ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
๑๒. ปรัมมรณสูตร
[๕๒๘] สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัสสปและท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ ป่า อิสิปตนมฤคทายวัน เขตพระนครพาราณสี ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรออกจาก ที่เร้นในเวลาเย็น เข้าไปหาท่านพระมหากัสสปถึงที่อยู่ครั้นเข้าไปหาแล้วได้ปราศรัย กะท่านพระมหากัสสป ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ [๕๒๙] ครั้นท่านพระสารีบุตรนั่งเรียบร้อยแล้วได้ถามท่านพระมหา- *กัสสปว่า ดูกรท่านกัสสป สัตว์เมื่อตายไปแล้วเกิดอีกหรือ ฯ ท่านพระมหากัสสปตอบว่า ข้อนี้พระผู้มีพระภาคมิได้ทรงพยากรณ์ไว้ ฯ สา. สัตว์เมื่อตายไปแล้วไม่เกิดอีกหรือ ฯ ก. แม้ข้อนี้ พระผู้มีพระภาคก็มิได้ทรงพยากรณ์ไว้ ฯ สา. สัตว์เมื่อตายไปแล้ว เกิดก็มี ไม่เกิดก็มี หรือ ฯ ก. ข้อนี้ พระผู้มีพระภาคก็มิได้ทรงพยากรณ์ไว้ ฯ สา. สัตว์เมื่อตายไปแล้ว เกิดอีกก็หามิได้ ไม่เกิดอีกก็หามิได้ หรือ ฯ ก. แม้ข้อนี้ พระผู้มีพระภาคก็มิได้ทรงพยากรณ์ไว้ ฯ สา. เพราะเหตุไรหรือ ข้อที่กล่าวถึงนั้นๆ พระผู้มีพระภาคจึงมิได้ทรง พยากรณ์ไว้ ฯ ก. เพราะข้อนั้นไม่มีประโยชน์ ไม่เป็นเบื้องต้นแห่งการประพฤติพรหม- *จรรย์ ไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับกิเลส เพื่อเข้าไป สงบ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงมิได้ ทรงพยากรณ์ไว้ ฯ [๕๓๐] สา. ถ้าเช่นนั้น พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ไว้อย่างไรเล่า ฯ ก. พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ไว้ว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุเกิดแห่งทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ทางให้ถึงความดับทุกข์ ฯ สา. ก็เพราะเหตุอะไร ข้อนี้พระผู้มีพระภาคจึงทรงพยากรณ์ไว้ ฯ ก. เพราะข้อนั้นมีประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่งการประพฤติพรหมจรรย์ เป็นไปเพื่อความหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับกิเลส เพื่อเข้าไปสงบ เพื่อ รู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงทรงพยากรณ์ไว้ ฯ
จบสูตรที่ ๑๒

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ บรรทัดที่ ๕๘๑๗-๕๘๔๕ หน้าที่ ๒๔๕-๒๔๖. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=16&A=5817&Z=5845&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=16&siri=150              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=528              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [528-530] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=16&item=528&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=4991              The Pali Tipitaka in Roman :- [528-530] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=16&item=528&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=4991              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ https://84000.org/tipitaka/read/?index_16              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/16i462-e.php#sutta12 https://suttacentral.net/sn16.12/en/sujato https://suttacentral.net/sn16.12/en/bodhi

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :