ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
๔. หลิททิกานิสูตรที่ ๒
ว่าด้วยผู้สำเร็จล่วงส่วน
[๒๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:- สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัจจานะอยู่ ณ ภูเขาชันข้างหนึ่ง ใกล้เมืองกุรรฆรนคร แคว้นอวันตีรัฐ. ครั้งนั้นแล คฤหบดีชื่อว่าหลิททิกานิเข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะถึงที่อยู่ อภิวาท แล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ควรข้างหนึ่งแล้ว ได้ถามท่านพระมหากัจจานะว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระผู้มี พระภาคตรัสพระภาษิตนี้ในสักกปัญหาว่า สมณพราหมณ์เหล่าใด หลุดพ้นแล้ว เพราะความสิ้นไป แห่งตัณหา สมณพราหมณ์เหล่านั้น เป็นผู้สำเร็จล่วงส่วน เป็นผู้มีความเกษมจากโยคธรรมล่วง ส่วน เป็นพรหมจารีบุคคลล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วน เป็นผู้ประเสริฐสุดกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้ง หลายดังนี้. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เนื้อความแห่งพระพุทธพจน์ ที่พระผู้มีพระภาคตรัส โดยย่อนี้ จะพึงเห็นได้โดยพิสดารอย่างไร.? [๒๖] พระมหากัจจานะได้กล่าวว่า ดูกรคฤหบดี ความพอใจ ความกำหนัด ความ เพลิดเพลิน ความทะยานอยาก ความเข้าถึง ความยึดมั่น อันเป็นที่ตั้งที่อยู่อาศัยแห่งจิตเหล่า ใด ในรูปธาตุ จิต ท่านกล่าวว่าพ้นดีแล้ว เพราะความสิ้น เพราะความคลายกำหนัด เพราะความ ดับ เพราะความสละ เพราะความสละคืน ซึ่งความพอใจเป็นต้นเหล่านั้น, ดูกรคฤหบดี ความ พอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก ความเข้าถึง ความยึดมั่น อันเป็น ที่ตั้งที่อยู่อาศัยแห่งจิตเหล่าใด ในเวทนาธาตุ ... ในสัญญาธาตุ ... ในสังขารธาตุ ... ในวิญญาณ ธาตุ จิต ท่านกล่าวว่าพ้นดีแล้ว เพราะความสิ้น เพราะความคลายกำหนัด เพราะความดับ เพราะความสละ เพราะความสละคืน ซึ่งความพอใจเป็นต้นเหล่านั้น. ดูกรคฤหบดี พระภาษิต ที่พระผู้มีพระภาคตรัสในสักกปัญหาว่าสมณพราหมณ์เหล่าใดพ้นแล้ว เพราะความสิ้นไปแห่งตัณหา สมณพราหมณ์เหล่านั้น เป็นผู้สำเร็จล่วงส่วน มีความเกษมจากโยคธรรมล่วงส่วน เป็นพรหมจารี บุคคลล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วน เป็นผู้ประเสริฐสุดกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายดังนี้. ดูกร คฤหบดี เนื้อความแห่งพระพุทธพจน์ ที่พระผู้มีพระภาคตรัสโดยย่อนี้แล พึงเห็นได้โดยพิสดาร อย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ สูตรที่ ๔.

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ บรรทัดที่ ๒๖๘-๒๙๒ หน้าที่ ๑๒. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=17&A=268&Z=292&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=17&siri=4              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=25              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [25-26] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=17&item=25&items=2              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=6325              The Pali Tipitaka in Roman :- [25-26] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=17&item=25&items=2              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=6325              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ https://84000.org/tipitaka/read/?index_17              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/17i001-e.php#sutta4 https://suttacentral.net/sn22.4/en/sujato https://suttacentral.net/sn22.4/en/bodhi

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :