อื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ ด้วยอายุ วรรณะ สุข ยศ ความเป็นใหญ่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นทิพย์ การถึงพระสงฆ์เป็นสรณะดีนัก เพราะเหตุแห่งการถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกาย ตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เขาเหล่านั้นย่อมครอบงำเทวดาพวกอื่นด้วย ฐานะ ๑๐ ประการ คือ ด้วยอายุ วรรณะ สุข ยศ ความเป็นใหญ่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นทิพย์ ท้าวสักกะจอมเทพตรัสว่า ข้าแต่ท่าน พระโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ การถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะดีนัก เพราะเหตุแห่ง การถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อม เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เขาเหล่านั้นย่อมครอบงำเทวดาพวกอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ ด้วยอายุ ... อันเป็นทิพย์ การถึงพระธรรมเป็นสรณะดีนัก ... การถึงพระสงฆ์เป็นสรณะดีนัก เพราะเหตุแห่งการถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ สัตว์ บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เขาเหล่า นั้นย่อมครอบงำเทวดาพวกอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ ด้วยอายุ วรรณะ สุข ยศ ความเป็นใหญ่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นทิพย์ ฯ [๕๓๑] ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพกับเทวดา ๖๐๐ องค์ ฯลฯ ๗๐๐ องค์ ฯลฯ ๘๐๐ องค์ ฯลฯ ฯ [๕๓๒] ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพกับเทวดา ๘๔,๐๐๐ องค์ เข้า ไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ไหว้ท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้ว ได้ ประทับยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้ พูดกะท้าวสักกะจอมเทพว่า ดูกรจอมเทพ การถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะดีนัก เพราะเหตุแห่งการถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกาย ตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เขาเหล่านั้นย่อมครอบงำเทวดาพวกอื่นด้วย ฐานะ ๑๐ ประการ คือ ด้วยอายุ... อันเป็นทิพย์ การถึงพระธรรมเป็นสรณะ ดีนัก... การถึงพระสงฆ์เป็นสรณะดีนัก เพราะเหตุแห่งการถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เขา เหล่านั้นย่อมครอบงำเทวดาพวกอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ ด้วยอายุ... อัน เป็นทิพย์ ท้าวสักกะจอมเทพตรัสว่า ข้าแต่ท่านพระโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ การ ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะดีนัก ... การถึงพระธรรมเป็นสรณะดีนัก ... การถึง พระสงฆ์เป็นสรณะดีนัก เพราะเหตุแห่งการถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ สัตว์บางพวก ในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เขาเหล่านั้นย่อมครอบงำ เทวดาพวกอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ ด้วยอายุ... อันเป็นทิพย์ ฯ [๕๓๓] ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพกับเทวดา ๕๐๐ องค์ เข้าไป หาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ไหว้ท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้ว ได้ประทับ ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้พูดกะ ท้าวสักกะจอมเทพว่า ดูกรจอมเทพ การประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นพระ- *อรหันต์ ... เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม ดังนี้ ดีนัก เพราะเหตุ แห่งการประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า สัตว์บางพวก ในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เขาเหล่านั้น ย่อม ครอบงำเทวดาพวกอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ ด้วยอายุ ... อันเป็นทิพย์ ดูกรจอมเทพ การประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า ธรรม อันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว ... ดูกรจอมเทพ การประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติ ดีแล้ว ... ดูกรจอมเทพ การประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว อันไม่ขาด... เป็นไปเพื่อสมาธิ ดีนัก เพราะเหตุแห่งการประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เขา เหล่านั้นย่อมครอบงำเทวดาพวกอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ ด้วยอายุ... อัน เป็นทิพย์ ท้าวสักกะจอมเทพตรัสว่า ข้าแต่ท่านพระโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ การประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ... ในพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาค ตรัสดีแล้ว... ในพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดี แล้ว... การประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว อันไม่ขาด ... เป็นไปเพื่อ สมาธิ ดีนัก เพราะเหตุแห่งการประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว สัตว์บาง พวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เขาเหล่านั้นย่อม ครอบงำเทวดาพวกอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ ด้วยอายุ ... โผฏฐัพพะ อัน เป็นทิพย์ ฯ [๕๓๔] ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพกับเทวดา ๖๐๐ องค์ ฯลฯ ๗๐๐ องค์ ฯลฯ ๘๐๐ องค์ ฯลฯ ฯ [๕๓๕] ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพกับเทวดา ๘๔,๐๐๐ องค์ เข้าไป หาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ไหว้ท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้ว ได้ประทับ ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้พูดกะท้าว สักกะจอมเทพว่า ดูกรจอมเทพ การประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวใน พระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น... ในพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว... ในพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของ พระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว... การประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว อันไม่ขาด... เป็นไปเพื่อสมาธิ ดีนัก เพราะเหตุแห่งการประกอบด้วยศีลที่ พระอริยเจ้าใคร่แล้ว สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ เขาเหล่านั้นย่อมครอบงำเทวดาพวกอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ ด้วยอายุ วรรณะ สุข ยศ ความเป็นใหญ่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นทิพย์ ท้าวสักกะจอมเทพตรัสว่า ข้าแต่ท่านพระโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ การประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น... ในพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัส ดีแล้ว... ในพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค ผู้ปฏิบัติดีแล้ว... การประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว อันไม่ขาด ... เป็นไปเพื่อสมาธิ ดีนัก เพราะเหตุแห่งการประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เขาเหล่านั้นย่อมครอบงำเทวดา พวกอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ ด้วยอายุ... โผฏฐัพพะ อันเป็นทิพย์ ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
[๕๓๖] ครั้งนั้นแล จันทนเทพบุตร ฯลฯ ครั้งนั้นแล สุยามเทพบุตร ฯลฯ ครั้งนั้นแล สุนิมมิตเทพบุตร ฯลฯ ครั้งนั้นแล วสวัตตีเทพบุตร ฯลฯ (เปยยาล ๕ ประการนี้ พึงให้พิสดารเหมือนท้าวสักกะจอมเทพ) ฯ
จบสูตรที่ ๑๑
จบโมคคัลลานสังยุตต์
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สวิตักกสูตร ๒. อวิตักกสูตร ๓. สุขสูตร ๔. อุเปกขสูตร ๕. อากาสานัญจายตนสูตร ๖. วิญญาณัญจายตนสูตร ๗. อากิญจัญญายตนสูตร ๘. เนวสัญญานาสัญญายตนสูตร ๙. อนิมิตตสูตร ๑๐. สักกสูตร ๑๑. จันทน สูตร ฯ
-----------------------------------------------------
จิตตคหปติปุจฉาสังยุตต์
สังโยชนสูตร
[๕๓๗] สมัยหนึ่ง ภิกษุผู้เถระมากด้วยกันอยู่ที่อัมพาฏกวัน ใกล้ราวป่า มัจฉิกาสณฑ์ ก็สมัยนั้นแล ภิกษุผู้เถระมากด้วยกันกลับจากบิณฑบาตภายหลังภัต นั่งประชุมสนทนากันที่โรงกลมได้สนทนากันว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรม เหล่านี้ คือสังโยชน์ก็ดี สังโยชนียธรรมก็ดี มีอรรถต่างกัน มีพยัญชนะต่างกัน หรือว่ามีอรรถเหมือนกัน พยัญชนะเท่านั้นต่างกัน บรรดาภิกษุผู้เถระเหล่านั้น ภิกษุผู้เถระบางพวกพยากรณ์อย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ คือ สังโยชน์ก็ดี สังโยชนียธรรมก็ดี มีอรรถต่างกันและมีพยัญชนะต่างกัน บางพวก พยากรณ์อย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ คือ สังโยชน์ก็ดี สังโยชนียธรรมก็ดี มีอรรถเหมือนกัน พยัญชนะเท่านั้นต่างกัน ฯ [๕๓๘] ก็สมัยนั้นแล จิตตคฤหบดีได้ไปยังบ้านส่วยชื่อมิคปถกะด้วย กรณียกิจบางอย่าง ได้สดับข่าวว่า ภิกษุผู้เถระมากด้วยกันกลับจากบิณฑบาตภายหลัง ภัตแล้ว นั่งประชุมกันที่โรงกลม ได้สนทนากันว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ คือ สังโยชน์ก็ดี สังโยชนียธรรมก็ดี มีอรรถต่างกัน มีพยัญชนะ ต่างกัน หรือว่ามีอรรถเหมือนกัน พยัญชนะเท่านั้นต่างกัน บรรดาภิกษุผู้เถระเหล่านั้น ภิกษุผู้เถระบางพวกพยากรณ์อย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ คือ สังโยชน์ก็ดี สังโยชนียธรรมก็ดี มีอรรถต่างกันและมีพยัญชนะต่างกัน บางพวก พยากรณ์อย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ คือ สังโยชน์ก็ดี สังโยชนียธรรมก็ดี มีอรรถเหมือนกัน พยัญชนะเท่านั้นต่างกัน ฯ [๕๓๙] ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีได้เข้าไปหาภิกษุผู้เถระทั้งหลายถึงที่อยู่ ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามภิกษุผู้เถระทั้งหลายว่า ข้าแต่ ท่านทั้งหลายผู้เจริญ กระผมได้สดับข่าวว่า ภิกษุผู้เถระมากด้วยกันกลับจากบิณฑบาต ภายหลังภัตแล้ว นั่งประชุมกันที่โรงกลม ได้สนทนากันว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ คือ สังโยชน์ก็ดี สังโยชนียธรรมก็ดี มีอรรถต่างกัน มีพยัญชนะต่างกัน หรือว่ามีอรรถเหมือนกัน พยัญชนะเท่านั้นต่างกัน ภิกษุผู้เถระ บางพวกพยากรณ์อย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ คือ สังโยชน์ ก็ดี สังโยชนียธรรมก็ดี มีอรรถต่างกันและมีพยัญชนะต่างกัน บางพวกพยากรณ์ อย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ คือ สังโยชน์ก็ดี สังโยชนีย ธรรมก็ดี มีอรรถเหมือนกัน พยัญชนะเท่านั้นต่างกัน ดังนี้หรือ ภิกษุเหล่านั้น ตอบว่า อย่างนั้นคฤหบดี จิตตคฤหบดีได้กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ คือ สังโยชน์ก็ดี สังโยชนียธรรมก็ดี มีอรรถต่างกัน และมี พยัญชนะต่างกัน ถ้ากระนั้นกระผมจักอุปมาให้ฟัง เพราะวิญญูชนบางพวกในโลกนี้ ย่อมเข้าใจเนื้อความแห่งภาษิตแม้ด้วยข้ออุปมา ฯ [๕๔๐] ข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย เปรียบเหมือนโคดำตัวหนึ่งโคขาว ตัวหนึ่ง เขาผูกด้วยทามหรือเชือกเส้นเดียวกัน ผู้ใดแลพึงกล่าวอย่างนี้ว่า โคดำ ติดกับโคขาว โคขาวติดกับโคดำ ดังนี้ ผู้นั้นชื่อว่ากล่าวถูกละหรือ ฯ ภิ. ไม่ถูก คฤหบดี เพราะโคดำไม่ติดกับโคขาว แม้โคขาวก็ไม่ติดกับ โคดำ ทามหรือเชือกที่ผูกโคทั้งสองนั้น ชื่อว่าเป็นเครื่องผูก ฯ จิตต. ข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล จักษุไม่ติดกับรูป รูปไม่ติดกับจักษุ ฉันทราคะที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุและรูปทั้ง ๒ นั้น ชื่อว่าเป็น เครื่องติด หูไม่ติดกับเสียง เสียงไม่ติดกับหู ฉันทราคะที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยหู และเสียงทั้ง ๒ นั้น ชื่อว่าเป็นเครื่องติด จมูกไม่ติดกับกลิ่น กลิ่นไม่ติดกับจมูก ฉันทราคะที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยจมูกและกลิ่นทั้ง ๒ นั้น ชื่อว่าเป็นเครื่องติด ลิ้นไม่ ติดกับรส รสไม่ติดกับลิ้น ฉันทราคะที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยลิ้นและรสทั้ง ๒ นั้น ชื่อว่าเป็นเครื่องติด กายไม่ติดกับโผฏฐัพพะ โผฏฐัพพะไม่ติดกับกาย ฉันทราคะ ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะทั้ง ๒ นั้น ชื่อว่าเป็นเครื่องติด ใจไม่ติด กับธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์ไม่ติดกับใจ ฉันทราคะที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยใจและ ธรรมารมณ์ทั้ง ๒ นั้น ชื่อว่าเป็นเครื่องติด ภิ. ดูกรคฤหบดี การที่ปัญญาจักษุของท่านหยั่งทราบในพระพุทธพจน์ที่ ลึกซึ้ง ชื่อว่าเป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้ว ฯ
จบสูตรที่ ๑
อิสิทัตตสูตรที่ ๑
[๕๔๑] สมัยหนึ่ง ภิกษุผู้เถระมากด้วยกันอยู่ที่อัมพาฏกวัน ใกล้ราวป่า มัจฉิกาสณฑ์ ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีได้เข้าไปหาภิกษุผู้เถระเหล่านั้น ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้อาราธนาว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ทั้งหลาย ขอพระเถระทั้งหลาย โปรดรับภัตตาหารของกระผมในวันพรุ่งนี้ ภิกษุผู้ เถระทั้งหลายได้รับอาราธนาโดยดุษณีภาพ ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีทราบการรับ อาราธนาของภิกษุผู้เถระทั้งหลายแล้ว ลุกจากที่นั่ง กราบไหว้ กระทำประทักษิณ แล้วจากไป ฯ [๕๔๒] ครั้งนั้นแล พอล่วงราตรีนั้นไป เป็นเวลาเช้า ภิกษุผู้เถระ ทั้งหลายนุ่งแล้วถือบาตรและจีวร พากันเข้าไปยังนิเวสน์ของจิตตคฤหบดี แล้วนั่ง บนอาสนะที่ตบแต่งไว้ถวาย ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีเข้าไปหาภิกษุผู้เถระทั้งหลาย ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามพระเถระผู้เป็นประธานว่า ข้าแต่พระเถระผู้เจริญ คำที่กล่าวกันว่า ความต่างแห่งธาตุๆ ดังนี้ ความต่างแห่ง ธาตุ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ด้วยเหตุเท่าไรหนอแล ฯ [๕๔๓] เมื่อจิตตคฤหบดีถามอย่างนี้แล้ว พระเถระผู้เป็นประธานได้ นิ่งอยู่ แม้ครั้งที่ ๒ จิตตคฤหบดีได้ถามพระเถระผู้เป็นประธานว่า ข้าแต่พระเถระ ผู้เจริญ คำที่กล่าวกันว่า ความต่างแห่งธาตุๆ ดังนี้ ความต่างแห่งธาตุ พระผู้มี- *พระภาคตรัสไว้ด้วยเหตุเท่าไรหนอแล แม้ครั้งที่ ๒ พระเถระผู้เป็นประธานก็ได้ นิ่งอยู่ แม้ครั้งที่ ๓ จิตตคฤหบดีก็ได้ถามพระเถระผู้เป็นประธานว่า ข้าแต่พระเถระ ผู้เจริญ คำที่กล่าวกันว่า ความต่างแห่งธาตุๆ ดังนี้ ความต่างแห่งธาตุ พระผู้มี- *พระภาคตรัสไว้ด้วยเหตุเท่าไรหนอแล แม้ครั้งที่ ๓ พระเถระผู้เป็นประธานก็ได้ นิ่งอยู่ ฯ [๕๔๔] ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านอิสิทัตตะเป็นผู้ใหม่กว่าทุกองค์ในภิกษุ สงฆ์หมู่นั้น ครั้งนั้นแล ท่านอิสิทัตตะได้ขอโอกาสกะพระเถระผู้เป็นประธานว่า ข้าแต่พระเถระผู้เจริญ กระผมขอพยากรณ์ปัญหาข้อนั้นของจิตตคฤหบดี พระเถระกล่าวว่า ดูกรท่านอิสิทัตตะ เชิญท่านพยากรณ์ปัญหาข้อนั้นของ จิตตคฤหบดีเถิด ฯ อิ. ดูกรคฤหบดี ก็ท่านกล่าวถามอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระเถระผู้เจริญ คำที่ กล่าวกันว่า ความต่างแห่งธาตุๆ ดังนี้ ความต่างแห่งธาตุ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ด้วยเหตุเท่าไรหนอแล ดังนี้หรือ จิตต. อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ ฯ อิ. ดูกรคฤหบดี ความต่างแห่งธาตุ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดังนี้ คือ จักขุธาตุ รูปธาตุ จักขุวิญญาณธาตุ โสตธาตุ สัททธาตุ โสตวิญญาณธาตุ ฆานธาตุ คันธธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ ชิวหาธาตุ รสธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ กายธาตุ โผฏฐัพพธาตุ กายวิญญาณธาตุ มโนธาตุ ธัมมธาตุ มโนวิญญาณธาตุ ดูกร คฤหบดี ความต่างแห่งธาตุ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ด้วยเหตุเท่านี้แล ฯ [๕๔๕] ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของท่านอิสิทัตตะ แล้วได้อังคาสภิกษุผู้เถระทั้งหลายให้อิ่มหนำเพียงพอ ด้วยขาทนียโภชนียาหารอัน ประณีต ด้วยมือของตน ครั้งนั้นแล ภิกษุผู้เถระทั้งหลายฉันเสร็จแล้ว ลดมือ จากบาตรแล้ว ลุกขึ้นจากอาสนะหลีกไป ครั้งนั้นแล พระเถระผู้เป็นประธานได้ กล่าวกะท่านอิสิทัตตะว่า ดีแล้ว ท่านอิสิทัตตะ ปัญหาข้อนั้นแจ่มแจ้งแก่ท่าน มิได้แจ่มแจ้งแก่เรา ดูกรท่านอิสิทัตตะ ต่อไป ถ้าปัญหาเช่นนี้พึงมีมาแม้โดย ประการอื่นในกาลใด ท่านนั่นแหละพึงกล่าวตอบปัญหาเช่นนั้นในกาลนั้น ฯ
จบสูตรที่ ๒
อิสิทัตตสูตรที่ ๒
[๕๔๖] สมัยหนึ่ง ภิกษุผู้เถระมากด้วยกันอยู่ที่อัมพาฏกวัน ใกล้ราวป่า มัจฉิกาสณฑ์ ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีได้เข้าไปหาภิกษุผู้เถระทั้งหลายถึงที่อยู่ ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้อาราธนาว่า ข้าแต่ท่านทั้งหลาย ผู้เจริญ ขอพระเถระทั้งหลายโปรดรับภัตตาหารของกระผมในวันพรุ่งนี้ ภิกษุผู้เถระ ทั้งหลายรับอาราธนาโดยดุษณีภาพ ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีทราบการรับอาราธนา ของภิกษุผู้เถระทั้งหลายแล้ว ลุกจากอาสนะ ไหว้กระทำประทักษิณแล้วจากไป ฯ [๕๔๗] ครั้งนั้นแล พอล่วงราตรีนั้นไปเป็นเวลาเช้า ภิกษุผู้เถระทั้งหลาย นุ่งแล้วถือบาตรและจีวรพากันเข้าไปยังนิเวสน์ของจิตตคฤหบดีแล้วนั่งบนอาสนะที่ ตบแต่งไว้ถวาย ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีเข้าไปหาภิกษุผู้เถระทั้งหลาย ไหว้แล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามพระเถระผู้เป็นประธานว่า ข้าแต่ พระเถระผู้เจริญ ทิฐิหลายอย่างย่อมเกิดขึ้นในโลกดังนี้ว่า โลกเที่ยงบ้าง โลกไม่เที่ยง บ้าง โลกมีที่สุดบ้าง โลกไม่มีที่สุดบ้าง ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้นบ้าง ชีพเป็น อื่น สรีระก็เป็นอื่นบ้าง สัตว์ตายแล้วย่อมเป็นอีกบ้าง สัตว์ตายแล้วย่อมไม่เป็น อีกบ้าง สัตว์ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มีบ้าง สัตว์ตายแล้วย่อม เป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้บ้าง (ก็ทิฐิ ๖๒ อย่างเหล่านี้ ได้กล่าว ไว้ในพรหมชาลสูตร) ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เมื่ออะไรมี ทิฐิเหล่านี้จึงมี เมื่ออะไร ไม่มี ทิฐิเหล่านี้จึงไม่มี ฯ [๕๔๘] เมื่อจิตตคฤหบดีได้ถามอย่างนี้แล้ว พระเถระผู้เป็นประธานได้ นิ่งอยู่ แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ จิตตคฤหบดีได้ถามพระเถระผู้เป็นประธาน ว่า ข้าแต่พระเถระผู้เจริญ ทิฐิหลายอย่างย่อมเกิดขึ้นในโลกดังนี้ว่า โลกเที่ยงบ้าง โลกไม่เที่ยงบ้าง โลกมีที่สุดบ้าง โลกไม่มีที่สุดบ้าง ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้นบ้าง ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่นบ้าง สัตว์ตายแล้วย่อมเป็นอีกบ้าง สัตว์ตายแล้วย่อม ไม่เป็นอีกบ้าง สัตว์ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มีบ้าง สัตว์ตายแล้ว ย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้บ้าง แม้ครั้งที่ ๓ พระเถระผู้เป็น ประธานก็ได้นิ่งอยู่ ฯ [๕๔๙] ก็สมัยนั้นแล ท่านพระอิสิทัตตะเป็นผู้ใหม่กว่าทุกองค์ในภิกษุ สงฆ์หมู่นั้น ครั้งนั้นแล ท่านพระอิสิทัตตะได้ขอโอกาสกะพระเถระผู้เป็นประธานว่า ข้าแต่พระเถระผู้เจริญ กระผมขอพยากรณ์ปัญหาข้อนั้นของจิตตคฤหบดี พระเถระ กล่าวว่า ดูกรท่านอิสิทัตตะ ท่านจงพยากรณ์ปัญหาข้อนั้นของจิตตคฤหบดีเถิด ท่านอิสิทัตตะได้ถามว่า ดูกรคฤหบดี ก็ท่านถามอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระเถระผู้เจริญ ทิฐิหลายอย่างย่อมเกิดขึ้นในโลกดังนี้ว่า โลกเที่ยงบ้าง โลกไม่เที่ยงบ้าง โลกมี ที่สุดบ้าง โลกไม่มีที่สุดบ้าง ฯลฯ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เมื่ออะไรมี ทิฐิเหล่านี้จึงมี เมื่ออะไรไม่มี ทิฐิเหล่านี้จึงไม่มี ดังนี้หรือ จิตตคฤหบดีกล่าวว่า อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ ฯ อิ. ดูกรคฤหบดี ทิฐิหลายอย่างย่อมเกิดขึ้นในโลกดังนี้ว่า โลกเที่ยงบ้าง โลกไม่เที่ยงบ้าง... สัตว์ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้บ้าง (ทิฐิ ๖๒ เหล่านี้ ได้กล่าวไว้แล้วในพรหมชาลสูตร) ดูกรคฤหบดี เมื่อสักกายทิฐิ มี ทิฐิเหล่านี้ก็มี เมื่อสักกายทิฐิไม่มี ทิฐิเหล่านี้ก็ไม่มี ฯ [๕๕๐] จิตต. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็สักกายทิฐิย่อมเกิดมีได้อย่างไร ฯ อิ. ดูกรคฤหบดี ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไม่ได้สดับ ไม่เห็นพระอริยเจ้า ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้ เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตน ๑ เห็นตนมีรูป ๑ เห็นรูปในตน ๑ เห็นตนในรูป ๑ เห็นเวทนาโดยความเป็นตน ๑ เห็นตนมีเวทนา ๑ เห็นเวทนาในตน ๑ เห็นตน ในเวทนา ๑ เห็นสัญญาโดยความเป็นตน ๑ เห็นตนมีสัญญา ๑ เห็นสัญญาใน ตน ๑ เห็นตนในสัญญา ๑ เห็นสังขารโดยความเป็นตน ๑ เห็นตนมีสังขาร ๑ เห็นสังขารในตน ๑ เห็นตนในสังขาร ๑ เห็นวิญญาณโดยความเป็นตน ๑ เห็น ตนมีวิญญาณ ๑ เห็นวิญญาณในตน ๑ เห็นตนในวิญญาณ ๑ ดูกรคฤหบดี สักกายทิฐิย่อมเกิดมีได้อย่างนี้แล ฯ [๕๕๑] จิตต. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็สักกายทิฐิย่อมไม่เกิดมีได้อย่างไร ฯ อิ. ดูกรคฤหบดี อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ ผู้ได้สดับแล้ว ได้เห็น พระอริยเจ้า ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ได้รับแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ได้รับแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมไม่เห็นรูปโดยความเป็นตน ๑ ไม่เห็นตนมีรูป ๑ ไม่เห็นรูปในตน ๑ ไม่ เห็นตนในรูป ๑ ไม่เห็นเวทนาโดยความเป็นตน ๑ ไม่เห็นตนมีเวทนา ๑ ไม่เห็น เวทนาในตน ๑ ไม่เห็นตนในเวทนา ๑ ไม่เห็นสัญญาโดยความเป็นตน ๑ ไม่ เห็นตนมีสัญญา ๑ ไม่เห็นสัญญาในตน ๑ ไม่เห็นตนในสัญญา ๑ ไม่เห็นสังขาร โดยความเป็นตน ๑ ไม่เห็นตนมีสังขาร ๑ ไม่เห็นสังขารในตน ๑ ไม่เห็นตน ในสังขาร ๑ ไม่เห็นวิญญาณโดยความเป็นตน ๑ ไม่เห็นตนมีวิญญาณ ๑ ไม่เห็น วิญญาณในตน ๑ ไม่เห็นตนในวิญญาณ ๑ ดูกรคฤหบดี สักกายทิฐิย่อมไม่เกิด มีได้อย่างนี้แล ฯ จิตต. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระคุณเจ้าอิสิทัตตะมาจากไหน ฯ อิ. ดูกรคฤหบดี อาตมภาพมาจากอวันตีชนบท ฯ จิตต. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กุลบุตรมีนามว่าอิสิทัตตะในอวันตีชนบท เป็น สหายที่ไม่เคยเห็นกันของข้าพเจ้า ได้ออกบรรพชามีอยู่ พระคุณเจ้าได้เห็นท่าน หรือไม่ ฯ อิ. ได้เห็น คฤหบดี ฯ จิตต. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เดี๋ยวนี้ ท่านผู้มีอายุรูปนั้นอยู่ที่ไหนหนอ ฯ [๕๕๒] เมื่อจิตตคฤหบดีได้ถามอย่างนี้ ท่านอิสิทัตตะได้นิ่งอยู่ ฯ จิตต. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านอิสิทัตตะของข้าพเจ้า คือพระคุณเจ้าหรือ ฯ อิ. ใช่ละ คฤหบดี ฯ จิตต. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอให้พระคุณเจ้าอิสิทัตตะจงชอบใจอัมพาฏก วันอันเป็นที่น่ารื่นรมย์ใกล้ราวป่ามัจฉิกาสณฑ์เถิด ข้าพเจ้าจักบำรุงด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานเภสัชบริขาร อิ. ดูกรคฤหบดี ท่านกล่าวดีแล้ว ฯ [๕๕๓] ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของท่านพระอิสิ- *ทัตตะแล้ว ได้อังคาสภิกษุผู้เถระทั้งหลายให้อิ่มหนำสำราญ ด้วยขาทนียะ- *โภชนียาหารอันประณีต ด้วยมือของตน ครั้งนั้นแล ภิกษุผู้เถระทั้งหลายฉัน เสร็จแล้ว ลดมือจากบาตร ลุกขึ้นจากอาสนะกลับไป ลำดับนั้นแล พระเถระ ผู้เป็นประธานได้ให้โอกาสท่านพระอิสิทัตตะว่า ดีแล้ว ท่านอิสิทัตตะ ปัญหา ข้อนั้นแจ่มแจ้งแก่ท่าน มิได้แจ่มแจ้งแก่ผม ต่อไป ถ้าปัญหาเช่นนี้พึงมีมาแม้ โดยประการอื่นในกาลใด ท่านนั่นแหละพึงกล่าวตอบปัญหาเช่นนั้นในกาลนั้น ครั้งนั้นแล ท่านอิสิทัตตะได้เก็บเสนาสนะ ถือเอาบาตรและจีวร เดินทางออกจาก ราวป่าชื่อมัจฉิกาสณฑ์ไม่ได้กลับมาอีก เหมือนกับภิกษุรูปอื่นที่ได้ออกเดินทาง จากไป ฯ
จบสูตรที่ ๓
มหกสูตร
[๕๕๔] สมัยหนึ่ง ภิกษุผู้เถระมากรูปอยู่ที่อัมพาฏกวัน ใกล้ราวป่า มัจฉิกาสณฑ์ ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีได้เข้าไปหาภิกษุผู้เถระทั้งหลาย ไหว้แล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้อาราธนาว่า ข้าแต่ท่านทั้งหลายผู้เจริญ ขอพระเถระทั้งหลายจงรับภัตตาหารที่โรงโคของข้าพเจ้าในวันพรุ่งนี้ ภิกษุผู้เถระ ทั้งหลายได้รับอาราธนาโดยดุษณีภาพ ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีทราบการรับอาราธนา ของภิกษุผู้เถระทั้งหลายแล้ว ลุกจากที่นั่งไหว้ทำประทักษิณแล้วจากไป ฯ [๕๕๕] ครั้งนั้นแล พอล่วงราตรีนั้นไป เป็นเวลาเช้า ภิกษุผู้เถระ ทั้งหลายนุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังโรงโคของจิตตคฤหบดี ได้นั่ง ณ อาสนะที่ได้ตบแต่งไว้ ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดี ได้อังคาสภิกษุผู้เถระทั้งหลาย ให้อิ่มหนำสำราญเพียงพอ ด้วยข้าวปายาสเจือด้วยเนยใสอย่างประณีต ด้วยมือ ของตนเอง ครั้งนั้นแล ภิกษุผู้เถระทั้งหลายฉันเสร็จแล้ว ลดมือจากบาตร ลุก จากอาสนะแล้วจากไป แม้จิตตคฤหบดีได้สั่งทาสกรรมกรว่า พวกท่านจงทิ้งส่วน ที่เหลือเสีย แล้วจึงได้ตามไปส่งภิกษุผู้เถระทั้งหลายข้างหลังๆ ก็โดยสมัยนั้นแล ได้เกิดร้อนจัด ภิกษุผู้เถระทั้งหลายได้เดินไปด้วยกายที่คล้ายกับจะหดเข้าฉะนั้น (จะเปื่อย) ทั้งที่ได้ฉันโภชนะอิ่มแล้ว ฯ [๕๕๖] ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระมหกะเป็นผู้อ่อนกว่าทุกองค์ในภิกษุ สงฆ์หมู่นั้น ครั้งนั้นแล ท่านพระมหกะได้พูดกะพระเถระผู้เป็นประธานว่า ข้าแต่ ท่านผู้เจริญ เป็นการดีทีเดียวที่พึงมีลมเย็นพัดมา และพึงมีแดดอ่อน ทั้งฝนพึง โปรยลงมาทีละเม็ดๆ พระเถระกล่าวว่า ท่านมหกะ เป็นการดีทีเดียวที่พึงมี ลมเย็นพัดมา และพึงมีแดดอ่อน ทั้งฝนพึงโปรยลงมาทีละเม็ดๆ ครั้งนั้นแล ท่านพระมหกะได้บันดาลอิทธาภิสังขารให้มีลมเย็นพัดมา และมีแดดอ่อน ทั้งให้ มีฝนโปรยลงมาทีละเม็ดๆ ฯ [๕๕๗] ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีได้คิดว่า ภิกษุผู้อ่อนกว่าทุกองค์ใน ภิกษุสงฆ์หมู่นี้ เป็นผู้มีฤทธานุภาพเห็นปานนี้ทีเดียว ครั้งนั้นแล ท่านพระมหกะ ไปถึงอารามแล้ว ได้ถามพระเถระผู้เป็นประธานว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ การบันดาล อิทธาภิสังขารเท่านี้เป็นการเพียงพอหรือ พระเถระผู้เป็นประธานได้กล่าวว่า ท่าน มหกะ การบันดาลอิทธาภิสังขารเท่านี้เป็นการเพียงพอ ท่านมหกะ การบันดาล อิทธาภิสังขารเพียงเท่านี้เป็นอันเราทำแล้ว เป็นอันเราบูชาแล้ว ครั้นนั้นแล ภิกษุ ผู้เถระทั้งหลายได้ไปตามที่อยู่ แม้ท่านมหกะก็ได้ไปยังที่อยู่ของตน ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีเข้าไปหาท่านพระมหกะถึงที่อยู่ ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ขอร้องว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอพระคุณเจ้ามหกะจงแสดงอิทธิ ปาฏิหาริย์ที่เป็นอุตริมนุสธรรมแก่ข้าพเจ้าเถิด ท่านพระมหกะพูดว่า ดูกรคฤหบดี ถ้าเช่นนั้น ท่านจงปูผ้าห่มที่ระเบียง แล้วจงเอาฟ่อนหญ้ามาโปรยลงที่ผ้านั้น จิตตคฤหบดีได้รับคำท่านพระมหกะแล้วจึงปูผ้าห่มที่ระเบียง แล้วเอาฟ่อนหญ้ามา โปรยลงที่ผ้านั้น ครั้งนั้นแล ท่านพระมหกะได้เข้าไปสู่วิหารใส่ลูกดานแล้ว ได้บันดาลอิทธาภิสังขารให้เปลวไฟแลบออกมาโดยช่องลูกดานและระหว่างลูกดาน ไหม้หญ้า ไม่ไหม้ผ้าห่ม ครั้งนั้น จิตตคฤหบดีได้สลัดผ้าห่มแล้ว สลดใจ (ตกใจ) ขนลุกชัน ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ลำดับนั้นแล ท่านพระมหกะได้ ออกจากวิหาร (ห้องใน) ได้ถามจิตตคฤหบดีว่า ดูกรคฤหบดี การบันดาลอิทธาภิ สังขารเท่านี้ เป็นการเพียงพอหรือ จิตตคฤหบดีได้กล่าวว่า ท่านมหกะผู้เจริญ การบันดาลอิทธาภิสังขารเท่านี้เป็นการเพียงพอ ท่านมหกะผู้เจริญ การบันดาล อิทธาภิสังขารเพียงเท่านี้ เป็นอันท่านกระทำแล้ว เป็นอันท่านบูชาแล้ว ขอ พระคุณเจ้ามหกะจงชอบใจอัมพาฏกวนารามที่น่ารื่นรมย์ใกล้ราวป่ามัจฉิกาสณฑ์เถิด ข้าพเจ้าจักบำรุงด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานเภสัชบริขาร ท่าน พระมหกะได้กล่าวว่า ดูกรคฤหบดี นั่นท่านกล่าวดีแล้ว ครั้งนั้นแล ท่านพระมหกะ ได้เก็บเสนาสนะ ถือบาตรและจีวรเดินทางออกจากราวป่าชื่อมัจฉิกาสณฑ์ ไม่ได้ กลับมาอีก เหมือนกับภิกษุรูปอื่นๆ ที่เดินทางจากไป ฉะนั้น ฯ
จบสูตรที่ ๔
กามภูสูตรที่ ๑
[๕๕๘] สมัยหนึ่ง ท่านพระกามภูอยู่ที่อัมพาฏกวัน ใกล้ราวป่า มัจฉิกาสณฑ์ ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีได้เข้าไปหาท่านพระกามภูถึงที่อยู่ ไหว้ แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วท่านพระกามภูได้กล่าวกะจิตตคฤหบดีว่า ดูกรคฤหบดี พระผู้มีพระภาคได้ตรัสประพันธ์คาถาไว้ดังนี้ว่า เธอจงดูรถอันไม่มีโทษ มีหลังคาขาว มีเพลาเดียว ไม่มีทุกข์ แล่นไปถึงที่หมาย ตัดกระแสตัณหาขาด ไม่มีกิเลสเครื่อง ผูกพัน ฯ [๕๕๙] ดูกรคฤหบดี ท่านพึงเห็นเนื้อความแห่งคาถาประพันธ์นี้ ที่ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยย่อโดยพิสดารอย่างไรหนอ ฯ จิ. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ คาถาประพันธ์นี้ พระผู้มีพระภาคตรัสหรือ ฯ กา. อย่างนั้น คฤหบดี ฯ จิ. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ถ้าเช่นนั้น ขอท่านโปรดรอคอยอยู่ครู่หนึ่ง จนกว่า กระผมจักเพ่งเนื้อความแห่งคาถาประพันธ์นั้นได้ ฯ ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีนิ่งอยู่ครู่หนึ่ง จึงได้ตอบท่านกามภูว่าข้าแต่ท่าน ผู้เจริญ คำว่า ไม่มีโทษนั้น เป็นชื่อของศีล คำว่า มีหลังคาขาวนั้น เป็น ชื่อของวิมุตติ คำว่า มีเพลาเดียวนั้น เป็นชื่อของสติ คำว่า ย่อมแล่นไป นั้น เป็นชื่อของการก้าวไปและการถอยกลับ คำว่า รถนั้น เป็นชื่อของร่างกายนี้ ซึ่งประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ มีมารดาบิดาเป็นแดนเกิด เจริญขึ้นด้วยข้าวสุกและ ขนมสด มีความไม่เที่ยง ต้องลูบไล้ นวดเฟ้น มีการแตกทำลายและกระจัด กระจายเป็นธรรมดา ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ราคะ โทสะ โมหะ ชื่อว่าทุกข์ ทุกข์ เหล่านั้นอันภิกษุผู้ขีณาสพละได้แล้ว ตัดมูลรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาล ยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา เพราะเหตุนั้น ภิกษุ ผู้ขีณาสพพระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ไม่มีทุกข์ คำว่า แล่นไปถึงที่หมาย นั้น เป็นชื่อของพระอรหันต์ คำว่า กระแสนั้น เป็นชื่อของตัณหา ตัณหานั้น อัน ภิกษุผู้ขีณาสพละได้แล้ว ตัดมูลรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา เพราะเหตุนั้น ภิกษุผู้ขีณาสพ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ตัดกระแสตัณหาขาด ราคะ โทสะ โมหะ ชื่อว่ากิเลส เครื่องผูกพัน กิเลสเครื่องผูกพันเหล่านั้น อันภิกษุผู้ขีณาสพละได้แล้ว ตัดมูล รากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไป เป็นธรรมดา เพราะเหตุนั้น ภิกษุผู้ขีณาสพพระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ผู้ไม่มีกิเลส เครื่องผูกพัน ข้าแต่ท่านผู้เจริญ คาถาประพันธ์ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า เธอจงดูรถอันไม่มีโทษ มีหลังคาขาว มีเพลาเดียว ไม่มี ทุกข์ แล่นไปถึงที่หมาย ตัดกระแสตัณหาขาด ไม่มีกิเลส เครื่องผูกพัน ดังนี้ กระผมย่อมรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งคาถาประพันธ์นี้ ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ โดยย่อได้โดยพิสดารอย่างนี้ ฯ กา. ดูกรคฤหบดี การที่ปัญญาจักษุของท่านหยั่งทราบในพระพุทธพจน์ ที่ลึกซึ้งนี้ ชื่อว่าเป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้ว ฯ
จบสูตรที่ ๕
กามภูสูตรที่ ๒
[๕๖๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระกามภูอยู่ที่อัมพาฏกวัน ใกล้ราวป่ามัจฉิกาสณฑ์ ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีได้เข้าไปหาท่านพระกามภูถึงที่อยู่ ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระกามภูว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ สังขารมี เท่าไรหนอแล ท่านพระกามภูตอบว่า ดูกรคฤหบดี สังขารมี ๓ คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร [๕๖๑] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ชื่นชม อนุโมทนาภาษิตของท่านพระกามภู แล้วได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่าน ผู้เจริญ ก็กายสังขารเป็นไฉน วจีสังขารเป็นไฉน จิตตสังขารเป็นไฉน ฯ กา. ดูกรคฤหบดี ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกแลชื่อว่ากายสังขาร วิตกวิจารชื่อว่าวจีสังขาร สัญญาและเวทนาชื่อว่าจิตตสังขาร ฯ [๕๖๒] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ได้ถามปัญหา ยิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็เพราะเหตุไร ลมหายใจเข้าและลมหายใจออก จึงชื่อว่ากายสังขาร วิตกวิจารจึงชื่อว่าวจีสังขาร สัญญาและเวทนาจึงชื่อว่าจิตต- *สังขาร ฯ กา. ดูกรคฤหบดี ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกเป็นของเกิดที่กาย ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยกาย ฉะนั้น ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกจึงชื่อว่ากาย สังขาร บุคคลย่อมตรึกตรองก่อนแล้ว จึงเปล่งวาจาภายหลัง ฉะนั้น วิตกวิจาร จึงชื่อว่าวจีสังขาร สัญญาและเวทนาเป็นของเกิดที่จิต ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยจิต ฉะนั้น สัญญาและเวทนาจึงชื่อว่าจิตตสังขาร ฯ [๕๖๓] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ได้ถามปัญหา ยิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติเกิดมีได้อย่างไร ฯ กา. ดูกรคฤหบดี ภิกษุเมื่อจะเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ไม่ได้คิด อย่างนี้ว่า เราจักเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง เรากำลังเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง เราเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธแล้วบ้าง โดยที่ถูกก่อนแต่จะเข้า ท่านได้อบรมจิตที่ จะน้อมไปเพื่อความเป็นจิตแท้ (จิตดั้งเดิม) ฯ [๕๖๔] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ได้ถามปัญหา ยิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็เมื่อภิกษุเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ ธรรม เหล่าไหนดับก่อน คือ กายสังขาร วจีสังขาร หรือจิตตสังขารดับก่อน ฯ กา. ดูกรคฤหบดี เมื่อภิกษุเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ วจีสังขารดับก่อน ต่อจากนั้นกายสังขารดับ ต่อจากนั้นจิตตสังขารจึงดับ ฯ [๕๖๕] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ได้ถามปัญหา ยิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ คนที่ตายแล้ว ทำกาละแล้ว กับภิกษุผู้เข้า สัญญาเวทยิตนิโรธ ทั้งสองนี้มีความต่างกันอย่างไร ฯ กา. ดูกรคฤหบดี คนที่ตายแล้ว ทำกาละแล้ว มีกายสังขารดับสงบ มีวจีสังขารดับสงบ มีจิตตสังขารดับสงบ มีอายุสิ้นไป ไออุ่นสงบ อินทรีย์ แตกกระจาย ส่วนภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ กายสังขารดับสงบ วจีสังขาร ดับสงบ จิตตสังขารดับสงบ (แต่) ยังไม่สิ้นอายุ ไออุ่นยังไม่สงบ อินทรีย์ ผ่องใส ดูกรคฤหบดี คนตายแล้ว ทำกาละแล้ว กับภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ มีความต่างกันอย่างนี้ ฯ [๕๖๖] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้วได้ ถามปัญหา ยิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็การออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ย่อมมี อย่างไร ฯ กา. ดูกรคฤหบดี ภิกษุเมื่อจะออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ไม่ได้ คิดอย่างนี้ว่า เราจักออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติบ้าง เรากำลังออกจาก สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติบ้าง เราออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติแล้วบ้าง โดยที่แท้ ก่อนแต่จะออก ท่านได้อบรมจิตที่น้อมเข้าไปเพื่อความเป็นจิตแท้ ฯ [๕๖๗] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ได้ถามปัญหา ยิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็เมื่อภิกษุออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ธรรมเหล่าไหนเกิดก่อน คือกายสังขาร วจีสังขาร หรือจิตตสังขารเกิดก่อน ฯ กา. ดูกรคฤหบดี เมื่อภิกษุออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ จิตตสังขาร เกิดก่อน ต่อจากนั้นกายสังขารจึงเกิด ต่อจากนั้นวจีสังขารจึงเกิด ฯ [๕๖๘] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ได้ถามปัญหา ยิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็ผัสสะเท่าไร ย่อมถูกต้องภิกษุผู้ออกจากสัญญา เวทยิตนิโรธสมาบัติ ฯ กา. ดูกรคฤหบดี ผัสสะ ๓ อย่าง คือ ๑ สุญญผัสสะ อนิมิตตผัสสะ อัปปณิหิตผัสสะ ย่อมถูกต้องภิกษุผู้ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ฯ [๕๖๙] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ได้ถาม ปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็จิตของภิกษุผู้ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธ สมาบัติ ย่อมเป็นธรรมชาติน้อมไปสู่อะไร โน้มไปสู่อะไร เงื้อมไปสู่อะไร ฯ กา. ดูกรคฤหบดี จิตของภิกษุผู้ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ย่อมเป็นธรรมชาติน้อมไปสู่วิเวก โน้มไปสู่วิเวก เงื้อมไปสู่วิเวก ฯ [๕๗๐] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ชื่นชม อนุโมทนาภาษิตของท่านพระกามภูแล้ว ได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่าน ผู้เจริญ ก็ธรรมเท่าไร ย่อมมีอุปการะมากแก่สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ฯ กา. ดูกรคฤหบดี ท่านถามปัญหาที่ควรจะถามก่อนล่าช้าไปหน่อย แต่ว่า อาตมาจักพยากรณ์ปัญหาแก่ท่าน ดูกรคฤหบดี ธรรม ๒ อย่าง คือ สมถะ ๑ วิปัสสนา ๑ ย่อมมีอุปการะมากแก่สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ฯ
จบสูตรที่ ๖
โคทัตตสูตร
[๕๗๑] สมัยหนึ่ง ท่านพระโคทัตตะอยู่ที่อัมพาฏกวัน ใกล้ราวป่ามัจฉิ กาสณฑ์ ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีได้เข้าไปหาท่านพระโคทัตตะถึงที่อยู่ ไหว้แล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วท่านพระโคทัตตะได้ถามจิตตคฤหบดีว่า ดูกร คฤหบดี ธรรมเหล่านี้ คือ อัปปมาณาเจโตวิมุติ อากิญจัญญาเจโตวิมุติ สูญญตาเจโตวิมุติ และอนิมิตตาเจโตวิมุติ มีอรรถต่างกัน มีพยัญชนะต่างกัน หรือว่ามีอรรถเหมือนกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น จิตตคฤหบดีตอบว่า ข้าแต่ ท่านผู้เจริญ ปริยายที่เป็นเหตุให้ธรรมเหล่านี้อาศัยแล้ว เป็นธรรมมีอรรถต่างกัน มีพยัญชนะต่างกัน มีอยู่ และปริยายที่เป็นเหตุให้ธรรมเหล่านี้อาศัยแล้ว เป็น ธรรมมีอรรถเหมือนกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น มีอยู่ ฯ [๕๗๒] ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็ปริยายที่เป็นเหตุให้ธรรมเหล่านี้อาศัยแล้ว เป็นธรรมมีอรรถต่างกัน และมีพยัญชนะต่างกันเป็นไฉน ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ภิกษุ ในพระธรรมวินัยนี้ มีจิตประกอบด้วยเมตตาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ทิศ ที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน โดยนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจอันประกอบด้วยเมตตาอัน ไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ มีใจประกอบด้วยกรุณา...ประกอบด้วยมุทิตา...ประกอบด้วยอุเบกขาแผ่ไปตลอดทิศ หนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน โดยนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจ อันประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ นี้เรียกว่า อัปปมาณาเจโตวิมุติ ฯ [๕๗๓] ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็อากิญจัญญาเจโตวิมุติเป็นไฉน ข้าแต่ท่าน ผู้เจริญ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง แล้ว เข้าอากิญจัญญายตนฌานด้วยมนสิการว่า อะไรๆ หน่อยหนึ่งไม่มีดังนี้อยู่ นี้เรียกว่า อากิญจัญญาเจโตวิมุติ ฯ [๕๗๔] ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็สูญญตาเจโตวิมุติเป็นไฉน ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ตาม อยู่โคนต้นไม้ก็ตาม อยู่ในเรือนว่างเปล่า ก็ตาม ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า นี้ว่างเปล่าจากตนหรือจากสิ่งที่เนื่องในตน นี้ เรียกว่า สูญญตาเจโตวิมุติ ฯ [๕๗๕] ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็อนิมิตตาเจโตวิมุติเป็นไฉน ข้าแต่ท่าน ผู้เจริญ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเข้าถึงอนิมิตตาเจโตสมาธิเพราะไม่มนสิการถึง นิมิตทั้งปวงอยู่ นี้เรียกว่าอนิมิตตาเจโตวิมุติ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ นี้คือปริยายที่เป็น เหตุให้ธรรมเหล่านี้อาศัยแล้ว มีอรรถต่างกันและมีพยัญชนะต่างกัน ฯ [๕๗๖] ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็ปริยายที่เป็นเหตุให้ธรรมเหล่านี้อาศัยแล้ว มีอรรถเป็นอันเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้นเป็นไฉน ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ราคะ โทสะ โมหะ ชื่อว่ากิเลสกระทำประมาณ กิเลสเหล่านั้นอันภิกษุผู้ขีณาสพ ละได้แล้ว ตัดมูลรากขาดแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้น อีกต่อไปเป็นธรรมดา อัปปมาณาเจโตวิมุติมีประมาณเท่าใด เจโตวิมุติอันไม่กำเริบ บัณฑิตกล่าวว่าเป็นเลิศกว่าอัปปมาณาเจโตวิมุติเหล่านั้น ก็เจโตวิมุติอันไม่กำเริบ นั้นว่างเปล่าจากราคะ โทสะ โมหะ ราคะ โทสะ โมหะ ชื่อว่าเป็นกิเลสเครื่อง กังวล กิเลสเหล่านั้นอันภิกษุผู้ขีณาสพ ละได้แล้ว ตัดมูลรากขาดแล้ว ทำให้เป็น เหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา อากิญจัญญา- *เจโตวิมุติมีประมาณเท่าใด เจโตวิมุติอันไม่กำเริบบัณฑิตกล่าวว่า เป็นเลิศกว่า อากิญจัญญาเจโตวิมุติเหล่านั้น ก็เจโตวิมุติอันไม่กำเริบนั้นว่างเปล่าจากราคะ โทสะ โมหะ ราคะ โทสะ โมหะ ชื่อว่าเป็นกิเลสเครื่องกระทำนิมิต (เครื่อง หมาย) กิเลสเหล่านั้นอันภิกษุผู้ขีณาสพ ละได้แล้ว ตัดมูลรากขาดแล้ว ทำให้เป็น เหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา อนิมิตตาเจโต วิมุติมีประมาณเท่าใด เจโตวิมุติอันไม่กำเริบบัณฑิตกล่าวว่า เป็นเลิศกว่าอนิมิตตา เจโตวิมุติเหล่านั้น ก็เจโตวิมุติอันไม่กำเริบนั้นว่างเปล่าจากราคะ โทสะ โมหะ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ปริยายนี้เป็นเหตุให้ธรรมเหล่านี้อาศัยแล้ว มีอรรถเป็นอันเดียว กัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น ท่านพระโคทัตตะกล่าวว่า ดูกรคฤหบดี การที่ ปัญญาจักษุของท่านหยั่งทราบในพระพุทธพจน์ที่ลึกซึ้ง ชื่อว่าเป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้ว ฯ
จบสูตรที่ ๗
นิคัณฐสูตร
[๕๗๗] ก็สมัยนั้นแล นิครณฐ์นาฏบุตรได้ไปถึงราวป่าชื่อว่ามัจฉิกาสณฑ์ พร้อมด้วยนิครณฐ์บริษัทเป็นอันมาก จิตตคฤหบดีได้สดับข่าวว่า นิครณฐ์นาฏบุตร ได้มาถึงราวป่าชื่อว่ามัจฉิกาสณฑ์พร้อมด้วยนิครณฐ์บริษัทเป็นอันมาก ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีพร้อมด้วยอุบาสกหลายคนเข้าไปหานิครณฐ์นาฏบุตรแล้ว ได้ปราศรัย กับนิครณฐ์นาฏบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงได้นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วนิครณฐ์นาฏบุตรได้ถามจิตตคฤหบดีว่า ดูกรคฤหบดี ท่านย่อมเชื่อต่อพระสมณโคดมว่า สมาธิที่ไม่มีวิตกวิจารมีอยู่ ความดับวิตกวิจารมี อยู่หรือ จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าไม่ได้เชื่อต่อพระผู้มีพระภาค ในข้อนี้ว่า สมาธิอันไม่มีวิตกวิจารมีอยู่ ความดับแห่งวิตกวิจารมีอยู่ ฯ [๕๗๘] เมื่อจิตตคฤหบดีกล่าวอย่างนี้แล้ว นิครณฐ์นาฏบุตรแลดูบริษัท ของตนแล้วจึงประกาศว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลายจงดูเรื่องนี้ จิตตคฤหบดีนี้เป็นคนตรง ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยาจริงเพียงใด จิตตคฤหบดีผู้เข้าใจว่า พึงมีการดับวิตกวิจาร นั้น ก็เท่ากับว่าเข้าใจว่า พึงกั้นกางลมได้ด้วยข่าย หรือจิตตคฤหบดีผู้เข้าใจว่า พึงมีการดับวิตกวิจารนั้น ก็เท่ากับว่าเข้าใจว่า พึงกั้นกางกระแสน้ำคงคาได้ด้วย ฝ่ามือของตน จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ท่านย่อมเข้าใจเป็นไฉน คือ ญาณกับศรัทธาอะไรประณีตกว่ากัน ฯ นิครณฐ์. ดูกรคฤหบดี ญาณนั่นแหละประณีตกว่าศรัทธา ฯ จิตต. ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าย่อมจำนงหวังได้ทีเดียวว่า เราสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌานอันมีวิตกวิจารมีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ ข้าพเจ้าย่อมจำนงหวังได้ทีเดียวว่า เราเข้าทุติยฌาน ฯลฯ เพราะวิตกวิจารสงบไป ข้าพเจ้าย่อมจำนงหวังได้ทีเดียวว่า เพราะปีติสิ้นไป ฯลฯ เข้าตติยฌาน ข้าพเจ้าย่อม จำนงหวังได้ทีเดียวว่า เราเข้าจตุตถฌาน ฯลฯ เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้ารู้เห็นอยู่อย่างนี้ จักไม่เชื่อสมณะหรือ พราหมณ์ใดๆ ว่าสมาธิอันไม่มีวิตกวิจารมีอยู่ ความดับแห่งวิตกวิจารมีอยู่ ฯ [๕๗๙] เมื่อจิตตคฤหบดีกล่าวอย่างนี้แล้ว นิครณฐ์นาฏบุตรได้แลดู บริษัทของตนแล้วจึงประกาศว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลายจงดูเรื่องนี้ จิตตคฤหบดีนี้ เป็นคนไม่ตรง โอ้อวด มีมารยาจริงเพียงใด จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ก็ข้าพเจ้าทราบคำที่ท่านพูดเมื่อสักครู่นี้แหละว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลายจงดูเรื่องนี้ จิตตคฤหบดีนี้เป็นคนตรง ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยาจริงเพียงใด และทราบคำที่ท่าน พูดเดี๋ยวนี้ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลายจงดูเรื่องนี้ จิตตคฤหบดีนี้เป็นคนไม่ตรง โอ้อวด มีมารยาจริงเพียงใด ถ้าคำพูดครั้งก่อนของท่านเป็นจริง คำพูดครั้งหลังของท่าน ก็ผิด ถ้าคำพูดครั้งหลังของท่านเป็นจริง คำพูดครั้งก่อนของท่านก็ผิด ก็ปัญหาที่มี เหตุผล ๑๐ ข้อนี้ย่อมมาถึงแก่ท่าน เมื่อท่านเข้าใจเนื้อความแห่งปัญหาเหล่านั้น ก็เชิญบอกกับนิครณฐ์บริษัท ปัญหา ๑๐ ข้อนี้ คือ ปัญหา ๑ อุเทศ ๑ ไวยากรณ์ ๑ ปัญหา ๒ อุเทศ ๒ ไวยากรณ์ ๒ ปัญหา ๓ อุเทศ ๓ ไวยากรณ์ ๓ ปัญหา ๔ อุเทศ ๔ ไวยากรณ์ ๔ ปัญหา ๕ อุเทศ ๕ ไวยากรณ์ ๕ ปัญหา ๖ อุเทศ ๖ ไวยากรณ์ ๖ ปัญหา ๗ อุเทศ ๗ ไวยากรณ์ ๗ ปัญหา ๘ อุเทศ ๘ ไวยากรณ์ ๘ ปัญหา ๙ อุเทศ ๙ ไวยากรณ์ ๙ ปัญหา ๑๐ อุเทศ ๑๐ ไวยากรณ์ ๑๐ ครั้น- *จิตตคฤหบดีได้ถามปัญหาที่มีเหตุผล ๑๐ ข้อนี้กะนิครณฐ์นาฏบุตรเสร็จแล้ว ลุกจาก- *อาสนะหลีกไป ฯ
จบสูตรที่ ๘
อเจลสูตร
[๕๘๐] ก็สมัยนั้นแล อเจลกัสสปได้เคยเป็นสหายของจิตตคฤหบดี เมื่อครั้งยังเป็นคฤหัสถ์ ได้ไปถึงราวป่ามัจฉิกาสณฑ์ จิตตคฤหบดีได้สดับข่าวว่า อเจลกัสสปผู้เคยเป็นสหายของเราเมื่อครั้งยังเป็นคฤหัสถ์ ได้มาถึงราวป่าชื่อมัจฉิ- *กาสณฑ์ ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีได้เข้าไปหาอเจลกัสสปแล้ว ได้ปราศรัยกับ อเจลกัสสป ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามอเจลกัสสปว่า ท่านกัสสปผู้เจริญ ท่านบวชมานาน เท่าไร อเจลกัสสปตอบว่า ดูกรคฤหบดี เราบวชมาได้ประมาณ ๓๐ ปี ฯ จิตต. ท่านผู้เจริญ ก็ตลอดเวลา ๓๐ ปีมานี้ อุตตริมนุสสธรรมอะไรๆ ที่เป็นญาณทัสสนะวิเศษชั้นเยี่ยมอย่างบริบูรณ์ อันท่านบรรลุแล้ว เป็นธรรมเครื่อง อยู่ผาสุก มีอยู่หรือ ฯ อ. ดูกรคฤหบดี ตลอดเวลา ๓๐ ปีมานี้ อุตตริมนุสสธรรมอะไรๆ ที่ เป็นญาณทัสสนะวิเศษชั้นเยี่ยมอย่างบริบูรณ์ อันเราบรรลุแล้ว เป็นธรรมเครื่อง อยู่ผาสุก ไม่มี นอกจากการประพฤติเปลือย การเป็นคนโล้น และการสลัด ฝุ่น ฯ [๕๘๑] เมื่ออเจลกัสสปกล่าวอย่างนี้ จิตตคฤหบดีได้กล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ความเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยมีมาแล้วหนอ เพราะในอเจลบรรพชาตลอดเวลา ๓๐ ปี อุตตริมนุสธรรมอะไรๆ ที่เป็นญาณ- *ทัสสนะวิเศษชั้นเยี่ยมอย่างบริบูรณ์ เป็นธรรมอันท่านบรรลุแล้ว เป็นธรรมเครื่อง อยู่ผาสุก ไม่มี นอกจากการประพฤติเปลือย การเป็นคนโล้น และการสลัด ฝุ่น ฯ อ. ดูกรคฤหบดี ก็ท่านได้เข้าถึงความเป็นอุบาสกมาแล้วนานเท่าไร ฯ จิตต. ท่านผู้เจริญ สำหรับข้าพเจ้าได้เข้าถึงความเป็นอุบาสกมาแล้ว ๓๐ ปี ฯ อ. ดูกรคฤหบดี ก็ตลอดเวลา ๓๐ ปีมานี้ อุตตริมนุสสธรรมอะไรๆ ที่เป็นญาณทัสสนะวิเศษชั้นเยี่ยมอย่างบริบูรณ์ อันท่านบรรลุแล้ว เป็นธรรม เครื่องอยู่ผาสุก มีอยู่หรือ ฯ จิตต. ท่านผู้เจริญ แม้คฤหัสถ์ก็พึงมีธรรมเช่นนั้นได้ เพราะข้าพเจ้า ย่อมจำนงหวังได้ทีเดียวว่า เราสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ ข้าพเจ้าย่อมจำนงหวังได้ทีเดียวว่า เราเข้าทุติยฌาน ... ข้าพเจ้าย่อมจำนงหวังได้ทีเดียวว่า มีอุเบกขา มีสติสัมป- *ชัญญะ และเสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติสิ้นไป เข้าตติยฌาน ... ข้าพเจ้าย่อม จำนงหวังได้ทีเดียวว่า เราเข้าจตุตถฌาน ... ก็แหละข้าพเจ้าพึงพยากรณ์ก่อนพระ ผู้มีพระภาคไซร้ ก็จะไม่เป็นการน่าอัศจรรย์ สำหรับข้อที่พระผู้มีพระภาคจะพึง ทรงพยากรณ์ ข้าพเจ้าว่า ไม่มีสังโยชน์ที่จิตตคฤหบดีประกอบแล้ว (มีแล้ว) จะพึงเป็นเหตุให้กลับมาสู่โลกนี้อีก ฯ [๕๘๒] เมื่อจิตตคฤหบดีกล่าวอย่างนี้ อเจลกัสสปได้กล่าวว่า ท่านผู้- *เจริญ ความเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยมีมา แล้วหนอ เพราะในพระธรรมวินัย มีคฤหัสถ์ผู้นุ่งห่มขาว จักบรรลุอุตตริมนุสส- *ธรรมที่เป็นญาณทัสสนะวิเศษชั้นเยี่ยมอย่างบริบูรณ์ เป็นเครื่องอยู่ผาสุกเช่นนั้น ดูกรคฤหบดี ข้าพเจ้าพึงได้บรรพชาอุปสมบทในพระธรรมวินัยนี้ ฯ ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีได้พาเอาอเจลกัสสปเข้าไปหาภิกษุผู้เถระถึงที่อยู่ แล้วกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย อเจลกัสสปผู้นี้เคยเป็นสหายของข้าพเจ้า เมื่อครั้งยังเป็นคฤหัสถ์ ขอพระเถระทั้งหลายจงให้อเจลกัสสปผู้นี้บรรพชาอุปสม- *บทเถิด ข้าพเจ้าจักบำรุงเธอด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัช บริขาร อเจลกัสสปได้บรรพชาอุปสมบทในพระธรรมวินัยแล้ว ท่านพระกัสสป อุปสมบทแล้วไม่นาน หลีกออกจากหมู่ อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจแน่วแน่ กระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลาย ออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึง อยู่ รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้วกิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่น เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ก็แลท่านพระกัสสปได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งใน จำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย ฯ
จบสูตรที่ ๙
คิลานสูตร
[๕๘๓] ก็สมัยนั้นแล จิตตคฤหบดีป่วย เป็นทุกข์ มีไข้หนัก ครั้งนั้น แล อารามเทวดา วนเทวดา รุกขเทวดา (และ) เทวดาที่สิงสถิตอยู่ที่ต้นไม้ เป็นยา หญ้าและพญาไม้ มาร่วมประชุมกันแล้วกล่าวกับจิตตคฤหบดีว่า ดูกร- *คฤหบดี ท่านจงปรารถนาว่า ขอให้เราเป็นพระเจ้าจักรพรรดิราชในอนาคตเถิด เมื่อพวกเทวดากล่าวอย่างนี้แล้ว จิตตคฤหบดีจึงได้กล่าวกะเทวดาเหล่านั้นว่า แม้ การเป็นเช่นนั้นก็เป็นของไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน จำจะต้องละไป ฯ [๕๘๔] เมื่อจิตตคฤหบดีกล่าวอย่างนี้แล้ว พวกมิตรสหายญาติสาโลหิต ของจิตตคฤหบดีได้กล่าวกะจิตตคฤหบดีว่า ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุตรนาย ท่านจงตั้ง สติไว้ อย่าเพ้อไป ฯ จิตต. ฉันได้พูดอะไรออกไปบ้างหรือ ที่เป็นเหตุให้พวกท่านทั้งหลาย กล่าวกะฉันอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุตรนาย ท่านจงตั้งสติไว้ อย่าเพ้อไป ฯ มิตร. ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุตรนาย ท่านได้พูดอย่างนี้ว่า แม้การเป็นเช่นนั้น ก็เป็นของไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน จำจะต้องละไป ฯ จิตต. จริงอย่างนั้น อารามเทวดา วนเทวดา รุกขเทวดา (และ) เทวดา ที่สิงสถิตอยู่ที่ต้นไม้เป็นยา หญ้าและพญาไม้ได้กล่าวกะเราอย่างนี้ว่า ดูกรคฤหบดี ท่านจงตั้งปรารถนาว่า ขอให้เราได้เป็นพระเจ้าจักรวรรดิราชในอนาคตกาล ฉันจึง ได้กล่าวกะเทวดาเหล่านั้นว่า แม้การเป็นเช่นนั้นก็เป็นของไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน จำจะ ต้องละไป ฯ มิตร. ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุตรนาย ก็อารามเทวดา วนเทวดา รุกขเทวดา (และ) เทวดาที่สิงสถิตอยู่ที่ต้นไม้เป็นยา หญ้าและพญาไม้เหล่านั้น เห็น อำนาจประโยชน์อะไร จึงได้กล่าวว่า ดูกรคฤหบดี ท่านจงปรารถนาว่า ขอให้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราชในอนาคตเถิด ฯ จิตต. อารามเทวดา วนเทวดา รุกขเทวดา (และ) เทวดาที่สิงสถิต อยู่ที่ต้นไม้เป็นยา หญ้าและพญาไม้เหล่านั้น มีความคิดอย่างนี้ว่า จิตตคฤหบดี ผู้นี้เป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม ถ้าเธอจักปรารถนาว่า ขอให้เราได้เป็นพระเจ้า- *จักรพรรดิราชในอนาคตไซร้ การปรารถนาด้วยใจของเธอผู้มีศีลนี้จักสำเร็จได้ เพราะศีลบริสุทธิ์ ผู้ประกอบด้วยธรรมย่อมเพิ่มกำลังให้ผู้ที่ประกอบด้วยธรรม อารามเทวดา วนเทวดา รุกขเทวดา (และ) เทวดาที่สิงสถิตอยู่ที่ต้นไม้เป็นยา หญ้าและพญาไม้เหล่านั้น เห็นอำนาจประโยชน์ดังกล่าวมานี้ จึงได้กล่าวว่า ดูกรคฤหบดี ท่านจงปรารถนาว่า ขอให้เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราชในอนาคต เถิด ฉันจึงได้กล่าวกะเทวดาเหล่านั้นว่า แม้การเป็นเช่นนั้นก็เป็นของไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน จำจะต้องละไป ฯ มิตร. ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุตรนาย ถ้าเช่นนั้น ขอท่านจงกล่าวสอนพวก ข้าพเจ้าบ้าง ฯ [๕๘๕] จิตต. ฉะนั้น พวกท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า พวกเราจักประกอบ ด้วยศรัทธาอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาค พระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็น ศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม พวกเราจักประกอบด้วยศรัทธาอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า พระธรรมอันพระ- *ผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว อันผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียก ให้มาดู ควรน้อมเข้ามา อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตน พวกเราจักประกอบด้วย ศรัทธาอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ ปฏิบัติดีแล้ว ปฏิบัติตรง ปฏิบัติเป็นธรรม ปฏิบัติชอบ นี่คือคู่แห่งบุรุษ ๔ ได้แก่บุรุษบุคคล ๘ นี้คือพระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรกระทำอัญชลี เป็นนาบุญ ของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งไปกว่า อนึ่ง ไทยธรรมทุกชนิดในตระกูล จักเป็น ของควรแบ่งกับท่านผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม พวกท่านพึงศึกษาอย่างนี้แล ครั้งนั้น แล จิตตคฤหบดี ครั้นแนะนำมิตรสหายญาติสาโลหิตให้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ และจาคะแล้ว ได้กระทำกาละ (ตาย) ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
จบจิตตคหปติปุจฉา ฯ
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สังโยชนสูตร ๒. อิสิทัตตสูตรที่ ๑ ๓. อิสิทัตตสูตรที่ ๒ ๔. มหกสูตร ๕. กามภูสูตรที่ ๑ ๖. กามภูสูตรที่ ๒ ๗. โคทัตตสูตร ๘. นิคัณฐสูตร ๙. อเจลสูตร ๑๐. คิลานสูตร ฯ
-----------------------------------------------------
คามณิสังยุตต์
จัณฑสูตร
[๕๘๖] ครั้งนั้นแล นายจัณฑคามณีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้บุคคลบางคนในโลก นี้ ถึงความนับว่า เป็นคนดุ เป็นคนดุ ก็อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้ บุคคลบางคนในโลกนี้ถึงความนับว่า เป็นคนสงบเสงี่ยม เป็นคนสงบเสงี่ยม พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรนายคามณี คนบางคนในโลกนี้ยังละราคะไม่ได้ เพราะเป็นผู้ยังละราคะไม่ได้ คนอื่นจึงยั่วให้โกรธ คนที่ยังละราคะไม่ได้คนอื่นยั่ว ให้โกรธ ย่อมแสดงความโกรธให้ปรากฏ ผู้นั้นจึงนับได้ว่าเป็นคนดุ คนบางคน ในโลกนี้ยังละโทสะไม่ได้ เพราะเป็นผู้ยังละโทสะไม่ได้ คนอื่นจึงยั่วให้โกรธ คนที่ยังละโทสะไม่ได้คนอื่นยั่วให้โกรธ ย่อมแสดงความโกรธให้ปรากฏ ผู้นั้นจึง นับได้ว่าเป็นคนดุ คนบางคนในโลกนี้ยังละโมหะไม่ได้ เพราะเป็นผู้ยังละโมหะ ไม่ได้ คนอื่นจึงยั่วให้โกรธ คนที่ยังละโมหะไม่ได้อันคนอื่นยั่วให้โกรธ ย่อม แสดงความโกรธให้ปรากฏ ผู้นั้นจึงนับได้ว่าเป็นคนดุ ดูกรนายคามณี นี้เป็นเหตุ เป็นปัจจัยเครื่องให้คนบางคนในโลกนี้ถึงความนับว่าเป็นคนดุ เป็นคนดุ ฯ [๕๘๗] ดูกรนายคามณี อนึ่ง คนบางคนในโลกนี้ละราคะได้แล้ว เพราะ เป็นผู้ละราคะได้ คนอื่นจึงยั่วไม่โกรธ คนที่ละราคะได้แล้วอันคนอื่นยั่วให้โกรธ ก็ไม่แสดงความโกรธให้ปรากฏ ผู้นั้นจึงนับได้ว่า เป็นคนสงบเสงี่ยม คนบางคน ในโลกนี้ละโทสะได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละโทสะได้ คนอื่นจึงยั่วไม่โกรธ คนที่ละ โทสะได้แล้วอันคนอื่นยั่วให้โกรธ ก็ไม่แสดงความโกรธให้ปรากฏ ผู้นั้นจึงนับได้ ว่า เป็นคนสงบเสงี่ยม คนบางคนในโลกนี้ละโมหะได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละ โมหะได้ คนอื่นจึงยั่วไม่โกรธ คนที่ละโมหะได้แล้วอันคนอื่นยั่วให้โกรธ ก็ไม่ แสดงความโกรธให้ปรากฏ ผู้นั้นจึงนับได้ว่า เป็นคนสงบเสงี่ยม ดูกรนายคามณี นี้ เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้คนบางคนในโลกนี้ถึงความนับว่า เป็นคนสงบเสงี่ยม เป็นคนสงบเสงี่ยม ฯ [๕๘๘] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว นายจัณฑคามณีได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของพระองค์แจ่มแจ้ง ยิ่งนัก พระธรรมเทศนาของพระองค์แจ่มแจ้งยิ่งนัก พระผู้มีพระภาคทรงประกาศ- *ธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกหนทาง ให้แก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยหวังว่า คนมีจักษุจักเห็นรูป ฉะนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค กับทั้งพระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็น อุบาสก ผู้ถึงสรณะจนตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ
จบสูตรที่ ๑
ตาลปุตตสูตร
[๕๘๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ครั้งนั้นแล พ่อบ้านนักเต้นรำนามว่า ตาลบุตร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ข้าพระองค์เคยได้ยินคำของนักเต้นรำ ผู้เป็นอาจารย์และปาจารย์ก่อนๆ กล่าวว่า นักเต้นรำคนใดทำให้คนหัวเราะ รื่นเริง ด้วยคำจริงบ้าง คำเท็จบ้าง ในท่ามกลางสถานเต้นรำ ในท่ามกลางสถานมหรสพ ผู้นั้นเมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาผู้ร่าเริง ในข้อนี้พระผู้มีพระภาคตรัสอย่างไร พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อย่าเลยนายคามณี ขอพักข้อนี้เสียเถิด ท่านอย่าถามข้อนี้ กะเราเลย ฯ [๕๙๐] แม้ครั้งที่ ๒ ... แม้ครั้งที่ ๓ พ่อบ้านนักเต้นรำนามว่าตาลบุตร ก็ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เคยได้ยินคำของ นักเต้นรำ ผู้เป็นอาจารย์และปาจารย์ก่อนๆ กล่าวว่า นักเต้นรำคนใดทำให้คน หัวเราะ รื่นเริง ด้วยคำจริงบ้าง คำเท็จบ้าง ในท่ามกลางสถานเต้นรำ ในท่าม กลางสถานมหรสพ ผู้นั้นเมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของ เทวดาผู้ร่าเริง ในข้อนี้พระผู้มีพระภาคตรัสอย่างไร ฯ [๕๙๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรนายคามณี เราห้ามท่านไม่ได้แล้ว ว่า อย่าเลยนายคามณี ขอพักข้อนี้เสียเถิด ท่านอย่าถามข้อนี้กะเราเลย แต่เรา จักพยากรณ์ให้ท่าน ดูกรนายคามณี เมื่อก่อนสัตว์ทั้งหลายยังไม่ปราศจากราคะ อันกิเลสเครื่องผูกคือราคะผูกไว้ นักเต้นรำรวบรวมเข้าไว้ซึ่งธรรมอันเป็นที่ตั้ง แห่งความกำหนัด ในท่ามกลางสถานเต้นรำ ในท่ามกลางสถานมหรสพ แก่สัตว์ เหล่านั้นมากยิ่งขึ้น เมื่อก่อนสัตว์ทั้งหลายยังไม่ปราศจากโทสะ อันกิเลสเครื่องผูก คือโทสะผูกไว้ นักเต้นรำรวบรวมเข้าไว้ซึ่งธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ ในท่ามกลาง สถานเต้นรำ ในท่ามกลางสถานมหรสพ แก่สัตว์เหล่านั้นมากยิ่งขึ้น เมื่อก่อน สัตว์ทั้งหลายยังไม่ปราศจากโมหะ อันกิเลสเครื่องผูกคือโมหะผูกไว้ นักเต้นรำ ย่อมรวบรวมไว้ซึ่งธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโมหะ ในท่ามกลางสถานเต้นรำ ในท่าม- *กลางสถานมหรสพ แก่สัตว์เหล่านั้นมากยิ่งขึ้น นักเต้นรำนั้น ตนเองก็มัวเมา ประมาท ตั้งอยู่ในความประมาท เมื่อแตกกายตายไป ย่อมบังเกิดในนรกชื่อปหาสะ อนึ่ง ถ้าเขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นักเต้นรำคนใดทำให้คนหัวเราะ รื่นเริง ด้วยคำจริงบ้าง คำเท็จบ้าง ในท่ามกลางสถานเต้นรำ ในท่ามกลางสถานมหรสพ ผู้นั้นเมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชื่อปหาสะ ความ เห็นของเขานั้นเป็นความเห็นผิด ดูกรนายคามณี ก็เราย่อมกล่าวคติสองอย่าง คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน อย่างใดอย่างหนึ่ง ของบุคคลผู้มีความเห็น ผิด ฯ [๕๙๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พ่อบ้านนักเต้นรำนามว่า ตาลบุตรร้องไห้สะอื้น น้ำตาไหล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรนายคามณี เราได้ ห้ามท่านแล้วมิใช่หรือว่า อย่าเลย นายคามณี ขอพักข้อนี้เสียเถิด อย่าถามข้อนี้ กะเราเลย ฯ คามณี. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่ได้ร้องไห้ถึงข้อที่พระผู้มี- *พระภาคตรัสอย่างนี้กะข้าพระองค์หรอก แต่ว่าข้าพระองค์ถูกนักเต้นรำผู้เป็นอาจารย์ และปาจารย์ก่อนๆ ล่อลวงให้หลงสิ้นกาลนานว่า นักเต้นรำคนใดทำให้คนหัวเราะ รื่นเริง ด้วยคำจริงบ้าง คำเท็จบ้าง ในท่ามกลางสถานเต้นรำ ในท่ามกลางสถาน มหรสพ ผู้นั้นเมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาชื่อปหาสะ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของพระองค์แจ่มแจ้งยิ่งนัก ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของพระองค์แจ่มแจ้งยิ่งนัก พระผู้มีพระภาคทรงประกาศ ธรรมโดยอเนกปริยาย ดุจหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยหวังว่า คนมีจักษุจักเห็นรูป ฉะนั้น ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาคกับทั้งพระธรรมและภิกษุสงฆ์ว่าเป็น สรณะ ข้าพระองค์พึงได้บรรพชาอุปสมบท ในสำนักของพระผู้มีพระภาคนาย นฏคามณีนามว่าตาลบุตรได้บรรพชา ได้อุปสมบทในสำนักพระผู้มีพระภาคแล้ว ท่านพระตาลบุตรอุปสมบทไม่นาน หลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความ เพียร มีใจแน่วแน่ ฯลฯ ก็แลท่านพระตาลบุตรเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ใน จำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย ฯ
จบสูตรที่ ๒
โยธาชีวสูตร
[๕๙๓] ครั้งนั้นแล นายบ้านนักรบอาชีพเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้า- *พระองค์ได้สดับคำของนักรบอาชีพทั้งอาจารย์และปาจารย์ก่อนๆ กล่าวกันอย่างนี้ ว่า นักรบอาชีพคนใดอุตสาหะพยายามในสงคราม คนอื่นฆ่าผู้นั้นซึ่งกำลังอุตสาหะ พยายามให้ถึงความตาย ผู้นั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดา เหล่าสรชิต ในข้อนี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่าอย่างไร พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อย่าเลย นายบ้าน ขอพักข้อนี้เสียเถิด อย่าถามข้อนี้กะเราเลย แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ แม้ ครั้งที่ ๓ นายบ้านนักรบอาชีพได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับคำของนักรบอาชีพทั้งอาจารย์และปาจารย์ก่อนๆ กล่าวกัน อย่างนี้ว่า นักรบอาชีพคนใดอุตสาหะพยายามในสงคราม คนอื่นฆ่าผู้นั้นซึ่งกำลัง อุตสาหะพยายามให้ถึงความตาย ผู้นั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของ เทวดาเหล่าสรชิต ในข้อนี้พระผู้มีพระภาคจะตรัสว่ากระไร พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรนายบ้าน เราห้ามท่านไม่ได้แล้วว่า อย่าเลยนายบ้าน ของดข้อนี้เสียเถิด อย่าถามเราถึงข้อนี้เลย แต่เราจักพยากรณ์ให้ท่าน ดูกรนายบ้าน นักรบอาชีพ คนใดอุตสาหะพยายามในสงคราม ผู้นั้นยึดหน่วงจิตกระทำไว้ไม่ดี ตั้งจิตไว้ไม่ดี ก่อนว่า สัตว์เหล่านี้จงถูกฆ่า จงถูกแทง จงขาดสูญ จงพินาศ หรือว่าอย่าได้มี คนอื่นฆ่าผู้นั้นซึ่งกำลังอุตสาหะพยายามให้ถึงความตาย ผู้นั้นเมื่อตายไป ย่อมเกิด ในนรกชื่อสรชิต ก็ถ้าเขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นักรบอาชีพคนใดอุตสาหะพยายาม ในสงคราม คนอื่นฆ่าผู้นั้นซึ่งกำลังอุตสาหะพยายามให้ถึงความตาย ผู้นั้นเมื่อ ตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าสรชิต ดังนี้ไซร้ ความเห็นของ ผู้นั้นเป็นความเห็นผิด ดูกรนายบ้าน ก็เราย่อมกล่าวคติ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์เดียรัจฉานของบุคคลผู้มีความเห็นผิด ฯ [๕๙๔] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว นายบ้านนักรบอาชีพร้องไห้ สะอื้น น้ำตาไหล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรนายบ้าน เราได้ห้ามท่านแล้วมิใช่ หรือว่า อย่าเลยนายบ้าน ของดข้อนี้เสียเถิด อย่าถามเราถึงข้อนี้เลย เขาทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่ได้ร้องไห้ถึงข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ กะข้าพระองค์หรอก แต่ว่าข้าพระองค์ถูกนักรบอาชีพทั้งอาจารย์และปาจารย์ก่อนๆ ล่อลวงให้หลงสิ้นกาลนานว่า นักรบอาชีพคนใดอุตสาหะพยายามในสงคราม คนอื่นฆ่าผู้นั้นซึ่งกำลังอุตสาหะพยายามให้ถึงความตาย นักรบอาชีพคนนั้นเมื่อตาย ไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าสรชิต ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรมเทศนา ของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระผู้มีพระภาคทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย ดุจ หงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางให้แก่คนหลงทาง หรือส่องไฟในที่มืด ด้วยหวังว่า คนมีจักษุจักได้เห็นรูป ฉะนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอถึง พระผู้มีพระภาค กับทั้งพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มี- *พระภาคโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะจนตลอด- *ชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ
จบสูตรที่ ๓
หัตถาโรหสูตร
[๕๙๕] ครั้งนั้นแล นายทหารช้างได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประ ทับ ฯลฯ จนตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ
จบสูตรที่ ๔
อัสสาโรหสูตร
[๕๙๖] ครั้งนั้นแล นายทหารม้าเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับคำของทหารม้า ทั้งอาจารย์และ- *ปาจารย์ก่อนๆ พูดกันว่า ทหารม้าคนใดอุตสาหะพยายามในสงคราม คนอื่นฆ่า ผู้นั้นซึ่งกำลังอุตสาหะพยายามให้ถึงความตาย ทหารม้าผู้นั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้า ถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าสรชิต ในข้อนี้พระผู้มีพระภาคจะตรัสว่ากระไร พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อย่าเลยของดข้อนี้เสียเถิด อย่าถามเราถึงข้อนี้เลย แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ นายทหารม้าได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับคำของทหารม้าทั้งอาจารย์และปาจารย์คนก่อนๆ พูดกันว่า ทหารม้าคนใดอุตสาหะพยายามในสงคราม คนอื่นฆ่าผู้นั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าสรชิต ในข้อนี้พระผู้มีพระภาคจะตรัสว่า กระไร พระผู้มีพระภาคตรัสว่า แน่ะนาย เราห้ามไม่ได้แน่แล้วว่า อย่าเลยนาย ของดข้อนี้เสียเถิด อย่าถามเราถึงข้อนี้เลย แต่เราจักพยากรณ์ให้ท่าน แน่ะนาย ทหารม้าคนใดอุตสาหะพยายามในสงคราม ผู้นั้นยึดหน่วงจิตกระทำไว้ไม่ดี ตั้งจิต ไว้ไม่ดีก่อนว่า สัตว์เหล่านี้จงถูกฆ่า จงถูกแทง จงขาดสูญ จงพินาศ หรือว่า จงอย่ามี คนอื่นฆ่าผู้นั้นซึ่งกำลังอุตสาหะพยายามให้ถึงความตาย ทหารม้าผู้นั้น เมื่อตายไป ย่อมบังเกิดในนรกชื่อสรชิต อนึ่ง ถ้าเขามีความเห็นว่า ทหารม้าคน ใดอุตสาหะพยายามในสงคราม คนอื่นฆ่าผู้นั้นซึ่งกำลังอุตสาหะพยายามให้ถึงความ ตาย ทหารม้าผู้นั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าสรชิต ดังนี้ไซร้ ความเห็นของเขานั้นเป็นความเห็นผิด แน่ะนาย ก็เรากล่าวคติ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน ของบุคคลผู้มีความเห็น ผิด ฯ [๕๙๗] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว นายทหารม้าร้องไห้ น้ำตา ไหล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า แน่ะนาย เราได้ห้ามท่านอย่างนี้แล้วมิใช่หรือว่า อย่าเลยนาย ของดข้อนี้เสียเถิด อย่าถามเราถึงข้อนี้เลย เขาทูลว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ข้าพระองค์มิได้ร้องไห้ถึงข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสกะข้าพระองค์หรอก แต่ ว่าข้าพระองค์ถูกทหารม้าทั้งอาจารย์และปาจารย์ก่อนๆ ล่อลวงให้หลงสิ้นกาลนาน ว่า ทหารม้าคนใดอุตสาหะพยายามในสงคราม คนอื่นฆ่าผู้นั้นซึ่งกำลังอุตสาหะ พยายามให้ถึงความตาย ทหารม้าผู้นั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของ เทวดาเหล่าสรชิต ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของพระองค์แจ่มแจ้ง นัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระผู้มี- *พระภาคทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย ดุจหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางให้แก่คนหลงทาง หรือส่องไฟในที่มืดด้วยหวังว่า คนมีจักษุจักได้เห็นรูป ฉะนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาคกับทั้งพระธรรม และภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ จนตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ
จบสูตรที่ ๕
ภูมกสูตร
[๕๙๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปาวาริกอัมพวัน ใกล้ เมืองนาฬันทา ครั้งนั้นแล นายบ้านนามว่าอสิพันธกบุตร เข้าไปเฝ้าพระผู้มี- *พระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกพราหมณ์ชาว ปัจฉาภูมิ มีคณโฑน้ำติดตัว ประดับพวงมาลัยสาหร่าย อาบน้ำทุกเช้าเย็น บำเรอไฟ พราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่ายังสัตว์ที่ตายทำกาละแล้วให้เป็นขึ้น ให้รู้ชอบ ชวนให้ เข้าสวรรค์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระอรหันตสัมมา- *สัมพุทธเจ้า สามารถกระทำให้สัตว์โลกทั้งหมด เมื่อตายไป พึงเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ได้หรือ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรนายคามณี ถ้าอย่างนั้น เราจัก ย้อนถามท่านในข้อนี้ ปัญหาควรแก่ท่านด้วยประการใด ท่านพึงพยากรณ์ปัญหา ข้อนั้นด้วยประการนั้น ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษในโลกนี้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ มากไปด้วยอภิชฌา มีจิตพยาบาท มีความเห็นผิด หมู่มหาชนมาประชุมกันแล้ว พึงสวดวิงวอน สรรเสริญ ประนมมือเดินเวียนรอบผู้นั้นว่า ขอบุรุษนี้เมื่อตายไป จงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นเมื่อตายไป พึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์เพราะเหตุการสวดวิงวอน เพราะเหตุการสรรเสริญ หรือ เพราะเหตุการประนมมือเดินเวียนรอบดังนี้หรือ ฯ คา. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ [๕๙๙] พ. ดูกรนายคามณี เปรียบเหมือนบุรุษโยนหินก้อนหนาใหญ่ ลงในห้วงน้ำลึก หมู่มหาชนพึงมาประชุมกันแล้วสวดวิงวอน สรรเสริญ ประนมมือ เดินเวียนรอบหินนั้นว่า ขอจงโผล่ขึ้นเถิดท่านก้อนหิน ขอจงลอยขึ้นเถิดท่าน ก้อนหิน ขอจงขึ้นบกเถิดท่านก้อนหิน ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ก้อน หินนั้นพึงโผล่ขึ้น พึงลอยขึ้น หรือพึงขึ้นบก เพราะเหตุการสวดวิงวอน สรรเสริญ ประนมมือเดินเวียนรอบของหมู่มหาชนบ้างหรือ ฯ คา. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรนายคามณี ฉันนั้นเหมือนกัน บุรุษคนใดฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ มากไปด้วย อภิชฌา มีจิตพยาบาท มีความเห็นผิด หมู่มหาชนพึงมาประชุมกันแล้วสวด วิงวอน สรรเสริญ ประนมมือเดินเวียนรอบบุรุษนั้นว่า ขอบุรุษนี้เมื่อตายไป จงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ก็จริง แต่บุรุษนั้นเมื่อตาย พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ฯ [๖๐๐] ดูกรนายคามณี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษในโลก นี้เว้นจากปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท ปิสุณาวาจา ผรุสวาจา สัมผัปปลาปะ ไม่มากไปด้วยอภิชฌา มีจิตไม่พยาบาท มีความเห็นชอบ หมู่มหาชนพึงมาประชุมกันแล้วสวดวิงวอน สรรเสริญ ประนมมือเดินเวียนรอบ บุรุษนั้นว่า ขอบุรุษนี้เมื่อตายไป จงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ท่านจะ สำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นเมื่อตายไป พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะเหตุการสวดวิงวอน สรรเสริญ หรือเพราะเหตุการประนมมือเดิน เวียนรอบของหมู่มหาชนบ้างหรือ ฯ คา. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ [๖๐๑] พ. ดูกรนายคามณี เปรียบเหมือนบุรุษลงยังห้วงน้ำลึกแล้ว พึงทุบหม้อเนยใสหรือหม้อน้ำมัน ก้อนกรวดหรือก้อนหินที่มีอยู่ในหม้อนั้น พึง จมลง เนยใสหรือน้ำมันที่มีอยู่ในหม้อนั้นพึงลอยขึ้น หมู่มหาชนพึงมาประชุมกัน แล้วสวดวิงวอน สรรเสริญ ประนมมือเดินเวียนรอบเนยใสหรือน้ำมันนั้นว่า ขอจงจมลงเถิดท่านเนยใสและน้ำมัน ขอจงดำลงเถิดท่านเนยใสและน้ำมัน ขอจง ลงภายใต้เถิดท่านเนยใสและน้ำมัน ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เนยใส และน้ำมันนั้นพึงจมลง พึงดำลง พึงลงภายใต้ เพราะเหตุการสวดวิงวอน สรรเสริญ หรือเพราะเหตุการประนมมือเดินเวียนรอบของหมู่มหาชนบ้างหรือ ฯ ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรนายคามณี ฉันนั้นเหมือนกัน บุรุษใดเว้นจากปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท ปิสุณาวาจา ผรุสวาจา สัมผัปปลาปะ ไม่มากไปด้วยอภิชฌา มีจิตไม่พยาบาท มีความเห็นชอบ หมู่มหาชนจะพากันมา ประชุมแล้วสวดวิงวอน สรรเสริญ ประนมมือเดินเวียนรอบบุรุษนั้นว่า ขอบุรุษ นี้เมื่อตายไป จงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ก็จริง แต่บุรุษนั้นเมื่อตายไป พึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ฯ [๖๐๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว นายบ้านนามว่าอสิพันธก- *บุตรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของ พระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของพระองค์แจ่มแจ้ง นัก พระผู้มีพระภาคทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย ดุจหงายของที่คว่ำ เปิด ของที่ปิด บอกทางให้แก่คนหลงทาง หรือส่องไฟในที่มืดด้วยหวังว่า คนมีจักษุ จักเห็นรูป ฉะนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค กับทั้งพระธรรมและภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงจำข้า- *พระองค์ ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะจนตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้ เป็นต้นไป ฯ
จบสูตรที่ ๖
เทศนาสูตร
[๖๐๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปาวาริกอัมพวัน ใกล้ เมืองนาฬันทา ครั้งนั้นนายบ้านนามว่าอสิพันธกบุตร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง ที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคทรงเกื้อกูล อนุเคราะห์สัตว์ทั่วหน้าอยู่มิใช่หรือ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อย่างนั้นนาย- *คามณี ตถาคตเกื้อกูลอนุเคราะห์สัตว์ทั่วหน้าอยู่ ฯ คา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เมื่อเช่นนั้น เพราะเหตุไรพระผู้มีพระภาค จึงทรงแสดงธรรมโดยเคารพแก่คนบางพวก ไม่ทรงแสดงธรรมโดยเคารพเหมือน อย่างนั้นแก่คนบางพวก ฯ พ. ดูกรนายคามณี ถ้าอย่างนั้นเราจักทวนถามท่านถึงในข้อนี้ ปัญหา ควรแก่ท่านด้วยประการใด ท่านพึงพยากรณ์ปัญหานั้นด้วยประการนั้น ดูกรนาย- *คามณี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน นาของคฤหบดีชาวนาในโลกนี้มีอยู่ ๓ ชนิด คือ ชนิดหนึ่งเป็นนาดี ชนิดหนึ่งเป็นนาปานกลาง ชนิดหนึ่งเป็นนาเลวมี ดินเหลว เค็ม พื้นดินเลว ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน คฤหบดีชาวนา ต้องการจะหว่านพืช จะพึงหว่านในนาไหนก่อนเล่า ฯ คา. คฤหบดีชาวนาต้องการจะหว่านพืช พึงหว่านพืชในนาดีก่อน ครั้น- *หว่านในนานั้นแล้ว พึงหว่านในนาปานกลาง ครั้นหว่านในนาปานกลางนั้นแล้ว ในนาเลว มีดินเหลว เค็ม พื้นดินเลว พึงหว่านบ้างไม่หว่านบ้าง ข้อนั้นเพราะ เหตุไร เพราะที่สุดจักเป็นอาหารโค ฯ [๖๐๔] พ. ดูกรนายคามณี เปรียบเหมือนนาดีฉันใด เราย่อมแสดง ธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง แก่ภิกษุและภิกษุณีของเรา เหล่านั้น (ก่อน) ฉันนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุและภิกษุณีเหล่านี้ มีเราเป็นที่พึ่ง มีเราเป็นที่เร้น มีเราเป็นที่ต้านทาน มีเราเป็นสรณะอยู่ ดูกรนาย- *คามณี นาเลว มีดินเหลว เค็ม พื้นดินเลวฉันใด เราย่อมแสดงธรรมอันงาม ในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้ง พยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง แก่อัญเดียรถีย์ สมณะ พราหมณ์และ ปริพาชกของเราเหล่านั้น (ในที่สุด) ฉันนั้น ฯ [๖๐๕] ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะอัญเดียรถีย์ สมณะ พราหมณ์ และปริพาชกจะพึงรู้ธรรมแม้บทเดียว ความรู้ของเขานั้นพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ สุขแก่เขาสิ้นกาลนาน ดูกรนายคามณี บุรุษมีขวดน้ำ ๓ ใบ คือ ขวดน้ำใบหนึ่ง ไม่มีช่อง ใส่น้ำไม่ได้ เจ้าของไม่ใช้ ใบหนึ่งไม่มีช่อง ใส่น้ำได้ เจ้าของใช้ ใบหนึ่งมีช่อง ใส่น้ำได้ เจ้าของใช้ ดูกรนายคามณี ท่านจะสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน บุรุษคนโน้นต้องการจะกรอกน้ำใส่ พึงกรอกน้ำใส่ในขวดไม่มีช่อง ใส่น้ำไม่ได้ เจ้าของไม่ใช้ หรือขวดน้ำไม่มีช่อง ใส่น้ำได้ เจ้าของใช้ หรือว่า ขวดน้ำที่มีช่อง ใส่น้ำได้ เจ้าของใช้ก่อน ฯ คา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษคนโน้นต้องการจะกรอกน้ำใส่ พึงกรอก น้ำใส่ในขวดน้ำไม่มีช่อง ใส่น้ำไม่ได้ เจ้าของไม่ใช้ แล้วพึงกรอกน้ำใส่ใน ขวดน้ำไม่มีช่อง ใส่น้ำได้ เจ้าของใช้ แล้วพึงกรอกน้ำใส่ในขวดน้ำมีช่อง ใส่น้ำ ได้ เจ้าของใช้บ้าง ไม่กรอกใส่บ้าง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะที่สุดจักเป็นน้ำ สำหรับล้างสิ่งของ ฯ [๖๐๖] พ. ดูกรนายคามณี ขวดน้ำไม่มีช่อง ใส่น้ำไม่ได้ เจ้าของไม่ใช้ ฉันใด เราย่อมแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง แก่ ภิกษุและภิกษุณีของเราเหล่านั้น ฉันนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุและ ภิกษุณีเหล่านี้ มีเราเป็นที่พึ่ง มีเราเป็นที่เร้น มีเราเป็นที่ต้านทาน มีเราเป็น สรณะอยู่ ดูกรนายคามณี ขวดน้ำไม่มีช่อง ใส่น้ำได้ เจ้าของใช้ ฉันใด เราย่อมแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศ พรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง แก่อุบาสกและ อุบาสิกาของเราเหล่านั้น (เป็นที่สอง) ฉันนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ อุบาสกและอุบาสิกาเหล่านี้ มีเราเป็นที่พึ่ง มีเราเป็นที่เร้น มีเราเป็นที่ต้านทาน มีเราเป็นสรณะอยู่ ดูกรนายคามณี ขวดน้ำมีช่อง ใส่น้ำได้ ทั้งเจ้าของใช้ ฉันใด เราย่อมแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศ พรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง แก่อัญเดียรถีย์ สมณะ พราหมณ์ และปริพาชกของเราเหล่านั้น (ในที่สุด) ฉันนั้น ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะแม้ไฉนอัญเดียรถีย์ สมณะ พราหมณ์ และปริพาชกจะ พึงรู้ทั่วถึงธรรมนั้นแม้บทเดียว ความรู้นั้นก็พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขแก่เขาสิ้น กาลนาน ฯ [๖๐๗] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว นายบ้านนามว่าอสิพันธก- *บุตรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของ พระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของพระองค์แจ่มแจ้ง นัก พระผู้มีพระภาคทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย ดุจหงายของที่คว่ำ เปิด ของที่ปิด บอกทางให้แก่คนหลงทาง หรือส่องไฟในที่มืดด้วยหวังว่า คนมีจักษุจัก เห็นรูปได้ ฉันนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอถึงพระผู้มีพระภาค กับทั้ง พระธรรมและภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงรัตนตรัยเป็นสรณะจนตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ
จบสูตรที่ ๗
อสังขาสูตร
[๖๐๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปาวาริกอัมพวัน ใกล้ เมืองนาฬันทา ครั้งนั้นแล นายบ้านนามว่าอสิพันธกบุตร สาวกของนิครณถ์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรนายคามณี นิครณถ์- *นาฏบุตรแสดงธรรมแก่พวกสาวกอย่างไร อสิพันธกบุตรทูลว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ นิครณถ์นาฏบุตรแสดงธรรมแก่พวกสาวกอย่างนี้ว่า ผู้ที่ฆ่าสัตว์ต้องไป อบายตกนรกทั้งหมด ผู้ที่ลักทรัพย์ต้องไปอบายตกนรกทั้งหมด ผู้ที่ประพฤติผิด ในกาม ต้องไปอบายตกนรกทั้งหมด ผู้ที่พูดเท็จต้องไปอบายตกนรกทั้งหมด กรรมใดๆ มาก กรรมนั้นๆ ย่อมนำบุคคลไป นิครณถ์นาฏบุตรย่อมแสดงธรรม แก่พวกสาวกอย่างนี้แล พระเจ้าข้า ฯ [๖๐๙] พ. ดูกรนายคามณี ก็นิครณถ์นาฏบุตรแสดงธรรมแก่พวกสาวก ว่า กรรมใดๆ มาก กรรมนั้นๆ ย่อมนำบุคคลไป เมื่อเป็นเช่นนั้น ใครๆ จักไม่ไปอบาย ตกนรก ตามคำของนิครณถ์นาฏบุตร ดูกรนายคามณี ท่านจะ สำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษฆ่าสัตว์รวมทั้งสมัยและไม่ใช่สมัย ทั้งกลางคืน และกลางวัน สมัยที่เขาฆ่าสัตว์ หรือสมัยที่เขาไม่ฆ่าสัตว์ สมัยไหนมาก กว่ากัน ฯ คา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษฆ่าสัตว์รวมทั้งสมัยและมิใช่สมัย ทั้ง กลางคืนและกลางวัน สมัยที่เขาฆ่าสัตว์น้อยกว่า สมัยที่เขาไม่ได้ฆ่าสัตว์มากกว่า พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรนายคามณี ก็นิครณถ์นาฏบุตรแสดงธรรมแก่พวกสาวกว่า กรรม ใดๆ มาก กรรมนั้นๆ ย่อมนำบุคคลนั้นไป เมื่อเป็นเช่นนั้น ใครๆ จักไม่ ไปอบาย ตกนรก ตามคำของนิครณถ์นาฏบุตร ฯ [๖๑๐] ดูกรนายคามณี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษลักทรัพย์ รวมทั้งสมัยและมิใช่สมัย ทั้งกลางคืนและกลางวัน สมัยที่เขาลักทรัพย์ หรือ สมัยที่เขาไม่ได้ลักทรัพย์ สมัยไหนมากกว่ากัน ฯ คา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษลักทรัพย์รวมทั้งสมัยและมิใช่สมัย ทั้ง กลางคืนและกลางวัน สมัยที่เขาลักทรัพย์น้อยกว่า ส่วนสมัยที่เขามิได้ลักทรัพย์ มากกว่า พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรนายคามณี ก็นิครณถ์นาฏบุตรแสดงธรรมแก่พวกสาวกว่า กรรม ใดๆ มาก กรรมนั้นๆ ย่อมนำบุคคลนั้นไป เมื่อเป็นเช่นนั้น ใครๆ จักไม่ ไปอบาย ตกนรก ตามคำของนิครณถ์นาฏบุตร ฯ [๖๑๑] ดูกรนายคามณี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษ ประพฤติผิดในกามรวมทั้งสมัยและมิใช่สมัย ทั้งกลางคืนและกลางวัน สมัยที่เขา ประพฤติผิดในกาม หรือสมัยที่เขามิได้ประพฤติผิดในกาม สมัยไหนมาก กว่ากัน ฯ คา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษประพฤติผิดในกามรวมทั้งสมัยและมิใช่ สมัย ทั้งกลางคืนและกลางวัน สมัยที่เขาประพฤติผิดในกามนั้นน้อยกว่า ส่วน สมัยที่เขามิได้ประพฤติผิดในกามนั้นมากกว่า พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรนายคามณี ก็นิครณถ์นาฏบุตรแสดงธรรมแก่พวกสาวกว่า กรรมใดๆ มาก กรรมนั้นๆ ย่อมนำบุคคลไป เมื่อเป็นเช่นนั้น ใครๆ จักไม่ ไปอบาย ตกนรก ตามคำของนิครณถ์นาฏบุตร ฯ [๖๑๒] ดูกรนายคามณี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษพูดเท็จ รวมทั้งสมัยและมิใช่สมัย ทั้งกลางคืนและกลางวัน สมัยที่เขาพูดเท็จ หรือสมัย ที่เขามิได้พูดเท็จ สมัยไหนมากกว่ากัน คา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษพูดเท็จรวมทั้งสมัยและมิใช่สมัย ทั้ง กลางคืนและกลางวัน สมัยที่เขาพูดเท็จนั้นน้อยกว่า ส่วนสมัยที่เขามิได้พูดเท็จ นั้นมากกว่า พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรนายคามณี ก็นิครณถ์นาฏบุตรแสดงธรรมแก่พวกสาวก กรรม ใดๆ มาก กรรมนั้นๆ ย่อมนำบุคคลไป เมื่อเป็นเช่นนั้น ใครๆ จักไม่ไป อบาย ตกนรก ตามคำของนิครณถ์นาฏบุตร ฯ [๖๑๓] ดูกรนายคามณี ศาสดาบางท่านในโลกนี้ มักพูดอย่างนี้ มัก เห็นอย่างนี้ว่า ผู้ฆ่าสัตว์ต้องไปอบายตกนรกทั้งหมด ผู้ที่ลักทรัพย์ต้องไปอบาย ตกนรกทั้งหมด ผู้ที่ประพฤติผิดในกามต้องไปอบายตกนรกทั้งหมด ผู้ที่พูดเท็จ ต้องไปอบายตกนรกทั้งหมด ฯ [๖๑๔] ดูกรนายคามณี สาวกที่เลื่อมใสในศาสดานั้น ย่อมมีความคิด อย่างนี้ว่า ศาสดาของเรากล่าวอย่างนี้ เห็นอย่างนี้ว่า ผู้ที่ฆ่าสัตว์ต้องไปอบาย ตกนรกทั้งหมด สาวกของศาสดานั้นกลับได้ความเห็นว่า สัตว์ที่เราฆ่ามีอยู่ แม้เรา ก็ต้องไปอบาย ต้องตกนรก เขายังไม่ละวาจานั้น ยังไม่ละความคิดนั้น ยังไม่ สละความเห็นนั้น ย่อมตั้งอยู่ในนรก เหมือนถูกนำมาขังไว้ ฉะนั้น (สาวก ของศาสดานั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า) ศาสดาของเรากล่าวอย่างนี้ เห็นอย่างนี้ว่า ผู้ที่ ลักทรัพย์ต้องไปอบายตกนรกทั้งหมด สาวกของศาสดานั้นกลับได้ความเห็นว่า ทรัพย์ที่เราลักมีอยู่ แม้เราก็ต้องไปอบาย ต้องตกนรก เขายังไม่ละวาจานั้น ยัง ไม่ละความคิดนั้น ยังไม่ละความเห็นนั้น ย่อมตั้งอยู่ในนรก เหมือนถูกนำมา ขังไว้ ฉะนั้น ศาสดาของเรากล่าวอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า ผู้ที่ประพฤติผิด ในกามต้องไปอบายตกนรกทั้งหมด สาวกของศาสดากลับได้ความเห็นว่า กาเมสุ มิจฉาจารที่เราประพฤติมีอยู่ แม้เราต้องไปอบาย ต้องตกนรก เขายังไม่ละวาจา นั้น ยังไม่ละความคิดนั้น ยังไม่สละความเห็นนั้น ย่อมตั้งอยู่ในนรก เหมือน ถูกนำมาขังไว้ ฉะนั้น ศาสดาของเรากล่าวอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า ผู้ที่พูด เท็จต้องไปอบายตกนรกทั้งหมด สาวกของศาสดานั้นกลับได้ความเห็นว่า คำเท็จ ที่เราพูดมีอยู่ แม้เราต้องไปอบาย ต้องตกนรก เขายังไม่ละวาจานั้น ยังไม่ละ ความคิดนั้น ยังไม่สละความเห็นนั้น ย่อมตั้งอยู่ในนรก เหมือนถูกนำมาขังไว้ ฉะนั้น ฯ [๖๑๕] ดูกรนายคามณี ก็พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงถึง พร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีผู้ฝึกบุรุษ ที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิก- *บานแล้ว เป็นผู้มีโชค เสด็จอุบัติขึ้นในโลกนี้ ตถาคตนั้นทรงตำหนิติเตียน ปาณาติบาต และตรัสว่า จงงดเว้นจากปาณาติบาต ทรงตำหนิติเตียนอทินนาทาน และตรัสว่า จงงดเว้นจากอทินนาทาน ทรงตำหนิติเตียนกาเมสุมิจฉาจาร และตรัส ว่าจงงดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร ทรงตำหนิติเตียนมุสาวาท และตรัสว่า จงงดเว้น จากมุสาวาท โดยอเนกปริยาย สาวกเป็นผู้เลื่อมใสในพระศาสดานั้น ย่อม พิจารณาเห็นดังนี้ว่า พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิติเตียนปาณาติบาตโดยอเนกปริยาย และตรัสว่า จงเว้นจากปาณาติบาต ก็สัตว์ที่เราฆ่ามีอยู่มากมาย ข้อที่เราฆ่าสัตว์ มากมายนั้น ไม่ดีไม่งาม เราแลพึงเดือดร้อนเพราะข้อนี้เป็นปัจจัยแท้ เราจักไม่ได้ทำ บาปกรรมนั้นหามิได้ เขาพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละปาณาติบาตนั้นด้วย ย่อม งดเว้นจากปาณาติบาตต่อไปด้วย เป็นอันว่าเขาละบาปกรรม ก้าวล่วงบาปกรรมได้ ด้วยประการอย่างนี้ ฯ [๖๑๖] สาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิ ติเตียนอทินนาทานโดยอเนกปริยาย และตรัสว่า จงงดเว้นจากอทินนาทาน ทรัพย์ที่เราลักมีอยู่มากมาย ข้อที่เราลักทรัพย์มากมายนั้น ไม่ดี ไม่งาม เราแลพึง เดือดร้อน เพราะข้อนั้นเป็นปัจจัยแท้ เราจักไม่ได้ทำบาปกรรมนั้นหามิได้ เขา พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละอทินนาทานนั้นด้วย ย่อมงดเว้นจากอทินนาทาน ต่อไปด้วย เป็นอันว่าเขาละบาปกรรม ก้าวล่วงบาปกรรมได้ ด้วยประการอย่างนี้ ฯ [๖๑๗] สาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิ ติเตียนกาเมสุมิจฉาจารโดยอเนกปริยาย และตรัสว่า จงงดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร เราประพฤติผิดในกามมีอยู่มากมาย ข้อที่เราประพฤติผิดในกามมากมายนั้น ไม่ดี ไม่งาม เราแลพึงเดือดร้อนเพราะข้อนั้นเป็นปัจจัยแท้ เราจักไม่ได้ทำบาปกรรม นั้นหามิได้ เขาพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละกาเมสุมิจฉาจารนั้นด้วย ย่อมงด เว้นจากกาเมสุมิจฉาจารต่อไปด้วย เป็นอันว่าเขาละบาปกรรมก้าวล่วงบาปกรรมได้ ด้วยประการอย่างนี้ ฯ [๖๑๘] สาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิ ติเตียนมุสาวาทโดยอเนกปริยาย และตรัสว่า จงงดเว้นจากมุสาวาท ก็เราพูดเท็จ มีอยู่มากมาย ข้อที่เราพูดเท็จมากมายนั้น ไม่ดี ไม่งาม เราแลพึงเดือดร้อน เพราะข้อนั้นเป็นปัจจัยแท้ เราจักไม่ได้ทำบาปกรรมนั้นหามิได้ เขาพิจารณาเห็นดังนี้ แล้วย่อมละมุสาวาทนั้นด้วย ย่อมงดเว้นจากมุสาวาทต่อไปด้วย เป็นอันว่าเขาละ บาปกรรม ก้าวล่วงบาปกรรมได้ ด้วยประการอย่างนี้ ฯ [๖๑๙] สาวกนั้นละปาณาติบาต งดเว้นจากปาณาติบาต ละอทินนาทาน งดเว้นจากอทินนาทาน ละกาเมสุมิจฉาจาร งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร ละมุสา วาท งดเว้นจากมุสาวาท ละปิสุณาวาจา งดเว้นจากปิสุณาวาจา ละผรุสวาจา งด เว้นจากผรุสวาจา ละสัมผัปลาปะ งดเว้นจากสัมผัปลาปะ ละอภิชฌา ไม่โลภมาก ละความประทุษร้าย คือ พยาบาท ไม่มีจิตพยาบาท ละความเห็นผิด มีความ เห็นชอบ ดูกรนายคามณี อริยสาวกนั้นนั่นแล ปราศจากอภิชฌา ปราศจาก พยาบาทอย่างนี้ ไม่หลงงมงาย มีความรู้สึกตัว มีสติ มีใจประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ ทุกสถาน ด้วยใจประกอบด้วยเมตตาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณ มิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ดูกรนายคามณี คนเป่าสังข์ผู้มีกำลัง พึงยังบุคคลให้รู้แจ้งทั้ง ๔ ทิศได้โดยไม่ยากเลย ฉันใด กรรมที่ทำพอประมาณ อันใด ในเมตตาเจโตวิมุติอันบุคคลอบรมแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างนี้ กรรมนั้น จะไม่เหลือ ไม่ตั้งอยู่ในรูปาพจรนั้น ฉันนั้นเหมือนกัน ดูกรนายคามณี อริย- *สาวกนั้นนั่นแล ปราศจากอภิชฌา ปราศจากพยาบาทแล้วอย่างนี้ ไม่หลงงมงาย รู้สึกตัว มีสติ มีใจประกอบด้วยกรุณา ... มีใจประกอบด้วยมุทิตา ... มีใจ ประกอบด้วยอุเบกขาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ ถึงความ เป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ดูกรนายคามณี คนเป่าสังข์ผู้มีกำลัง พึงยังบุคคลให้รู้แจ้งทั้ง ๔ ทิศได้โดยไม่ยาก ฉันใด กรรม ที่ทำพอประมาณในอุเบกขาเจโตวิมุติที่บุคคลอบรมแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างนี้ กรรมนั้นจะไม่เหลือ ไม่ตั้งอยู่ในรูปาพจรนั้น ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อพระผู้มี- *พระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว นายบ้านนามว่าอสิพันธกบุตรสาวกนิครณถ์ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของพระองค์แจ่มแจ้ง นัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ฯลฯ ขอพระ ผู้มีพระภาคโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ จนตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป พระเจ้าข้า ฯ
จบสูตรที่ ๘
กุลสูตร
[๖๒๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในโกศลชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เป็นอันมาก เสด็จถึงนาฬันทคามได้ยินว่า สมัยนั้น พระผู้ มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปาวาริกอัมพวันใกล้นาฬันทคาม สมัยนั้นแล ชาว นาฬันทคามมีภิกษาหาได้ยาก เลี้ยงชีวิตอยู่ได้โดยฝืดเคือง เกลื่อนกลาดด้วยกระดูก ต้องจับจ่ายด้วยสลาก (บัตรปันส่วน) สมัยนั้นแล นิครณถ์นาฏบุตรอาศัยอยู่ใน นาฬันทคาม พร้อมด้วยบริษัทนิครณถ์เป็นอันมาก ครั้งนั้น นายบ้านนามว่า อสิพันธกบุตรสาวกนิครณถ์ เข้าไปหานิครณถ์นาฏบุตรยังที่อยู่ ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว นิครณถ์นาฏบุตรได้พูดกับนายคามณีอสิพันธกบุตร ว่า มาเถิดนายคามณี จงยกวาทะแก่พระสมณโคดม กิตติศัพท์อันงามของท่านจัก ขจรไปอย่างนี้ว่า นายคามณีอสิพันธกบุตรยกวาทะแก่พระสมณะโคดมผู้มีฤทธิ์มาก อย่างนี้ มีอานุภาพมากอย่างนี้ นายคามณีถามว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าจะยกวาทะ แก่พระสมณะโคดมผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากอย่างไร นิครณถ์นาฏบุตรกล่าวว่า มาเถิดท่านคามณี จงเข้าไปหาพระสมณโคดม ครั้นแล้วจงกล่าวกะพระสมณโคดม อย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคทรงสรรเสริญความเอ็นดู การ ตามรักษา ความอนุเคราะห์สกุลทั้งหลาย โดยอเนกปริยายมิใช่หรือ ถ้าพระสมณ โคดมถูกท่านถามอย่างนี้แล้ว ทรงพยากรณ์อย่างนี้ว่า อย่างนั้นนายคามณี ตถาคต สรรเสริญความเอ็นดู การตามรักษา ความอนุเคราะห์สกุลทั้งหลาย โดยอเนก ปริยาย ท่านจงกล่าวกะพระสมณโคดมนั้นอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อ เช่นนั้นทำไมพระผู้มีพระภาคกับภิกษุสงฆ์เป็นอันมากจึงเที่ยวจาริกอยู่ในนาฬันทคาม อันเกิดทุพภิกขภัย เลี้ยงชีวิตอยู่ได้โดยฝืดเคือง เกลื่อนกลาดด้วยกระดูก ต้อง จับจ่ายด้วยสลากเล่า พระผู้มีพระภาคทรงปฏิบัติเพื่อตัดรอนสกุล เพื่อให้สกุลเสื่อม เพื่อให้สกุลคับแค้น ดูกรนายคามณี พระสมณโคดมอันท่านถามปัญหา ๒ เงื่อน นี้แล้ว จะไม่อาจคาย จะไม่อาจกลืน (กลืนไม่เข้าคายไม่ออก) ได้เลย ฯ [๖๒๑] นายอสิพันธกบุตรรับคำนิครณถ์นาฏบุตรแล้ว ลุกจากอาสนะ ไหว้นิครณถ์นาฏบุตรทำประทักษิณแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย บังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มี พระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคทรงสรรเสริญความเอ็นดู การ ตามรักษา ความอนุเคราะห์สกุลทั้งหลาย โดยอเนกปริยายมิใช่หรือ พระผู้มี พระภาคตรัสตอบว่า อย่างนั้น นายคามณี ตถาคตสรรเสริญความเอ็นดู การตาม รักษา ความอนุเคราะห์สกุลทั้งหลาย โดยอเนกปริยาย ฯ คา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเช่นนั้น ทำไมพระผู้มีพระภาคพร้อม ด้วยภิกษุสงฆ์เป็นอันมาก จึงเที่ยวจาริกอยู่ในนาฬันทคามอันเกิดทุพภิกขภัย เลี้ยง ชีวิตอยู่ได้โดยฝืดเคือง เกลื่อนกลาดด้วยกระดูก ต้องจับจ่ายด้วยสลากเล่า พระผู้มีพระภาคปฏิบัติเพื่อตัดรอนสกุล เพื่อให้สกุลเสื่อม ปฏิบัติเพื่อให้สกุล คับแค้น ฯ [๖๒๒] พ. ดูกรนายคามณี แต่ภัทรกัปนี้ไป ๙๑ กัป ที่เราระลึกได้ เราไม่รู้สึกว่าเคยเบียดเบียนสกุลไหนๆ ด้วยการถือเอาภิกษาที่สุกแล้วเลย อนึ่งเล่า สกุลเหล่าใดมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีทองและเงินมาก มีทรัพย์คือ เครื่องอุปกรณ์มาก มีทรัพย์คือข้าวเปลือกมาก สกุลทั้งปวงนั้นเจริญขึ้นเพราะการ ให้ทาน เพราะสัจจะและสัญญมะ ดูกรนายคามณี เหตุปัจจัย ๘ อย่างเพื่อความ คับแค้นแห่งสกุลทั้งหลาย คือ สกุลทั้งหลายถึงความคับแค้นจากพระราชา ๑ จาก โจร ๑ จากไฟ ๑ จากน้ำ ๑ ทรัพย์ที่ฝังไว้เคลื่อนจากที่ ๑ ย่อมวิบัติเพราะ การงานที่ประกอบไม่ดี ๑ ทรัพย์ในสกุลเกิดเป็นถ่านไฟ ๑ คนในสกุลใช้จ่าย โภคทรัพย์เหล่านั้นฟุ่มเฟือย ให้พินาศสูญหายไป ๑ ความไม่เที่ยงเป็นที่ ๘ ดูกรนายคามณี เหตุปัจจัย ๘ อย่างเหล่านี้แล เพื่อความคับแค้นของสกุลทั้งหลาย เมื่อเหตุปัจจัย ๘ อย่างเหล่านี้มีอยู่ ผู้ใดพึงว่าเราอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคปฏิบัติ เพื่อให้สกุลขาดสูญ เพื่อให้สกุลเสื่อม เพื่อให้สกุลคับแค้น ดังนี้ ผู้นั้นยังไม่ ละวาจานั้น ยังไม่ละความคิดนั้น ยังไม่สละทิฐินั้น ต้องดิ่งลงในนรกแน่แท้ ฯ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว นายคามณีอสิพันธกบุตรได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ฯลฯ ขอพระผู้มี พระภาคโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะจนตลอด ชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป พระเจ้าข้า ฯ
จบสูตรที่ ๙
มณิจูฬกสูตร
[๖๒๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ก็สมัยนั้นแล เมื่อราชบริษัทนั่งประชุม กันในพระราชวังสังสนทนากันว่า ทองและเงินย่อมควรแก่สมณศากยบุตร สมณ ศากยบุตรย่อมยินดีทองและเงิน ย่อมรับทองและเงิน ฯ [๖๒๔] ก็สมัยนั้นแล นายบ้านนามว่ามณิจูฬกะนั่งอยู่ในบริษัทนั้น ครั้ง นั้น นายบ้านนามว่ามณิจูฬกะได้กล่าวกะบริษัทนั้นว่า ท่านผู้เจริญอย่าได้กล่าว อย่างนี้ ทองและเงินไม่ควรแก่สมณศากยบุตร สมณศากยบุตรย่อมไม่ยินดีทอง และเงิน ย่อมไม่รับทองและเงิน สมณศากยบุตรห้ามแก้วและทอง ปราศจาก ทองและเงิน นายบ้านมณิจูฬกะไม่อาจให้บริษัทนั้นยินยอมได้ ฯ [๖๒๕] ครั้งนั้น นายบ้านจูฬกะจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบ ทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อราชบริษัทนั่งประชุมกันในพระ- *ราชวังสังสนทนากันว่า ทองและเงินย่อมควรแก่สมณศากยบุตร สมณศากยบุตร ย่อมยินดีทองและเงิน เมื่อราชบริษัทกล่าวอย่างนี้ ข้าพระองค์ได้กล่าวกะบริษัท นั้นว่า ท่านผู้เจริญอย่าได้กล่าวอย่างนี้ ทองและเงินย่อมไม่ควรแก่สมณศากยบุตร สมณศากยบุตรย่อมไม่ยินดีทองและเงิน ย่อมไม่รับทองและเงิน สมณศากยบุตร ห้ามแก้วและทอง ปราศจากทองและเงิน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่ อาจให้บริษัทนั้นยินยอมได้ เมื่อข้าพระองค์พยากรณ์อย่างนี้ เป็นอันกล่าวตามคำที่ พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว จะไม่กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำไม่จริง และพยากรณ์ ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งการคล้อยตามวาทะที่ถูกไรๆ จะไม่ถึงฐานะอันวิญญูชน พึงติเตียนได้แลหรือ พระเจ้าข้า ฯ [๖๒๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีละ นายคามณี เมื่อท่านพยากรณ์ อย่างนี้ เป็นอันกล่าวตามคำที่เรากล่าวแล้ว ไม่กล่าวตู่เราด้วยคำไม่จริง และ พยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งการคล้อยตามวาทะที่ถูกไรๆ จะไม่ถึงฐานะ อันวิญญูชนพึงติเตียนได้ เพราะว่าทองและเงินไม่ควรแก่สมณศากยบุตร สมณ ศากยบุตรย่อมไม่ยินดีทองและเงิน สมณศากยบุตรห้ามแก้วและทอง ปราศจาก ทองและเงิน ดูกรนายคามณี ทองและเงินควรแก่ผู้ใด เบญจกามคุณก็ควรแก่ ผู้นั้น เบญจกามคุณควรแก่ผู้ใด ทองและเงินก็ควรแก่ผู้นั้น ดูกรนายคามณี ท่าน พึงทรงความที่ควรแก่เบญจกามคุณนั้นโดยส่วนเดียวว่า ไม่ใช่ธรรมของสมณะ ไม่ ใช่ธรรมของศากยบุตร อนึ่งเล่าเรากล่าวอย่างนี้ว่า ผู้ต้องการหญ้าพึงแสวงหาหญ้า ผู้ต้องการไม้พึงแสวงหาไม้ ผู้ต้องการเกวียนพึงแสวงหาเกวียน ผู้ต้องการบุรุษพึง แสวงหาบุรุษ เรามิได้กล่าวว่า สมณศากยบุตรพึงยินดี พึงแสวงหาทองและเงิน โดยปริยายอะไรเลย ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
คันธภกสูตร
[๖๒๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ อุรุเวลกัปปะ นิคม ของมัลลกษัตริย์ ในมัลลรัฐ ครั้งนั้นแล นายบ้านนามว่า คันธภกะเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงแสดงเหตุเกิด และเหตุดับแห่งทุกข์แก่ข้าพระองค์เถิด พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรนายคามณี ก็เราพึงปรารภอดีตกาลแสดงเหตุเกิดและเหตุดับแห่งทุกข์แก่ท่านว่า ในอดีตกาล ได้มีแล้วอย่างนี้ ความสงสัย ความเคลือบแคลงในข้อนั้นจะพึงมีแก่ท่าน ถ้าเรา ปรารภอนาคตกาลแสดงเหตุเกิดและเหตุดับแห่งทุกข์แก่ท่านว่า ในอนาคตกาล จักมีอย่างนี้ แม้ในข้อนั้น ความสงสัย ความเคลือบแคลง จะพึงมีแก่ท่าน อนึ่งเล่า เรานั่งอยู่ ณ ที่นี้แหละ จักแสดงเหตุเกิดและเหตุดับแห่งทุกข์แก่ท่าน ซึ่งนั่งอยู่ที่นี่เหมือนกัน ท่านจงฟังคำนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว นายคันธภก คามณีทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระดำรัสนี้ว่า ดูกร- *นายคามณี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ความโศก ความร่ำไร ความทุกข์ โทมนัสและอุปายาส พึงเกิดขึ้นแก่ท่าน เพราะหมู่มนุษย์ในอุรุเวลกัปปนิคมตาย ถูกจองจำ เสื่อมทรัพย์ หรือถูกติเตียน มีแก่ท่านหรือ ฯ คา. มีอยู่ พระเจ้าข้า ที่ความโศก ความร่ำไร ความทุกข์โทมนัสและ อุปายาส พึงเกิดมีแก่ข้าพระองค์ เพราะหมู่มนุษย์ในอุรุเวลกัปปนิคมตาย ถูก จองจำ เสื่อมทรัพย์หรือถูกติเตียน ฯ พ. ดูกรนายคามณี ก็ความโศก ความร่ำไร ความทุกข์ โทมนัสและ อุปายาส ไม่พึงเกิดขึ้นแก่ท่าน เพราะหมู่มนุษย์ในอุรุเวลกัปปนิคมตาย ถูกจองจำ เสื่อมทรัพย์หรือถูกติเตียน มีอยู่แก่ท่านหรือ ฯ คา. มีอยู่ พระเจ้าข้า ที่ความโศก ความร่ำไร ความทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ไม่พึงเกิดมีแก่ข้าพระองค์ เพราะหมู่มนุษย์ ในอุรุเวลกัปปนิคมตาย ถูกจองจำ เสื่อมทรัพย์หรือถูกติเตียน ฯ พ. ดูกรนายคามณี อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้ความโศก ความ ร่ำไร ความทุกข์ โทมนัสและอุปายาส พึงเกิดขึ้นแก่ท่าน เพราะหมู่มนุษย์ชาว อุรุเวลกัปปนิคมบางพวกตาย ถูกจองจำ เสื่อมทรัพย์หรือถูกติเตียน ก็หรือว่า อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้ความโศก ความร่ำไร ความทุกข์โทมนัสและ อุปายาส ไม่พึงเกิดมีขึ้นแก่ท่าน เพราะหมู่มนุษย์ชาวอุรุเวลกัปปนิคมบางพวกตาย ถูกจองจำ เสื่อมทรัพย์หรือถูกติเตียน ฯ คา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความโศก ความร่ำไร ความทุกข์โทมนัส และอุปายาส พึงเกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์ เพราะหมู่มนุษย์ชาวอุรุเวลกัปปนิคมเหล่า ใดตาย ถูกจองจำ เสื่อมทรัพย์หรือเพราะถูกติเตียน ก็เพราะข้าพระองค์ มี ฉันทราคะ ในหมู่มนุษย์ชาวอุรุเวลกัปปนิคมเหล่านั้น ส่วนความโศก ความร่ำไร ความทุกข์โทมนัสและอุปายาส ไม่พึงเกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์ เพราะหมู่มนุษย์ชาว อุรุเวลกัปปนิคมเหล่าใดตาย ถูกจองจำ เสื่อมทรัพย์หรือถูกติเตียน ก็เพราะ ข้าพระองค์ไม่มีฉันทราคะในหมู่มนุษย์ชาวอุรุเวลกัปปนิคมเหล่านั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรนายคามณี ท่านจงนำไปซึ่งทุกข์อันใดด้วยธรรมที่เห็นแล้ว ทราบแล้ว บรรลุแล้วโดยไม่ประกอบด้วยกาล หยั่งลงแล้ว ทั้งอดีตและอนาคต ทุกข์เป็นอดีตกาลอย่างใดอย่างหนึ่งเมื่อเกิด ย่อมเกิดขึ้น ทุกข์ทั้งหมดนั้นมีฉันทะ เป็นมูล มีฉันทะเป็นเหตุ เพราะฉันทะเป็นมูลแห่งทุกข์ ทุกข์เป็นอนาคตกาล อย่างใดอย่างหนึ่งเมื่อเกิด จักเกิดขึ้น ทุกข์ทั้งหมดนั้นมีฉันทะเป็นมูล มีฉันทะ เป็นเหตุ เพราะฉันทะเป็นมูลแห่งทุกข์ ฯ คา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาแล้ว พระดำรัสนี้ว่า ทุกข์เป็นอดีตกาลอย่างใดอย่างหนึ่งเมื่อเกิด ย่อมเกิดขึ้น ทุกข์ทั้งหมดนั้นมีฉันทะ เป็นมูล มีฉันทะเป็นเหตุ เพราะฉันทะเป็นมูลแห่งทุกข์ ทุกข์เป็นอนาคตกาล อย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อเกิด จักเกิดขึ้น ทุกข์ทั้งหมดนั้นมีฉันทะเป็นมูล มีฉันทะ เป็นเหตุ เพราะฉันทะเป็นมูลแห่งทุกข์ ดังนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ กุมารนามว่าจิรวาสีบุตรของข้าพระองค์มีอยู่ เขาอาศัยอยู่ภายนอก นคร ข้าพระองค์ลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ ส่งบุรุษไปด้วย สั่งว่า แน่ะนาย เจ้าจงไป จงทราบกุมารจิวาสี ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษนั้นยังไม่มาเพียงใด ความกระวน- *กระวายใจย่อมมีแก่ข้าพระองค์ว่า อะไรๆ อย่าเบียดเบียนจิรวาสีกุมารเลย ดังนี้ เพียงนั้นๆ [๖๒๘] พ. ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ความโศก ความร่ำไร ความทุกข์ โทมนัสและอุปายาส พึงเกิดขึ้นแก่ท่าน เพราะจิรวาสีกุมารตาย ถูก จองจำ เสื่อมทรัพย์หรือถูกติเตียนหรือ ฯ คา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้เมื่อจิรวาสีกุมารยังมีชีวิตอยู่ ข้าพระองค์ ยังมีความกระวนกระวายใจ ไฉนความโศก ความร่ำไร ความทุกข์โทมนัสและ อุปายาส จักไม่เกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์ เพราะจิรวาสีกุมารตาย ถูกจองจำ เสื่อม ทรัพย์หรือถูกติเตียนเล่า พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรนายคามณี ข้อนั้นพึงทราบโดยปริยายนี้ว่า ทุกข์อย่างใด อย่างหนึ่งเมื่อเกิด ย่อมเกิดขึ้น ทุกข์ทั้งหมดนั้นมีฉันทะเป็นมูล มีฉันทะเป็นเหตุ เพราะฉันทะเป็นมูลแห่งทุกข์ ดูกรนายคามณี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เมื่อใด ท่านไม่ได้เห็นมารดาของจิรวาสีกุมาร ไม่ได้ฟังเสียง เมื่อนั้น ท่านมี ความพอใจ ความกำหนัดหรือความรักในมารดาของจิรวาสีกุมารหรือ ฯ คา. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. เพราะอาศัยการเห็นหรือการฟัง ท่านจึงมีความพอใจ ความกำหนัด หรือความรักในมารดาของจิรวาสีกุมารหรือ ฯ คา. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ความโศก ความร่ำไร ความ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส พึงเกิดขึ้นแก่ท่าน เพราะมารดาของจิรวาสีกุมารตาย ถูกจำจอง เสื่อมทรัพย์หรือถูกติเตียนหรือ ฯ คา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้เมื่อมารดาของจิรวาสีกุมารมีชีวิตอยู่ ข้าพระองค์พึงมีความกระวนกระวายใจ ไฉนความโศก ความร่ำไร ความทุกข์ โทมนัสและอุปายาส จักไม่เกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์ เพราะมารดาของจิรวาสีกุมาร ตาย ถูกจองจำ เสื่อมทรัพย์หรือถูกติเตียนเล่า พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรนายคามณี ท่านพึงทราบความข้อนั้นโดยปริยายนี้ว่า ทุกข์อย่าง ใดอย่างหนึ่งเมื่อเกิด ย่อมเกิดขึ้น ทุกข์ทั้งหมดนั้นมีฉันทะเป็นมูล มีฉันทะเป็น เหตุ เพราะฉันทะเป็นมูลเหตุแห่งทุกข์ ฯ
จบสูตรที่ ๑๑
ราสิยสูตร
[๖๒๙] ครั้งนั้นแล นายบ้านนามว่าราสิยะได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับมาว่า พระสมณโคดมติเตียนตบะทั้งปวง เข้าไปว่า เข้าไปด่าบุคคลทั้งปวงผู้มีตบะ ทรง ชีพอยู่อย่างเศร้าหมอง โดยส่วนเดียว ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชนเหล่าใด ได้กล่าวแล้วอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมติเตียนตบะทั้งปวง เข้าไปว่า เข้าไปด่า บุคคลทั้งปวงผู้มีตบะ ทรงชีพอยู่อย่างเศร้าหมอง โดยส่วนเดียว ดังนี้ ชนเหล่า นั้นเป็นอันกล่าวตามคำที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว จะไม่กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค ด้วยคำอันไม่จริง และพยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งการคล้อยตามวาทะที่ ถูกไรๆ จะไม่ถึงฐานะอันวิญญูชนพึงติเตียนได้แลหรือ พระเจ้าข้า ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรนายคามณี ชนเหล่าใดได้กล่าวแล้วอย่างนี้ ว่า พระสมณโคดมติเตียนตบะทั้งปวง เข้าไปว่า เข้าไปด่าบุคคลทั้งปวงผู้มีตบะ ทรงชีพอยู่อย่างเศร้าหมอง โดยส่วนเดียว ดังนี้ ชนเหล่านั้นย่อมไม่เป็นอันกล่าว ตามคำที่เรากล่าวแล้ว และกล่าวตู่เราด้วยคำเท็จ ไม่เป็นจริง ฯ [๖๓๐] ดูกรนายคามณี บรรพชิตไม่ควรเสพส่วนสุด ๒ อย่างนี้ คือ ๑. การประกอบตนให้พัวพันด้วยกามสุขในกามทั้งหลาย อันเป็นธรรมเลวทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่เป็นของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วย ประโยชน์ ๒. การประกอบตนให้เหน็ดเหนื่อยลำบากเปล่า ซึ่งเป็นทุกข์ ไม่ใช่ เป็นของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ดูกรนายคามณี ข้อปฏิบัติสาย กลาง ไม่เข้าไปใกล้ส่วนสุด ๒ อย่างนั้น อันพระตถาคตตรัสรู้ด้วยปัญญาอัน ยิ่งแล้ว กระทำให้เกิดจักษุ กระทำให้เกิดญาณ ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ดูกรนายคามณี ก็ข้อปฏิบัติสายกลาง อันพระตถาคตตรัสรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งแล้ว กระทำให้เกิดจักษุ กระทำให้เกิดญาณ ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพานนั้น เป็นไฉน คืออริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล คือ สัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ดูกรนายคามณี ข้อปฏิบัติสายกลางนี้แล อันตถาคตตรัสรู้ด้วยปัญญา อันยิ่งแล้ว กระทำให้เกิดจักษุ กระทำให้เกิดญาณ ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ ระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ฯ [๖๓๑] ดูกรนายคามณี บุคคลผู้บริโภคกาม ๓ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ ในโลก ๓ จำพวกเป็นไฉน คือ บุคคลบริโภคกามบางคนในโลกนี้ แสวงหา โภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม โดยความผลุนผลัน ครั้นแล้วไม่เลี้ยงตัวให้เป็นสุข สบาย ไม่จำแนกทาน ไม่ทำบุญ ๑ ก็บุคคลผู้บริโภคกามบางคนในโลกนี้ แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม โดยความผลุนผลัน ครั้นแล้วเลี้ยงตัวให้เป็น สุขสบาย แต่ไม่จำแนกทาน ไม่ทำบุญ ๑ บุคคลผู้บริโภคกามบางคนในโลกนี้ แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม โดยความผลุนผลัน ครั้นแล้วเลี้ยงตัวให้เป็น สุขสบาย จำแนกทาน ทำบุญ ๑ ฯ [๖๓๒] ดูกรนายคามณี บุคคลผู้บริโภคกามบางคนในโลกนี้ แสวงหา โภคทรัพย์โดยชอบธรรม และไม่ชอบธรรม โดยความผลุนผลันบ้าง โดยความ ไม่ผลุนผลันบ้าง ครั้นแล้วไม่เลี้ยงตัวให้สุขสบาย ไม่จำแนกทาน ไม่ทำบุญ บุคคลผู้บริโภคกามบางคนในโลกนี้ แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรมและไม่ชอบ ธรรม โดยความผลุนผลันบ้าง โดยความไม่ผลุนผลันบ้าง ครั้นแล้วเลี้ยงตัวให้ เป็นสุขสบาย แต่ไม่จำแนกทาน ไม่ทำบุญ บุคคลผู้บริโภคกามบางคนในโลกนี้ แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรมและไม่ชอบธรรม โดยความผลุนผลันบ้าง โดย ความไม่ผลุนผลันบ้าง ครั้นแล้วเลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย จำแนกทาน ทำบุญ ฯ [๖๓๓] ดูกรนายคามณี อนึ่ง บุคคลผู้บริโภคกามบางคนในโลกนี้ แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม โดยไม่ผลุนผลัน ครั้นแล้วไม่เลี้ยงตัวให้เป็น สุขสบาย ไม่จำแนกทาน ไม่ทำบุญ ก็บุคคลผู้บริโภคกามบางคนในโลกนี้ แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม โดยไม่ผลุนผลัน ครั้นแล้วเลี้ยงตัวให้เป็นสุข สบาย แต่ไม่จำแนกทาน ไม่ทำบุญ ก็บุคคลผู้บริโภคกามบางคนในโลกนี้ แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม โดยไม่ผลุนผลัน ครั้นแล้วเลี้ยงตัวให้เป็นสุข สบาย จำแนกทาน ทำบุญ แต่ยังเป็นคนละโมภ หลงพัวพัน ไม่เห็นโทษ ไม่ มีปัญญาเครื่องสลัดออก บริโภคทรัพย์นั้นอยู่ ดูกรนายคามณี อนึ่ง บุคคลผู้ บริโภคกามบางคนในโลกนี้ แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม โดยไม่ผลุนผลัน ครั้นแล้วเลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย จำแนกทาน ทำบุญ และไม่ละโมภ ไม่หลง ไม่พัวพัน มีปรกติเห็นโทษ มีปัญญาเครื่อนสลัดออก บริโภคทรัพย์นั้นอยู่ ฯ [๖๓๔] ดูกรนายคามณี ในบุคคลผู้บริโภคกาม ๓ จำพวกนั้น ผู้บริโภค กามที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม โดยความผลุนผลัน ครั้นแล้วไม่เลี้ยง ตัวให้เป็นสุขสบาย ไม่จำแนกทาน ไม่ทำบุญ นี้พึงถูกติเตียนโดย ๓ สถาน พึงถูกติเตียนโดย ๓ สถานเป็นไฉน คือ สถานที่ ๑ พึงถูกติเตียนดังนี้ว่า แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม โดยความผลุนผลัน สถานที่ ๒ พึงถูก ติเตียนดังนี้ว่า ไม่เลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย สถานที่ ๓ พึงถูกติเตียนดังนี้ว่า ไม่ จำแนกทาน ไม่ทำบุญ ดูกรนายคามณี บุคคลผู้บริโภคกามเช่นนี้ พึงถูกติเตียน โดย ๓ สถานเหล่านี้ ฯ [๖๓๕] ดูกรนายคามณี ในบุคคลผู้บริโภคกาม ๓ จำพวกนั้น ผู้บริ- *โภคกามที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม โดยความผลุนผลัน ครั้นแล้ว เลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย แต่ไม่จำแนกทาน ไม่ทำบุญนี้ พึงถูกติเตียนโดย ๒ สถาน ควรสรรเสริญโดยสถานเดียว พึงถูกติเตียนโดย ๒ สถานเป็นไฉน คือ สถานที่ ๑ พึงถูกติเตียนดังนี้ว่า แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม โดย ความผลุนผลัน สถานที่ ๒ พึงถูกติเตียนดังนี้ว่า ไม่จำแนกทาน ไม่ทำบุญ ควรสรรเสริญโดยสถานเดียวเป็นไฉน ควรสรรเสริญโดยสถานเดียวว่า เลี้ยงตัว ให้เป็นสุขสบาย ดูกรนายคามณี บุคคลผู้บริโภคกามเช่นนี้ พึงถูกติเตียนโดย ๒ สถาน ควรสรรเสริญโดยสถานเดียวนี้ ฯ [๖๓๖] ดูกรนายคามณี ในบุคคลผู้บริโภคกาม ๓ จำพวกนั้น ผู้บริโภค กามที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม โดยความผลุนผลัน ครั้นแล้วเลี้ยงตัว ให้เป็นสุขสบาย จำแนกทาน ทำบุญนี้ พึงถูกติเตียนโดยสถานอย่างเดียว ควร สรรเสริญโดย ๒ สถาน พึงถูกติเตียนโดยสถานเดียวเป็นไฉน คือ พึงถูก ติเตียนโดยสถานเดียวว่า แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม โดยความผลุนผลัน ควรสรรเสริญโดย ๒ สถานเป็นไฉน คือ สถานที่ ๑ ควรสรรเสริญดังนี้ว่า เลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย สถานที่ ๒ ควรสรรเสริญดังนี้ว่า จำแนกทาน ทำบุญ ดูกรนายคามณี บุคคลผู้บริโภคกามเช่นนี้ พึงถูกติเตียนโดยสถานเดียว ควร สรรเสริญโดย ๒ สถานเหล่านี้ ฯ [๖๓๗] ดูกรนายคามณี ในบุคคลผู้บริโภคกาม ๓ จำพวกนั้น ผู้บริโภค กามที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรมและไม่ชอบธรรม โดยผลุนผลันบ้าง โดย ไม่ผลุนผลันบ้าง ครั้นแล้วไม่เลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย ไม่จำแนกทาน ไม่ทำบุญ นี้ ควรสรรเสริญโดยสถานเดียว พึงถูกติเตียนโดย ๓ สถาน ควรสรรเสริญโดย สถานเดียวเป็นไฉน คือ ควรสรรเสริญโดยสถานเดียวดังนี้ว่า แสวงหาโภคทรัพย์ โดยชอบธรรม โดยความไม่ผลุนผลัน พึงถูกติเตียนโดย ๓ สถานเป็นไฉน คือ สถานที่ ๑ พึงถูกติเตียนดังนี้ว่า แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม โดยความ ผลุนผลัน สถานที่ ๒ พึงถูกติเตียนดังนี้ว่า ไม่เลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย สถาน ที่ ๓ พึงถูกติเตียนดังนี้ว่า ไม่จำแนกทาน ไม่ทำบุญ ดูกรนายคามณี บุคคล บริโภคกามเช่นนี้ ควรสรรเสริญโดยสถานเดียว พึงถูกติเตียนโดย ๓ สถาน เหล่านี้ ฯ [๖๓๘] ดูกรนายคามณี ในบุคคลผู้บริโภคกาม ๓ จำพวกนั้น ผู้บริโภค กามที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรมและไม่ชอบธรรม โดยผลุนผลันบ้าง โดยไม่ ผลุนผลันบ้าง ครั้นแล้วเลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย แต่ไม่จำแนกทาน ไม่ทำบุญนี้ ควรสรรเสริญโดย ๒ สถาน พึงถูกติเตียนโดย ๒ สถาน ควรสรรเสริญโดย ๒ สถานเป็นไฉน คือ สถานที่ ๑ ควรสรรเสริญดังนี้ว่า แสวงหาโภคทรัพย์ โดยชอบธรรม โดยความไม่ผลุนผลัน สถานที่ ๒ ควรสรรเสริญดังนี้ว่า เลี้ยง ตัวให้เป็นสุขสบาย พึงถูกติเตียนโดย ๒ สถานเป็นไฉน คือ สถานที่ ๑ พึง ถูกติเตียนดังนี้ว่า แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม โดยความผลุนผลัน สถานที่ ๒ พึงถูกติเตียนดังนี้ว่า ไม่จำแนกทาน ไม่ทำบุญ ดูกรนายคามณี บุคคลผู้บริโภคกามเช่นนี้ ควรสรรเสริญโดย ๒ สถาน พึงถูกติเตียน ๒ สถาน เหล่านี้ ฯ [๖๓๙] ดูกรนายคามณี ในบุคคลผู้บริโภคกาม ๓ จำพวกนั้น ผู้บริโภค กามที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรมและไม่ชอบธรรม โดยผลุนผลันบ้าง โดย ไม่ผลุนผลันบ้าง ครั้นแล้วเลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย จำแนกทาน ทำบุญนี้ ควร สรรเสริญโดย ๓ สถาน พึงถูกติเตียนโดยสถานเดียว ควรสรรเสริญโดย ๓ สถานเป็นไฉน คือ สถานที่ ๑ ควรสรรเสริญดังนี้ว่า แสวงหาโภคทรัพย์ โดยชอบธรรม โดยความไม่ผลุนผลัน สถานที่ ๒ ควรสรรเสริญดังนี้ว่า เลี้ยง ตัวให้เป็นสุขสบาย สถานที่ ๓ ควรสรรเสริญดังนี้ว่า จำแนกทาน ทำบุญ พึง ถูกติเตียนโดยสถานเดียวเป็นไฉน คือ พึงถูกติเตียนโดยสถานเดียวดังนี้ว่า แสวง หาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม โดยความผลุนผลัน ดูกรนายคามณี บุคคลผู้ บริโภคกามเช่นนี้ ควรสรรเสริญโดย ๓ สถาน พึงถูกติเตียนโดยสถาน เดียวนี้ ฯ [๖๔๐] ดูกรนายคามณี ในบุคคลผู้บริโภคกาม ๓ จำพวกนั้น ผู้บริโภค กามที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม โดยความไม่ผลุนผลัน ครั้นแล้วไม่เลี้ยง ตัวให้สุขสบาย ไม่จำแนกทานไม่ทำบุญนี้ ควรสรรเสริญโดยสถานเดียว พึงถูก ติเตียนโดย ๒ สถาน ควรสรรเสริญโดยสถานเดียวเป็นไฉน คือควรสรรเสริญ โดยสถานเดียวดังนี้ว่า แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม โดยความไม่ผลุนผลัน พึงถูกติเตียนโดย ๒ สถานเป็นไฉน คือ สถานที่ ๑ พึงถูกติเตียนดังนี้ว่า ไม่ เลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย สถานที่ ๒ พึงถูกติเตียนดังนี้ว่า ไม่จำแนกทาน ไม่ ทำบุญ ดูกรนายคามณี บุคคลผู้บริโภคกามเช่นนี้ ควรสรรเสริญโดยสถานเดียว พึงถูกติเตียนโดย ๒ สถานเหล่านี้ ฯ [๖๔๑] ดูกรนายคามณี ในบุคคลผู้บริโภคกาม ๓ จำพวกนั้น ผู้บริโภค กามที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม โดยความไม่ผลุนผลัน ครั้นแล้วเลี้ยงตัว ให้เป็นสุขสบาย แต่ไม่จำแนกทาน ไม่ทำบุญนี้ ควรสรรเสริญโดย ๒ สถาน พึงถูกติเตียนโดยสถานเดียว ควรสรรเสริญโดย ๒ สถานเป็นไฉน คือ สถาน ที่ ๑ ควรสรรเสริญดังนี้ว่า แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม โดยความไม่ ผลุนผลัน สถานที่ ๒ ควรสรรเสริญดังนี้ว่า เลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย พึงถูก ติเตียนโดยสถานเดียวเป็นไฉน คือ พึงติเตียนโดยสถานเดียวดังนี้ว่า ไม่ จำแนกทาน ไม่ทำบุญ ดูกรนายคามณี บุคคลผู้บริโภคกามเช่นนี้ ควรสรรเสริญ โดย ๒ สถาน พึงถูกติเตียนโดยสถานเดียวนี้ ฯ [๖๔๒] ดูกรนายคามณี ในบุคคลผู้บริโภคกาม ๓ จำพวกนั้น ผู้บริโภค กามที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม โดยความไม่ผลุนผลัน ครั้นแล้วเลี้ยงตัว ให้เป็นสุขสบาย จำแนกทาน ทำบุญ แต่ยังเป็นคนละโมภ หลง พัวพัน ไม่เห็นโทษ ไม่มีปัญญาเครื่องสลัดออก บริโภคโภคทรัพย์นี้ ควรสรรเสริญ โดย ๓ สถาน พึงถูกติเตียนโดยสถานเดียว ควรสรรเสริญโดย ๓ สถาน เป็นไฉน คือ สถานที่ ๑ ควรสรรเสริญดังนี้ว่า แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม โดยความไม่ผลุนผลัน สถานที่ ๒ ควรสรรเสริญดังนี้ว่า เลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย สถานที่ ๓ ควรสรรเสริญดังนี้ว่า จำแนกทาน ทำบุญ พึงถูกติเตียนโดยสถาน เดียวเป็นไฉน คือ พึงถูกติเตียนโดยสถานเดียวดังนี้ว่า เป็นคนละโมภ หลง พัวพัน ไม่เห็นโทษ ไม่มีปัญญาเครื่องสลัดออก บริโภคโภคทรัพย์ ดูกรนาย คามณี บุคคลผู้บริโภคกามเช่นนี้ ควรสรรเสริญโดย ๓ สถาน พึงถูกติเตียน โดยสถานเดียวนี้ ฯ [๖๔๓] ดูกรนายคามณี ในบุคคลผู้บริโภคกาม ๓ จำพวกนั้น ผู้บริโภค กามที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม โดยความไม่ผลุนผลัน ครั้นแล้วเลี้ยงตัว ให้เป็นสุขสบาย จำแนกทาน ทำบุญ และไม่ละโมภ ไม่หลง ไม่พัวพัน มี ปรกติเห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก บริโภคโภคทรัพย์นี้ ควรสรรเสริญ โดย ๔ สถาน ควรสรรเสริญโดย ๔ สถานเป็นไฉน คือ สถานที่ ๑ ควร สรรเสริญดังนี้ว่า แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม โดยความไม่ผลุนผลัน สถานที่ ๒ ควรสรรเสริญดังนี้ว่า เลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย สถานที่ ๓ ควร สรรเสริญดังนี้ว่า จำแนกทาน ทำบุญ สถานที่ ๔ ควรสรรเสริญดังนี้ว่า เป็นคน ไม่ละโมภ ไม่หลง ไม่พัวพัน มีปรกติเห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก บริโภคโภคทรัพย์ ดูกรนายคามณี บุคคลผู้บริโภคกามเช่นนี้ ควรสรรเสริญโดย ๔ สถานเหล่านี้ ฯ [๖๔๔] ดูกรนายคามณี บุคคลผู้มีตบะ ทรงชีพอยู่อย่างเศร้าหมอง ๓ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ๓ จำพวกเป็นไฉน คือ บุคคลผู้มีตบะทรงชีพ อยู่อย่างเศร้าหมองบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีศรัทธาออกบวชเป็นบรรพชิตด้วยคิดว่า ไฉนหนอ เราพึงบรรลุกุศลธรรม พึงทำให้แจ้งซึ่งอุตริมนุสธรรมที่เป็นญาณทัศนะ วิเศษชั้นเยี่ยม อย่างบริบูรณ์ ดังนี้ เขาย่อมทำตัวให้ร้อนรนกระวนกระวาย แต่ ก็ไม่บรรลุกุศลธรรม ทำให้แจ้งซึ่งอุตริมนุสธรรมที่เป็นญาณทัศนะวิเศษชั้นเยี่ยม อย่างบริบูรณ์ไม่ได้ ๑ ดูกรนายคามณี ก็บุคคลผู้มีตบะทรงชีพอยู่อย่างเศร้าหมอง บางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีศรัทธา ออกบวชเป็นบรรพชิตด้วยคิดว่า ไฉนหนอ เราพึงบรรลุกุศลธรรม พึงทำให้แจ้งซึ่งอุตริมนุสธรรม ที่เป็นญาณทัศนะวิเศษ ชั้นเยี่ยมอย่างบริบูรณ์ ดังนี้ เขาย่อมทำตัวให้ร้อนรนกระวนกระวาย บรรลุ กุศลธรรมอย่างเดียว แต่กระทำให้แจ้งซึ่งอุตริมนุสธรรมที่เป็นญาณทัศนะวิเศษ ชั้นเยี่ยมอย่างบริบูรณ์ไม่ได้ ๑ ดูกรนายคามณี ก็บุคคลผู้มีตบะทรงชีพอยู่อย่าง เศร้าหมองบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีศรัทธา ออกบวชเป็นบรรพชิตด้วยคิดว่า ไฉนหนอ เราพึงบรรลุกุศลธรรม พึงทำให้แจ้งซึ่งอุตริมนุสธรรมที่เป็นญาณทัศนะ วิเศษชั้นเยี่ยมอย่างบริบูรณ์ ดังนี้ เขาย่อมทำตัวให้ร้อนรนกระวนกระวาย ได้ บรรลุกุศลธรรม และทำให้แจ้งซึ่งอุตริมนุสธรรมที่เป็นญาณทัศนะวิเศษชั้นเยี่ยม อย่างบริบูรณ์ ๑ ฯ [๖๔๕] ดูกรนายคามณี ในบรรดาบุคคลผู้มีตบะทรงชีพอยู่อย่างเศร้า- *หมอง ๓ จำพวกนั้น ผู้มีตบะทรงชีพอยู่อย่างเศร้าหมอง ที่ทำตัวให้ร้อนรนกระวน กระวาย ไม่ได้บรรลุกุศลธรรม ทำให้แจ้งซึ่งอุตริมนุสธรรมที่เป็นญาณทัศนะ วิเศษชั้นเยี่ยมอย่างบริบูรณ์ไม่ได้นี้ พึงถูกติเตียนโดย ๓ สถาน พึงถูกติเตียน โดย ๓ สถานเป็นไฉน คือ สถานที่ ๑ พึงถูกติเตียนดังนี้ว่า ทำตัวให้ร้อนรน กระวนกระวาย สถานที่ ๒ พึงถูกติเตียนดังนี้ว่า ไม่ได้บรรลุกุศลธรรม สถานที่ ๓ พึงถูกติเตียนดังนี้ว่า ทำให้แจ้งซึ่งอุตริมนุสธรรม ที่เป็นญาณทัศนะวิเศษ ชั้นเยี่ยมอย่างบริบูรณ์ไม่ได้ ดูกรนายคามณี บุคคลผู้มีตบะทรงชีพอย่างเศร้าหมอง นี้ พึงถูกติเตียนโดย ๓ สถานเหล่านี้ ฯ [๖๔๖] ดูกรนายคามณี ในบรรดาบุคคลผู้มีตบะทรงชีพอยู่อย่างเศร้า หมอง ๓ จำพวกนั้น ผู้มีตบะทรงชีพอยู่อย่างเศร้าหมอง ที่ทำตัวให้ร้อนรนกระวน กระวาย ได้บรรลุกุศลธรรมเท่านั้น แต่ทำให้แจ้งซึ่งอุตริมนุสธรรมชั้นเยี่ยมอย่าง บริบูรณ์ไม่ได้นี้ พึงถูกติเตียนโดย ๒ สถาน ควรสรรเสริญโดยสถานเดียว พึง ถูกติเตียนโดย ๒ สถานเป็นไฉน คือ สถานที่ ๑ พึงถูกติเตียนดังนี้ว่า ทำตัว ให้ร้อนรนกระวนกระวาย สถานที่ ๒ พึงถูกติเตียนดังนี้ว่า ทำให้แจ้งซึ่ง อุตริมนุสธรรมที่เป็นญาณทัศนะวิเศษชั้นเยี่ยมอย่างบริบูรณ์ไม่ได้ ควรสรรเสริญ โดยสถานเดียวเป็นไฉน คือ ควรสรรเสริญโดยสถานเดียวดังนี้ว่า ได้บรรลุ กุศลธรรม ดูกรนายคามณี บุคคลผู้มีตบะทรงชีพอยู่อย่างเศร้าหมองเช่นนี้ พึง ถูกติเตียนโดย ๒ สถาน ควรสรรเสริญโดยสถานเดียวนี้ ฯ [๖๔๗] ดูกรนายคามณี ในบรรดาบุคคลผู้มีตบะทรงชีพอยู่อย่างเศร้า- *หมอง ๓ จำพวกนั้น ผู้มีตบะทรงชีพอยู่อย่างเศร้าหมอง ที่ทำตัวให้ร้อนรนกระวน กระวาย ได้บรรลุกุศลธรรม และทำให้แจ้งซึ่งอุตริมนุสธรรมที่เป็นญาณทัศนะ วิเศษชั้นเยี่ยมอย่างบริบูรณ์นี้ พึงถูกติเตียนโดยสถานเดียว ควรสรรเสริญโดย ๒ สถาน พึงถูกติเตียนโดยสถานเดียวเป็นไฉน คือ พึงถูกติเตียนโดยสถานเดียว ดังนี้ว่า ทำตัวให้ร้อนรนกระวนกระวาย ควรสรรเสริญโดย ๒ สถานเป็นไฉน คือ สถานที่ ๑ ควรสรรเสริญดังนี้ว่า ได้บรรลุกุศลธรรม สถานที่ ๒ ควร สรรเสริญดังนี้ว่า ทำให้แจ้งซึ่งอุตริมนุสธรรม ที่เป็นญาณทัศนะวิเศษชั้นเยี่ยม อย่างบริบูรณ์ได้ ดูกรนายคามณี บุคคลผู้มีตบะทรงชีพอยู่อย่างเศร้าหมองเช่นนี้ พึงถูกติเตียนโดยสถานเดียว ควรสรรเสริญโดย ๒ สถานเหล่านี้ ฯ [๖๔๘] ดูกรนายคามณี ธรรม ๓ อย่างนี้ เป็นของอันบุคคลพึงเห็นเอง หาความทรุดโทรมมิได้ ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามา ในตน อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตน ธรรม ๓ อย่างเป็นไฉน คือ การที่บุคคล เป็นผู้กำหนัดตั้งใจที่จะเบียดเบียนตนเองบ้าง ตั้งใจที่จะเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ตั้งใจ ที่จะเบียดเบียนทั้งตนเองทั้งผู้อื่นบ้าง เพราะราคะเป็นเหตุ เมื่อละราคะได้แล้ว ย่อมไม่ตั้งใจที่จะเบียดเบียนตนเองบ้าง ย่อมไม่ตั้งใจที่จะเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ย่อมไม่ตั้งใจที่จะเบียดเบียนทั้งตนเองทั้งผู้อื่นบ้าง นี้เป็นธรรมอันบุคคลพึงเห็นเอง หาความทรุดโทรมมิได้ ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามา ในตน อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตน ๑ การที่บุคคลผู้ถูกโทสะประทุษร้ายแล้ว ตั้งใจที่จะเบียดเบียนตนเองบ้าง ตั้งใจที่จะเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ตั้งใจที่จะเบียดเบียนทั้งตนเองทั้งผู้อื่นบ้าง เพราะ โทสะเป็นเหตุ เมื่อละโทสะได้แล้ว ย่อมไม่ตั้งใจที่จะเบียดเบียนตนเองบ้าง ย่อมไม่ตั้งใจที่จะเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ย่อมไม่ตั้งใจที่จะเบียดเบียนทั้งตนเองทั้งผู้อื่น บ้าง นี้เป็นธรรมอันบุคคลพึงเห็นเอง หาความทรุดโทรมมิได้ ไม่ประกอบด้วย กาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตน ๑ การที่บุคคลผู้หลงแล้ว ตั้งใจจะเบียดเบียนตนเองบ้าง ตั้งใจจะ เบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ตั้งใจจะเบียดเบียนทั้งตนเองทั้งผู้อื่นบ้าง เพราะโมหะ เป็นเหตุ เมื่อละโมหะได้แล้ว ย่อมไม่ตั้งใจที่จะเบียดเบียนตนเองบ้าง ย่อมไม่ ตั้งใจที่จะเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ย่อมไม่ตั้งใจที่จะเบียดเบียนทั้งตนเองทั้งผู้อื่นบ้าง นี้เป็นธรรมอันบุคคลพึงเห็นเอง หาความทรุดโทรมมิได้ ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนจะพึงรู้ เฉพาะตน ๑ ดูกรนายคามณี ธรรม ๓ อย่างนี้แล เป็นของอันบุคคลพึงเห็นเอง หาความทรุดโทรมมิได้ ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามา ในตน อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตน ฯ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้แล้ว นายบ้านนามว่าราสิยะได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของพระองค์ แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระผู้มีพระภาคทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย ดุจหงายของที่คว่ำ เปิดของ ที่ปิด บอกทางให้แก่คนหลงทาง หรือส่องไฟในที่มืดด้วยหวังว่า คนมีจักษุจัก เห็นรูป ฉะนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค กับทั้งพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงจำ ข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป จนตลอดชีวิต ฯ
จบสูตรที่ ๑๒
ปาฏลิยสูตร
[๖๔๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ อุตตรนิคมแห่งชาว โกฬิยะในแคว้นโกฬิยะ ครั้งนั้นแล นายบ้านนามว่าปาฏลิยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ สดับมาว่า พระสมณโคดมทรงรู้จักมายา ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชนเหล่าใด กล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมทรงรู้จักมายา ดังนี้ ชนเหล่านั้นเป็นอันกล่าว ตามพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว จะไม่กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำ ไม่จริง และพยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งการคล้อยตามวาทะที่ถูกไรๆ จะไม่ถึงฐานะอันวิญญูชนจะติเตียนได้แลหรือ เพราะว่าข้าพระองค์ไม่ประสงค์ จะกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเลย พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรนายคามณี ชน เหล่าใดกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมทรงทราบมายา ดังนี้ ชนเหล่านั้นเป็นอัน กล่าวตามคำที่เรากล่าวแล้ว ย่อมไม่กล่าวตู่เราด้วยคำไม่จริง และพยากรณ์ธรรม สมควรแก่ธรรม ทั้งการคล้อยตามวาทะที่ถูกไรๆ ย่อมไม่ถึงฐานะอันวิญญูชน จะติเตียนได้ ฯ คา. ข่าวเล่าลือข้อนั้นจริงเทียวพระองค์ แต่พวกข้าพระองค์ มิได้ เชื่อถือสมณพราหมณ์พวกนั้นว่า พระสมณโคดมทรงรู้จักมายา ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ข่าวว่า พระสมณโคดมมีมายา ฯ พ. ดูกรนายคามณี ผู้ใดแลพูดอย่างนี้ว่า เรารู้จักมายา ผู้นั้นย่อมจะพูด อย่างนี้ว่า เรามีมายา ฯ คา. ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้อนั้นย่อมเป็นดังนั้นเทียว ข้าแต่พระสุคต ข้อนั้นย่อมเป็นดังนั้นเทียว ฯ พ. ดูกรนายคามณี ถ้าเช่นนั้น เราจักย้อนถามท่านในข้อนี้ ท่านพึง แก้ตามที่ท่านชอบใจ ฯ [๖๕๐] ดูกรนายคามณี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ท่านย่อม รู้จักพวกอำมาตย์ผู้มีมวยผมยาวแห่งชาวโกฬิยะหรือ ฯ คา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ย่อมรู้จักพวกอำมาตย์ผู้มีมวยผม ยาวแห่งชาวโกฬิยะ พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรนายคามณี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน พวกอำมาตย์ ผู้มีมวยผมยาวแห่งชาวโกฬิยะมีประโยชน์อย่างไร ฯ คา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกอำมาตย์ผู้มีมวยผมยาวแห่งชาวโกฬิยะ มีประโยชน์ดังนี้ คือ เพื่อป้องกันพวกโจรแห่งชาวโกฬิยะ เพื่อละความเป็นคน นำข่าวแห่งชาวโกฬิยะ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกอำมาตย์ผู้มีมวยผมยาวแห่ง ชาวโกฬิยะมีประโยชน์อย่างนี้ พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรนายคามณี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ท่านย่อมรู้จัก อำมาตย์ผู้มีมวยผมยาวในนิคมแห่งชาวโกฬิยะว่า เป็นคนมีศีลหรือเป็นคนทุศีล ฯ คา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ย่อมรู้จักพวกอำมาตย์ผู้มีมวยผม ยาวแห่งชาวโกฬิยะว่าเป็นคนทุศีล มีธรรมเลวทรามและพวกอำมาตย์ผู้มีมวยผม ยาวแห่งโกฬิยะ เป็นพวกหนึ่งในจำนวนบุคคลผู้ทุศีลมีธรรมเลวทรามในโลก ฯ พ. ดูกรนายคามณี ผู้ใดแลพึงพูดอย่างนี้ว่า นายบ้านนามว่าปาฏลิยะ รู้จักพวกอำมาตย์ผู้มีมวยผมยาวแห่งชาวโกฬิยะ ซึ่งเป็นคนทุศีล มีธรรมเลวทราม แม้นายบ้านปาฏลิยะก็เป็นคนทุศีล มีธรรมเลวทราม ดังนี้ ผู้นั้นเมื่อพูดถึง พึงพูดถูกหรือหนอแล ฯ คา. หาเป็นเช่นนั้นไม่ พระเจ้าข้า พวกอำมาตย์ผู้มีมวยผมยาวแห่ง ชาวโกฬิยะเป็นพวกหนึ่ง ข้าพระองค์เป็นพวกหนึ่ง พวกอำมาตย์ ผู้มีมวยผม ยาวแห่งชาวโกฬิยะเป็นคนมีธรรมเป็นอย่างหนึ่ง ข้าพระองค์เป็นคนมีธรรม เป็นอย่างหนึ่ง ฯ พ. ดูกรนายคามณี ก็ที่จริง ท่านจักไม่ได้เป็นดังนี้ว่า นายบ้านนามว่า ปาฏลิยะ รู้จักพวกอำมาตย์ผู้มีมวยผมยาวแห่งชาวโกฬิยะ ซึ่งเป็นคนทุศีล มี ธรรมเลวทราม แต่นายบ้านปาฏลิยะไม่ใช่เป็นคนทุศีล มีธรรมเลวทราม ฉะนั้น ตถาคตจักไม่ได้เป็นดังนี้ว่า ตถาคตรู้จักมายา แต่ว่าตถาคตไม่มีมายา ฯ [๖๕๑] ดูกรนายคามณี เรารู้ชัดทั้งมายา ผลของมายา และตลอดถึง ความที่บุคคลผู้มีมายาปฏิบัติอย่างไรแล้ว เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เรารู้ชัดทั้งปาณาติบาต ผลของปาณาติบาต และตลอดถึง ความที่บุคคลผู้ฆ่าสัตว์ปฏิบัติอย่างไรแล้ว เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เรารู้ชัดทั้งอทินนาทาน ผลของอทินนาทาน และตลอดถึง ความที่บุคคลผู้ลักทรัพย์ปฏิบัติอย่างไรแล้ว เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เรารู้ชัดทั้งกาเมสุมิจฉาจาร ผลของกาเมสุมิจฉาจาร และ ตลอดถึงความที่บุคคลผู้ประพฤติผิดในกามปฏิบัติอย่างไรแล้ว เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เรารู้ชัดทั้งมุสาวาท ผลของมุสาวาท และตลอดถึงความที่บุคคลผู้พูดเท็จปฏิบัติอย่างไรแล้ว เมื่อแตกกายตายไป ย่อม เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เรารู้ชัดทั้งปิสุณาวาจา ผลของปิสุณวาจา และตลอดถึงความที่บุคคลกล่าวคำส่อเสียดปฏิบัติอย่างไรแล้ว เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เรารู้ชัดทั้งผรุสวาจา ผลของผรุสวาจา และตลอดถึงความที่บุคคลผู้กล่าวคำหยาบปฏิบัติอย่างไรแล้ว เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เรารู้ชัดทั้งสัมผัปปลาปะ ผลของ สัมผัปปลาปะ และตลอดถึงความที่บุคคลผู้พูดเพ้อเจ้อปฏิบัติอย่างไรแล้ว เมื่อ แตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เรารู้ชัดทั้งอภิชฌา ผลของอภิชฌา และตลอดถึงความที่บุคคลผู้มีอภิชฌาปฏิบัติอย่างไรแล้ว เมื่อ แตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เรารู้ชัดทั้งความพยาบาท ประทุษร้ายเขา ผลของความพยาบาทประทุษร้ายเขา และตลอดถึงความที่บุคคล ผู้มีจิตพยาบาทปฏิบัติอย่างไรแล้ว เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เรารู้ชัดทั้งมิจฉาทิฐิ ผลของมิจฉาทิฐิ และตลอดถึงความที่บุคคล ผู้เป็นมิจฉาทิฐิปฏิบัติอย่างไรแล้ว เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ฯ [๖๕๒] ดูกรนายคามณี มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิ อย่างนี้ว่า บุคคลผู้ฆ่าสัตว์ทุกคนต้องเสวยทุกข์โทมนัสในปัจจุบัน บุคคลผู้ลักทรัพย์ ทุกคนต้องเสวยทุกข์โทมนัสในปัจจุบัน บุคคลผู้ประพฤติผิดในกามคุณทุกคนต้อง เสวยทุกข์โทมนัสในปัจจุบัน บุคคลผู้พูดเท็จทุกคนต้องเสวยทุกข์โทมนัสใน ปัจจุบัน ฯ [๖๕๓] ดูกรนายคามณี ก็แหละบุคคลบางคนในโลกนี้ ปรากฏว่าเป็น ผู้ประดับด้วยดอกไม้ ใส่ตุ้มหู อาบน้ำ ลูบไล้ดีแล้ว ตบแต่งผมและหนวดแล้ว ให้บำเรอตนด้วยความใคร่กับสตรี เหมือนกับพระราชา ชนทั้งหลายพูดถึงบุคคล นั้นอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้เจริญ ชายคนนี้ได้ทำอะไร จึงเป็นผู้ประดับด้วยดอกไม้ ใส่ตุ้มหู อาบน้ำ ลูบไล้ดีแล้ว ตบแต่งผมและหนวดแล้ว ให้บำเรอตนด้วย ความใคร่กับสตรีเหมือนกับพระราชา ชนทั้งหลายได้พูดถึงชายคนนั้นอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้เจริญ ชายคนนี้ข่มข้าศึกของพระราชาแล้วฆ่ามันเสีย พระราชาทรง- *โสมนัส ได้ทรงพระราชทานรางวัล ฉะนั้น ชายคนนี้จึงเป็นผู้ประดับด้วยดอกไม้ ใส่ตุ้มหู อาบน้ำ ลูบไล้ดีแล้ว ตบแต่งผมและหนวดแล้ว ให้บำเรอตนด้วยความ ใคร่กับสตรีเหมือนกับพระราชา ดูกรนายคามณี บุคคลบางคนในโลกนี้ ปรากฏ ว่าถูกเขาเอาเชือกที่เหนียวแน่นมัดแขนไพล่หลังอย่างมั่นคงแล้ว โกนศีรษะเสีย แล้วพาตระเวนไปตามถนนตามตรอก ด้วยบัณเฑาะว์เสียงสนั่น แล้วออกทาง ประตูด้านทิศทักษิณ แล้วตัดศีรษะเสียทางด้านทักษิณของพระนคร ชนทั้งหลาย ได้พูดถึงบุคคลนั้นอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้เจริญ ชายคนนี้ได้ทำอะไรไว้ จึงถูกเขา เอาเชือกที่เหนียวแน่นมัดแขนไพล่หลังอย่างมั่นคงแล้ว โกนศีรษะเสีย แล้วพา ตระเวนไปตามถนนตามตรอก ด้วยบัณเฑาะว์เสียงสนั่น แล้วออกทางประตูด้าน ทิศทักษิณ แล้วตัดศีรษะเสียทางด้านทักษิณของพระนคร ชนทั้งหลายได้พูดถึง ชายคนนี้ว่า ดูกรท่านผู้เจริญ ชายคนนี้ฆ่าบุรุษหรือสตรีที่มีเวรกับพระราชา ฉะนั้น พระราชาทั้งหลายจึงรับสั่งให้จับเขาแล้วกระทำกรรมกรณ์เห็นปานนี้ ดังนี้ ดูกร- *นายคามณี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เหตุการณ์เช่นนี้ ท่านได้เห็นหรือ ได้ฟังมาบ้างไหม ฯ คา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหตุการณ์เช่นนี้ ข้าพระองค์ได้เห็นมาแล้ว ด้วย ได้ฟังมาแล้วด้วย จักได้ฟังต่อไปอีกด้วย ฯ [๖๕๔] พ. ดูกรนายคามณี ในสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์ พวกที่มีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า บุคคลผู้ฆ่าสัตว์ทุกคนต้องเสวยทุกข์โทมนัส ในปัจจุบัน ดังนี้ เขาเหล่านั้นพูดจริงหรือเท็จ ฯ คา. พูดเท็จ พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็พวกที่กล่าวเท็จเปล่าๆ นั้น เป็นคนมีศีลหรือเป็นคนทุศีลเล่า ฯ คา. เป็นคนทุศีล พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็พวกที่เป็นคนทุศีลมีธรรมเลวทรามนั้น เป็นคนปฏิบัติผิดหรือเป็น คนปฏิบัติชอบเล่า ฯ คา. เป็นคนปฏิบัติผิด พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็พวกที่ปฏิบัติผิดนั้น เป็นคนมีความเห็นผิดหรือเป็นคนมีความเห็น ชอบเล่า ฯ คา. เป็นคนมีความเห็นผิด พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สมควรละหรือที่จะเลื่อมใสในพวกที่มีความเห็นผิดเหล่านั้น ฯ คา. ไม่สมควรเลย พระเจ้าข้า ฯ [๖๕๕] พ. ดูกรนายคามณี บุคคลบางคนในโลกนี้ ปรากฏว่าเป็นผู้ ประดับด้วยดอกไม้ ใส่ตุ้มหู ฯลฯ แล้วให้บำเรอตนด้วยความใคร่กับสตรีเหมือน กับพระราชา ชนทั้งหลายพูดถึงบุคคลนั้นอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้เจริญ ชายคนนี้ได้ ทำอะไร จึงเป็นผู้ประดับด้วยดอกไม้ ใส่ตุ้มหู ฯลฯ ให้บำเรอตนด้วยความใคร่ กับสตรีเหมือนกับพระราชา ชนทั้งหลายได้พากันพูดถึงชายคนนี้อย่างนี้ว่า ดูกร- *ท่านผู้เจริญ ชายคนนี้ข่มขี่ ลักเอาทรัพย์ของข้าศึกของพระราชา พระราชาทรง- *โสมนัสได้พระราชทานรางวัลแก่เขา ฉะนั้น ชายคนนี้จึงประดับด้วยดอกไม้ ใส่ ตุ้มหู ฯลฯ ให้บำเรอตนด้วยความใคร่กับสตรีเหมือนกับพระราชา ดูกรนายคามณี บุคคลบางคนในโลกนี้ ปรากฏว่าถูกเขาเอาเชือกที่เหนียวมัดแขนไพล่หลังอย่าง มั่นคงแล้ว ฯลฯ ตัดศีรษะทางด้านทิศทักษิณของพระนคร ชนทั้งหลายได้พากัน พูดถึงบุคคลนั้นอย่างนี้ว่า ชนทั้งหลายได้พากันพูดถึงบุคคลนั้นอย่างนี้ว่า ดูกร- *ท่านผู้เจริญ ชายคนนี้ได้ทำอะไร จึงถูกเขาเอาเชือกที่เหนียวมัดแขนเอามือไพล่หลัง อย่างมั่นคงแล้ว ฯลฯ ตัดศีรษะเสียทางด้านทักษิณของพระนคร ดูกรท่านผู้เจริญ ชายคนนี้ลักทรัพย์เป็นส่วนหนึ่งแห่งโจรกรรมจากบ้านบ้าง จากป่าบ้าง ฉะนั้น พระราชาจึงรับสั่งให้จับเขาแล้วทำกรรมกรณ์เห็นปานนี้ ดูกรนายคามณี ท่านจะ สำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เหตุการณ์เช่นนี้ท่านได้เห็นหรือได้ฟังมาแล้วบ้างไหม ฯ คา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหตุการณ์เช่นนี้ข้าพระองค์ได้เห็นมาแล้วด้วย ได้ฟังมาแล้วด้วย จักได้ฟังต่อไปอีกด้วย ฯ [๖๕๖] พ. ดูกรนายคามณี ในสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์ พวกที่มีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า บุคคลผู้ลักทรัพย์ทุกคนต้องเสวยทุกขโทมนัส ในปัจจุบัน ดังนี้ เขาเหล่านั้นพูดจริงหรือเท็จ ฯ คา. พูดเท็จ พระเจ้าข้า ฯลฯ พ. ก็สมควรละหรือที่จะเลื่อมใสในพวกที่มีความเห็นผิดเหล่านั้น ฯ คา. ไม่สมควรเลย พระเจ้าข้า ฯ [๖๕๗] ดูกรนายคามณี ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ ปรากฏว่าเป็นผู้ประดับ ด้วยดอกไม้ ใส่ตุ้มหู ฯลฯ แล้วให้บำเรอตนด้วยความใคร่กับสตรีเหมือนกับพระ ราชา ชนทั้งหลายได้พากันพูดถึงบุคคลนั้นอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้เจริญ ชายคนนี้ ได้ทำอะไร จึงเป็นผู้ประดับด้วยดอกไม้ ใส่ตุ้มหู ฯลฯ แล้วให้บำเรอตนด้วย ความใคร่กับสตรีเหมือนกับพระราชา ชนทั้งหลายได้พากันพูดถึงคนนั้นอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้เจริญ ชายคนนี้ประพฤติผิดในภรรยาของข้าศึกของพระราชา พระราชา ทรงโสมนัสได้พระราชทานรางวัลแก่เขา เพราะเหตุนั้น ชายคนนี้จึงเป็นผู้ประดับ ด้วยดอกไม้ ใส่ตุ้มหู ฯลฯ แล้วให้บำเรอตนด้วยความใคร่กับสตรีเหมือนกับ พระราชา ดูกรนายคามณี บุคคลบางคนในโลกนี้ ปรากฏว่าถูกเขาเอาเชือกที่ เหนียวมัดแขนไพล่หลังอย่างมั่นคง ฯลฯ แล้วตัดศีรษะเสียทางด้านทักษิณของ พระนคร ชนทั้งหลายได้พากันพูดถึงบุคคลนั้นอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้เจริญ ชายคน นี้ได้กระทำอะไรไว้จึงถูกเขาเอาเชือกที่เหนียวมัดแขนไพล่หลังอย่างมั่นคง ฯลฯ แล้วตัดศีรษะเสียทางด้านทักษิณของพระนคร ชนทั้งหลายพากันพูดถึงคนนั้นอย่าง นี้ว่า ดูกรท่านผู้เจริญ ชายคนนี้ประพฤติผิดในกุลสตรีในกุลธิดา ฉะนั้นพระราชา ทั้งหลายจึงรับสั่งให้จับเขา แล้วกระทำกรรมกรณ์เห็นปานนี้ ดูกรนายคามณี ท่าน จะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เหตุการณ์เช่นนี้ท่านได้เห็นหรือได้ฟังมาแล้วบ้างไหม ฯ คา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหตุการณ์เช่นนี้ข้าพระองค์ได้เห็นมาแล้วด้วย ได้ฟังมาแล้วด้วย จักได้ฟังต่อไปอีกด้วย ฯ [๖๕๘] พ. ดูกรนายคามณี ในสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์ พวกที่มีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า บุคคลผู้ประพฤติผิดในกามคุณทุกคนต้อง เสวยทุกขโทมนัสในปัจจุบัน ดังนี้เขาเหล่านั้นพูดจริงหรือเท็จ ฯ คา. พูดเท็จ พระเจ้าข้า ฯลฯ พ. ก็สมควรละหรือที่จะเลื่อมใสในพวกที่มีความเห็นผิดเหล่านั้น ฯ คา. ไม่สมควรเลย พระเจ้าข้า ฯ [๖๕๙] พ. ดูกรนายคามณี ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ ปรากฏว่าเป็นผู้ ประดับด้วยดอกไม้ ใส่ตุ้มหู อาบน้ำ ลูบไล้ดีแล้ว ตบแต่งผมและหนวด แล้ว ให้บำเรอตนด้วยความใคร่กับสตรีเหมือนกับพระราชา ชนทั้งหลายได้พากันพูดถึง บุคคลนั้นอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้เจริญ ชายคนนี้ได้ทำอะไร จึงเป็นผู้ประดับด้วย ดอกไม้ ใส่ตุ้มหู อาบน้ำ ลูบไล้ดีแล้ว ตบแต่งผมและหนวด แล้วให้บำเรอตน ด้วยความใคร่กับสตรีเหมือนกับพระราชา ชนทั้งหลายได้พากันพูดถึงคนนั้นอย่างนี้ ว่า ดูกรท่านผู้เจริญ ชายคนนี้ทำพระราชาให้ทรงพระสรวลได้ด้วยการพูดเท็จ พระราชาทรงโสมนัสได้พระราชทานรางวัลแก่เขา ฉะนั้นชายคนนั้นจึงเป็นผู้ประดับ ด้วยดอกไม้ ใส่ตุ้มหู อาบน้ำ ลูบไล้ดีแล้ว ตบแต่งผมและหนวด แล้วให้บำเรอ ตนด้วยความใคร่กับสตรีเหมือนกับพระราชา ดูกรนายคามณี บุคคลบางคนในโลก นี้ ปรากฏว่าถูกเขาเอาเชือกที่เหนียวมัดแขนไพล่หลังอย่างมั่นคงแล้วโกนหัวเสีย แล้วพาตระเวนไปตามถนนตามตรอกด้วยบัณเฑาะว์เสียงสนั่น แล้วออกทางประตู ด้านทิศทักษิณ แล้วตัดศีรษะเสียทางด้านทักษิณของพระนคร ชนทั้งหลายได้พา กันพูดถึงบุคคลนั้นอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้เจริญ ชายคนนี้ได้ทำอะไร จึงถูกเอา เชือกที่เหนียวมัดแขนไพล่หลังอย่างมั่นคงแล้วโกนหัวเสีย แล้วพาตระเวนไปตาม ถนนตามตรอก ด้วยบัณเฑาะว์เสียงสนั่น แล้วออกทางประตูด้านทิศทักษิณ แล้ว ตัดศีรษะเสียทางด้านทักษิณของพระนคร ชนทั้งหลายได้พากันพูดถึงคนนั้นอย่างนี้ ว่า ดูกรท่านผู้เจริญ ชายคนนี้ทำลายประโยชน์ของคฤหบดีบ้าง ของบุตรแห่ง คฤหบดีบ้าง ด้วยการพูดเท็จ ฉะนั้น พระราชาจึงรับสั่งให้จับเขาแล้วกระทำ กรรมกรณ์เห็นปานนี้ ดูกรนายคามณี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เหตุการณ์ เช่นนี้ ท่านได้เห็นหรือได้ฟังมาแล้วบ้างไหม ฯ คา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหตุการณ์เช่นนี้ ข้าพระองค์ได้เห็นมาแล้ว ด้วย ได้ฟังมาแล้วด้วย จักได้ฟังต่อไปอีกด้วย ฯ [๖๖๐] พ. ดูกรนายคามณี ในสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์ พวกที่มีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า บุคคลผู้พูดเท็จทุกคนต้องเสวยทุกข์และโทมนัส ในปัจจุบัน ดังนี้ เขาเหล่านั้นพูดจริงหรือเท็จ ฯ คา. พูดเท็จ พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็พวกที่กล่าวเท็จเปล่าๆ นั้น เป็นคนมีศีลหรือเป็นคนทุศีลเล่า ฯ คา. เป็นคนทุศีล พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็พวกที่เป็นคนทุศีลมีธรรมอันเลวทรามนั้น เป็นคนปฏิบัติผิดหรือ เป็นคนปฏิบัติชอบเล่า ฯ คา. เป็นคนปฏิบัติผิด พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็พวกที่ปฏิบัติผิดนั้น เป็นคนมีความเห็นผิดหรือเป็นคนมีความเห็น ชอบเล่า ฯ คา. เป็นคนมีความเห็นผิด พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สมควรละหรือที่จะเลื่อมใสในพวกที่มีความเห็นผิดเหล่านั้น ฯ คา. ไม่สมควรเลย พระเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ไม่เคยมีมา ข้าพระองค์มีเรือนพักอยู่หลังหนึ่ง ในเรือนพัก นั้นมีเตียงนอน มีที่นั่ง มีหม้อน้ำ มีประทีปน้ำมัน ข้าพระองค์จะแจกจ่ายแก่ สมณะหรือพราหมณ์ผู้เข้าไปอยู่ในเรือนพักนั้นตามสติกำลัง ฯ [๖๖๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องเคยมีมาแล้ว ศาสดา ๔ ท่านซึ่งมี ความเห็น มีความพอใจ มีความชอบใจต่างๆ กัน พากันเข้าไปอยู่ในเรือนพัก นั้น ศาสดาท่านหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า ทานไม่มีผล การบูชา ไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบากที่ทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้า ไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี สัตว์ผู้ผุดขึ้นไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ดำเนินไปดี ปฏิบัติชอบ กระทำให้โลกนี้และโลกหน้าแจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่น ให้รู้ตาม ไม่มีในโลก ฯ [๖๖๒] ศาสดาท่านหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า ทานมีผล การบูชามีผล การเซ่นสรวงมีผล ผลวิบากที่ทำดีทำชั่วมีอยู่ โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามี บิดามี สัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นมี สมณพราหมณ์ผู้ดำเนินไปมี ปฏิบัติชอบ กระทำ โลกนี้และโลกหน้าให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้ตาม มีอยู่ในโลก ฯ [๖๖๓] ศาสดาท่านหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อบุคคล ทำเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำ ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียด- *เบียน ทำเขาให้เศร้าโศกเอง ใช้ผู้อื่นทำเขาให้เศร้าโศก ทำเขาให้ลำบากเอง ใช้ผู้อื่นทำเขาให้ลำบาก ดิ้นรนเอง ทำเขาให้ดิ้นรน ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ตัดที่ต่อ ปล้นไม่ให้เหลือ ทำโจรกรรมในเรือนหลังเดียว ซุ่มอยู่ที่ทางเปลี่ยว ทำชู้ภรรยา เขา พูดเท็จ ผู้ทำไม่ชื่อว่าทำบาป แม้หากผู้ใดจะใช้จักร ซึ่งมีคมโดยรอบเหมือน มีดโกน สังหารเหล่าสัตว์ในปฐพีนี้ให้เป็นลานเป็นกองมังสะอันเดียวกัน บาปที่ มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุย่อมไม่มีแก่เขา ไม่มีบาปมาถึงเขา แม้หากบุคคลจะไปยัง ฝั่งขวาแห่งแม่น้ำคงคา ฆ่าเอง ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียน เอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน บาปที่มีการทำเช่นนั้น เป็นเหตุย่อมไม่มีแก่เขา ไม่ มีบาปมาถึงเขา แม้หากบุคคลจะไปยังฝั่งซ้ายแห่งแม่น้ำคงคา ให้เอง ใช้ให้ผู้อื่น ให้ บูชาเอง ใช้ให้ผู้อื่นบูชา บุญที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุย่อมไม่มีแก่เขา ไม่มี บุญมาถึงเขา ด้วยการให้ทาน การทรมานอินทรีย์ การสำรวม การกล่าวคำสัตย์ บุญที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุย่อมไม่มีแก่เขา ไม่มีบุญมาถึงเขา ฯ [๖๖๔] ศาสดาท่านหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อบุคคล ทำเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำ ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียด เบียน ทำเขาให้เศร้าโศกเอง ใช้ผู้อื่นทำเขาให้เศร้าโศก ทำเขาให้ลำบากเอง ใช้ผู้อื่นทำเขาให้ลำบาก ดิ้นรนเอง ทำให้เขาดิ้นรน ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ตัดที่ต่อ ปล้นไม่ให้เหลือ ทำโจรกรรมในเรือนหลังเดียว ซุ่มอยู่ที่ทางเปลี่ยว ทำชู้ภรรยา เขา พูดเท็จ ผู้ทำชื่อว่าทำบาป แม้หากผู้ใดจะใช้จักรซึ่งมีคมโดยรอบเหมือนมีดโกน สังหารเหล่าสัตว์ในปฐพีนี้ให้เป็นลานเป็นกองมังสะอันเดียวกัน บาปที่มีการทำ เช่นนั้นเป็นเหตุ ย่อมมีแก่เขา มีบาปถึงเขา แม้หากบุคคลจะไปยังฝั่งขวาแห่ง แม่น้ำคงคา ฆ่าเอง ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ผู้อื่น ให้เบียดเบียน บาปที่มีการทำเช่นนั้น เป็นเหตุย่อมมีแก่เขา มีบาปมาถึงเขา แม้หากบุคคลจะไปยังฝั่งซ้ายแห่งแม่น้ำคงคา ให้เอง ใช้ให้ผู้อื่นให้ บูชาเอง ใช้ให้ผู้อื่นบูชา บุญที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุย่อมมีแก่เขา มีบุญมาถึงเขา ด้วยการ ให้ทาน การทรมานอินทรีย์ การสำรวม การกล่าวคำสัตย์ บุญที่มีการทำเช่นนั้น เป็นเหตุย่อมมีแก่เขา มีบุญมาถึงเขา ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์มีความ สงสัยสนเท่ห์ว่า บรรดาสมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านี้ ใครหนอพูดจริง ใครหนอ พูดเท็จ ฯ พ. ดูกรนายคามณี ก็ควรแล้วที่ท่านจะสงสัย ควรแล้วที่ท่านจะสนเท่ห์ ก็แหละความสนเท่ห์ของท่านเกิดแล้วในฐานะที่น่าสงสัย ฯ คา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า พระผู้มีพระภาคสามารถแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์ โดยที่ข้าพระองค์พึงละความ สงสัยนี้ได้ ฯ [๖๖๕] พ. ดูกรนายคามณี ธรรมสมาธิมีอยู่ ถ้าท่านตั้งอยู่ในธรรมสมาธิ นั้น พึงได้จิตตสมาธิไซร้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านพึงละความสงสัยนี้ได้ ดูกร- *นายคามณี ก็ธรรมสมาธิเป็นไฉน พระอริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ดูกรนายคามณี เป็นผู้ละปาณาติบาต งดเว้นปาณาติบาต เป็นผู้ละอทินนาทาน งดเว้นอทินนาทาน เป็นผู้ละกาเมสุมิจฉาจาร งดเว้นกาเมสุมิจฉาจาร เป็นผู้ละมุสาวาท งดเว้นมุสาวาท เป็นผู้ละปิสุณาวาจา งดเว้นปิสุณาวาจา เป็นผู้ละผรุสวาจา งดเว้นผรุสวาจา เป็นผู้ ละสัมผัปปลาปะ งดเว้นสัมผัปปลาปะ เป็นผู้ละอภิชฌา ไม่มากด้วยอภิชฌา เป็นผู้ละความพยาบาทประทุษร้ายมีจิตไม่พยาบาท เป็นผู้ละความเห็นผิด มีความ เห็นชอบ ฯ [๖๖๖] ดูกรนายคามณี พระอริยสาวกนั้น ผู้ซึ่งปราศจากอภิชฌา ปราศจากพยาบาทแล้วอย่างนี้ เป็นผู้ไม่ฟั่นเฟือน มีสัมปชัญญะ มีสติเฉพาะหน้า มีใจประกอบด้วยเมตตาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจประกอบด้วยเมตตาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่หาประมาณ มิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ พระอริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ศาสดาผู้มีวาทะอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า ทานไม่มีผล การบูชาไม่มีผล การ เซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบากที่ทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดา ไม่มี บิดาไม่มี สัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ดำเนินไปดี ปฏิบัติชอบ กระทำโลกนี้และโลกหน้าให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง แล้วสอนหมู่สัตว์ ให้รู้ตาม ไม่มีในโลก ถ้าถ้อยคำของศาสดานั้นเป็นความจริง ข้อที่เราสำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมใจ ๑ ข้อที่เราจักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เมื่อแตกกายตายไป ๑ ทั้งสองนี้เป็นการถือเอาชัยชนะในข้อนี้ เพราะเราผู้ไม่เบียดเบียนใครๆ คือผู้ สะดุ้งหรือผู้มั่นคง เป็นผู้ปฏิบัติไม่ผิด ความปราโมทย์ย่อมเกิดแก่พระอริยสาวก นั้น เมื่อปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปิติ เมื่อมีปิติในใจ กายย่อมสงบ เธอมีกาย สงบแล้ว ย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูกรนายคามณี นี้แลธรรม สมาธิ ถ้าท่านตั้งอยู่ในธรรมสมาธินั้น พึงได้จิตตสมาธิไซร้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่าน พึงละความสงสัยนี้ได้ ฯ [๖๖๗] ดูกรนายคามณี พระอริยสาวกนั้น ผู้ซึ่งปราศจากอภิชฌา ปราศจากพยาบาทแล้วอย่างนี้ เป็นผู้ไม่ฟั่นเฟือน มีสัมปชัญญะ มีสติเฉพาะหน้า มีใจประกอบด้วยเมตตาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ... พระอริยสาวกนั้นย่อมพิจารณา เห็นดังนี้ว่า ศาสดาผู้มีวาทะอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า ทานมีผล การบูชา มีผล การเซ่นสรวงมีผล ผลวิบากที่ทำดีทำชั่วมีอยู่ โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดา มี บิดามี สัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นมี สมณพราหมณ์ผู้ดำเนินไปดี ปฏิบัติชอบ กระทำ โลกนี้และโลกหน้าให้แจ้ง ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้ตาม มีอยู่ในโลก ดังนี้ ถ้าถ้อยคำของศาสดาผู้นั้นเป็นความจริง ข้อที่เราสำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมใจ ๑ ข้อที่เราจักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เมื่อแตกกายตาย ไป ๑ ทั้งสองนี้เป็นการถือเอาชัยชนะในข้อนี้ เพราะเราผู้ไม่เบียดเบียนใคร คือ ผู้สะดุ้งหรือผู้มั่นคง เป็นผู้ปฏิบัติไม่ผิด ความปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้นแก่พระอริย- *สาวกนั้น เมื่อปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปีติ เมื่อมีปีติในใจ กายย่อมสงบ เธอมี กายสงบแล้ว ย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูกรนายคามณี นี้แล ธรรมสมาธิ ถ้าท่านตั้งอยู่ในธรรมสมาธินั้น พึงได้จิตตสมาธิไซร้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านพึงละความสงสัยนี้ได้ ฯ [๖๖๘] ดูกรนายคามณี พระอริยสาวกนั้น ผู้ซึ่งปราศจากอภิชฌา ปราศจากพยาบาทแล้วอย่างนี้ เป็นผู้ไม่ฟั่นเฟือน มีสัมปชัญญะ มีสติเฉพาะหน้า มีใจประกอบด้วยเมตตาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ... พระอริยสาวกนั้นย่อมพิจารณา เห็นดังนี้ว่า ศาสดาผู้มีวาทะอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ ให้ผู้อื่นทำ ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ผู้อื่นให้เบียดเบียน ทำเขา ให้เศร้าโศกเอง ใช้ผู้อื่นทำเขาให้เศร้าโศก ทำเขาให้ลำบากเอง ใช้ผู้อื่นทำเขา ให้ลำบาก ดิ้นรนเอง ทำเขาให้ดิ้นรน ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ตัดที่ต่อ ปล้นไม่ให้ เหลือ ทำโจรกรรมในเรือนหลังเดียว ซุ่มอยู่ในที่เปลี่ยว ทำชู้ภรรยาเขา พูดเท็จ ผู้ทำชื่อว่าไม่ทำบาป แม้หากผู้ใดจะใช้จักรซึ่งมีคมโดยรอบเหมือนมีดโกน สังหาร เหล่าสัตว์ในปฐพีนี้ ให้เป็นลาน ให้เป็นกองมังสะอันเดียวกัน บาปที่มีการทำ เช่นนั้นเป็นเหตุย่อมไม่มีแก่เขา ไม่มีบาปมาถึงเขา แม้หากบุคคลจะไปยังฝั่งขวา แห่งแม่น้ำคงคา ฆ่าเอง ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน บาปที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุ ย่อมไม่มีแก่เขา ไม่มีบาป มาถึงเขา แม้หากบุคคลจะไปยังฝั่งซ้ายแห่งแม่น้ำคงคา ให้เอง ใช้ให้ผู้อื่นให้ บูชาเอง ใช้ให้ผู้อื่นบูชา บุญที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุย่อมไม่มีแก่เขา ไม่มีบุญ มาถึงเขา ด้วยการให้ทาน การทรมานอินทรีย์ การสำรวม การกล่าวคำสัตย์ บุญที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุ ย่อมไม่มีแก่เขา ไม่มีบุญมาถึงเขา ดังนี้ ถ้าถ้อยคำ ของศาสดานั้นเป็นความจริง ข้อที่เราสำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมใจ ๑ ข้อที่ เราจักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เมื่อแตกกายตายไป ๑ ทั้งสองนี้เป็นการถือเอา ชัยชนะในข้อนี้ เพราะว่าเราผู้ไม่เบียดเบียนใครๆ คือ ผู้สะดุ้งหรือผู้มั่นคง เป็นผู้ปฏิบัติไม่ผิด ความปราโมทย์ย่อมเกิดแก่พระอริยสาวกนั้น เมื่อปราโมทย์ แล้ว ย่อมเกิดปีติ เมื่อมีปีติในใจ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบแล้ว ย่อมได้ เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูกรนายคามณี นี้แลธรรมสมาธิ ถ้าท่าน ตั้งอยู่ในธรรมสมาธินั้นพึงได้จิตตสมาธิไซร้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านพึงละความสงสัย นี้ได้ ฯ [๖๖๙] ดูกรนายคามณี พระอริยสาวกนั้น ผู้ซึ่งปราศจากอภิชฌา ปราศจากพยาบาทแล้วอย่างนี้ เป็นผู้ไม่ฟั่นเฟือน มีสัมปชัญญะ มีสติเฉพาะหน้า มีใจประกอบด้วยเมตตาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ... เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำ ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ผู้อื่นให้เบียดเบียน ทำเขาให้เศร้าโศก เอง ใช้ผู้อื่นทำเขาให้เศร้าโศก ทำเขาให้ลำบากเอง ใช้ผู้อื่นทำเขาให้ลำบาก ดิ้นรนเอง ทำเขาให้ดิ้นรน ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ตัดที่ต่อ ปล้นไม่ให้เหลือ ทำโจรกรรมในเรือนหลังเดียว ซุ่มอยู่ที่ทางเปลี่ยว ทำชู้ภรรยาเขา พูดเท็จ ผู้ทำ ชื่อว่าทำบาป แม้หากผู้ใดจะใช้จักรมีคมโดยรอบเหมือนมีดโกน สังหารเหล่าสัตว์ ในปฐพีนี้ ให้เป็นลานเป็นกองมังสะอันเดียวกัน บาปที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุ ย่อมมีแก่เขา มีบาปมาถึงเขา แม้หากบุคคลจะไปยังฝั่งขวาแห่งแม่น้ำคงคา ฆ่าเอง ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ผู้อื่นให้เบียดเบียน บาปที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุย่อมมีแก่เขา มีบาปมาถึงเขา แม้หากบุคคลจะไปยัง ฝั่งซ้ายแห่งแม่น้ำคงคา ให้เอง ใช้ให้ผู้อื่นให้ บูชาเอง ใช้ให้ผู้อื่นบูชา บุญ ที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุย่อมมีแก่เขา มีบุญมาถึงเขา ด้วยการให้ทาน การ ทรมานอินทรีย์ การสำรวม การกล่าวคำสัตย์ บุญที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุย่อม มีแก่เขา มีบุญมาถึงเขา ดังนี้ ถ้าถ้อยคำของศาสดานั้นเป็นความจริง ข้อที่เรา สำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมใจ ๑ ข้อที่เราจักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เมื่อ แตกกายตายไป ๑ ทั้งสองนี้เป็นการถือเอาชัยชนะในข้อนี้ เพราะเราผู้ไม่เบียด- *เบียนใครๆ คือ ผู้สะดุ้งหรือผู้มั่นคง เป็นผู้ปฏิบัติไม่ผิด ความปราโมทย์ย่อม เกิดแก่พระอริยสาวกนั้น เมื่อปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปีติ เมื่อมีปีติในใจ กาย ย่อมสงบ เธอมีกายสงบแล้ว ย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูกร นายคามณี นี้แลธรรมสมาธิ ถ้าท่านตั้งอยู่ในธรรมสมาธินั้น พึงได้จิตตสมาธิไซร้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านพึงละความสงสัยนี้ได้ ฯ [๖๗๐] ดูกรนายคามณี พระอริยสาวกนั้น ผู้ซึ่งปราศจากอภิชฌา ปราศจากพยาบาทแล้วอย่างนี้ เป็นผู้ไม่ฟั่นเฟือน มีสัมปชัญญะ มีสติเฉพาะหน้า มีใจประกอบด้วยกรุณาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ... มีใจประกอบด้วยมุทิตาแผ่ไป ตลอดทิศหนึ่งอยู่ ... พระอริยสาวกนั้นผู้ซึ่งปราศจากอภิชฌา ปราศจากพยาบาท แล้วอย่างนี้ เป็นผู้ไม่ฟั่นเฟือน มีสัมปชัญญะ มีสติเฉพาะหน้า มีใจประกอบ ด้วยอุเบกขาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ ทุกสถาน ด้วยใจประกอบอุเบกขาไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ พระอริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ศาสดาผู้มีวาทะอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า ทานไม่มีผล การบูชาไม่มีผล การ เซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบากที่ทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดา ไม่มี บิดาไม่มี สัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ดำเนินไปดี ปฏิบัติชอบ กระทำโลกนี้และโลกหน้าให้แจ้ง ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองแล้ว สอนผู้อื่นให้ รู้ตาม ไม่มีในโลก ถ้าถ้อยคำของศาสดานั้นเป็นความจริง ข้อที่เราสำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมใจ ๑ ข้อที่เราจักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เมื่อแตกกายตาย ไป ๑ ทั้งสองนี้เป็นการถือเอาชัยชนะในข้อนี้ เพราะเราผู้ไม่เบียดเบียนใครๆ คือ ผู้สะดุ้งหรือผู้มั่นคง เป็นผู้ปฏิบัติไม่ผิด ความปราโมทย์ ย่อมเกิดแก่ พระอริยสาวกนั้น เมื่อปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปีติ เมื่อมีปีติในใจ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบแล้ว ย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูกรนายคามณี นี้แลธรรมสมาธิ ถ้าท่านตั้งอยู่ในธรรมสมาธินั้น พึงได้จิตตสมาธิไซร้ เมื่อเป็น เช่นนี้ ท่านพึงละความสงสัยนี้ได้ ฯ [๖๗๑] ดูกรนายคามณี พระอริยสาวกนั้น ผู้ซึ่งปราศจากอภิชฌา ปราศจากพยาบาทแล้วอย่างนี้ เป็นผู้ไม่ฟั่นเฟือน มีสัมปชัญญะ มีสติเฉพาะหน้า มีใจประกอบด้วยอุเบกขาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ... พระอริยสาวกนั้นย่อมพิจารณา เห็นดังนี้ว่า ศาสดาผู้มีวาทะอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า ทานมีผล การบูชามีผล การเซ่นสรวงมีผล ผลวิบากที่ทำดีทำชั่วมีอยู่ โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามี บิดามี สัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นมี สมณพราหมณ์ผู้ดำเนินไปดี ปฏิบัติชอบ กระทำโลกนี้และ โลกหน้าให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองแล้ว สอนผู้อื่นให้รู้ตาม มีอยู่ในโลก ดังนี้ ถ้าถ้อยคำของศาสดานั้นเป็นความจริง ข้อที่เราสำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมใจ ๑ ข้อที่เราจักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เมื่อแตกกายตายไป ๑ ทั้งสองนี้ เป็นการถือเอาชัยชนะในข้อนั้น เพราะเราผู้ไม่เบียดเบียนใครๆ คือ ผู้สะดุ้ง หรือผู้มั่นคง เป็นผู้ปฏิบัติชอบ ความปราโมทย์ย่อมเกิดแก่พระอริยสาวกนั้น เมื่อ ปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปีติ เมื่อมีปีติในใจ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบแล้ว ย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูกรนายคามณี นี้แลธรรมสมาธิ ถ้าท่านตั้งอยู่ในธรรมสมาธินั้น พึงได้จิตตสมาธิไซร้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านพึงละความ สงสัยนี้ได้ ฯ [๖๗๒] ดูกรนายคามณี พระอริยสาวกนั้น ผู้ซึ่งปราศจากอภิชฌา ปราศจากพยาบาทแล้วอย่างนี้ เป็นผู้ไม่ฟั่นเฟือน มีสัมปชัญญะ มีสติเฉพาะหน้า มีใจประกอบด้วยอุเบกขาแผ่ไปตลอดทิศที่หนึ่งอยู่ ... พระอริยสาวกนั้นย่อม พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ศาสดาผู้มีวาทะอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำ ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ผู้อื่นให้เบียดเบียน ทำเขาให้เศร้าโศกเอง ใช้ผู้อื่นทำเขาให้เศร้าโศก ทำเขาให้ลำบากเอง ใช้ผู้อื่น ทำเขาให้ลำบาก ดิ้นรนเอง ทำเขาให้ดิ้นรน ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ตัดที่ต่อ ปล้นไม่ให้เหลือ ทำโจรกรรมในเรือนหลังเดียว ซุ่มอยู่ที่ทางเปลี่ยว ทำชู้ภรรยาเขา พูดเท็จ ผู้ทำไม่ชื่อว่าทำบาป แม้หากผู้ใดจะใช้จักรซึ่งมีคมโดยรอบเหมือนมีดโกน สังหารเหล่าสัตว์ในปฐพี ให้เป็นลานเป็นกองมังสะอันเดียวกัน บาปที่มีการทำ เช่นนั้นเป็นเหตุย่อมไม่มีแก่เขา ไม่มีบาปมาถึงเขา แม้หากบุคคลจะไปยังฝั่งขวา แห่งแม่น้ำคงคา ฆ่าเอง ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ผู้อื่นให้เบียดเบียน บาปที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุย่อมไม่มีแก่เขา ไม่มีบาป มาถึงเขา แม้หากบุคคลจะไปยังฝั่งซ้ายแห่งแม่น้ำคงคา ให้เอง ใช้ให้ผู้อื่นให้ บูชาเอง ใช้ให้ผู้อื่นบูชา บุญที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุย่อมไม่มีแก่เขา ไม่มีบุญ มาถึงเขา ด้วยการให้ทาน การทรมานอินทรีย์ การสำรวม การกล่าวคำสัตย์ บุญที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุย่อมไม่มีแก่เขา ไม่มีบุญมาถึงเขา ถ้าถ้อยคำของ ศาสดาผู้นั้นเป็นความจริง ข้อที่เราสำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมใจ ๑ ข้อที่ เราจักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เมื่อแตกกายตายไป ๑ ทั้งสองนี้เป็นการถือเอา ชัยชนะในข้อนี้ เพราะเราผู้ไม่เบียดเบียนใครๆ คือ ผู้สะดุ้งหรือผู้มั่นคง เป็น ผู้ปฏิบัติไม่ผิด ความปราโมทย์ย่อมเกิดแก่พระอริยสาวกนั้น เมื่อปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปีติ เมื่อมีปีติในใจ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบแล้ว ย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูกรนายคามณี นี้แลธรรมสมาธิ ถ้าท่านตั้งมั่นอยู่ใน ธรรมสมาธินั้น พึงได้จิตตสมาธิไซร้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านพึงละความสงสัยนี้ได้ ฯ [๖๗๓] ดูกรนายคามณี พระอริยสาวกนั้น ผู้ซึ่งปราศจากอภิชฌา ปราศจากพยาบาทแล้วอย่างนี้ เป็นผู้ไม่ฟั่นเฟือน มีสัมปชัญญะ มีสติเฉพาะหน้า มีใจประกอบด้วยอุเบกขาแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ พระอริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ศาสดาผู้มี วาทะอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำ ตัดเอง ใช้ให้ ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ผู้อื่นให้เบียดเบียน ทำเขาให้เศร้าโศกเอง ใช้ผู้อื่น ทำเขาให้เศร้าโศก ทำเขาให้ลำบากเอง ใช้ผู้อื่นทำเขาให้ลำบาก ดิ้นรนเอง ทำเขา ให้ดิ้นรน ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ตัดที่ต่อ ปล้นไม่ให้เหลือ ทำโจรกรรมในเรือน หลังเดียว ซุ่มอยู่ที่ทางเปลี่ยว ทำชู้ภรรยาเขา พูดเท็จ ผู้ทำชื่อว่าทำบาป แม้หาก ผู้ใดจะใช้จักรซึ่งมีคมโดยรอบเหมือนมีดโกน สังหารเหล่าสัตว์ในปฐพีนี้ ให้ เป็นลานเป็นกองมังสะอันเดียวกัน บาปที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุย่อมมีแก่เขา มี บาปมาถึงเขา แม้หากบุคคลจะไปยังฝั่งขวาแห่งแม่น้ำคงคา ฆ่าเอง ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ผู้อื่นให้เบียดเบียน บาปที่มีการทำ เช่นนั้นเป็นเหตุย่อมมีแก่เขา มีบาปมาถึงเขา แม้หากบุคคลจะไปยังฝั่งซ้ายแห่ง แม่น้ำคงคา ให้เอง ใช้ให้ผู้อื่นให้ บูชาเอง ใช้ให้ผู้อื่นบูชา บุญที่มีการทำเช่นนั้น เป็นเหตุย่อมมีแก่เขา มีบุญมาถึงเขา ด้วยการให้ทาน การทรมานอินทรีย์ การ สำรวม การกล่าวคำสัตย์ บุญที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุย่อมมีแก่เขา มีบุญ มาถึงเขา ดังนี้ ถ้าถ้อยคำของศาสดานั้นเป็นความจริง ข้อที่เราสำรวมกาย สำรวม วาจา สำรวมใจ ๑ ข้อที่เราจักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เมื่อแตกกายตายไป ๑ ทั้งสองนี้เป็นการถือเอาชัยชนะในข้อนี้ เพราะเราผู้ไม่เบียดเบียนใครๆ คือ ผู้ สะดุ้งหรือผู้มั่นคง เป็นผู้ปฏิบัติไม่ผิด ความปราโมทย์ย่อมเกิดแก่พระอริยสาวก นั้น เมื่อปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปีติ เมื่อมีปีติในใจ กายย่อมสงบ เธอมีกาย สงบแล้ว ย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูกรนายคามณี นี้แล ธรรมสมาธิ ถ้าท่านตั้งอยู่ในธรรมสมาธินั้น พึงได้จิตตสมาธิไซร้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านพึงละความสงสัยนี้ได้ ฯ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว นายบ้านนามว่าปาฏลิยะ ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระผู้มีพระภาค ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย ดุจหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางให้ แก่คนหลงทาง หรือส่องไฟในที่มืดด้วยหวังว่า คนมีจักษุจักแลเห็นรูป ฉะนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค กับทั้งพระธรรมและ พระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็น อุบาสกผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต ฯ
จบสูตรที่ ๑๓
จบคามณิสังยุตต์
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. จันฑสูตร ๒. ตาลปุตตสูตร ๓. โยธาชีวสูตร ๔. หัตถาโรหสูตร ๕. อัสสาโรหสูตร ๖. ภูมกสูตร ๗. เทศนาสูตร ๘. อสังขาสูตร ๙. กุลสูตร ๑๐. มณิจูฬสูตร ๑๑. คันธภกสูตร ๑๒. ราสิยสูตร ๑๓. ปาฏลิยสูตร ฯ
-----------------------------------------------------
อสังขตสังยุตต์ วรรคที่ ๑
[๖๗๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของ ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัส เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นทูลรับพระผู้มี- *พระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจะแสดงอสังขตะ และทางที่จะให้ถึงอสังขตะแก่ท่านทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อสังขตะเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้น โมหะ นี้เรียกว่าอสังขตะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน กายคตาสติ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสังขตะเราแสดง แล้วแก่เธอทั้งหลาย ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเราแสดงแล้วแก่เธอทั้งหลาย ดังนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย กิจใดอันศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์พึง กระทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจนั้นอันเราอาศัยความอนุเคราะห์ กระทำแล้วแก่เธอ ทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอ ทั้งหลายจงเพ่ง อย่าประมาท อย่าได้เป็นผู้เดือดร้อนในภายหลังเลย นี้เป็น อนุศาสนีของเราเพื่อเธอทั้งหลาย ฯ [๖๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจะแสดงอสังขตะและทางที่จะให้ถึง อสังขตะแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อสังขตะเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ นี้เรียกว่าอสังขตะ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน สมถะและวิปัสสนา นี้เรียกว่าทางที่จะ ให้ถึงอสังขตะ ฯลฯ [๖๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน สมาธิที่มี ทั้งวิตกวิจาร สมาธิที่ไม่มีวิตก มีแต่วิจาร สมาธิที่ไม่มีทั้งวิตกวิจาร นี้เรียกว่าทาง ที่จะให้ถึงอสังขตะ ฯ [๖๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน สุญญต- *สมาธิ อนิมิตตสมาธิ อัปปณิหิตสมาธิ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ฯ [๖๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน สติปัฏ- *ฐาน ๔ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ฯ [๖๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน สัมมัป- *ปธาน ๔ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ฯ [๖๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน อิทธิบาท ๔ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ฯ [๖๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน อินทรีย์ ๕ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ฯ [๖๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน พละ ๕ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ฯ [๖๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน โพชฌงค์ ๗ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ฯ [๖๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน อริยมรรค ประกอบด้วยองค์ ๘ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสังขตะเราแสดงแล้วแก่เธอทั้งหลาย ทางที่จะให้ถึง อสังขตะเราแสดงแล้วแก่เธอทั้งหลาย ดังนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย กิจใดอันศาสดา ผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์พึงกระทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจนั้นเรา อาศัยความอนุเคราะห์กระทำแล้วแก่เธอทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเพ่ง อย่าประมาท อย่าได้เป็นผู้ เดือดร้อนในภายหลังเลย นี้เป็นอนุศาสนีของเราเพื่อเธอทั้งหลาย ฯ
จบนิพพานสังยุตต์ ปฐมวรรค
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. กายคตาสติสูตร ๒. สมถวิปัสสนาสูตร ๓. วิตักกสูตร ๔. สุญญต- *สูตร ๕. สติปัฏฐานสูตร ๖. สัมมัปปธานสูตร ๗. อิทธิปาทสูตร ๘. อินทรียสูตร ๙. พลสูตร ๑๐. โพชฌงคสูตร ๑๑. มรรคสูตร
-----------------------------------------------------
อสังขตสังยุตต์ วรรคที่ ๒
[๖๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอสังขตะ และทางที่จะให้ถึง อสังขตะแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อสังขตะเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่าอสังขตะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน คือสมถะ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ ถึงอสังขตะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสังขตะและทางที่จะให้ถึงอสังขตะ เราแสดงแล้ว แก่เธอทั้งหลาย ดังนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย กิจใดอันศาสดาพึงแสวงหาประโยชน์ เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์ พึงทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจนั้นอันเราอาศัยความอนุเคราะห์ทำ แล้วแก่เธอทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเพ่ง อย่าประมาท อย่าได้เป็นผู้เดือดร้อนในภายหลังเลย นี้เป็น อนุศาสนีของเรา เพื่อเธอทั้งหลาย ฯ [๖๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอสังขตะและทางที่จะให้ถึง อสังขตะแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อสังขตะเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่า อสังขตะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน คือ วิปัสสนา นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสังขตะและทางที่จะให้ ถึงอสังขตะ เราแสดงแล้วแก่เธอทั้งหลาย ดังนี้แล ฯลฯ นี้เป็นอนุศาสนีของ เราเพื่อเธอทั้งหลาย ฯ [๖๘๗] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน คือ สมาธิมีทั้งวิตกวิจาร นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ... ฯ [๖๘๘] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน คือ สมาธิไม่มีวิตก มีแต่วิจาร นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ... ฯ [๖๘๙] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน คือ สมาธิไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ... ฯ [๖๙๐] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน คือ สุญญตสมาธิ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ... ฯ [๖๙๑] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน คือ อนิมิตตสมาธิ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ... ฯ [๖๙๒] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน คือ อัปปณิหิตสมาธิ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ... ฯ [๖๙๓] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ นี้ เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ... ฯ [๖๙๔] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสใน โลกเสียได้ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ... ฯ [๖๙๕] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ นี้ เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ... ฯ [๖๙๖] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก เสียได้ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ... ฯ [๖๙๗] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังความพอใจให้เกิดขึ้น พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อยังธรรมอันเป็นบาปอกุศลที่ยังไม่เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ... ฯ [๖๙๘] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังความพอใจให้เกิดขึ้น พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อละธรรมอันเป็นบาปอกุศลที่เกิดขึ้น แล้ว นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ... ฯ [๖๙๙] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังความพอใจให้เกิดขึ้น พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อยังธรรมอันเป็นกุศลที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ... ฯ [๗๐๐] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังความพอใจให้เกิดขึ้น พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อความตั้งอยู่ ความไม่เลอะเลือน ความเพิ่มพูน ความไพบูลย์ ความเจริญ ความบริบูรณ์ แห่งธรรมอันเป็นกุศล ที่เกิดขึ้นแล้ว นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ... ฯ [๗๐๑] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิ และปธานสังขาร นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ... ฯ [๗๐๒] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิ และปธานสังขาร นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ... ฯ [๗๐๓] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยจิตตสมาธิ และปธานสังขาร นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ... ฯ [๗๐๔] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิมังสาสมาธิ และปธานสังขาร นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ... ฯ [๗๐๕] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัทธินทรีย์ อันอาศัยวิเวก อาศัย วิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ... ฯ [๗๐๖] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญวิริยินทรีย์อันอาศัยวิเวก อาศัย วิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ... ฯ [๗๐๗] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสตินทรีย์อันอาศัยวิเวก อาศัย วิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ... ฯ [๗๐๘] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสมาธินทรีย์อันอาศัยวิเวก อาศัย วิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ... ฯ [๗๐๙] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญปัญญินทรีย์อันอาศัยวิเวก อาศัย วิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ... ฯ [๗๑๐] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัทธาพละอันอาศัยวิเวก อาศัย วิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ... ฯ [๗๑๑] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญวิริยพละอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ... ฯ [๗๑๒] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน ดูกร- *ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติพละอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ... ฯ [๗๑๓] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน ดูกร- *ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสมาธิพละอันอาศัยวิเวก อาศัย วิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ... ฯ [๗๑๔] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน ดูกร- *ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญปัญญาพละอันอาศัยวิเวก อาศัย วิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ... ฯ [๗๑๕] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน ดูกร- *ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัย วิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ... ฯ [๗๑๖] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญธรรม- *วิจยสัมโพชฌงค์ ... วิริยสัมโพชฌงค์ ... ปีติสัมโพชฌงค์ ... ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ... สมาธิสัมโพชฌงค์... อุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ... ฯ [๗๑๗] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน ดูกร- *ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฐิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ... ฯ [๗๑๘] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน ดูกร- *ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาสังกัปปะ ... สัมมาวาจา ... สัมมากัมมันตะ ... สัมมาอาชีวะ ... สัมมาวายามะ ... สัมมาสติอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึง อสังขตะ ... ฯ [๗๑๙] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัย วิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสังขตะและทางที่จะให้ถึงอสังขตะ เราแสดงแล้วแก่เธอ ทั้งหลาย ดังนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย กิจใดอันศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์ พึงกระทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจนั้นอันเราอาศัยความอนุเคราะห์ กระทำแล้วแก่เธอทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเพ่ง อย่าประมาท อย่าได้เป็นผู้มีความเดือดร้อน ในภายหลังเลย นี้เป็นอนุศาสนีของเราเพื่อเธอทั้งหลาย ฯ [๗๒๐] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงที่สุดและทางที่จะให้ถึงที่สุด แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ที่สุดเป็นไฉน ฯลฯ [๗๒๑] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันหาอาสวะมิได้ และ ทางที่จะให้ถึงธรรมอันหาอาสวะมิได้แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ก็ธรรมอันหาอาสวะมิได้เป็นไฉน ฯลฯ [๗๒๒] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่จริงแล และทางที่ จะให้ถึงธรรมที่จริงแท้แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่จริงแท้เป็นไฉน ฯลฯ [๗๒๓] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันเป็นฝั่ง และทาง ที่จะให้ถึงธรรมอันเป็นฝั่งแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันเป็นฝั่งเป็นไฉน ฯลฯ [๗๒๔] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันละเอียด และทาง ที่จะให้ถึงธรรมอันละเอียดแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันละเอียดเป็นไฉน ฯลฯ [๗๒๕] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันเห็นได้แสนยาก และทางที่จะให้ถึงธรรมอันเห็นได้แสนยากแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันเห็นได้แสนยากเป็นไฉน ฯลฯ [๗๒๖] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันไม่คร่ำคร่า และ ทางที่จะให้ถึงธรรมอันไม่คร่ำคร่าแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ก็ธรรมอันไม่คร่ำคร่าเป็นไฉน ฯลฯ [๗๒๗] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันยั่งยืน และทางที่ จะให้ถึงธรรมอันยั่งยืนแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันยั่งยืนเป็นไฉน ฯลฯ [๗๒๘] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันไม่ทรุดโทรม และ ทางที่จะให้ถึงธรรมอันไม่ทรุดโทรมแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ก็ธรรมอันไม่ทรุดโทรมเป็นไฉน ฯลฯ [๗๒๙] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันใครๆ ไม่พึงเห็น ด้วยจักษุวิญญาณ และทางที่จะให้ถึงธรรมอันใครๆ ไม่พึงเห็นด้วยจักษุวิญญาณ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันใครๆ ไม่พึง เห็นด้วยจักษุวิญญาณเป็นไฉน ฯลฯ [๗๓๐] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันไม่มีกิเลสเครื่อง ให้เนิ่นช้า และทางที่จะให้ถึงธรรมอันไม่มีกิเลสเครื่องให้เนิ่นช้าแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันไม่มีกิเลสเครื่องให้เนิ่นช้า เป็นไฉน ฯลฯ [๗๓๑] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันสงบ และทางที่จะ ให้ถึงธรรมอันสงบแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรม อันสงบเป็นไฉน ฯลฯ [๗๓๒] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันไม่ตาย และทาง ที่จะให้ถึงธรรมอันไม่ตายแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันไม่ตายเป็นไฉน ฯลฯ [๗๓๓] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันประณีต และทาง ที่จะให้ถึงธรรมอันประณีตแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันประณีตเป็นไฉน ฯลฯ [๗๓๔] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันเยือกเย็น และ ทางที่จะให้ถึงธรรมอันเยือกเย็นแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ก็ธรรมอันเยือกเย็นเป็นไฉน ฯลฯ [๗๓๕] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันปลอดภัย และ ทางที่จะให้ถึงธรรมอันปลอดภัยแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ก็ธรรมอันปลอดภัยเป็นไฉน ฯลฯ [๗๓๖] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา และ ทางที่จะให้ถึงธรรมเป็นที่สิ้นตัณหาแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ก็ธรรมเป็นที่สิ้นตัณหาเป็นไฉน ฯลฯ [๗๓๗] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันอัศจรรย์ และ ทางที่จะให้ถึงธรรมอันอัศจรรย์แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ก็ธรรมอันอัศจรรย์เป็นไฉน ฯลฯ [๗๓๘] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันไม่เคยมีเคยเป็น และทางที่จะให้ถึงธรรมอันไม่เคยมีเคยเป็นแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันไม่เคยมีเคยเป็นเป็นไฉน ฯลฯ [๗๓๙] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความไม่มีทุกข์ และทางที่ จะให้ถึงความไม่มีทุกข์แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความไม่มีทุกข์เป็นไฉน ฯลฯ [๗๔๐] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันหาทุกข์มิได้ และ ทางที่จะให้ถึงธรรมอันหาทุกข์มิได้แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ก็ธรรมอันหาทุกข์มิได้เป็นไฉน ฯลฯ [๗๔๑] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงนิพพาน และทางที่จะให้ ถึงนิพพานแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็นิพพาน เป็นไฉน ฯลฯ [๗๔๒] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันหาความเบียดเบียน มิได้ และทางที่จะให้ถึงธรรมอันหาความเบียดเบียนมิได้แก่เธอทั้งหลาย เธอ ทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันหาความเบียดเบียนมิได้เป็นไฉน ฯลฯ [๗๔๓] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันปราศจากความ กำหนัด และทางที่จะให้ถึงธรรมอันปราศจากความกำหนัดแก่เธอทั้งหลาย เธอ ทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันปราศจากความกำหนัดเป็นไฉน ฯลฯ [๗๔๔] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความบริสุทธิ์ และทางที่ จะให้ถึงความบริสุทธิ์แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความบริสุทธิ์เป็นไฉน ฯลฯ [๗๔๕] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความพ้น และทางที่จะให้ ถึงความพ้นแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความพ้น เป็นไฉน ฯลฯ [๗๔๖] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันหาความอาลัยมิได้ และทางที่จะให้ถึงธรรมอันหาความอาลัยมิได้แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันหาความอาลัยมิได้เป็นไฉน ฯลฯ [๗๔๗] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจะแสดงที่พึ่ง และทางที่จะให้ถึง ที่พึ่งแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ที่พึ่งเป็นไฉน ฯลฯ [๗๔๘] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงที่เร้น และทางที่จะให้ถึง ที่เร้นแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ที่เร้นเป็นไฉน ฯลฯ [๗๔๙] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงที่ต้านทาน และทางที่จะให้ ถึงที่ต้านทานแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ที่ต้านทาน เป็นไฉน ฯลฯ [๗๕๐] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสรณะ และทางที่จะให้ถึง สรณะแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สรณะ เป็นไฉน ฯลฯ [๗๕๑] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า และทางที่จะให้ถึงธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้าแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้าเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความ สิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่า ธรรมเป็นที่ไปใน เบื้องหน้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้าเป็นไฉน ทางที่จะให้ถึงธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า คือ กายคตาสติ นี้เรียกว่า ทางที่จะให้ ถึงธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า และทางที่จะให้ถึงธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า เราแสดงแล้วแก่เธอทั้งหลาย ดังนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย กิจใดอันศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์ พึงทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจนั่นอันเราอาศัยความอนุเคราะห์ ทำแล้ว แก่เธอทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเพ่ง อย่าประมาท อย่าได้เป็นผู้มีความเดือดร้อนในภายหลังเลย นี้เป็นอนุศาสนีของเราเพื่อเธอทั้งหลาย (พึงขยายความให้พิสดารเหมือนอย่าง อสังขตะ)
จบวรรคที่ ๒
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อสังขตสูตร ๒. อันตสูตร ๓. อนาสวสูตร ๔. สัจจสูตร ๕. ปารสูตร ๖. นิปุณสูตร ๗. สุทุทฺทสสูตร ๘. อชัชชรสูตร ๙. ธุวสูตร ๑๐. อปโลกินสูตร ๑๑. อนิทัสสนสูตร ๑๒. นิปปปัญจ- *สูตร ๑๓. สันตสูตร ๑๔. อมตสูตร ๑๕. ปณีตสูตร ๑๖. สิวสูตร ๑๗. เขมสูตร ๑๘. ตัณหักขยสูตร ๑๙. อัจฉริยสูตร ๒๐. อัพภุตสูตร ๒๑. อนีติกสูตร ๒๒. อนีติกธรรมสูตร ๒๓. นิพพานสูตร ๒๔. อัพยา- *ปัชฌสูตร ๒๕. วิราคสูตร ๒๖. สุทธิสูตร ๒๗. มุตติสูตร ๒๘. อนาลยสูตร ๒๙. ทีปสูตร ๓๐. เลณสูตร ๓๑. ตาณสูตร ๓๒. สรณสูตร ๓๓. ปรายนสูตร ฯ
จบอสังขตสังยุตต์
-----------------------------------------------------
อัพยากตสังยุตต์
เขมาเถรีสูตร
[๗๕๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล พระเขมา- *ภิกษุณีเมื่อเที่ยวจาริกไปในแคว้นโกศล เข้าอยู่ ณ ที่โตรณวัตถุ ๑- ในระหว่าง พระนครสาวัตถีกับเมืองสาเกต ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จออกจากเมือง สาเกตจะไปยังพระนครสาวัตถี ประทับแรม ๑ ราตรีที่โตรณวัตถุ ระหว่าง พระนครสาวัตถีกับเมืองสาเกต ครั้งนั้นแล พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสเรียกราช- *บุรุษคนหนึ่งมาตรัสสั่งว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ ท่านจงไปดูให้รู้ว่า ณ ที่โตรณวัตถุ มีสมณะหรือพราหมณ์ซึ่งสมควรที่เราจะพึงเข้าไปหา ณ วันนี้หรือไม่ ราชบุรุษนั้นทูล รับพระดำรัสของพระเจ้าปเสนทิโกศลแล้ว เที่ยวไปยังโตรณวัตถุจนทั่ว ก็ไม่ได้ พบเห็นสมณะหรือพราหมณ์ซึ่งสมควรที่พระเจ้าปเสนทิโกศลจะพึงเสด็จเข้าไปหา ฯ [๗๕๓] ราชบุรุษนั้นได้พบพระเขมาภิกษุณี ซึ่งเข้าอาศัยอยู่ ที่โตรณวัตถุ ครั้นพบแล้ว ได้เข้าไปเฝ้าพระเจ้าปเสนทิโกศลถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้กราบทูล พระเจ้าปเสนทิโกศลว่า พระพุทธเจ้าข้า ที่โตรณวัตถุ ไม่มีสมณะหรือพราหมณ์ ซึ่งสมควรที่พระองค์จะพึงเสด็จเข้าไปหาเลย มีภิกษุณีนามว่าเขมา เป็นสาวิกาของ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น และพระแม่เจ้านั้นมีกิตติศัพท์ อันงามฟุ้งขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า พระแม่เจ้าเขมาภิกษุณีเป็นบัณฑิต เฉียบแหลม มีปัญญา เป็นพหูสูต มีถ้อยคำไพเราะ มีปฏิภาณเป็นอย่างดี ขอเชิญพระองค์ เสด็จเข้าไปหาพระแม่เจ้านั้นเถิด ขอเดชะ ฯ [๗๕๔] ครั้งนั้นแล พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จเข้าไปหาพระเขมาภิกษุณี ถึงที่อยู่ ทรงไหว้พระเขมาภิกษุณีแล้ว ประทับอยู่ ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง @๑. โตรณแปลว่าเสาค่าย หรือเสาระเนียค ณ ที่นี้เข้าว่าเป็นค่าย ครั้นแล้วได้ตรัสถามพระเขมาภิกษุณีว่า ข้าแต่แม่เจ้า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดหรือหนอ พระเขมาภิกษุณีถวายพระพรว่า ขอถวายพระพร ปัญหานี้เป็น ปัญหาที่พระผู้มีพระภาคมิได้ทรงพยากรณ์ ฯ ป. ข้าแต่แม่เจ้า ก็สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมไม่เกิดอีกหรือ ฯ ข. ขอถวายพระพร แม้ปัญหานี้ก็เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรง พยากรณ์ ฯ ป. ข้าแต่แม่เจ้า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่ เกิดอีกก็มีหรือหนอ ฯ ข. ขอถวายพระพร ปัญหานี้เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรง พยากรณ์ ฯ ป. ข้าแต่แม่เจ้า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อม ไม่เกิดอีกก็หามิได้หรือ ฯ ข. ขอถวายพระพร แม้ปัญหานี้ก็เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรง พยากรณ์อีกเหมือนกัน ฯ [๗๕๕] ป. เมื่อข้าพเจ้าถามว่า ข้าแต่แม่เจ้า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตาย แล้ว ย่อมเกิดอีกหรือ ท่านก็ตอบว่า ขอถวายพระพร ปัญหานี้เป็นปัญหาที่ พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ เมื่อข้าพเจ้าถามว่า ข้าแต่แม่เจ้า สัตว์เบื้องหน้า แต่ตายแล้ว ย่อมไม่เกิดอีกหรือ ท่านก็ตอบว่า ขอถวายพระพร แม้ปัญหานี้ก็ เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ เมื่อข้าพเจ้าถามว่า ข้าแต่แม่เจ้า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิดอีกก็มีหรือ ท่านก็ตอบว่า ขอถวายพระพร ปัญหานี้เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ เมื่อข้าพเจ้า ถามว่า ข้าแต่แม่เจ้า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่ เกิดอีกก็หามิได้หรือ ท่านก็ตอบว่า ขอถวายพระพร แม้ปัญหานี้ก็เป็นปัญหาที่ พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ ข้าแต่แม่เจ้า อะไรเล่าเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ปัญหานี้ ฯ [๗๕๖] ข. ขอถวายพระพร ถ้าอย่างนั้น อาตมภาพจักขอย้อนถาม มหาบพิตรในปัญหาข้อนี้บ้าง ปัญหาข้อนั้นพอพระทัยมหาบพิตรอย่างใด มหาบพิตร พึงทรงพยากรณ์ปัญหาข้อนั้นอย่างนั้นเถิด ขอถวายพระพร มหาบพิตรจะสำคัญ ความข้อนั้นเป็นไฉน มหาบพิตรมีนักคำนวณ นักประเมิน หรือนักประมาณไรๆ ซึ่งสามารถจะคำนวณทรายในแม่น้ำคงคาว่า ทรายมีประมาณเท่านี้ หรือว่ามีทราย เท่านี้ร้อยเม็ด หรือว่ามีทรายเท่านี้พันเม็ด หรือว่ามีทรายเท่านี้แสนเม็ด หรือไม่ ฯ ป. ไม่มีเลย แม่เจ้า ฯ ข. และมหาบพิตรมีนักคำนวณ นักประเมิน หรือนักประมาณไรๆ ซึ่งสามารถจะคำนวณน้ำในมหาสมุทรว่า น้ำมีเท่านี้อาฬหกะ หรือว่ามีน้ำเท่านี้ร้อย อาฬหกะ หรือว่ามีน้ำเท่านี้พันอาฬหกะ หรือว่ามีน้ำเท่านี้แสนอาฬหกะ หรือไม่ ขอถวายพระพร ฯ ป. ไม่มีเลย แม่เจ้า ฯ ข. นั่นเพราะเหตุไร ขอถวายพระพร ฯ ป. ข้าแต่แม่เจ้า เพราะว่ามหาสมุทรเป็นของลึก ประมาณไม่ได้ หยั่ง ถึงได้โดยยาก ฯ [๗๕๗] ข. ฉันนั้นนั่นแล มหาบพิตร บุคคลเมื่อจะบัญญัติสัตว์ พึง บัญญัติด้วยรูปใด รูปนั้นอันพระตถาคตละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว กระทำให้ไม่ มีที่ตั้ง ดุจตาลยอดด้วน กระทำไม่ให้มีไม่ให้เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา ดูกร มหาบพิตร พระตถาคตพ้นจากการบัญญัติว่าเป็นรูป เป็นของลึก ประมาณไม่ได้ หยั่งถึงได้โดยยาก ดุจมหาสมุทรฉะนั้น คำว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิด อีกก็ดี ย่อมไม่เกิดอีกก็ดี ย่อมเกิดและไม่เกิดอีกก็ดี ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อม ไม่เกิดอีกก็หามิได้ก็ดี ย่อมไม่ควร เมื่อบุคคลบัญญัติสัตว์ พึงบัญญัติด้วยเวทนา ใด ... เมื่อบัญญัติสัตว์ พึงบัญญัติด้วยสัญญาใด ... เมื่อบุคคลบัญญัติสัตว์ พึง บัญญัติด้วยสังขารเหล่าใด ... เมื่อบัญญัติสัตว์ พึงบัญญัติด้วยวิญญาณใด วิญญาณนั้น อันพระตถาคตละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว กระทำให้ไม่มีที่ตั้ง ดุจตาลยอดด้วน กระทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา ดูกรมหาบพิตร พระตถาคตพ้น แล้วจากการบัญญัติว่าเป็นวิญญาณ เป็นของลึก ประมาณไม่ได้ หยั่งถึงได้โดย ยาก ดุจมหาสมุทรฉะนั้น คำว่าสัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดก็ดี ย่อมไม่ เกิดก็ดี ย่อมเกิดอีกและไม่เกิดอีกก็ดี ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หา มิได้ก็ดี ก็ย่อมไม่ควร ฯ ครั้งนั้นแล พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงยินดี อนุโมทนาภาษิตของพระเขมา ภิกษุณี เสด็จลุกจากอาสนะ ไหว้พระเขมาภิกษุณีทรงกระทำประทักษิณแล้วเสด็จ จากไป ฯ [๗๕๘] สมัยต่อมา พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ทรงอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้ว ประทับ ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง ครั้น แล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกหรือ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรมหาบพิตร ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหา ที่อาตมภาพไม่พยากรณ์ ฯ ป. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เกิดอีก หรือ ฯ พ. ขอถวายพระพร แม้ปัญหาข้อนี้ก็เป็นปัญหาที่อาตมภาพไม่พยากรณ์ เหมือนกัน ฯ ป. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็มี ย่อม ไม่เกิดอีกก็มีหรือ ฯ พ. ขอถวายพระพร ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาที่อาตมภาพไม่พยากรณ์ ฯ ป. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็หา มิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้หรือ ฯ พ. ขอถวายพระพร แม้ปัญหาข้อนี้ก็เป็นปัญหาที่อาตมภาพไม่พยากรณ์ อีกนั่นแหละ ฯ ป. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อข้าพระองค์ทูลถามว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ ตายแล้วย่อมเกิดอีกหรือ พระองค์ก็ตรัสตอบว่า ขอถวายพระพร ปัญหาข้อนี้ เป็นปัญหาที่อาตมภาพไม่พยากรณ์ ฯลฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อข้าพระองค์ทูล ถามว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ หรือ พระองค์ก็ตรัสตอบว่า ขอถวายพระพร แม้ปัญหาข้อนี้ก็เป็นปัญหาที่ อาตมภาพไม่พยากรณ์อีกนั่นแหละ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรเล่าเป็นเหตุเป็น ปัจจัยให้พระผู้มีพระภาคไม่พยากรณ์ปัญหาข้อนั้น ฯ [๗๕๙] พ. ขอถวายพระพร ถ้าอย่างนั้น อาตมภาพจักย้อนถามมหา- *บพิตรในปัญหาข้อนั้นบ้าง ปัญหาข้อนั้นพอพระทัยมหาบพิตรอย่างใด มหาบพิตร พึงทรงพยากรณ์ปัญหาข้อนั้นอย่างนั้นเถิด ขอถวายพระพร มหาบพิตรจะทรง สำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน มหาบพิตรทรงมีนักคำนวณ นักประเมิน หรือนัก ประมาณไรๆ ซึ่งสามารถจะคำนวณเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาว่า เม็ดทรายมี ประมาณเท่านี้ ฯลฯ หรือว่ามีทรายประมาณเท่านี้แสนเม็ดหรือไม่ ฯ ป. ไม่มีเลย พระเจ้าข้า ฯ พ. และมหาบพิตรทรงมีนักคำนวณ นักประเมิน หรือนักประมาณไรๆ ซึ่งสามารถจะคำนวณน้ำในมหาสมุทรว่า มีน้ำเท่านี้อาฬหกะ ฯลฯ หรือว่ามีน้ำ เท่านี้แสนอาฬหกะหรือไม่ ฯ ป. ไม่มีเลย พระเจ้าข้า ฯ พ. ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร มหาบพิตร ฯ ป. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะว่ามหาสมุทรเป็นของลึกประมาณไม่ได้ หยั่งถึงได้โดยยาก พระเจ้าข้า ฯ [๗๖๐] พ. ฉันนั้นนั่นแล มหาบพิตร บุคคลเมื่อจะบัญญัติสัตว์ พึง บัญญัติด้วยรูปใด รูปนั้นอันตถาคตละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว กระทำให้ไม่มีที่ ตั้ง ดุจตาลยอดด้วน กระทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา ดูกร- *มหาบพิตร ตถาคตพ้นจากการบัญญัติว่าเป็นรูป เป็นของลึก ประมาณไม่ได้ หยั่งถึงได้โดยยากดุจมหาสมุทร ฉะนั้น คำว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อม เกิดอีกก็ดี ย่อมไม่เกิดอีกก็ดี ย่อมเกิดอีกและไม่เกิดอีกก็ดี ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ก็ดี ย่อมไม่ควร บุคคลเมื่อจะบัญญัติสัตว์ พึงบัญญัติด้วย เวทนาใด ... เมื่อบัญญัติสัตว์ พึงบัญญัติด้วยสัญญาใด ... เมื่อบัญญัติสัตว์ พึง บัญญัติด้วยสังขารเหล่าใด ... เมื่อบัญญัติสัตว์ พึงบัญญัติด้วยวิญญาณใด วิญญาณนั้นอันตถาคตละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว กระทำให้ไม่มีที่ตั้ง ดุจตาล ยอดด้วน กระทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา ดูกรมหาบพิตร ตถาคตพ้นแล้วจากการบัญญัติว่าเป็นวิญญาณ เป็นของลึก ประมาณไม่ได้ หยั่ง ถึงได้โดยยาก ดุจมหาสมุทร ฉะนั้น คำว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิด อีกก็ดี ย่อมไม่เกิดอีกก็ดี ย่อมเกิดอีกและไม่เกิดอีกก็ดี ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ก็ดี ย่อมไม่ควร ฯ [๗๖๑] ป. อัศจรรย์จริง พระเจ้าข้า ไม่เคยมี พระเจ้าข้า ในข้อที่ อรรถกับอรรถ พยัญชนะกับพยัญชนะ ของพระศาสดากับของสาวิกา ย่อมเทียบ กันได้ สมกันได้ ไม่ผิดเพี้ยนในบทที่สำคัญ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมัยหนึ่ง ข้าพระพุทธเจ้าได้ไปหาพระเขมาภิกษุณี ไต่ถามความข้อนี้มาครั้งหนึ่งแล้ว แม้แม่ เจ้ารูปนั้นก็ได้พยากรณ์ความข้อนี้ด้วยบทเหล่านี้ ด้วยพยัญชนะเหล่านี้ แก่ข้า- *พระพุทธเจ้า ดุจพระผู้มีพระภาคเหมือนกัน น่าอัศจรรย์ พระเจ้าข้า ไม่เคยมีมา พระเจ้าข้า ในข้อที่อรรถกับอรรถ พยัญชนะกับพยัญชนะ ของพระศาสดากับ ของสาวก ย่อมเทียบกันได้ สมกันได้ ไม่ผิดเพี้ยนในบทที่สำคัญ ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้ามีกิจมาก มีกรณีย์มาก ถ้ากระไร จึงขอทูลลาไปใน บัดนี้ ฯ พ. ขอถวายพระพร บัดนี้ มหาบพิตรทรงทราบกาลอันสมควรเถิด ครั้ง นั้นแล พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงยินดีอนุโมทนาพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค เสด็จลุกขึ้นจากอาสนะ ทรงอภิวาทพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วเสด็จ กลับไป ฯ
จบสูตรที่ ๑
อนุราธสูตร
[๗๖๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ในป่ามหาวัน ใกล้นครเวสาลี ก็สมัยนั้นแล ท่านพระอนุราธะก็อยู่ในกุฎีในป่าที่ไม่ไกลพระผู้มี พระภาค ครั้งนั้นแล พวกปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่นเป็นอันมาก เข้าไปหาท่านพระ อนุราธะถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระอนุราธะ ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึง กันไปแล้วจึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระอนุราธะว่า ดูกร ท่านอนุราธะ พระตถาคตผู้เป็นอุดมบุรุษผู้เป็นบรมบุรุษ ทรงบรรลุถึงธรรมอันควร บรรลุอย่างยอดเยี่ยมแล้ว เมื่อจะทรงบัญญัติข้อนั้น ย่อมทรงบัญญัติในฐานะทั้ง ๔ นี้ คือ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีก สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่ เกิดอีก สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็มี ไม่เกิดอีกก็มี หรือว่าสัตว์ เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ ท่านพระอนุราธะ ตอบว่า ดูกรท่านทั้งหลาย พระตถาคตผู้เป็นอุดมบุรุษ ผู้เป็นบรมบุรุษ ทรงบรรลุ ถึงธรรมอันสมควรบรรลุอย่างยอดเยี่ยมแล้ว เมื่อจะทรงบัญญัติข้อนั้น ย่อมทรง บัญญัตินอกจากฐานะทั้ง ๔ นี้ คือ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีก สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เกิดอีก สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็มี ไม่เกิดอีกก็มี หรือว่าสัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิด อีกก็หามิได้ ฯ [๗๖๓] เมื่อท่านพระอนุราธะกล่าวอย่างนี้แล้ว พวกปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่น เหล่านั้นได้กล่าวกะท่านพระอนุราธะว่า ก็ภิกษุรูปนี้ชะรอยจักเป็นภิกษุใหม่ บวชแล้ว ไม่นาน หรือเป็นพระเถระแต่หากเป็นพระเขลา ไม่ฉลาด ครั้งนั้นแล พวกปริพาชก ผู้ถือลัทธิอื่นเหล่านั้น ได้รุกรานท่านพระอนุราธะด้วยวาทะว่าเป็นภิกษุใหม่และ ด้วยวาทะว่าเป็นพระเขลา แล้วได้พากันลุกขึ้นจากอาสนะหลีกไป เมื่อพวก ปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่นเหล่านั้นหลีกไปแล้วไม่นาน ท่านพระอนุราธะได้มีความคิด ดังนี้ว่า ถ้าว่าพวกปริพาชกเหล่านั้นพึงถามยิ่งขึ้นไป เราจะพยากรณ์แต่พวก ปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่นเหล่านั้นอย่างไรหนอ จึงจะเป็นอันกล่าวตามพระดำรัสที่ พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว จะไม่กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำไม่จริง และพยากรณ์ ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งการคล้อยตามวาทะที่ถูกไรๆ จะไม่ถึงฐานะอันวิญญูชน พึงติเตียนได้ ฯ [๗๖๔] ครั้งนั้นแล ท่านพระอนุราธะได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ข้าพระองค์อยู่ที่กุฎีในป่าในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ครั้ง นั้น พวกปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่นเป็นอันมาก ได้เข้าไปหาข้าพระองค์ถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับข้าพระองค์ ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงได้นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้ถามข้าพระองค์ว่า ดูกรท่านอนุราธะ พระตถาคต ผู้เป็นอุดมบุรุษเป็นบรมบุรุษ ทรงบรรลุถึงธรรมอันควรบรรลุอย่างยอดเยี่ยมแล้ว เมื่อ ทรงบัญญัติข้อนั้น ย่อมทรงบัญญัติในฐานะทั้ง ๔ นี้ คือ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตาย แล้วย่อมเกิดอีก ฯลฯ หรือว่าสัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพวกปริพาชกผู้ถือ ลัทธิอื่นเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์ได้ตอบเขาเหล่านั้นว่า ดูกรท่าน ทั้งหลาย พระตถาคตผู้เป็นอุดมบุรุษ เป็นบรมบุรุษ ทรงบรรลุถึงธรรมอันควร บรรลุอย่างยอดเยี่ยมแล้ว เมื่อทรงบัญญัติข้อนั้น ย่อมทรงบัญญัตินอกจาก ฐานะทั้ง ๔ นี้ คือ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีก ฯลฯ หรือว่าสัตว์ เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดก็หามิได้ ดังนี้ ข้า แต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อข้าพระองค์กล่าวอย่างนี้แล้ว พวกปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่น เหล่านั้นได้กล่าวกะข้าพระองค์ว่า ก็ภิกษุรูปนี้ชะรอยจักเป็นภิกษุใหม่ บวชแล้วไม่ นาน หรือว่าเป็นพระเถระแต่หากเป็นพระเขลา ไม่ฉลาด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวก ปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่นเหล่านั้น ได้รุกรานข้าพระองค์ด้วยวาทะว่าเป็นภิกษุใหม่ และ ด้วยวาทะว่าเป็นพระเขลา แล้วได้พากันลุกขึ้นจากอาสนะหลีกไป ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ เมื่อพวกปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่นเหล่านั้นหลีกไปแล้วไม่นาน ข้าพระองค์ได้ มีความคิดว่า ถ้าพวกปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่นเหล่านั้นพึงถามเรายิ่งขึ้นไปไซร้ เราจะ พยากรณ์แก่พวกปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่นเหล่านั้นอย่างไรจึงจะเป็นอันกล่าวตามพระ- *ดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว จะไม่กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำไม่จริง และ พยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งการคล้อยตามวาทะที่ถูกไรๆ จะไม่ถึงฐานะอัน วิญญูชนพึงติเตียนได้ ดังนี้ พระเจ้าข้า ฯ [๗๖๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอนุราธะ เธอจะสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง ท่านพระอนุราธะกราบทูลว่าไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ อ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดาควรหรือ หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ อ. ไม่ควรเลย พระเจ้าข้า ฯ พ. เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ อ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ อ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ อ. ไม่ควรเลย พระเจ้าข้า ฯ [๗๖๖] พ. ดูกรอนุราธะ เพราะเหตุนั้นแล รูปอย่างใดอย่างหนึ่งทั้งที่ เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน เป็นภายในก็ดี เป็นภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี อยู่ในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี รูปนั้นทั้งหมด เธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็น เรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ อย่างใดอย่างหนึ่งทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน เป็นภายในก็ดี เป็นภายนอก ก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี อยู่ในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี เวทนา... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณทั้งหมด ท่านพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตาม เป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ดูกร อนุราธะ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในรูป ย่อม เบื่อหน่ายทั้งในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในสังขาร ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้น แล้วพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิ ได้มีดังนี้ ฯ [๗๖๗] ดูกรอนุราธะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอย่อมเห็น รูปว่าเป็นสัตว์หรือ ฯ อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. เธอเห็นเวทนาว่าเป็นสัตว์หรือ ฯ อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. เธอเห็นสัญญาว่าเป็นสัตว์หรือ ฯ อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. เธอเห็นสังขารว่าเป็นสัตว์หรือ ฯ อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. เธอเห็นวิญญาณว่าเป็นสัตว์หรือ ฯ อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ [๗๖๘] พ. ดูกรอนุราธะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอย่อม เห็นว่าสัตว์ในรูปหรือ ฯ อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. เธอเห็นว่าสัตว์อื่นจากรูปหรือ ฯ อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. เธอเห็นว่า สัตว์ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ หรือ ฯ อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. เธอเห็นว่า สัตว์อื่นจากเวทนา จากสัญญา จากสังขาร จากวิญญาณ หรือ ฯ อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ [๗๖๙] พ. ดูกรอนุราธะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ว่าเป็นสัตว์หรือ ฯ อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ [๗๗๐] พ. ดูกรอนุราธะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอเห็น ว่า สัตว์นี้ไม่มีรูป ไม่มีเวทนา ไม่มีสัญญา ไม่มีสังขาร ไม่มีวิญญาณหรือ ฯ อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรอนุราธะ ก็เธอหาสัตว์ในขันธ์ ๕ นี้โดยจริง โดยแท้ ไม่ได้ ในปัจจุบัน ควรหรือที่เธอจะพยากรณ์ว่า ดูกรท่านทั้งหลาย พระตถาคตผู้เป็น อุดมบุรุษ ทรงบรรลุถึงธรรมอันควรบรรลุอย่างยอดเยี่ยมแล้ว เมื่อทรงบัญญัติข้อ นั้น ย่อมทรงบัญญัตินอกจากฐานะทั้ง ๔ นี้ คือ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อม เกิดอีก ฯลฯ หรือว่าสัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิด อีกก็หามิได้ ดังนี้ ฯ อ. ไม่ควรเลย พระเจ้าข้า ฯ พ. สาธุ สาธุ อนุราธะ ดูกรอนุราธะ ในกาลก่อนด้วย ในบัดนี้ด้วย เราย่อมบัญญัติทุกข์และความดับแห่งทุกข์ ฯ
จบสูตรที่ ๒
สาริปุตตโกฏฐิตสูตรที่ ๑
[๗๗๑] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโกฏฐิตะอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเย็น ท่าน พระมหาโกฏฐิตะออกจากที่หลีกเร้น ได้เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้ ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึง นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า ดูกรท่านพระ- *สารีบุตร สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกหรือ ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ดูกรท่าน ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ ฯ ม. ดูกรท่าน สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เกิดอีกหรือ ฯ ส. ดูกรท่าน แม้ปัญหาข้อนี้ก็เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยา- *กรณ์ ฯ ม. ดูกรท่าน สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิดอีก ก็มีหรือ ฯ ส. ดูกรท่าน ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์อีก เหมือนกัน ฯ ม. ดูกรท่าน สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่ เกิดอีกก็หามิได้หรือ ฯ ส. ดูกรท่าน แม้ปัญหาข้อนี้ก็เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ อีกเหมือนกัน ฯ ม. ดูกรท่าน เมื่อผมถามว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกหรือ ท่านก็ตอบว่า ดูกรท่าน ปัญหาข้อนี้พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ ฯลฯ เมื่อ ผมถามว่า ดูกรท่าน สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิด อีกก็หามิได้หรือ ท่านก็ตอบว่า ดูกรท่าน แม้ปัญหาข้อนี้ก็เป็นปัญหาที่พระผู้มี- *พระภาคไม่ทรงพยากรณ์อีกเหมือนกัน ดูกรท่าน อะไรเล่าเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ปัญหานั้น ฯ [๗๗๒] ส. ดูกรท่าน คำว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีก สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เกิดอีก สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิดอีกก็มี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีก ก็หามิได้ นี้ย่อมเป็นคำที่หมายถึงรูป ดูกรท่าน คำว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีก สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เกิดอีก สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิดอีกก็มี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หา มิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ นี้ย่อมเป็นคำที่หมายถึงเวทนา ดูกรท่าน คำว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีก สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เกิดอีก สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิดอีกก็มี สัตว์เบื้องหน้าแต่ ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ นี้ย่อมเป็นคำที่หมายถึง สัญญา ดูกรท่าน คำว่าสัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีก สัตว์เบื้องหน้าแต่ ตายแล้วย่อมไม่เกิดอีก สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิดอีกก็มี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ นี้ย่อมเป็น คำที่หมายถึงสังขาร คำว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีก สัตว์เบื้องหน้า แต่ตายแล้วย่อมไม่เกิดอีก สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิด อีกก็มี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ นี้ย่อมเป็นคำที่หมายถึงวิญญาณ ดูกรท่าน นี่แหละเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้พระผู้มี- *พระภาคไม่ทรงพยากรณ์ปัญหาข้อนั้น ฯ
จบสูตรที่ ๓
สาริปุตตโกฏฐิตสูตรที่ ๒
[๗๗๓] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโกฏฐิตะอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี ฯลฯ ได้มีคำถามอย่างนั้นเหมือน กันว่า ดูกรท่าน อะไรเล่า เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ ปัญหาข้อนั้น ฯ [๗๗๔] ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ดูกรท่าน ความเห็นว่า สัตว์เบื้อง หน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็ดี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เกิดอีกก็ดี สัตว์ เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิดอีกก็มีก็ดี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตาย แล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ก็ดี ดังนี้ ย่อมเกิดมีแก่บุคคล ผู้ไม่รู้ไม่เห็นรูปตามความเป็นจริง ไม่รู้ไม่เห็นเหตุเกิดแห่งรูปตามความเป็นจริง ไม่รู้ไม่เห็นความดับแห่งรูป ตามความเป็นจริง ไม่รู้ไม่เห็นปฏิปทาเครื่องให้ถึง ความดับแห่งรูปตามความเป็นจริง ความเห็นว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อม เกิดอีกก็ดี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เกิดอีกก็ดี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตาย แล้วย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิดอีกก็มีก็ดี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีก ก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ก็ดี ย่อมเกิดมีแก่บุคคลผู้ไม่รู้ไม่เห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ตามความเป็นจริง ไม่รู้ไม่เห็นเหตุเกิดแห่งเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ตามความเป็นจริง ไม่รู้ไม่เห็นความดับแห่งเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ตามความเป็นจริง ไม่รู้ไม่เป็นปฏิปทาเครื่องให้ถึงความ ดับแห่งเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ตามความเป็นจริง ฯ [๗๗๕] ดูกรท่าน ก็แต่ความเห็นว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิด อีกก็ดี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เกิดอีกก็ดี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิดอีกก็มีก็ดี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็ หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ก็ดี ย่อมไม่เกิดมีแก่บุคคลผู้รู้ผู้เห็นรูปตามความ เป็นจริง รู้เห็นเหตุเกิดแห่งรูปตามความเป็นจริง รู้เห็นความดับแห่งรูปตามความ เป็นจริง รู้เห็นปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับแห่งรูปตามความเป็นจริง ความเห็นว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็ดี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมไม่เกิด อีกก็ดี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิดอีกก็มีก็ดี สัตว์ เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ก็ดี ย่อมไม่เกิด มีแก่บุคคลผู้รู้ผู้เห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ตามความเป็นจริง รู้เห็น เหตุเกิดแห่งเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ตามความเป็นจริง รู้เห็นความ ดับแห่งเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ตามความเป็นจริง รู้เห็นปฏิปทา เครื่องให้ถึงความดับแห่งเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ตามความเป็นจริง ฯ
จบสูตรที่ ๔
สาริปุตตโกฏฐิตสูตรที่ ๓
[๗๗๖] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโกฏฐิตะอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี ฯลฯ ได้มีคำถามอย่างนั้นเหมือน กันว่า ดูกรท่าน อะไรเล่าเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ ปัญหาข้อนั้น ฯ [๗๗๗] ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ดูกรท่าน ความเห็นว่า สัตว์เบื้อง หน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็ดี ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หา มิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ก็ดี ย่อมเกิดมีแก่บุคคลผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ความพอใจ ความรัก ความระหาย ความเร่าร้อน ความทะยานอยากในรูป ความเห็นว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็ดี ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ก็ดี ย่อมเกิดมีแก่บุคคลผู้ ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ความพอใจ ความรัก ความระหาย ความเร่าร้อน ความทะยานอยากในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ ฯ [๗๗๘] ดูกรท่าน ความเห็นว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีก ก็ดี ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หา มิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ก็ดี ย่อมไม่เกิดมีแก่บุคคลผู้ปราศจากความกำหนัด ความพอใจ ความรัก ความระหาย ความเร่าร้อน ความทะยานอยากในรูป ความเห็นว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็ดี ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้า แต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ก็ดี ย่อมไม่เกิดมีแก่บุคคล ผู้ปราศจากความกำหนัด ความพอใจ ความรัก ความระหาย ความเร่าร้อน ความ ทะยานอยากในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ ดูกรท่าน นี้แลเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ปัญหาข้อนั้น ฯ
จบสูตรที่ ๕
สาริปุตตโกฏฐิตสูตรที่ ๔
[๗๗๙] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโกฏฐิตะอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี ครั้งนั้นแล ในเวลาเย็น ท่าน พระสารีบุตรออกจากที่หลีกเร้นแล้ว ได้เข้าไปหาท่านพระมหาโกฏฐิตะถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระมหาโกฏฐิตะ ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไป แล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วท่านพระสารีบุตรได้ถามท่านพระ- *มหาโกฏฐิตะว่า ดูกรท่านมหาโกฏฐิตะ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีก หรือ ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หา มิได้หรือ ฯลฯ เมื่อผมถามแล้วดังนี้ ท่านก็ตอบว่า ดูกรท่าน แม้ปัญหาข้อนี้ ก็เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ ดูกรท่าน ก็อะไรเล่าเป็นเหตุเป็น ปัจจัย ให้พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ปัญหาข้อนั้น ฯ [๗๘๐] ท่านพระมหาโกฏฐิตะตอบว่า ดูกรท่าน ความเห็นว่า สัตว์เบื้อง หน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็ดี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เกิดอีกก็ดี สัตว์ เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิดอีกก็มีก็ดี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตาย แล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ก็ดี ย่อมเกิดมีแก่บุคคลผู้มีรูป เป็นที่มายินดี ผู้ยินดีแล้วในรูป ผู้หมกมุ่นแล้วในรูป ผู้ไม่รู้ไม่เห็นความดับแห่ง รูปตามความเป็นจริง ความเห็นว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็ดี ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ก็ดี ย่อม เกิดมีแก่บุคคลผู้มีเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นที่มายินดี ผู้ยินดีแล้ว หมกมุ่นแล้วในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ ผู้ไม่รู้ไม่เห็นความ ดับแห่งเวทนา แห่งสัญญา แห่งสังขาร แห่งวิญญาณ ตามความเป็นจริง ฯ [๗๘๑] ดูกรท่าน ความเห็นว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีก ก็ดี ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หา มิได้ก็ดี ย่อมไม่เกิดมีแก่บุคคลผู้ไม่มีรูปเป็นที่มายินดี ผู้ไม่ยินดีแล้วในรูป ผู้รู้ เห็นความดับแห่งรูป ตามความเป็นจริง ความเห็นว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็ดี ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อม ไม่เกิดอีกก็หามิได้ก็ดี ย่อมไม่เกิดมีแก่บุคคลผู้ไม่มีเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นที่มายินดี ผู้ไม่ยินดีแล้ว ไม่หมกมุ่นแล้วในเวทนา ในสัญญา ใน สังขาร ในวิญญาณ ผู้รู้เห็นความดับแห่งเวทนา แห่งสัญญา แห่งสังขาร แห่ง วิญญาณ ตามความเป็นจริง ดูกรท่าน นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้พระผู้มีพระภาค ไม่ทรงพยากรณ์ปัญหาข้อนั้น ฯ [๗๘๒] ท่านพระสารีบุตรถามว่า ดูกรท่าน ก็ปริยายแม้อื่นซึ่งเป็นเหตุ ให้พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ปัญหาข้อนั้นพึงมีหรือ ท่านพระมหาโกฏฐิตะ ตอบว่า พึงมีท่าน คือ ความเห็นว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็ดี ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ก็ดี ย่อมเกิดมีแก่บุคคลผู้มีภพเป็นที่มายินดี ผู้ยินดีแล้วในภพ ผู้หมกมุ่นแล้วในภพ ผู้ไม่รู้ไม่เห็นความดับแห่งภพตามความเป็นจริง ฯ [๗๘๓] ดูกรท่าน ความเห็นว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีก ก็ดี ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หา มิได้ก็ดี ย่อมไม่เกิดมีแก่บุคคลผู้ไม่มีภพเป็นที่มายินดี ผู้ไม่ยินดีแล้วในภพ ผู้ไม่ หมกมุ่นแล้วในภพ ผู้รู้ผู้เห็นความดับแห่งภพตามความเป็นจริง ดูกรท่าน แม้ ข้อนี้ก็เป็นปริยายให้พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ปัญหาข้อนั้นเหมือนกัน ฯ [๗๘๔] ท่านพระสารีบุตรถามว่า ดูกรท่าน ก็ปริยายแม้อื่น ซึ่งเป็นเหตุ ให้พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ปัญหาข้อนั้น พึงมีหรือ ท่านพระมหาโกฏฐิตะ ตอบว่า พึงมีท่าน คือ ความเห็นว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็ดี ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ก็ดี ย่อมเกิดมีแก่บุคคลผู้มีอุปาทานเป็นที่มายินดี ผู้ยินดีแล้วในอุปาทาน ผู้หมกมุ่น แล้วในอุปาทาน ผู้ไม่รู้ไม่เห็นความดับแห่งอุปาทาน ตามความเป็นจริง ฯ [๗๘๕] ดูกรท่าน ความเห็นว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีก ก็ดี ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หา มิได้ก็ดี ย่อมไม่เกิดมีแก่บุคคลผู้ไม่มีอุปาทานเป็นที่มายินดี ผู้ไม่ยินดีแล้วใน อุปาทาน ผู้ไม่หมกมุ่นแล้วในอุปาทาน ผู้รู้ผู้เห็นความดับแห่งอุปาทานตามความ เป็นจริง ดูกรท่าน แม้ข้อนี้ก็เป็นปริยายให้พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ปัญหา ข้อนั้น ฯ [๗๘๖] ท่านพระสารีบุตรถามว่า ดูกรท่าน ก็ปริยายแม้อื่นอีก ซึ่งเป็น เหตุให้พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ปัญหาข้อนั้นพึงมีหรือ ท่านพระมหาโกฏฐิตะ ตอบว่า พึงมีท่าน คือ ความเห็นว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็ดี ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ก็ดี ย่อมเกิดมีแก่บุคคลผู้มีตัณหาเป็นที่มายินดี ผู้ยินดีแล้วในตัณหา ผู้หมกมุ่นแล้ว ในตัณหา ผู้ไม่รู้ไม่เห็นความดับแห่งตัณหาตามความเป็นจริง ฯ [๗๘๗] ดูกรท่าน ความเห็นว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีก ก็ดี ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หา มิได้ก็ดี ย่อมไม่เกิดมีแก่บุคคลผู้ไม่มีตัณหาเป็นที่มายินดี ผู้ไม่ยินดีแล้วในตัณหา ผู้รู้ผู้เห็นความดับแห่งตัณหาตามความเป็นจริง ดูกรท่าน ข้อนี้แลเป็นปริยายให้ พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ปัญหาข้อนั้น ฯ ส. ดูกรท่าน ก็ปริยายแม้อื่นซึ่งเป็นเหตุให้พระผู้มีพระภาคไม่ทรง พยากรณ์ปัญหาข้อนี้ พึงมีหรือ ฯ ม. ดูกรท่าน บัดนี้ ท่านยังปรารถนาอะไรในปัญหาข้อนี้ยิ่งขึ้นไปกว่านี้ อีก ดูกรท่านสารีบุตร วัตรเพื่อบัญญัติย่อมไม่มีแก่ภิกษุผู้พ้นวิเศษแล้วเพราะความ สิ้นไปแห่งตัณหา ฯ
จบสูตรที่ ๖
โมคคัลลานสูตร
[๗๘๘] ครั้งนั้นแล วัจฉโคตรปริพาชกเข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะ ถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระมหาโมคคัลลานะ ครั้นผ่านการปราศรัยพอ ให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่าน พระมหาโมคคัลลานะว่า ดูกรท่านโมคคัลลานะ โลกเที่ยงหรือ ท่านพระมหา- *โมคคัลลานะตอบว่า ดูกรวัจฉะ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรง พยากรณ์ ฯ ว. ดูกรท่านโมคคัลลานะ โลกไม่เที่ยงหรือ ฯ ม. ดูกรวัจฉะ แม้ปัญหาข้อนี้ก็เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรง พยากรณ์ ฯ ว. ดูกรท่านโมคคัลลานะ โลกมีที่สุดหรือ ฯ ม. ดูกรวัจฉะ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ ฯ ว. ดูกรท่านโมคคัลลานะ โลกไม่มีที่สุดหรือ ฯ ม. ดูกรวัจฉะ แม้ปัญหาข้อนี้ก็เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรง พยากรณ์ ฯ ว. ดูกรท่านโมคคัลลานะ ชีพก็อันนั้นหรือ ฯ ม. ดูกรวัจฉะ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ ฯ ว. ดูกรโมคคัลลานะ ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่นหรือ ฯ ม. ดูกรวัจฉะ แม้ปัญหาข้อนี้ก็เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรง พยากรณ์ ฯ ว. ดูกรโมคคัลลานะ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกหรือ ฯ ม. ดูกรวัจฉะ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ ฯ ว. ดูกรโมคคัลลานะ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมไม่เกิดอีกหรือ ฯ ม. ดูกรวัจฉะ แม้ปัญหาข้อนี้ก็เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรง พยากรณ์ ฯ ว. ดูกรโมคคัลลานะ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็มี ย่อม ไม่เกิดอีกก็มีหรือ ฯ ม. ดูกรวัจฉะ ปัญหาข้อนี้ก็เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ ฯ ว. ดูกรท่านโมคคัลลานะ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หา มิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้หรือ ฯ ม. ดูกรวัจฉะ แม้ปัญหาข้อนี้ก็เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรง พยากรณ์ ฯ [๗๘๙] ว. ดูกรท่านโมคคัลลานะ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้พวก ปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่น เมื่อถูกถามอย่างนั้นแล้ว พยากรณ์อย่างนี้ว่า โลกเที่ยงบ้าง โลกไม่เที่ยงบ้าง โลกมีที่สุดบ้าง โลกไม่มีที่สุดบ้าง ชีพก็อันนั้น สรีระ ก็อันนั้นบ้าง ชีพเป็นอย่างอื่น สรีระก็เป็นอย่างอื่นบ้าง สัตว์เบื้องหน้าแต่ตาย แล้วย่อมเกิดอีกบ้าง สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เกิดอีกบ้าง สัตว์เบื้องหน้า แต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิดอีกก็มีบ้าง สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อม เกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้บ้าง ดูกรท่านโมคคัลลานะ ก็อะไรเล่า เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้พระสมณโคดม เมื่อถูกถามอย่างนั้นแล้ว ไม่ทรงพยากรณ์ อย่างนี้ว่า โลกเที่ยงก็ดี โลกไม่เที่ยงก็ดี โลกมีที่สุดก็ดี โลกไม่มีที่สุดก็ดี ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้นก็ดี ชีพเป็นอย่างอื่น สรีระก็เป็นอย่างอื่นก็ดี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็ดี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เกิดอีก ก็ดี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิดอีกก็มีก็ดี สัตว์เบื้อง หน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ก็ดี ฯ [๗๙๐] ม. ดูกรวัจฉะ ก็เพราะพวกปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่นย่อมตามเห็น จักษุว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่น ย่อมตามเห็นหู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่น เป็นตัวตนของเรา เพราะเหตุนั้น เมื่อพวกปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่นถูกถามอย่างนั้น แล้ว จึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า โลกเที่ยงบ้าง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อม เกิดอีกก็หามิได้ ไม่เกิดอีกก็หามิได้บ้าง ดูกรวัจฉะ ส่วนพระตถาคตอรหันตสัมมา สัมพุทธเจ้า ย่อมทรงพิจารณาเห็นจักษุว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่น ไม่ใช่ตัวตนของเรา ย่อมทรงพิจารณาเห็น หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา เพราะฉะนั้น เมื่อพระ ตถาคตถูกถามอย่างนั้นแล้ว จึงไม่ทรงพยากรณ์อย่างนี้ว่า โลกเที่ยงก็ดี ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ก็ดี ฯ [๗๙๑] ครั้งนั้นแล วัจฉโคตรปริพาชกลุกขึ้นจากที่นั่งแล้วเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัย พอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถาม พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ โลกเที่ยงหรือ พระผู้มีพระภาคตรัส ตอบว่า ดูกรวัจฉะ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาที่เราไม่พยากรณ์ ฯลฯ ว. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หา มิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้หรือ ฯ พ. ดูกรวัจฉะ แม้ปัญหาข้อนี้เราก็ไม่พยากรณ์ ฯ ว. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรเล่า เป็นเหตุเป็นปัจจัย ให้พวก ปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่น เมื่อถูกถามอย่างนั้นแล้ว ย่อมพยากรณ์อย่างนี้ว่า โลกเที่ยง บ้าง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ บ้าง ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรเล่าเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้พระโคดมผู้เจริญ เมื่อถูกทูลถามอย่างนั้นแล้ว จึงไม่ทรงพยากรณ์อย่างนี้ว่า โลกเที่ยงก็ดี ฯลฯ สัตว์ เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ก็ดี ฯ [๗๙๒] พ. ดูกรวัจฉะ พวกปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่นย่อมตามเห็นจักษุว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา พวกปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่นย่อม ตามเห็น หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่น เป็นตัวตนของเรา เพราะเหตุนั้น เมื่อพวกปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่นถูกถามอย่างนั้น แล้ว จึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า โลกเที่ยงบ้าง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อม เกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้บ้าง ดูกรวัจฉะ ส่วนพระตถาคตอรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้า ย่อมทรงพิจารณาเห็นจักษุว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ย่อมทรงพิจารณาเห็น หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจ ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา เพราะเหตุนั้น เมื่อตถาคตถูกถามอย่างนั้นแล้ว จึงไม่ทรงพยากรณ์อย่างนี้ว่า โลกเที่ยงก็ดี ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ก็ดี ฯ [๗๙๓] ว. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมี ในข้อที่ อรรถกับอรรถ พยัญชนะกับพยัญชนะ ของศาสดากับของสาวก ย่อมเทียบกันได้ สมกันได้ ไม่ผิดเพี้ยนกันในบทที่สำคัญ ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ เมื่อกี้นี้ ข้าพระองค์ได้เข้าไปหาสมณมหาโมคคัลลานะแล้ว ได้ถามความข้อนี้ แม้สมณ มหาโมคคัลลานะก็ได้พยากรณ์ความข้อนี้ ด้วยบทเหล่านี้ด้วยพยัญชนะเหล่านี้ แก่ ข้าพระองค์ ดุจพระโคดมผู้เจริญเหมือนกัน ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมี ในข้อที่อรรถกับอรรถ พยัญชนะกับพยัญชนะ ของศาสดากับของสาวก ย่อมเทียบกันได้ สมกันได้ ไม่ผิดเพี้ยนกันในบทที่สำคัญ ฯ
จบสูตรที่ ๗
วัจฉสูตร
[๗๙๔] ครั้งนั้นแล วัจฉโคตรปริพาชกได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไป แล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ โลกเที่ยงหรือ พระผู้มีพระภาคตอบว่า ดูกรวัจฉะปัญหา ข้อนี้เป็นปัญหาที่เราไม่พยากรณ์ ฯลฯ ว. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หา มิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้หรือ ฯ พ. ดูกรวัจฉะ แม้ปัญหาข้อนี้ก็เป็นปัญหาที่เราไม่พยากรณ์อีกเหมือน กัน ฯ ว. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรเล่า เป็นเหตุเป็นปัจจัย ให้พวก ปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่น เมื่อถูกถามอย่างนั้นแล้ว พยากรณ์อย่างนี้ว่า โลกเที่ยง บ้าง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ บ้าง ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรเล่า เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้พระโคดมผู้เจริญ เมื่อถูกทูลถามอย่างนั้นแล้ว ไม่ทรงพยากรณ์อย่างนี้ว่าโลกเที่ยงก็ดี ฯลฯ สัตว์ เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ก็ดี ฯ [๗๙๕] พ. ดูกรวัจฉะ พวกปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่น ย่อมเห็นรูปโดย ความเป็นตน ย่อมเห็นตนว่ามีรูป ย่อมเห็นรูปในตน หรือย่อมเห็นตนในรูป ฯลฯ ย่อมเห็นวิญญาณโดยความเป็นตน ย่อมเห็นตนว่ามีวิญญาณ ย่อมเห็นวิญญาณใน ตน หรือย่อมเห็นตนในวิญญาณ เพราะฉะนั้น พวกปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่น เมื่อ ถูกถามอย่างนั้นแล้ว จึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า โลกเที่ยงบ้าง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้า แต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้บ้าง ดูกรวัจฉะ ส่วนพระ ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ย่อมไม่เห็นรูปโดยความเป็นตน ย่อมไม่เห็นตน ว่ามีรูป ย่อมไม่เห็นรูปในตน หรือย่อมไม่เห็นตนในรูป ฯลฯ ย่อมไม่เห็น วิญญาณโดยความเป็นตน ย่อมไม่เห็นตนว่ามีวิญญาณ ย่อมไม่เห็นวิญญาณในตน หรือย่อมไม่เห็นตนในวิญญาณ เพราะฉะนั้น เมื่อตถาคตถูกถามอย่างนั้น จึงไม่ พยากรณ์อย่างนี้ว่าโลกเที่ยงก็ดี ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หา มิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ก็ดี ฯ [๗๙๖] ครั้งนั้นแล วัจฉโคตรปริพาชกลุกขึ้นจากที่นั่งแล้ว ได้เข้าไปหา ท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระมหาโมคคัลลานะ ครั้น ผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ถามท่านพระมหาโมคคัลลานะว่า ดูกรท่านโมคคัลลานะ โลกเที่ยงหรือ ท่าน พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า ดูกรวัจฉะ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาค ไม่ทรงพยากรณ์ ฯลฯ ว. ดูกรท่านโมคคัลลานะ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้หรือ ฯ พ. ดูกรวัจฉะ แม้ปัญหาข้อนี้ก็เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรง พยากรณ์อีกเหมือนกัน ฯ ว. ดูกรท่านโมคคัลลานะ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้พวก ปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่น เมื่อถูกถามอย่างนั้น ย่อมพยากรณ์อย่างนี้ว่า โลกเที่ยง บ้าง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ บ้าง ดูกรท่านโมคคัลลานะ ก็อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้พระสมณโคดม เมื่อถูกทูลถามอย่างนั้นแล้ว ย่อมไม่ทรงพยากรณ์อย่างนี้ว่า โลกเที่ยงก็ดี ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ก็ดี ฯ [๗๙๗] ดูกรวัจฉะ พวกปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่นย่อมเห็นรูปโดยความเป็น ตน ย่อมเห็นตนว่ามีรูป ย่อมเห็นรูปในตน หรือย่อมเห็นตนในรูป ฯลฯ ย่อม เห็นวิญญาณโดยความเป็นตน ย่อมเห็นตนว่ามีวิญญาณ ย่อมเห็นวิญญาณในตน หรือย่อมเห็นตนในวิญญาณ เพราะฉะนั้น พวกปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่น เมื่อถูกถาม อย่างนั้น จึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า โลกเที่ยงบ้าง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้บ้าง ดูกรวัจฉะ ส่วนพระตถาคต อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ย่อมไม่ทรงเห็นรูปโดยความเป็นตน ย่อมไม่ทรงเห็น ตนว่ามีรูป ย่อมไม่ทรงเห็นรูปในตน หรือย่อมไม่ทรงเห็นตนในรูป ฯลฯ ย่อม ไม่ทรงเห็นวิญญาณโดยความเป็นตน ย่อมไม่ทรงเห็นตนว่ามีวิญญาณ ย่อมไม่ทรง เห็นวิญญาณในตน หรือย่อมไม่ทรงเห็นตนในวิญญาณ เพราะฉะนั้น เมื่อพระ ตถาคตถูกทูลถามอย่างนั้น จึงไม่ทรงพยากรณ์อย่างนี้ว่า โลกเที่ยงก็ดี โลกไม่ เที่ยงก็ดี โลกมีที่สุดก็ดี โลกไม่มีที่สุดก็ดี ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้นก็ดี ชีพ เป็นอย่างอื่น สรีระก็เป็นอย่างอื่นก็ดี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็ดี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เกิดอีกก็ดี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีก ก็มี ย่อมไม่เกิดอีกก็มีก็ดี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่ เกิดอีกก็หามิได้ก็ดี ฯ [๗๙๘] ดูกรท่านโมคคัลลานะ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมี ในข้อที่อรรถกับ อรรถ พยัญชนะกับพยัญชนะ ของศาสดากับของสาวก ย่อมเทียบกันได้ สมกัน ได้ ไม่ผิดเพี้ยนกันในบทที่สำคัญ ดูกรท่านโมคคัลลานะ เมื่อกี้นี้ข้าพเจ้าได้เข้าไป เฝ้าพระสมณโคดม ได้ทูลถามเรื่องนี้ แม้พระสมณโคดมก็ได้ทรงพยากรณ์เรื่องนี้ ด้วยบทเหล่านี้ ด้วยพยัญชนะเหล่านี้ แก่ข้าพเจ้า ดุจท่านโมคคัลลานะเหมือนกัน ดูกรท่านโมคคัลลานะ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมี ในข้อที่อรรถกับอรรถ พยัญชนะ กับพยัญชนะ ของศาสดากับของสาวก ย่อมเทียบกันได้ สมกันได้ ไม่ผิดเพี้ยน กันในบทที่สำคัญ ฯ
จบสูตรที่ ๘
กุตุหลสาลาสูตร
[๗๙๙] ครั้งนั้นแล วัจฉโคตรปริพาชกได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไป แล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่ พระโคดมผู้เจริญ เมื่อวันก่อนๆ โน้น พวกสมณพราหมณ์และปริพาชกผู้ถือลัทธิ อื่นมากด้วยกัน นั่งประชุมกันในศาลาวุ่นวาย ได้เกิดมีการสนทนาขึ้นใน ระหว่างว่า ปูรณกัสสปนี้แลเป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์ มีชื่อเสียง มี เกียรติยศ เป็นเจ้าลัทธิ ชนส่วนมากยกย่องว่าดี ปูรณกัสสปนั้นย่อมพยากรณ์ สาวกผู้กระทำกาลกิริยาล่วงไปแล้วในอุปบัติทั้งหลายว่า ท่านโน่นบังเกิดในภพ โน้น ท่านโน่นบังเกิดในภพโน้น ดังนี้ แม้สาวกคนใดของท่านปูรณกัสสปนั้น เป็นบุรุษสูงสุด เป็นบุรุษยอดเยี่ยม บรรลุความปฏิบัติยอดเยี่ยมแล้ว ท่าน ปูรณกัสสปก็ย่อมพยากรณ์สาวกแม้นั้นผู้กระทำกาลกิริยาล่วงไปแล้วในอุปบัติ ทั้งหลายว่า ท่านโน่นบังเกิดในภพโน้น ท่านโน่นบังเกิดในภพโน้น ดังนี้ แม้ มักขลิโคสาล... แม้นิครณฐนาฏบุตร... แม้สญชัยเวลัฏฐบุตร... แม้ปกุธกัจจานะ ... แม้อชิตเกสกัมพลก็เป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์ มีชื่อเสียง มีเกียรติยศ เป็นเจ้าลัทธิ ชนส่วนมากยกย่องว่าดี แม้ท่านอชิตเกสกัมพลนั้นก็ย่อมพยากรณ์ สาวกผู้กระทำกาลกิริยาล่วงไปแล้วในอุปบัติทั้งหลายว่า ท่านโน่นบังเกิดในภพโน้น ท่านโน่นบังเกิดในภพโน้น ดังนี้ แม้สาวกใดของท่านอชิตเกสกัมพลนั้นเป็นบุรุษ สูงสุด เป็นบุรุษยอดเยี่ยม ได้บรรลุความปฏิบัติอันยอดเยี่ยมแล้ว ท่านอชิตเกส- *กัมพลก็ย่อมพยากรณ์สาวกผู้กระทำกาลกิริยาล่วงไปแล้วแม้นั้นในอุปบัติทั้งหลายว่า ท่านโน่นบังเกิดในภพโน้น ท่านโน่นบังเกิดในภพโน้น ดังนี้เหมือนกัน แม้พระ สมณโคดมนี้ก็เป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์ มีชื่อเสียง มีเกียรติยศ เป็น เจ้าลัทธิ ชนส่วนมากยกย่องว่าดี แม้พระสมณโคดมนั้น ก็ทรงพยากรณ์สาวกผู้ กระทำกาลกิริยาล่วงไปแล้วในอุปบัติทั้งหลายว่า ท่านโน่นบังเกิดในภพโน้น ท่าน โน่นบังเกิดในภพโน้น ดังนี้ และสาวกของพระสมณโคดมนั้น รูปใดเป็นบุรุษ สูงสุด เป็นบุรุษยอดเยี่ยม ได้บรรลุความปฏิบัติอันยอดเยี่ยมแล้ว พระสมณโคดม ก็ทรงพยากรณ์สาวกรูปนั้น ผู้กระทำกาลกิริยาล่วงไปแล้วในอุปบัติทั้งหลายว่า ท่าน โน่นเกิดในภพโน้น ท่านโน่นบังเกิดในภพโน้น ดังนี้เหมือนกัน ยิ่งกว่านั้น พระสมณโคดมนั้นยังทรงพยากรณ์สาวกรูปนั้นอย่างนี้ว่า รูปโน้นตัดตัณหาขาดแล้ว ถอนสังโยชน์ทิ้งเสียแล้ว ทำที่สุดแห่งทุกข์แล้วเพราะได้บรรลุเหตุที่ละมานะได้ โดยชอบ ดังนี้ ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพเจ้านั้น มีความเคลือบแคลงสงสัย แท้ว่า อย่างไรๆ พระสมณโคดมก็ต้องทรงรู้ธรรมอันบุคคลพึงรู้ยิ่ง ฯ [๘๐๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรวัจฉะ จริงทีเดียว ควรที่ท่านจะ สงสัยเคลือบแคลงใจ ความเคลือบแคลงเกิดขึ้นแล้วแก่ท่านในฐานะที่ควรสงสัย ดูกรวัจฉะ เราย่อมบัญญัติความเกิดขึ้นแก่คนที่ยังมีอุปาทานเท่านั้น หาบัญญัติแก่ คนที่หาอุปาทานมิได้ไม่ ดูกรวัจฉะ ไฟมีเชื้อจึงลุกโพลง ไม่มีเชื้อหาลุกโพลงไม่ แม้ฉันใด ดูกรวัจฉะ เราก็ย่อมบัญญัติความเกิดขึ้นแก่คนที่ยังมีอุปาทาน หาบัญญัติแก่คนที่หาอุปาทานมิได้ไม่ ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ ว. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ สมัยใด เปลวไฟถูกลมพัด ย่อมไปไกลได้ ก็พระโคดมผู้เจริญจะทรงบัญญัติอะไรแก่เปลวไฟนี้ ในเพราะเชื้อเล่า ฯ พ. ดูกรวัจฉะ สมัยใด เปลวไฟถูกลมพัด ย่อมไปไกลได้ เราย่อม บัญญัติเชื้อ คือ ลมนั้น ดูกรวัจฉะ เพราะว่าสมัยนั้น ลมย่อมเป็นเชื้อของ เปลวไฟนั้น ฯ ว. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ สมัยใด สัตว์ย่อมทอดทิ้งกายนี้ด้วย ไม่ เข้าถึงกายอันใดอันหนึ่งด้วย ก็พระโคดมผู้เจริญ จะทรงบัญญัติอะไรแก่สัตว์นี้ใน เพราะอุปาทานเล่า ฯ พ. ดูกรวัจฉะ สมัยใด สัตว์ทอดทิ้งกายนี้ด้วย ไม่เข้าถึงกายอันใดอันหนึ่ง ด้วย เราย่อมบัญญัติอุปาทาน คือ ตัณหานั่นแล ดูกรวัจฉะ เพราะว่าสมัยนั้น ตัณหาย่อมเป็นเชื้อของสัตว์นั้น ฯ
จบสูตรที่ ๙
อานันทสูตร
[๘๐๑] ครั้งนั้นแล วัจฉโคตรปริพาชกได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไป แล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่ พระโคดมผู้เจริญ อัตตามีอยู่หรือ เมื่อวัจฉโคตรปริพาชกได้ทูลถามอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ทรงดุษณีเสีย วัจฉโคตรปริพาชกได้ทูลถามอีกว่า ข้าแต่พระ โคดมผู้เจริญ ก็อัตตาไม่มีหรือ แม้ครั้งที่สอง พระผู้มีพระภาคก็ได้ทรงดุษณีเสีย เหมือนกัน ครั้นแล้ว วัจฉโคตรปริพาชกก็ได้ลุกขึ้นจากที่นั่งหลีกไป ฯ [๘๐๒] ครั้งนั้น เมื่อวัจฉโคตรปริพาชกหลีกไปแล้วไม่นาน ท่านพระ อานนท์ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะเหตุอะไรหนอ พระผู้มีพระภาคอันวัจฉโคตรปริพาชกทูลถามปัญหาแล้ว จึงไม่ทรงพยากรณ์ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ เราอันวัจฉโคตรปริพาชกถามว่า อัตตามีอยู่ หรือ ถ้าจะพึงพยากรณ์ว่า อัตตามีอยู่ไซร้ คำพยากรณ์นั้นก็จักไปร่วมกับลัทธิของ พวกสมณพราหมณ์ผู้เป็นสัสสตทิฐิ ดูกรอานนท์ เราอันวัจฉโคตรปริพาชกถามว่า อัตตาไม่มีหรือ ถ้าจะพึงพยากรณ์ว่า อัตตาไม่มีไซร้ คำพยากรณ์นั้นก็จักไปร่วม กับลัทธิของพวกสมณพราหมณ์ผู้เป็นอุจเฉททิฐิ ดูกรอานนท์ เราอันวัจฉโคตร- *ปริพาชกถามว่า อัตตามีอยู่หรือ ถ้าจะพึงพยากรณ์ว่า อัตตามีอยู่ไซร้ คำพยากรณ์ ของเรานั้น จักอนุโลมเพื่อความบังเกิดขึ้นแห่งญาณว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา บ้างหรือหนอ ฯ อา. หามิได้ พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรอานนท์ ถ้าหากเราอันวัจฉโคตรปริพาชกถามว่า อัตตาไม่มีหรือ จะพึงพยากรณ์ว่า อัตตาไม่มีไซร้ คำพยากรณ์นั้นคงจักเป็นไปเพื่อความหลงงมงาย แก่วัจฉโคตรปริพาชกผู้งมงายอยู่แล้วว่า เมื่อก่อนอัตตาของเราได้มีแล้วแน่นอน บัดนี้ อัตตานั้นไม่มี ดังนี้ ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
สภิยสูตร
[๘๐๓] สมัยหนึ่ง ท่านพระสภิยกัจจานะอยู่ ณ ที่พักซึ่งก่อสร้างด้วยอิฐ ใกล้บ้านญาติ ครั้งนั้นแล วัจฉโคตรปริพาชกได้เข้าไปหาท่านพระสภิยกัจจานะ ถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านสภิยกัจจานะ ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกัน ไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระสภิยกัจจานะว่า ดูกรกัจจานะผู้เจริญ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกหรือ ท่านพระสภิย- *กัจจานะตอบว่า ดูกรวัจฉะ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรง พยากรณ์ ฯ ว. ดูกรกัจจานะผู้เจริญ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เกิดอีก หรือ ฯ ส. ดูกรวัจฉะ แม้ปัญหาข้อนี้ก็เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรง พยากรณ์ ฯ ว. ดูกรกัจจานะผู้เจริญ สัตว์เบื้องหน้าตายแล้วย่อมเกิดอีกก็มี ย่อม ไม่เกิดอีกก็มีหรือ ฯ ส. ดูกรวัจฉะ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ ฯ ว. ดูกรกัจจานะผู้เจริญ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้หรือ ฯ ส. ดูกรวัจฉะ แม้ปัญหาข้อนี้ก็เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรง พยากรณ์ ฯ ว. ดูกรกัจจานะผู้เจริญ เมื่อข้าพเจ้าถามว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไป แล้วย่อมเกิดอีกหรือ ท่านก็ตอบว่า ดูกรวัจฉะ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาที่พระผู้มี พระภาคไม่ทรงพยากรณ์ ดูกรกัจจานะผู้เจริญ เมื่อข้าพเจ้าถามว่า สัตว์เบื้องหน้า แต่ตายแล้วย่อมไม่เกิดอีกหรือ ท่านก็ตอบว่า ดูกรวัจฉะ ปัญหาข้อนี้ เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ เมื่อข้าพเจ้าถามว่า ดูกรกัจจานะ ผู้เจริญ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิดอีกก็มีหรือ ท่านก็ ตอบว่า ดูกรวัจฉะ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ ดูกรกัจจานะผู้เจริญ เมื่อข้าพเจ้าถามว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หา มิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้หรือ ท่านก็ตอบว่า ดูกรวัจฉะ แม้ปัญหาข้อนี้ ก็เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ ดูกรกัจจานะผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้พระสมณโคดมไม่ทรงพยากรณ์ปัญหาข้อนั้น ฯ ส. ดูกรวัจฉะ เหตุอันใดและปัจจัยอันใดเพื่อการบัญญัติว่า สัตว์มีรูปก็ดี ว่าสัตว์ไม่มีรูปก็ดี ว่าสัตว์มีสัญญาก็ดี ว่าสัตว์ไม่มีสัญญาก็ดี ว่าสัตว์มีสัญญา ก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ก็ดี เหตุอันนั้นและปัจจัยอันนั้น พึงดับทุกๆ อย่าง หาเศษมิได้ บุคคลเมื่อบัญญัติสัตว์ ว่าสัตว์มีรูปก็ดี ว่าสัตว์ไม่มีรูปก็ดี ว่าสัตว์ มีสัญญาก็ดี ว่าสัตว์หาสัญญามิได้ก็ดี ว่าสัตว์มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ก็ดี พึงบัญญัติด้วยอะไร ฯ ว. ดูกรกัจจานะผู้เจริญ ท่านบวชนานเท่าไร ฯ ส. ไม่นาน ได้สามพรรษา ฯ ว. ดูกรท่านผู้มีอายุ การกล่าวแก้ของผู้ที่กล่าวแก้ได้มากถึงเท่านี้ ก็เมื่อ การกล่าวแก้ไพเราะอย่างนี้แล้ว ก็ไม่จำต้องพูดอะไรกันอีก ฯ
จบสูตรที่ ๑๑
จบ อัพยากตสังยุตต์
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. เขมาเถรีสูตร ๒. อนุราธสูตร ๓. สาริปุตตโกฏฐิตสูตรที่ ๑ ๔. สาริปุตตโกฏฐิตสูตรที่ ๒ ๕. สาริปุตตโกฏฐิตสูตรที่ ๓ ๖. สาริปุตต- *โกฏฐิตสูตรที่ ๔ ๗. โมคคัลลานสูตร ๘. วัจฉสูตร ๙. กุตุหลสาลา สูตร ๑๐. อานันทสูตร ๑๑. สภิยสูตร ฯ
จบสฬายตนวรรคสังยุตต์
-----------------------------------------------------
รวมวรรคที่มีในสังยุตต์นี้ คือ
๑. สฬายตนสังยุตต์ ๒. เวทนาสังยุตต์ ๓. มาตุคามสังยุตต์ ๔. ชัมพุขาทกสังยุตต์ ๕. สามัณฑกสังยุตต์ ๖. โมคคัลลานสังยุตต์ ๗. จิตตคหปติปุจฉาสังยุตต์ ๘. คามณิสังยุตต์ ๙. อสังขตสังยุตต์ ๑๐. อัพยากตสังยุตต์ ฯ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ บรรทัดที่ ๑-๑๐๐๕๙ หน้าที่ ๑-๔๓๓. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=18&A=1&Z=10059&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6], [7], [8], [9], [10], [11], [12], [13], [14], [15], [16], [17], [18], [19], [max20]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=18&siri=1              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=1              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [1-803] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=18&item=1&items=803              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=1              The Pali Tipitaka in Roman :- [1-803] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=18&item=1&items=803              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ https://84000.org/tipitaka/read/?index_18              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/18i001-e.php# https://suttacentral.net/sn35.1/en/sujato https://suttacentral.net/sn35.1/en/bodhi

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :