ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
สัปปสูตรที่ ๖
[๔๓๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวันอันเป็นสถาน ที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตกรุงราชคฤห์ ฯ ก็โดยสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ประทับนั่งในที่กลางแจ้งในราตรี อันมืดทึบ และฝนกำลังตกประปรายอยู่ ฯ [๔๓๒] ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาปใคร่จะให้เกิดความกลัว ความครั่นคร้าม ขนลุกขนพองแก่พระผู้มีพระภาค จึงนิรมิตเพศเป็นพระยางูใหญ่เข้าไปใกล้ พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ กายของพระยางูนั้นเป็นเหมือนเรือลำใหญ่ที่ขุดด้วยซุง ทั้งต้น พังพานของมันเป็นเหมือนเสื่อลำแพนผืนใหญ่ สำหรับปูตากแป้งของช่าง ทำสุรา นัยน์ตาของมันเป็นเหมือนถาดสำริดใบใหญ่ของพระเจ้าโกศล ลิ้นของมัน แลบออกจากปากเหมือนสายฟ้าแลบ ในขณะที่เมฆกำลังกระหึ่ม ฉะนั้น เสียง หายใจเข้าออกของมัน เหมือนเสียงสูบช่างทองที่กำลังพ่นลมอยู่ก็ปานกัน ฯ [๔๓๓] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า นี่มารผู้มีบาป ดังนี้ จึงได้ตรัสกะมารผู้มีบาปด้วยพระคาถาทั้งหลายว่า มุนีเสพเรือนว่างเปล่าเพื่ออยู่อาศัย มุนีนั้นเป็นผู้มีตนอัน สำรวมแล้ว เขาสละความอาลัยในอัตภาพนั้นเที่ยวไป เพราะ การสละความอาลัยในอัตภาพแล้วเที่ยวไปนั้น เหมาะสมแก่ ผู้เช่นนั้น ฯ สัตว์ที่สัญจรไปมาก็มาก สิ่งที่น่ากลัวก็มาก อนึ่ง เหลือบ และสัตว์เลื้อยคลานก็ชุกชุม (แต่) มหามุนีผู้อยู่ในเรือน ว่างเปล่า ย่อมไม่ยังแม้แต่ขนให้ไหว ในเพราะสิ่งที่น่ากลัว เหล่านั้น ฯ ถึงแม้ท้องฟ้าจะพึงแตก แผ่นดินจะพึงไหว สัตว์ทั้งหลาย พึงสะดุ้งกลัวกันหมดก็ตามที แม้ถึงว่าหอกหรือหลาวจะจ่ออยู่ ที่อกก็ตามเถิด พระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมไม่ทรงทำการป้องกัน ในเพราะอุปธิ (คือขันธ์) ทั้งหลาย ฯ ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาป เป็นทุกข์ เสียใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงรู้จักเรา พระสุคตทรงรู้จักเรา ดังนี้ จึงได้อันตรธานไปในที่นั้นเอง ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ บรรทัดที่ ๓๔๒๓-๓๔๕๑ หน้าที่ ๑๕๐-๑๕๑. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=15&A=3423&Z=3451&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=15&siri=142              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=431              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [431-433] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=15&item=431&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=4303              The Pali Tipitaka in Roman :- [431-433] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=15&item=431&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=4303              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_15              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/15i416-e.php#sutta6 https://suttacentral.net/sn4.6/en/sujato https://suttacentral.net/sn4.6/en/bodhi

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :