ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
ปโรสหัสสสูตรที่ ๘
[๗๔๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี กับภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ๑,๒๕๐ รูป ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๖๘.

ก็โดยสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นแจ้ง ให้ สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาอันประกอบด้วยนิพพาน ฯ ฝ่ายภิกษุเหล่านั้น ได้ทำธรรมนั้นให้สำเร็จประโยชน์ ใส่ใจกำหนดด้วย จิตทั้งปวง เงี่ยโสตลงฟังธรรม ฯ [๗๔๘] ครั้งนั้นแล ท่านพระวังคีสะมีความคิดดังนี้ว่า พระผู้มีพระภาคนี้ ทรงแนะนำ ทรงชักชวนภิกษุทั้งหลายให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาอัน ประกอบด้วยนิพพาน ฝ่ายภิกษุเหล่านั้น ก็ทำธรรมนั้นให้สำเร็จประโยชน์ ใส่ใจ กำหนดด้วยจิตทั้งปวง เงี่ยโสตลงฟังธรรมนั้น อย่ากระนั้นเลย เราควรจะ สรรเสริญพระผู้มีพระภาคในที่เฉพาะพระพักตร์ ด้วยคาถาทั้งหลายอันสมควรเถิด ฯ ครั้งนั้นแล ท่านพระวังคีสะลุกขึ้นจากอาสนะ ทำผ้าห่มเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง แล้ว ประนมอัญชลีเฉพาะพระผู้มีพระภาคแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เนื้อความนี้ย่อมแจ่มแจ้งกะข้าพระองค์ ข้าแต่พระสุคต เนื้อความนี้ย่อมแจ่มแจ้งกะข้าพระองค์ ฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า เนื้อความนั่นจงแจ่มแจ้งกะเธอเถิด วังคีสะ ฯ [๗๔๙] ครั้งนั้นแล ท่านพระวังคีสะได้กราบทูลสรรเสริญพระผู้มีพระภาค ในที่เฉพาะพระพักตร์ ด้วยคาถาทั้งหลายอันสมควรว่า ภิกษุมากกว่าพัน ย่อมนั่งห้อมล้อมพระสุคตผู้ทรงแสดงธรรม อันปราศจากธุลีคือพระนิพพาน ธรรมอันหาภัยแต่ไหนมิได้ ภิกษุทั้งหลายย่อมฟังธรรมอันปราศจากมลทิน ซึ่งพระสัมมา- สัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว พระสัมพุทธเจ้าผู้อันหมู่ภิกษุ ห้อมล้อมแล้ว ย่อมงามจริงหนอ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พระองค์เป็นผู้ทรงนามว่าพญาช้างอันประเสริฐ เป็นพระฤาษี ที่ ๗ แห่งพระฤาษีทั้งหลาย เป็นผู้ดุจมหาเมฆยังฝนให้ตกใน พระสาวก ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงแกล้วกล้าใหญ่ วังคีสะสาวก

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๖๙.

ของพระองค์ ออกจากที่พักกลางวันด้วยความใคร่เพื่อเฝ้าพระ- *ศาสดา ขอถวายบังคมพระบาท ดังนี้ ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า วังคีสะ คาถาเหล่านี้เธอตรึกตรองไว้ก่อน หรือๆ ว่าแจ่มแจ้งกะเธอโดยฉับพลัน ฯ ท่านพระวังคีสะกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คาถาเหล่านี้ ข้าพระองค์มิได้ตรึกตรองไว้ก่อนเลย แต่ย่อมแจ่มแจ้งกะข้าพระองค์โดยทันทีเทียว แล ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า วังคีสะ คาถาทั้งหลายที่เธอไม่ได้ตรึกตรองไว้ ในกาลก่อน จงแจ่มแจ้งกะเธอยิ่งกว่าประมาณเถิด ฯ [๗๕๐] ท่านพระวังคีสะ ทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคว่า ได้ พระเจ้าข้า แล้วได้ทูลสรรเสริญพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาทั้งหลายซึ่งตนไม่ได้ ตรึกตรองไว้ในกาลก่อน โดยยิ่งกว่าประมาณว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ใด ทรงครอบงำหนทางผิดตั้ง ร้อยของมารเสียได้ ทรงทำลายกิเลสเครื่องตรึงใจเพียงดังตะปู ทั้งหลายเสียได้เสด็จเที่ยวไป ท่านทั้งหลายจงดูพระสัมมา สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงทำการแก้เครื่องผูกเสียได้ ผู้- อันกิเลสอาศัยไม่ได้แล้ว ผู้ทรงจำแนกธรรมเป็นส่วนๆ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ใดได้ทรงบอกทางมีอย่างต่างๆ เพื่อเป็นเครื่องข้ามโอฆะ เมื่อหนทางนั้น ซึ่งเป็นทางไม่ตาย อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นตรัสบอกแล้ว พระสาวกทั้งหลาย เป็นผู้เห็นธรรมไม่ง่อนแง่น ตั้งมั่นแล้ว พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ใด ทรงทำความรุ่งเรืองแทงตลอดซึ่งธรรมแล้ว ได้ ทรงเห็นธรรมเป็นที่ก้าวล่วงทิฐิทั้งปวง พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น ครั้นทรงทราบแล้วและทรงกระทำให้แจ้ง

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๗๐.

(ธรรมนั้น) แล้ว ได้ทรงแสดงฐานะทั้ง ๑๐ อันเลิศ ความ ประมาทอะไร ในธรรมอันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง แล้วด้วยดีอย่างนี้ จักมีแก่ผู้รู้ทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแล บุคคลพึงเป็นผู้ไม่ประมาท น้อมใจศึกษาในพระศาสนาของ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทุกเมื่อ ดังนี้ ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ บรรทัดที่ ๖๒๒๔-๖๒๘๐ หน้าที่ ๒๖๗-๒๗๐. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=15&A=6224&Z=6280&pagebreak=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=15&siri=216              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=747              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [747-750] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=15&item=747&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=6849              The Pali Tipitaka in Roman :- [747-750] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=15&item=747&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=6849              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_15              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/15i727-e.php#sutta8 https://suttacentral.net/sn8.8/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :