ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
๓. ทุกขนิโรธสูตร
[๑๖๑] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงเหตุเกิดแห่งทุกข์ และความดับแห่งทุกข์ ท่านทั้งหลายจงฟัง จงทำไว้ ในใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า ฯ [๑๖๒] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความเกิด ขึ้นแห่งทุกข์เป็นไฉน เพราะอาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ ความประชุม แห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะ เวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา ภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เพราะอาศัยหูและเสียง ... เพราะอาศัยจมูกและกลิ่น ... เพราะอาศัยลิ้นและรส ... เพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะ ... เพราะอาศัยใจและธรรม จึงเกิดมโนวิญญาณ ความประชุมแห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา ภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความเกิดขึ้นแห่ง ทุกข์ ฯ [๑๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับแห่งทุกข์เป็นไฉน เพราะอาศัย จักษุและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ ความประชุมแห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา เพราะตัณหานั้นเทียวดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชราและมรณะ โสกปริเทว- *ทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการ อย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความดับแห่งทุกข์ เพราะอาศัยหูและเสียง ... เพราะอาศัยจมูกและกลิ่น ... เพราะอาศัยลิ้นและรส ... เพราะอาศัยกายและ โผฏฐัพพะ ... เพราะอาศัยใจและธรรม จึงเกิดมโนวิญญาณ ความประชุมแห่ง ธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนา เป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา เพราะตัณหานั้นเทียวดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะ ชาติดับ ชราและมรณะโสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงดับ ความดับแห่ง กองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความดับ แห่งทุกข์ ฯ
จบสูตรที่ ๓
๔. โลกนิโรธสูตร
[๑๖๔] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ- *บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความเกิด และความดับแห่งโลก ๑- เธอทั้งหลายจงฟัง ... ภิกษุทั้งหลาย ก็ความเกิดแห่งโลก เป็นไฉน เพราะอาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ ความประชุมแห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็น ปัจจัย จึงเกิดตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงเกิดอุปาทาน เพราะอุปาทาน เป็นปัจจัย จึงเกิดภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงเกิดชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงเกิดชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส ภิกษุทั้งหลาย นี้แล เป็นความเกิดแห่งโลก เพราะอาศัยหูและเสียง ... เพราะอาศัยจมูกและกลิ่น ... เพราะอาศัยลิ้นและรส ... เพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะ ... เพราะอาศัยใจและ ธรรม จึงเกิดมโนวิญญาณ ความประชุมแห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะ @๑. สังขารโลก ฯ ผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา ฯลฯ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงเกิดชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส ภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความเกิดแห่งโลก ฯ [๑๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับแห่งโลกเป็นไฉน เพราะอาศัย จักษุและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ ความประชุมแห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา เพราะตัณหานั้นเทียวดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชราและมรณะ โสกปริเทว- *ทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการ อย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความดับแห่งโลก เพราะอาศัยหูและเสียง ... เพราะอาศัยจมูกและกลิ่น ... เพราะอาศัยลิ้นและรส ... เพราะอาศัยกายและ โผฏฐัพพะ ... เพราะอาศัยใจและธรรม จึงเกิดมโนวิญญาณ ความประชุมแห่ง ธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนา เป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา เพราะตัณหานั้นเทียวดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความดับแห่งโลก ฯ
จบสูตรที่ ๔
๕. ญาติกสูตร
[๑๖๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่คิญชกาวาส [มหาปราสาทที่สร้าง ด้วยอิฐ] ใกล้บ้านพระญาติ ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในที่ลับทรงเร้น อยู่ ได้ตรัสธรรมปริยายนี้ว่า เพราะอาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ ความ ประชุมแห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงเกิดอุปาทาน ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ เพราะอาศัยหูและ เสียง ... เพราะอาศัยจมูกและกลิ่น ... เพราะอาศัยลิ้นและรส ... เพราะอาศัยกาย และโผฏฐัพพะ ... เพราะอาศัยใจและธรรม จึงเกิดมโนวิญญาณ ความประชุม แห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็น ปัจจัย จึงเกิดตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงเกิดอุปาทาน ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่ง กองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ [๑๖๗] เพราะอาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ ความประชุมแห่ง ธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนา เป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา เพราะตัณหานั้นเทียวดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ เพราะอาศัยหูและเสียง ฯลฯ เพราะอาศัยใจและธรรม จึงเกิดมโนวิญญาณ ความประชุมแห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะ เป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา เพราะตัณหานั้น เทียวดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ [๑๖๘] ก็สมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งยืนแอบฟังอยู่ใกล้พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคทรงเห็นภิกษุนั้นแล้ว ได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอได้ฟังธรรมปริยาย นี้หรือ ภิกษุนั้นทูลรับว่า พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์ได้ฟังอย่างนี้ พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ภิกษุเธอจงศึกษาเล่าเรียน ทรงจำธรรมปริยายนี้ ธรรมปริยายนี้ประกอบ ด้วยประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ฯ
จบสูตรที่ ๕

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ บรรทัดที่ ๑๙๒๐-๒๐๐๖ หน้าที่ ๗๙-๘๒. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=16&A=1920&Z=2006&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=16&siri=39              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=161              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [161-168] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=16&item=161&items=8              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=1880              The Pali Tipitaka in Roman :- [161-168] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=16&item=161&items=8              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=1880              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ https://84000.org/tipitaka/read/?index_16              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/16i151-e.php#sutta3 https://suttacentral.net/sn12.43/en/sujato https://suttacentral.net/sn12.43/en/bodhi

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :