ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
วังคีสสังยุต
นิกขันตสูตรที่ ๑
[๗๒๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้- สมัยหนึ่ง ท่านพระวังคีสะ อยู่ที่อัคคาฬวเจดีย์ เขตเมืองอาฬวี กับท่าน พระนิโครธกัปปะผู้เป็นอุปัชฌาย์ ก็สมัยนั้น ท่านพระวังคีสะยังเป็นภิกษุใหม่ บวชได้ไม่นาน ถูกละไว้ให้เฝ้าวิหาร ฯ [๗๒๘] ครั้งนั้น สตรีเป็นอันมาก ประดับประดาร่างกายแล้ว เข้าไป ยังอารามเที่ยวดูที่อยู่ของพวกภิกษุ ครั้งนั้นแล ความกระสันย่อมบังเกิดขึ้น ความกำหนัดย่อมรบกวนจิตของ ท่านพระวังคีสะ เพราะได้เห็นสตรีเหล่านั้น ฯ ลำดับนั้น ท่านพระวังคีสะ มีความคิดดังนี้ว่า ไม่เป็นลาภของเราหนอ ไม่ใช่ลาภของเราหนอ เราได้ชั่วเสียแล้วหนอ เราไม่ได้ดีเสียแล้วหนอ ที่เราเกิด ความกระสัน ที่ความกำหนัดรบกวนจิตเรา เหตุที่คนอื่นๆ จะพึงบรรเทาความ กระสันแล้วยังความยินดีให้บังเกิดขึ้นแก่เรา ในความกำหนัดที่บังเกิดขึ้นแล้วนี้เรา จะได้แต่ที่ไหน อย่ากระนั้นเลย เราพึงบรรเทาความกระสันเสียแล้วยังความยินดี ให้เกิดขึ้นแก่ตนด้วยตนเองเถิด ฯ [๗๒๙] ในกาลนั้นแล ท่านพระวังคีสะบรรเทาความกระสันเสียแล้ว ยังความยินดีให้เกิดขึ้นแก่ตนเองแล้ว ได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ในเวลานั้นว่า วิตกทั้งหลายเป็นเหตุให้คะนอง (เกิดมา) แต่ฝ่ายธรรมดำ เหล่านี้ ย่อมวิ่งเข้ามาสู่เราผู้ออกจากเรือนบวช เป็นผู้ไม่มี เหย้าเรือนแล้ว ฯ บุตรของคนชั้นสูงทั้งหลาย ผู้มีฝีมืออันเชี่ยวชาญ ศึกษาดี แล้ว ทรงธนูไว้มั่นคง พึงทำจำนวนคนที่ไม่ยอมหนีตั้งพันๆ ให้กระจัดกระจายไปรอบด้าน (ฉันใด) ถึงแม้ว่าสตรีมากยิ่งกว่านี้จักมา สตรีเหล่านั้นก็จักเบียดเบียน เรา ผู้ตั้งมั่นแล้วในธรรมของตนไม่ได้เลย (ฉันนั้น) เพราะว่า เราได้ฟังทางเป็นที่ไปสู่พระนิพพานนี้ในที่เฉพาะ พระพักตร์ของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ พระอาทิตย์แล้ว ใจของเรายินดีแล้วในทางเป็นที่ไปสู่พระนิพพานนั้น ฯ แน่ะมารผู้ชั่วร้าย ถ้าท่านจะเข้ามาหาเราผู้อยู่อย่างนี้ แน่ะ มฤตยุราช เราจักทำโดยวิธีที่ท่านจักไม่เห็นแม้ซึ่งทางของเรา ได้เลย ดังนี้ ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ บรรทัดที่ ๕๙๙๐-๖๐๒๑ หน้าที่ ๒๕๘-๒๕๙. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=15&A=5990&Z=6021&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=15&siri=209              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=727              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [727-729] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=15&item=727&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=6598              The Pali Tipitaka in Roman :- [727-729] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=15&item=727&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=6598              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_15              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/15i727-e.php# https://suttacentral.net/sn8.1/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :