ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
พระสุตตันตปิฎก
เล่ม ๔
มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
มูลปริยายวรรค
๑. มูลปริยายสูตร
ว่าด้วยมูลเหตุแห่งธรรมทั้งปวง
[๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โคนไม้พญารัง ในสุภควัน เขตเมืองอุกกัฏฐา ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับ พระผู้มีพระภาคว่า พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรา จักแสดงปริยายอันเป็นมูลของธรรมทั้งปวงแก่พวกเธอ พวกเธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
กำหนดภูมินัยที่ ๑ ด้วยสามารถปุถุชน
[๒] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนในโลกนี้ ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของ- *พระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดิน ครั้นรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดินแล้ว ย่อมสำคัญธาตุดิน ย่อมสำคัญในธาตุดิน ย่อมสำคัญโดยความเป็นธาตุดิน ย่อมสำคัญธาตุดินว่า ของเรา ย่อมยินดี ธาตุดิน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้. ย่อมรู้ธาตุน้ำโดยความเป็นธาตุน้ำ ครั้นรู้ธาตุน้ำโดยความเป็นธาตุน้ำแล้ว ย่อมสำคัญ ธาตุน้ำ ย่อมสำคัญในธาตุน้ำ ย่อมสำคัญโดยความเป็นธาตุน้ำ ย่อมสำคัญธาตุน้ำว่า ของเรา ย่อมยินดีธาตุน้ำ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้. ย่อมรู้ธาตุไฟโดยความเป็นธาตุไฟ ครั้นรู้ธาตุไฟโดยความเป็นธาตุไฟแล้ว ย่อมสำคัญ ธาตุไฟ ย่อมสำคัญในธาตุไฟ ย่อมสำคัญโดยความเป็นธาตุไฟ ย่อมสำคัญธาตุไฟว่า ของเรา ย่อมยินดีธาตุไฟ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้. ย่อมรู้ธาตุลมโดยความเป็นธาตุลม ครั้นรู้ธาตุลมโดยความเป็นธาตุลมแล้ว ย่อมสำคัญ ธาตุลม ย่อมสำคัญในธาตุลม ย่อมสำคัญโดยความเป็นธาตุลม ย่อมสำคัญธาตุลมว่า ของเรา ย่อมยินดีธาตุลม ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้. ย่อมรู้สัตว์โดยความเป็นสัตว์ ครั้นรู้สัตว์โดยความเป็นสัตว์แล้ว ย่อมสำคัญสัตว์ ย่อมสำคัญในสัตว์ ย่อมสำคัญโดยความเป็นสัตว์ ย่อมสำคัญสัตว์ว่า ของเรา ย่อมยินดีสัตว์ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้. ย่อมรู้เทวดาโดยความเป็นเทวดา ครั้นรู้เทวดาโดยความเป็นเทวดาแล้ว ย่อมสำคัญเทวดา ย่อมสำคัญในเทวดา ย่อมสำคัญโดยความเป็นเทวดา ย่อมสำคัญเทวดาว่าของเรา ย่อมยินดีเทวดา ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้. ย่อมรู้มารโดยความเป็นมาร ครั้นรู้มารโดยความเป็นมารแล้ว ย่อมสำคัญมาร ย่อมสำคัญ ในมาร ย่อมสำคัญโดยความเป็นมาร ย่อมสำคัญมารว่า ของเรา ย่อมยินดีมาร ข้อนั้นเพราะ เหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้. ย่อมรู้พรหมโดยความเป็นพรหม ครั้นรู้พรหมโดยความเป็นพรหมแล้ว ย่อมสำคัญพรหม ย่อมสำคัญในพรหม ย่อมสำคัญโดยความเป็นพรหม ย่อมสำคัญพรหมว่า ของเรา ย่อมยินดีพรหม ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้. ย่อมรู้อาภัสสรพรหมโดยความเป็นอาภัสสรพรหม ครั้นรู้อาภัสสรพรหมโดยความเป็น อาภัสสรพรหมแล้ว ย่อมสำคัญอาภัสสรพรหม ย่อมสำคัญในอาภัสสรพรหม ย่อมสำคัญโดย ความเป็นอาภัสสรพรหม ย่อมสำคัญอาภัสสรพรหมว่า ของเรา ย่อมยินดีอาภัสสรพรหม ข้อนั้น เพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้. ย่อมรู้สุภกิณหพรหมโดยความเป็นสุภกิณหพรหม ครั้นรู้สุภกิณหพรหมโดยความเป็น สุภกิณหพรหมแล้ว ย่อมสำคัญสุภกิณหพรหม ย่อมสำคัญในสุภกิณหพรหม ย่อมสำคัญโดยความ เป็นสุภกิณหพรหม ย่อมสำคัญสุภกิณหพรหมว่า ของเรา ย่อมยินดีสุภกิณหพรหม ข้อนั้นเพราะ เหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้. ย่อมรู้เวหัปผลพรหมโดยความเป็นเวหัปผลพรหม ครั้นรู้เวหัปผลพรหมโดยความเป็น เวหัปผลพรหมแล้ว ย่อมสำคัญเวหัปผลพรหม ย่อมสำคัญในเวหัปผลพรหม ย่อมสำคัญโดยความ เป็นเวหัปผลพรหม ย่อมสำคัญเวหัปผลพรหมว่า ของเรา ย่อมยินดีเวหัปผลพรหม ข้อนั้นเพราะ เหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้. ย่อมรู้อสัญญีสัตว์โดยความเป็นอสัญญีสัตว์ ครั้นรู้อสัญญีสัตว์โดยความเป็นอสัญญี สัตว์แล้ว ย่อมสำคัญอสัญญีสัตว์ ย่อมสำคัญในอสัญญีสัตว์ ย่อมสำคัญโดยความเป็นอสัญญีสัตว์ ย่อมสำคัญอสัญญีสัตว์ว่า ของเรา ย่อมยินดีอสัญญีสัตว์ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้. ย่อมรู้อากาสานัญจายตนพรหมโดยความเป็นอากาสานัญจายตนพรหม ครั้นรู้อากาสานัญ จายตนพรหมโดยความเป็นอากาสานัญจายตนพรหมแล้ว ย่อมสำคัญอากาสานัญจายตนพรหม ย่อม สำคัญในอากาสานัญจายตนพรหม ย่อมสำคัญโดยความเป็นอากาสานัญจายตนพรหม ย่อมสำคัญ อากาสานัญจายตนพรหมว่า ของเรา ย่อมยินดีอากาสานัญจายตนพรหม ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้. ย่อมรู้วิญญาณัญจายตนพรหมโดยความเป็นวิญญาณัญจายตนพรหม ครั้นรู้วิญญาณัญจาย- *ตนพรหมโดยความเป็นวิญญาณัญจายตนพรหมแล้ว ย่อมสำคัญวิญญาณัญจายตนพรหม ย่อมสำคัญ ในวิญญาณัญจายตนพรหม ย่อมสำคัญโดยความเป็นวิญญาณัญจายตนพรหม ย่อมสำคัญวิญญาณัญ- *จายตนพรหมว่า ของเรา ย่อมยินดีวิญญาณัญจายตนพรหม ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้. ย่อมรู้อากิญจัญญายตนพรหมโดยความเป็นอากิญจัญญายตนพรหม ครั้นรู้อากิญจัญญาย- *ตนพรหมโดยความเป็นอากิญจัญญายตนพรหมแล้ว ย่อมสำคัญอากิญจัญญายตนพรหม ย่อมสำคัญ ในอากิญจัญญายตนพรหม ย่อมสำคัญโดยความเป็นอากิญจัญญายตนพรหม ย่อมสำคัญ อากิญจัญญายตนพรหมว่า ของเรา ย่อมยินดีอากิญจัญญายตนพรหม ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้. ย่อมรู้เนวสัญญานาสัญญายตนพรหมโดยความเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนพรหม ครั้นรู้ เนวสัญญานาสัญญายตนพรหมโดยความเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนพรหมแล้ว ย่อมสำคัญเนว- *สัญญานาสัญญายตนพรหม ย่อมสำคัญในเนวสัญญานาสัญญายตนพรหม ย่อมสำคัญโดยความ เป็นเนวสัญญานาสัญญายตนพรหม ย่อมสำคัญเนวสัญญานาสัญญายตนพรหมว่า ของเรา ย่อม ยินดีเนวสัญญานาสัญญายตนพรหม ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้. ย่อมรู้รูปที่ตนเห็นโดยความเป็นรูปที่เห็น ครั้นรู้รูปที่ตนเห็นโดยความเป็นรูปที่ตนเห็น แล้ว ย่อมสำคัญรูปที่ตนเห็น ย่อมสำคัญในรูปที่ตนเห็น ย่อมสำคัญโดยความเป็นรูปที่ตนเห็น ย่อมสำคัญรูปที่ตนเห็นว่า ของเรา ย่อมยินดีรูปที่ตนเห็น ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้. ย่อมรู้เสียงที่ตนฟังโดยความเป็นเสียงที่ตนฟัง ครั้นรู้เสียงที่ตนฟังโดยความเป็นเสียง ที่ตนฟังแล้ว ย่อมสำคัญเสียงที่ตนฟัง ย่อมสำคัญในเสียงที่ตนฟัง ย่อมสำคัญโดยความเป็นเสียง ที่ตนฟัง ย่อมสำคัญเสียงที่ตนฟังว่า ของเรา ย่อมยินดีเสียงที่ตนฟัง ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้. ย่อมรู้อารมณ์ที่ตนทราบโดยความเป็นอารมณ์ที่ตนทราบ ครั้นรู้อารมณ์ที่ตนทราบโดยความ เป็นอารมณ์ที่ตนทราบแล้ว ย่อมสำคัญอารมณ์ที่ตนทราบ ย่อมสำคัญในอารมณ์ที่ตนทราบ ย่อม สำคัญโดยความเป็นอารมณ์ที่ตนทราบ ย่อมสำคัญอารมณ์ที่ตนทราบว่า ของเรา ย่อมยินดีอารมณ์ ที่ตนทราบ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้. ย่อมรู้ธรรมารมณ์ที่ตนรู้แจ้งโดยความเป็นธรรมารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง ครั้นรู้ธรรมารมณ์ที่ตน รู้แจ้งโดยความเป็นธรรมารมณ์ที่ตนรู้แจ้งแล้ว ย่อมสำคัญธรรมารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง ย่อมสำคัญใน ธรรมารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง ย่อมสำคัญโดยความเป็นธรรมารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง ย่อมสำคัญธรรมารมณ์ที่ตน รู้แจ้งว่า ของเรา ย่อมยินดีธรรมารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขา ไม่ได้กำหนดรู้. ย่อมรู้ความที่สักกายะเป็นอันเดียวกันโดยความเป็นอันเดียวกัน ครั้นรู้สักกายะเป็น อันเดียวกันโดยความเป็นอันเดียวกันแล้ว ย่อมสำคัญความที่สักกายะเป็นอันเดียวกัน ย่อม- *สำคัญในความที่สักกายะเป็นอันเดียวกัน ย่อมสำคัญโดยความที่สักกายะเป็นอันเดียวกัน ย่อม- *สำคัญความที่สักกายะเป็นอันเดียวกันว่า ของเรา ย่อมยินดีความที่สักกายะเป็นอันเดียวกัน ข้อนั้น เพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้. ย่อมรู้ความที่สักกายะต่างกันโดยความเป็นของต่างกัน ครั้นรู้ความที่สักกายะต่างกันโดย ความเป็นของต่างกันแล้ว ย่อมสำคัญความที่สักกายะต่างกัน ย่อมสำคัญในความที่สักกายะต่างกัน ย่อมสำคัญโดยความที่สักกายะต่างกัน ย่อมสำคัญความที่สักกายะต่างกันว่า ของเรา ย่อมยินดี ความที่สักกายะต่างกัน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้. ย่อมรู้สักกายะทั้งปวงโดยความเป็นสักกายะทั้งปวง ครั้นรู้สักกายะทั้งปวง โดยความ เป็นสักกายะทั้งปวงแล้ว ย่อมสำคัญสักกายะทั้งปวง ย่อมสำคัญในสักกายะทั้งปวง ย่อมสำคัญ โดยความเป็นสักกายะทั้งปวง ย่อมสำคัญสักกายะทั้งปวงว่าของเรา ย่อมยินดีสักกายะทั้งปวง ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้. ย่อมรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพาน ครั้นรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพาน แล้ว ย่อมสำคัญพระนิพพาน ย่อมสำคัญในพระนิพพาน ย่อมสำคัญโดยความเป็นพระนิพพาน ย่อมสำคัญพระนิพพานว่า ของเรา ย่อมยินดีพระนิพพาน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้. กำหนดภูมินัยที่ ๑ ด้วยสามารถปุถุชน.
กำหนดภูมินัยที่ ๒ ด้วยสามารถเสขบุคคล
[๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุใดเป็นเสขบุคคล ยังไม่บรรลุพระอรหัตผล เมื่อ ปรารถนาธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าอยู่ แม้ภิกษุนั้นรู้ธาตุดินโดยความ เป็นธาตุดิน ครั้นรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดินแล้ว อย่าสำคัญธาตุดิน อย่าสำคัญในธาตุดิน อย่าสำคัญโดยความเป็นธาตุดิน อย่าสำคัญธาตุดินว่า ของเรา อย่ายินดีธาตุดิน ข้อนั้นเพราะเหตุ อะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาควรกำหนดรู้. ย่อมรู้ธาตุน้ำ ... ธาตุไฟ ... ธาตุลม ... สัตว์ ... เทวดา ... มาร ... พรหม ... อาภัสสรพรหม ... สุภกิณพรหม ... เวหัปผลพรหม ... อสัญญีสัตว์ ... อากาสานัญจายตนพรหม ... วิญญาณัญ- *จายตนพรหม ... เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม รูปที่ตนเห็น ... เสียงที่ตนฟัง ... อารมณ์ที่ตนทราบ ... วิญญาณ ที่ตนรู้แจ้ง ... ความที่สักกายะเป็นอันเดียวกัน ... ความที่สักกายะต่างกัน ... สักกายะ ทั้งปวง ... ย่อมรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพาน ครั้นรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพาน แล้ว อย่าสำคัญพระนิพพาน อย่าสำคัญในพระนิพพาน อย่าสำคัญโดยความเป็นพระนิพพาน อย่าสำคัญพระนิพพานว่า ของเรา อย่ายินดีพระนิพพาน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาควรกำหนดรู้. กำหนดภูมินัยที่ ๒ ด้วยสามารถเสขบุคคล.
กำหนดภูมินัยที่ ๓ ด้วยสามารถพระขีณาสพ
[๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุใด เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ เสร็จกิจแล้ว ปลงภาระเสียแล้ว บรรลุถึงประโยชน์ตนแล้ว สิ้นกิเลส เครื่องประกอบสัตว์ ไว้ในภพแล้ว หลุดพ้นด้วยปัญญาอันชอบแล้ว แม้ภิกษุนั้นรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดิน ครั้นรู้ ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดินแล้ว ย่อมไม่สำคัญธาตุดิน ไม่สำคัญในธาตุดิน ไม่สำคัญโดยความ เป็นธาตุดิน ไม่สำคัญธาตุดินว่าของเรา ไม่ยินดีธาตุดิน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเธอกำหนดรู้แล้ว. ย่อมรู้ธาตุน้ำ ... ธาตุไฟ ... ธาตุลม ... สัตว์ ... เทวดา ... มาร ... พรหม ... อาภัสสรพรหม ... สุภกิณพรหม ... เวหัปผลพรหม ... อสัญญีสัตว์ ... อากาสานัญจายตนพรหม ... วิญญาณัญจายตน- *พรหม ... อากิญจัญญายตนพรหม ... เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม ... รูปที่ตนเห็น ... เสียงที่ตนฟัง ... อารมณ์ที่ตนทราบ ... วิญญาณที่ตนรู้แจ้ง ... ความที่สักกายะเป็นอันเดียวกัน ... ความที่สักกายะ- *ต่างกัน ... สักกายะทั้งปวง ... ย่อมรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพาน ครั้นรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพาน แล้ว ย่อมไม่สำคัญพระนิพพาน ย่อมไม่สำคัญในพระนิพพาน ย่อมไม่สำคัญโดยความเป็น พระนิพพาน ย่อมไม่สำคัญพระนิพพานว่า ของเรา ย่อมไม่ยินดีพระนิพพาน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเธอกำหนดรู้แล้ว. กำหนดภูมินัยที่ ๓ ด้วยสามารถพระขีณาสพ.
กำหนดภูมินัยที่ ๔ ด้วยสามารถพระขีณาสพ
[๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุนั้นใด เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ เสร็จ กิจแล้ว ปลงภาระแล้ว บรรลุถึงประโยชน์ตนแล้ว สิ้นกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพแล้ว พ้นด้วยปัญญาอันชอบแล้ว แม้ภิกษุนั้นรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดิน ครั้นรู้ธาตุดินโดยความ เป็นธาตุดินแล้ว ย่อมไม่สำคัญธาตุดิน ย่อมไม่สำคัญในธาตุดิน ย่อมไม่สำคัญโดยความเป็นธาตุดิน ย่อมไม่สำคัญธาตุดินว่าของเรา ย่อมไม่ยินดีธาตุดิน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะ ปราศจากราคะ เหตุราคะสิ้นไป. ย่อมรู้ธาตุน้ำ ... ธาตุไฟ ... ธาตุลม ... สัตว์ ... เทวดา ... มาร ... พรหม ... อาภัสสรพรหม ... สุภกิณหพรหม ... เวหัปผลพรหม ... อสัญญีสัตว์ ... อากาสานัญจายตนพรหม ... วิญญาณัญจายตน- *พรหม ... อากิญจัญญายตนพรหม ... เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม ... รูปที่ตนเห็น ... เสียงที่ ตนฟัง ... อารมณ์ที่ตนทราบ ... วิญญาณที่ตนรู้แจ้ง ... ความที่สักกายะเป็นอันเดียวกัน ... ความที่ สักกายะต่างกัน ... สักกายะทั้งปวง ... ย่อมรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพาน ครั้นรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพาน แล้ว ย่อมไม่สำคัญพระนิพพาน ย่อมไม่สำคัญในพระนิพพาน ย่อมไม่สำคัญโดยความเป็น พระนิพพาน ย่อมไม่สำคัญพระนิพพานว่า ของเรา ย่อมไม่ยินดีพระนิพพาน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะปราศจากราคะ เหตุราคะสิ้นไป. กำหนดภูมินัยที่ ๔ ด้วยสามารถพระขีณาสพ.
กำหนดภูมินัยที่ ๕ ด้วยสามารถพระขีณาสพ
[๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุนั้นใด เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ เสร็จกิจแล้ว ปลงภาระเสียแล้ว บรรลุถึงประโยชน์ตนแล้ว สิ้นกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ใน ภพแล้ว พ้นด้วยปัญญาอันชอบแล้ว แม้ภิกษุนั้นย่อมรู้ยิ่งธาตุดินโดยความเป็นธาตุดิน ครั้นรู้ ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดินแล้ว ย่อมไม่สำคัญธาตุดิน ย่อมไม่สำคัญในธาตุดิน ย่อมไม่สำคัญ โดยความเป็นธาตุดิน ย่อมไม่สำคัญธาตุดินว่า ของเรา ย่อมไม่ยินดีธาตุดิน ข้อนั้นเพราะเหตุ อะไร เพราะปราศจากโทสะ เหตุโทสะสิ้นไป. ย่อมรู้ธาตุน้ำ ... ธาตุไฟ ... ธาตุลม ... สัตว์ ... เทวดา ... มาร ... พรหม ... อาภัสสร พรหม ... สุภกิณหพรหม ... เวหัปผลพรหม ... อสัญญีสัตว์ ... อากาสานัญจายตนพรหม ... วิญญาณัญจายตนพรหม ... อากิญจัญญายตนพรหม ... เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม ... รูปที่ตน เห็น ... เสียงที่ตนฟัง ... อารมณ์ที่ตนทราบ ... วิญญาณที่ตนรู้แจ้ง ... ความที่สักกายะเป็น อันเดียวกัน ... ความที่สักกายะต่างกัน ... สักกายะทั้งปวง ... ย่อมรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพาน ครั้นรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพาน แล้ว ย่อมไม่สำคัญพระนิพพาน ย่อมไม่สำคัญในพระนิพพาน ย่อมไม่สำคัญโดยความเป็น พระนิพพาน ย่อมไม่สำคัญพระนิพพานว่า ของเรา ย่อมไม่ยินดีพระนิพพาน ข้อนั้นเพราะเหตุ อะไร เพราะปราศจากโทสะ เหตุโทสะสิ้นไป. กำหนดภูมินัยที่ ๕ ด้วยสามารถพระขีณาสพ
กำหนดภูมินัยที่ ๖ ด้วยสามารถพระขีณาสพ
[๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุนั้นใด เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ เสร็จกิจแล้ว ปลงภาระเสียแล้ว บรรลุถึงประโยชน์ตนแล้ว สิ้นกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ใน ภพแล้ว หลุดพ้นด้วยปัญญาอันชอบแล้ว แม้ภิกษุนั้นย่อมรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดิน ครั้นรู้ ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดินแล้ว ย่อมไม่สำคัญธาตุดิน ย่อมไม่สำคัญในธาตุดิน ย่อมไม่สำคัญ โดยความเป็นธาตุดิน ย่อมไม่สำคัญธาตุดินว่า ของเรา ย่อมไม่ยินดีธาตุดิน ข้อนั้นเพราะเหตุ อะไร เพราะปราศจากโมหะ เหตุโมหะสิ้นไป. ย่อมรู้ธาตุน้ำ ... ธาตุไฟ ... ธาตุลม ... สัตว์ ... เทวดา ... มาร ... พรหม ... อาภัสสร- *พรหม ... สุภกิณหพรหม ... เวหัปผลพรหม ... อสัญญีสัตว์ ... อากาสานัญจายตนพรหม ... วิญญาณัญจายตนพรหม ... อากิญจัญญายตนพรหม ... เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม ... รูปที่ ตนเห็น ... เสียงที่ตนฟัง ... อารมณ์ที่ตนทราบ ... วิญญาณที่ตนรู้แจ้ง ... ความที่สักกายะเป็น อันเดียวกัน ... ความที่สักกายะต่างกัน ... สักกายะทั้งปวง ... ย่อมรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพาน ครั้นรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระ- *นิพพานแล้ว ย่อมไม่สำคัญพระนิพพาน ย่อมไม่สำคัญในพระนิพพาน ย่อมไม่สำคัญโดยความ เป็นพระนิพพาน ย่อมไม่สำคัญพระนิพพานว่า ของเรา ย่อมไม่ยินดีพระนิพพาน ข้อนั้นเพราะ เหตุอะไร เพราะปราศจากโมหะ เหตุโมหะสิ้นไป. กำหนดภูมินัยที่ ๖ ด้วยสามารถพระขีณาสพ.
กำหนดภูมินัยที่ ๗ ด้วยสามารถพระศาสดา
[๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงรู้ธาตุดินโดยความ เป็นธาตุดินจริง ครั้นทรงรู้ยิ่งธาตุดินโดยความเป็นธาตุดินจริงแล้ว ย่อมไม่ทรงสำคัญธาตุดิน ย่อมไม่ทรงสำคัญในธาตุดิน ย่อมไม่ทรงสำคัญโดยความเป็นธาตุดิน ย่อมไม่ทรงสำคัญธาตุดินว่า ของเรา ย่อมไม่ทรงยินดีธาตุดิน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะธาตุดินนั้นพระตถาคต กำหนดรู้แล้ว. ย่อมทรงรู้ธาตุน้ำ ... ธาตุไฟ ... ธาตุลม ... สัตว์ ... เทวดา ... มาร ... พรหม ... อาภัสสรพรหม ... สุภกิณหพรหม ... เวหัปผลพรหม ... อสัญญีสัตว์ ... อากาสานัญจายตน- *พรหม ... วิญญาณัญจายตนพรหม ... อากิญจัญญายตนพรหม ... เนวสัญญานาสัญญาตนพรหม ... รูปที่ ตนเห็น ... เสียงที่ตนฟัง ... อารมณ์ที่ตนทราบ ... วิญญาณที่ตนรู้แจ้ง ... ความที่สักกายะเป็น อันเดียวกัน ... ความที่สักกายะต่างกัน ... สักกายะทั้งปวง ... ทรงรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพาน ครั้นทรงรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระ- *นิพพานแล้ว ย่อมไม่ทรงสำคัญพระนิพพาน ย่อมไม่ทรงสำคัญในพระนิพพาน ย่อมไม่ทรง สำคัญโดยความเป็นพระนิพพาน ย่อมไม่ทรงสำคัญพระนิพพานว่า ของเราย่อมไม่ทรงยินดี พระนิพพาน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่าเพราะพระนิพพานนั้นพระตถาคตทรงกำหนดรู้แล้ว. กำหนดภูมินัยที่ ๗ ด้วยสามารถพระศาสดา.
กำหนดภูมินัยที่ ๘ ด้วยสามารถพระศาสดา
[๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงรู้ธาตุดินโดยความ เป็นธาตุดินจริง ครั้นทรงรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดินจริงแล้วย่อมไม่ทรงสำคัญธาตุดิน ย่อมไม่ ทรงสำคัญในธาตุดิน ย่อมไม่ทรงสำคัญโดยความเป็นธาตุดิน ย่อมไม่ทรงสำคัญธาตุดินว่า ของเรา ย่อมไม่ทรงยินดีธาตุดิน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เรากล่าวว่า เพราะทรงทราบว่า ความเพลิดเพลิน เป็นมูลแห่งทุกข์ เพราะภพจึงมีชาติ สัตว์ผู้เกิดแล้ว ต้องแก่ ต้องตาย เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุ ทั้งหลายเราจึงกล่าวว่า พระตถาคตตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เพราะสิ้นตัณหา สำรอกตัณหา ดับตัณหา สละตัณหา สละคืนตัณหาเสียได้ โดยประการทั้งปวง ย่อมทรงรู้ยิ่งธาตุน้ำ ... ธาตุไฟ ... ธาตุลม ... สัตว์ ... เทวดา ... มาร ... พรหม ... อาภัสสรพรหม ... สุภกิณหพรหม ... เวหัปผลพรหม ... อสัญญีสัตว์ ... อากาสานัญจายตนพรหม ... วิญญาณัญจายตนพรหม ... อากิญจัญญายตนพรหม ... เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม ... รูปที่ตน เห็น ... เสียงที่ตนฟัง ... อารมณ์ที่ตนทราบ ... วิญญาณที่ตนรู้แจ้ง ... ความที่สักกายะเป็นอันเดียว กัน ... ความที่สักกายะต่างกัน ... สักกายะทั้งปวง ... ทรงรู้ยิ่งพระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพาน ครั้นทรงรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระ นิพพานแล้ว ย่อมไม่ทรงสำคัญพระนิพพาน ย่อมไม่ทรงสำคัญในพระนิพพาน ย่อมไม่ทรงสำคัญ โดยความเป็นพระนิพพาน ย่อมไม่ทรงสำคัญพระนิพพานว่า ของเรา ย่อมไม่ทรงยินดีพระนิพพาน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เรากล่าวว่า เพราะทรงทราบว่า ความเพลิดเพลินเป็นมูลแห่งทุกข์ เพราะ ภพจึงมีชาติ สัตว์ผู้เกิดแล้ว ต้องแก่ ต้องตาย เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย เราจึงกล่าวว่า พระตถาคตตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เพราะสิ้นตัณหา สำรอกตัณหา ดับตัณหา สละตัณหา สละคืนตัณหาเสียได้ โดยประการทั้งปวง. กำหนดภูมินัยที่ ๘ ด้วยสามารถพระศาสดา. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสมูลปริยายนี้จบแล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีความพอใจชื่นชมภาษิตของ พระผู้มีพระภาค ฉะนี้แล.
จบ มูลปริยายสูตร ที่ ๑
-----------------------------------------------------
๒. สัพพาสวสังวรสูตร
ว่าด้วยการสังวรในอาสวะทั้งปวง
[๑๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปริยายว่าด้วยการสังวรอาสวะทั้งปวงแก่พวกเธอ พวกเธอจงฟัง จงใส่ใจ ให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า. [๑๑] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้น อาสวะของภิกษุผู้รู้อยู่ เห็นอยู่ เราไม่กล่าวความสิ้นอาสวะของภิกษุผู้ไม่รู้อยู่ ไม่เห็นอยู่ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ความสิ้นอาสวะจะมีได้แก่ภิกษุผู้รู้อะไร เห็นอยู่อะไร ความสิ้นอาสวะจะมีได้แก่ภิกษุ ผู้รู้เห็นโยนิโสมนสิการและอโยนิโสมนสิการ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมนสิการโดยไม่แยบคาย อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญขึ้น เมื่อภิกษุมนสิการ โดยแยบคาย อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้น ย่อมไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมสิ้นไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะที่จะพึงละได้เพราะการเห็นมีอยู่ ที่จะพึงละได้เพราะการสังวรก็มี ที่จะพึง ละได้เพราะเสพเฉพาะก็มี ที่จะพึงละได้เพราะความอดกลั้นก็มี ที่จะพึงละได้เพราะเว้นรอบก็มี ที่จะพึงละได้เพราะบรรเทาก็มี ที่จะพึงละได้เพราะอบรมก็มี.
ว่าด้วยการละอาสวะได้เพราะการเห็น
[๑๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะเหล่าไหน ที่จะพึงละได้เพราะการเห็น? ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของพระ อริยะ ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัปบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมไม่รู้ทั่วถึงธรรมอันตนควรมนสิการ ย่อมไม่รู้ทั่วถึงธรรม อันตนไม่ควรมนสิการ เมื่อเขาไม่รู้ทั่วถึงธรรมที่ควรมนสิการ ไม่รู้ทั่วถึงธรรมที่ไม่ควรมนสิการ ย่อมมนสิการธรรมที่ไม่ควรมนสิการ ย่อมไม่มนสิการธรรมที่ควรมนสิการ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่ไม่ควรมนสิการ ที่ปุถุชนมนสิการอยู่เป็นไฉน? ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เมื่อปุถุชนนั้นมนสิการธรรมเหล่าใดอยู่ กามาสวะก็ดี ภวาสวะก็ดี อวิชชาสวะก็ดี ที่ยัง ไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญขึ้น ธรรมที่ไม่ควรมนสิการเหล่านี้ ที่เขามนสิการ อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรมนสิการที่ปุถุชนไม่มนสิการอยู่ เป็นไฉน? เมื่อปุถุชน นั้นมนสิการธรรมเหล่าใดอยู่ กามาสวะก็ดี ภวาสวะก็ดี อวิชชาสวะก็ดีที่ยังไม่เกิดขึ้น ย่อมไม่ เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมสิ้นไป ธรรมที่ควรมนสิการเหล่านี้ ที่เขาไม่มนสิการอยู่ อาสวะ ทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญแก่ปุถุชนนั้น เพราะมนสิการธรรม ที่ไม่ควรมนสิการ และเพราะไม่มนสิการธรรมที่ควรมนสิการ ปุถุชนนั้นมนสิการอยู่โดยไม่แยบคายอย่างนี้ว่า เราได้มีแล้วในอดีตกาลหรือหนอ เรา ไม่ได้มีแล้วในอดีตกาลหรือหนอ ในอดีตกาลเราได้เป็นอะไรหนอ ในอดีตกาลเราได้เป็นอย่างไร หนอ ในอดีตกาลเราได้เป็นอะไรแล้วจึงเป็นอะไรหนอ ในอนาคตกาลเราจักมีหรือหนอ ในอนาคต กาลเราจักไม่มีหรือหนอ ในอนาคตกาลเราจักเป็นอะไรหนอ ในอนาคตกาลเราจักเป็นอย่างไรหนอ ในอนาคตกาลเราจักเป็นอะไรแล้วจึงจักเป็นอะไรหนอ หรือว่า ปรารภกาลปัจจุบันในบัดนี้มีความ สงสัยขึ้นภายในว่า เรามีอยู่หรือ เราไม่มีอยู่หรือ เราเป็นอะไรหนอ เราเป็นอย่างไรหนอ สัตว์นี้ มาแต่ไหนหนอ และมันจักไป ณ ที่ไหน. เมื่อปุถุชนนั้นมนสิการอยู่โดยไม่แยบคายอย่างนี้ บรรดาทิฏฐิ ๖ ทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิโดยจริงโดยแท้ย่อมเกิดขึ้นแก่ปุถุชนนั้นว่า ตนของเรามีอยู่ หรือว่า ตนของเรา ไม่มีอยู่ หรือว่า เราย่อมรู้ชัดตนด้วยตนเอง หรือว่า เราย่อมรู้ชัดสภาพมิใช่ตนด้วยตนเอง หรือว่า เราย่อมรู้ตนด้วยสภาพมิใช่ตน อีกอย่างหนึ่ง ทิฏฐิย่อมเกิดมีแก่ปุถุชนนั้นอย่างนี้ว่า ตนของเรา นี้เป็นผู้เสวย ย่อมเสวยวิบากแห่งกรรมทั้งดีทั้งชั่วในอารมณ์นั้นๆ ก็ตนของเรานี้นั้นเป็นของ แน่นอนยั่งยืนเที่ยงแท้ ไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่อย่างนั้นเสมอด้วยสิ่งยั่งยืนแท้ ข้อนี้ เรากล่าวว่าทิฏฐิ ชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ เสี้ยนหนามคือทิฏฐิ ความดิ้นรนคือทิฏฐิ สิ่งที่ประกอบ สัตว์ไว้คือทิฏฐิ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับผู้ประกอบด้วยทิฏฐิสังโยชน์ ย่อมไม่พ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ย่อมไม่พ้นจากทุกข์. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนอริยสาวกผู้สดับแล้ว ผู้เห็นพระอริยะทั้งหลาย ฉลาดในธรรมของ พระอริยะ ได้รับแนะนำด้วยดีในธรรมของพระอริยะ ผู้เห็นสัปบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ ได้รับคำแนะนำด้วยดีในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมรู้ทั่วถึงธรรมที่ควรมนสิการ และไม่ควรมนสิการ เมื่ออริยสาวกนั้นรู้ทั่วถึงธรรมที่ควรมนสิการ และไม่ควรมนสิการ ย่อมไม่มนสิการธรรมที่ไม่ควร มนสิการ และมนสิการธรรมที่ควรมนสิการ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ไม่ควรมนสิการเหล่าไหน ที่อริยสาวกไม่มนสิการ? เมื่ออริย- *สาวกนั้นมนสิการธรรมเหล่าใดอยู่ กามาสวะก็ดี ภวาสวะก็ดี อวิชชาสวะก็ดี ที่ยังไม่เกิดขึ้นย่อม เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญขึ้น ธรรมที่ไม่ควรมนสิการเหล่านี้ ที่อริยสาวกไม่มนสิการ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่ควรมนสิการเหล่าไหน ที่อริยสาวกมนสิการอยู่? เมื่ออริยสาวก นั้นมนสิการธรรมเหล่าใดอยู่ กามาสวะก็ดี ภวาสวะก็ดี อวิชชาสวะก็ดี ที่ยังไม่เกิดขึ้น ย่อม ไม่เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมสิ้นไป ธรรมที่ควรมนสิการเหล่านี้ ที่อริยสาวกมนสิการอยู่ อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้น จะไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว จะเสื่อมสิ้นไปแก่อริยสาวกนั้น เพราะไม่มนสิการธรรมที่ไม่ควรมนสิการ และเพราะมนสิการธรรมที่ควรมนสิการ. อริยสาวกนั้น ย่อมมนสิการโดยแยบคายว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ปฏิปทาให้ถึงความดับทุกข์ เมื่ออริยสาวกนั้นมนสิการอยู่โดยแยบคายอย่างนี้ สังโยชน์ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ย่อมเสื่อมสิ้นไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้ เรากล่าวว่า จะพึงละได้เพราะการเห็น [๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะเหล่าไหน ที่จะพึงละได้เพราะการสังวร? ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้วเป็นผู้สำรวมแล้วด้วยความสำรวม ในจักขุนทรีย์อยู่ ก็อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่าใด พึงเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ผู้ไม่สำรวมจักขุนทรีย์ อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุ นั้น ผู้สำรวมจักขุนทรีย์อยู่อย่างนี้. ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้ว เป็นผู้สำรวมด้วยความสำรวมในโสตินทรีย์อยู่ ... ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้ว เป็นผู้สำรวมด้วยความสำรวมในฆานินทรีย์อยู่ ... ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้ว เป็นผู้สำรวมด้วยความสำรวมในชิวหินทรีย์อยู่ ... ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้ว เป็นผู้สำรวมด้วยความสำรวมในกายินทรีย์อยู่ ... ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้ว เป็นผู้สำรวมด้วยความสำรวมในมนินทรีย์อยู่ ก็ อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่าใด พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ไม่สำรวมใน มนินทรีย์อยู่ อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุผู้สำรวม ในมนินทรีย์อยู่อย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้ เรากล่าวว่า จะพึงละได้เพราะการสังวร
ว่าด้วยละอาสวะได้เพราะการพิจารณาเสพ
[๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะเหล่าไหน ที่จะพึงละได้เพราะการพิจารณาเสพ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เสพจีวรเพียงเพื่อกำจัด หนาว ร้อน สัมผัส แห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน เพียงเพื่อจะปกปิด อวัยวะที่ให้ความละอายกำเริบ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เสพบิณฑบาตมิใช่เพื่อจะเล่น มิใช่ เพื่อมัวเมา มิใช่เพื่อประดับ มิใช่เพื่อตบแต่ง เพียงเพื่อให้กายนี้ดำรงอยู่ เพื่อให้เป็นไป เพื่อกำจัดความลำบาก เพื่ออนุเคราะห์แก่พรหมจรรย์ ด้วยคิดว่า จะกำจัดเวทนาเก่าเสียด้วย จะไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้นด้วย ความเป็นไป ความไม่มีโทษ และความอยู่สบายด้วย จักมีแก่เรา ฉะนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เสพเสนาสนะ เพียงเพื่อกำจัดหนาวร้อน สัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน เพียงเพื่อบรรเทาอันตรายแต่ฤดู เพื่อรื่นรมย์ในการหลีก ออกเร้นอยู่ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เสพบริขาร คือ ยาอันเป็นปัจจัยบำบัดไข้ เพียงเพื่อกำจัด เวทนาที่เกิดแต่อาพาธต่างๆ ที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อความเป็นผู้ไม่มีอาพาธเบียดเบียนเป็นอย่างยิ่ง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่าใด พึงบังเกิดขึ้น แก่ภิกษุนั้นผู้ไม่พิจารณาเสพปัจจัยอันใดอันหนึ่ง อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้น เหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น ผู้พิจารณาเสพอยู่อย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้ เรากล่าวว่า จะพึงละได้เพราะการพิจารณาเสพ. [๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะเหล่าไหน ที่จะพึงละได้เพราะความอดกลั้น? ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้วเป็นผู้อดทนต่อหนาว ร้อน หิว ระหาย สัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน เป็นผู้มีชาติของผู้อดกลั้นต่อ ถ้อยคำที่ผู้อื่นกล่าวชั่ว ร้ายแรงต่อเวทนาที่มีอยู่ในตัว ซึ่งบังเกิดขึ้นแล้ว เป็นทุกข์ กล้า แข็ง เผ็ดร้อน ไม่เป็นที่ยินดี ไม่เป็นที่ชอบใจ อาจพร่าชีวิตเสียได้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่าใด พึงบังเกิด ขึ้นแก่ภิกษุนั้นผู้ไม่อดกลั้นอยู่ อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่านั้น ย่อมไม่มี แก่ภิกษุนั้น ผู้อดกลั้นอยู่อย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้ เรากล่าวว่า จะพึงละได้ เพราะความอดกลั้น. [๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะเหล่าไหนที่จะพึงละได้เพราะความเว้นรอบ? ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้วเว้นช้างที่ดุร้าย ม้าที่ดุร้าย โคที่ดุร้าย สุนัขที่ดุร้าย งู หลักตอ สถานที่มีหนาม บ่อ เหว แอ่งน้ำครำ บ่อน้ำครำ เพื่อนพรหมจรรย์ ผู้เป็นวิญญูชนทั้งหลาย พึงกำหนดลงซึ่งบุคคลผู้นั่ง ณ ที่มิใช่อาสนะเห็นปานใด ผู้เทียวไป ณ ที่มิใช่โคจรเห็นปานใด ผู้คบมิตรที่ลามกเห็นปานใด ในสถานทั้งหลายอันลามก ภิกษุนั้น พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เว้นที่มิใช่อาสนะนั้น ที่มิใช่โคจรนั้น และมิตรผู้ลามกเหล่านั้น ดูกร ภิกษุทั้งหลาย จริงอยู่ อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่าใด พึงบังเกิดขึ้นแก่ ภิกษุนั้น ผู้ไม่เว้นสถานหรือบุคคลอันใดอันหนึ่ง อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้น เหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น ผู้เว้นรอบอยู่อย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้ เรากล่าวว่า จะพึงละได้เพราะการเว้นรอบ [๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะเหล่าไหนที่จะพึงละได้เพราะความบรรเทา? ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้วย่อมอดกลั้น ย่อมละ ย่อมบรรเทา กามวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ทำให้สิ้นสูญ ให้ถึงความไม่มี ย่อมอดกลั้น ย่อมละ ย่อมบรรเทา พยาบาท วิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ทำให้สิ้นสูญ ให้ถึงความไม่มี ย่อมอดกลั้น ย่อมละ ย่อมบรรเทา วิหิงสา วิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ทำให้สิ้นสูญ ให้ถึงความไม่มี ย่อมอดกลั้น ย่อมละ ย่อมบรรเทาธรรมที่เป็น บาปอกุศลที่บังเกิดขึ้นแล้ว ทำให้สิ้นสูญ ให้ถึงความไม่มี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะและความ เร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่าใด พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ผู้ไม่บรรเทาธรรมอันใดอันหนึ่ง อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุผู้บรรเทาอยู่อย่างนี้ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้ เรากล่าวว่า จะพึงละได้เพราะความบรรเทา.
ว่าด้วยละอาสวะได้เพราะการอบรม
[๑๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะเหล่าไหนที่จะพึงละได้เพราะอบรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัย วิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในความสละลง เจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ... เจริญวิริยสัมโพชฌงค์ ... เจริญปิติสัมโพชฌงค์ ... เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ... เจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ ... เจริญอุเบกขาสัม- *โพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในความสละลง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่าใด พึงเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ผู้ไม่อบรมธรรม อันใดอันหนึ่ง อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น ผู้อบรมอยู่อย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้ เรากล่าวว่า จะพึงละได้เพราะอบรม. [๑๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเหตุว่า อาสวะเหล่าใด อันภิกษุใดพึงละได้เพราะการ เห็น อาสวะเหล่านั้น อันภิกษุนั้นละได้แล้วเพราะการเห็น อาสวะเหล่าใดอันภิกษุใดพึงละได้เพราะ การสังวร อาสวะเหล่านั้น อันภิกษุนั้นละได้แล้วเพราะการสังวร อาสวะเหล่าใด อันภิกษุใด พึงละได้เพราะการพิจารณาเสพ อาสวะเหล่านั้น อันภิกษุนั้นละได้แล้วเพราะการพิจารณาเสพ อาสวะเหล่าใด อันภิกษุใด พึงละได้เพราะความอดกลั้น อาสวะเหล่านั้น อันภิกษุนั้นละได้ แล้วเพราะความอดกลั้น อาสวะเหล่าใด อันภิกษุใดพึงละได้เพราะการเว้นรอบ อาสวะเหล่านั้น อันภิกษุนั้นละได้แล้ว เพราะการเว้นรอบ อาสวะเหล่าใด อันภิกษุใด พึงละได้เพราะการบรรเทา อาสวะเหล่านั้น อันภิกษุนั้นละได้แล้วเพราะการบรรเทา อาสวะเหล่าใด อันภิกษุใดพึงละได้ เพราะการอบรม อาสวะเหล่านั้น อันภิกษุนั้นละได้แล้วเพราะการอบรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ นี้เรากล่าวว่า เป็นผู้สำรวมด้วยความสังวรในอาสวะทั้งปวงอยู่ ตัดตัณหาได้แล้ว ยังสังโยชน์ให้ ปราศไปแล้ว ได้ทำที่สุดแห่งทุกข์เพราะความตรัสรู้ ด้วยการเห็นและการละมานะโดยชอบ. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสสังวรปริยายนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มี- *พระภาค ฉะนี้แล.
จบ สัพพาสวสังวรสูตร ที่ ๒
-----------------------------------------------------
๓. ธรรมทายาทสูตร
ว่าด้วยทายาทแห่งธรรม
[๒๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับว่า พระเจ้าข้า ดังนี้. [๒๑] พระผู้มีพระภาคตรัสพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเป็นธรรมทายาท ของเราเถิด อย่าเป็นอามิสทายาทของเราเลย เรามีความเอ็นดูในพวกเธออยู่ว่า ทำอย่างไรหนอ สาวกทั้งหลายของเราจะพึงเป็นธรรมทายาท จะไม่พึงเป็นอามิสทายาท ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกเธอจะพึงเป็นอามิสทายาทของเรา ไม่เป็นธรรมทายาทไซร้ ด้วย ความที่พวกเธอเป็นอามิสทายาท ไม่เป็นธรรมทายาทนั้น ทั้งพวกเธอ ทั้งเราพึงถูกวิญญูชนติ เตียนได้ว่า พวกสาวกของพระศาสดาพากันเป็นอามิสทายาท ไม่เป็นธรรมทายาท ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกเธอพึงเป็นธรรมทายาทของเรา ไม่เป็นอามิสทายาทไซร้ ด้วยความที่พวกเธอเป็นธรรมทายาท ไม่เป็นอามิสทายาทนั้น ทั้งพวกเธอทั้งเราไม่พึงถูกวิญญูชนติเตียนว่า พวกสาวกของพระศาสดา พากันเป็นธรรมทายาท ไม่เป็นอามิสทายาท เพราะเหตุนั้นแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอ ทั้งหลายจงเป็นธรรมทายาทของเราเถิด อย่าเป็นอามิสทายาทเลย เรามีความเอ็นดูในพวกเธออยู่ว่า ทำอย่างไรหนอ สาวกทั้งหลายของเราพึงเป็นธรรมทายาท ไม่พึงเป็นอามิสทายาท. [๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเราบริโภคเสร็จ อิ่มหนำสำราญเป็นอันดีเพียงพอแก่ ประโยชน์แล้ว แต่บิณฑบาตของเรายังมีเหลืออยู่ อันจำต้องทิ้ง ในเวลานั้น ภิกษุสองรูปอัน ความหิวและความถอยกำลังครอบงำแล้วพากันมา เราพึงกล่าวกะเธอทั้งสองนั้นอย่างนี้ว่า ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เราบริโภคเสร็จ อิ่มหนำสำราญเป็นอันดี เพียงพอแก่ประโยชน์แล้ว แต่บิณฑบาตนี้ ของเรายังมีเหลืออยู่ อันจำต้องทิ้ง ถ้าเธอทั้งหลายหวังจะบริโภค ก็จงบริโภคเถิด ถ้าเธอทั้งหลาย จักไม่บริโภค เราทิ้งเสียในที่ที่ปราศจากของสดเขียว หรือจักเทเสียในน้ำที่ไม่มีตัวสัตว์ ณ บัดนี้ ภิกษุสองรูปนั้น รูปหนึ่งมีความคิดอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเสวยเสร็จอิ่มหนำสำราญ เป็นอันดี เพียงพอแก่ประโยชน์แล้ว แต่บิณฑบาตของพระผู้มีพระภาคนี้ยังมีเหลืออยู่ อันจำต้อง ทิ้ง ถ้าเราทั้งหลายจักไม่บริโภค พระผู้มีพระภาคก็จักทรงทิ้งในที่ที่ปราศจากของสดเขียว หรือจักทรง เทเสียในน้ำที่ไม่มีตัวสัตว์ ณ บัดนี้ แต่พระผู้มีพระภาคตรัสสอนไว้ดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวก เธอจงเป็นธรรมทายาทของเราเถิด อย่าเป็นอามิสทายาทเลย ก็บิณฑบาตนี้เป็นอามิสอย่างใดอย่าง หนึ่ง อย่ากระนั้นเลย เราไม่พึงบริโภคบิณฑบาตนี้ พึงยังคืนและวันนี้ให้ล่วงไปอย่างนี้ด้วยความ หิวและความถอยกำลังนี้แหละ เธอจึงไม่บริโภคบิณฑบาตนั้น แล้วยังคืนและวันนั้นให้ล่วงไป อย่างนี้ ด้วยความหิวและความถอยกำลังนั้นเอง. ส่วนภิกษุรูปที่ ๒ มีความคิดอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเสวยเสร็จอิ่มหนำสำราญเป็นอันดี เพียงพอแก่ประโยชน์แล้ว แต่บิณฑบาตของพระผู้มีพระภาคนี้ ยังมีเหลืออยู่ อันจำต้องทิ้ง ถ้าเรา ทั้งหลายจักไม่บริโภค พระผู้มีพระภาคจักทรงทิ้งในที่ที่ปราศจากของสดเขียว หรือจักทรงเทเสีย ในน้ำที่ไม่มีตัวสัตว์ ณ บัดนี้ อย่ากระนั้นเลย เราพึงบริโภคบิณฑบาตนี้ บรรเทาความหิวและ ความถอยกำลัง พึงยังคืนและวันนี้ให้ล่วงไปอย่างนี้ เธอจึงบริโภคบิณฑบาตนั้น บรรเทาความหิว และความถอยกำลัง พึงยังคืนและวันนั้นให้ล่วงไปอย่างนี้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้น แม้จะบริโภคบิณฑบาตนั้น บรรเทาความหิวและความถอย กำลัง พึงยังคืนและวันนั้นให้ล่วงไปอย่างนี้ ถึงอย่างนั้น ภิกษุรูปก่อนโน้น ยังน่าบูชาและสรรเสริญ กว่า ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อความมักน้อย สันโดษ ขัดเกลา เลี้ยงง่าย ปรารภความเพียร แก่ภิกษุนั้นสิ้นกาลนาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น แล พวกเธอจงเป็นธรรมทายาทของเราเถิด อย่าเป็นอามิสทายาทของเราเลย เรามีความเอ็นดู ในพวกเธอว่า ทำอย่างไรหนอ พวกสาวกของเราพึงเป็นธรรมทายาท ไม่พึงเป็นอามิสทายาท พระผู้มีพระภาคสุคตเจ้า ได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว จึงเสด็จลุกจากอาสนะเข้าสู่พระวิหาร.
ปัญหาการไม่ตามศึกษาความสงัด
[๒๓] ครั้งนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จหลีกไปไม่นาน ท่านพระสารีบุตรจึงเรียกภิกษุ ทั้งหลายว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระสารีบุตรว่า ขอรับ ดังนี้. ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อพระศาสดาเสด็จอยู่สงัดแล้ว สาวก ทั้งหลายย่อมไม่ศึกษาความสงัดตาม ด้วยเหตุเพียงเท่าไร เมื่อพระศาสดาเสด็จอยู่สงัดแล้ว สาวก ทั้งหลายย่อมศึกษาความสงัดตาม ด้วยเหตุเพียงเท่าไร? ภิกษุเหล่านั้นเรียนว่า ข้าแต่ท่านผู้มีอายุ พวกกระผมมาแต่ที่ไกล ก็เพื่อจะทราบเนื้อ ความแห่งภาษิตข้อนี้ ในสำนักท่านพระสารีบุตร พวกกระผมขอโอกาส ขอเนื้อความแห่งภาษิต ข้อนี้ จงแจ่มแจ้งกะท่านพระสารีบุตรเท่านั้นเถิด ภิกษุทั้งหลายได้สดับต่อท่านพระสารีบุตรแล้ว จักทรงจำไว้. ท่านพระสารีบุตรจึงกล่าวว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น พวกท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว. ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว. [๒๔] ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อพระศาสดาเสด็จ อยู่สงัดแล้ว สาวกทั้งหลายย่อมไม่ศึกษาความสงัดตาม ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ? ดูกรท่านผู้มี อายุทั้งหลาย เมื่อพระศาสดาเสร็จอยู่สงัดแล้ว สาวกทั้งหลายในพระธรรมวินัยนี้ ไม่ศึกษาความ สงัดตาม คือ พระศาสดาตรัสถึงการละธรรมเหล่าใด สาวกทั้งหลายไม่ละธรรมเหล่านั้น เป็นผู้มัก มาก ย่อหย่อน เป็นหัวหน้าในการท้อถอย ทอดธุระในความสงัด. บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุ- *ผู้เถระอันวิญญูชนพึงติเตียนได้ ด้วยเหตุสามสถาน คือ อันวิญญูชนพึงติเตียนได้ด้วยสถานที่หนึ่ง นี้ว่า เมื่อพระศาสดาเสด็จอยู่สงัดแล้ว พระสาวกทั้งหลายไม่ศึกษาความสงัดตาม อันวิญญูชนพึง ติเตียนได้ด้วยสถานที่สองนี้ว่า พระศาสดาตรัสถึงการละธรรมเหล่าใด สาวกทั้งหลายไม่ละธรรม เหล่านั้น อันวิญญูชนพึงติเตียนได้ด้วยสถานที่สามนี้ว่า สาวกทั้งหลายเป็นผู้มักมาก ย่อหย่อน เป็นหัวหน้าในการท้อถอย ทอดธุระในความสงัด. ภิกษุผู้เถระ อันวิญญูชนพึงติเตียนด้วยเหตุ สามสถานเหล่านี้. บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุผู้มัชฌิมะ อันวิญญูชนพึงติเตียนได้ด้วยเหตุสามสถาน คือ อันวิญญูชนพึงติเตียนได้ด้วยสถานที่หนึ่งนี้ว่า เมื่อพระศาสดาเสด็จอยู่สงัดแล้ว สาวกทั้งหลาย ไม่ศึกษาความสงัดตาม อันวิญญูชนพึงติเตียนได้ด้วยสถานที่สองนี้ว่า พระศาสดาตรัสถึงการ ละธรรมเหล่าใด สาวกทั้งหลายไม่ละธรรมเหล่านั้น อันวิญญูชนพึงติเตียนได้ด้วยสถานที่สามนี้ว่า สาวกทั้งหลายเป็นผู้มักมาก ย่อหย่อน เป็นหัวหน้าในการท้อถอย ทอดธุระในความสงัด. ภิกษุผู้ มัชฌิมะ อันวิญญูชนพึงติเตียนได้ด้วยเหตุสามสถานเหล่านี้. บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุผู้นวกะ อันวิญญูชนพึงติเตียนได้ด้วยเหตุสามสถาน คือ อันวิญญูชนพึงติเตียนได้ด้วยสถานที่หนึ่งนี้ว่า เมื่อพระศาสดาเสด็จอยู่สงัดแล้ว สาวกทั้งหลายไม่ ศึกษาความสงัดตาม อันวิญญูชนพึงติเตียนได้ด้วยสถานที่สองนี้ว่า พระศาสดาตรัสถึงการละธรรม เหล่าใด สาวกทั้งหลายไม่ละธรรมเหล่านั้น อันวิญญูชนพึงติเตียนได้ด้วยสถานที่สามนี้ว่า สาวก ทั้งหลายเป็นผู้มักมาก ย่อหย่อน เป็นหัวหน้าในการท้อถอย ทอดธุระในความสงัด. ภิกษุผู้นวกะ อันวิญญูชนพึงติเตียนได้ด้วยเหตุสามสถานเหล่านี้. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อพระศาสดาเสด็จอยู่สงัดแล้ว สาวกทั้งหลายชื่อว่าไม่ศึกษา ความสงัดตาม ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล.
การตามศึกษาเรื่องความสงัด
[๒๕] ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็เมื่อพระศาสดาเสด็จอยู่สงัดแล้ว สาวกทั้งหลาย ย่อมศึกษาความสงัดตาม ด้วยเหตุเพียงเท่าไร? ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อพระศาสดาเสด็จ อยู่สงัดแล้ว สาวกทั้งหลายในพระธรรมวินัยนี้ย่อมศึกษาความสงัดตาม คือ พระศาสดาตรัสถึง การละธรรมเหล่าใด สาวกทั้งหลายละธรรมเหล่านั้น ไม่เป็นผู้มักมาก ไม่เป็นผู้ย่อหย่อนทอดธุระ ในการท้อถอย เป็นหัวหน้าในความสงัด. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บรรดาสาวกเหล่านั้น ภิกษุผู้เป็นเถระ อันวิญญูชนพึงสรรเสริญ ด้วยเหตุสามสถาน คือ อันวิญญูชนพึงสรรเสริญด้วยสถานที่หนึ่งนี้ว่า เมื่อพระศาสดาเสด็จอยู่ สงัดแล้ว สาวกทั้งหลายศึกษาความสงัดตาม อันวิญญูชนพึงสรรเสริญด้วยสถานที่สองนี้ว่า พระ- *ศาสดาตรัสถึงการละธรรมเหล่าใด สาวกทั้งหลายละธรรมเหล่านั้น อันวิญญูชนพึงสรรเสริญด้วย สถานที่สามนี้ว่า สาวกทั้งหลายไม่เป็นผู้มักมาก ไม่เป็นผู้ย่อหย่อน ทอดธุระในความท้อถอย เป็นหัวหน้าในความสงัด ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระ อันวิญญูชนพึงสรรเสริญด้วย เหตุสามสถานเหล่านี้. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บรรดาสาวกเหล่านั้น ภิกษุผู้มัชฌิมะ อันวิญญูชนพึงสรรเสริญ ด้วยเหตุสามสถาน คือ อันวิญญูชนพึงสรรเสริญด้วยสถานที่หนึ่งนี้ว่า เมื่อพระศาสดาเสด็จอยู่สงัด แล้ว สาวกทั้งหลายศึกษาความสงัดตาม อันวิญญูชนพึงสรรเสริญด้วยสถานที่สองนี้ว่า พระ- *ศาสดาตรัสถึงการละธรรมเหล่าใด สาวกทั้งหลายละธรรมเหล่านั้น อันวิญญูชนพึงสรรเสริญด้วย สถานที่สามนี้ว่า สาวกทั้งหลายไม่เป็นผู้มักมาก ไม่เป็นผู้ย่อหย่อน ทอดธุระในความท้อถอย เป็นหัวหน้าในความสงัด ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้มัชฌิมะ อันวิญญูชนพึงสรรเสริญ ด้วยเหตุสามสถานเหล่านี้. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บรรดาสาวกเหล่านั้น ภิกษุผู้นวกะ อันวิญญูชนพึงสรรเสริญ ด้วยเหตุสามสถาน คือ อันวิญญูชนพึงสรรเสริญด้วยสถานที่หนึ่งนี้ว่า เมื่อพระศาสดาเสด็จอยู่ สงัดแล้ว สาวกทั้งหลายศึกษาความสงัดตาม อันวิญญูชนพึงสรรเสริญด้วยสถานที่สองนี้ว่า พระศาสดาตรัสถึงการละธรรมเหล่าใด สาวกทั้งหลายละธรรมเหล่านั้น อันวิญญูชนพึงสรรเสริญ ด้วยสถานที่สามนี้ว่า สาวกทั้งหลายไม่เป็นผู้มักมาก ไม่เป็นผู้ย่อหย่อน ทอดธุระในความท้อถอย เป็นหัวหน้าในความสงัด ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้นวกะ อันวิญญูชนพึงสรรเสริญด้วย เหตุสามสถานเหล่านี้. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อพระศาสดาเสด็จอยู่สงัดแล้ว สาวกทั้งหลาย ชื่อว่าศึกษา ความสงัดตาม ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล. [๒๖] ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บรรดาธรรมดังกล่าวแล้วนั้น โลภะและโทสะ เป็น ธรรมลามก มัชฌิมาปฏิปทา เพื่อละโลภะและโทสะมีอยู่ ทำความเห็น ทำความรู้ ย่อมเป็นไปเพื่อ เข้าไประงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็มัชฌิมาปฏิปทานั้น ทำความเห็น ทำความรู้ ย่อมเป็นไปเพื่อเข้าไประงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน เป็นไฉน? อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล คือ เห็นชอบ ดำริชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจมั่นชอบ. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย มัชฌิมาปฏิปทา นี้นั้นแล ทำความเห็น ทำความรู้ เป็นไปเพื่อเข้าไประงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน.
การปฏิบัติสายกลาง
ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บรรดาธรรมดังกล่าวแล้วนั้น ความโกรธและความผูกโกรธไว้ เป็นธรรมลามก ... ความลบหลู่และความตีเสมอ เป็นธรรมลามก ... ความริษยาและความตระหนี่ เป็นธรรมลามก ... ความเจ้าเล่ห์และความโอ้อวด เป็นธรรมลามก ... ความหัวดื้อและความแข่งดี เป็นธรรมลามก ... ความถือตัวและความดูหมิ่น เป็นธรรมลามก ... ความเมาและความเลินเล่อ เป็น ธรรมลามก มัชฌิมาปฏิปทาเพื่อละความเมาและความเลินเล่อมีอยู่ ทำความเห็น ทำความรู้ ย่อม เป็นไปเพื่อเข้าไประงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย มัชฌิมาปฏิปทานั้น ทำความเห็น ทำความรู้ ย่อมเป็นไปเพื่อเข้าไประงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อ ตรัสรู้ เพื่อนิพพาน เป็นไฉน? อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล คือ เห็นชอบ ดำริชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจมั่นชอบ. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย มัชฌิมาปฏิปทานี้แล ทำความเห็น ทำความรู้ ย่อมเป็นไปเพื่อเข้าไประงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อ ตรัสรู้ เพื่อนิพพาน. ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจชื่นชม ยินดีภาษิตของท่าน พระสารีบุตร ฉะนี้แล.
จบ ธรรมทายาทสูตร ที่ ๓
-----------------------------------------------------
๔. ภยเภรวสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นภัยและน่าหวาดกลัว
[๒๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ชาณุโสณีพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. [๒๘] ชาณุโสณีพราหมณ์นั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม กุลบุตรเหล่าใดมีศรัทธา ออกบวชเป็นบรรพชิต อุทิศเฉพาะท่านพระโคดม ท่านพระโคดมทรงเป็นหัวหน้าของกุลบุตรเหล่านั้น ทรงมีอุปการะมากแก่กุลบุตรเหล่านั้น ทรงยัง กุลบุตรเหล่านั้นให้ถือเอาตาม และประชุมชนนั้น ย่อมปฏิบัติตามแบบอย่างของท่านพระโคดม หรือ? พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์ ข้อนี้อย่างนั้น ดูกรพราหมณ์ ข้อนี้อย่างนั้น กุลบุตรเหล่าใดมีศรัทธา ออกบวชเป็นบรรพชิตอุทิศเฉพาะเรา เราเป็นหัวหน้าของกุลบุตรเหล่านั้น มีอุปการะมากแก่กุลบุตรเหล่านั้น ยังกุลบุตรเหล่านั้นให้ถือเอาตาม และประชุมชนนั้น ย่อม ปฏิบัติตามแบบอย่างของเรา. [๒๙] ชา. ข้าแต่ท่านพระโคดม เสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว ยากที่จะเป็นอยู่ได้ ในภาวะที่โดดเดี่ยว ความสงัดกาย ยากที่จะทำได้ ยากที่จะยินดีได้ ป่าทั้งหลาย ประหนึ่งจะชักพาใจของภิกษุผู้ยังไม่ได้สมาธิไปเสีย. ภ. ข้อนี้เป็นอย่างนั้น พราหมณ์ ข้อนี้เป็นอย่างนั้น พราหมณ์ เสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว ยากที่จะเป็นอยู่ได้ ในภาวะที่โดดเดี่ยว ความสงัดกาย ยากที่จะ ทำได้ ยากที่จะยินดีได้ ป่าทั้งหลายประหนึ่งจะชักพาใจของพระภิกษุผู้ยังไม่ได้สมาธิไปเสีย. [๓๐] ภ. ดูกรพราหมณ์ แม้เราเมื่อเป็นโพธิสัตว์ ยังมิได้ตรัสรู้ก่อนตรัสรู้ทีเดียว ได้มีความดำริดังนี้ว่า เสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว ยากที่จะเป็นอยู่ได้ ในภาวะ ที่โดดเดี่ยว ความสงัดกาย ยากที่จะทำได้ ยากที่จะยินดีได้ ป่าทั้งหลายประหนึ่งว่าจะชักพาใจ ของภิกษุผู้ยังไม่ได้สมาธิไปเสีย. [๓๑] ดูกรพราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริดังนี้ว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด เหล่าหนึ่ง มีกายกรรมไม่บริสุทธิ์ ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ย่อมเรียกร้องความกลัวและความขลาดอันเป็นอกุศล เพราะโทษ ของตน คือ มีกายกรรมไม่บริสุทธิ์เป็นเหตุ. ส่วนเรามีกายกรรมไม่บริสุทธิ์ เสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว หามิได้ เราเป็นผู้มีกายกรรมบริสุทธิ์. พระอริยะเหล่าใด มีกายกรรม บริสุทธิ์ ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว บรรดาพระอริยะเหล่านั้น เราก็ เป็นพระอริยะองค์หนึ่ง ดูกรพราหมณ์ เราเห็นชัดซึ่งความเป็นผู้มีกายกรรมอันบริสุทธิ์นี้ในตน จึงถึงความเป็นผู้มีขนตกโดยยิ่ง เพื่ออยู่ในป่า.
ทรงกำหนดรู้เสนาสนะ ๑๖
[๓๒] ดูกรพราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริดังนี้ว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง มีวจีกรรมไม่บริสุทธิ์ ... มีมโนกรรมไม่บริสุทธิ์ ... มีอาชีวะไม่บริสุทธิ์ ย่อมเสพเสนาสนะอัน สงัดที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ย่อมเรียกร้องความกลัวและ ความขลาดอันเป็นอกุศล เพราะโทษของตน คือ มีอาชีวะไม่บริสุทธิ์เป็นเหตุ ส่วนเรามีอาชีวะไม่ บริสุทธิ์เสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยวหามิได้ เราเป็นผู้มีอาชีวะบริสุทธิ์. พระอริยะเหล่าใดมีอาชีวะบริสุทธิ์ เสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว บรรดา- *พระอริยะเหล่านั้น เราก็เป็นองค์หนึ่ง ดูกรพราหมณ์ เราเห็นชัดซึ่งความเป็นผู้มีอาชีวะบริสุทธิ์ นี้ในตนจึงถึงความเป็นผู้มีขนตกโดยยิ่ง เพื่ออยู่ในป่า. [๓๓] ดูกรพราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริดังนี้ว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง มีความอยากได้ มีราคะกล้าในกามทั้งหลาย ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็น ป่าเปลี่ยว สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ย่อมเรียกร้องความกลัวและความขลาดอันเป็นอกุศล เพราะโทษของตน คือ มีความอยากได้มากและมีราคะกล้าในกามทั้งหลายเป็นเหตุ ดูกรพราหมณ์ ส่วนเรามีความอยากได้มาก มีราคะกล้าในกามทั้งหลาย เสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็น ป่าเปลี่ยว หามิได้ เราเป็นผู้ไม่มีความอยากได้. พระอริยะเหล่าใด ไม่มีความอยากได้ เสพเสนาสนะ อันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว บรรดาพระอริยะเหล่านั้น เราก็เป็นองค์หนึ่ง ดูกรพราหมณ์ เราเห็นชัดซึ่งความเป็นผู้ไม่มีความอยากได้นี้ในตน จึงถึงความเป็นผู้มีขนตกโดยยิ่ง เพื่ออยู่ ในป่า. [๓๔] ดูกรพราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริดังนี้ว่าสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง มีจิตพยาบาท มีความดำริในใจชั่ว ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ย่อมเรียกร้องความกลัวและความขลาดอันเป็นอกุศล เพราะโทษ ของตน คือ ความมีจิตพยาบาทและมีความดำริในใจชั่วเป็นเหตุ. ส่วนเรามีจิตพยาบาท มีความ ดำริในใจชั่ว เสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว หามิได้ เราเป็นผู้มีจิตประกอบ ด้วยเมตตา. พระอริยะเหล่าใด มีจิตประกอบด้วยเมตตา เสพเสนาสนะอันสงัดที่เป็นป่าและ เป็นป่าเปลี่ยว บรรดาพระอริยะเหล่านั้น เราก็เป็นองค์หนึ่ง ดูกรพราหมณ์ เราเห็นชัดซึ่งความ เป็นผู้มีจิตประกอบด้วยเมตตานี้ในตน จึงถึงความเป็นผู้มีขนตกโดยยิ่ง เพื่ออยู่ในป่า. [๓๕] ดูกรพราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริอย่างนี้ว่า สมณะหรือพราหมณ์ เหล่าใด เหล่าหนึ่ง อันถีนมิทธะกลุ้มรุมแล้ว ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ย่อมเรียกร้องความกลัวและความขลาดอันเป็นอกุศล เพราะโทษ ของตน คือ ถูกถีนมิทธะกลุ้มรุมเป็นเหตุ. ส่วนเราอันถีนมิทธะกลุ้มรุมแล้ว เสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว หามิได้ เราเป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ พระอริยะเหล่าใด ปราศจาก ถีนมิทธะ เสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว บรรดาพระอริยะเหล่านั้น เราก็ เป็นองค์หนึ่ง ดูกรพราหมณ์ เราเห็นชัดซึ่งความเป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะนี้ในตน จึงถึงความเป็น ผู้มีขนตกโดยยิ่ง เพื่ออยู่ในป่า. [๓๖] ดูกรพราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริดังนี้ว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่า หนึ่ง ฟุ้งซ่าน มีจิตไม่สงบระงับ ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ย่อมเรียกร้องความกลัวและความขลาดอันเป็นอกุศล เพราะโทษ ของตน คือ ความฟุ้งซ่านและมีจิตไม่สงบ ระงับเป็นเหตุ. ดูกรพราหมณ์ ส่วนเราฟุ้งซ่าน มีจิตไม่สงบระงับ เสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว หามิได้ เราเป็นผู้จิตสงบ ระงับแล้ว. พระอริยะเหล่าใด มีจิตสงบระงับ เสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็น ป่าเปลี่ยว บรรดาพระอริยะเหล่านั้น เราก็เป็นองค์หนึ่ง ดูกรพราหมณ์ เราเห็นชัดซึ่งความเป็น ผู้มีจิตสงบระงับนี้ในตน จึงถึงความเป็นผู้มีขนตกโดยยิ่ง เพื่ออยู่ในป่า. [๓๗] ดูกรพราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริดังนี้ว่า สมณะหรือพราหมณ์ เหล่าใด เหล่าหนึ่ง มีความสงสัยเคลือบแคลง ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ย่อมเรียกร้องความกลัวและความขลาดอันเป็นอกุศล เพราะโทษ ของตน คือ มีความสงสัยและเคลือบแคลงเป็นเหตุ, ส่วนเรามีความสงสัยเคลือบแคลง เสพ- *เสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว หามิได้ เราเป็นผู้ข้ามความเคลือบแคลงเสียแล้ว. พระอริยะเหล่าใด ข้ามความเคลือบแคลงเสียแล้ว เสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็น ป่าเปลี่ยว บรรดาพระอริยะเหล่านั้น เราก็เป็นองค์หนึ่ง ดูกรพราหมณ์ เราเห็นชัดซึ่งความ เป็นผู้ข้ามความเคลือบแคลงนี้ในตน จึงถึงความเป็นผู้มีขนตกโดยยิ่ง เพื่ออยู่ในป่า. [๓๘] ดูกรพราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริดังนี้ว่า สมณะหรือพราหมณ์ เหล่าใด เหล่าหนึ่ง ยกตนข่มผู้อื่น ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ย่อมเรียกร้องความกลัวและความขลาดอันเป็นอกุศล เพราะโทษ ของตน คือ ความยกตนและข่มผู้อื่นเป็นเหตุ. ส่วนเรายกตน ข่มผู้อื่น. เสพเสนาสนะ อันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว หามิได้ เราเป็นผู้ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น. พระอริยะเหล่าใด เป็นผู้ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว บรรดาพระ อริยะเหล่านั้น เราก็เป็นองค์หนึ่ง ดูกรพราหมณ์ เราเห็นชัดซึ่งความเป็นผู้ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น นี้ในตน จึงถึงความเป็นผู้มีขนตกโดยยิ่ง เพื่ออยู่ในป่า. [๓๙] ดูกรพราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริดังนี้ว่า สมณะหรือพราหมณ์ เหล่าใด เหล่าหนึ่ง เป็นผู้หวาดหวั่น มีชาติแห่งคนขลาด ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็น ป่าเปลี่ยว สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ย่อมเรียกร้องความกลัวและความขลาดเป็นอันอกุศล เพราะโทษของตน คือ มีความหวาดหวั่นและมีชาติแห่งคนขลาดเป็นเหตุ. ส่วนเราเป็นผู้หวาดหวั่น มีชาติแห่งคนขลาด เสพเสนาสนะอันสงัดที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว หามิได้ เราเป็นผู้ปราศจาก ความหวาดกลัว. พระอริยะเหล่าใด ปราศจากความหวาดกลัว เสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่า และเป็นป่าเปลี่ยว บรรดาพระอริยะเหล่านั้น เราก็เป็นองค์หนึ่ง ดูกรพราหมณ์ เราเห็นชัดซึ่ง ความเป็นผู้ปราศจากความหวาดกลัวนี้ในตน จึงถึงความเป็นผู้มีขนตกโดยยิ่ง เพื่ออยู่ในป่า. [๔๐] ดูกรพราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริดังนี้ว่า สมณะหรือพราหมณ์ เหล่าใด เหล่าหนึ่ง ปรารถนาลาภสักการะและความสรรเสริญ ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็น ป่าเปลี่ยว สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ย่อมเรียกร้องความกลัวและความขลาดอันเป็นอกุศล เพราะโทษของตน คือ ความปรารถนาลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นเหตุ. ส่วนเราปรารถนา ลาภสักการะและความสรรเสริญ เสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว หามิได้ เรา เป็นผู้มีความปรารถนาน้อย. พระอริยะเหล่าใด มีความปรารถนาน้อย เสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว บรรดาพระอริยะเหล่านั้น เราก็เป็นองค์หนึ่ง ดูกรพราหมณ์ เราเห็น ชัดซึ่งความเป็นผู้ปรารถนาน้อยนี้ในตน จึงถึงความเป็นผู้มีขนตกโดยยิ่ง เพื่ออยู่ในป่า. [๔๑] ดูกรพราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริดังนี้ว่า สมณะหรือพราหมณ์ เหล่าใด เหล่าหนึ่ง เป็นผู้เกียจคร้าน มีความเพียรเลวทราม ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่า และเป็นป่าเปลี่ยว สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ย่อมเรียกร้องความกลัวและความขลาดอันเป็น อกุศล เพราะโทษของตน คือความเป็นผู้เกียจคร้านและมีความเพียรเลวทรามเป็นเหตุ. ส่วนเรา เป็นผู้เกียจคร้าน มีความเพียรเลวทราม เสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว หามิได้ เราเป็นผู้ปรารภความเพียร. พระอริยะเหล่าใด ปรารภความเพียร เสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว บรรดาพระอริยะเหล่านั้น เราก็เป็นองค์หนึ่ง ดูกรพราหมณ์ เราเห็นชัด ซึ่งความเป็นผู้ปรารภความเพียรนี้ในตน จึงถึงความเป็นผู้มีขนตกโดยยิ่ง เพื่ออยู่ในป่า. [๔๒] ดูกรพราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริดังนี้ว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด เหล่าหนึ่ง มีสติหลงลืม ไม่มีสัมปชัญญะ ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมเรียกร้องความกลัวและความขลาดอันเป็นอกุศล เพราะโทษของตน คือ ความเป็นผู้มีสติหลงและไม่มีสัมปชัญญะเป็นเหตุ. ส่วนเรามีสติหลงลืม ไม่มีสัมปชัญญะ เสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว หามิได้ เราเป็นผู้มีสติตั้งมั่น. พระอริยะ เหล่าใดมีสติตั้งมั่น เสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว บรรดาพระอริยะเหล่านั้น เราก็เป็นองค์หนึ่ง ดูกรพราหมณ์ เราเห็นชัดซึ่งความเป็นผู้มีสติตั้งมั่นนี้ในตน จึงถึงความเป็นผู้ มีขนตกโดยยิ่ง เพื่ออยู่ในป่า. [๔๓] ดูกรพราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริดังนี้ว่า สมณะหรือพราหมณ์ เหล่าใด เหล่าหนึ่ง มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตหมุนไปผิด ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ย่อมเรียกร้องความกลัวและความขลาดอันเป็นอกุศล เพราะโทษ ของตน คือ ความเป็นผู้มีจิตไม่ตั้งมั่นและมีจิตหมุนไปผิดเป็นเหตุ. ส่วนเรามีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิต หมุนไปผิด เสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว หามิได้ เราเป็นผู้ถึงพร้อมด้วย สมาธิ. พระอริยะเหล่าใด ถึงพร้อมด้วยสมาธิ เสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว บรรดาพระอริยะเหล่านั้น เราก็เป็นองค์หนึ่ง ดูกรพราหมณ์ เราเห็นชัดซึ่งความพร้อมด้วยสมาธิ นี้ในตน จึงถึงความเป็นผู้มีขนตกโดยยิ่ง เพื่ออยู่ในป่า. [๔๔] ดูกรพราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริดังนี้ว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง มีปัญญาทราม เป็นใบ้ ย่อมเสพเสนาสนะ ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว สมณพราหมณ์ผู้เจริญ เหล่านั้น ย่อมเรียกร้องความกลัวและความขลาดอันเป็นอกุศล เพราะโทษของตน คือ ความ เป็นผู้มีปัญญาทรามและเป็นใบ้เป็นเหตุ ส่วนเรามีปัญญาทราม เป็นใบ้ เสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยวหามิได้ เราเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา. พระอริยะเหล่าใด ถึงพร้อม ด้วยปัญญาเสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว บรรดาพระอริยะเหล่านั้น เราก็ เป็นองค์หนึ่ง ดูกรพราหมณ์ เราเห็นชัดซึ่งความถึงพร้อมด้วยปัญญานี้ในตน จึงถึงความเป็นผู้ มีขนตกโดยยิ่ง เพื่ออยู่ในป่า.
จบปริยาย ๑๖
[๔๕] ดูกรพราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริว่า ไฉนหนอ เราพึงอยู่ในราตรีที่รู้กัน ที่ กำหนดกันว่า ที่สิบสี่ ที่สิบห้า และที่แปดแห่งปักข์เห็นปานนั้น พึงอยู่ในเสนาสนะ คือ อารามเจดีย์ วนเจดีย์ รุกขเจดีย์ อันน่าสะพึงกลัว น่าขนพองสยองเกล้า เห็นปานนั้น. ถ้ากระไร เราพึงเห็นความกลัวและความขลาดนั้น ดังนี้. ดูกรพราหมณ์ โดยสมัยอื่น เรานั้นอยู่ในราตรีที่รู้กัน ที่กำหนดกันว่า ที่สิบสี่ ที่สิบห้า และที่แปดแห่งปักข์ เห็นปานนั้น อยู่ในเสนาสนะ คือ อารามเจดีย์ วนเจดีย์ รุกขเจดีย์ อันน่าสะพึงกลัว น่าขนพองสยองเกล้า เห็นปานนั้น ดูกร พราหมณ์ ก็เมื่อเราอยู่ในเสนาสนะนั้น เนื้อมาก็ดี นกยูงทำไม้ให้ตกลงมาก็ดี หรือว่าลมพัด ใบไม้ให้ตกลงมาก็ดี. ดูกรพราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริอย่างนี้ว่า ความกลัวและความขลาดนั่น นั้นมาเป็นแน่. เรานั้นได้มีความดำริว่า อย่างไรหนอ เราจึงเป็นผู้หวังภัยอยู่โดยแท้ ไฉนหนอ ความกลัวและความขลาดนั้น ย่อมมาถึงเราผู้เป็นอยู่อย่างไรๆ เราผู้เป็นอยู่อย่างนั้นๆ แล พึง กำจัดความกลัวและความขลาดนั้นเสีย ดังนี้. ดูกรพราหมณ์ ความกลัวและความขลาดนั้น ย่อมมาถึงเราผู้กำลังเดินจงกรมอยู่. เรานั้น จะไม่ยืน ไม่นั่ง ไม่นอนเลย ตราบที่เรายังเดินจงกรมอยู่ ย่อมกำจัดความกลัวและความขลาด นั้นได้. ดูกรพราหมณ์ เมื่อเรานั้นยืนอยู่ ความกลัวและความขลาดนั้นย่อมมา. เรานั้นจะไม่เดิน จงกรม ไม่นั่ง ไม่นอนเลย ตราบเท่าที่เรายังยืนอยู่ ย่อมกำจัดความกลัวและความขลาดนั้นได้. ดูกรพราหมณ์ เมื่อเรานั้นนั่งอยู่ ความกลัวความขลาดนั้นย่อมมา. เรานั้นจะไม่นอน ไม่ยืน ไม่เดินจงกรมเลย ตราบเท่าที่เรายังนั่งอยู่ ย่อมกำจัดความกลัวและความขลาดนั้นได้. ดูกรพราหมณ์ เมื่อเรานั้นนอนอยู่ ความกลัวและความขลาดนั้นย่อมมา. เรานั้นจะไม่ นั่ง ไม่ยืน ไม่เดินจงกรมเลย ตราบเท่าที่เรายังนอนอยู่ ย่อมกำจัดความกลัวและความขลาด นั้นได้.
สัตว์ผู้ไม่ลุ่มหลง
[๔๖] ดูกรพราหมณ์ มีอยู่ สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ย่อมสำคัญกลางคืนแท้ๆ ว่า กลางวัน ย่อมสำคัญกลางวันแท้ๆ ว่า กลางคืน เราย่อมกล่าวความสำคัญอย่างนี้ ในเพราะอยู่ ด้วยความหลงของสมณพราหมณ์เหล่านั้น. ดูกรพราหมณ์ ส่วนเราย่อมสำคัญกลางคืนว่า กลาง คืน ย่อมสำคัญกลางวันว่า กลางวัน. ดูกรพราหมณ์ บุคคลเมื่อจะกล่าวให้ถูก พึงกล่าวคำใดว่า สัตว์ผู้มีความไม่หลงเป็นธรรมดา เกิดขึ้นในโลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อ ความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย, บุคคลเมื่อจะกล่าวให้ถูก พึงกล่าวคำนั้นกะเราเท่านั้นว่า สัตว์ผู้มีความไม่ หลงเป็นธรรมดา เกิดขึ้นในโลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชน เป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ ทั้งหลาย. [๔๗] ดูกรพราหมณ์ ความเพียรเราได้ปรารภแล้ว ไม่ย่อหย่อน สติตั้งมั่นไม่ฟั่นเฟือน กายสงบระงับแล้ว ไม่ระส่ำระสาย จิตตั้งมั่น มีอารมณ์แน่วแน่ ดูกรพราหมณ์ เรานั้นสงัด จากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกมีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุ ทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในกายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะ วิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เพราะมีปีติสิ้นไป มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะและ เสวยสุขด้วยกาย บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยสาวกทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มี อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับ โสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่.
ทรงบรรลุวิชชาในราตรีทั้ง ๓
[๔๘] เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลสเครื่องยียวน ปราศจาก อุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ถึงความไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไป เพื่อบุพเพนิวาสานุสสติญาณ. เรานั้นย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกชาติ หนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏวิวัฏกัปเป็น อันมากบ้างว่า ในภพโน้นเรามีชื่อย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหาร อย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้น แล้ว ได้มาเกิดในภพนี้. เราย่อมระลึกถึงขันธ์ที่เคยอยู่อาศัยได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้. ดูกรพราหมณ์ วิชชาที่หนึ่งนี้แล เราบรรลุแล้ว ในปฐมยาม แห่งราตรี กำจัดอวิชชาเสียได้ วิชชาก็เกิดขึ้น กำจัดความมืดเสียได้ ความสว่างก็เกิดขึ้น เหมือนเมื่อบุคคลไม่ประมาท มีความเพียรเผากิเลสให้เร่าร้อน ส่งตนไปแล้วอยู่ ฉะนั้น. [๔๙] เรานั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลสเครื่องยียวน ปราศจาก อุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ถึงความไม่หวั่นไหวอย่างนี้ โน้มน้อมจิตไปเพื่อรู้จุติ และอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย. เรานั้นเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิว พรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อม รู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยะ เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เมื่อตายไป เขาเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียน พระอริยะ เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ เมื่อตายไปเขาเข้าถึงสุคติโลก สวรรค์ดังนี้. เรานั้นย่อมเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลวประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณ ทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็น ไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้. ดูกรพราหมณ์ วิชชาที่สองนี้แล เราบรรลุแล้วในมัชฌิมยาม แห่งราตรี กำจัดอวิชชาเสียได้ วิชชาก็เกิดขึ้น กำจัดความมืดเสียได้ ความสว่างก็เกิดขึ้น เหมือนเมื่อบุคคลไม่ประมาท มีความเพียรเผากิเลสให้เร่าร้อน ส่งตนไปแล้วอยู่ ฉะนั้น. [๕๐] เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลสเครื่องยียวน ปราศจาก อุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ถึงความไม่หวั่นไหวอย่างนี้ โน้มน้อมจิตไปเพื่อ อาสวักขยญาณ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกข์สมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เหล่านี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา. เมื่อเรานั้นรู้เห็นอย่างนี้ จิตก็หลุดพ้น แม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มี ญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว ได้รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำ เสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี. ดูกรพราหมณ์ วิชชาที่สามนี้แล เราบรรลุแล้ว ในปัจฉิมยามแห่งราตรี กำจัดอวิชชาเสียได้แล้ว วิชชาก็เกิดขึ้น กำจัดความมืดเสียได้แล้ว ความ สว่างก็เกิดขึ้นเหมือนเมื่อบุคคลไม่ประมาท มีความเพียรเผากิเลสให้เร่าร้อน ส่งตนไปแล้วอยู่ ฉะนั้น. [๕๑] ดูกรพราหมณ์ บางคราว ท่านจะพึงมีความดำริอย่างนี้ว่า แม้วันนี้พระสมณโคดม ยังไม่ปราศจากราคะ ยังไม่ปราศจากโทสะ ยังไม่ปราศจากโมหะแน่นอน เพราะฉะนั้น จึงยังเสพ เสนาสนะอันสงัด ทั้งที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยวอยู่ ดังนี้. ดูกรพราหมณ์ ข้อนี้ ท่านอย่าเห็นอย่าง นั้นเลย. ดูกรพราหมณ์ เราเห็นอำนาจประโยชน์สองอย่าง คือ เห็นความอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ของตนหนึ่ง อนุเคราะห์ประชุมชนผู้เกิด ณ ภายหลังหนึ่ง จึงเสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่า และเป็นป่าเปลี่ยว.
ชาณุโสณีพราหมณ์ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ
[๕๒] ชา. ประชุมชนผู้เกิด ณ ภายหลังนี้ เป็นอันท่านพระโคดมอนุเคราะห์อยู่แล้ว เพราะท่านเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิต ของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระโคดมผู้เจริญ ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือน บุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยหวังว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูป ฉะนั้น ข้าพเจ้านี้ขอถึงท่านพระโคดม พระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ ว่าเป็น สรณะ ขอท่านพระโคดมจงจำข้าพเจ้าว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ดังนี้แล.
จบ ภยเภรวสูตร
-----------------------------------------------------
๕. อนังคณสูตร
ว่าด้วยผู้ไม่มีกิเลส
[๕๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุ เหล่านั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว.
บุคคล ๔ จำพวก
[๕๔] ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคล ๔ พวก เหล่านี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ๔ พวกนั้นเป็นไฉน? ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนใน โลกนี้ มีกิเลส แต่ไม่รู้ตามเป็นจริงว่า เรามีกิเลสในภายใน. อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ มี กิเลส รู้ตามเป็นจริงว่า เรามีกิเลสในภายใน. บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่มีกิเลส แต่ไม่รู้ตาม เป็นจริงว่า เราไม่มีกิเลสในภายใน อนึ่ง บุคคลในโลกนี้ ไม่มีกิเลส รู้ตามเป็นจริงว่า เราไม่มี กิเลสในภายใน. ในบุคคล ๔ พวกนั้น บุคคลใดมีกิเลส แต่ไม่รู้ตามเป็นจริงว่า เรามีกิเลสในภายใน บุคคลสองพวกที่มีกิเลสเหมือนกันนี้ บุคคลนี้ บัณฑิตกล่าวว่า เป็นบุรุษเลวทราม. ในบุคคล ๔ พวกนั้น บุคคลใดมีกิเลส รู้ตามเป็นจริงว่า เรามีกิเลสในภายใน บุคคลสองพวกที่มีกิเลส เหมือนกันนี้ บุคคลนี้ บัณฑิตกล่าวว่าเป็นบุรุษประเสริฐ. ในบุคคล ๔ พวกนั้น บุคคลไม่มีกิเลส แต่ไม่รู้ตามเป็นจริงว่า เราไม่มีกิเลสในภายใน บุคคลสองพวกที่ไม่มีกิเลสเหมือนกันนี้ บุคคลนี้ บัณฑิตกล่าวว่า เป็นบุรุษเลวทราม. ในบุคคล ๔ พวกนั้น บุคคลใดไม่มีกิเลสรู้ตามเป็นจริงว่า เราไม่มีกิเลสในภายใน บุคคลสองพวกที่ไม่มี กิเลสเหมือนกันนี้ บุคคลนี้บัณฑิตกล่าวว่า เป็นบุรุษประเสริฐ. [๕๕] เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวคำนี้ กะท่านพระสารีบุตรว่า ดูกรพระสารีบุตรผู้มีอายุ อะไรหนอเป็นเหตุ อะไรหนอเป็นปัจจัย ที่เป็น เครื่องทำให้บุคคลสองพวก ผู้มีกิเลสเหมือนกันนี้ คนหนึ่ง บัณฑิตกล่าวว่า เป็นบุรุษเลวทราม คนหนึ่งบัณฑิตกล่าวว่า เป็นบุรุษประเสริฐ ดูกรพระสารีบุตรผู้มีอายุ อะไรหนอเป็นเหตุ อะไร หนอเป็นปัจจัย ที่เป็นเครื่องทำให้บุคคลสองพวกผู้ไม่มีกิเลสเหมือนกันนี้ คนหนึ่งบัณฑิตกล่าวว่า เป็นบุรุษเลวทราม คนหนึ่งบัณฑิตกล่าวว่า เป็นบุรุษประเสริฐ. สา. ดูกรท่านผู้มีอายุ ในบุคคล ๔ พวกนั้น บุคคลใดมีกิเลส แต่ไม่รู้ตามเป็นจริงว่า เรามีกิเลสในภายใน ข้อนี้ อันบุคคลนั้นพึงหวังได้ คือ เขาจักไม่ยังความพอใจให้เกิด จักไม่ พยายาม จักไม่ปรารภความเพียร เพื่อละกิเลสนั้นเสีย. เขาจักเป็นผู้มีราคะ โทสะ โมหะ มี กิเลส มีจิตเศร้าหมอง ทำกาละ เหมือนภาชนะสัมฤทธิ์ ที่บุคคลนำมาแต่ร้านตลาด หรือแต่ สกุลช่างทอง อันละอองและสนิมจับอยู่โดยรอบ เจ้าของก็ไม่ใช้และไม่ขัดสีภาชนะสัมฤทธิ์นั้น ซ้ำเก็บมันไว้ในที่มีละออง เมื่อเป็นอย่างนี้ สมัยอื่น ภาชนะสัมฤทธิ์นั้น จะพึงเป็นของเศร้า หมอง สนิมจับยิ่งขึ้น ฉันใด. ม. อย่างนั้นหรือ ท่านผู้มีอายุ? สา. อย่างนั้นแหละ ท่านผู้มีอายุ บุคคลนี้ก็ฉันนั้น ยังมีกิเลส แต่ไม่รู้ตามเป็นจริงว่า เรามีกิเลสในภายใน ข้อนี้ อันบุคคลนั้นพึงหวังได้ คือ เขาจักไม่ยังความพอใจให้เกิด จักไม่ พยายาม จักไม่ปรารภความเพียร เพื่อละกิเลสนั้นเสีย. เขาจักเป็นผู้มีราคะ โทสะ โมหะ มีกิเลส มีจิตเศร้าหมอง ทำกาละ สา. ดูกรท่านผู้มีอายุ ในบุคคล ๔ พวกนั้น บุคคลใดมีกิเลส รู้ตามเป็นจริงว่า เรามี กิเลสในภายใน ข้อนี้ อันบุคคลอันพึงหวังได้ คือ เขาจักยังความพอใจให้เกิด จักพยายาม จักปรารภความเพียร เพื่อละกิเลสนั้นเสีย. เขาจักเป็นผู้ไม่มีราคะ โทสะ โมหะ ไม่มีกิเลส มีจิตไม่เศร้าหมอง ทำกาละ เปรียบเหมือนภาชนะสัมฤทธิ์ ที่บุคคลนำมาแต่ร้านตลาด หรือแต่ สกุลช่างทอง อันละอองและสนิมจับอยู่โดยรอบ เจ้าของใช้ขัดสีภาชนะสัมฤทธิ์นั้น และไม่ เก็บมันไว้ในที่มีละออง เมื่อเป็นเช่นนี้ สมัยอื่นภาชนะสัมฤทธิ์จะเป็นของหมดจดผ่องใส ฉันใด. ม. อย่างนั้นหรือ ท่านผู้มีอายุ? สา. อย่างนั้นแหละ ท่านผู้มีอายุ บุคคลนี้ก็ฉันนั้น มีกิเลส รู้ตามเป็นจริงว่า เรามีกิเลส ในภายใน ข้อนี้ อันบุคคลนั้นพึงหวังได้คือ เขาจักยังความพอใจให้เกิด จักพยายาม จักปรารภ ความเพียร เพื่อละกิเลสนั้นเสีย. เขาจักเป็นผู้ไม่มีราคะ โทสะ โมหะ ไม่มีกิเลส มีจิตไม่ เศร้าหมอง ทำกาละ. สา. ดูกรท่านผู้มีอายุ ในบุคคล ๔ พวกนั้น บุคคลใดไม่มีกิเลส แต่ไม่รู้ตามเป็นจริงว่า เราไม่มีกิเลสในภายใน ข้อนี้ อันบุคคลนั้นพึงหวังได้ คือ เขาจักมนสิการสุภนิมิต เพราะมนสิการ สุภนิมิตนั้น ราคะจักครอบงำจิตได้. เขาจักเป็นผู้มีราคะ โทสะ โมหะ มีกิเลส มีจิต เศร้าหมอง ทำกาละ. เปรียบเหมือนภาชนะสัมฤทธิ์ ที่บุคคลนำมาแต่ร้านตลาด หรือแต่สกุล ช่างทอง อันหมดจดผ่องใส แต่เจ้าของไม่ได้ใช้สอย ไม่ขัดสีภาชนะสัมฤทธิ์นั้น ซ้ำเก็บ มันไว้ในที่มีละออง เมื่อเป็นเช่นนี้ สมัยอื่น ภาชนะสัมฤทธิ์นั้น จะพึงเป็นของเศร้าหมอง สนิมจับ ฉันใด. ม. อย่างนั้นหรือ ท่านผู้มีอายุ? สา. อย่างนั้นแหละ ท่านผู้มีอายุ บุคคลนี้ ก็ฉันนั้น ไม่มีกิเลส แต่ไม่รู้ตามเป็น จริงว่า เราไม่มีกิเลสในภายใน ข้อนี้ อันบุคคลนั้นพึงหวังได้ คือ เขาจักมนสิการสุภนิมิต เพราะมนสิการสุภนิมิตนั้น ราคะจักครอบงำจิตได้. เขาจักเป็นผู้มีราคะ โทสะ โมหะ มีกิเลส มีจิตเศร้าหมอง ทำกาละ. สา. ดูกรท่านผู้มีอายุ ในบุคคล ๔ พวกนั้น บุคคลใดไม่มีกิเลส รู้ตามเป็นจริงว่า เราไม่มีกิเลสในภายใน ข้อนี้ อันบุคคลนั้นพึงหวังได้ คือ เขาจักไม่มนสิการสุภนิมิต เพราะ ไม่มนสิการสุภนิมิตนั้น ราคะจึงครอบงำจิตไม่ได้. เขาจักเป็นผู้ไม่มีราคะ โทสะ โมหะ ไม่มี กิเลส มีจิตไม่เศร้าหมอง ทำกาละ เปรียบเหมือนภาชนะสัมฤทธิ์ที่บุคคลนำมาแต่ร้านตลาด หรือ แต่สกุลช่างทองเป็นของหมดจด ผ่องใส เจ้าของใช้ ขัดสีภาชนะสัมฤทธิ์นั้น และไม่เก็บมันไว้ ในที่มีละออง เมื่อเป็นเช่นนี้ สมัยอื่น ภาชนะสัมฤทธิ์นั้น ก็พึงเป็นของหมดจดผ่องใสยิ่งขึ้น ฉันใด. ม. อย่างนั้นหรือ ท่านผู้มีอายุ?. สา. อย่างนั้นแหละ ท่านผู้มีอายุ บุคคลนี้ก็ฉันนั้น ไม่มีกิเลส รู้ตามเป็นจริงว่า เรา ไม่มีกิเลสในภายใน ข้อนี้ อันบุคคลนั้นพึงหวังได้ คือ เขาจักไม่มนสิการสุภนิมิต เพราะไม่ มนสิการสุภนิมิตนั้น ราคะจักครอบงำจิตไม่ได้. เขาจักเป็นผู้ไม่มีราคะ โทสะ โมหะ ไม่มีกิเลส มีจิตไม่เศร้าหมอง ทำกาละ. ดูกรท่านโมคคัลลานะ นี้แลเป็นเหตุ นี้แลเป็นปัจจัย ที่เป็นเครื่องทำให้บุคคลสองพวก ที่มีกิเลสเหมือนกันนี้ คนหนึ่ง บัณฑิตกล่าวว่า เป็นบุรุษเลวทราม คนหนึ่ง บัณฑิตกล่าวว่า เป็นบุรุษประเสริฐ อนึ่ง นี้แลเป็นเหตุ นี้แลเป็นปัจจัย ที่เป็นเครื่องทำให้บุคคลสองพวก ที่ ไม่มีกิเลสเหมือนกันนี้ คนหนึ่ง บัณฑิตกล่าวว่า เป็นบุรุษเลวทราม คนหนึ่ง บัณฑิตกล่าวว่า เป็นบุรุษประเสริฐ.
ว่าด้วยอังคณะ
[๕๖] ม. ดูกรท่านผู้มีอายุ คำที่ท่านกล่าวว่า อังคณะๆ ดังนี้ คำนั้นเป็นชื่อของอะไร หนอ? สา. ดูกรท่านผู้มีอายุ คำว่า อังคณะนี้ เป็นชื่อของอิจฉาวจร ที่เป็นบาปอกุศล. [๕๗] ดูกรท่านผู้มีอายุ ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงเกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า เราพึงเป็นผู้ต้องอาบัติหนอ แต่ภิกษุทั้งหลาย อย่าพึงรู้เราว่าต้องอาบัติเลย นี้เป็นฐานะที่จะมีได้. ภิกษุทั้งหลายพึงรู้ภิกษุนั้นว่า ต้องอาบัติ เธอก็จะโกรธ ไม่แช่มชื่นเพราะคิดว่า ภิกษุทั้งหลาย รู้เราว่า ต้องอาบัติ นี้เป็นฐานะที่จะมีได้. ความโกรธและความไม่แช่มชื่นทั้งสองนี้ ชื่อว่า อังคณะ. [๕๘] ดูกรท่านผู้มีอายุ ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงเกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า เราพึงเป็นผู้ต้องอาบัติหนอ ภิกษุทั้งหลายพึงโจทเราในที่ลับ ไม่พึงโจทเราในท่ามกลางสงฆ์ นี้ เป็นฐานะที่จะมีได้. ภิกษุทั้งหลายพึงโจทภิกษุนั้นในท่ามกลางสงฆ์ ไม่โจทในที่ลับ เธอก็จะโกรธ ไม่แช่มชื่น เพราะคิดว่าภิกษุทั้งหลายโจทเราในท่ามกลางสงฆ์ ไม่โจทในที่ลับ นี้เป็นฐานะที่จะมี ได้. ความโกรธและความไม่แช่มชื่นทั้งสองนี้ ชื่อว่า อังคณะฯ [๕๙] ดูกรท่านผู้มีอายุ ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงเกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า เราพึงเป็นผู้ต้องอาบัติหนอ บุคคลที่เสมอกันพึงโจทเรา บุคคลที่ไม่เสมอกันไม่พึงโจทเรา นี้เป็น ฐานะที่จะมีได้. บุคคลที่ไม่เสมอกันพึงโจทภิกษุนั้น บุคคลที่เสมอกันไม่พึงโจทภิกษุนั้น นี้เป็น ฐานะที่จะมีได้. เธอก็จะโกรธ ไม่แช่มชื่น เพราะคิดว่า บุคคลที่ไม่เสมอกันโจทเรา บุคคลที่ เสมอกันไม่โจทเรา. ความโกรธและความไม่แช่มชื่นทั้งสองนี้ชื่อว่า อังคณะ. [๖๐] ดูกรท่านผู้มีอายุ ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงเกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า โอหนอ พระศาสดาพึงทรงซักถาม สอบถามเราเท่านั้น แล้วทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงทรงซักถาม สอบถามภิกษุอื่น แล้วทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายเลย นี้เป็นฐานะที่จะมีได้. พระศาสดาพึงทรงซักถาม สอบถามภิกษุอื่น แล้วทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย หาทรงซักถาม สอบถามภิกษุนั้น แล้วทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายไม่ นี้เป็นฐานะที่จะมีได้. เธอก็จะโกรธ ไม่แช่มชื่น เพราะคิดว่าพระศาสดาทรงซักถาม สอบถามภิกษุอื่น แล้วทรงแสดงธรรม แก่ภิกษุ ทั้งหลาย หาทรงซักถาม สอบถามเรา แล้วทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายไม่. ความโกรธและ ความไม่แช่มชื่นทั้งสอง นี้ชื่อว่าอังคณะ. [๖๑] ดูกรท่านผู้มีอายุ ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงเกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า โอหนอ ภิกษุทั้งหลายพึงแวดล้อมเราเท่านั้นเข้าบ้าน เพื่อภัตตาหาร อย่าแวดล้อมภิกษุอื่นเข้าบ้าน เพื่อภัตตาหารเลย นี้เป็นฐานะที่มีได้. ภิกษุทั้งหลาย พึงแวดล้อมภิกษุอื่นเข้าบ้าน เพื่อภัตตาหาร ไม่พึงแวดล้อมภิกษุนั้นเข้าบ้าน เพื่อภัตตาหาร นี้เป็นฐานะที่จะมีได้. เธอก็จะโกรธ ไม่แช่มชื่น เพราะคิดว่า ภิกษุทั้งหลายแวดล้อมภิกษุอื่นเข้าบ้าน เพื่อภัตตาหาร หาแวดล้อมเราเข้าบ้าน เพื่อ ภัตตาหารไม่. ความโกรธและความไม่แช่มชื่นทั้งสองนี้ ชื่อว่าอังคณะ. [๖๒] ดูกรท่านผู้มีอายุ ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงเกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า โอหนอ เราเท่านั้นพึงได้อาสนะอันเลิศ น้ำอันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศ ในโรงฉัน ภิกษุอื่นไม่ พึงได้อาสนะอันเลิศ น้ำอันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศในโรงฉันเลย นี้เป็นฐานะที่จะมีได้. ภิกษุอื่นพึง ได้อาสนะอันเลิศ น้ำอันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศ ในโรงฉัน ภิกษุนั้นไม่พึงได้อาสนะอันเลิศ น้ำ อันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศ ในโรงฉัน นี้เป็นฐานะที่จะมีได้. เธอก็จะโกรธ ไม่แช่มชื่น เพราะ คิดว่าภิกษุอื่นได้อาสนะอันเลิศ น้ำอันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศ ในโรงฉัน เราไม่ได้อาสนะ อันเลิศ น้ำอันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศ ในโรงฉัน. ความโกรธและความไม่แช่มชื่นทั้งสองนี้ ชื่อว่า อังคณะ. [๖๓] ดูกรท่านผู้มีอายุ ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงเกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า โอหนอ เราเท่านั้นพึงฉันในโรงฉันแล้วอนุโมทนา ภิกษุอื่นไม่พึงฉันในโรงฉันแล้วอนุโมทนา นี้เป็นฐานะที่จะมีได้. ภิกษุอื่นพึงฉันในโรงฉันแล้วอนุโมทนา ภิกษุนั้นไม่พึงฉันในโรงฉันแล้ว อนุโมทนา นี้เป็นฐานะที่จะมีได้. เธอก็จะโกรธ ไม่แช่มชื่น เพราะคิดว่า ภิกษุอื่นฉันในโรงฉัน แล้วอนุโมทนา เราไม่ได้ฉันในโรงฉันแล้วอนุโมทนา ความโกรธและความไม่แช่มชื่นทั้งสองนี้ ชื่อว่า อังคณะ. [๖๔] ดูกรท่านผู้มีอายุ ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงเกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า โอหนอ เราเท่านั้นพึงแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายผู้ไปถึงอาราม ภิกษุอื่นอย่าพึงแสดงธรรม แก่ภิกษุทั้งหลายผู้ไปถึงอารามเลย นี้เป็นฐานะที่จะมีได้. ภิกษุอื่นพึงแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย ผู้ไปถึงอาราม ภิกษุนั้นไม่พึงแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายผู้ไปถึงอาราม นี้เป็นฐานะที่จะมีได้. เธอก็จะโกรธ ไม่แช่มชื่น เพราะคิดว่า ภิกษุอื่นแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายผู้ไปถึงอาราม เราไม่ได้ แสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายผู้ไปถึงอาราม. ความโกรธและความไม่แช่มชื่นทั้งสองนี้ ชื่อว่าอังคณะ. [๖๕] ดูกรท่านผู้มีอายุ ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงเกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า โอหนอ เราเท่านั้นพึงแสดงธรรมแก่ภิกษุณีทั้งหลายผู้ไปถึงอาราม ภิกษุอื่นอย่าพึงแสดงธรรม แก่ภิกษุณีทั้งหลายผู้ไปถึงอารามเลย นี้เป็นฐานะที่จะมีได้. ภิกษุอื่นพึงแสดงธรรมแก่ภิกษุณี ทั้งหลายผู้ไปถึงอาราม ภิกษุนั้นไม่พึงแสดงธรรมแก่ภิกษุณีทั้งหลายผู้ไปถึงอาราม นี้เป็นฐานะที่จะมี ได้. เธอก็จะโกรธไม่แช่มชื่น เพราะคิดว่า ภิกษุอื่นแสดงธรรมแก่ภิกษุณีทั้งหลายผู้ไปถึงอาราม เราไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุณีทั้งหลายผู้ไปถึงอาราม. ความโกรธและความไม่แช่มชื่นทั้งสองนี้ ชื่อว่า อังคณะ. ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงเกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า โอหนอ เราเท่านั้นพึง- *แสดงธรรมแก่อุบาสกทั้งหลายผู้ไปถึงอาราม ภิกษุอื่นไม่พึงแสดงธรรมแก่อุบาสกทั้งหลายผู้ไปถึง อาราม นี้เป็นฐานะที่จะมีได้. ภิกษุอื่นแสดงธรรมแก่อุบาสกทั้งหลายผู้ไปถึงอาราม ภิกษุนั้นไม่พึง แสดงธรรมแก่อุบาสกทั้งหลายผู้ไปถึงอาราม นี้เป็นฐานะที่จะมีได้. เธอก็จะโกรธ ไม่แช่มชื่น เพราะคิดว่า ภิกษุอื่นแสดงธรรมแก่อุบาสกทั้งหลายผู้ไปถึงอาราม เราไม่ได้แสดงธรรมแก่อุบาสก ทั้งหลายผู้ไปถึงอาราม ความโกรธและความไม่แช่มชื่นทั้งสองนี้ ชื่อว่า อังคณะ. ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงเกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า โอหนอ เราเท่านั้น พึงแสดงธรรมแก่อุบาสิกาทั้งหลายผู้ไปถึงอาราม ภิกษุอื่นไม่พึงแสดงธรรมแก่อุบาสิกาทั้งหลาย ผู้ไปถึงอาราม นี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ภิกษุอื่นพึงแสดงธรรมแก่อุบาสิกาทั้งหลายผู้ไปถึงอาราม ภิกษุนั้นไม่พึงแสดงธรรมแก่อุบาสิกาทั้งหลายผู้ไปถึงอาราม นี้เป็นฐานะที่จะมีได้. เธอก็จะโกรธ ไม่แช่มชื่น เพราะคิดว่า ภิกษุอื่นแสดงธรรมแก่อุบาสิกาทั้งหลายผู้ไปถึงอาราม เราไม่ได้แสดง ธรรมแก่อุบาสิกาทั้งหลายผู้ไปถึงอาราม, ความโกรธและความไม่แช่มชื่นทั้งสองนี้ ชื่อว่า อังคณะ. [๖๖] ดูกรท่านผู้มีอายุ ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงเกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า โอหนอ ภิกษุทั้งหลายพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเราเท่านั้น ไม่พึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุอื่น นี้เป็นฐานะที่จะมีได้. ภิกษุทั้งหลายพึงสักการะ เคารพ นับถือบูชาภิกษุอื่น ไม่พึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้. เธอก็จะโกรธ ไม่แช่มชื่น เพราะคิดว่า ภิกษุทั้งหลายสักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุอื่น ไม่สักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา. ความโกรธและความไม่แช่มชื่นทั้งสองนี้ ชื่อว่า อังคณะ. [๖๗] ดูกรท่านผู้มีอายุ ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงเกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า โอหนอ ภิกษุณีทั้งหลายพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเราเท่านั้น ไม่พึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุอื่นเลย นี้เป็นฐานะที่จะมีได้. ภิกษุณีทั้งหลายพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุอื่น ไม่พึงสักการะ เคารพ นับถือบูชาภิกษุนั้น นี้เป็นฐานะที่จะมีได้. เธอก็จะโกรธ ไม่แช่มชื่น เพราะคิดว่าภิกษุณีทั้งหลายสักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุอื่น ไม่สักการะ เคารพ นับถือบูชาเรา. ความโกรธและความไม่แช่มชื่นทั้งสองนี้ ชื่อว่า อังคณะ. ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงเกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า โอหนอ อุบาสกทั้งหลาย พึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเราเท่านั้น ไม่พึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุอื่น นี้ เป็นฐานะที่จะมีได้. อุบาสกทั้งหลายพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุอื่น ไม่พึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุนั้น นี้เป็นฐานะที่จะมีได้. เธอก็จะโกรธ ไม่แช่มชื่น เพราะคิดว่า อุบาสกทั้งหลายสักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุอื่น ไม่สักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา. ความโกรธและความไม่แช่มชื่นทั้งสองนี้ ชื่อว่า อังคณะ. ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงเกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า โอหนอ อุบาสิกาทั้ง- *หลายพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเราเท่านั้น ไม่พึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุอื่น นี้เป็นฐานะที่จะมีได้. อุบาสิกาทั้งหลายพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุอื่น ไม่พึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุนั้น นี้เป็นฐานะที่จะมีได้. เธอจะก็โกรธ ไม่แช่มชื่น เพราะคิดว่า อุบาสิกาทั้งหลายสักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุอื่น ไม่สักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา. ความโกรธและความไม่แช่มชื่นทั้งสองนี้ ชื่อว่า อังคณะ. [๖๘] ดูกรท่านผู้มีอายุ ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงเกิดความปรารถนาอย่างนี้ ว่า โอหนอ เราเท่านั้นพึงได้จีวรที่ประณีต ภิกษุอื่นไม่พึงได้จีวรที่ประณีต เป็นเป็นฐานะที่จะมี ได้. ภิกษุอื่นพึงได้จีวรที่ประณีต ภิกษุนั้นไม่พึงได้จีวรที่ประณีต นี้เป็นฐานะที่จะมีได้. เธอก็จะ- *โกรธ ไม่แช่มชื่น เพราะคิดว่า ภิกษุอื่นได้จีวรที่ประณีต เราไม่ได้จีวรที่ประณีต ความโกรธและ ความไม่แช่มชื่นทั้งสองนี้ ชื่อว่า อังคณะ. [๖๙] ดูกรท่านผู้มีอายุ ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงเกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า โอหนอ เราเท่านั้นพึงได้บิณฑบาตอันประณีต ภิกษุอื่นไม่พึงได้บิณฑบาตอันประณีต นี้เป็นฐานะ ที่จะมีได้. ภิกษุอื่นพึงได้บิณฑบาตอันประณีต ภิกษุนั้นไม่พึงได้บิณฑบาตอันประณีต นี้เป็นฐานะ ที่จะมีได้. เธอก็จะโกรธ ไม่แช่มชื่น เพราะคิดว่า ภิกษุอื่นได้บิณฑบาตอันประณีต เราไม่ได้ บิณฑบาตอันประณีต. ความโกรธและความไม่แช่มชื่นทั้งสองนี้ ชื่อว่า อังคณะ. ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงเกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า โอหนอ เราเท่านั้นพึงได้ เสนาสนะอันประณีต ภิกษุอื่นไม่พึงได้เสนาสนะอันประณีต นี้เป็นฐานะที่จะมีได้. ภิกษุอื่นพึงได้ เสนาสนะอันประณีต ภิกษุนั้นไม่พึงได้เสนาสนะอันประณีต นี้เป็นฐานะที่จะมีได้. เธอก็จะโกรธ ไม่แช่มชื่น เพราะคิดว่า ภิกษุอื่นได้เสนาสนะอันประณีต เราไม่ได้เสนาสนะอันประณีต. ความ โกรธและความไม่แช่มชื่นทั้งสองนี้ ชื่อว่า อังคณะ. ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงเกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า โอหนอ เราเท่านั้น พึงได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารอันประณีต ภิกษุอื่นไม่พึงได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารอันประณีต นี้เป็นฐานะที่จะมีได้. ภิกษุอื่นพึงได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารอันประณีต ภิกษุนั้นไม่พึงได้คิลาน ปัจจัยเภสัชบริขารอันประณีต นี้เป็นฐานะที่จะมีได้. เธอก็จะโกรธ ไม่แช่มชื่น เพราะคิดว่า ภิกษุอื่นได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารอันประณีต เราไม่ได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารอันประณีต. ความ โกรธและความไม่แช่มชื่นทั้งสองนี้ ชื่อว่า อังคณะ.
อิจฉาวจรอกุศล
[๗๐] ดูกรท่านผู้มีอายุ อิจฉาวจรที่เป็นบาปอกุศลเหล่านี้ ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งยังละไม่ได้ แล้ว ชนทั้งหลายยังเห็น ยังได้ฟังอยู่. แม้เธอจะเป็นผู้อยู่ในป่ามีเสนาสนะอันสงัด ถือบิณฑบาต เป็นวัตร เที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอก ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ทรงจีวรเศร้าหมองอยู่ ถึงอย่าง นั้น เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายก็ไม่สักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุนั้น. ข้อนั้น เพราะเหตุ อะไร? เพราะอิจฉาวจรที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้น อันท่านผู้มีอายุนั้นยังละไม่ได้ ชนทั้งหลาย ยังเห็น ยังได้ฟังอยู่. เปรียบเหมือนภาชนะสัมฤทธิ์ที่บุคคลนำมาแต่ร้านตลาด หรือแต่สกุลช่างทอง เป็นของหมดจด ผ่องใส เจ้าของใส่ซากศพงู ซากศพสุนัขหรือซากศพมนุษย์จนเต็มภาชนะ สัมฤทธิ์นั้น ปิดด้วยภาชนะสัมฤทธิ์ใบอื่น แล้วเอาไปร้านตลาด. ชนเห็นภาชนะสัมฤทธิ์นั้นแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญสิ่งที่ท่านนำไปนี้คืออะไร คล้ายของที่น่าพอใจยิ่ง พึงลุกขึ้นเปิด ภาชนะสัมฤทธิ์นั้นดู พร้อมกับการเห็นซากศพนั้น ก็เกิดความไม่พอใจ ความเกลียดชัง แม้คนที่ หิวก็ไม่ปรารถนาจะบริโภค ไม่ต้องกล่าวถึงคนที่บริโภคอิ่มแล้วฉันใด. อิจฉาวจรที่เป็นบาปอกุศลเหล่านี้ ก็ฉันนั้น ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ยังละไม่ได้แล้ว อันชน ทั้งหลายยังเห็น ยังได้ฟังอยู่. แม้เธอจะอยู่ในป่า มีเสนาสนะอันสงัด ถือบิณฑบาตเป็นวัตร เที่ยว บิณฑบาตตามลำดับตรอก ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ทรงจีวรเศร้าหมอง ถึงอย่างนั้น เพื่อนพรหม- *จรรย์ทั้งหลายก็ไม่สักการะ เคารพ นับถือบูชาภิกษุนั้น. ข้อนั้น เพราะเหตุอะไร? เพราะอิจฉาวจร ที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นท่านผู้มีอายุนั้นยังละไม่ได้ อันชนทั้งหลายยังเห็น ยังได้ฟังอยู่. [๗๑] ดูกรท่านผู้มีอายุ อิจฉาวจรที่เป็นบาปอกุศลเหล่านี้ อันภิกษุรูปใดรูปหนึ่งละได้ แล้ว ชนทั้งหลายยังเห็น ยังได้ฟังอยู่. แม้เธอจะอยู่ในเสนาสนะใกล้บ้าน รับนิมนต์ ทรง- *คฤหบดีจีวร ถึงอย่างนั้น เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายก็ยังสักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุนั้น. ข้อนั้น เพราะเหตุอะไร? เพราะอิจฉาวจร ที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้น อันท่านผู้มีอายุนั้นละได้ แล้ว ชนทั้งหลายยังเห็นยังได้ฟังอยู่. เปรียบเหมือนภาชนะสัมฤทธิ์ ที่บุคคลนำมาแต่ร้านตลาด หรือแต่สกุลช่างทอง เป็นของหมดจด ผ่องใส. เจ้าของใส่ข้าวสุกแห่งข้าวสาลี ที่เลือกเอาของ ดำออกแล้ว แกงและกับหลายอย่างจนเต็มภาชนะสัมฤทธิ์นั้น ปิดด้วยภาชนะสัมฤทธิ์อื่น แล้ว เอาไปยังร้านตลาด. ชนเห็นภาชนะสัมฤทธิ์นั้นแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้เจริญ สิ่งที่ ท่านนำไปนี้คืออะไร คล้ายของที่น่าพอใจยิ่งพึงลุกขึ้นเปิดภาชนะสัมฤทธิ์นั้นดู พร้อมกับการเห็น ข้าวสุกแห่งข้าวสาลีขาวสะอาดมีแกงและกับหลายอย่างนั้น ก็เกิดความพอใจ ความไม่เกลียดชัง แม้คนที่บริโภคอิ่มแล้ว ก็ยังปรารถนาจะบริโภค ไม่ต้องกล่าวถึงคนที่หิว ฉันใด. อิจฉาวจรที่เป็นบาปอกุศลเหล่านี้ ก็ฉันนั้น ภิกษุรูปใดหนึ่งละได้แล้วอันชนทั้งหลาย ยังเห็น และยังได้ฟังอยู่. แม้เธอจะอยู่ในเสนาสนะใกล้บ้าน รับนิมนต์ ทรงคฤหบดีจีวร ถึง อย่างนั้น เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ก็ยังสักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุนั้น. ข้อนั้น เพราะเหตุอะไร? เพราะอิจฉาวจรที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้น ท่านผู้มีอายุนั้นละได้แล้ว อันชน ทั้งหลายยังเห็น และยังได้ฟังอยู่.
อุปมาด้วยช่างทำรถ
[๗๒] เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวคำนี้ กะท่านพระสารีบุตรว่า ดูกรท่านพระสารีบุตร อุปมาย่อมแจ่มแจ้งแก่กระผม. ท่านพระสารีบุตร จึงกล่าวว่า ดูกรท่านพระมหาโมคคัลลานะ อุปมาจงแจ่มแจ้งแก่ท่านเถิด ม. ดูกรท่านผู้มีอายุ สมัยกาลครั้งหนึ่ง กระผมอยู่ ณ กรุงราชคฤห์อันเป็นคอกเขา ๑- ครั้งนั้น เวลาเช้า กระผมนุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังกรุงราชคฤห์ เพื่อบิณฑบาต. ก็สมัยนั้น บุตรนายช่างทำรถชื่อสมีติ ถากกงรถอยู่. อาชีวกชื่อปัณฑุบุตร เป็นบุตรช่างทำรถเก่า เข้าไปยืนอยู่ใกล้นายสมีตินั้น. ครั้งนั้น อาชีวกปัณฑุบุตร บุตรช่างทำรถเก่า เกิดความดำริใน ใจอย่างนี้ว่า โอหนอ บุตรช่างทำรถชื่อสมีตินี้ พึงถากส่วนโค้ง ส่วนคด กระพี้ และปมตรงนี้ แห่งกงนี้ออกเสีย เมื่อเป็นเช่นนี้ กงนี้ก็จะสิ้นโค้ง สิ้นคด สิ้นกระพี้และปม พึงเหลือแต่แก่นล้วนๆ. อาชีวกปัณฑุบุตร บุตรช่างทำรถเก่า มีความดำริในใจฉันใดๆ นายสมีติบุตรช่างทำรถก็ถากส่วนที่ โค้ง ที่คด กระพี้และปมแห่งกงนั้น ฉันนั้นๆ. ครั้งนั้นอาชีวกปัณฑุบุตร บุตรช่างทำรถเก่า ดีใจ เปล่งวาจาแสดงความดีใจว่า นายสมีติบุตรช่างทำรถ ถากเหมือนจะรู้ใจด้วยใจ ฉันใด ดูกร ท่านผู้มีอายุ บุคคลทั้งหลายก็ฉันนั้น ไม่มีศรัทธา เป็นผู้ต้องการจะเลี้ยงชีวิต ไม่ออกบวชเป็น บรรพชิตด้วยศรัทธา เป็นคนมักโอ้อวด เจ้ามารยา หลอกลวง ฟุ้งซ่าน ถือตน กลับกลอก ปากกล้า มีวาจาเคลือบแคลง ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้ประมาณในโภชนะ ไม่ ประกอบความเพียร ไม่มีความเพ่งเล็งในสามัญคุณ ไม่มีความเคารพแรงกล้าในสิกขา เป็นผู้มัก มาก ย่อหย่อน เป็นหัวหน้าในการท้อถอย ทอดธุระในความสงัด เกียจคร้าน มีความเพียรเลว- *ทราม มีสติฟั่นเฟือน ไม่มีสัมปชัญญะ มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตหมุนไปผิด มีปัญญาทราม เป็นดังคน ใบ้ ท่านพระสารีบุตรเหมือนจะรู้ใจของบุคคลเหล่านั้นด้วยใจ แล้วถากอยู่ด้วยธรรมปริยายนี้. อนึ่ง กุลบุตรเหล่าใด มีศรัทธา ออกบวชเป็นบรรพชิต ไม่เป็นคนโอ้อวด ไม่มีมารยา ไม่หลอกลวง ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ถือตน ไม่กลับกลอก ไม่ปากกล้า ไม่มีวาจาเคลือบแคลง คุ้มครอง @๑. คือมีเขาล้อมเป็นคอก ทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้ประมาณในโภชนะ ประกอบความเพียร มีความแพ่งเล็งในสามัญคุณ มีความเคารพอย่างแรงกล้าในสิกขา ไม่เป็นผู้มักมาก ไม่ย่อหย่อน ทอดธุระในการท้อถอย เป็น หัวหน้าในความสงัด ปรารภความเพียร มีตนส่งไป มีสติตั้งมั่น มีสัมปชัญญะ มีจิตมั่นคง มีจิต แน่วแน่ มีปัญญา ไม่เป็นดุจคนใบ้ กุลบุตรเหล่านั้นฟังธรรมปริยายของท่าน พระสารีบุตรนี้แล้ว เหมือนหนึ่งว่า จะดื่ม จะกลืนไว้ด้วยวาจาและใจว่า เป็นการดีหนอ ท่านพระสารีบุตรผู้เป็นเพื่อน พรหมจรรย์ ให้เราทั้งหลายออกจากอกุศลให้ตั้งอยู่ในกุศล. เปรียบเหมือนสตรีหรือบุรุษที่กำลังสาว กำลังหนุ่ม ชอบแต่งตัว ชำระสระเกล้าแล้ว ได้ ดอกอุบล ดอกมะลิ หรือดอกลำดวน ประคองด้วยมือทั้งสองยกขึ้นตั้งไว้บนเศียรเกล้า ฉันใด กุลบุตรทั้งหลายก็ฉันนั้น มีศรัทธา ออกบวชเป็นบรรพชิต ไม่เป็นคนโอ้อวด ไม่มีมารยา ไม่ หลอกลวง ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ถือตน ไม่กลับกลอก ไม่ปากกล้า ไม่มีวาจาเคลือบแคลง คุ้มครองทวาร ในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้ประมาณในโภชนะ ประกอบความเพียร มีความเพ่งเล็งในสามัญคุณ มีความ เคารพอย่างแรงกล้าในสิกขา ไม่เป็นคนมักมาก ไม่ย่อหย่อน ทอดธุระในการท้อถอย เป็นหัวหน้า ในความสงัด ปรารภความเพียร มีตนส่งไป มีสติตั้งมั่น มีสัมปชัญญะ มีจิตมั่นคง มีจิตแน่วแน่ มีปัญญา ไม่เป็นดุจคนใบ้ กุลบุตรเหล่านั้นฟังธรรมปริยายของท่านประสารีบุตรนี้แล้ว เหมือนหนึ่ง ว่าจะดื่มจะกลืนไว้ด้วยวาจาและใจว่า เป็นการดีหนอ ท่านพระสารีบุตรผู้เป็นเพื่อนพรหมจรรย์ ให้เราทั้งหลายออกจากอกุศล ให้ตั้งอยู่ในกุศล ดังนี้. พระมหานาคทั้งสองนั้น ต่างชื่นชมสุภาษิตแห่งกันและกันด้วยประการฉะนี้แล.
จบ อนังคณสูตร ที่ ๕
-----------------------------------------------------
๖. อากังเขยยสูตร
ว่าด้วยข้อที่พึงหวังได้ ๑๗ อย่าง
[๗๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคว่า พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีศีลอันสมบูรณ์ มีปาติโมกข์อันสมบูรณ์ อยู่เถิด จงเป็น ผู้สำรวมด้วยความสำรวมในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่เถิด จงเป็นผู้มีปกติเห็น ภัยในโทษทั้งหลายมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายเถิด. [๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า ขอเราพึงเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ เป็นที่ เคารพ และเป็นผู้ควรยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายเถิดดังนี้ ภิกษุนั้น พึงกระทำให้บริ- *บูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วย วิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร. [๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า ขอเราพึงได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารเถิด ดังนี้ ภิกษุนั้น พึงกระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรม เครื่องระงับจิตของตน ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร. [๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราบริโภคจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารของเทวดาหรือมนุษย์เหล่าใด สักการะเหล่านั้นของเทวดาและมนุษย์ เหล่านั้นพึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่เถิด ดังนี้ ภิกษุนั้นพึงกระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบ ธรรมเครื่องระงับจิตของตน ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร. [๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า ญาติและสาโลหิตของเราเหล่าใด ล่วงลับ ทำกาละไปแล้ว มีจิตเลื่อมใส ระลึกถึงอยู่ ความระลึกถึงด้วยจิตอันเลื่อมใส ของญาติและ สาโลหิตเหล่านั้น พึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่เถิด ดังนี้ ภิกษุนั้นพึงกระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูน สุญญาคาร. [๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงเป็นผู้ข่มความไม่ยินดีและความ ยินดีได้ อนึ่ง ความไม่ยินดีอย่าพึงครอบงำเราได้เลย เราพึงครอบงำย่ำยี ความไม่ยินดีอันเกิดขึ้น แล้วได้อยู่เถิด ดังนี้ ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับ จิตของตน ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร. [๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุพึงหวังว่า เราพึงเป็นผู้ข่มความกลัวและความขลาด ได้ อนึ่ง ความกลัวและความขลาด อย่าพึงครอบงำเราได้เลย เราพึงครอบงำ ย่ำยี ความกลัว และความขลาดที่เกิดขึ้นแล้วได้อยู่เถิด ดังนี้ ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่น ประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูน สุญญาคาร. [๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงเป็นผู้ได้ฌานทั้ง ๔ อันเกิดขึ้นเพราะ จิตยิ่ง เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม ตามความปรารถนาพึงได้ไม่ยาก ไม่ลำบากเถิด ดังนี้ ภิกษุนั้น พึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน ไม่ ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร. [๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงถูกต้องด้วยกายซึ่งวิโมกข์อันก้าว- *ล่วงรูปาวจรฌานแล้ว เป็นธรรมไม่มีรูปสงบระงับอยู่เถิด ดังนี้ ภิกษุนั้น พึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร. [๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงเป็นโสดาบันเพราะความสิ้นไป แห่งสังโยชน์ ๓ พึงเป็นผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงมีอันตรัสรู้เป็นเบื้องหน้าเถิด ดังนี้ ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน ไม่ทำฌาน ให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร. [๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงเป็นพระสกทาคามี เพราะความ สิ้นไปแห่งสังโยชน์ ๓ [และ] เพราะราคะ โทสะ โมหะ เป็นสภาพเบาบาง พึงมาสู่โลกนี้ เพียงครั้งเดียว แล้วพึงทำที่สุดทุกข์ได้เถิด ดังนี้ ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่น ประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูน สุญญาคาร. [๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงเป็นอุปปาติกสัตว์ เพราะความ สิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ พึงปรินิพพานในพรหมโลกนั้น มีอันไม่กลับมาจากโลกนั้น เป็นธรรมดาเถิด ดังนี้ ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่อง ระงับจิตของตน ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร. [๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงบรรลุอิทธิวิธีหลายประการ คือ คนเดียวพึงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนพึงเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝากำแพง ภูเขาไปได้ไม่ติดขัด เหมือนไปในที่ว่างก็ได้ พึงผุดขึ้น ดำลง แม้ในแผ่นดิน เหมือนในน้ำก็ได้ พึงเดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศเหมือนนก ก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ ซึ่งมีฤทธิ์ มีอานุภาพมากด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกาย ไปตลอดพรหมโลกก็ได้เถิด ดังนี้ ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบ ธรรมเครื่องระงับจิตของตน ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร. [๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงได้ยินเสียงทั้ง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ ด้วยทิพยโสตอันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์ เถิด ดังนี้ ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร. [๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น ของ บุคคลอื่นด้วยใจ คือ จิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ ก็รู้ว่า จิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่ หรือจิต ฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตเป็นมหรคต หรือจิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้ว่า จิตไม่เป็นมหรคต จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่า จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้นเถิด ดังนี้ ภิกษุนั้น พึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร. [๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ พึงระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏวิวัฏกัป เป็นอันมากบ้างว่า ในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหาร อย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพ นั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เราพึงระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้เถิด ดังนี้ ภิกษุนั้น พึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่น- *ประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูน สุญญาคาร. [๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุ ของมนุษย์ พึงรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจี- *ทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เมื่อตายไป เขาถึงเข้าอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจ สัมมาทิฏฐิ เมื่อตายไป เขาเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้ เราพึงเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลัง อุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ พึงรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมด้วยประการฉะนี้เถิด ดังนี้ ภิกษุนั้น พึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร. [๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่เถิด ดังนี้ ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตนไม่ทำ ฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร. คำใด ที่เรากล่าวแล้วว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีศีลอันถึงพร้อม มี ปาติโมกข์อันถึงพร้อมแล้วอยู่เถิด เธอทั้งหลายจงเป็นผู้สำรวมด้วยความสำรวมในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจรอยู่เถิด เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีปกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายเถิด ดังนี้ คำนั้น อันเราอาศัยอำนาจประโยชน์นี้ จึงได้ กล่าวแล้ว ฉะนี้แล. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจชื่นชมยินดีภาษิตของ พระผู้มีพระภาค ฉะนี้แล.
จบ. อากังเขยยสูตร ที่ ๖
-----------------------------------------------------
๗. วัตถูปมสูตร
ว่าด้วยข้ออุปมาด้วยผ้า
[๙๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว. [๙๒] พระผู้มีพระภาคจึงตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผ้าที่เศร้าหมองมลทินจับ ช่างย้อมพึงนำเอาผ้านั้นใส่ลงในน้ำย้อมใดๆ คือ สีเขียว สีเหลือง สีแดง หรือสีชมพู ผ้านั้น พึงเป็นของมีสีที่เขาย้อมไม่ดี มีสีมัวหมอง ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เพราะผ้าเป็นของไม่บริสุทธิ์ ฉันใด เมื่อจิตเศร้าหมองแล้ว ทุคติเป็นอันหวังได้ ฉันนั้น. ผ้าที่บริสุทธิ์สะอาด ช่างย้อมพึงนำเอาผ้านั้นใส่ลงในน้ำย้อมใดๆ คือ สีเขียว สีเหลือง สีแดง หรือสีชมพู ผ้านั้นพึงเป็นของมีสีที่เขาย้อมดี มีสีสด ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เพราะ ผ้าเป็นของบริสุทธิ์ ฉันใด เมื่อจิตไม่เศร้าหมองแล้ว สุคติเป็นอันหวังได้ ฉันนั้น.
อุปกิเลส ๑๖
[๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมเหล่าไหน เป็นเครื่องเศร้าหมองของจิต [คือ] อภิชฌาวิสมโลภะ [ละโมบไม่สม่ำเสมอ คือความเพ่งเล็ง] พยาบาท [ปองร้ายเขา] โกธะ [โกรธ] อุปนาหะ [ผูกโกรธไว้] มักขะ [ลบหลู่คุณท่าน] ปลาสะ [ยกตนเทียบเท่า] อิสสา [ริษยา] มัจฉริยะ [ตระหนี่] มายา [มารยา] สาเฐยยะ [โอ้อวด] ถัมภะ [หัวดื้อ] สารัมภะ [แข่งดี] มานะ [ถือตัว] อติมานะ [ดูหมิ่นท่าน] มทะ [มัวเมา] ปมาทะ [เลินเล่อ] เหล่านี้เป็น ธรรมเครื่องเศร้าหมองของจิต. [๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นรู้ชัดว่า อภิชฌาวิสมโลภะ พยาบาท โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปลาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา สาเฐยยะ ถัมภะ สารัมภะ มานะ อติมานะ มทะ ปมาทะ เป็นธรรมเครื่องเศร้าหมองของจิตด้วยประการฉะนี้แล้ว ย่อมละอภิชฌาวิสมโลภะ พยาบาท โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปลาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา สาเฐยยะ ถัมภะ สารัมภะ มานะ อติมานะ มทะ ปมาทะ อันเป็นธรรมเครื่องเศร้าหมองของจิตเสีย. [๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล ภิกษุรู้ชัดว่า อภิชฌาวิสมโลภะ พยาบาท โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปลาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา สาเฐยยะ ถัมภะ สารัมภะ มานะ อติมานะ มทะ ปมาทะ เป็นธรรมเครื่องเศร้าหมองของจิตด้วยประการฉะนี้แล้ว ก็ละอภิชฌา- วิสมโลภะ พยาบาท โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปลาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา สาเฐยยะ ถัมภะ สารัมภะ มานะ อติมานะ มทะ ปมาทะ อันเป็นธรรมเครื่องเศร้าหมองของจิตเสียได้ แล้ว ในกาลนั้น เธอเป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมแล้วด้วยวิชชาและ จรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดา ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม เป็นผู้ประกอบด้วยความ เลื่อมใสอันแน่วแน่ในพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว อันบุคคลพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตน (แล) เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค ปฏิบัติดีแล้ว ปฏิบัติตรงแล้ว ปฏิบัติเป็นธรรม ปฏิบัติชอบยิ่ง คือ คู่บุรุษ ๔ บุรุษบุคคล ๘ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนั้น เป็นผู้ควรรับเครื่องสักการะ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ ควรทักขิณา เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ก็เพราะเหตุที่ ส่วนแห่งกิเลสนั้นๆ อันภิกษุนั้นสละได้แล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละเสียแล้ว สละคืนแล้ว เธอย่อมได้ความรู้แจ้งอรรถ ย่อมได้ความรู้แจ้งธรรม ย่อมได้ปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรมว่า เราเป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในพระพุทธเจ้า เราเป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันแน่วแน่ในพระธรรม เราเป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในพระสงฆ์ และเพราะ ส่วนแห่งกิเลสนั้นๆ อันเราสละได้แล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละเสียแล้ว สละคืนแล้ว ดังนี้ เมื่อปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปีติ เมื่อมีปีติในใจ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบแล้ว ย่อม ได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น. [๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นแลมีศีลอย่างนี้ มีธรรมอย่างนี้ มีปัญญาอย่างนี้ ถึงแม้จะฉันบิณฑบาตข้าวสาลีปราศจากเมล็ดดำ มีแกงมีกับมิใช่น้อย การฉันบิณฑบาตของภิกษุนั้น ก็ไม่มีเพื่ออันตรายเลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผ้าอันเศร้าหมอง มลทินจับ ครั้นมาถึงน้ำอันใส ย่อมเป็นผ้าหมดจด สะอาด อีกอย่างหนึ่ง ทองคำครั้นมาถึงปากเบ้า ย่อมเป็นทองบริสุทธิ์ ผ่องใส ฉันใด ภิกษุ ก็ฉันนั้นแล มีศีลอย่างนี้ มีธรรมอย่างนี้ มีปัญญาอย่างนี้ ถึงแม้จะฉันบิณฑบาตข้าวสาลีปราศจาก เมล็ดดำ มีแกงมีกับมิใช่น้อย การฉันบิณฑบาตของภิกษุนั้น ก็ไม่มีเพื่ออันตรายเลย. [๙๗] ภิกษุนั้นมีใจประกอบด้วยเมตตา ประกอบด้วยกรุณา ประกอบด้วยมุทิตา ประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปยังทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน มีใจ ประกอบด้วยเมตตา ประกอบด้วยกรุณา ประกอบด้วยมุทิตา ประกอบด้วยอุเบกขา อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปยังทิศเบื้องบน เบื้องต่ำ ด้านขวาง ทั่วโลกทั้งสิ้น โดยเป็นผู้หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั่วหน้า ในที่ทุกแห่ง ด้วยประการฉะนี้ เธอย่อม รู้ชัดว่า สิ่งนี้มีอยู่ สิ่งที่เลวทรามมีอยู่ สิ่งที่ประณีตมีอยู่ ธรรมเป็นเครื่องสลัดออกที่ยิ่งแห่ง สัญญานี้ มีอยู่ เมื่อเธอรู้เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้น แม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุนี้ เรากล่าวว่า เป็นผู้อาบแล้วด้วยเครื่องอาบอันเป็นภายใน.
การอาบน้ำในศาสนา
[๙๘] ก็โดยสมัยนั้นแล สุนทริกภารทวาชพราหมณ์ นั่งอยู่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค จึงทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ท่านพระโคดม จะเสด็จไปยังแม่น้ำพาหุกา เพื่อจะสรงสนาน หรือ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรพราหมณ์ จะมีประโยชน์อะไรด้วยแม่น้ำพาหุกาเล่า แม่น้ำพาหุกา จักทำประโยชน์อะไรได้. สุ. ท่านพระโคดม แม่น้ำพาหุกา ชนเป็นอันมาก สมมติว่าให้ความบริสุทธิ์ได้ ท่านพระโคดม แม่น้ำพาหุกา ชนเป็นอันมาก สมมติว่าเป็นบุญ อนึ่ง ชนเป็นอันมาก พากัน ไปลอยบาปกรรมที่ตนทำแล้วในแม่น้ำพาหุกา. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะสุนทริกภารทวาชพราหมณ์ด้วยพระคาถาทั้งหลายว่า คนพาล มีกรรมดำแล่นไปยังแม่น้ำพาหุกา ท่าน้ำอธิกักกะ ท่าน้ำ- คยา แม่น้ำสุนทริกา แม่น้ำสรัสสดี ท่าน้ำปยาคะ และแม่น้ำพาหุมดี แม้เป็นนิตย์ ก็บริสุทธิ์ไม่ได้ แม่น้ำสุนทริกา ท่าน้ำปยาคะ หรือแม่น้ำ พาหุกา จักทำอะไรได้ จะชำระนรชนผู้มีเวร ทำกรรมอันหยาบช้า ผู้มี- กรรมอันเป็นบาปนั้น ให้บริสุทธิ์ไม่ได้เลย ผัคคุณฤกษ์ ย่อมถึงพร้อม แก่บุคคลผู้หมดจดแล้วทุกเมื่อ อุโบสถ ก็ย่อมถึงพร้อม แก่บุคคล ผู้หมดจดแล้วทุกเมื่อ วัตรของบุคคลผู้หมดจดแล้ว มีการงานอันสะอาด ย่อมถึงพร้อมทุกเมื่อ ดูกรพราหมณ์ ท่านจงอาบในคำสอนของเรานี้เถิด จงทำความเกษมในสัตว์ทั้งปวงเถิด ถ้าท่านไม่กล่าวคำเท็จ ไม่เบียดเบียน สัตว์ ไม่ถือเอาวัตถุที่เจ้าของไม่ให้ เป็นผู้มีความเชื่อ ไม่ตระหนี่ไซร้ ท่านไปยังท่าน้ำคยาแล้วจักทำอะไรได้ แม้การดื่มน้ำในท่าคยา ก็จักทำอะไร ให้แก่ท่านได้.
สุนทริกพราหมณ์บรรลุพระอรหัตต์
[๙๙] ครั้นพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว สุนทริกภารทวาชพราหมณ์ได้กราบทูล- *พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่ท่านพระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่ท่าน พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนคนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืด ด้วยคิดว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูปดังนี้ ฉันใด พระโคดมผู้เจริญ ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าพระองค์นี้ขอถึงท่าน พระโคดม พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่า เป็นสรณะ ข้าพระองค์ พึงได้บรรพชาอุปสมบท ในสำนักของท่านพระโคดมผู้เจริญเถิด สุนทริกภารทวาชพราหมณ์ ได้บรรพชาอุปสมบท ในสำนักของพระผู้มีพระภาคแล้ว ก็ท่านพระภารทวาชะครั้นอุปสมบทแล้วไม่นาน หลีกออกจาก หมู่อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ไม่ช้านานเท่าไร ก็ทำให้แจ้งซึ่งที่สุด แห่งพรหมจรรย์ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่กุลบุตรทั้งหลายผู้มีความต้องการ ออกจากเรือนบวช เป็นบรรพชิตโดยชอบด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบ แล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ก็ท่านพระภารทวาชะได้เป็น พระอรหันต์องค์หนึ่ง ในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย ฉะนี้แล.
จบ วัตถูปมสูตรที่ ๗
-----------------------------------------------------
๘. สัลเลขสูตร
ว่าด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส
[๑๐๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอาราม ของท่านอนาถบิณฑิก เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น เวลาเย็น ท่านพระมหาจุนทะออกจากที่พักผ่อน แล้วเข้าไป เฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ท่านพระมหาจุนทะนั่งเรียบร้อย แล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทิฏฐิเหล่านี้มีประการต่างๆ ประกอบด้วยการกล่าวปรารภอัตตาบ้าง ประกอบด้วยการกล่าวปรารภโลกบ้าง ย่อมเกิดขึ้นในโลก เมื่อภิกษุมนสิการธรรมเบื้องต้นเท่านั้นหรือ การละทิฏฐิเหล่านั้น การสละคืนทิฏฐิเหล่านั้น ย่อมจะ มีได้ด้วยอุบายอย่างนี้หรือ พระเจ้าข้า [๑๐๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรจุนทะ ทิฏฐิเหล่านี้มีหลายประการ ประกอบด้วย การกล่าวปรารภอัตตาบ้าง ประกอบด้วยการกล่าวปรารภโลกบ้าง ย่อมเกิดขึ้นในโลก ก็ทิฏฐิ เหล่านั้นย่อมเกิดขึ้นในอารมณ์ใด นอนเนื่องอยู่ในอารมณ์ใด และท่องเที่ยวอยู่ในอารมณ์ใด เมื่อภิกษุพิจารณาเห็นอารมณ์นั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นมิใช่ของเรา เรามิใช่นั่น นั่นมิใช่ตัวตนของเรา ดังนี้ การละทิฏฐิเหล่านั้น การสละคืนทิฏฐิเหล่านั้น ย่อมมี ได้ด้วยอุบายอย่างนี้.
รูปฌาน ๔
[๑๐๒] ดูกรจุนทะ ก็ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่ วิเวกอยู่ ภิกษุนั้นจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส ดูกรจุนทะ แต่ธรรมคือปฐมฌานนี้ เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลา ในวินัยของพระอริยะ เรากล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในอัตภาพนี้ ในวินัยของพระอริยะ อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจาร สงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ภิกษุนั้นจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรม เครื่องขัดเกลากิเลส ดูกรจุนทะ แต่ธรรมคือทุติยฌานนี้ เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลา ในวินัยของพระอริยะ เรากล่าวว่าเป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในอัตภาพนี้ ในวินัยของพระอริยะ อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงมีอุเบกขา มีสติ- *สัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญ ว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ภิกษุนั้นจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อม อยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส ดูกรจุนทะ แต่ธรรมคือตติยฌานนี้เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรม เครื่องขัดเกลา ในวินัยของพระอริยะ เรากล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในอัตภาพนี้ ใน วินัยของพระอริยะ อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสในก่อนเสียได้ มีอุเบกขาเป็น เหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ภิกษุนั้นจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส ดูกรจุนทะ แต่ธรรมคือจตุตถฌานนี้เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลา ในวินัยของพระอริยะ เรากล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในอัตภาพนี้ ในวินัยของพระอริยะ [๑๐๓] ดูกรจุนทะ ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน โดยมนสิการว่า อากาศไม่มีที่สุดเพราะก้าวล่วงรูปสัญญา ดับ ปฏิฆสัญญา ไม่มนสิการนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวงอยู่ ภิกษุนั้นจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส ดูกรจุนทะ แต่ธรรมคืออากาสานัญจายตนฌานนี้ เรา ไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลาในวินัยของพระอริยะ เรากล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องอยู่สงบ ระงับ ในวินัยของพระอริยะ อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงล่วงอากาสานัญจาย- *ตนฌานเสียโดยประการทั้งปวง แล้วมนสิการว่า วิญญาณไม่มีที่สุด พึงบรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน อยู่ ภิกษุนั้นจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส ดูกรจุนทะ แต่- *ธรรมคือวิญญาณัญจายตนฌานนี้เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลา ในวินัยของพระอริยะ เรากล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องอยู่สงบระงับ ในวินัยของพระอริยะ อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงล่วงวิญญาณัญจาย- *ตนฌานโดยประการทั้งปวง แล้วมนสิการว่า ไม่มีอะไรเหลือสักน้อยหนึ่ง พึงบรรลุอากิญจัญญายตน ฌานอยู่ ภิกษุนั้นจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส ดูกรจุนทะ แต่ธรรมคืออากิญจัญญายตนฌานนี้ เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลาในวินัยของพระอริยะ เรากล่าวว่าเป็นธรรมเครื่องอยู่สงบระงับ ในวินัยของพระอริยะ อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แลที่ ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงล่วงอากิญจัญญาย- *ตนฌานเสียโดยประการทั้งปวง แล้วพึงบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ ภิกษุนั้นพึงมีความคิด อย่างนี้ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส ดูกรจุนทะ แต่ธรรมคือเนวสัญญานาสัญญาย- *ตนฌานนี้ เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลาในวินัยของพระอริยะ เรากล่าวว่า เป็นธรรม เครื่องอยู่สงบระงับ ในวินัยของพระอริยะ
ว่าด้วยธรรมเครื่องขัดเกลา
[๑๐๔] ดูกรจุนทะ เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลากิเลสในข้อเหล่านี้แล คือ เธอ ทั้งหลาย พึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้เบียดเบียนกัน ในข้อนี้เราทั้งหลายจักเป็น ผู้ไม่เบียดเบียนกัน. เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักงดเว้นจากการฆ่าสัตว์. เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ลักทรัพย์ ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักงดเว้นจากการลักทรัพย์. เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเสพเมถุนธรรม ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักประพฤติพรหมจรรย์. เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักกล่าวเท็จ ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักงด เว้นจากการกล่าวเท็จ. เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักกล่าวส่อเสียด ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักงดเว้นจากการกล่าวส่อเสียด. เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักกล่าวคำหยาบ ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักงดเว้นจากการกล่าวคำหยาบ. เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักกล่าวคำเพ้อเจ้อ ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักงดเว้นจากการกล่าวเพ้อเจ้อ. เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมักเพ่งเล็งภัณฑะของผู้อื่น ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่เพ่งเล็งภัณฑะของผู้อื่น. เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีจิตพยาบาท ในข้อนี้ เราทั้งหลายจัก ไม่มีจิตพยาบาท. เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีความเห็นผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักมีความเห็นชอบ. เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีความดำริผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักมีความดำริชอบ. เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีวาจาผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมี วาจาชอบ. เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีการงานผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักมีการงานชอบ. เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีอาชีพผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมี อาชีพชอบ. เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีความเพียรผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักมีความเพียรชอบ. เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีสติผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมี สติชอบ. เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีสมาธิผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมี สมาธิชอบ. เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีญาณผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมี ญาณชอบ. เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีวิมุติผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมี วิมุติชอบ. เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักถูกถีนมิทธะกลุ้มรุม ในข้อนี้ เราทั้ง- *หลายจักปราศจากถีนมิทธะ. เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ฟุ้งซ่าน ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักเป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน. เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีวิจิกิจฉา ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักข้าม พ้นจากวิจิกิจฉา. เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีความโกรธ ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักไม่มีความโกรธ. เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักผูกโกรธไว้ ในข้อนี้ เราทั้งหลายจัก ไม่ผูกโกรธไว้. เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักลบหลู่คุณท่าน ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักไม่ลบหลู่คุณท่าน. เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักยกตนเทียมท่าน ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักไม่ยกตนเทียมท่าน. เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีความริษยา ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักไม่มีความริษยา. เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีความตระหนี่ ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักไม่มีความตระหนี่. เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักโอ้อวด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่ โอ้อวด. เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีมารยา ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่ มีมารยา. เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักดื้อด้าน ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่ ดื้อด้าน. เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักดูหมิ่นท่าน ในข้อนี้เราทั้งหลายจักไม่ ดูหมิ่นท่าน. เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ว่ายาก ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักเป็นผู้ว่าง่าย. เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีมิตรชั่ว ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมี กัลยาณมิตร. เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นคนประมาท ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักเป็นคนไม่ประมาท. เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นคนไม่มีศรัทธา ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักเป็นคนมีศรัทธา. เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักไม่มีหิริ ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็น ผู้มีหิริในใจ. เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักไม่มีโอตตัปปะ ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักเป็นผู้มีโอตตัปปะ. เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้มีสุตะน้อย ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักเป็นผู้มีสุตะมาก. เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นคนเกียจคร้าน ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักเป็นผู้ปรารภความเพียร. เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้มีสติหลงลืม ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักเป็นผู้มีสติดำรงมั่น. เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นคนมีปัญญาทราม ในข้อนี้ เราทั้ง- *หลายจักเป็นคนถึงพร้อมด้วยปัญญา. เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นคนลูบคลำทิฏฐิของตน ยึดถืออย่าง- *มั่นคง และสละคืนได้โดยยาก ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่เป็นผู้ลูบคลำทิฏฐิของตน ไม่ยึดถือ อย่างมั่นคง และสละคืนได้โดยง่าย. [๑๐๕] ดูกรจุนทะ เราย่อมกล่าวแม้จิตตุปบาทว่า มีอุปการะมากในกุศลธรรมทั้งหลาย ก็จะต้องกล่าวไปไยในการจัดทำให้สำเร็จ ด้วยกาย ด้วยวาจาเล่า เพราะเหตุนั้นแหละ จุนทะ ในข้อนี้ เธอทั้งหลายพึงให้จิตเกิดขึ้นว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้เบียดเบียนกัน ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักเป็นผู้ไม่เบียดเบียนกัน. ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ลูบคลำทิฏฐิของตน ยึดถืออย่างมั่นคง และสละคืนได้โดยยาก ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้ไม่ลูบคลำทิฏฐิของตน ไม่ยึดถืออย่างมั่นคง และสละคืนได้โดยง่าย
ว่าด้วยทางหลีกเลี่ยงคนชั่ว
[๑๐๖] ดูกรจุนทะ เปรียบเหมือนทางที่ไม่เรียบ ก็พึงมีทางเส้นอื่นที่เรียบ สำหรับ หลีกทางที่ไม่ราบเรียบนั้น อนึ่ง เปรียบเหมือนท่าที่ไม่ราบเรียบ ก็พึงมีท่าอื่นที่ราบเรียบ สำหรับ หลีกท่าที่ไม่ราบเรียบนั้น ความไม่เบียดเบียนก็ฉันนั้นแล เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้- *เบียดเบียน การงดเว้นจากปาณาติบาต เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ฆ่าสัตว์. การงดเว้นจากอทินนาทาน เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ลักทรัพย์. การประพฤติพรหมจรรย์ เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้เสพเมถุน. การงดเว้นจากมุสาวาท เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้พูดเท็จ. การงดเว้นจากปิสุณาวาจา เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้กล่าวส่อเสียด. การงดเว้นจากผรุสวาจา เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้กล่าวคำหยาบ. การงดเว้นจากสัมผัปปลาปะ เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้พูดเพ้อเจ้อ. ความเป็นผู้ไม่เพ่งเล็ง เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มักเพ่งเล็ง. ความไม่พยาบาท เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีจิตพยาบาท. ความเห็นชอบ เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีความเห็นผิด. ความดำริชอบ เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีความดำริผิด. การกล่าววาจาชอบ เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีวาจาผิด. การงานชอบ เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีการงานผิด. การเลี้ยงชีพชอบ เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีอาชีพผิด. ความเพียรชอบ เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีความเพียรผิด. ความระลึกชอบ เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีความระลึกผิด. ความตั้งใจมั่นชอบ เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ตั้งใจมั่นผิด. ความรู้ชอบ เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีความรู้ผิด. วิมุตติชอบ เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีวิมุตติผิด. ความเป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลถูกถีนมิทธะครอบงำ. ความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีจิตฟุ้งซ่าน. ความเป็นผู้ข้ามพ้นจากความสงสัย เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีความสงสัย. ความไม่โกรธ เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มักโกรธ. ความไม่เข้าไปผูกโกรธ เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้เข้าไปผูกโกรธ. ความไม่ลบหลู่คุณท่าน เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มักลบหลู่คุณท่าน. ความไม่ยกตนเทียมท่าน เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มักยกตนเทียมท่าน. ความไม่ริษยา เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ริษยา. ความไม่ตระหนี่ เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ตระหนี่. ความไม่โอ้อวด เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้โอ้อวด. ความไม่มีมารยา เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีมารยา. ความเป็นคนไม่ดื้อด้าน เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ดื้อด้าน. ความไม่ดูหมิ่นท่าน เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ดูหมิ่นท่าน. ความเป็นผู้ว่าง่าย เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ว่ายาก. ความเป็นผู้มีมิตรดี เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีมิตรชั่ว. ความไม่ประมาท เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ประมาท. ความเชื่อ เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ไม่มีศรัทธา. ความละอายต่อบาป เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ไม่มีความละอายต่อบาป. ความสะดุ้งกลัวต่อบาป เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ไม่มีความสะดุ้งกลัวต่อบาป. ความเป็นพหูสูต เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีการสดับน้อย. การปรารภความเพียร เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้เกียจคร้าน. ความเป็นผู้มีสติดำรงมั่น เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีสติหลงลืม. ความถึงพร้อมด้วยปัญญา เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีปัญญาทราม. ความเป็นผู้ไม่ลูบคลำทิฏฐิของตน ไม่ยึดถือมั่นคง และบุคคลอื่นให้สละคืนได้โดยง่าย เป็น ทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ลูบคลำทิฏฐิของตน ยึดถือมั่นคง และบุคคลอื่นให้สละคืนได้โดยยาก. [๑๐๗] ดูกรจุนทะ เปรียบเหมือนอกุศลธรรมทั้งมวล เป็นเหตุให้ถึงความเป็นเบื้องล่าง กุศลธรรมทั้งมวล เป็นเหตุให้ถึงความเป็นเบื้องบน ฉันใด ความไม่เบียดเบียนก็ฉันนั้นแล ย่อม เป็นธรรมสำหรับความเป็นเบื้องบนของบุคคลผู้เบียดเบียน. การงดเว้นจากปาณาติบาต ย่อมเป็นธรรมสำหรับความเป็นเบื้องบนของบุคคลผู้ฆ่าสัตว์ การงดเว้นจากอทินนาทาน ย่อมเป็นธรรมสำหรับความเป็นเบื้องบนของบุคคลผู้ ลักทรัพย์ ฯลฯ ความเป็นผู้ไม่ลูบคลำทิฏฐิของตน ไม่ยึดถือมั่นคง และสละคืนได้โดยง่ายเป็นทางสำหรับ ความเบื้องบนของบุคคลผู้ลูบคลำทิฏฐิของตน ยึดถือมั่นคง และสละคืนได้โดยยาก
ว่าด้วยอุบายบรรลุนิพพาน
[๑๐๘] ดูกรจุนทะ ผู้ที่ตนเองจมอยู่ในเปือกตมอันลึกแล้ว จักยกขึ้นซึ่งบุคคลอื่นที่จม อยู่ในเปือกตมอันลึก ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีไม่ได้. ผู้ที่ตนเองไม่จมอยู่ในเปือกตมอันลึก จักยกขึ้นซึ่งบุคคลอื่นที่จมอยู่ในเปลือกตมอันลึก ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้. ผู้ที่ไม่ฝึกตน ไม่แนะนำตน ไม่ดับสนิทด้วยตนเอง จักฝึกสอน จักแนะนำผู้อื่น จักให้ ผู้อื่นดับสนิท ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีไม่ได้. ผู้ที่ฝึกตน แนะนำตน ดับสนิทด้วยตนเอง จักฝึกสอน จักแนะนำผู้อื่น จักให้ผู้อื่น ดับสนิท ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ฉันใด. ดูกรจุนทะ ความไม่เบียดเบียนก็ฉันนั้นแล ย่อมเป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้- *เบียดเบียน. การงดเว้นจากปาณาติบาต เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ฆ่าสัตว์. การงดเว้นจากอทินนาทาน เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ลักทรัพย์. การประพฤติพรหมจรรย์ เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้เสพเมถุนธรรม. การงดเว้นจากมุสาวาท เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้พูดเท็จ. การงดเว้นจากปิสุณาวาจา เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้กล่าวส่อเสียด. การงดเว้นจากผรุสวาจา เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้กล่าวคำหยาบ. การงดเว้นจากสัมผัปปลาปะ เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้พูดเพ้อเจ้อ. ความเป็นผู้ไม่เพ่งเล็ง เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มักเพ่งเล็ง. ความไม่พยาบาท เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีจิตพยาบาท. ความเห็นชอบ เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีความเห็นผิด. ความดำริชอบ เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีความดำริผิด. การกล่าววาจาชอบ เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีวาจาผิด. การงานชอบ เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีการงานผิด. การเลี้ยงชีวิตชอบ เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีอาชีพผิด. ความเพียรชอบ เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีความเพียรผิด. ความระลึกชอบ เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีความระลึกผิด. ความตั้งใจมั่นชอบ เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีความตั้งใจมั่นผิด. ความรู้ชอบ เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีความรู้ผิด. ความพ้นชอบ เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีความพ้นผิด. ความเป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ถูกถีนมิทธะครอบงำ. ความเป็นผู้มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีจิตฟุ้งซ่าน. ความเป็นผู้ข้ามพ้นความสงสัย เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีความสงสัย. ความไม่โกรธ เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มักโกรธ. ความไม่ผูกโกรธ เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ผูกโกรธ. ความไม่ลบหลู่คุณท่าน เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ลบหลู่คุณท่าน. ความไม่ยกตนเทียมท่าน เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ยกตนเทียมท่าน. ความไม่ริษยา เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ริษยา. ความไม่ตระหนี่ เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ตระหนี่. ความไม่โอ้อวด เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้โอ้อวด. ความไม่มีมารยา เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีมารยา. ความเป็นคนไม่ดื้อด้าน เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ดื้อด้าน. ความไม่ดูหมิ่นท่าน เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ดูหมิ่นท่าน. ความเป็นผู้ว่าง่าย เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ว่ายาก. ความเป็นผู้มีมิตรดี เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีมิตรชั่ว. ความไม่ประมาท เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ประมาท. ความเชื่อ เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ไม่ศรัทธา. ความละอายต่อบาป เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ไม่มีความละอายต่อบาป. ความสะดุ้งกลัวต่อบาป เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ไม่มีความสะดุ้งกลัวต่อบาป. ความเป็นพหูสูต เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีการสดับน้อย. การปรารภความเพียร เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้เกียจคร้าน. ความเป็นผู้มีสติดำรงมั่น เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีสติหลงลืม. ความถึงพร้อมด้วยปัญญา เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีปัญญาทราม. ความเป็นผู้ไม่ลูบคลำทิฏฐิของตน ไม่ยึดถือมั่นคง และสละคืนได้โดยง่าย เป็นทาง สำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ลูบคลำทิฏฐิของตน ยึดถือมั่นคง และสละคืนได้โดยยาก. [๑๐๙] ดูกรจุนทะ เหตุแห่งธรรมเครื่องขัดเกลา เราได้แสดงแล้ว เหตุแห่งจิตตุปบาท เราได้แสดงแล้ว เหตุแห่งการหลีกเลี่ยง เราได้แสดงแล้ว เหตุแห่งความเป็นเบื้องบน เราได้ แสดงแล้ว เหตุแห่งความดับสนิท เราได้แสดงแล้ว ด้วยประการฉะนี้ ดูกรจุนทะ กิจอัน ใดที่ศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์ เอ็นดูอนุเคราะห์ แก่เหล่าสาวกจะพึงทำ กิจนั้นเราทำแก่เธอ ทั้งหลายแล้ว ดูกรจุนทะ นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง เธอทั้งหลายจงเพ่งพินิจเถิด อย่าประมาท อย่าได้เป็นผู้มีความเดือดร้อนในภายหลังเลย นี้เป็นคำสอนของเราสำหรับเธอทั้งหลาย ฉะนี้แล. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ท่านพระมหาจุนทะชื่นชมยินดีภาษิตของ- *พระผู้มีพระภาค ฉะนี้แล.
พระผู้มีพระภาคตรัสบท ๔๔ ทรงแสดงสนธิ ๕
พระสูตรนี้ ชื่อสัลเลขสูตร ลุ่มลึก เปรียบด้วยสาคร ฉะนี้.
จบ สัลเลขสูตร ที่ ๘
-----------------------------------------------------
๙. สัมมาทิฏฐิสูตร
ว่าด้วยความเห็นชอบ
[๑๑๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก- *เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้น ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายแล้ว ภิกษุพวกนั้น รับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ที่เรียกว่า สัมมาทิฏฐิๆ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ อริยสาวกจึงจะชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไป ตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้ พวกภิกษุกล่าวว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ พวกกระผมมาจากที่ไกล ก็เพื่อจะรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิตนี้ ในสำนักของท่าน พระสารีบุตร ดังพวกกระผมขอโอกาส เนื้อความแห่งภาษิตนี้ จงแจ่มแจ้งกะท่านพระสารีบุตรเถิด ภิกษุทั้งหลายได้ฟังต่อท่านพระสารีบุตรแล้ว จักทรงจำไว้ ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ถ้าอย่างนั้น จงฟังเถิด ท่านผู้มีอายุ จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุพวกนั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว. [๑๑๑] ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดอริยสาวกรู้ชัดซึ่ง อกุศลและรากเหง้าอกุศล รู้ชัดซึ่งกุศลและรากเหง้าของกุศล แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่า เป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้วประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่ พระสัทธรรมนี้ ก็อกุศลเป็นไฉน? ได้แก่ ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ อยากได้ของผู้อื่น ปองร้ายเขา เห็นผิด อันนี้เรียกว่า อกุศลแต่ละอย่างๆ รากเหง้าของอกุศลเป็นไฉน? ได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ อันนี้เรียกว่ารากเหง้า ของอกุศลแต่ละอย่างๆ กุศลเป็นไฉน? ได้แก่ ความเว้นจากฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิด ในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ ไม่อยากได้ของผู้อื่น ไม่ปองร้ายเขา เห็นชอบ อันนี้เรียกว่า กุศลแต่ละอย่างๆ รากเหง้าของกุศลเป็นไฉน? ได้แก่ อโลภะ อโทสะ อโมหะ อันนี้เรียกว่า รากเหง้าของกุศลแต่ละอย่างๆ ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัด ซึ่งอกุศลและรากเหง้าของอกุศลอย่างนี้ๆ รู้ชัดซึ่งกุศลและรากเหง้าของกุศลอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละ ราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ถอนทิฏฐานุสัย และมานานุสัยว่า เรามีอยู่โดยประการทั้งปวง ละอวิชชา ยังวิชชาให้เกิด ย่อมกระทำที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบันนี้เทียว แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอัน แน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้ [๑๑๒] ภิกษุเหล่านั้นชื่นชม อนุโมทนาภาษิตของท่านพระสารีบุตรว่า สาธุ ท่านผู้มีอายุ แล้วได้ถามปัญหากะท่านพระสารีบุตรต่อไปว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือปริยายแม้อย่างอื่น ที่อริยสาวกซึ่งชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.
อาหารวาร
[๑๑๓] ท่านพระสารีบุตรตอบว่า พึงมีอยู่ ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดอริยสาวกรู้ชัดซึ่งอาหาร เหตุเกิดแห่งอาหาร ความดับอาหาร และทางที่จะให้ถึงความดับอาหาร แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็อาหาร เหตุเกิดแห่งอาหาร ความดับอาหาร ทางที่จะให้ถึงความดับอาหาร เป็นไฉน? ได้แก่อาหาร ๔ อย่างเหล่านี้ เพื่อความดำรงอยู่ของหมู่ สัตว์ผู้เกิดแล้ว หรือเพื่ออนุเคราะห์เหล่าสัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด อาหาร ๔ อย่างเป็นไฉน? คือ ๑ อาหาร คือ คำข้าว หยาบหรือละเอียด ๒ อาหาร คือ ผัสสะ ๓ อาหาร คือ ความคิดอ่าน [จงใจ] ๔ อาหาร คือ วิญญาณ [ความรู้แจ้งทางทวาร ๖] เหตุเกิดแห่งอาหารย่อมมีเพราะตัณหาเป็นเหตุให้เกิด ความดับอาหารย่อมมีเพราะตัณหา ดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ดำริชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจมั่นชอบ ชื่อว่าทางที่จะให้ถึงความดับอาหาร ดูกรท่าน ผู้มีอายุ เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอาหาร เหตุเกิดแห่งอาหาร ความดับอาหาร ทางที่จะให้ถึง ความดับอาหารอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ถอนทิฏฐานุสัย และ มานานุสัย ว่าเรามีอยู่ โดยประการทั้งปวง ละอวิชชา ยังวิชชาให้เกิด ย่อมกระทำที่สุดแห่งทุกข์ ในปัจจุบันนี้เทียว แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไป ตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้. [๑๑๔] ภิกษุเหล่านั้น ชื่นชม อนุโมทนาภาษิตของท่านพระสารีบุตรว่า สาธุ ท่านผู้มีอายุ แล้วได้ถามปัญหากะท่านพระสารีบุตรต่อไปว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น อริยสาวก ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.
สัจจวาร
[๑๑๕] ท่านพระสารีบุตรตอบว่า พึงมีอยู่ ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดอริยสาวกรู้ชัดซึ่งทุกข์ ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็น สัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็ทุกข์เป็นไฉน? ได้แก่ ความเกิด ความแก่ ความตาย ความ แห้งใจ ความพิไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความเสียใจ ความคับแค้นใจ ความประจวบกับ สิ่งไม่เป็นที่รัก ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สมหวัง แต่ละอย่างๆ ล้วน เป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์ อันนี้เรียกว่า ความทุกข์ ก็ทุกขสมุทัยเป็นไฉน? ได้แก่ ตัณหาอันทำให้เกิดในภพใหม่ ประกอบด้วยความกำหนัด ด้วยสามารถแห่งความเพลิน เพลิดเพลินยิ่งในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา อันนี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธเป็นไฉน? ได้แก่ความดับด้วยสามารถแห่งความสำรอกโดยไม่เหลือ ความสละ ความ วาง ความปล่อย ความไม่พัวพัน แห่งตัณหานั้นแหละ อันนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ ทุกขนิโรธ- *คามินีปฏิปทาเป็นไฉน? ได้แก่ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ... ความตั้งใจมั่นชอบ อันนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ดูกรผู้มีอายุ เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งทุกข์ ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุ เพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความ เลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.
ชรามรณวาร
[๑๑๖] ภิกษุเหล่านั้น ชื่นชม อนุโมทนาภาษิตของท่านพระสารีบุตรว่า สาธุ ท่านผู้มีอายุ แล้วได้ถามปัญหากะท่านพระสารีบุตรต่อไปว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น อริยสาวก ... มาสู่พระสัทธรรมนี้. [๑๑๗] ท่านพระสารีบุตรตอบว่า พึงมีอยู่ ท่านผู้มีอายุ เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งชรา และมรณะ เหตุเกิดแห่งชราและมรณะ ความดับชราและมรณะ และทางที่จะให้ถึงความดับชรา และมรณะ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็ชรา และมรณะ เหตุเกิดแห่งชราและมรณะ ความดับชราและมรณะ ทางที่จะให้ถึงความดับชราและ มรณะ เป็นไฉน? ได้แก่ความแก่ ความคร่ำคร่า ฟันหลุด ผมหงอก หนังย่น ความเสื่อมแห่ง อายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้เรียกว่าชรา ความจุติ ความเคลื่อนไป ความแตกทำลาย ความหายไป มฤตยู ความตาย ความทำกาละ ความแตก แห่งขันธ์ ความทิ้งซากศพไว้ ความขาดไปแห่งชีวิตินทรีย์จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้เรียกว่ามรณะ ชราและมรณะ ดังพรรณนามาฉะนี้ เรียกว่า ชราและมรณะ เหตุเกิดแห่งชรา และมรณะ ย่อมมีเพราะชาติเป็นเหตุให้เกิด ความดับชราและมรณะ ย่อมมีเพราะชาติดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ... ความตั้งใจมั่นชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ ถึงความดับชราและมรณะ ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งชราและมรณะ เหตุเกิด แห่งชราและมรณะ ความดับชราและมรณะ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ อย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ฯลฯ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.
ชาติวาร
[๑๑๘] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ท่านพระสารีบุตรตอบว่า พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งชาติ เหตุเกิดแห่งชาติ ความดับชาติ และ ปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับชาติ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่ พระสัทธรรมนี้ ก็ชาติ เหตุเกิดแห่งชาติ ความดับชาติ ปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับชาติ เป็นไฉน? ความเกิด ความบังเกิด ความหยั่งลง เกิด เกิดเฉพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะ ครบ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้เรียกว่า ชาติ เหตุเกิดแห่งชาติย่อมมีเพราะภพ เป็นเหตุให้เกิด ความดับชาติย่อมมี เพราะภพดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ... ความตั้งใจมั่นชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับชาติ ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งชาติ เหตุเกิดแห่งชาติ ความดับชาติและปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับชาติอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระ- *สัทธรรมนี้
ภวาทิวาร
[๑๑๙] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งภพ เหตุเกิดแห่งภพ ความดับภพ และปฏิปทา ที่จะให้ถึงความดับภพ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็ภพ เหตุเกิดแห่งภพ ความดับภพ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับภพ เป็นไฉน? ได้แก่ ภพ ๓ เหล่านี้ คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ เหตุเกิดแห่งภพ ย่อมมีเพราะอุปาทานเป็นเหตุให้เกิด ความดับภพ ย่อมมีเพราะอุปาทานดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ... ความตั้งใจมั่นชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับภพ ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัด ซึ่งภพ เหตุเกิดแห่งภพ ความดับภพ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับภพอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละ ราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้. [๑๒๐] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอุปาทาน เหตุเกิดแห่งอุปาทาน ความดับอุปาทาน และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอุปาทาน แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็อุปาทาน เหตุเกิดแห่งอุปาทาน ความดับอุปาทาน และปฏิปทาที่จะให้ถึง ความดับอุปาทาน เป็นไฉน? ได้แก่ อุปาทาน ๔ คือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพัตตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน เหตุเกิดแห่งอุปาทาน ย่อมมีเพราะตัณหาเป็นเหตุให้เกิด ความดับอุปาทาน ย่อมมีเพราะตัณหาดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ... ความตั้งใจมั่นชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอุปาทาน ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอุปาทาน เหตุเกิดแห่งอุปาทาน ความดับอุปาทาน และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอุปาทานอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.
ตัณหาทิวาร
[๑๒๑] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งตัณหา เหตุเกิดแห่งตัณหา ความดับแห่งตัณหา และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับตัณหา แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็ตัณหา เหตุเกิดแห่งตัณหา ความดับตัณหา และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับ ตัณหาเป็นไฉน? ได้แก่ ตัณหา ๖ หมวดเหล่านี้ คือ ตัณหาในรูป ตัณหาในเสียง ตัณหาในกลิ่น ตัณหาในรส ตัณหาในโผฏฐัพพะ ตัณหาในธรรม เหตุเกิดแห่งตัณหา ย่อมมีเพราะเวทนาเป็น เหตุให้เกิด ความดับตัณหา ย่อมมีเพราะเวทนาดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ... ความตั้งใจมั่นชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับตัณหา ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งตัณหา เหตุเกิดแห่งตัณหา ความดับตัณหา และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับตัณหา อย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้. [๑๒๒] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งเวทนา เหตุเกิดแห่งเวทนา ความดับเวทนา และ ปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับเวทนา แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่ พระสัทธรรมนี้ ก็เวทนา เหตุเกิดแห่งเวทนา ความดับเวทนา และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับ เวทนา เป็นไฉน? ได้แก่เวทนา ๖ หมวดเหล่านี้ คือ เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่ โสตสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่ฆานสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่ชิวหาสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่กายสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่มโนสัมผัส เหตุเกิดเวทนา ย่อมมีเพราะผัสสะเป็นเหตุให้เกิด ความดับเวทนา ย่อมมีเพราะผัสสะดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือความเห็นชอบ ... ความตั้งใจมั่นชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับเวทนา ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งเวทนา เหตุ- *เกิดแห่งเวทนา ความดับเวทนา และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับเวทนาอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่าน ละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้. [๑๒๓] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งผัสสะ เหตุเกิดแห่งผัสสะ ความดับผัสสะ และ ปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับผัสสะ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่ พระสัทธรรมนี้. ก็ผัสสะ เหตุเกิดแห่งผัสสะ ความดับผัสสะ และทางที่จะให้ถึงความดับผัสสะ เป็นไฉน? ได้แก่ ผัสสะ ๖ หมวด คือ จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส เหตุเกิดแห่งผัสสะ ย่อมมีเพราะอายตนะ ๖ เป็นเหตุให้เกิด ความดับผัสสะ ย่อมมีเพราะอายตนะ ๖ ดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือความเห็นชอบ ... ความตั้งใจมั่นชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับผัสสะ ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งผัสสะ เหตุเกิดแห่งผัสสะ ความดับผัสสะ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับผัสสะอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่าน ละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้. [๑๒๔] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอายตนะ ๖ เหตุเกิดแห่งอายตนะ ๖ ความดับ แห่งอายตนะ ๖ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอายตนะ ๖ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่า เป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็อายตนะ ๖ เหตุเกิดแห่งอายตนะ ๖ ความดับอายตนะ ๖ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอายตนะ ๖ เป็นไฉน? ได้แก่ อายตนะ ๖ เหล่านี้ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เหตุเกิดแห่งอายตนะ ๖ ย่อมมีเพราะนามรูปเป็นเหตุให้เกิด ความดับอายตนะ ๖ ย่อมมี เพราะนามรูปดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ... ความตั้งใจมั่นชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอายตนะ ๖ ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอายตนะ ๖ เหตุเกิดอายตนะ ๖ ความดับอายตนะ ๖ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอายตนะ ๖ อย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระ- *สัทธรรมนี้.
นามรูปาทิวาร
[๑๒๕] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งนามรูป เหตุเกิดแห่งนามรูป ความดับนามรูป และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับนามรูป แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็นามรูป เหตุเกิดแห่งนามรูป ความดับนามรูป และปฏิปทาที่จะให้ถึงความ ดับนามรูป เป็นไฉน? เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ อันนี้เรียกว่า นาม มหาภูต- *รูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ อันนี้เรียกว่ารูป นามและรูปดังพรรณนามาฉะนี้ เรียกว่า นามรูป เหตุเกิดแห่งนามรูป ย่อมมีเพราะวิญญาณเป็นเหตุให้เกิด ความดับนามรูป ย่อมมีเพราะวิญญาณ ดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือความเห็นชอบ ... ความตั้งใจมั่นชอบ ชื่อว่าปฏิปทา ที่จะให้ถึงความดับนามรูป ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งนามรูป เหตุเกิดแห่ง นามรูป ความดับนามรูป และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับนามรูปอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคา- *นุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้. [๑๒๖] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งวิญญาณ เหตุเกิดแห่งวิญญาณ ความดับวิญญาณ และทางที่จะให้ถึงความดับวิญญาณ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่ พระสัทธรรมนี้ ก็วิญญาณ เหตุเกิดแห่งวิญญาณ ความดับวิญญาณ ปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับวิญญาณ เป็นไฉน? ได้แก่ วิญญาณ ๖ หมวดเหล่านี้ คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ เหตุเกิดแห่งวิญญาณ ย่อมมีเพราะสังขารเป็นเหตุ ให้เกิด ความดับวิญญาณ ย่อมมีเพราะสังขารดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ... ความตั้งใจมั่นชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับวิญญาณ ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใด แล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งวิญญาณ เหตุเกิดแห่งวิญญาณ ความดับวิญญาณ ปฏิปทาที่จะให้ถึงความ ดับวิญญาณ อย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็น สัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.
สังขารวาร
[๑๒๗] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งสังขาร เหตุเกิดแห่งสังขาร ความดับสังขาร และ ปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับสังขาร แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่ พระสัทธรรมนี้ ก็สังขาร เหตุเกิดแห่งสังขาร ความดับสังขาร ทางที่จะให้ถึงความดับสังขาร เป็นไฉน? ได้แก่ สังขาร ๓ เหล่านี้ คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร เหตุเกิดแห่งสังขาร ย่อมมีเพราะอวิชชาเป็นเหตุให้เกิด ความดับสังขาร ย่อมมีเพราะอวิชชาดับ อริยมรรคประกอบ ด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ... ความตั้งใจมั่นชอบ ชื่อว่าทางที่จะให้ถึงความดับสังขาร ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งสังขาร เหตุเกิดแห่งสังขาร ความดับสังขาร ปฏิปทา ที่จะให้ถึงความดับสังขารอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวก ชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.
อวิชชาวาร
[๑๒๘] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอวิชชา เหตุเกิดแห่งอวิชชา ความดับอวิชชา และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอวิชชา แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็อวิชชา เหตุเกิดแห่งอวิชชา ความดับอวิชชา และปฏิปทาที่จะให้ถึงความ ดับอวิชชา เป็นไฉน? ความไม่รู้ในทุกข์ ในเหตุเกิดแห่งทุกข์ ในความดับทุกข์ ในปฏิปทาที่จะให้ถึง ความดับทุกข์ อันนี้เรียกว่าอวิชชา เหตุเกิดแห่งอวิชชา ย่อมมีเพราะอาสวะเป็นเหตุให้เกิด ความดับอวิชชา ย่อมมีเพราะอาสวะดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือความเห็นชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอวิชชา ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวก รู้ชัดซึ่งอวิชชา เหตุเกิดแห่งอวิชชา ความดับอวิชชา ทางที่จะให้ถึงความดับอวิชชาอย่างนี้ๆ เมื่อ นั้น ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนิน ไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้. [๑๒๙] ภิกษุเหล่านั้น ชื่นชม อนุโมทนาภาษิตของท่านพระสารีบุตรว่า สาธุ ท่านผู้มีอายุ แล้วได้ถามปัญหากะท่านพระสารีบุตรต่อไปว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือปริยายแม้อย่างอื่น ที่อริยสาวกซึ่งชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.
อาสววาร
[๑๓๐] ท่านพระสารีบุตรตอบว่า พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอาสวะ อาสวสมุทัย อาสวนิโรธ อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่า เป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็อาสวะ เหตุเกิดแห่งอาสวะ ความดับอาสวะ ทางที่จะให้ถึงความดับอาสวะ เป็นไฉน? ได้แก่ อาสวะ ๓ เหล่านี้ คือ กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ เหตุเกิดแห่งอาสวะ ย่อมมีเพราะอวิชชาเป็นเหตุให้เกิด ความดับอาสวะ ย่อมมีเพราะอวิชชาดับ อริยมรรคประกอบ ด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ดำริชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจมั่นชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอาสวะ ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอาสวะ เหตุเกิดแห่งอาสวะ ความดับอาสวะ ปฏิปทาที่จะให้ถึงความ ดับอาสวะ อย่างนี้ๆ เมื่อนั้นท่านละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ถอนทิฏฐานุสัย และ มานานุสัย โดยประการทั้งปวง ละอวิชชา ยังวิชชาให้เกิด ย่อมกระทำซึ่งที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบัน เทียว แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้. ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น ชื่นชม ยินดีภาษิตของท่านพระสารี- *บุตรแล้วแล.
จบ สัมมาทิฏฐิสูตร ที่ ๙
ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็ ๖ บทที่กล่าวว่าเป็นไฉน ได้แก่ ทุกข์ ชรามรณะ อุปาทาน อายตนะ ๖ นามรูป วิญญาณ ๔ บทที่กล่าวว่าเป็นไฉน ได้แก่ ชาติ ตัณหา เวทนา และหมวด ๔ แห่งอวิชชา ๕ บทที่กล่าวว่าเป็นไฉน ได้แก่ อาหาร ภพ ผัสสะ สังขาร อาสวะเป็นที่ ๕ หกอย่างเป็นไฉน ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้ว สี่อย่างเป็นไฉน ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้ว ห้าอย่างเป็นไฉน ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้ว บทแห่งสังขารทั้งปวง มี ๑๕ บท ฉะนี้แล.
-----------------------------------------------------
๑๐. สติปัฏฐานสูตร
ว่าด้วยการเจริญสติปัฏฐาน
[๑๓๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในแคว้นกุรุ มีนิคมหนึ่งของแคว้นกุรุ ชื่อว่า กัมมาสธรรม ณ ที่นั่น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่า นั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว. [๑๓๒] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไป อันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญแห่ง ทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง. หนทางนี้คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ. ๔ ประการเป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายใน กายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ พิจารณา เห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก เสียได้ ๑ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัส ในโลกเสียได้ ๑ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้ ๑.
อานาปานบรรพ
[๑๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่อย่างไรเล่า? ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า. เธอมีสติ หายใจออก มีสติ หายใจเข้า เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว. เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น. ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก. ย่อม สำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับ กายสังขารหายใจออก. ย่อมสำเหนียกว่าเราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า. นายช่างกลึง หรือ ลูกมือของนายช่างกลึงผู้ฉลาด เมื่อชักเชือกกลึงยาว ก็รู้ชัดว่า เราชักยาว. เมื่อชักเชือกกลึงสั้น ก็รู้ชัดว่า เราชักสั้น แม้ฉันใด. ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เรา หายใจออกยาว. เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว. เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น. เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น. ย่อมสำเหนียกว่า เราจัก เป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก. ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกาย สังขาร หายใจเข้า. ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็น กายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความ เกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่ อนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่า ความรู้เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่น อะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่.
จบ อานาปานบรรพ.
อิริยาปถบรรพ
[๑๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเมื่อเดิน ก็รู้ชัดว่าเราเดิน เมื่อยืน ก็รู้ชัดว่า เรายืน เมื่อนั่ง ก็รู้ชัดว่า เรานั่ง เมื่อนอน ก็รู้ชัดว่า เรานอน หรือเธอตั้งกายไว้ ด้วยอาการอย่างใดๆ ก็รู้ชัดอาการอย่างนั้นๆ. ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายใน กายภายในบ้าง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่.
จบ อิริยาปถบรรพ.
สัมปชัญญบรรพ
[๑๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้กระทำสัมปชัญญะในการก้าวไป และถอยกลับ ในการแลไปข้างหน้า และเหลียวซ้ายเหลียวขวา ในการคู้อวัยวะเข้า และเหยียด ออก ในการทรงผ้าสังฆาฏิ บาตร และจีวร ในการกิน ดื่ม เคี้ยว ลิ้ม ในการถ่ายอุจจาระ และปัสสาวะ ในการเดิน ยืน นั่ง นอน หลับ ตื่น พูด นิ่ง. ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณา เห็นกายในกายอยู่.
จบ สัมปชัญญบรรพ.
ปฏิกูลบรรพ.
[๑๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ เบื้อง บนแต่พื้นเท้าขึ้นไป เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงมา มีหนังเป็นที่สุดรอบเต็มด้วยของไม่สะอาดมี ประการต่างๆ ว่า มีอยู่ในกายนี้ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร ไถ้มีปากสองข้าง เต็มด้วยธัญญชาติต่างอย่าง คือ ข้าวสาลี ข้าวเปลือก ถั่วเขียว ถั่วเหลือง งา ข้าวสาร บุรุษ ผู้มีนัยน์ตาดี แก้ไถ้นั้นแล้ว พึงเห็นได้ว่า นี้ข้าวสาลี นี้ข้าวเปลือก นี้ถั่วเขียว นี้ถั่วเหลือง นี้งา นี้ข้าวสาร ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ เบื้องบนแต่ พื้นเท้าขึ้นไป เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงมา มีหนังเป็นที่สุดรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการ ต่างๆ ว่า มีอยู่ในกายนี้ ผม ขน ฯลฯ ไขข้อ มูตร ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณา เห็นกายในกายภายในบ้าง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายใน กายอยู่.
จบ ปฏิกูลบรรพ.
ธาตุบรรพ.
[๑๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ ซึ่งตั้ง อยู่ตามที่ตั้งอยู่ตามปกติ โดยความเป็นธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม คนฆ่าโค หรือลูกมือของคนฆ่าโคผู้ฉลาด ฆ่าแม่โคแล้ว แบ่งออกเป็นส่วนๆ นั่งอยู่ ที่หนทาง ใหญ่ ๔ แพร่ง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ ซึ่งตั้งอยู่ตามที่ตั้ง อยู่ตามปกติ โดยความเป็นธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ดังพรรณนา มาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุ ชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่.
จบ ธาตุบรรพ.
นวสีวถิกาบรรพ.
[๑๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง เปรียบเหมือนภิกษุพึงเห็นสรีระที่เขาทิ้ง ไว้ในป่าช้า ตายแล้ววันหนึ่งบ้าง สองวันบ้าง สามวันบ้าง ที่ขึ้นพอง มีสีเขียวน่าเกลียด น้ำ เหลืองไหลน่าเกลียด เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็น ธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็น กายในกายภายในบ้าง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่. อีกประการหนึ่ง เปรียบเหมือนภิกษุ พึงเห็นสรีระที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า อันฝูงกาจิกกิน อยู่บ้าง ฝูงแร้งจิกกินอยู่บ้าง ฝูงนกตะกรุมจิกกินอยู่บ้าง หมู่สุนัขกัดกินอยู่บ้าง หมู่สุนัขจิ้งจอก กัดกินอยู่บ้าง หมู่สัตว์ต่างๆ กัดกินอยู่บ้าง เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า ถึงร่างกายอันนี้ เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นกายในกายอยู่. อีกประการหนึ่ง เปรียบเหมือนภิกษุ พึงเห็นสรีระที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นร่างกระดูก ยังมีเนื้อและเลือด ยังมีเส้นเอ็นผูกรัดอยู่ ฯลฯ เป็นร่างกระดูก เปื้อนเลือด แต่ปราศจากเนื้อ ยังมีเส้นเอ็นผูกรัดอยู่ ฯลฯ เป็นร่างกระดูก ปราศจากเนื้อและเลือดแล้ว ยังมีเส้นเอ็นผูกรัด อยู่ ฯลฯ เป็นร่างกระดูก ปราศจากเส้นเอ็นผูกรัดแล้ว เรี่ยรายไปในทิศน้อยทิศใหญ่ คือกระดูก มือไปทางหนึ่ง กระดูกเท้าไปทางหนึ่ง กระดูกแข้งไปทางหนึ่ง กระดูกขาไปทางหนึ่ง กระดูก สะเอวไปทางหนึ่ง กระดูกข้อสันหลังไปทางหนึ่ง กระดูกซี่โครงไปทางหนึ่ง กระดูกหน้าอกไป ทางหนึ่ง กระดูกแขนไปทางหนึ่ง กระดูกไหล่ไปทางหนึ่ง กระดูกคอไปทางหนึ่ง กระดูกคาง ไปทางหนึ่ง กระดูกฟันไปทางหนึ่ง กะโหลกศีรษะไปทางหนึ่ง เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละ ว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่. อีกประการหนึ่ง เปรียบเหมือนภิกษุ พึงเห็นสรีระที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นกระดูก มีสีขาว เปรียบด้วยสีสังข์ ... เป็นกระดูก เป็นกองเรี่ยรายแล้ว เก่าเกินปีหนึ่งไปแล้ว ... เป็น กระดูกผุละเอียดแล้ว เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอยู่อย่างนี้เป็น ธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณา เห็นกายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายใน ทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อม ในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรม คือ ทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่ อนึ่ง สติของเธอตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่า อาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็น ผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่าง นี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่.
จบ นวสีวถิกาบรรพ
จบ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน.
เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน
[๑๓๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่อย่างไรเล่า? ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ เมื่อเสวยสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนา เสวยทุกขเวทนา ก็รู้ชัดว่า เรา เสวยทุกขเวทนา เสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนา. หรือเสวยสุข เวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนามีอามิส หรือเสวยสุขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนาไม่มีอามิส หรือเสวยทุกขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนา มีอามิส หรือเสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส หรือ เสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิส หรือเสวย อทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายในบ้าง พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในเวทนา บ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในเวทนาบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความ เสื่อมในเวทนาบ้าง ย่อมอยู่ อนึ่ง สติของเธอตั้งมั่นอยู่ว่า เวทนามีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหา และทิฏฐิไม่อาศัยอยู่แล้วและไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่.
จบ เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน.
จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
[๑๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่อย่างไรเล่า? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ จิตมีราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะ ก็รู้ชัด ว่า จิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ชัดว่า จิตปราศจากโทสะ หรือจิตมีโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตมี โมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ ก็รู้ชัดว่า จิตหดหู่ หรือ จิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ชัดว่า จิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหรคต ก็รู้ชัดว่า จิตเป็นมหรคต จิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้ชัดว่า จิตไม่เป็นมหรคต จิตมีธรรมอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ชัดว่า จิตมีธรรมอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มี ธรรมอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ชัดว่า จิตไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า จิตตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่า จิตตั้งมั่น หรือจิตไม่ตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่า จิตไม่ตั้งมั่น จิตหลุดพ้น ก็รู้ชัดว่า จิตหลุดพ้น หรือจิตยังไม่หลุดพ้น ก็รู้ชัดว่า จิตยังไม่ หลุดพ้น ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตภายในบ้าง พิจารณาเห็นจิตในจิตภาย นอกบ้าง พิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในจิต บ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในจิตบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อม ในจิตบ้าง ย่อมอยู่ อนึ่ง สติของเธอตั้งมั่นอยู่ว่า จิตมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัย ระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่.
จบ จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน.
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน.
นีวรณบรรพ.
[๑๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่อย่างไรเล่า? ภิกษุในธรรม วินัยนี้ พิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ นิวรณ์ ๕ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ นิวรณ์ ๕ อย่างไรเล่า? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อกามฉันทะมีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า กามฉันทะ มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อกามฉันทะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า กามฉันทะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง กามฉันทะที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้น ด้วย กามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้วจะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย กามฉันทะที่ละ ได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อีกอย่างหนึ่ง เมื่อพยาบาท มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า พยาบาทมีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อพยาบาทไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า พยาบาทไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง พยาบาทที่ยังไม่เกิด จะ เกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัด ประการนั้นด้วย พยาบาทที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วย ประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย พยาบาทที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วย ประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อีกอย่างหนึ่ง เมื่อถีนมิทธะมีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ ชัดว่า ถีนมิทธะมีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อถีนมิทธะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า ถีนมิทธะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย ถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้น ด้วย ถีนมิทธะที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อีกอย่าง หนึ่ง เมื่ออุทธัจจกุกกุจจะมีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า อุทธัจจกุกกุจจะมีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่ออุทธัจจกุกกุจจะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า อุทธัจจกุกกุจจะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ของเรา อนึ่ง อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อุทธัจจกุกกุจจะที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อีกอย่าง หนึ่ง เมื่อวิจิกิจฉามีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า วิจิกิจฉามีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อ วิจิกิจฉาไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า วิจิกิจฉาไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง วิจิกิจฉา ที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย วิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว จะละ เสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย วิจิกิจฉาที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วย ประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภาย ในบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้าง ย่อมอยู่ อนึ่ง สติของเธอตั้งมั่น อยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและ ทิฏฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ นิวรณ์ ๕ อยู่.
จบ นีวรณบรรพ
ขันธบรรพ
[๑๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ อุปาทานขันธ์ ๕ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คืออุปาทานขันธ์ ๕ อย่างไรเล่า? ภิกษุในธรรม วินัยนี้พิจารณาเห็นดังนี้ว่า อย่างนี้รูป อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งรูป อย่างนี้ความดับแห่งรูป อย่างนี้เวทนา อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา อย่างนี้ความดับแห่งเวทนา อย่างนี้สัญญา อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งสัญญา อย่างนี้ความดับแห่งสัญญา อย่างนี้สังขาร อย่างนี้ความ เกิดขึ้นแห่งสังขาร อย่างนี้ความดับแห่งสังขาร อย่างนี้วิญญาณ อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่ง วิญญาณ อย่างนี้ความดับแห่งวิญญาณ ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม ภายในบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้าง ย่อมอยู่ อนึ่ง สติของเธอตั้งมั่น อยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิ ไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ อุปาทานขันธ์ ๕ อยู่.
จบ ขันธบรรพ.
อายตนบรรพ.
[๑๔๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ อายตนะภายใน ๖ และภายนอก ๖ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ อายตนะภายใน ๖ และ ภายนอก ๖ อย่างไรเล่า? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จักตา รู้จักรูป และรู้จักสังโยชน์ที่อาศัย ตาและรูปทั้ง ๒ นั้นเกิดขึ้น อนึ่ง สังโยชน์ที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัด ประการนั้นด้วย สังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการ นั้นด้วย สังโยชน์ที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย ภิกษุย่อมรู้จักหู รู้จักเสียง ... ย่อมรู้จักจมูก รู้จักกลิ่น ... ย่อมรู้จักลิ้น รู้จักรส ... ย่อมรู้จักกาย รู้จัก โผฏฐัพพะ ... ภิกษุย่อมรู้จักใจ รู้จักธรรมารมณ์ และรู้จักสังโยชน์ที่อาศัยใจและธรรมารมณ์ทั้ง ๒ นั้นเกิดขึ้น อนึ่ง สังโยชน์ที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย สังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย สังโยชน์ที่ละได้ แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อม พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรม ในธรรมทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็น ธรรมคือความเสื่อมในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้าง ย่อมอยู่ อนึ่ง สติของเธอตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึก เท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรม คืออายตนะภายใน ๖ และอายตนะภายนอก ๖ อยู่.
จบ อายตนบรรพ.
โพชฌงคบรรพ.
[๑๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือ โพชฌงค์ ๗ พิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ โพชฌงค์ ๗ อย่างไรเล่า? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อสติสัมโพชฌงค์ มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อสติ สัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง สติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย สติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะเจริญบริบูรณ์ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อีกอย่าง หนึ่ง เมื่อธัมมวิจยสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ... อีกอย่างหนึ่ง เมื่อวิริยสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ... อีกอย่างหนึ่ง เมื่อปีติสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ... อีกอย่างหนึ่ง เมื่อปัสสัทธิ สัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ... อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมาธิสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ... อีก อย่างหนึ่ง เมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า อุเบกขา สัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา. อนึ่ง อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้น ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะเจริญบริบูรณ์ ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย ดังพรรณนามาฉะนี้. ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมใน ธรรมภายในบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายใน ทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความ เสื่อมในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นความเสื่อมในธรรมบ้าง ย่อมอยู่ อนึ่ง สติของเธอตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่า ความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็น ผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่าง นี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นเป็นธรรมในธรรม คือโพชฌงค์ ๗.
จบ โพชฌงคบรรพ.
สัจจบรรพ
[๑๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือ อริยสัจ ๔ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ อริยสัจ ๔ อย่างไรเล่า? ภิกษุในพระศาสนานี้ ย่อมรู้ชัด ตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา. ดังพรรณนามา ฉะนี้. ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรม บ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความ เสื่อมในธรรมบ้าง ย่อมอยู่ อนึ่ง สติของเธอตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสัก ว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออริยสัจ ๔ อยู่.
จบ ภาณวาร ที่ ๑
ทุกขอริยสัจ
[๑๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจเป็นไฉน แม้ชาติก็เป็นทุกข์ แม้ชราก็เป็นทุกข์ แม้มรณะก็เป็นทุกข์ แม้โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ก็เป็นทุกข์ ความประจวบ กับสิ่งไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้น ก็เป็นทุกข์ โดยย่ออุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ชาติเป็นไฉน? ความเกิด ความบังเกิด ความหยั่งลง เกิด เกิดจำเพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะครบ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้เรียกว่า ชาติ ก็ชราเป็นไฉน? ความแก่ ภาวะของความแก่ ฟันหลุด ผมหงอก หนังย่น ความเสื่อมแห่งอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้ เรียกว่า ชรา ก็มรณะเป็นไฉน? ความเคลื่อน ภาวะของความเคลื่อน ความแตกทำลาย ความ หายไป มฤตยู ความตาย ความทำกาละ ความทำลายแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งซากศพไว้ ความขาดแห่งชีวิตินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้เรียกว่า มรณะ ก็โสกะเป็นไฉน? ความแห้งใจ กิริยาที่แห้งใจ ภาวะของบุคคลผู้แห้งใจ ความผาก ณ ภายใน ความแห้งผาก ณ ภายใน ของบุคคลผู้ประกอบด้วยความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรม คือ ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว อันนี้เรียกว่า โสกะ ก็ปริเทวะเป็นไฉน? ความคร่ำครวญ ความร่ำไร รำพัน กิริยาที่คร่ำครวญ กิริยาที่ร่ำไรรำพัน ภาวะของบุคคลผู้คร่ำครวญ ภาวะของ บุคคลผู้ร่ำไรรำพัน ของบุคคลผู้ประกอบด้วยความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรมคือทุกข์ อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว อันนี้เรียกว่า ปริเทวะ ก็ทุกข์เป็นไฉน? ความลำบากทางกาย ความไม่สำราญทางกาย ความเสวยอารมณ์อันไม่ดีที่เป็นทุกข์ ซึ่งเกิดแต่กายสัมผัส อันนี้เรียกว่า ทุกข์ ก็โทมนัสเป็นไฉน? ความทุกข์ทางจิต ความไม่สำราญทางจิต ความเสวยอารมณ์อันไม่ดี ที่เป็นทุกข์ ซึ่งเกิดแต่มโนสัมผัส อันนี้เรียกว่า โทมนัส ก็อุปายาสเป็นไฉน? ความแค้น ความคับแค้น ภาวะของบุคคลผู้แค้น ภาวะของบุคคลผู้คับแค้น ของบุคคลผู้ประกอบด้วยความ พิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรม คือทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว อันนี้เรียกว่า อุปายาส ก็ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน? ความประสบ ความพรั่งพร้อม ความร่วม ความระคน ด้วยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ หรือด้วยบุคคลผู้ปรารถนาสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ปรารถนาสิ่งที่ไม่เกื้อกูล ปรารถนาความไม่ผาสุก ปรารถนาความไม่เกษมจากโยคะ ซึ่งมีแก่ผู้นั้น อันนี้เรียกว่า ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ ก็ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน? ความไม่ประสบ ความไม่ พรั่งพร้อม ความไม่ร่วม ความไม่ระคน ด้วยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หรือด้วยบุคคลผู้ปรารถนาประโยชน์ ปรารถนาสิ่งที่เกื้อกูล ปรารถนาความ ผาสุก ปรารถนาความเกษมจากโยคะ ซึ่งมีแก่ผู้นั้น คือ มารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย พี่หญิง น้องหญิง มิตร อำมาตย์ หรือญาติสาโลหิต อันนี้เรียกว่า ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ ก็ปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้ แม้อันนั้น ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน? ความปรารถนา ย่อมบังเกิด แก่สัตว์ผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราไม่พึงมีความเกิดเป็นธรรมดา ขอความ เกิดอย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้น สัตว์ไม่พึงได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้ แม้อันนั้น ก็เป็นทุกข์ ความปรารถนา ย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา ความปรารถนา ย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความเจ็บเป็นธรรมดา ... ความปรารถนา ย่อมบังเกิดแก่สัตว์ ผู้มีโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส เป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราไม่พึง มีโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสเป็นธรรมดา ขอโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส อย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้น สัตว์ไม่พึงได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่า ปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้ แม้อันนั้น ก็เป็นทุกข์ ก็โดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์ เป็นไฉน? อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเหล่านี้เรียกว่า โดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียก ทุกขอริยสัจ.
สมุทัยอริยสัจ
[๑๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขสมุทัยอริยสัจ เป็นไฉน? ตัณหานี้ใด อันให้เกิดใน ภพใหม่ ประกอบด้วยนันทิราคะ เพลิดเพลินยิ่งนักในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ก็ตัณหานั้น เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่ไหน เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่ไหน? ที่ใด เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้ง อยู่ในที่นั้น อะไร เป็นที่รัก ที่เจริญใจในโลก? ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นั้น รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะ ตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นี้ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโน- *วิญญาณ เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นี้ จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นี้ จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นี้ รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธัมมสัญญา เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นี้ รูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา โผฏฐัพพสัญเจตนา ธัมมสัญ- *เจตนา เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้ง อยู่ที่นี้ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นี้ รูปวิตก สัททวิตก คันธวิตก รสวิตก โผฏฐัพพวิตก ธัมมวิตก เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นี้ รูปวิจาร สัททวิจาร คันธวิจาร รสวิจาร โผฏฐัพพวิจาร ธัมมวิจาร เป็นที่รัก ที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจ.
นิโรธอริยสัจ
[๑๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขนิโรธอริยสัจ เป็นไฉน? ความดับด้วยสามารถความ สำรอกโดยไม่เหลือ ความสละ ความสละคืน ความปล่อยวาง ความไม่มีอาลัย ในตัณหานั้น ก็ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่ไหน เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่ไหน? ที่ใดเป็น ที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นั้น เมื่อจะดับ ย่อม ดับได้ที่นั้น ก็อะไรเป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นที่รัก ที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับที่นี้ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับที่นี้ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหา- *วิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับที่นี้ จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ ที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับที่นี้ จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชา- *เวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับที่นี้ รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธัมมสัญญา เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับที่นี้ รูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา โผฏฐัพพสัญเจตนา ธัมมสัญ- *เจตนา เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับที่นี้ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับ ที่นี้ รูปวิตก สัททวิตก คันธวิตก รสวิตก โผฏฐัพพวิตก ธัมมวิตก เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับที่นี้ รูปวิจาร สัททวิจาร คันธวิจาร รสวิจาร โผฏฐัพพวิจาร ธัมมวิจาร เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหา เมื่อ บุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับที่นี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ.
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
[๑๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เป็นไฉน? อริยมรรค ประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ก็สัมมาทิฏฐิเป็นไฉน ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในเหตุให้ทุกข์เกิด ความรู้ในความดับทุกข์ ความรู้ในข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ อันนี้ เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะเป็นไฉน ความดำริในการออกจากกาม ความดำริในความไม่ พยาบาท ความดำริในอันไม่เบียดเบียน อันนี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจาเป็นไฉน? การงดเว้นจากการพูดเท็จ งดเว้นจากการพูดส่อเสียด งดเว้นจากการพูดคำหยาบ งดเว้นจากการ พูดเพ้อเจ้อ อันนี้เรียกว่า สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะเป็นไฉน? การงดเว้นจากการล้างผลาญชีวิต งดเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เขามิได้ให้ งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม อันนี้เรียกว่า สัมมา- *กัมมันตะ สัมมาอาชีวะเป็นไฉน? อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ละการเลี้ยงชีพที่ผิด สำเร็จการ เลี้ยงชีพด้วยการเลี้ยงชีพที่ชอบ อันนี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะเป็นไฉน? ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ ให้เกิดฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อมิให้ อกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดบังเกิดขึ้น เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้ว เพื่อให้ กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดบังเกิดขึ้น เพื่อความตั้งอยู่ ไม่เลือนหาย เจริญยิ่ง ไพบูลย์ มีขึ้น เต็มเปี่ยม แห่งกุศลธรรมที่บังเกิดขึ้นแล้ว อันนี้เรียกว่า สัมมาวายามะ สัมมาสติเป็นไฉน ภิกษุในธรรม วินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัส ในโลกเสียได้ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... พิจารณาเห็นธรรม ในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ อันนี้ เรียกว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิเป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใส แห่งจิตในภายในเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ อันนี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้ เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ. [๑๕๐] ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง พิจารณาเห็น ธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรม คือความเสื่อมในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรม คือ ทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้าง ย่อมอยู่ อนึ่ง สติของเธอ ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่า ความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ อริยสัจ ๔ อยู่
จบ สัจจบรรพ
จบ ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ผลแห่งการเจริญสติปัฏฐาน
[๑๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ ตลอด ๗ ปี เขาพึงหวังผล ๒ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมี ขันธบัญจกเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๗ ปี ยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ ตลอด ๖ ปี ๕ ปี ๔ ปี ๓ ปี ๒ ปี ๑ ปี ... ๑ ปี ยกไว้. ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติ ปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ ตลอด ๗ เดือน เขาพึงหวังผล ๒ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อขันธบัญจกมีเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๗ เดือน ยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ ตลอด ๖ เดือน ๕ เดือน ๔ เดือน ๓ เดือน ๒ เดือน ๑ เดือน กึ่งเดือน ... กึ่งเดือนยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ ตลอด ๗ วัน เขาพึงหวังผล ๒ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือพระอรหัตตผลในปัจจุบัน หรือ เมื่อขันธปัญจกยังเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี.
คำนิคม
[๑๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้ เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ ฉะนี้แล คำที่เรากล่าวดัง- *พรรณนามาฉะนี้ เราอาศัยเอกายนมรรคนี้กล่าวแล้ว. พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นยินดี ชื่นชม ภาษิต ของพระผู้มี- *พระภาค แล้วแล.
จบ สติปัฏฐานสูตรที่ ๑๐
จบ มูลปริยายวรรคที่ ๑
ประมวลพระสูตรแห่งวรรคนี้ มีดังนี้. วรรคอันประเสริฐประดับด้วยมูลปริยายสูตร สัพพาสวสังวรสูตร ธัมมทายาทสูตร ภยเภรวสูตร อนังคณสูตร อากังเขยยสูตร วัตถูปมสูตร สัลเลขสูตร สัมมาทิฏฐิสูตร และ สติปัฏฐานสูตร จบ บริบูรณ์แล้ว.
-----------------------------------------------------
๒. สีหนาทวรรค
๑. จูฬสีหนาทสูตร
ว่าด้วยเหตุแห่งการบันลือสีหนาท
[๑๕๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก- *เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายแล้ว ภิกษุ เหล่านั้นได้ทูลรับสนองพระพุทธพจน์แล้ว.
สมณะ ๔ จำพวก
[๑๕๔] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะมีในพระ- *ศาสนานี้เท่านั้น สมณะที่สองมีในพระศาสนานี้ สมณะที่สามมีในพระศาสนานี้ สมณะที่สี่มีใน พระศาสนานี้ ลัทธิของศาสดาอื่นว่างเปล่าจากพระสมณะผู้รู้ทั่วถึง ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอ จงบันลือสีหนาทโดยชอบอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้ทีเดียว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เป็นฐานะที่จะ มีได้แล ที่พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ในโลกนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า อะไรเป็นความมั่นใจของ พวกท่าน อะไรเป็นกำลังของพวกท่าน พวกท่านพิจารณาเห็นในตนด้วยประการไร จึงกล่าว อย่างนี้ว่า สมณะมีในพระศาสนานี้เท่านั้น สมณะที่สองมีในพระศาสนานี้ สมณะที่สามมีใน พระศาสนานี้ สมณะที่สี่มีในพระศาสนานี้ ลัทธิของศาสดาอื่นว่างเปล่าจากพระสมณะผู้รู้ทั่วถึง ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ผู้มีวาทะอย่างนี้ อันพวกเธอพึงกล่าวตอบอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการ อันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสแล้ว มีอยู่ ที่พวกเราเห็นธรรมเหล่านี้ในตน จึงกล่าวอย่างนี้ว่า สมณะมี ในพระศาสนานี้เท่านั้น สมณะที่สองมีในพระศาสนานี้ สมณะที่สามมีในพระศาสนานี้ สมณะที่สี่ มีในพระศาสนานี้ ลัทธิของศาสดาอื่นว่างเปล่าจากพระสมณะผู้รู้ทั่วถึง ธรรม ๔ อย่างเป็นไฉน? ๔ อย่าง คือ ความเลื่อมใสในพระศาสดาของพวกเรา มีอยู่ ความเลื่อมใสในพระธรรมมีอยู่ ความกระทำให้บริบูรณ์ในศีล มีอยู่ ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต ผู้ประพฤติธรรมร่วมกัน เป็นที่ น่ารัก น่าพอใจ มีอยู่ ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการเหล่านี้แล อันพระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสแล้ว ที่พวกเราเล็งเห็นธรรม เหล่านี้ในตน จึงกล่าวอย่างนี้ สมณะมีในพระศาสนานี้เท่านั้น สมณะที่สองมีในพระศาสนานี้ สมณะที่สามมีในพระศาสนานี้ สมณะที่สี่มีในพระศาสนานี้ ลัทธิของศาสดาอื่นว่างเปล่าจาก พระสมณะผู้รู้ทั่วถึง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ ผู้ใดเป็นศาสดาของพวกเรา ความเลื่อมใสในศาสดาแม้ของพวกเรา ก็มีอยู่ คำสอนใดเป็นธรรมของพวกเรา ความเลื่อมใสในธรรมแม้ของพวกเรา ก็มีอยู่ ธรรม เหล่าใดเป็นศีลของพวกเรา แม้พวกเราก็กระทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต ผู้ประพฤติธรรมร่วมกัน แม้ของพวกเรา ก็เป็นที่น่ารัก น่าพอใจ ผู้มีอายุ ในข้อเหล่านี้ อะไรเป็นข้อที่แปลกกัน อะไรเป็นข้อประสงค์ อะไรเป็นข้อที่กระทำให้ต่างกัน ในระหว่างของ ท่านและของเราดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ ผู้มีวาทะอย่างนี้ อันพวกเธอ พึงกล่าวตอบอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ ความสำเร็จมีอย่างเดียว หรือมีมากอย่าง ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ เมื่อจะพยากรณ์โดยชอบ พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ความสำเร็จมี อย่างเดียวเท่านั้น ไม่มีมากอย่าง พวกเธอพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ ก็ความสำเร็จนั้นเป็นของ ผู้มีราคะ หรือของผู้ปราศจากราคะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ เมื่อจะ พยากรณ์โดยชอบ พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ความสำเร็จนั้นเป็นของผู้ปราศจากราคะ มิใช่ของผู้มี ราคะ พวกเธอพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ความสำเร็จนั้น เป็นของผู้มีโทสะ หรือของผู้ปราศจากโทสะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ เมื่อจะพยากรณ์โดยชอบ พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ความสำเร็จนั้นเป็นของผู้ปราศจากโทสะ มิใช่ของผู้มีโทสะ พวกเธอพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ความ สำเร็จนั้นเป็นของผู้มีโมหะ หรือของผู้ปราศจากโมหะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกปริพาชกอัญญ- *เดียรถีย์ เมื่อจะพยากรณ์โดยชอบ พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ความสำเร็จนั้นเป็นของผู้ปราศจากโมหะ มิใช่ของผู้มีโมหะ พวกเธอพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ความสำเร็จนั้นเป็นของผู้มีตัณหา หรือของผู้ ปราศจากตัณหา ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ เมื่อจะพยากรณ์โดยชอบ พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ความสำเร็จนั้นเป็นของผู้ปราศจากตัณหา มิใช่ของผู้มีตัณหา พวกเธอ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ความสำเร็จนั้นเป็นของผู้มีอุปาทาน หรือของผู้ไม่มีอุปาทาน ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ เมื่อจะพยากรณ์โดยชอบ พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ความ สำเร็จนั้นเป็นของผู้ไม่มีอุปาทาน มิใช่ของผู้มีอุปาทาน พวกเธอพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ความสำเร็จนั้น เป็นของผู้รู้แจ้ง หรือของผู้ไม่รู้แจ้ง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ เมื่อจะ พยากรณ์โดยชอบ พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ความสำเร็จนั้นเป็นของผู้รู้แจ้ง มิใช่ของผู้ไม่รู้แจ้ง พวกเธอพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ความสำเร็จนั้นเป็นของผู้ยินดียินร้าย หรือของผู้ไม่ยินดียินร้าย. ดูกร- *ภิกษุทั้งหลาย ปริพาชกอัญญเดียรถีย์ เมื่อจะพยากรณ์โดยชอบ พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ความ สำเร็จนั้นเป็นของผู้ไม่ยินดียินร้าย มิใช่ของผู้ยินดียินร้าย. พวกเธอพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ความสำเร็จ นั้นเป็นของผู้ยินดีในความเนิ่นช้า มีความเนิ่นช้าเป็นที่มายินดี หรือของผู้ยินดีในความไม่เนิ่นช้า มีความไม่เนิ่นช้าเป็นที่มายินดี ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ เมื่อจะพยากรณ์ โดยชอบ พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ความสำเร็จนั้นเป็นของผู้ยินดีในความไม่เนิ่นช้า มีความไม่เนิ่นช้า เป็นที่มายินดี มิใช่ของผู้ยินดีในความเนิ่นช้า มีความเนิ่นช้าเป็นที่มายินดี.
ทิฏฐิ ๒
[๑๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทิฏฐิ ๒ อย่างเหล่านี้ คือภวทิฏฐิ และวิภวทิฏฐิ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เป็นผู้แอบอิงภวทิฏฐิเข้าถึงภวทิฏฐิ หยั่งลงสู่ ภวทิฏฐิ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าเป็นผู้ยินร้ายต่อวิภวทิฏฐิ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือ พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เป็นผู้แอบอิงวิภวทิฏฐิ เข้าถึงวิภวทิฏฐิ หยั่งลงสู่วิภวทิฏฐิ สมณะ หรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าเป็นผู้ยินร้ายต่อภวทิฏฐิ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์ เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมไม่รู้ทั่วถึงความเกิด ความดับ คุณ โทษ และการถ่ายถอนแห่งทิฏฐิ ๒ อย่างเหล่านี้ตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ยังมีราคะ ยังมีโทสะ ยังมีโมหะ ยังมีตัณหา ยังมีอุปาทาน ไม่ใช่ผู้รู้แจ้ง ยังยินดีและยินร้าย เป็นผู้ยินดีในความเนิ่นช้า มีความ เนิ่นช้าเป็นที่มายินดี พวกเขาย่อมไม่หลุดพ้นจากชาติ ชรา มรณะ ความโศก ความร่ำไร ทุกข์กาย ทุกข์ใจ และความคับแค้นทั้งหลาย เรากล่าวว่า ย่อมไม่หลุดพ้นจากทุกข์ สมณะหรือพราหมณ์ เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมรู้ทั่วถึงความเกิด ความดับคุณ โทษ และการถ่ายถอนแห่งทิฏฐิ ๒ อย่าง เหล่านี้ ตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น เป็นผู้ปราศจากราคะ ปราศจากโทสะ ปราศจากโมหะ ปราศจากตัณหา ปราศจากอุปาทาน เป็นผู้รู้แจ้ง เป็นผู้ไม่ยินดีและยินร้าย มีความ ยินดีในความไม่เนิ่นช้า มีความไม่เนิ่นช้าเป็นที่มายินดี พวกเขา ย่อมหลุดพ้นจากชาติ ชรา มรณะ ความโศก ความร่ำไร ทุกข์กาย ทุกข์ใจ และความคับแค้นทั้งหลาย เรากล่าวว่า ย่อมหลุดพ้นไปจากทุกข์.
อุปาทาน ๔
[๑๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปาทาน ๔ อย่างเหล่านี้. ๔ อย่างเป็นไฉน? คือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพัตตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ปฏิญาณลัทธิว่ารอบรู้อุปาทานทุกอย่าง แต่พวกเขาย่อมไม่บัญญัติ ความรอบรู้อุปาทานทุกอย่าง โดยชอบ คือ ย่อมบัญญัติความรอบรู้กามุปาทาน ไม่บัญญัติความรอบรู้ทิฏฐุปาทาน ไม่บัญญัติ ความรอบรู้สีลัพพัตตุปาทาน ไม่บัญญัติความรอบรู้อัตตวาทุปาทาน. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้นไม่รู้ทั่วถึงฐานะ ๓ ประการเหล่านี้ ตามความเป็นจริง เพราะฉะนั้น พวกเขา จึงปฏิญาณลัทธิว่ารอบรู้อุปาทานทุกอย่าง แต่พวกเขา ไม่บัญญัติความรอบรู้อุปาทาน ทุกอย่างโดยชอบ คือย่อมบัญญัติความรอบรู้กามุปาทาน ไม่บัญญัติความรอบรู้ทิฏฐุปาทาน ไม่บัญญัติ ความรอบรู้สีลัพพัตตุปาทาน ไม่บัญญัติความรอบรู้อัตตวาทุปาทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย มีสมณ- *พราหมณ์พวกหนึ่ง ปฏิญาณลัทธิว่ารอบรู้อุปาทานทุกอย่าง แต่พวกเขา ไม่บัญญัติความรอบรู้ อุปาทานทุกอย่างโดยชอบ คือย่อมบัญญัติความรอบรู้กามุปาทาน บัญญัติความรอบรู้ทิฏฐปาทาน ไม่บัญญัติความรอบรู้สีลัพพัตตุปาทาน ไม่บัญญัติความรอบรู้อัตตวาทุปาทาน ข้อนั้นเพราะเหตุ อะไร? เพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้น ไม่รู้ทั่วถึงฐานะ ๒ ประการเหล่านี้ ตามความเป็นจริง เพราะฉะนั้น พวกเขาจึงปฏิญาณลัทธิว่ารอบรู้อุปาทานทุกอย่าง แต่พวกเขา ไม่บัญญัติความรอบรู้ อุปาทานทุกอย่างโดยชอบ คือ ย่อมบัญญัติความรอบรู้กามุปาทาน บัญญัติความรอบรู้ทิฏฐุปาทาน บัญญัติความรอบรู้สีลัพพัตตุปาทาน ไม่บัญญัติความรอบรู้อัตตวาทุปาทาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ปฏิญาณลัทธิว่ารอบรู้อุปาทานทุกอย่าง แต่พวกเขา ไม่บัญญัติความ รอบรู้อุปาทานทุกอย่างโดยชอบ คือย่อมบัญญัติความรอบรู้กามุปาทาน บัญญัติความรอบรู้ทิฏฐุปาทาน บัญญัติความรอบรู้สีลัพพัตตุปาทาน ไม่บัญญัติความรอบรู้อัตตวาทุปาทาน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้น ไม่รู้ทั่วถึงฐานะอย่างหนึ่งนี้ตามความเป็นจริง เพราะฉะนั้น พวกเขา จึงปฏิญาณลัทธิว่ารอบรู้อุปาทานทุกอย่าง แต่พวกเขา ไม่บัญญัติความรอบรู้อุปาทานทุกอย่าง โดยชอบ คือย่อมบัญญัติความรอบรู้กามุปาทาน บัญญัติความรอบรู้ทิฏฐุปาทาน บัญญัติความรอบรู้ สีลัพพัตตุปาทาน ไม่บัญญัติความรอบรู้อัตตวาทุปาทาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเลื่อมใสใน- *ศาสดาใด ความเลื่อมใสนั้น เราไม่กล่าวว่า ไปแล้วโดยชอบ ความเลื่อมใสในธรรมใด ความ เลื่อมใสนั้น เราไม่กล่าวว่า ไปแล้วโดยชอบ ความกระทำให้บริบูรณ์ในศีลใด ข้อนั้น เราไม่ กล่าวว่า ไปแล้วโดยชอบ ความเป็นที่รักและน่าพอใจในหมู่สหธรรมิกใด ข้อนั้น เราไม่กล่าวว่า ไปแล้วโดยชอบ ในธรรมวินัยเห็นปานนี้แล ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะ ข้อนั้น เป็นความเลื่อมใสในธรรมวินัยที่ศาสดากล่าวชั่วแล้ว ประกาศชั่วแล้ว มิใช่สภาพนำออก จากทุกข์ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบ มิใช่อันผู้รู้เองโดยชอบประกาศไว้. [๑๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้นแล เป็นผู้มีวาทะว่า รอบรู้อุปาทานทุกอย่าง ปฏิญาณอยู่ ย่อมบัญญัติความรอบรู้อุปาทานทุกอย่างโดยชอบ คือ ย่อม บัญญัติความรอบรู้กามุปาทาน ย่อมบัญญัติความรอบรู้ทิฏฐุปาทาน ย่อมบัญญัติความรู้สีลัพพัตตุ- *ปาทาน ย่อมบัญญัติความรอบรู้อัตตวาทุปาทาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเลื่อมใสในศาสดาใด ความเลื่อมใสนั้น เรากล่าวว่า ไปแล้วโดยชอบ ความเลื่อมใสในธรรมใด ความเลื่อมใสนั้น เรา กล่าวว่า ไปแล้วโดยชอบ ความกระทำให้บริบูรณ์ในศีลใด ข้อนั้น เรากล่าวว่า ไปแล้วโดยชอบ ความเป็นที่รักและน่าพอใจในหมู่สหธรรมิกใด ข้อนั้น เรากล่าวว่า ไปแล้วโดยชอบ ในพระ- *ธรรมวินัยเห็นปานนี้แล ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะข้อนั้น เป็นความเลื่อมใส ในธรรมวินัยอันศาสดากล่าวดีแล้ว ประกาศดีแล้ว เป็นสภาพนำออกจากทุกข์ เป็นไปเพื่อความ สงบอันท่านผู้รู้เองโดยชอบประกาศแล้ว.
เหตุเกิดอุปาทานเป็นต้น
[๑๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง อุปาทาน ๔ เหล่านี้ มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุ เกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด? อุปาทาน ๔ เหล่านี้ มีตัณหาเป็นต้นเหตุ มีตัณหาเป็นเหตุเกิด มีตัณหาเป็นกำเนิด มีตัณหาเป็นแดนเกิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัณหานี้เล่า มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุ เกิดมีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด? ตัณหามีเวทนา เป็นต้นเหตุ มีเวทนาเป็นเหตุเกิด มีเวทนาเป็นกำเนิด มีเวทนาเป็นแดนเกิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนานี้เล่า มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด? เวทนามีผัสสะเป็นต้นเหตุ มีผัสสะเป็นเหตุเกิด มีผัสสะเป็นกำเนิด มีผัสสะเป็นแดนเกิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผัสสะนี้เล่า มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด? ผัสสะมีสฬายตนะเป็นต้นเหตุ มีสฬายตนะเป็นเหตุเกิด มีสฬายตนะ เป็นกำเนิด มีสฬายตนะเป็นแดนเกิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย สฬายตนะนี้เล่า มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด? ดูกรภิกษุทั้งหลาย สฬายตนะ มีนามรูปเป็นต้นเหตุ มีนามรูปเป็นเหตุเกิด มีนามรูปเป็นกำเนิด มีนามรูปเป็นแดนเกิด ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย นามรูปนี้เล่า มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็น- *แดนเกิด? นามรูปมีวิญญาณเป็นต้นเหตุ มีวิญญาณเป็นเหตุเกิด มีวิญญาณเป็นกำเนิด มีวิญญาณ เป็นแดนเกิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณนี้เล่า มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไร เป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด? วิญญาณมีสังขารเป็นต้นเหตุ มีสังขารเป็นเหตุเกิด มีสังขาร เป็นกำเนิด มีสังขารเป็นแดนเกิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขารนี้เล่า มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไร เป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด? สังขารมีอวิชชาเป็นต้นเหตุ มีอวิชชา เป็นเหตุเกิด มีอวิชชาเป็นกำเนิด มีอวิชชาเป็นแดนเกิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดแล ภิกษุ ละอวิชชาได้แล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว เมื่อนั้น ภิกษุนั้น เพราะสำรอกอวิชชาเสียได้เพราะวิชชา บังเกิดขึ้น ย่อมไม่ถือมั่นกามุปาทาน ย่อมไม่ถือมั่นทิฏฐุปาทาน ย่อมไม่ถือมั่นสีลัพพัตตุปาทาน ย่อมไม่ถือมั่นอัตตวาทุปาทาน เมื่อไม่ถือมั่น ย่อมไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมปรินิพพานเฉพาะตน นั่นเทียว เธอย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อ ความเป็นอย่างนี้ มิได้มี ดังนี้. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจชื่นชม ยินดีภาษิตของ- *พระผู้มีพระภาค แล้วแล.
จบ จูฬสีหนาทสูตร ที่ ๑
-----------------------------------------------------
๒. มหาสีหนาทสูตร
ว่าด้วยเหตุแห่งการบันลือสีหนาท
เรื่องสุนักขัตตลิจฉวีบุตร
[๑๕๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ราวป่าด้านตะวันตกนอกพระนครเขตพระนคร เวสาลี. ก็โดยสมัยนั้นแล สุนักขัตตลิจฉวีบุตร เป็นผู้หลีกไปแล้วจากธรรมวินัยนี้ไม่นาน สุนักขัตตลิจฉวีบุตรนั้น ได้กล่าววาจาในบริษัท ณ เมืองเวสาลีอย่างนี้ว่า ธรรมอันยิ่งของมนุษย์ ที่เป็นญาณทัสสนะอันวิเศษพอแก่ความเป็นอริยะ ของพระสมณโคดมไม่มี พระสมณโคดมทรง- *แสดงธรรมที่ประมวลด้วยความตรึก ที่ไตร่ตรองด้วยการค้นคิด แจ่มแจ้งได้เอง แต่ธรรมที่พระองค์ ทรงแสดงเพื่อประโยชน์ใด ธรรมนั้นย่อมดิ่งไปเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบแห่งบุคคลผู้ทำตาม. [๑๖๐] ครั้งนั้นแลเวลาเช้า ท่านพระสารีบุตร นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปในเมือง เวสาลี เพื่อบิณฑบาต ท่านได้สดับข่าวว่า สุนักขัตตลิจฉวีบุตรได้กล่าววาจาในบริษัท ณ เมือง- *เวสาลีอย่างนี้ว่า ธรรมอันยิ่งของมนุษย์ ที่เป็นญาณทัสสนะอันวิเศษพอแก่ความเป็นอริยะ ของ พระสมณโคดมไม่มี พระสมณโคดมทรงแสดงธรรมที่ประมวลมาด้วยความตรึก ที่ไตร่ตรองด้วย การค้นคิด แจ่มแจ้งได้เอง แต่ธรรมที่พระองค์ทรงแสดงเพื่อประโยชน์ใด ธรรมนั้นย่อมดิ่งไป เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบแห่งบุคคลผู้ทำตาม ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรเที่ยวไปในเมืองเวสาลี เพื่อบิณฑบาตแล้ว กลับจากบิณฑบาต ในเวลาปัจฉาภัต จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สุนักขัตตลิจฉวีบุตร เป็นผู้หลีกไปแล้วจากธรรมวินัยนี้ไม่นาน ได้กล่าววาจาในบริษัท ณ เมืองเวสาลีว่าธรรมอันยิ่งของมนุษย์ ที่เป็นญาณทัสสนะอันวิเศษพอแก่ ความเป็นอริยะ ของพระสมณโคดมไม่มี พระสมณโคดมทรงแสดงธรรมที่ประมวลมาด้วยความตรึก ที่ไตร่ตรองด้วยการค้นคิด แจ่มแจ้งได้เอง แต่ธรรมที่พระองค์ทรงแสดงเพื่อประโยชน์ใด ธรรมนั้น ย่อมดิ่งไปเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบแห่งบุคคลผู้ทำตาม. [๑๖๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรสารีบุตร สุนักขัตตลิจฉวีบุตรเป็นบุรุษเปล่า มักโกรธ และวาจาที่เธอกล่าวนั้น ก็เพราะโกรธ ดูกรสารีบุตร สุนักขัตตะนั้นเป็นบุรุษเปล่า คิดว่า จักพูดติเตียน แต่กล่าวสรรเสริญคุณของตถาคต แท้จริงข้อนี้เป็นคุณของพระตถาคต ที่บุคคลใด กล่าวอย่างนี้ว่า ธรรมอันพระตถาคต แสดงเพื่อประโยชน์แก่บุคคลใด ธรรมนั้นย่อมดิ่งไปเพื่อ ความสิ้นทุกข์โดยชอบแห่งบุคคลผู้ทำตามดังนี้. [๑๖๒] ดูกรสารีบุตร ก็การที่สุนักขัตตะผู้เป็นบุรุษเปล่ากล่าวสรรเสริญนี้ จักไม่เป็น ความรู้โดยธรรม ๑- ในเราว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษ ที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้ จำแนกธรรมดังนี้. [๑๖๓] ดูกรสารีบุตร ก็การที่สุนักขัตตะผู้เป็นบุรุษเปล่า กล่าวสรรเสริญนี้ จักไม่เป็น ความรู้โดยธรรมในเราว่า แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงบรรลุอิทธิวิธีหลาย ประการ คือคนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หาย ไปก็ได้ ทะลุฝา กำแพง ภูเขาไปได้ไม่ติดขัด เหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้น ดำลง แม้ใน แผ่นดิน เหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตก เหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศ เหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์ พระอาทิตย์ ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจ ทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้. [๑๖๔] ดูกรสารีบุตร ก็การที่สุนักขัตตะผู้เป็นบุรุษเปล่ากล่าวสรรเสริญนี้ จักไม่เป็น ความรู้โดยธรรมในเราว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นย่อมทรงสดับเสียง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ด้วยทิพยโสตอันบริสุทธิ์ ล่วงโสต ของมนุษย์ [๑๖๕] ดูกรสารีบุตร ก็การที่สุนักขัตตะ ผู้เป็นบุรุษเปล่ากล่าวสรรเสริญนี้ จักไม่เป็น ความรู้โดยธรรมในเราว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นย่อมทรงกำหนดรู้ใจของ สัตว์อื่นของบุคคลอื่นด้วยใจ คือ จิตมีราคะ ก็รู้ว่า จิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่า จิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะ ก็รู้ว่า จิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่า จิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ ก็รู้ว่า จิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่า จิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ ก็รู้ว่า จิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่า จิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหรคต ก็รู้ว่า จิตเป็นมหรคต หรือจิตไม่ เป็นมหรคต ก็รู้ว่า จิตไม่เป็นมหรคต จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่า จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มี @๑. คือไม่เป็นความเข้าใจถูกต้อง จิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิก็รู้ว่า จิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่า จิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่า จิตไม่หลุดพ้น.
กำลังของตถาคต ๑๐ ประการ
[๑๖๖] ดูกรสารีบุตร ตถาคตประกอบด้วยกำลังเหล่าใด ย่อมปฏิญาณฐานะแห่งผู้องอาจ ย่อมบันลือสีหนาทในบริษัท ยังพรหมจักรให้เป็นไป กำลังเหล่านั้นของตถาคต ๑๐ ประการ เหล่านี้แล ๑๐ ประการเป็นไฉน? ดูกรสารีบุตร ตถาคตย่อมรู้ฐานะในโลกนี้โดยเป็นฐานะ และ รู้เหตุมิใช่ฐานะโดยเป็นเหตุมิใช่ฐานะ ตามความเป็นจริง ดูกรสารีบุตร ข้อที่ตถาคตรู้ฐานะโดย เป็นฐานะ และรู้เหตุมิใช่ฐานะโดยเป็นเหตุมิใช่ฐานะ ตามความเป็นจริงนี้ เป็นกำลังของตถาคต ประการหนึ่ง ซึ่งตถาคตอาศัยแล้ว ปฏิญาณฐานะแห่งผู้องอาจ บันลือสีหนาทในบริษัท ยังพรหม- *จักรให้เป็นไป. ดูกรสารีบุตร อีกประการหนึ่ง ตถาคตย่อมรู้วิบากของกรรมสมาทานที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน โดยฐานะ โดยเหตุ ตามความเป็นจริง. ดูกรสารีบุตร ข้อที่ตถาคตรู้วิบากของ กรรมสมาทานที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบันโดยฐานะ โดยเหตุ ตามความเป็นจริงนี้ เป็นกำลัง ของตถาคตประการหนึ่ง ซึ่งตถาคตอาศัยแล้ว ปฏิญาณฐานะแห่งผู้องอาจ บันลือสีหนาทในบริษัท ยังพรหมจักรให้เป็นไป. ดูกรสารีบุตร อีกประการหนึ่ง ตถาคตย่อมรู้ชัดซึ่งปฏิปทาอันจะยังสัตว์ให้ไปสู่ภูมิทั้งปวง ตามความเป็นจริง ดูกรสารีบุตร ข้อที่ตถาคตรู้ชัดซึ่งปฏิปทาอันจะยังสัตว์ให้ไปสู่ภูมิทั้งปวง ตามความเป็นจริงนี้ เป็นกำลังของตถาคตประการหนึ่ง ซึ่งตถาคตอาศัยแล้ว ปฏิญาณฐานะแห่ง- *ผู้องอาจ บันลือสีหนาทในบริษัท ยังพรหมจักรให้เป็นไป. ดูกรสารีบุตร อีกประการหนึ่ง ตถาคตย่อมรู้ชัดซึ่งโลกมีธาตุมิใช่อย่างเดียว และมีธาตุ ต่างๆ ตามความเป็นจริง ดูกรสารีบุตร ข้อที่ตถาคตรู้ชัดซึ่งโลกมีธาตุมิใช่อย่างเดียว และมีธาตุ ต่างๆ ความเป็นความจริงนี้ เป็นกำลังของตถาคตประการหนึ่ง ซึ่งตถาคตอาศัยแล้ว ปฏิญาณ ฐานะแห่งผู้องอาจ บันลือสีหนาทในบริษัท ยังพรหมจักรให้เป็นไป. ดูกรสารีบุตร อีกประการหนึ่ง ตถาคตย่อมรู้ชัดซึ่งความที่สัตว์มีอธิมุตติต่างๆ กัน ตามความเป็นจริง ดูกรสารีบุตร ข้อที่ตถาคตรู้ชัดซึ่งความที่สัตว์มีอธิมุตติต่างๆ กัน ตามความ เป็นจริงนี้ เป็นกำลังของตถาคตประการหนึ่ง ซึ่งตถาคตอาศัยแล้ว ปฏิญาณฐานะแห่งผู้องอาจ บันลือสีหนาทในบริษัท ยังพรหมจักรให้เป็นไป. ดูกรสารีบุตร อีกประการหนึ่ง ตถาคตย่อมรู้ชัดซึ่งความที่สัตว์และบุคคลทั้งหลายอื่นมี อินทรีย์หย่อนและยิ่ง ตามความเป็นจริง ดูกรสารีบุตร ข้อที่ตถาคต รู้ชัดความที่สัตว์และบุคคล ทั้งหลายอื่นมีอินทรีย์หย่อนและยิ่ง ตามความเป็นจริงนี้ เป็นกำลังของตถาคตประการหนึ่ง ซึ่ง ตถาคตอาศัยแล้ว ปฏิญาณฐานะแห่งผู้องอาจ บันลือสีหนาทในบริษัท ยังพรหมจักรให้เป็นไป. ดูกรสารีบุตร อีกประการหนึ่ง ตถาคตย่อมรู้ชัดซึ่งความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว และความออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติทั้งหลาย ตามความเป็นจริง ดูกรสารีบุตร ข้อที่ตถาคตรู้ชัดซึ่งความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว และความออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติทั้งหลาย ตามความเป็นจริงนี้ เป็นกำลังของตถาคตประการหนึ่ง ซึ่งตถาคตอาศัยแล้ว ปฏิญาณฐานะแห่งผู้องอาจ บันลือสีหนาทในบริษัท ยังพรหมจักรให้เป็นไป. ดูกรสารีบุตร อีกประการหนึ่ง ตถาคตย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึก ได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอด- *สังวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า ในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุข เสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพ นี้ ตถาคตย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้. ดูกรสารีบุตร ข้อที่ตถาคตระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติ บ้าง ฯลฯ ตถาคตย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการ ฉะนี้ นี้เป็นกำลังของตถาคตประการหนึ่ง ซึ่งตถาคตอาศัยแล้ว ปฏิญาณฐานะแห่งผู้องอาจ บันลือ สีหนาทในบริษัท ยังพรหมจักรให้เป็นไป. ดูกรสารีบุตร อีกประการหนึ่ง ตถาคตย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของ มนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้าเป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เบื้องหน้า แต่ตายไป เขาย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจ สัมมาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายไป เขาย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้ ดูกรสารีบุตร ข้อที่ตถาคต เห็นหมู่สัตว์ ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์ เหล่านี้ ฯลฯ นี้เป็นกำลังของตถาคตประการหนึ่ง ซึ่งตถาคตอาศัยแล้ว ปฏิญาณฐานะแห่งผู้องอาจ บันลือสีหนาทในบริษัท ยังพรหมจักรให้เป็นไป. ดูกรสารีบุตร อีกประการหนึ่ง ตถาคตกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะ มิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ดูกรสารีบุตร ข้อที่ตถาคตกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลาย สิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ นี้เป็นกำลังของตถาคตประการหนึ่ง ซึ่งตถาคต อาศัยแล้วปฏิญาณฐานะของผู้องอาจ บันลือสีหนาทในบริษัท ยังพรหมจักรให้เป็นไป. ดูกรสารีบุตร กำลังของตถาคต ๑๐ ประการเหล่านี้แล ที่ตถาคตประกอบแล้ว ปฏิญาณ ฐานะของผู้องอาจ บันลือสีหนาทในบริษัท ยังพรหมจักรให้เป็นไป. ดูกรสารีบุตร ผู้ใดแล พึงว่าซึ่งเราผู้รู้อยู่อย่างนี้ ผู้เห็นอยู่อย่างนี้ ว่าธรรมอันยิ่งของมนุษย์ ที่เป็นญาณทัสสนะอันวิเศษพอแก่ความเป็นอริยะ ของพระสมณโคดมไม่มี พระสมณโคดมทรง- *แสดงธรรม ที่ประมวลมาด้วยความตรึก ที่ไตร่ตรองด้วยการค้นคิด แจ่มแจ้งได้เอง ดูกรสารีบุตร ผู้นั้นไม่ละวาจานั้นเสีย ไม่ละความคิดนั้นเสีย ไม่สละคืนทิฏฐินั้นเสีย ก็เที่ยงแท้ที่จะตกนรก ดังถูกนำมาฝังไว้ ดูกรสารีบุตร เปรียบเหมือนภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ถึง พร้อมด้วยปัญญา พึงกระหยิ่มอรหัตผล ในปัจจุบันทีเดียว ฉันใด ดูกรสารีบุตร เรากล่าวข้ออุปไมย นี้ก็ฉันนั้น ผู้นั้นไม่ละวาจานั้นเสีย ไม่ละความคิดนั้นเสีย ไม่สละคืนทิฏฐินั้นเสีย ก็เที่ยงแท้ ที่จะตกนรก ดังถูกนำมาฝังไว้.
เวสารัชชธรรม ๔
[๑๖๗] ดูกรสารีบุตร ตถาคตประกอบด้วยเวสารัชชธรรม [ความแกล้วกล้า] เหล่าใด จึงปฏิญาณฐานะของผู้องอาจ บันลือสีหนาทในบริษัท ยังพรหมจักรให้เป็นไป เวสารัชชธรรม ของตถาคตเหล่านี้มี ๔ ประการ ๔ ประการเป็นไฉน ดูกรสารีบุตร เราไม่เห็นเหตุนี้ว่า สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก ที่จักทักท้วงเราโดยสหธรรมในข้อว่า ท่านปฏิญาณตนว่าเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ ธรรมเหล่านี้ท่านยังไม่ได้ตรัสรู้แล้ว ดังนี้ ดูกรสารีบุตร เมื่อไม่เห็นเหตุนี้ เราก็เป็นผู้ถึงความปลอดภัย ถึงความไม่มีภัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้าอยู่ ดูกรสารีบุตร เราไม่เห็นเหตุนี้ว่า สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก ที่จักทักท้วงเราโดยสหธรรมในข้อว่า ท่านปฏิญาณตนว่าเป็นพระขีณาสพ อาสวะเหล่านี้ของท่าน ยังไม่สิ้นไปแล้ว ดังนี้ ดูกรสารีบุตร เมื่อไม่เห็นเหตุนี้ เราก็เป็นผู้ถึงความปลอดภัย ถึงความ ไม่มีภัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้าอยู่ ดูกรสารีบุตร เราไม่เห็นเหตุนี้ว่า สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก ที่จักทักท้วงเราโดยสหธรรมในข้อว่า ท่านกล่าว ธรรมเหล่าใด ว่าทำอันตราย ธรรมเหล่านั้นไม่อาจทำอันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริง ดังนี้ ดูกร สารีบุตร เมื่อไม่เห็นเหตุนี้ เราก็เป็นผู้ถึงความปลอดภัย ถึงความไม่มีภัย ถึงความเป็นผู้แกล้ว- *กล้าอยู่ ดูกรสารีบุตร เราไม่เห็นเหตุนี้ว่า สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก ที่จักทักท้วงเราโดยสหธรรมในข้อว่า ท่านแสดงธรรมเพื่อประโยชน์อย่างใด ประโยชน์ อย่างนั้นไม่เป็นทางสิ้นทุกข์โดยชอบแห่งคนผู้ทำตาม ดังนี้ ดูกรสารีบุตร เมื่อไม่เห็นเหตุนี้ เราก็เป็นผู้ถึงความปลอดภัย ถึงความไม่มีภัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้าอยู่ ดูกรสารีบุตร ตถาคต ประกอบด้วยเวสารัชชธรรมเหล่าใด จึงปฏิญาณฐานะของผู้องอาจ บันลือสีหนาทในบริษัท ยังพรหมจักรให้เป็นไป เวสารัชชธรรมของตถาคต ๔ ประการเหล่านี้แล ดูกรสารีบุตร ผู้ใดแล พึงว่าซึ่งเราผู้รู้อยู่อย่างนี้ ผู้เห็นอยู่อย่างนี้ว่า ธรรมอันยิ่งของมนุษย์ ที่เป็นญาณทัสสนะอันวิเศษ พอแก่ความเป็นอริยะ ของพระสมณโคดมไม่มี พระสมณโคดมทรงแสดงธรรมที่ประมวลด้วย ความตรึก ที่ไตร่ตรองด้วยการค้นคิด แจ่มแจ้งได้เอง ดูกรสารีบุตร ผู้นั้นไม่ละวาจานั้นเสีย ไม่ละความคิดนั้นเสีย ไม่สละคืนทิฏฐินั้นเสีย ก็เที่ยงแท้ที่จะตกนรกดังถูกนำมาฝังไว้ ดูกรสารีบุตร เปรียบเหมือนภิกษุถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ถึงพร้อมด้วยปัญญา พึงกระหยิ่ม อรหัตผลในปัจจุบันทีเดียว ฉันใด ดูกรสารีบุตร เรากล่าวข้ออุปไมยนี้ ก็ฉันนั้น ผู้นั้นไม่ละวาจา นั้นเสีย ไม่ละความคิดนั้นเสีย ไม่สละคืนทิฏฐินั้นเสีย ก็เที่ยงแท้ที่จะตกนรก ดังถูกนำมาฝังไว้.
บริษัท ๘
[๑๖๘] ดูกรสารีบุตร บริษัท ๘ จำพวกเหล่านี้แล ๘ จำพวกเป็นไฉน? คือขัตติยบริษัท พราหมณบริษัท คฤหบดีบริษัท สมณบริษัท จาตุมหาราชิกบริษัท ดาวดึงสบริษัท มารบริษัท และพรหมบริษัท ดูกรสารีบุตร บริษัท ๘ จำพวกเหล่านี้แล ดูกรสารีบุตร ตถาคตประกอบด้วย เวสารัชชธรรม ๔ ประการเหล่านี้แล ย่อมเข้าไปหา ย่อมหยั่งลงสู่บริษัท ๘ จำพวกเหล่านี้. ดูกรสารีบุตร เราย่อมเข้าใจเข้าไปหาขัตติยบริษัทหลายๆ ร้อย แม้ในขัตติยบริษัทนั้น เราเคย นั่งใกล้ เคยทักทายปราศรัย เคยสนทนากัน ดูกรสารีบุตร เราไม่เห็นเหตุนี้ว่า ความกลัว หรือความสะทกสะท้าน จักกล้ำกรายเราในขัตติยบริษัทนั้นเลย เมื่อไม่เห็นเหตุนี้ เราก็เป็นผู้ ถึงความปลอดภัย ถึงความไม่มีภัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้าอยู่ ดูกรสารีบุตร อนึ่ง เราย่อมเข้าใจ เข้าไปหาพราหมณบริษัทหลายๆ ร้อย คฤหบดีบริษัท สมณบริษัท จาตุมหาราชิกบริษัท ดาวดึงส บริษัท มารบริษัท พรหมบริษัทจำพวกละหลายๆ ร้อย แม้ในบริษัทนั้นๆ เราเคยนั่งใกล้ เคยทักทายปราศรัย เคยสนทนากัน ดูกรสารีบุตร เราไม่เห็นเหตุนี้ว่า ความกลัว หรือความ สะทกสะท้าน จักกล้ำกรายเราในบริษัทนั้นๆ เลย เมื่อไม่เห็นเหตุนี้ เราก็เป็นผู้ถึงความปลอดภัย ถึงความไม่มีภัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้าอยู่ ดูกรสารีบุตร ผู้ใดแลพึงว่าซึ่งเราผู้รู้อยู่อย่างนี้ ผู้เห็นอยู่อย่างนี้ว่า ธรรมอันยิ่งของมนุษย์ ที่เป็นญาณทัสสนะอันวิเศษพอแก่ความเป็นอริยะ ของพระสมณโคดมไม่มี พระสมณโคดมทรงแสดงธรรมที่ประมวลมาด้วยความตรึก ที่ไตร่ตรอง ด้วยการค้นคิด แจ่มแจ้งได้เอง ดูกรสารีบุตร ผู้นั้นไม่ละวาจานั้นเสีย ไม่ละความคิดนั้นเสีย ไม่สละคืนทิฏฐินั้นเสีย ก็เที่ยงแท้ที่จะตกนรกดังถูกนำมาฝังไว้. ดูกรสารีบุตร เปรียบเหมือน ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ถึงพร้อมด้วยปัญญา พึงกระหยิ่มอรหัตผลในปัจจุบัน ทีเดียว ฉันใด ดูกรสารีบุตร เรากล่าวข้ออุปไมยนี้ ก็ฉันนั้น ผู้นั้นไม่ละวาจานั้นเสีย ไม่ละ ความคิดนั้นเสีย ไม่สละคืนทิฏฐินั้นเสีย ก็เที่ยงแท้ที่จะตกนรกดังถูกนำมาฝังไว้.
กำเนิด ๔
[๑๖๙] ดูกรสารีบุตร กำเนิด ๔ ประการเหล่านี้แล ๔ ประการเป็นไฉน? คือ อัณฑชะ- *กำเนิด ชลาพุชะกำเนิด สังเสทชะกำเนิด โอปปาติกะกำเนิด ดูกรสารีบุตร ก็อัณฑชะกำเนิด เป็นไฉน? สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ชำแรกเปลือกแห่งฟองเกิด นี้เราเรียกว่า อัณฑชะกำเนิด ดูกรสารีบุตร ชลาพุชะกำเนิดเป็นไฉน? สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นใด ชำแรกไส้ [มดลูก] เกิด นี้เราเรียกว่า ชลาพุชะกำเนิด ดูกรสารีบุตร สังเสทชะกำเนิดเป็นไฉน? สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นใด ย่อมเกิดในปลาเน่า ในซากศพเน่า ในขนมบูด หรือในน้ำครำ ในเถ้าไคล [ของสกปรก] นี้เราเรียกว่า สังเสทชะกำเนิด ดูกรสารีบุตร โอปปาติกะกำเนิดเป็นไฉน? เทวดา สัตว์นรก มนุษย์บางจำพวก และเปรตบางจำพวก นี้เราเรียกว่า โอปปาติกะกำเนิด ดูกรสารีบุตร กำเนิด ๔ ประการเหล่านี้แล ดูกรสารีบุตร ผู้ใดแล พึงว่าซึ่งเราผู้รู้อยู่อย่างนี้ ผู้เห็นอยู่อย่างนี้ว่า ธรรมอันยิ่งของมนุษย์ ที่เป็นญาณทัสสนะอันวิเศษพอแก่ความเป็นอริยะ ของพระสมณโคดมไม่มี พระสมณโคดมทรงแสดงธรรมที่ประมวลมาด้วยความตรึก ที่ไตร่ตรองด้วยการค้นคิด แจ่มแจ้ง ได้เอง ดูกรสารีบุตร ผู้นั้นไม่ละวาจานั้นเสีย ไม่ละความคิดนั้นเสีย ไม่สละคืนทิฏฐินั้นเสีย ก็เที่ยงแท้ ที่จะตกนรกดังถูกนำมาฝังไว้ ดูกรสารีบุตร เปรียบเหมือนภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ถึงพร้อมด้วยปัญญา พึงกระหยิ่มอรหัตผล ในปัจจุบันทีเดียว ฉันใด ดูกรสารีบุตร เรากล่าวข้ออุปไมยนี้ ก็ฉันนั้น ผู้นั้นไม่ละวาจานั้นเสีย ไม่ละความคิดนั้นเสีย ไม่สละคืนทิฏฐินั้นเสีย ก็เที่ยงแท้ที่จะตกนรกดังถูกนำมาฝังไว้.
คติ ๕
[๑๗๐] ดูกรสารีบุตร คติ ๕ ประการเหล่านี้แล ๕ ประการเป็นไฉน? คือ นรก กำเนิด ดิรัจฉาน เปรตวิสัย มนุษย์ เทวดา ดูกรสารีบุตร เราย่อมรู้ชัดซึ่งนรก ทางยังสัตว์ให้ถึงนรก และปฏิปทาอันจะยังสัตว์ให้ถึงนรก อนึ่ง สัตว์ผู้ดำเนินประการใด เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เราย่อมรู้ชัดซึ่งประการนั้นด้วย ดูกรสารีบุตร เราย่อม รู้ชัดซึ่งกำเนิดดิรัจฉาน ทางยังสัตว์ให้ถึงกำเนิดดิรัจฉาน ปฏิปทาอันจะยังสัตว์ให้ถึงกำเนิดดิรัจฉาน อนึ่ง สัตว์ผู้ดำเนินประการใด เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงกำเนิดดิรัจฉาน เราย่อม รู้ชัดซึ่งประการนั้นด้วย ดูกรสารีบุตร เราย่อมรู้ชัดซึ่งเปรตวิสัย ทางไปสู่เปรตวิสัย และปฏิปทา อันจะยังสัตว์ให้ถึงเปรตวิสัย อนึ่ง สัตว์ผู้ดำเนินประการใด เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงเปรตวิสัย เราย่อมรู้ชัดซึ่งประการนั้นด้วย ดูกรสารีบุตร เราย่อมรู้ชัดซึ่งเหล่ามนุษย์ ทางอันยังสัตว์ให้ถึงมนุษย์โลก และปฏิปทาอันจะยังสัตว์ให้ถึงมนุษยโลก อนึ่ง สัตว์ผู้ปฏิบัติ ประการใด เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมบังเกิดในหมู่มนุษย์ เราย่อมรู้ชัดซึ่งประการนั้น ด้วย ดูกรสารีบุตร เราย่อมรู้ชัดซึ่งเทวดาทั้งหลาย ทางอันยังสัตว์ให้ถึงเทวโลก และปฏิปทา อันจะยังสัตว์ให้ถึงเทวโลก อนึ่ง สัตว์ผู้ปฏิบัติประการใด เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เราย่อมรู้ชัดซึ่งประการนั้นด้วย ดูกรสารีบุตร เราย่อมรู้ชัดซึ่งพระ- *นิพพาน ทางอันยังสัตว์ให้ถึงพระนิพพาน และปฏิปทาอันจะยังสัตว์ให้ถึงพระนิพพาน อนึ่ง สัตว์ผู้ปฏิบัติประการใด ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะ อาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ เราย่อมรู้ชัดซึ่งประการนั้นด้วย.
อุปมาการเห็นคติของบุคคล
[๑๗๑] ดูกรสารีบุตร เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคน ในโลกนี้ด้วยใจอย่างนี้ว่า บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น ดำเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก จักเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก โดยสมัยต่อมา เราย่อมเห็นบุคคลนั้น เบื้องหน้าแต่ตาย เพราะกายแตก เข้าถึงแล้วซึ่งอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เสวยทุกขเวทนาอันแรงกล้า เผ็ดร้อน โดยส่วนเดียว ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ดูกรสารีบุตร เปรียบเหมือน หลุมถ่านเพลิง ลึกยิ่งกว่าชั่วบุรุษ เต็มไปด้วยถ่านเพลิง ปราศจากเปลว ปราศจากควัน ลำดับนั้น บุรุษผู้มีตัวอันความร้อนแผดเผา ครอบงำ เหน็ดเหนื่อย สะทกสะท้าน หิวกระหาย มุ่งมาสู่ หลุมถ่านเพลิงนั้นแหละ โดยมรรคาสายเดียว บุรุษผู้มีจักษุเห็นเขาแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษผู้เจริญนี้ ปฏิบัติอย่างนั้น ดำเนินอย่างนั้น ขึ้นสู่หนทางนั้น จักมาถึงหลุมถ่านเพลิงนี้ ทีเดียว โดยสมัยต่อมา บุรุษผู้มีจักษุนั้น พึงเห็นเขาตกลงในหลุมถ่านเพลิงนั้น เสวยทุกขเวทนา อันแรงกล้า เผ็ดร้อนโดยส่วนเดียว แม้ฉันใด ดูกรสารีบุตร เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคน ในโลกนี้ ด้วยใจ ฉันนั้น เหมือนกันแลว่า บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น ดำเนินอย่างนั้น และขึ้น สู่หนทางนั้น เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก จักเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก โดยสมัย ต่อมา เราได้เห็นบุคคลนั้น เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เข้าถึงแล้วซึ่ง อบายทุคติ วินิบาต นรก เสวยทุกขเวทนาอันแรงกล้า เผ็ดร้อนโดยส่วนเดียว ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุ ของมนุษย์. [๑๗๒] ดูกรสารีบุตร เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ ด้วยใจว่า บุคคลนี้ ปฏิบัติอย่างนั้น ดำเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก จักเข้าถึง กำเนิดดิรัจฉาน โดยสมัยต่อมา เราเห็นบุคคลนั้น เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เข้าถึงแล้ว ซึ่งกำเนิดดิรัจฉาน เสวยทุกขเวทนาอันแรงกล้า เผ็ดร้อน ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุ ของมนุษย์ ดูกรสารีบุตร เปรียบเหมือนหลุมคูถ ลึกยิ่งกว่าชั่วบุรุษ เต็มไปด้วยคูถ ลำดับนั้น บุรุษผู้มีตัวอันความร้อนแผดเผา ครอบงำ เหน็ดเหนื่อย สะทกสะท้าน หิวระหาย มุ่งมาสู่ หลุมคูถนั้นแหละ โดยมรรคาสายเดียว บุรุษผู้มีจักษุเห็นเขาแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษผู้เจริญนี้ ปฏิบัติอย่างนั้น ดำเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น จักมาถึงหลุมคูถนี้ทีเดียว โดยสมัยต่อมา บุรุษผู้มีจักษุนั้น พึงเห็นเขาตกลงในหลุมคูถนั้น เสวยทุกขเวทนาอันแรงกล้า เผ็ดร้อน แม้ฉันใด ดูกรสารีบุตร เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจ ฉันนั้น เหมือนกันแลว่า บุคคลนี้ ปฏิบัติอย่างนั้น ดำเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก จักเข้า ถึงกำเนิดดิรัจฉาน โดยสมัยต่อมา เราย่อมเห็นบุคคลนั้น เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เข้าถึงแล้วซึ่งกำเนิดดิรัจฉาน เสวยทุกขเวทนาอันแรงกล้า เผ็ดร้อน ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์. [๑๗๓] ดูกรสารีบุตร เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจอย่างนี้ว่า บุคคลนี้ ปฏิบัติอย่างนี้ ดำเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก จักเข้าถึง เปรตวิสัย โดยสมัยต่อมา เราย่อมเห็นบุคคลนั้น เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เข้าถึงแล้ว ซึ่งเปรตวิสัย เสวยทุกขเวทนาเป็นอันมาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ดูกรสารีบุตร เปรียบเหมือนต้นไม้เกิดในพื้นที่อันไม่เสมอ มีใบอ่อนและใบแก่อันเบาบาง มีเงา อันโปร่ง ลำดับนั้น บุรุษผู้มีตัวอันความร้อนแผดเผา ครอบงำ เหน็ดเหนื่อย สะทกสะท้าน หิวระหาย มุ่งมาสู่ต้นไม้นั้นแหละ โดยมรรคาสายเดียว บุรุษผู้มีจักษุเห็นเขาแล้ว พึงกล่าว อย่างนี้ว่า บุรุษผู้เจริญนี้ปฏิบัติอย่างนั้น ดำเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น จักมาถึงต้นไม้นี้ ทีเดียว โดยสมัยต่อมา บุรุษผู้มีจักษุนั้น พึงเห็นเขานั่งหรือนอนในเงาต้นไม้นั้น เสวยทุกขเวทนา เป็นอันมาก แม้ฉันใด ดูกรสารีบุตร เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจ ฉันนั้น เหมือนกันแลว่า บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น ดำเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น เบื้องหน้า แต่ตายเพราะกายแตก จักเข้าถึงเปรตวิสัย โดยสมัยต่อมา เราย่อมเห็นบุคคลนั้น เบื้องหน้า แต่ตายเพราะกายแตก เข้าถึงแล้วซึ่งเปรตวิสัย เสวยทุกขเวทนาเป็นอันมาก ด้วยทิพยจักษุ อันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์. [๑๗๔] ดูกรสารีบุตร เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ ด้วยใจอย่างนี้ว่า บุคคลนี้ ปฏิบัติอย่างนั้น ดำเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก จักบังเกิด ในหมู่มนุษย์ โดยสมัยต่อมา เราย่อมเห็นบุคคลนั้น เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก บังเกิดแล้ว ในหมู่มนุษย์ เสวยสุขเวทนาเป็นอันมาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ดูกรสารีบุตร เปรียบเหมือนต้นไม้เกิดในพื้นที่อันเสมอ มีใบอ่อนและใบแก่อันหนา มีเงา หนาทึบ ลำดับนั้น บุรุษผู้มีตัวอันความร้อนแผดเผา ครอบงำ เหน็ดเหนื่อย สะทกสะท้าน หิวระหาย มุ่งมาสู่ต้นไม้นั้นแหละ โดยมรรคาสายเดียว บุรุษผู้มีจักษุเห็นเขาแล้ว พึงกล่าว อย่างนี้ว่า บุรุษนี้ปฏิบัติอย่างนั้น ดำเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนี้ จักมาถึงต้นไม้นี้ทีเดียว โดยสมัยต่อมา บุรุษผู้มีจักษุนั้น พึงเห็นเขานั่ง หรือนอนในเงาต้นไม้นั้น เสวยสุขเวทนาเป็น อันมาก แม้ฉันใด ดูกรสารีบุตร เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจ ฉันนั้น เหมือนกันแล อย่างนี้ว่า บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น ดำเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น เบื้องหน้า แต่ตายเพราะกายแตก จักบังเกิดในหมู่มนุษย์ โดยสมัยต่อมา เราย่อมเห็นบุคคลนั้น เบื้องหน้า แต่ตายเพราะกายแตก บังเกิดแล้วในหมู่มนุษย์ เสวยสุขเวทนาเป็นอันมาก ด้วยทิพยจักษุ อันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์. [๑๗๕] ดูกรสารีบุตร เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจ อย่างนี้ว่า บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น ดำเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ โดยสมัยต่อมา เราย่อมเห็นบุคคลนั้น เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เข้าถึงแล้วซึ่งสุคติโลกสวรรค์ เสวยสุขเวทนาโดยส่วนเดียว ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุ ของมนุษย์ ดูกรสารีบุตร เปรียบเหมือนปราสาท ในปราสาทนั้นมีเรือนยอด ซึ่งฉาบทาแล้ว ทั้งภายในและภายนอก หาช่องลมมิได้ มีวงกรอบอันสนิท มีบานประตูและหน้าต่างอันปิดสนิทดี ในเรือนยอดนั้น มีบัลลังก์อันลาดด้วยผ้าโกเชาว์ขนยาว ลาดด้วยเครื่องลาดทำด้วยขนแกะสีขาว ลาดด้วยขนเจียมเป็นแผ่นทึบ มีเครื่องลาดอย่างดีทำด้วยหนังชะมด มีเพดานกั้นในเบื้องบน มีหมอนแดงวาง ณ ข้างทั้งสอง ลำดับนั้น บุรุษผู้มีตัวอันความร้อนแผดเผา ครอบงำ เหน็ดเหนื่อย สะทกสะท้าน หิวระหาย มุ่งมาสู่ปราสาทนั้นแหละ โดยมรรคาสายเดียว บุรุษผู้มีจักษุเห็นเข้า แล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษผู้เจริญนี้ปฏิบัติอย่างนั้น ดำเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น จักมาถึงปราสาทนี้ทีเดียว โดยสมัยต่อมา บุรุษผู้มีจักษุนั้น พึงเห็นเขานั่ง หรือนอนบนบัลลังก์ ในเรือนยอด ณ ปราสาทนั้น เสวยสุขเวทนาโดยส่วนเดียว แม้ฉันใด ดูกรสารีบุตร เราย่อม กำหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจ ฉันนั้นเหมือนกันแล อย่างนี้ว่า บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น ดำเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ โดยสมัยต่อมา เราย่อมเห็นบุคคลนั้น เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เข้าถึงแล้วซึ่งสุคติ โลกสวรรค์ เสวยสุขเวทนาโดยส่วนเดียว ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์. [๑๗๖] ดูกรสารีบุตร เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจอย่างนี้ว่า บุคคลนี้ ปฏิบัติอย่างนั้น ดำเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น จะกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน เข้าถึง อยู่ โดยสมัยต่อมา เราย่อมเห็นบุคคลนั้นกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหา อาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ เสวยสุข เวทนาโดยส่วนเดียว ดูกรสารีบุตร เปรียบเหมือนสระโบกขรณี มีน้ำอันใส สะอาดเย็น ใสตลอด มีท่าอันดี น่ารื่นรมย์ และในที่ไม่ไกลสระโบกขรณีนั้น มีแนวป่าอันทึบ ลำดับนั้น บุรุษผู้มีตัวอันความร้อนแผดเผา ครอบงำ เหน็ดเหนื่อย สะทกสะท้าน หิวระหาย มุ่งมาสู่ สระโบกขรณีนั้นแหละ โดยมรรคาสายเดียว บุรุษผู้มีจักษุเห็นเขาแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษผู้เจริญนี้ปฏิบัติอย่างนั้น ดำเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น จักมาถึงสระโบกขรณีนี้ ทีเดียว โดยสมัยต่อมา บุรุษผู้มีจักษุนั้น พึงเห็นเขาลงสู่สระโบกขรณีนั้น อาบและดื่ม ระงับ ความกระวนกระวายความเหน็ดเหนื่อยและความร้อนหมดแล้ว ขึ้นไปนั่งหรือนอนในแนวป่านั้น เสวยสุขเวทนาโดยส่วนเดียว แม้ฉันใด ดูกรสารีบุตร เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ ด้วยใจ ฉันนั้นเหมือนกันแล อย่างนี้ว่า บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น ดำเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่ หนทางนั้น จักกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลาย สิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ โดยสมัยต่อมา เราย่อมเห็นบุรุษนั้น กระทำ ให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญา อันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ เสวยสุขเวทนาโดยส่วนเดียว ดูกรสารีบุตร คติ ๕ ประการ เหล่านี้แล ดูกรสารีบุตร ผู้ใดแลพึงว่าซึ่งเราผู้รู้อย่างนี้ ผู้เห็นอยู่อย่างนี้ว่า ธรรมอันยิ่งของมนุษย์ ที่เป็นญาณทัสสนะอันวิเศษพอแก่ความเป็นอริยะของพระสมณโคดมไม่มี พระสมณโคดมทรง แสดงธรรมที่ประมวลมาด้วยความตรึก ที่ไตร่ตรองด้วยการค้นคิด แจ่มแจ้งได้เอง ดูกรสารีบุตร ผู้นั้นไม่ละวาจานั้นเสีย ไม่ละความคิดนั้นเสีย ไม่สละคืนทิฏฐินั้นเสีย ก็เที่ยงที่จะตกนรก ดังนำมาฝังไว้ ดูกรสารีบุตร เปรียบเหมือนภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ถึงพร้อมด้วยปัญญา พึงกระหยิ่มอรหัตผลในปัจจุบันทีเดียว แม้ฉันใด เรากล่าวข้ออุปไมยนี้ ก็ฉันนั้น ผู้นั้นไม่ละวาจานั้นเสีย ไม่ละความคิดนั้นเสีย ไม่สละคืนทิฏฐินั้นเสีย ก็เที่ยงที่จะ ตกนรกดังถูกนำมาฝังไว้.
พรหมจรรย์ประกอบด้วยองค์ ๔
[๑๗๗] ดูกรสารีบุตร อนึ่ง เราย่อมเข้าใจประพฤติพรหมจรรย์ประกอบด้วยองค์ ๔ คือ เราเป็นผู้บำเพ็ญตบะและเป็นเยี่ยมกว่าผู้บำเพ็ญตบะทั้งหลาย เราประพฤติเศร้าหมองและเป็น เยี่ยมกว่าผู้ประพฤติเศร้าหมองทั้งหลาย เราเป็นผู้เกลียดบาปและเป็นเยี่ยมกว่าผู้เกลียดบาปทั้งหลาย เราเป็นผู้สงัดและเป็นเยี่ยมกว่าผู้สงัดทั้งหลาย. [๑๗๘] ดูกรสารีบุตร บรรดาพรหมจรรย์มีองค์ ๔ นั้น วัตรต่อไปนี้ เป็นพรหมจรรย์ ของเรา โดยความที่เราเป็นผู้บำเพ็ญตบะ คือ เราเคยเป็นอเจลกคนเปลือย ไร้มรรยาท เลียมือ เขาเชิญให้มารับภิกษาก็ไม่มา เขาเชิญให้หยุดก็ไม่หยุด ไม่ยินดีภิกษาที่เขานำมาให้ ไม่ยินดีภิกษา ที่เขาทำเฉพาะ ไม่ยินดีภิกษาที่เขานิมนต์ เรานั้นไม่รับภิกษาปากหม้อ ไม่รับภิกษาจากหม้อข้าว ไม่รับภิกษาที่บุคคลยืนคร่อมธรณีประตูให้ ไม่รับภิกษาที่บุคคลยืนคร่อมท่อนไม้ให้ ไม่รับภิกษา ที่บุคคลยืนคร่อมสากให้ ไม่รับภิกษาของคนสองคนผู้กำลังบริโภคอยู่ ไม่รับภิกษาของหญิง มีครรภ์ ไม่รับภิกษาของหญิงผู้กำลังให้ลูกดูดนม ไม่รับภิกษาของหญิงผู้คลอเคลียบุรุษ ไม่รับภิกษา ที่นัดแนะกันทำไว้ ไม่รับภิกษาในที่ซึ่งสุนัขได้รับเลี้ยงดู ไม่รับภิกษาในที่มีแมลงวันไต่ตอม เป็นกลุ่มๆ ไม่กินปลา ไม่กินเนื้อ ไม่ดื่มสุรา ไม่ดื่มเมรัย ไม่ดื่มยาดอง เรานั้นรับภิกษาที่ เรือนหลังเดียว เยียวยาอัตภาพด้วยข้าวคำเดียวบ้าง รับภิกษาที่เรือนสองหลัง เยียวยาอัตภาพ ด้วยข้าว ๒ คำบ้าง ฯลฯ รับภิกษาที่เรือน ๗ หลัง เยียวยาอัตภาพด้วยข้าว ๗ คำบ้าง เรานั้น เยียวยาอัตภาพด้วยภิกษาในถาดน้อยใบเดียวบ้าง ๒ ใบบ้าง ฯลฯ ๗ ใบบ้าง กินอาหารที่เก็บค้างไว้ วันหนึ่งบ้าง ๒ วันบ้าง ฯลฯ ๗ วันบ้าง เป็นผู้ประกอบด้วยความขวนขวายในการบริโภคภัตตาหาร ที่เวียนมาตั้งกึ่งเดือนเช่นนี้บ้าง เรานั้นเป็นผู้มีผักดองเป็นภักษาบ้าง มีข้าวฟ่างเป็นภักษาบ้าง มีลูกเดือยเป็นภักษาบ้าง มีกากข้าวเป็นภักษาบ้าง มียางเป็นภักษาบ้าง มีสาหร่ายเป็นภักษาบ้าง มีรำเป็นภักษาบ้าง มีข้าวตังเป็นภักษาบ้าง มีกำยานเป็นภักษาบ้าง มีหญ้าเป็นภักษาบ้าง มีโคมัย เป็นภักษาบ้าง มีเหง้าและผลไม้ในป่าเป็นอาหาร บริโภคผลไม้หล่นเยียวยาอัตภาพ เรานั้นทรงผ้า ป่านบ้าง ผ้าแกมกันบ้าง ผ้าห่อศพบ้าง ผ้าบังสุกุลบ้าง ผ้าเปลือกไม้บ้าง หนังเสือบ้าง หนังเสือ ทั้งเล็บบ้าง ผ้าคากรองบ้าง ผ้าเปลือกไม้กรองบ้าง ผ้าผลไม้กรองบ้าง ผ้ากัมพลทำด้วยผมมนุษย์บ้าง ผ้ากัมพลทำด้วยขนสัตว์บ้าง ผ้าทำด้วยขนปีกนกเค้าบ้าง เป็นผู้ถอนผมและหนวด คือ ประกอบ ความขวนขวายในการถอนผมและหนวดบ้าง เป็นผู้ถือยืน คือ ห้ามอาสนะบ้าง เป็นผู้กระโหย่ง คือ ประกอบความเพียรในการกระโหย่ง [เดินกระโหย่งเหยียบพื้นไม่เต็มเท้า] บ้าง เป็นผู้นอน บนหนาม คือ สำเร็จการนอนบนหนามบ้าง เป็นผู้ประกอบความขวนขวายในการลงน้ำวันละ- *สามครั้งบ้าง เป็นผู้ประกอบการขวนขวายในการย่างและบ่มกาย มีประการมิใช่น้อยเห็นปานนี้ ด้วยประการฉะนี้อยู่ ดูกรสารีบุตร นี้แหละเป็นพรหมจรรย์ของเรา โดยความที่เราเป็นผู้บำเพ็ญตบะ. [๑๗๙] ดูกรสารีบุตร บรรดาพรหมจรรย์มีองค์ ๔ นั้น พรหมจรรย์นี้เป็นวัตรในความ ประพฤติเศร้าหมองของเรา มลทิน คือละอองธุลีสั่งสมในกายของเรานับด้วยปีมิใช่น้อย จนเป็น สะเก็ด เปรียบเหมือนตอตะโก มีละอองธุลี สั่งสมนับด้วยปีมิใช่น้อย จนเกิดเป็นสะเก็ด ฉันใด มลทิน คือละอองธุลีสั่งสมในกายของเรานับด้วยปีมิใช่น้อย จนเกิดเป็นสะเก็ด ฉันนั้น เหมือนกัน ดูกรสารีบุตร เราไม่ได้คิดที่จะลูบคลำปัดละอองธุลีนี้ด้วยฝ่ามือ หรือไม่ได้คิดว่า คน เหล่าอื่นจะพึงลูบคลำปัดละอองธุลีนี้ด้วยฝ่ามือ ดูกรสารีบุตร ความคิดแม้อย่างนี้ ไม่ได้มีแก่เรา เลย ดูกรสารีบุตร นี้แหละ เป็นวัตรในความประพฤติเศร้าหมองของเรา. [๑๘๐] ดูกรสารีบุตร บรรดาพรหมจรรย์มีองค์ ๔ เหล่านั้น พรหมจรรย์นี้ เป็นวัตรใน ความประพฤติเกลียดบาปของเขา เรานั้นมีสติก้าวไปข้างหน้า มีสติถอยกลับ ความเอ็นดูของเรา ปรากฏเฉพาะ จนกระทั่งในหยดน้ำว่า เราอย่าได้ล้างผลาญสัตว์เล็กๆ ที่อยู่ในที่อันไม่สม่ำเสมอ เลย ดูกรสารีบุตร นี้แหละเป็นวัตรในความประพฤติเกลียดบาปของเรา. [๑๘๑] ดูกรสารีบุตร บรรดาพรหมจรรย์มีองค์ ๔ เหล่านั้น พรหมจรรย์นี้ เป็นวัตรใน ความสงัดของเรา เรานั้นเข้าอาศัยชายป่าแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่ ในกาลใดเราได้พบคนเลี้ยงโค หรือ คนเลี้ยงปศุสัตว์ หรือคนหาบหญ้า หรือคนหาฟืน หรือคนเที่ยวหาผลไม้เป็นต้นในป่า ในกาล นั้น เราก็เดินหนีจากป่าไปสู่ป่า จากชัฏไปสู่ชัฏ จากที่ลุ่มไปสู่ที่ลุ่ม จากที่ดอนไปสู่ที่ดอน ข้อ นั้นเพราะเหตุอะไร? เพราะเราคิดว่า คนเหล่านั้น อย่าได้เห็นเราเลย และเราก็อย่าได้เห็นคน เหล่านั้นเลย ดูกรสารีบุตร เปรียบเหมือน เนื้อที่เกิดในป่า เห็นมนุษย์ทั้งหลายแล้วก็วิ่งหนีจาก ป่าไปสู่ป่า จากชัฏไปสู่ชัฏ จากที่ลุ่มไปสู่ที่ลุ่ม จากที่ดอนไปสู่ที่ดอน แม้ฉันใด ดูกรสารีบุตร เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน ในกาลใด เราได้พบคนเลี้ยงโค หรือคนเลี้ยงปศุสัตว์ หรือคนหาบหญ้า หรือคนหาฟืน หรือคนเที่ยวหาผลไม้เป็นต้นในป่าในกาลนั้น เราก็เดินหนีจากป่าไปสู่ป่า จากชัฏ- *ไปสู่ชัฏ จากที่ลุ่มไปสู่ที่ลุ่ม จากที่ดอนไปสู่ที่ดอน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เพราะเราคิดว่า คนเหล่านั้นอย่าได้เห็นเราเลย และเราก็อย่าได้เห็นคนเหล่านั้นเลย ดูกรสารีบุตร นี้แหละเป็นวัตร ในความประพฤติสงัดของเรา.
ปฏิปทามิใช่ทางตรัสรู้
[๑๘๒] ดูกรสารีบุตร เรานั้นแลเคยคลานเข้าไปในคอกที่เหล่าโคออกไปแล้ว และ ปราศจากคนเลี้ยงโค กินโคมัยของลูกโคอ่อนที่ยังไม่ทิ้งแม่ มูตรและกรีสของเรายังไม่หมดสิ้นไป เพียงไร เราก็กินมูตรและกรีสของตนเองเป็นอาหาร ดูกรสารีบุตร นี้แหละเป็นวัตรในโภชนะ มหาวิกัฏของเรา. [๑๘๓] ดูกรสารีบุตร เรานั้นแล เข้าอาศัยแนวป่าอันน่ากลัวแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่ นี้ เป็นความน่ากลัวแห่งแนวป่านั้น บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งยังไม่ปราศจากราคะ เข้าไปสู่ป่านั้น โดยมาก ขนพอง ดูกรสารีบุตร เรานั้นแล ในราตรีที่หนาว ฤดูเหมันต์ ตั้งอยู่ระหว่างเดือน ๓ ต่อเดือน ๔ เป็นสมัยมีหิมะตก ในราตรีเห็นปานนั้น [เรา] อยู่ในที่แจ้งตลอดคืน กลางวันเราอยู่ในแนว ป่า ในเดือนท้ายฤดูร้อน กลางวันเราอยู่ในที่แจ้ง กลางคืนเราอยู่ในแนวป่า ดูกรสารีบุตร เป็นความจริง คาถาอันน่าอัศจรรย์ยิ่งนักนี้ ที่เราไม่ได้ยินมาก่อน ปรากฏแก่เราว่า นักปราชญ์ผู้เสาะแสวงหาความหมดจด อาบแดด อาบน้ำค้าง เป็นคนเปลือย ทั้งมิได้ ผิงไฟ อยู่คนเดียวในป่าอันน่ากลัว ดังนี้ [๑๘๔] ดูกรสารีบุตร เราย่อมสำเร็จการนอนแอบอิงกระดูกศพในป่าช้า พวกเด็กเลี้ยง โคเข้ามาใกล้เราแล้ว ถ่มน้ำลายรดบ้าง ถ่ายปัสสาวะรดแล้ว โปรยฝุ่นรดบ้าง เอาไม้ยอนที่ช่อง หูบ้าง เราไม่รู้สึกว่า ยังจิตอันลามกให้เกิดขึ้นในพวกเด็กเหล่านั้นเลย ดูกรสารีบุตร นี้แหละเป็น วัตรในการอยู่ด้วยอุเบกขาของเรา. [๑๘๕] ดูกรสารีบุตร มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ความ หมดจดย่อมมีด้วยอาหาร พวกเขากล่าวอย่างนี้ว่า พวกเราย่อมเยียวยาอัตภาพด้วยอาหารขนาดเท่า ผลพุทรา พวกเขาย่อมเคี้ยวกิน [อาหารเท่า] ผลพุทราบ้าง ผลพุทราป่นบ้าง ดื่มบ้าง [เท่าผล] พุทราบ้าง บริโภค [อาหารเท่า] ผลพุทราที่ทำเป็นชนิดต่างๆ บ้าง ดูกรสารีบุตร เรารู้สึกว่า กิน [อาหารเท่า] ผลพุทราผลเดียวเท่านั้น ดูกรสารีบุตร เธอจะพึงมีความสำคัญว่า พุทราใน สมัยนั้น ชะรอยจะผลใหญ่เป็นแน่ ข้อนี้ เธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น แม้ในกาลนั้นผลพุทราที่เป็น ขนาดใหญ่นั่นเทียวก็เหมือนในบัดนี้ ดูกรสารีบุตร เมื่อเรากิน [อาหารเท่า] ผลพุทราผลเดียว เท่านั้น ร่างกายก็ถึงความซูบผอมยิ่งนัก อวัยวะน้อยใหญ่ของเราเปรียบเหมือนเถาวัลย์ที่มีข้อมาก และข้อดำ เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง ตะโพกของเราเปรียบเหมือนรอยเท้าอูฐ เพราะ ความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง กระดูกสันหลังของเรานูนขึ้นเป็นปุ่มๆ เหมือนเถาสะบ้า เพราะความ ที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง กระดูกซี่โครงของเราเหลื่อมขึ้น เหลื่อมลงเห็นปรากฏ เหมือนกลอน แห่งศาลาเก่าเหลื่อมกันฉะนั้น เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง ดวงตาของเราลึกเข้าไปใน เบ้าตา เหมือนเงาดวงดาวปรากฏในบ่อน้ำอันลึกฉะนั้น เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง หนังศีรษะของเรา อันลมถูกต้องแล้วก็เหี่ยวแห้งเปรียบเหมือนน้ำเต้าขมที่ถูกตัดขั้ว แต่ยังอ่อน อันลมแดดสัมผัสแล้ว ย่อมเป็นของเหี่ยวแห้งไป ฉะนั้น เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง ดูกรสารีบุตร เรานั้นแลคิดว่า จะลูบคลำผิวหนังท้อง ก็คลำถูกกระดูกสันหลังทีเดียว คิดว่า จะลูบคลำกระดูกสันหลัง ก็คลำถูกผิวหนังท้องทีเดียว ดูกรสารีบุตร ผิวหนังท้องของเราติดกระดูก สันหลัง เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง เรานั้นคิดว่า จะถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ ก็ซวน ล้ม ณ ที่นั้นเอง เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง เรานั้นเมื่อจะยังร่างกายให้คล่องแคล่ว ก็ลูบตัวด้วยฝ่ามือ เมื่อเราลูบตัวด้วยฝ่ามือขนทั้งหลายมีรากอันเน่าก็หลุดจากกาย เพราะความที่เรา มีอาหารน้อยนั่นเอง.
วาทะและทิฏฐิ
[๑๘๖] ดูกรสารีบุตร มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ความ หมดจดย่อมมีได้ด้วยอาหาร พวกเขากล่าวอย่างนี้ว่า เราย่อมเยียวยาอัตภาพด้วย [อาหารเท่าเมล็ด] ถั่วเขียว ฯลฯ พวกเราย่อมเยียวยาอัตภาพด้วย [อาหารเท่าเมล็ด] งา ฯลฯ พวกเราย่อมเยียวยา อัตภาพด้วย [อาหารเท่าเมล็ด] ข้าวสาร ดังนี้ พวกเขาเคี้ยวกิน [อาหารเท่าเมล็ด] ข้าวสารบ้าง ข้าวสารป่นบ้าง ดื่มน้ำ [ประมาณเท่าเมล็ด] ข้าวสาร ย่อมบริโภค [อาหารเท่าเมล็ด] ข้าวสาร ที่จัดทำให้แปลกมีประการมิใช่น้อยบ้าง ดูกรสารีบุตร เราย่อมรู้สึกว่า กิน [อาหารเท่าเมล็ด] ข้าวสารเมล็ดเดียวเท่านั้น ดูกรสารีบุตร เธอจะพึงมีความสำคัญว่า ข้าวสารในสมัยนั้น ชะรอยจะ เมล็ดใหญ่เป็นแน่ ข้อนี้ เธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น แม้ในกาลนั้น ข้าวสารที่เป็นขนาดใหญ่นั้นเทียว ก็มีเมล็ดเท่าข้าวสารในบัดนี้ ดูกรสารีบุตร เมื่อเรากิน [อาหารเท่าเมล็ด] ข้าวสารเมล็ดเดียว เท่านั้น ร่างกายก็ถึงความซูบผอมยิ่งนัก อวัยวะน้อยใหญ่ของเรา เปรียบเหมือนเถาวัลย์ที่ข้อมาก และข้อดำ เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง ตะโพกของเราเปรียบเหมือนรอยเท้าอูฐ เพราะ ความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง กระดูกสันหลังของเรานูนขึ้นเป็นปุ่มๆ เหมือนเถาสะบ้า เพราะ ความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง กระดูกซี่โครงของเราเหลื่อมขึ้นเหลื่อมลงเห็นปรากฏ เหมือนกลอน แห่งศาลาเก่าเหลื่อมกันฉะนั้น เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง ดวงตาของเราลึกเข้าไปใน เบ้าตา เหมือนเงาดวงดาวปรากฏในบ่อน้ำอันลึกฉะนั้น เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง หนังศีรษะของเราอันลมถูกต้องแล้ว ก็เหี่ยวแห้ง เปรียบเหมือนน้ำเต้าขมที่ถูกตัดขั้วแต่ยังอ่อน อันลมแดดสัมผัสแล้ว ย่อมเป็นของเหี่ยวแห้งไป ฉะนั้น เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง ดูกรสารีบุตร เรานั้นแล คิดว่า จะลูบคลำผิวหนังท้องก็คลำถูกกระดูกสันหลังทีเดียว คิดว่า จะ ลูบคลำกระดูกสันหลัง ก็คลำถูกผิวหนังท้องทีเดียว ดูกรสารีบุตร ผิวหนังท้องของเราติดกระดูก สันหลัง เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง เรานั้นคิดว่า จะถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะก็ซวนล้ม ณ ที่นั้นเอง เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง เรานั้นเมื่อจะยังร่างกายให้คล่องแคล่วก็ลูบตัว ด้วยฝ่ามือ เมื่อเราลูบตัวด้วยฝ่ามือ ขนตั้งหลายมีรากอันเน่าก็หลุดร่วงจากกาย เพราะความที่เรามี อาหารน้อยนั่นเอง. ดูกรสารีบุตร ด้วยการปฏิบัติอย่างไม่มีใครสู้แม้นั้น ด้วยปฏิปทาแม้นั้น ด้วยความเพียรที่ กระทำได้แสนยากนั้น เราก็ไม่ได้บรรลุธรรมอันยิ่งของมนุษย์ ที่เป็นญาณทัสสนะอันวิเศษพอ แก่ความเป็นอริยะ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เพราะมิใช่ปฏิปทาที่เป็นเหตุบรรลุปัญญาอันประเสริฐ ปัญญานี้แล ที่ซึ่งเราได้บรรลุแล้ว เป็นของประเสริฐ นำสัตว์ออกจากทุกข์ได้ เป็นทางสิ้นทุกข์ โดยชอบแห่งบุคคลผู้กระทำอยู่ตามนั้น. [๑๘๗] ดูกรสารีบุตร มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ความหมดจดย่อมมีได้ด้วยสังสารวัฏ ดูกรสารีบุตร ก็สังสารวัฏที่เราไม่เคยท่องเที่ยวไป โดยกาล ยืดยาวช้านานนี้ เว้นแต่เทวโลกชั้นสุทธาวาส เป็นสิ่งที่หาไม่ได้ง่ายนัก ดูกรสารีบุตร ถ้าเรา พึงท่องเที่ยวไปในเทวโลกชั้นสุทธาวาส เราก็จะไม่พึงมาสู่โลกนี้อีก. [๑๘๘] ดูกรสารีบุตร มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ความ บริสุทธิ์ย่อมมีได้ด้วยอุบัติ ดูกรสารีบุตร ความอุบัติที่เราไม่เคยเข้าถึงแล้ว โดยกาลยืดยาวช้านาน นี้ เว้นจากเทวโลกชั้นสุทธาวาส เป็นของหาไม่ได้ง่ายนัก ดูกรสารีบุตร ถ้าเราพึงอุบัติในเทวโลก ชั้นสุทธาวาส เราก็ไม่พึงมาสู่โลกนี้อีก. [๑๘๙] ดูกรสารีบุตร มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ความหมดจดย่อมมีได้ด้วยอาวาส ดูกรสารีบุตร ก็อาวาสที่เราไม่เคยอยู่อาศัยแล้ว โดยกาลยืด ยาวช้านานนี้ เว้นจากเทวโลกชั้นสุทธาวาส เป็นของหาไม่ได้ง่ายนัก ดูกรสารีบุตร ถ้าเราพึงอยู่ อาศัยในเทวโลกชั้นสุทธาวาส เราก็ไม่พึงมาสู่โลกนี้อีก. [๑๙๐] ดูกรสารีบุตร มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ความ หมดจดย่อมมีได้ด้วยการบูชายัญ ดูกรสารีบุตร ก็ยัญที่เราไม่เคยบูชาแล้ว โดยกาลยืดยาวช้านาน นี้ เป็นของหาไม่ได้ง่ายนัก แต่ยัญนั้นอันเราเป็นพระราชาผู้เป็นกษัตริย์ได้มูรธาภิเษก หรือเป็น พราหมณ์ผู้มหาศาลจึงบูชา. [๑๙๑] ดูกรสารีบุตร มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ความบริสุทธิ์ย่อมมีได้ด้วยการบำเรอไฟ ดูกรสารีบุตร ก็ไฟที่เราไม่เคยบำเรอแล้ว โดยกาลยืดยาว ช้านานนี้ เป็นของหาไม่ได้ง่ายนัก แต่ไฟนั้น อันเราเป็นพระราชาผู้เป็นกษัตริย์ได้มูรธาภิเษก หรือเป็นพราหมณ์ผู้มหาศาลจึงบำเรอ. [๑๙๒] ดูกรสารีบุตร มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า บุรุษ รุ่นหนุ่มผู้เจริญนี้ มีเกศาดำสนิท ประกอบด้วยวัยหนุ่มอันเจริญประกอบด้วยปัญญาเฉลียวฉลาด อย่างยิ่งสมกับวัยต้น ต่อมา บุรุษผู้เจริญนี้ เป็นคนแก่ เป็นคนเฒ่า ถือเอาซึ่งความเป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยโดยลำดับ คือ มีอายุถึง ๘๐ ปีบ้าง ๙๐ ปีบ้าง ๑๐๐ ปีบ้าง โดยชาติ ย่อมเสื่อม จากปัญญาความเฉลียวฉลาดนั้น ในภายหลัง ดูกรสารีบุตร ข้อนี้ เธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น ก็บัดนี้ เราเป็นคนแก่ เป็นคนเฒ่า ถือเอาซึ่งความเป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยโดยลำดับ อายุของเราแปดสิบ ปีเข้านี่แล้ว สาวกบริษัททั้ง ๔ ของเราในธรรมวินัยนี้ มีอายุถึงร้อยปี เป็นอยู่ได้ตั้งร้อยปี ประกอบ ด้วย สติ คติ ธิติ อันยอดเยี่ยม และปัญญาเฉลียวฉลาดอย่างยิ่ง ดูกรสารีบุตร เปรียบเหมือน นักธนูมั่นคง ได้รับการฝึกหัดแล้ว ช่ำชอง ชำนิชำนาญ เคยแสดงฝีมือมาแล้ว พึงยิงงวงตาล โดยขวางให้ตกลง ด้วยลูกศรขนาดเบาโดยง่ายดาย แม้ฉันใด สาวกบริษัท ๔ ของเราเป็นผู้มีสติ อันยิ่ง มีคติอันยิ่ง มีปัญญาทรงจำอันยิ่ง ประกอบด้วยปัญญาเฉลียวฉลาดอย่างยิ่ง ฉันนั้น พวกเธอ พึงถามปัญหาอิงสติปัฏฐาน ๔ กะเรา เราถูกถามปัญหาแล้วๆ พึงพยากรณ์แก่พวกเธอ พวกเธอ พึงทรงจำคำที่เราพยากรณ์แล้ว โดยเป็นคำพยากรณ์ มิได้สอบถามเราให้ยิ่งกว่า ๒ ครั้ง เว้นจาก การกิน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม เว้นจากการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ เว้นจากการหลับและบรรเทา ความเมื่อยล้า ดูกรสารีบุตร ธรรมเทศนาของตถาคตนั้นไม่รู้จักจบสิ้น บทและพยัญชนะแห่งธรรม ของตถาคตนั้นไม่รู้จักจบสิ้น ความแจ่มแจ้งแห่งปัญหาของตถาคตนั้น ไม่รู้จักจบสิ้น เมื่อเป็น ดังนั้น สาวกบริษัท ๔ ของเราเหล่านั้น จึงมีอายุตั้ง ๑๐๐ ปี เป็นอยู่ตั้ง ๑๐๐ ปี พึงกระทำกาละ โดยล่วงไปแห่ง ๑๐๐ ปี ดูกรสารีบุตร ถ้าแม้พวกเธอจะพึงหามเราไปด้วยเตียงน้อย ความเป็น อย่างอื่นแห่งปัญญาเฉลียวฉลาดของตถาคต ย่อมไม่มีเลย ดูกรสารีบุตร บุคคลเมื่อจะกล่าวโดยชอบ พึงกล่าวคำใดว่า สัตว์ผู้มีความไม่ลุ่มหลงเป็นธรรมดา บังเกิดขึ้นในโลก เพื่อประโยชน์เกื้อ- *กูลแก่ชนเป็นมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย บุคคลเมื่อจะกล่าวโดยชอบ พึงกล่าวคำนั้นกะเราเท่านั้น ว่าสัตว์ผู้มีความไม่ลุ่มหลงเป็นธรรมดาบังเกิดขึ้นในโลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย ดังนี้.
คำนิคม
[๑๙๓] ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระนาคสมาละ ถวายงานพัดอยู่ ณ เบื้องปฤษฎางค์ ลำดับนั้น ท่านพระนาคสมาละ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยมี อนึ่ง ข้าพระพุทธเจ้ามีโลมาอันพองเพราะฟังธรรมปริยายนี้ ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ธรรมปริยายนี้ชื่ออะไร พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรนาคสมาละ เพราะเหตุนี้ แหละ เธอจงทรงจำธรรมปริยายนี้ไว้ว่าชื่อว่า โลมหังสนปริยาย. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ท่านพระนาคสมาละ มีใจชื่นชม ยินดีพระภาษิต ของพระผู้มีพระภาคแล้วแล.
จบ มหาสีหนาทสูตร ที่ ๒
-----------------------------------------------------
๓. มหาทุกขักขันธสูตร
ว่าด้วยกองทุกข์ใหญ่
เรื่องอัญญเดียรถีย์
[๑๙๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก- *เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ภิกษุมากรูปด้วยกัน ในตอนเช้า นุ่งแล้ว ถือบาตร และจีวรเข้าไปบิณฑบาตในพระนครสาวัตถี ภิกษุเหล่านั้นต่างมีความคิดร่วมกันว่า ยังเช้าอยู่นัก อย่าเพิ่งเข้าไปบิณฑบาตในพระนครสาวัตถีเลย ทางที่ดี พวกเราควรเข้าไปยังอารามของพวกปริพาชก อัญญเดียรถีย์เถิด ดังนี้แล้ว ต่างก็มุ่งตรงไปยังอารามของพวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ ครั้นแล้ว ได้สนทนาปราศรัยกับพวกปริพาชก อัญญเดียรถีย์เหล่านั้น ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกัน ไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พวกปริพาชก อัญญเดียรถีย์เหล่านั้น ได้กล่าวกะพวก ภิกษุผู้นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งดังนี้ว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระสมณโคดมบัญญัติข้อควรกำหนด รู้กามได้ แม้พวกข้าพเจ้าก็บัญญัติข้อควรกำหนดรู้กามได้ พระสมณโคดมบัญญัติข้อควรกำหนด รู้รูปได้ แม้พวกข้าพเจ้าก็บัญญัติข้อควรกำหนดรู้รูปได้ พระสมณโคดมบัญญัติข้อควรกำหนดรู้ เวทนาได้ แม้พวกข้าพเจ้าก็บัญญัติข้อควรกำหนดรู้เวทนาได้ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ในเรื่องนี้ อะไร เล่า เป็นข้อแปลกกัน อะไรเป็นผลที่มุ่งหมาย หรือกระทำให้ต่างกันระหว่างพระสมณโคดมกับ พวกข้าพเจ้า เช่นการแสดงธรรมกับการแสดงธรรม หรืออนุสาสนีกับอนุสาสนี พวกภิกษุเหล่า นั้นไม่ยินดี ไม่คัดค้านคำที่พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้นกล่าวแล้ว ครั้นแล้วลุกจากที่นั่งหลีก ไป ด้วยคิดว่า เราจักทราบข้อความแห่งภาษิตนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาค. [๑๙๕] ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นเที่ยวบิณฑบาตไปในพระนครสาวัตถีกลับจากบิณฑบาต ในเวลาปัจฉาภัตแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วจึงถวายบังคมพระผู้มีพระภาค แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ดังข้าพระ- *องค์ขอประทานพระวโรกาส เช้าวันนี้ พวกข้าพระองค์นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาต ในพระนครสาวัตถี พวกข้าพระองค์ต่างมีความคิดร่วมกันว่า ยังเช้าอยู่นัก อย่าเพิ่งเข้าไปบิณฑบาต ในพระนครสาวัตถีเลย ทางที่ดี พวกเราควรเข้าไปยังอารามของพวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เถิด พวกข้าพระองค์ต่างก็มุ่งตรงไปยังอารามของพวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ ครั้นแล้วได้สนทนาปราศรัย กับพวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้น ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์นั้นเหล่า ได้กล่าวกะพวกข้าพระองค์ ผู้นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งดังนี้ว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระสมณโคดมบัญญัติข้อควรกำหนดรู้กามได้ แม้พวกข้าพเจ้าก็บัญญัติข้อควรกำหนดรู้กามได้ พระสมณโคดมบัญญัติข้อควรกำหนดรู้รูปได้ แม้พวกข้าพเจ้าก็บัญญัติข้อควรกำหนดรู้รูปได้ พระสมณโคดมบัญญัติข้อควรกำหนดรู้เวทนาได้ แม้ พวกข้าพเจ้าก็บัญญัติข้อควรกำหนดรู้เวทนาได้ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ในเรื่องนี้ อะไรเล่าเป็นข้อ แปลกกัน อะไรเป็นผลที่มุ่งหมาย หรือกระทำให้ต่างกัน ระหว่างพระสมณโคดมกับพวกข้าพเจ้า เช่นการแสดงธรรมกับการแสดงธรรม หรืออนุสาสนีกับอนุสาสนี พวกข้าพระองค์ไม่ยินดี ไม่คัดค้านคำที่พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้นกล่าวแล้ว ครั้นแล้วลุกจากที่นั่งหลีกไปด้วยคิดว่า เราจักทราบข้อความแห่งภาษิตนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาค.
คุณและโทษของกาม
[๑๙๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ผู้มีวาทะ อย่างนี้ พวกเธอพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็อะไรเล่าเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ อะไร เป็นการถ่ายถอนของกามทั้งหลาย คือ อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นการถ่ายถอนของรูป ทั้งหลาย อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นการถ่ายถอนของเวทนาทั้งหลาย? ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ถูกพวกเธอถามอย่างนี้ จักไม่พอใจเลย และจักต้องคับแค้น อย่างยิ่ง ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เพราะข้อนั้นมิใช่วิสัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นผู้ที่จะพึง ยังจิตให้ยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหาเหล่านี้ ในโลกเป็นไปกับด้วยเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ เป็นไปกับด้วยสมณะ และพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เว้นไว้แต่ตถาคต หรือสาวก ของตถาคต หรือมิฉะนั้นก็ฟังจากนี้. [๑๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นคุณของกามทั้งหลาย? ดูกรภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ รูปที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุ น่าปรารถนา น่าใคร่ น่า- *พอใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เสียงที่พึงรู้แจ้งด้วยโสต ... กลิ่นที่พึงรู้แจ้ง ด้วยฆานะ ... รสที่พึงรู้แจ้งด้วยชิวหา ... โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกาย น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ดูกรภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการ เหล่านี้แล ความสุข ความโสมนัสใดเล่า อาศัยกามคุณ ๕ เหล่านี้เกิดขึ้น นี้เป็นคุณของกาม ทั้งหลาย. [๑๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นโทษของกามทั้งหลาย? ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรในโลกนี้ เลี้ยงชีวิตด้วยความขยันประกอบศิลปใด คือ ด้วยการนับคะแนนก็ดี ด้วยการ คำนวณก็ดี ด้วยการนับจำนวนก็ดี ด้วยการไถก็ดี ด้วยการค้าขายก็ดี ด้วยการเลี้ยงโคก็ดี ด้วย การยิงธนูก็ดี ด้วยการเป็นราชบุรุษก็ดี ด้วยศิลปอย่างใดอย่างหนึ่งก็ดี ต้องตรากตรำต่อความหนาว ต้องตรากตรำต่อความร้อน งุ่นง่านอยู่ด้วยสัมผัสแต่เหลืบ ยุง ลม แดด และสัตว์เสือกคลาน ต้องตายด้วยความหิวระหาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ ก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ ที่เห็นๆ กันอยู่ มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็นตัวบังคับ เกิดเพราะเหตุแห่งกาม ทั้งหลายทั้งนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อกุลบุตรนั้นขยัน สืบต่อ พยายามอยู่อย่างนี้ โภคะ เหล่านั้นก็ไม่สำเร็จผล เขาย่อมเศร้าโศก ลำบาก รำพัน ตีอก คร่ำครวญ ถึงความหลงเลือนว่า ความขยันของเราเป็นโมฆะหนอ ความพยายามของเราไม่มีผลหนอ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็เป็น โทษของกามทั้งหลาย ... เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายทั้งนั้น. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อกุลบุตรนั้นขยัน สืบต่อ พยายามอยู่อย่างนี้ โภคะเหล่านั้น สำเร็จผล เขากลับเสวยทุกข์ โทมนัส ที่มีการคอยรักษาโภคะเหล่านั้นเป็นตัวบังคับว่า ทำอย่างไร พระราชาทั้งหลาย ไม่พึงริบโภคะเหล่านั้นไปได้ พวกโจรพึงปล้นไม่ได้ ไฟไม่พึงไหม้ น้ำไม่พึงพัด ทายาทอัปรีย์พึงนำไปไม่ได้ เมื่อกุลบุตรนั้นคอยรักษาคุ้มครองอยู่อย่างนี้ พระราชาทั้งหลาย ริบโภคะเหล่านั้นไปเสียก็ดี พวกโจรปล้นเอาไปเสียก็ดี ไฟไหม้เสียก็ดี น้ำพัดไปเสียก็ดี ทายาท อัปรีย์นำไปเสียก็ดี เขาย่อมเศร้าโศก ลำบาก รำพัน ตีอก คร่ำครวญ ถึงความหลงเลือนว่า สิ่งใดเคยเป็นของเรา แม้สิ่งนั้นก็ไม่เป็นของเรา ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ ก็เป็นโทษของกาม ทั้งหลาย ... เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายทั้งนั้น. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็นตัว บังคับ เพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายนั้นแล แม้พระราชาทั้งหลายก็วิวาทกันกับพวกพระราชา แม้ พวกกษัตริย์ก็วิวาทกันกับพวกกษัตริย์ แม้พวกพราหมณ์ก็วิวาทกันกับพวกพราหมณ์ แม้คฤหบดี ก็วิวาทกันกับพวกคฤหบดี แม้มารดาก็วิวาทกับบุตร แม้บุตรก็วิวาทกับมารดา แม้บิดาก็วิวาทกับ- *บุตร แม้บุตรก็วิวาทกับบิดา แม้พี่ชายน้องชายก็วิวาทกันกับพี่ชายน้องชาย แม้พี่ชายก็วิวาทกับ น้องสาว แม้น้องสาวก็วิวาทกับพี่ชาย แม้สหายก็วิวาทกับสหาย ชนเหล่านั้นต่างถึงการทะเลาะ แก่งแย่ง วิวาทกันในที่นั้นๆ ทำร้ายซึ่งกันและกัน ด้วยฝ่ามือบ้าง ด้วยก้อนดินบ้าง ด้วยท่อนไม้ บ้าง ด้วยศาตราบ้าง ถึงความตายไปตรงนั้นบ้าง ถึงทุกข์ปางตายบ้าง ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ ก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย ... เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายทั้งนั้น. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็นตัวบังคับ เพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายนั้นแล ฝูงชนต่างถือดาบและโล่ห์สอดแล่งธนู วิ่งเข้าสู่สงคราม ปะทะ กันทั้ง ๒ ข้าง เมื่อลูกศรทั้งหลายถูกยิงไปบ้าง เมื่อหอกทั้งหลายถูกพุ่งไปบ้าง เมื่อดาบทั้งหลาย ถูกกวัดแกว่งอยู่บ้าง ฝูงชนเหล่านั้นต่างก็ถูกลูกศรแทงเอาบ้าง ถูกหอกแทงเอาบ้าง ถูกดาบตัด- *ศีรษะเสียบ้าง ในที่นั้น พากันถึงตายไปตรงนั้นบ้าง ถึงทุกข์ปางตายบ้าง ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ ก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย ... เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายทั้งนั้น. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็นตัว บังคับ เพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายนั้นแล ฝูงชนถือดาบและโล่ห์สอดแล่งธนู ตรูกันเข้าไปสู่ เชิงกำแพงที่ฉาบด้วยเปือกตมร้อน เมื่อลูกศรถูกยิงไปบ้าง เมื่อหอกถูกพุ่งไปบ้าง เมื่อดาบถูกกวัด- *แกว่งบ้าง ชนเหล่านั้นต่างถูกลูกศรแทงบ้าง ถูกหอกแทงบ้าง ถูกรดด้วยโคมัยร้อนบ้าง ถูกสับ ด้วยคราดบ้าง ถูกตัดศีรษะด้วยดาบบ้าง ในที่นั้น พากันถึงตายไปตรงนั้นบ้าง ถึงทุกข์ปางตาย บ้าง ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย ... เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายทั้งนั้น. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็นตัวบังคับ เพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายนั้นแล ฝูงชนตัดที่ต่อบ้าง ปล้นอย่างกวาดล้างบ้าง กระทำการปล้น เรือนหลังเดียวบ้าง ดักปล้นในหนทางบ้าง สมสู่ภรรยาคนอื่นบ้าง พระราชาทั้งหลาย จับคนนั้นๆ ได้แล้ว ให้กระทำกรรมกรณ์ต่างๆ เฆี่ยนด้วยแซ่บ้าง เฆี่ยนด้วยหวายบ้าง ตีด้วยไม้ค้อนบ้าง ตัดมือเสียบ้าง ตัดเท้าเสียบ้าง ตัดทั้งมือทั้งเท้าเสียบ้าง ตัดหูเสียบ้าง ตัดจมูกเสียบ้าง ตัดทั้งหู ทั้งจมูกเสียบ้าง กระทำกรรมกรณ์ ชื่อพิลังคถาลิก [หม้อเคี่ยวน้ำส้ม] บ้าง ชื่อสังขมุณฑกะ [ขอดสังข์] บ้าง ชื่อราหูมุข [ปากราหู] บ้าง ชื่อโชติมาลิก [พุ่มเพลิง] บ้าง ชื่อหัตถปัชโชติก [มือไฟ] บ้าง ชื่อเอรกวัตติก [นุ่งหนังช้าง] บ้าง ชื่อจีรกวาสิก [นุ่งสร่าย] บ้าง ชื่อเอเณยยกะ [ยืนกวาง] บ้าง ชื่อพลิสมังสิก [กระชากเนื้อด้วยเบ็ด]บ้าง ชื่อกหาปณกะ [ควักเนื้อทีละ- *กหาปณะ] บ้าง ชื่อขาราปฏิจฉก [แปรงแสบ] บ้าง ชื่อปลิฆปริวัตติก [วนลิ่ม] บ้าง ชื่อปลาลปีฐก [ตั่งฝาง] บ้าง รดด้วยน้ำมันที่ร้อนบ้าง ให้สุนัขกัดกินบ้าง เสียบที่หลาวทั้งเป็นบ้าง ใช้ดาบตัด ศีรษะเสียบ้าง คนเหล่านั้นถึงตายไปตรงนั้นบ้าง ถึงทุกข์ปางตายบ้าง ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ ก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่เห็นๆ กันอยู่ มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็นตัวบังคับ เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายทั้งนั้น. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็นตัวบังคับ เพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายนั้นแล ฝูงชนต่างประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ชนเหล่านั้น ครั้นประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริตแล้ว เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาตนรก ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ ก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ ในสัมปรายภพ มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็นตัวบังคับ เกิดเพราะเหตุแห่งกาม ทั้งหลายทั้งนั้น. [๑๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นการถ่ายถอนของกามทั้งหลาย? ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย การกำจัดฉันทราคะในกามทั้งหลาย การละฉันทราคะในกามทั้งหลายใด นี้เป็นการถ่าย- *ถอนของกามทั้งหลาย. [๒๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง ไม่รู้ชัดคุณของกาม ทั้งหลาย โดยเป็นคุณ โทษของกามทั้งหลาย โดยความเป็นโทษ และการถ่ายถอนของกามทั้งหลาย โดยความเป็นการถ่ายถอน อย่างที่กล่าวนี้ ตามความเป็นจริง พวกนั้นน่ะหรือ จักรอบรู้กามทั้ง- *หลายด้วยตนเอง หรือว่าจักชักจูงผู้อื่น เพื่อความเป็นอย่างที่ผู้ปฏิบัติแล้วจักรอบรู้กามทั้งหลาย ได้ ข้อนี้ ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ชัดคุณของกามทั้งหลาย โดยเป็นคุณ โทษของกามทั้งหลาย โดยความเป็นโทษและการถ่ายถอน กามทั้งหลาย โดยความเป็นการถ่ายถอน อย่างที่กล่าวนี้ ตามความเป็นจริง พวกนั้นแหละหนอ จักรอบรู้กามทั้งหลายด้วยตนเองได้ หรือจักชักจูงผู้อื่น เพื่อความเป็นอย่างที่ผู้ปฏิบัติแล้วจักรอบรู้ กามทั้งหลายได้ ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้. [๒๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นคุณของรูปทั้งหลาย? ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนอย่างว่า นางสาวเผ่ากษัตริย์ เผ่าพราหมณ์ หรือเผ่าคฤหบดีมีอายุระบุได้ว่า ๑๕ ปี หรือ ๑๖ ปี ไม่สูงเกินไป ไม่ต่ำเกินไป ไม่ผอมเกินไป ไม่อ้วนเกินไป ไม่ดำเกินไป ไม่ขาวเกินไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้นนางคนนั้น งดงามเปล่งปลั่งเป็นอย่างยิ่ง ใช่หรือไม่เล่า? พวกภิกษุ พากันกราบทูลว่าเป็นเช่นนั้นพระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสุข ความโสมนัสอันใดแล ที่บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความงามเปล่งปลั่ง นี้เป็นคุณของรูปทั้งหลาย. [๒๐๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นโทษของรูปทั้งหลาย? ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลพึงเห็นนางสาวคนนั้นแหละในโลกนี้ โดยสมัยอื่น มีอายุ ๘๐-๙๐ หรือ ๑๐๐ ปี โดยกำเนิด เป็นยายแก่ มีซี่โครงคดดังกลอนเรือนร่างขดงอ ถือไม้เท้ากระงกกระเงิ่น เดินสั่นระทวย กระสับกระส่าย ผ่านวัยเยาว์ไปแล้วมีฟันหลุด ผมหงอก ผมโกร๋น ศีรษะล้าน เนื้อเหี่ยว มีตัว ตกกระ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญข้อนั้นอย่างไร ความงดงาม ความเปล่งปลั่ง ที่มี ในครั้งก่อนนั้นหายไปแล้ว โทษปรากฏแล้วมิใช่หรือ? ภิ. เป็นเช่นนั้น พระเจ้าข้า. พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นโทษของรูปทั้งหลาย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง บุคคลพึงเห็นนางสาวคนนั้นแหละมีอาพาธ มีทุกข์ เจ็บหนัก นอนจมมูตรคูถของตน ต้องให้คนอื่นพยุงลุก ต้องให้คนอื่นคอยประคอง ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เธอจะสำคัญข้อนั้นอย่างไร ความงดงาม ความเปล่งปลั่ง ที่มีในก่อนนั้นหายไปแล้ว โทษปรากฏแล้วมิใช่หรือ? ภิ. เป็นเช่นนั้น พระเจ้าข้า. พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อนี้ ก็เป็นโทษของรูปทั้งหลาย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง บุคคลพึงเห็นนางสาวคนนั้นแหละเป็นซากศพ ถูกทิ้งไว้ในป่าช้า ตายได้ ๑ วันก็ดี ตายได้ ๒ วันก็ดี ตายได้ ๓ วันก็ดี เป็นซากศพขึ้นพอง ก็ดี มีสีเขียวก็ดี เกิดหนอนชอนไชก็ดี ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญข้อนั้นอย่างไร ความงดงาม ความเปล่งปลั่ง ที่มีในก่อนนั้นหายไปแล้ว โทษปรากฏแล้วมิใช่หรือ? ภิ. เป็นเช่นนั้น พระเจ้าข้า. พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อนี้ ก็เป็นโทษของรูปทั้งหลาย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง บุคคลพึงเห็นนางสาวคนนั้นแหละเป็นซากศพถูกทิ้ง ไว้ในป่าช้า ฝูงการุมกันจิกกินบ้าง ฝูงแร้งรุมกันจิกกินบ้าง ฝูงนกเค้ารุมกันจิกกินบ้าง ฝูงสุนัขรุม กันกัดกินบ้าง ฝูงสุนัขจิ้งจอกรุมกันกัดกินบ้าง ฝูงปาณกชาติต่างๆ รุมกันกัดกินบ้าง ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญข้อนั้นอย่างไร ความงดงาม ความเปล่งปลั่ง ที่มีในก่อนนั้นหายไปแล้ว โทษปรากฏแล้วมิใช่หรือ? ภิ. เป็นเช่นนั้น พระเจ้าข้า. พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อนี้ ก็เป็นโทษของรูปทั้งหลาย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง บุคคลพึงเห็นนางสาวคนนั้นแหละเป็นซากศพถูกทิ้งไว้ ในป่าช้า มีแต่โครงกระดูก มีเนื้อและเลือดติดอยู่ มีเอ็นยึดอยู่ ฯลฯ มีแต่โครงกระดูก ปราศจาก เนื้อเปื้อนเลือด มีเอ็นยึดอยู่ ฯลฯ มีแต่โครงกระดูกปราศจากเนื้อและเลือด มีเอ็นยึดอยู่ ฯลฯ เป็นแต่กระดูก ปราศจากเอ็นยึด กระจัดกระจายไปในทิศน้อยทิศใหญ่ คือ กระดูกมือทางหนึ่ง กระดูกเท้าทางหนึ่ง กระดูกแข้งทางหนึ่ง กระดูกขาทางหนึ่ง กระดูกสะเอวทางหนึ่ง กระดูกสันหลัง ทางหนึ่ง กระดูกซี่โครงทางหนึ่ง กระดูกหน้าอกทางหนึ่ง กระดูกแขนทางหนึ่ง กระดูกไหล่ทาง หนึ่ง กระดูกคอทางหนึ่ง กระดูกคางทางหนึ่ง กระดูกฟันทางหนึ่ง หัวกะโหลกทางหนึ่ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญข้อนั้นอย่างไร ความงดงาม ความเปล่งปลั่งที่มีในก่อนนั้น หายไปแล้ว โทษปรากฏแล้วมิใช่หรือ? ภิ. เป็นเช่นนั้น พระเจ้าข้า. พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อนี้ ก็เป็นโทษของรูปทั้งหลาย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง บุคคลพึงเห็นนางสาวนั้นแหละ เป็นซากศพถูก ทิ้งไว้ในป่าช้า เหลือแต่กระดูกสีขาว เปรียบเทียบได้กับสีสังข์ ฯลฯ เหลือแต่กระดูกตกค้างแรมปี เรียงรายเป็นหย่อมๆ ฯลฯ เหลือแต่กระดูกผุแหลกยุ่ย ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญ ข้อนั้นอย่างไร ความงดงาม ความเปล่งปลั่ง ที่มีในก่อนหายไปแล้ว โทษปรากฏแล้วมิใช่หรือ? ภิ. เป็นเช่นนั้น พระเจ้าข้า. พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อนี้ ก็เป็นโทษของรูปทั้งหลาย. [๒๐๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นการถ่ายถอนของรูปทั้งหลาย? ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย การกำจัดฉันทราคะในรูปทั้งหลาย การละฉันทราคะในรูปทั้งหลาย นั้นใด นี้เป็นการ ถ่ายถอนของรูปทั้งหลาย.
กำหนดรู้รูป
[๒๐๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง ไม่รู้ชัดคุณของรูป ทั้งหลาย โดยเป็นคุณ โทษของรูปทั้งหลาย โดยความเป็นโทษ และการถ่ายถอนของรูปทั้งหลาย โดยความเป็นการถ่ายถอน อย่างที่กล่าวนี้ ตามความเป็นจริง พวกนั้นน่ะหรือ จักรอบรู้รูปทั้งหลาย ด้วยตนเอง หรือว่าจักชักจูงผู้อื่น เพื่อความเป็นอย่างที่ผู้ปฏิบัติแล้วจักรอบรู้รูปทั้งหลายได้ ข้อนี้ ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าหนึ่ง รู้ชัดคุณของรูป ทั้งหลาย โดยเป็นคุณ โทษของรูปทั้งหลาย โดยความเป็นโทษ และการถ่ายถอนของรูปทั้งหลาย โดยความเป็นการถ่ายถอน อย่างที่กล่าวนี้ ตามความเป็นจริง พวกนั้นแหละหนอ จักรอบรู้รูป ทั้งหลายด้วยตนเองได้ หรือจักชักจูงผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างที่ผู้ปฏิบัติแล้วจักรอบรู้รูปทั้งหลายได้ ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้. [๒๐๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นคุณของเวทนาทั้งหลาย? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติ และสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ในสมัยใด ภิกษุสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุข เกิดแต่วิเวกอยู่ ในสมัยนั้น ย่อมไม่คิดเพื่อจะทำลายตน ย่อมไม่ คิดเพื่อจะทำลายผู้อื่น ย่อมไม่คิดเพื่อจะทำลายทั้งสองฝ่าย ในสมัยนั้น ย่อมเสวยเวทนา อันไม่มี ความเบียดเบียนเลยทีเดียว ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวคุณของเวทนาทั้งหลายว่า มีความ ไม่เบียดเบียนเป็นอย่างยิ่ง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ในสมัยใด ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป ฯลฯ ในสมัยนั้น ย่อมไม่คิดเพื่อจะทำลายตน ฯลฯ ในสมัยนั้น ย่อมเสวยเวทนา อันไม่มีความเบียดเบียนเลยทีเดียว ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวคุณของเวทนา ทั้งหลายว่า มีความไม่เบียดเบียนเป็นอย่างยิ่ง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และเสวยสุข ด้วยกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ฯลฯ ในสมัยใด ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ฯลฯ ในสมัยนั้น ย่อมไม่คิดเพื่อจะทำลาย ตน ฯลฯ ในสมัยนั้น ย่อมเสวยเวทนาอันไม่มีความเบียดเบียนเลยทีเดียว ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวคุณแห่งเวทนาทั้งหลายว่า มีความไม่เบียดเบียนเป็นอย่างยิ่ง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะ ละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ในสมัยใด ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ ในสมัยนั้น ย่อมไม่คิดเพื่อจะทำลายตน ฯลฯ ในสมัยนั้น ย่อมเสวย เวทนาอันไม่มีความเบียดเบียนเลยทีเดียว ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวคุณแห่งเวทนาทั้งหลายว่า มีความไม่เบียดเบียนเป็นอย่างยิ่ง [๒๐๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นโทษของเวทนาทั้งหลาย? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่เวทนาไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดานี้เป็น โทษของเวทนาทั้งหลาย. [๒๐๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นการถ่ายถอนของเวทนาทั้งหลาย? ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย การกำจัด การละฉันทราคะ ของเวทนาทั้งหลายเสียได้ นี้เป็นการถ่ายถอนของเวทนา ทั้งหลาย.
กำหนดรู้เวทนา
[๒๐๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง ไม่รู้ชัดคุณของเวทนา ทั้งหลาย โดยเป็นคุณ โทษของเวทนาทั้งหลาย โดยความเป็นโทษและการถ่ายถอนของเวทนา ทั้งหลาย โดยความเป็นการถ่ายถอน อย่างที่กล่าวมานี้ ตามความเป็นจริง พวกนั้นน่ะหรือจัก รอบรู้เวทนาทั้งหลายด้วยตนเอง หรือว่าจักชักจูงผู้อื่นเพื่อเป็นอย่างที่ผู้ปฏิบัติแล้ว จักรอบรู้เวทนา ทั้งหลายได้ ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่า- *หนึ่ง รู้ชัดคุณของเวทนาทั้งหลาย โดยความเป็นคุณ โทษของเวทนาทั้งหลาย โดยความเป็นโทษ และการถ่ายถอนของเวทนาทั้งหลาย โดยความเป็นการถ่ายถอน อย่างที่กล่าวมานี้ ตามความเป็น จริง พวกนั้นแหละหนอ จักรอบรู้เวทนาทั้งหลาย ด้วยตนเองได้หรือจักชักจูงผู้อื่นเพื่อความเป็น อย่างที่ผู้ปฏิบัติแล้ว จักรอบรู้เวทนาทั้งหลายก็ได้ ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจชื่นชมยินดีพระภาษิตของ พระผู้มีพระภาคแล้วแล.
จบ มหาทุกขักขันธสูตร ที่ ๓
-----------------------------------------------------
๔. จูฬทุกขักขันธสูตร
ว่าด้วยกองทุกข์
[๒๐๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตกรุงกบิลพัสดุ์แคว้นสักกะ ครั้งนั้นแล เจ้าศากยะทรงพระนามว่า มหานาม เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เข้าใจข้อธรรมที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงมานานแล้วอย่างนี้ว่า โลภะ โทสะ โมหะ ต่างเป็นอุปกิเลสแห่งจิต ก็แหละเมื่อเป็นเช่นนั้น โลภธรรมก็ดี โทสธรรมก็ดี โมหธรรมก็ดี ยังครอบงำจิตของข้าพระองค์ไว้ได้เป็นครั้งคราว ข้าพระองค์เกิดความคิดเห็นอย่างนี้ว่า ธรรมชื่ออะไรเล่า ที่ข้าพระองค์ยังละไม่ได้เด็ดขาดในภายใน อันเป็นเหตุให้ โลภธรรมก็ดี โทสธรรมก็ดี โมหธรรมก็ดี ยังครอบงำจิตของข้าพระองค์ไว้ได้เป็นครั้งคราว. [๒๑๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรมหานาม ธรรมนั้นนั่นแล ท่านยังละไม่ได้เด็ดขาด ในภายใน อันเป็นเหตุให้ โลภธรรมก็ดี โทสธรรมก็ดี โมหธรรมก็ดี ยังครอบงำจิตของท่าน ไว้ได้เป็นครั้งคราว ดูกรมหานาม ก็ธรรมนั้นจักเป็นอันท่านละได้เด็ดขาดในภายในแล้ว ท่านก็ไม่ พึงอยู่ครองเรือน ไม่พึงบริโภคกาม แต่เพราะท่านละธรรมเช่นนั้นยังไม่ได้เด็ดขาดในภายใน ฉะนั้น ท่านจึงยังอยู่ครองเรือน ยังบริโภคกาม. [๒๑๑] ดูกรมหานาม ถ้าแม้ว่า อริยสาวกเล็งเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามเป็นจริงว่า กามให้ความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามนี้ยิ่ง ดังนี้ แต่อริยสาวก นั้นเว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม ยังไม่บรรลุปีติและสุข หรือกุศลธรรมอื่นที่สงบกว่านั้น เธอจะ ยังเป็นผู้ไม่เวียนมาในกามไม่ได้ก่อน แต่เมื่อใด อริยสาวกได้เล็งเห็นด้วยปัญญาโดยชอบ ตาม ความเป็นจริงอย่างนี้ว่า กามให้ความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามนี้ยิ่ง ดังนี้ และเธอก็เว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม บรรลุปีติและสุข หรือกุศลธรรมอื่นที่สงบกว่า นั้น เมื่อนั้น เธอย่อมเป็นผู้ไม่เวียนมาในกามเป็นแท้. ดูกรมหานาม แม้เราเมื่อเป็นโพธิสัตว์ ยังมิได้ตรัสรู้ ก่อนตรัสรู้ทีเดียว ก็เล็งเห็นด้วย ปัญญาโดยชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า กามให้ความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามนี้ยิ่ง ดังนี้ และเราก็เว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม ไม่บรรลุปีติและสุข หรือกุศล ธรรมอื่นที่สงบกว่านั้น เราจึงปฏิญาณว่าเป็นผู้ไม่เวียนมาในกามมิได้ก่อน แต่เมื่อใด เราเล็งเห็น ด้วยปัญญาโดยชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า กามให้ความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้น มาก โทษในกามนี้ยิ่ง ดังนี้ และเราก็เว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม บรรลุปีติและสุข และ กุศลอื่นที่สงบกว่านั้น เมื่อนั้น เราจึงปฏิญาณได้ว่า เป็นผู้ไม่เวียนมาในกาม. [๒๑๒] ดูกรมหานาม ก็อะไรเล่าเป็นคุณของกามทั้งหลาย? ดูกรมหานาม กามคุณ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ รูปที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุ น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เสียงที่พึงรู้แจ้งด้วยโสต ... กลิ่นที่พึงรู้แจ้ง ด้วยฆานะ ... รสที่พึงรู้แจ้งด้วยชิวหา ... โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกาย น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ดูกรมหานาม กามคุณ ๕ ประการ เหล่านี้แล ความสุข ความโสมนัสใด อาศัยกามคุณ ๕ เหล่านี้เกิดขึ้น นี้เป็นคุณของกามทั้งหลาย
ว่าด้วยโทษแห่งกาม
[๒๑๓] ดูกรมหานาม ก็อะไรเล่าเป็นโทษของกามทั้งหลาย? กุลบุตรในโลกนี้ เลี้ยง ชีวิตด้วยความขยันประกอบศิลปะใด คือ ด้วยการนับคะแนนก็ดี ด้วยการคำนวณก็ดี ด้วยการ นับจำนวนก็ดี ด้วยการไถก็ดี ด้วยการค้าขายก็ดี ด้วยการเลี้ยงโคก็ดี ด้วยการยิงธนูก็ดี ด้วยการ เป็นราชบุรุษก็ดี ด้วยศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่งก็ดี ต้องตรากตรำต่อความหนาว ต้องตรากตรำต่อ- *ความร้อน งุ่นง่านอยู่ด้วยสัมผัสแต่เหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เสือกคลาน ต้องตายด้วยความ หิวระหาย ดูกรมหานาม แม้นี้ก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่เห็นๆ กันอยู่ มีกาม เป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็นตัวบังคับ เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายทั้งนั้น ดูกร มหานาม ถ้าเมื่อกุลบุตรนั้น ขยัน สืบต่อพยายามอยู่อย่างนี้ โภคะเหล่านั้นก็ไม่สำเร็จผล เขา ย่อมเศร้าโศก ลำบาก รำพันตีอก คร่ำครวญ ถึงความหลงเลือนว่า ความขยันของเราเป็นโมฆะ หนอ ความพยายามของเราไม่มีผลหนอ ดูกรมหานาม แม้นี้ก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย เป็น กองทุกข์ที่เห็นๆ กันอยู่ มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็นตัวบังคับ เกิดเพราะเหตุ แห่งกามทั้งหลายทั้งนั้น ดูกรมหานาม ถ้าเมื่อกุลบุตรนั้นขยัน สืบต่อพยายามอยู่อย่างนี้ โภคะ เหล่านั้นสำเร็จผล เขากลับเสวยทุกข์ โทมนัส ที่มีการคอยรักษาโภคะเหล่านั้นเป็นตัวบังคับว่า ทำอย่างไร พระราชาทั้งหลาย ไม่พึงริบโภคะเหล่านั้นไปได้ พวกโจรพึงปล้นไม่ได้ ไฟไม่พึงไหม้ น้ำไม่พึงพัด ทายาทอัปรีย์พึงนำไปไม่ได้ เมื่อกุลบุตรนั้นคอยรักษาคุ้มครองอยู่อย่างนี้ พระราชา ทั้งหลายริบโภคะเหล่านั้นไปเสียก็ดี โจรปล้นเอาไปเสียก็ดี ไฟไหม้เสียก็ดี น้ำพัดไปเสียก็ดี ทายาทอัปรีย์นำไปเสียก็ดี เขาย่อมเศร้าโศก ลำบาก รำพัน ตีอก คร่ำครวญ ถึงความหลงเลือนว่า สิ่งใดเคยเป็นของเรา แม้สิ่งนั้นก็ไม่เป็นของเรา ดูกรมหานาม แม้นี้ ก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่เห็นๆ กันอยู่ มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็นตัวบังคับ เกิดเพราะ- *เหตุแห่งกามทั้งหลายทั้งนั้น. [๒๑๔] ดูกรมหานาม อีกประการหนึ่ง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็นตัว บังคับ เพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายนั้นแล แม้พระราชาทั้งหลายก็วิวาทกันกับพวกพระราชา แม้- *พวกกษัตริย์ก็วิวาทกันกับพวกกษัตริย์ แม้พวกพราหมณ์ก็วิวาทกันกับพวกพราหมณ์ แม้คฤหบดี ก็วิวาทกันกับพวกคฤหบดี แม้มารดาก็วิวาทกันกับบุตร แม้บุตรก็วิวาทกันกับมารดา แม้บิดาก็วิวาท กันกับบุตร แม้บุตรก็วิวาทกันกับบิดา แม้พี่ชายน้องชายก็วิวาทกันกับพี่ชายน้องชาย แม้พี่ชายก็ วิวาทกันกับน้องสาว แม้น้องสาวก็วิวาทกันกับพี่ชาย แม้สหายก็วิวาทกันกับสหาย ชนเหล่านั้นต่าง ถึงการทะเลาะแก่งแย่งวิวาทกันในที่นั้นๆ ทำร้ายซึ่งกันและกันด้วยฝ่ามือบ้าง ด้วยก้อนดินบ้าง ด้วยท่อนไม้บ้าง ด้วยศาตราบ้าง ถึงความตายไปตรงนั้นบ้าง ถึงทุกข์ปางตายบ้าง ดูกรมหานาม แม้นี้ ก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย ... เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายทั้งนั้น [๒๑๕] ดูกรมหานาม อีกประการหนึ่ง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็น ตัวบังคับ เพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายนั้นแล ฝูงชนต่างถือดาบและโล่ห์ สอดแล่งธนู วิ่งเข้าสู่ สงคราม ปะทะกันทั้ง ๒ ข้าง เมื่อลูกศรทั้งหลายถูกยิงไปบ้าง เมื่อหอกทั้งหลายถูกพุ่งไปบ้าง เมื่อดาบทั้งหลายถูกกวัดแกว่งอยู่บ้าง ฝูงชนเหล่านั้นต่างก็ถูกลูกศรแทงเอาบ้าง ถูกหอกแทงเอาบ้าง ถูกดาบตัดศีรษะเสียบ้าง ในที่นั้น พากันถึงตายไปตรงนั้นบ้าง ถึงทุกข์ปางตายบ้าง ดูกรมหานาม แม้นี้ ก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย ... เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายทั้งนั้น. [๒๑๖] ดูกรมหานาม อีกประการหนึ่ง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็นตัว บังคับ เพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายนั้นแล ฝูงชนถือดาบและโล่ห์สอดแล่งธนู ตรูกันเข้าไปสู่เชิง กำแพงที่ฉาบด้วยเปือกตมร้อน เมื่อลูกศรถูกยิงไปบ้าง เมื่อหอกถูกพุ่งไปบ้าง เมื่อดาบถูกกวัด- *แกว่งบ้าง ชนเหล่านั้นต่างถูกลูกศรแทงบ้าง ถูกหอกแทงบ้าง ถูกรดด้วยโคมัยร้อนบ้าง ถูกสับ ด้วยคราดบ้าง ถูกตัดศีรษะด้วยดาบบ้าง ในที่นั้น พากันถึงตายไปตรงนั้นบ้าง ถึงทุกข์ปางตายบ้าง ดูกรมหานาม แม้นี้ ก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย ... เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายทั้งนั้น. [๒๑๗] ดูกรมหานาม อีกประการหนึ่ง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็น ตัวบังคับ เพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายนั้นแล ฝูงชนตัดที่ต่อบ้าง ปล้นอย่างกวาดล้างบ้าง กระทำ การปล้นในเรือนหลังเดียวบ้าง ดักปล้นในหนทางบ้าง สมสู่ภรรยาคนอื่นบ้าง พระราชาทั้งหลาย จับคนนั้นๆ ได้แล้ว ให้กระทำกรรมกรณ์ต่างๆ คือเฆี่ยนด้วยแส้บ้าง เฆี่ยนด้วยหวายบ้าง ตีด้วยไม้ค้อนบ้าง กระทำกรรมกรณ์ชื่อโชติมาสิกะบ้าง ชื่อหัตถปัชโชติกะบ้าง ชื่อเอรกวัตติกะบ้าง ชื่อจีรกวาสิกบ้าง ชื่อเอเณยกะบ้าง ชื่อพลิสมังสิกะบ้าง ชื่อกหาปณกะบ้าง ชื่อขาราปฏิจฉกะบ้าง ชื่อปลิฆปริวัตติกะบ้าง ชื่อปลาลปีฐกะบ้าง รดด้วยน้ำมันที่ร้อนบ้าง ให้สุนัขกัดกินบ้าง เสียบที่ หลาวทั้งเป็นบ้าง ใช้ดาบตัดศีรษะเสียบ้าง คนเหล่านั้นถึงตายไปตรงนั้นบ้าง ถึงทุกข์ปางตายบ้าง ดูกรมหานาม แม้นี้ ก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่เห็นๆ กันอยู่ มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นตัวบังคับ เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายทั้งนั้น. [๒๑๘] ดูกรมหานาม อีกประการหนึ่ง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็นตัว บังคับ เพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายนั้นแล ฝูงชนต่างประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ชนเหล่านั้น ครั้นประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริตแล้ว เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ดูกรมหานาม แม้นี้ ก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ในสัมปรายภพ มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็นตัวบังคับ เกิดเพราะ- *เหตุแห่งกามทั้งหลายทั้งนั้น.
ทรงปรารภพวกนิครนถ์ที่ถือการยืนเป็นวัตร
[๒๑๙] ดูกรมหานาม สมัยหนึ่ง เราอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ เขตพระนครราชคฤห์ สมัยนั้น ณ ตำบลกาฬศิลา ข้างภูเขาอิสิคิลิ พวกนิครนถ์จำนวนมาก เป็นผู้ถือการยืนเป็นวัตร ห้ามการนั่ง เสวยทุกขเวทนา แรงกล้า เผ็ดร้อน อันเกิดแต่ความพยายาม ครั้งนั้นแล เราออก จากที่หลีกเร้นในเวลาเย็น เข้าไปหาพวกนิครนถ์ ถึงประเทศกาฬศิลา ข้างภูเขาอิสิคิลิ ได้กล่าว ความข้อนี้กะพวกนิครนถ์เหล่านั้นว่า ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุทั้งหลาย ไฉนเล่า พวกท่านจึงถือการยืน เป็นวัตร ห้ามการนั่ง เสวยทุกขเวทนา แรงกล้า เผ็ดร้อน? ดูกรมหานาม เมื่อเรากล่าวอย่างนี้ แล้ว พวกนิครนถ์เหล่านั้นได้กล่าวกะเราดังนี้ว่า ดูกรผู้มีอายุ นิครนถ์นาฏบุตรรู้ธรรมทั้งปวง เห็นธรรมทั้งปวง ยืนยันญาณทัสสนะหมดทุกส่วนว่า เมื่อเราเดินไปก็ดี ยืนก็ดี หลับก็ดี ตื่นก็ดี ญาณทัสสนะปรากฏอยู่ ติดต่อเสมอไป นิครนถ์นาฏบุตรนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรนิครนถ์ทั้งหลาย ผู้เจริญ บาปกรรมที่พวกท่านทำแล้วในกาลก่อนมีอยู่ พวกท่านจงสลัดบาปกรรมนั้นเสีย ด้วย- *ปฏิปทาอันประกอบด้วยการกระทำที่ทำได้ยาก อันลำบากนี้ ข้อที่ท่านทั้งหลายสำรวมกาย วาจา ใจ ในบัดนี้นั้น เป็นการไม่กระทำบาปกรรมต่อไป ทั้งนี้ เพราะหมดกรรมเก่าด้วยตบะ เพราะไม่ ทำกรรมใหม่ ความไม่ถูกบังคับต่อไปจึงมี เพราะไม่ถูกบังคับต่อไป ความสิ้นกรรมจึงมี เพราะ สิ้นกรรม ความสิ้นทุกข์จึงมี เพราะสิ้นทุกข์ ความสิ้นเวทนาจึงมี เพราะสิ้นเวทนา จักเป็น อันพวกท่านสลัดทุกข์ได้ทั้งหมด คำที่นิครนถ์นาฏบุตรกล่าวแล้วนั้น ชอบใจและควรแก่พวก ข้าพเจ้า และเพราะเหตุนั้น พวกข้าพเจ้าจึงเป็นผู้มีใจยินดี ดังนี้.
ทรงปรารภถึงผู้อยู่สบายดีกว่า
[๒๒๐] ดูกรมหานาม เมื่อพวกนิครนถ์กล่าวอย่างนี้แล้ว เราได้กล่าวกะนิครนถ์ เหล่านั้นดังนี้ว่า ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุ พวกท่านทราบละหรือว่า เราทั้งหลายได้มีแล้วในกาลก่อน มิใช่ไม่ได้มีแล้ว? นิ. ดูกรท่านผู้มีอายุ ข้อนี้หามิได้เลย. พ. ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุ พวกท่านทราบละหรือว่า เราทั้งหลายได้ทำบาปกรรมไว้ใน กาลก่อน มิใช่ไม่ได้ทำไว้? นิ. ดูกรท่านผู้มีอายุ ข้อนี้หามิได้เลย. พ. ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุ พวกท่านทราบละหรือว่า เราทั้งหลายได้ทำบาปกรรมอย่างนี้บ้างๆ? นิ. ดูกรท่านผู้มีอายุ ข้อนี้หามิได้เลย. พ. ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุ พวกท่านทราบละหรือว่า ทุกข์เท่านี้เราสลัดได้แล้ว หรือว่า ทุกข์เท่านี้เราต้องสลัดเสีย หรือว่าเมื่อทุกข์เท่านี้เราสลัดได้แล้ว จักเป็นอันสลัดทุกข์ได้ทั้งหมด? นิ. ดูกรท่านผู้มีอายุ ข้อนี้หามิได้เลย. พ. ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุ พวกท่านทราบการละอกุศลธรรม การบำเพ็ญกุศลธรรม ใน- *ปัจจุบันละหรือ? นิ. ดูกรท่านผู้มีอายุ ข้อนี้หามิได้เลย. พ. ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุ ตามที่ได้ฟัง พวกท่านไม่รู้ว่า ในปางก่อนเราได้มีมาแล้วหรือไม่ ไม่รู้ว่า ในปางก่อนเราได้ทำบาปกรรมไว้หรือไม่ ทั้งไม่รู้ว่าเราได้ทำบาปกรรมไว้อย่างนั้นอย่างนี้ ไม่รู้ว่า ทุกข์เท่านี้เราสลัดได้แล้ว ทุกข์เท่านี้จำต้องสลัด เมื่อสลัดทุกข์เท่านี้ได้แล้ว ทุกข์ทั้งปวง จักเป็นอันสลัดไปด้วย ไม่รู้จักการละอกุศลธรรม และการยังกุศลธรรมให้เกิดในปัจจุบัน ดูกร นิครนถ์ผู้มีอายุ เมื่อเป็นเช่นนี้ คนทั้งหลาย จักบวชในสำนักของท่าน ก็เฉพาะแต่คนที่มี มรรยาทเลวทราม มือเปื้อนโลหิต ทำกรรมชั่วช้า เป็นผู้เกิดสุดท้ายภายหลังในหมู่มนุษย์. นิ. ดูกรท่านพระโคดมผู้มีอายุ บุคคลมิใช่จะประสพความสุขได้ด้วยความสุข แต่จะ ประสพสุขได้ด้วยความทุกข์แท้ ก็ถ้าหากบุคคลจักประสพความสุขได้ด้วยความสุข พระเจ้า- *พิมพิสาร จอมทัพเจ้าแผ่นดินมคธ ก็คงประสพความสุข เพราะพระเจ้าพิมพิสาร จอมทัพ เจ้าแผ่นดินมคธ อยู่เป็นสุขกว่าท่านพระโคดม. พ. เป็นการแน่นอน ที่พวกท่านนิครนถ์ทั้งหลายหุนหัน ไม่ทันพิจารณาจึงพูดว่า ดูกรท่านพระโคดมผู้มีอายุ บุคคลมิใช่จะประสพความสุขด้วยความสุข แต่จะประสพความสุขได้ ด้วยความทุกข์แท้ ก็ถ้าหากบุคคลจักประสพความสุขได้ด้วยความสุข พระเจ้าพิมพิสาร จอมทัพ เจ้าแผ่นดินมคธ ก็คงประสพความสุข เพราะพระเจ้าพิมพิสาร จอมทัพเจ้าแผ่นดินมคธ อยู่เป็น สุขยิ่งกว่าท่านโคดม เออก็เราเท่านั้นที่พวกท่านควรซักไซ้ไล่เลียงในเรื่องสุข เรื่องทุกข์นั้นสิว่า ใครเล่าหนอจะอยู่สบายดีกว่ากัน พระเจ้าพิมพิสาร จอมทัพเจ้าแผ่นดินมคธ หรือท่านพระโคดมเอง. นิ. ดูกรท่านพระโคดมผู้มีอายุ เป็นการแน่นอนที่พวกข้าพเจ้าหุนหันไม่ทันพิจารณา จึงพูดว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ บุคคลมิใช่จะประสพความสุขด้วยความสุข แต่จะประสพความสุขได้ ด้วยความทุกข์แท้ ก็ถ้าหากบุคคลจักประสพความสุขได้ด้วยความสุข พระเจ้าพิมพิสาร จอมทัพ เจ้าแผ่นดินมคธ ก็คงประสพความสุข เพราะพระเจ้าพิมพิสาร จอมทัพเจ้าแผ่นดินมคธ อยู่เป็น สุขยิ่งกว่าท่านพระโคดม เอาละ หยุดไว้เพียงเท่านี้ บัดนี้ พวกข้าพเจ้าจะต้องถามท่านพระโคดม ดูบ้างว่า ใครเล่าหนอ จะอยู่สบายดีกว่ากัน พระเจ้าพิมพิสาร จอมทัพเจ้าแผ่นดินมคธ หรือท่าน พระโคดมเอง? พ. ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุ ถ้าอย่างนั้น เราจะต้องถามพวกท่าน ในเรื่องสุขเรื่องทุกข์นั้น ดูบ้าง ท่านเข้าใจอย่างใด ก็พึงแถลงอย่างนั้น ดูกรท่านนิครนถ์ผู้มีอายุ พวกท่านจงเข้าใจความ ข้อนั้นเป็นไฉน พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพ เจ้าแผ่นดินมคธ จะทรงสามารถ ไม่ทรงไหว พระกาย ไม่ทรงพระดำรัส ทรงเสวยพระบรมสุขส่วนเดียวอยู่ ๗ คืน ๗ วัน ได้หรือ? นิ. ไม่ไหวละท่าน. พ. ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุ พวกท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน พระเจ้าพิมพิสาร จอมทัพ เจ้าแผ่นดินมคธ จะทรงสามารถ ไม่ทรงไหวพระกาย ไม่ทรงพระดำรัส ทรงเสวย พระบรมสุขส่วนเดียวอยู่ ๖ คืน ๖ วัน ... ๕ คืน ๕ วัน ... ๔ คืน ๔ วัน ... ๓ คืน ๓ วัน ... ๒ คืน ๒ วัน ... เพียงคืนหนึ่งวันหนึ่ง ได้หรือ? นิ. ไม่ไหวละท่าน. พ. ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุ เราแหละสามารถไม่ไหวกาย ไม่พูด เสวยความสุขส่วนเดียวอยู่ เพียงคืนหนึ่งวันหนึ่ง สามารถไม่ไหวกาย ไม่พูด เสวยความสุขส่วนเดียวอยู่ ๒ คืน ๒ วัน ... ๓ คืน ๓ วัน ... ๔ คืน ๔ วัน ... ๕ คืน ๕ วัน ... ๖ คืน ๖ วัน ... ๗ คืน ๗ วัน ดูกรนิครนถ์ ผู้มีอายุ พวกท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน? เมื่อเป็นเช่นนี้ ใครจะอยู่สบายกว่ากัน พระเจ้า- *พิมพิสารจอมทัพเจ้าแผ่นดินมคธหรือเราเอง? นิ. เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านพระโคดมสิ อยู่สบายกว่าพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพ เจ้า- *แผ่นดินมคธ. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้แล้ว เจ้าศากยมหานามทรงมีพระทัยชื่นชมยินดีพระภาษิตของ พระผู้มีพระภาคแล้วแล.
จบ จูฬทุกขักขันธสูตร ที่ ๔
-----------------------------------------------------
๕. อนุมานสูตร
ว่าด้วยความคาดหมาย
[๒๒๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้- สมัยหนึ่ง ท่านพระมหาโมคคัลลานะพำนักอยู่ ณ เภสกฬาวัน อันเป็นสถานที่ให้อภัย แก่เนื้อ ตำบลสุงสุมารคิระ ภัคคชนบท ณ ที่นั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะเรียกภิกษุ ทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายผู้มีอายุ ภิกษุเหล่านั้นรับคำของท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้ว.
ธรรมทำให้เป็นคนว่ายาก
[๒๒๒] ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวดังนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าแม้ภิกษุ ปวารณาไว้ว่า ขอท่านจงว่ากล่าวข้าพเจ้าๆ เป็นผู้ควรที่ท่านจะว่ากล่าวได้ แต่ภิกษุนั้นเป็นคน ว่ายาก ประกอบด้วยธรรมที่ทำให้เป็นคนว่ายาก เป็นผู้ไม่อดทน ไม่รับคำพร่ำสอนโดยเคารพ เมื่อเป็นเช่นนี้ เพื่อนพรหมจรรย์ต่างไม่สำคัญภิกษุนั้นว่า ควรว่ากล่าว ควรพร่ำสอน ทั้งไม่ สำคัญว่า ควรถึงความไว้วางใจในบุคคลนั้นได้ ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ทำให้เป็นคน ว่ายากเป็นไฉน? ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นผู้มีความปรารถนาลามก ลุอำนาจแห่งความปรารถนาลามก แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มี ความปรารถนาลามก ลุอำนาจแห่งความปรารถนาลามก นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่ายาก. ๒. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ยกตนข่มผู้อื่น แม้ข้อที่ภิกษุ เป็นผู้ยกตนข่มผู้อื่น นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่ายาก. ๓. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นคนมักโกรธ อันความโกรธ ครอบงำแล้ว แม้ข้อที่ภิกษุเป็นคนมักโกรธ อันความโกรธครอบงำแล้ว นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็น คนว่ายาก. ๔. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นคนมักโกรธ ผูกโกรธ เพราะ ความโกรธเป็นเหตุ แม้ข้อที่ภิกษุเป็นคนมักโกรธ ผูกโกรธ เพราะความโกรธเป็นเหตุ นี้ก็เป็น ธรรมที่ทำให้เป็นคนว่ายาก. ๕. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นคนมักโกรธ มักระแวงจัด เพราะความโกรธเป็นเหตุ แม้ข้อที่ภิกษุเป็นคนมักโกรธ มักระแวง เพราะความโกรธเป็นเหตุ นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่ายาก. ๖. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นคนมักโกรธ เปล่งวาจาใกล้ต่อ ความโกรธ แม้ข้อที่ภิกษุเป็นคนมักโกรธ เปล่งวาจาใกล้ต่อความโกรธ นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้ เป็นคนว่ายาก. ๗. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง กลับโต้- *เถียงโจทก์ แม้ข้อที่ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง กลับโต้เถียงโจทก์ นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็น คนว่ายาก. ๘. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง กลับ- *รุกรานโจทก์ แม้ข้อที่ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง กลับรุกรานโจทก์ นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็น คนว่ายาก. ๙. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง กลับ ปรักปรำโจทก์ แม้ข้อที่ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง กลับปรักปรำโจทก์ นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้ เป็นคนว่ายาก. ๑๐. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง กลับ เอาเรื่องอื่นมากลบเกลื่อน พูดนอกเรื่อง แสดงความโกรธ ความมุ่งร้าย และความไม่เชื่อฟัง ให้ปรากฏ แม้ข้อที่ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง กลับเอาเรื่องอื่นมากลบเกลื่อน พูดนอกเรื่อง แสดงความโกรธ ความมุ่งร้าย และความไม่เชื่อฟังให้ปรากฏ นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่ายาก. ๑๑. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง ไม่พอใจ ตอบในความประพฤติ แม้ข้อที่ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง ไม่พอใจตอบในความประพฤติ นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้คนว่ายาก. ๑๒. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นคนลบหลู่ตีเสมอ แม้ข้อที่ ภิกษุเป็นคนลบหลู่ ตีเสมอ นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่ายาก. ๑๓. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นคนริษยา เป็นคนตระหนี่ แม้ข้อที่ภิกษุเป็นคนริษยา เป็นคนตระหนี่ นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่ายาก. ๑๔. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นคนโอ้อวด เจ้ามายา แม้ข้อที่ ภิกษุเป็นคนโอ้อวด เจ้ามายา นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่ายาก. ๑๕. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นคนกระด้าง ดูหมิ่นผู้อื่น แม้ข้อที่ภิกษุเป็นคนกระด้าง ดูหมิ่นผู้อื่น นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่ายาก. ๑๖. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นคนถือแต่ความเห็นของตน ถือรั้น ถอนได้ยาก แม้ข้อที่ภิกษุเป็นคนถือแต่ความเห็นของตน ถือรั้น ถอนได้ยาก นี้ก็เป็น ธรรมที่ทำให้เป็นคนว่ายาก. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้เรียกว่า ธรรมที่ทำให้เป็นคนว่ายาก.
ธรรมทำให้เป็นคนว่าง่าย
[๒๒๓] ถ้าแม้ภิกษุไม่ปวารณาไว้ว่า ขอท่านจงว่ากล่าวข้าพเจ้าๆ เป็นผู้ควรที่ท่านจะ ว่ากล่าวได้ แต่ภิกษุนั้นเป็นคนว่าง่าย ประกอบด้วยธรรมที่ทำให้เป็นคนว่าง่าย เป็นผู้อดทน รับคำพร่ำสอนโดยเคารพ เมื่อเป็นเช่นนี้ เพื่อนพรหมจรรย์ต่างสำคัญภิกษุนั้นว่า ควรว่ากล่าวได้ ควรพร่ำสอนได้ ทั้งสำคัญว่า ควรถึงความไว้วางใจในบุคคลนั้นได้ ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ทำให้เป็นคนว่าง่าย เป็นไฉน? ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้. ๑. ไม่เป็นผู้มีความปรารถนาลามก ไม่ลุอำนาจแห่งความปรารถนาลามก แม้ข้อที่ภิกษุ ไม่เป็นผู้มีความปรารถนาลามก ไม่ลุอำนาจแห่งความปรารถนาลามก นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคน ว่าง่าย. ๒. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่เป็นผู้ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น แม้ข้อที่ ภิกษุไม่เป็นผู้ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่าง่าย. ๓. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่เป็นคนมักโกรธ อันความโกรธ ไม่ครอบงำแล้ว แม้ข้อที่ภิกษุไม่เป็นคนมักโกรธ อันความโกรธไม่ครอบงำแล้ว นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้ เป็นคนว่าง่าย. ๔. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่เป็นคนมักโกรธ ไม่ผูกโกรธ เพราะความโกรธเป็นเหตุ แม้ข้อที่ภิกษุไม่เป็นคนมักโกรธ ไม่ผูกโกรธ เพราะความโกรธเป็นเหตุ นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่าง่าย. ๕. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่เป็นคนมักโกรธ ไม่มักระแวงจัด เพราะความโกรธเป็นเหตุ แม้ข้อที่ภิกษุไม่เป็นคนมักโกรธ ไม่มักระแวงจัด เพราะความโกรธ เป็นเหตุ นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่าง่าย. ๖. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่เป็นคนมักโกรธ ไม่เปล่งวาจา ใกล้ต่อความโกรธ แม้ข้อที่ภิกษุไม่เป็นคนมักโกรธ ไม่เปล่งวาจาใกล้ต่อความโกรธ นี้ก็เป็นธรรม ที่ทำให้เป็นคนว่าง่าย. ๗. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง ไม่โต้เถียง โจทก์ แม้ข้อที่ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง ไม่โต้เถียงโจทก์ นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่าง่าย. ๘. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง ไม่รุกราน โจทก์ แม้ข้อที่ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง ไม่รุกรานโจทก์ นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่าง่าย. ๙. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง ไม่ปรัก- *ปรำโจทก์ แม้ข้อที่ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง ไม่ปรักปรำโจทก์ นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคน ว่าง่าย. ๑๐. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง ไม่เอา เรื่องอื่นมากลบเกลื่อน ไม่พูดนอกเรื่อง ไม่แสดงความโกรธ ความมุ่งร้าย และความไม่เชื่อฟัง ให้ปรากฏ แม้ข้อที่ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง ไม่เอาเรื่องอื่นมากลบเกลื่อน ไม่พูดนอกเรื่อง ไม่แสดงความโกรธ ความมุ่งร้าย และความไม่เชื่อฟังให้ปรากฏ นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคน ว่าง่าย. ๑๑. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง พอใจตอบ ในความประพฤติ แม้ข้อที่ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง พอใจตอบในความประพฤติ นี้ก็เป็น ธรรมที่ทำให้เป็นคนว่าง่าย. ๑๒. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่เป็นคนลบหลู่ ไม่ตีเสมอ แม้ข้อที่ภิกษุไม่เป็นคนลบหลู่ ไม่ตีเสมอ นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่าง่าย. ๑๓. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่เป็นคนริษยา ไม่เป็นคนตระหนี่ แม้ข้อที่ภิกษุไม่เป็นคนริษยา ไม่เป็นคนตระหนี่ นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่าง่าย. ๑๔. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่เป็นคนโอ้อวด มิใช่เจ้ามายา แม้ข้อที่ภิกษุไม่เป็นคนโอ้อวด มิใช่เจ้ามายา นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่าง่าย. ๑๕. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่เป็นคนกระด้าง ไม่ดูหมิ่นผู้อื่น แม้ข้อที่ภิกษุไม่เป็นคนกระด้าง ไม่ดูหมิ่นผู้อื่น นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่าง่าย. ๑๖. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่เป็นคนถือแต่ความเห็นของตน ไม่ถือรั้น ถอนได้ง่าย แม้ข้อที่ภิกษุไม่เป็นคนถือแต่ความเห็นของตน ไม่ถือรั้น ถอนได้ง่าย นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่าง่าย. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ เรียกว่า ธรรมที่ทำให้เป็นคนว่าง่าย.
การเทียบเคียงตนเอง
[๒๒๔] ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ในธรรมทั้ง ๑๖ ข้อนั้น ภิกษุพึงเทียบเคียงตน ด้วยตนเองอย่างนี้ว่า บุคคลที่มีความปรารถนาลามก ลุอำนาจแห่งความปรารถนาลามก หาเป็นที่ รักใคร่พอใจของเราไม่ ก็หากเราจะพึงเป็นคนมีความปรารถนาลามก ลุอำนาจแห่งความปรารถนา ลามกบ้างเล่า เราคงไม่เป็นที่รักใคร่พอใจของคนอื่น ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ พึงยังความคิดให้เกิดขึ้นว่า เราจักไม่เป็นคนมีความปรารถนาลามก ไม่ลุอำนาจแห่งความปรารถนา ลามก ถึงบุคคลที่ยกตนข่มผู้อื่นก็หาเป็นที่รักใคร่พอใจของเราไม่ ก็หากเราจะพึงเป็นคนยกตน ข่มผู้อื่นบ้างเล่า เราคงไม่เป็นที่รักใคร่พอใจของคนอื่น ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ พึงยังความคิดให้เกิดขึ้นว่า เราจักไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ถึงบุคคลที่เป็นคนมักโกรธ อันความ โกรธครอบงำ ก็หาเป็นที่รักใคร่พอใจของเราไม่ ก็หากเราจะพึงเป็นคนมักโกรธ อันความโกรธ ครอบงำบ้างเล่า เราคงไม่เป็นที่รักใคร่พอใจของคนอื่น ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ พึงยังความคิดให้เกิดขึ้นว่า จักไม่เป็นคนมักโกรธ ไม่ให้ความโกรธครอบงำ บุคคลที่เป็นคน มักโกรธ ผูกโกรธ เพราะความโกรธเป็นเหตุ ก็หาเป็นที่รักใคร่พอใจของเราไม่ ก็หากเราจะพึง เป็นคนมักโกรธ ผูกโกรธ เพราะความโกรธเป็นเหตุบ้างเล่า เราคงไม่เป็นที่รักใคร่พอใจของคนอื่น ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ พึงยังความคิดให้เกิดขึ้นว่า เราจักไม่เป็นคนมักโกรธ ไม่ผูกโกรธ เพราะความโกรธเป็นเหตุ ถึงบุคคลที่เป็นคนมักโกรธ มักระแวงจัด เพราะความ โกรธเป็นเหตุ ก็หาเป็นที่รักใคร่พอใจของเราไม่ ก็หากเราจะพึงเป็นคนมักโกรธ มักระแวงจัด เพราะความโกรธเป็นเหตุบ้างเล่า เราก็คงไม่เป็นที่รักใคร่พอใจของคนอื่น ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ พึงยังความคิดให้เกิดขึ้นว่า เราจักไม่เป็นคนมักโกรธ ไม่มักระแวงจัด เพราะ ความโกรธเป็นเหตุ ถึงบุคคลที่เป็นคนมักโกรธ เปล่งวาจาใกล้ต่อความโกรธ ก็หาเป็นที่รักใคร่ พอใจของเราไม่ ก็หากเราจะพึงเป็นคนมักโกรธ เปล่งวาจาใกล้ต่อความโกรธบ้างเล่า เราคงไม่ เป็นที่รักใคร่พอใจของคนอื่น ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ พึงยังความคิดให้ เกิดขึ้นว่า เราจักไม่เป็นคนมักโกรธ ไม่เปล่งวาจาใกล้ต่อความโกรธ ถึงบุคคลที่ถูกบุคคลผู้เป็น- *โจทก์ฟ้อง กลับโต้เถียงโจทก์ ก็หาเป็นที่รักใคร่พอใจของเราไม่ ก็หากเราจะพึงถูกบุคคลผู้เป็น โจทก์ฟ้อง กลับโต้เถียงโจทก์บ้างเล่า เราคงไม่เป็นที่รักใคร่พอใจของคนอื่น ดูกรท่านผู้มีอายุ ทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ พึงยังความคิดให้เกิดขึ้นว่า เราถูกบุคคลผู้เป็นโจทก์ฟ้อง จักไม่ โต้เถียงโจทก์ ถึงบุคคลที่ถูกบุคคลผู้เป็นโจทก์ฟ้อง กลับรุกรานโจทก์ ก็หาเป็นที่รักใคร่พอใจ ของเราไม่ ก็หากเราจะพึงถูกบุคคลผู้เป็นโจทก์ฟ้อง กลับรุกรานโจทก์บ้างเล่า เราคงไม่เป็นที่ รักใคร่พอใจของคนอื่น ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ พึงยังความคิดให้เกิดขึ้นว่า เราถูกบุคคลผู้เป็นโจทก์ฟ้อง จักไม่รุกรานโจทก์ ถึงบุคคลที่ถูกบุคคลผู้เป็นโจทก์ฟ้อง กลับ ปรักปรำโจทก์ ก็หาเป็นที่รักใคร่พอใจของเราไม่ ก็หากเราจะพึงถูกบุคคลผู้เป็นโจทก์ฟ้อง กลับ ปรักปรำโจทก์บ้างเล่า เราคงไม่เป็นที่รักใคร่พอใจของคนอื่น ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่ อย่างนี้ พึงยังความคิดให้เกิดขึ้นว่า เราถูกบุคคลผู้เป็นโจทก์ฟ้อง จักไม่ปรักปรำโจทก์ ถึงบุคคล ที่ถูกบุคคลผู้เป็นโจทก์ฟ้อง กลับเอาเรื่องอื่นมากลบเกลื่อน พูดนอกเรื่อง แสดงความโกรธ ความมุ่งร้าย และความไม่เชื่อฟังให้ปรากฏ ก็หาเป็นที่รักใคร่พอใจของเราไม่ ก็หากเราจะพึงถูก บุคคลผู้เป็นโจทก์ฟ้อง กลับเอาเรื่องอื่นมากลบเกลื่อน พูดนอกเรื่อง แสดงความโกรธ ความ มุ่งร้าย และความไม่เชื่อฟังให้ปรากฏบ้างเล่า เราคงไม่เป็นที่รักใคร่พอใจของคนอื่น ดูกรท่าน- *ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ พึงยังความคิดให้เกิดขึ้นว่า เราถูกบุคคลผู้เป็นโจทก์ฟ้อง จักไม่เอาเรื่องอื่นมากลบเกลื่อน ไม่พูดนอกเรื่อง ไม่แสดงความโกรธ ความมุ่งร้าย และความ ไม่เชื่อฟังให้ปรากฏ ถึงบุคคลที่ถูกบุคคลผู้เป็นโจทก์ฟ้อง ไม่พอใจตอบในความประพฤติ ก็หา เป็นที่รักใคร่พอใจของเราไม่ ก็หากเราจะพึงถูกบุคคลผู้เป็นโจทก์ฟ้อง ไม่พอใจตอบในความ ประพฤติ เราคงไม่เป็นที่รักใคร่พอใจของคนอื่น ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ พึงยังความคิดให้เกิดขึ้นว่า เราถูกบุคคลผู้เป็นโจทก์ฟ้อง พอใจตอบในความประพฤติ ถึงบุคคล ที่เป็นคนลบหลู่ ตีเสมอ ก็หาเป็นที่รักใคร่พอใจของเราไม่ ก็หากเราจะพึงเป็นคนลบหลู่ตีเสมอ บ้างเล่า เราคงไม่เป็นที่รักใคร่พอใจของคนอื่น ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ พึงยังความคิดให้เกิดขึ้นว่า เราจักไม่เป็นคนลบหลู่ ตีเสมอ ถึงบุคคลที่เป็นคนริษยา เป็นคน ตระหนี่ ก็หาเป็นที่รักใคร่พอใจของเราไม่ ก็หากเราจะพึงเป็นคนริษยา เป็นคนตระหนี่บ้างเล่า เราคงไม่เป็นที่รักใคร่พอใจของคนอื่น ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ พึงยังความ คิดให้เกิดขึ้นว่า เราจักไม่เป็นคนริษยา ไม่เป็นคนตระหนี่ ถึงบุคคลที่เป็นคนโอ้อวด เจ้ามายา ก็หาเป็นที่รักใคร่พอใจของเราไม่ ก็หากเราจะพึงเป็นคนโอ้อวด เจ้ามายาบ้างเล่า เราคงไม่เป็น ที่รักใคร่พอใจของคนอื่น ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ พึงยังความคิดให้เกิดขึ้นว่า เราจักไม่เป็นคนโอ้อวด ไม่มีมายา ถึงบุคคลที่เป็นคนกระด้าง ดูหมิ่นผู้อื่น นี้ก็หาเป็นที่รักใคร่ พอใจของเราไม่ ก็หากเราจะพึงเป็นคนกระด้าง ดูหมิ่นผู้อื่นบ้างเล่า เราคงไม่เป็นที่รักใคร่พอใจ ของคนอื่น ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ พึงยังความคิดให้เกิดขึ้นว่า เราจักไม่เป็น คนกระด้าง ไม่ดูหมิ่นผู้อื่น ถึงบุคคลที่ถือแต่ความเห็นของตน ถือรั้น ถอนได้ยาก ก็หาเป็นที่ รักใคร่พอใจของเราไม่ ก็หากเราจะพึงเป็นคนถือแต่ความเห็นของตน ถือรั้น ถอนได้ยากบ้างเล่า เราคงไม่เป็นที่รักใคร่พอใจของคนอื่น ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ พึงยังความคิด ให้เกิดขึ้นว่า เราจักไม่เป็นคนถือแต่ความเห็นของตน ไม่ถือรั้น ถอนได้ง่ายดังนี้.
การพิจารณาตนเอง
[๒๒๕] ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ในธรรมทั้ง ๑๖ ข้อนั้น ภิกษุพึงพิจารณาตนด้วย ตนเองอย่างนี้ว่า เราเป็นคนมีความปรารถนาลามก ลุอำนาจแห่งความปรารถนาลามกหรือไม่? หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นคนมีความปรารถนาลามก ลุอำนาจแห่งความปรารถนาลามกจริง ก็ควรพยายามเพื่อที่จะละอกุศลธรรมอันชั่วช้านั้นเสีย หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราไม่ใช่คนมี ความปรารถนาลามก ไม่ลุอำนาจแห่งความปรารถนาลามก ภิกษุนั้นพึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์ นั้นทีเดียว หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย. อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า เราเป็นคนยกตนข่มผู้อื่น หรือไม่? หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นคนยกตนข่มผู้อื่นจริง ก็ควรพยายามเพื่อที่จะละ อกุศลธรรมอันชั่วช้านั้นเสีย หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราไม่เป็นคนยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ภิกษุ นั้นพึงอยู่ด้วยปีติ และปราโมทย์นั้นทีเดียว หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย. อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า เราเป็นคนมักโกรธ อันความ โกรธครอบงำแล้วหรือไม่? หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นคนมักโกรธ อันความโกรธ ครอบงำแล้วจริง ก็ควรพยายามเพื่อที่จะละอกุศลธรรมอันชั่วช้านั้นเสีย หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราไม่เป็นคนมักโกรธ อันความโกรธไม่ครอบงำ ภิกษุนั้นพึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นทีเดียว หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย. อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า เราเป็นคนมักโกรธ ผูกโกรธ เพราะความโกรธเป็นเหตุหรือไม่? หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นคนมักโกรธ ผูกโกรธ เพราะ ความโกรธเป็นเหตุจริง ก็ควรพยายามเพื่อที่จะละอกุศลธรรมอันชั่วช้านั้นเสีย หากพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า เราไม่เป็นคนมักโกรธ ไม่ผูกโกรธ เพราะความโกรธเป็นเหตุ ภิกษุนั้นพึงอยู่ด้วยปีติ และปราโมทย์นั้นทีเดียว หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย. อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า เราเป็นคนมักโกรธ มักระแวงจัด เพราะความโกรธเป็นเหตุหรือไม่ หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นคนมักโกรธ มักระแวงจัด เพราะความโกรธเป็นเหตุจริง ก็ควรพยายามเพื่อที่จะละอกุศลธรรมอันชั่วช้านั้นเสีย หากพิจารณา อยู่รู้อย่างนี้ว่า เราไม่เป็นคนมักโกรธ ไม่มักระแวงจัด เพราะความโกรธเป็นเหตุ ภิกษุนั้นพึงอยู่ ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นทีเดียว หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย. อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า เราเป็นคนมักโกรธ เปล่งวาจา ใกล้ต่อความโกรธหรือไม่? หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นคนมักโกรธ เปล่งวาจาใกล้ต่อความ โกรธจริง ก็ควรพยายามเพื่อที่จะละอกุศลธรรมอันชั่วช้านั้นเสีย หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราไม่เป็นคนมักโกรธ ไม่เปล่งวาจาใกล้ต่อความโกรธ ภิกษุนั้นพึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้น ทีเดียว หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย. อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า เราเป็นจำเลยถูกโจทก์ฟ้อง กลับโต้เถียงโจทก์หรือไม่? หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นจำเลยถูกโจทก์ฟ้อง กลับโต้เถียง โจทก์จริง ก็ควรพยายามเพื่อที่จะละอกุศลธรรมอันชั่วช้านั้นเสีย หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เรา เป็นจำเลยถูกโจทก์ฟ้อง ไม่กลับโต้เถียงโจทก์ ภิกษุนั้นพึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นทีเดียว หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย. อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า เราเป็นจำเลยถูกโจทก์ฟ้อง กลับรุกรานโจทก์หรือไม่ หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นจำเลยถูกโจทก์ฟ้อง กลับรุกรานโจทก์ จริง ก็ควรพยายามเพื่อที่จะละอกุศลธรรมอันชั่วช้านั้นเสีย หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็น จำเลยถูกโจทก์ฟ้อง ไม่กลับรุกรานโจทก์ ภิกษุนั้นพึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นทีเดียว หมั่น ศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย. อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า เราเป็นจำเลยถูกโจทก์ฟ้อง กลับปรักปรำโจทก์หรือไม่? หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นจำเลยถูกโจทก์ฟ้อง กลับปรักปรำ โจทก์จริง ก็ควรพยายามเพื่อที่จะละอกุศลธรรมอันชั่วช้านั้นเสีย หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เรา เป็นจำเลยถูกโจทก์ฟ้อง ไม่กลับปรักปรำโจทก์ ภิกษุนั้นพึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นทีเดียว หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย. อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า เราเป็นจำเลยถูกโจทก์ฟ้อง กลับเอาเรื่องอื่นมากลบเกลื่อน พูดนอกเรื่อง แสดงความโกรธ ความมุ่งร้าย และความไม่เชื่อฟัง ให้ปรากฏหรือไม่? หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่าเราเป็นจำเลยถูกโจทก์ฟ้องกลับเอาเรื่องอื่นมากลบ เกลื่อน พูดนอกเรื่อง แสดงความโกรธ ความมุ่งร้าย และความไม่เชื่อฟังให้ปรากฏจริง ก็ควร พยายามเพื่อที่จะละอกุศลธรรมอันชั่วช้านั้นเสีย หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นจำเลยถูกโจทก์ ฟ้อง ไม่เอาเรื่องอื่นมากลบเกลื่อน ไม่พูดนอกเรื่อง ไม่แสดงความโกรธ ความมุ่งร้าย และ ความไม่เชื่อฟังให้ปรากฏ ภิกษุนั้นพึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นทีเดียว หมั่นศึกษาทั้งกลางวัน กลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย. อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า เราเป็นจำเลยถูกโจทก์ฟ้อง ไม่พอใจตอบในความประพฤติหรือไม่? หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่าเราเป็นจำเลยถูกโจทก์ฟ้อง ไม่ พอใจตอบในความประพฤติจริง ก็ควรพยายามเพื่อที่จะละอกุศลธรรมที่ชั่วช้านั้นเสีย หากพิจารณา อยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นจำเลยถูกโจทก์ฟ้อง พอใจตอบในความประพฤติ ภิกษุนั้นพึงอยู่ด้วยปีติ และปราโมทย์นั้นทีเดียว หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย. อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า เราเป็นคนลบหลู่ ตีเสมอ หรือไม่? หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นคนลบหลู่ ตีเสมอจริง ก็ควรพยายามเพื่อที่จะละอกุศล ธรรมอันชั่วช้านั้นเสีย หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่าเราไม่เป็นคนลบหลู่ ไม่ตีเสมอ ภิกษุนั้นพึงอยู่ ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นทีเดียวหมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย. อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า เราเป็นคนริษยา เป็นคนตระหนี่ หรือไม่? หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นคนริษยา เป็นคนตระหนี่จริง ก็ควรพยายามเพื่อที่จะ ละอกุศลธรรมอันชั่วช้านั้นเสียหากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราไม่เป็นคนริษยา ไม่เป็นคนตระหนี่ ภิกษุนั้นพึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นทีเดียว หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศลธรรม ทั้งหลาย. อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า เราเป็นคนโอ้อวด เจ้ามายา หรือไม่? หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นคนโอ้อวด เจ้ามายาจริง ก็ควรพยายามเพื่อที่จะละ อกุศลธรรมอันชั่วช้านั้นเสีย หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่าเราไม่เป็นคนโอ้อวด ไม่เป็นคนเจ้ามายา ภิกษุนั้น พึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นทีเดียว หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศลธรรม ทั้งหลาย. อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า เราเป็นคนกระด้าง ดูหมิ่น ผู้อื่นหรือไม่? หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นคนกระด้างดูหมิ่นผู้อื่นจริง ก็ควรพยายามเพื่อที่ จะละอกุศลธรรมอันชั่วช้านั้นเสีย หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราไม่เป็นคนกระด้าง ไม่ดูหมิ่น ผู้อื่น ภิกษุนั้นพึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นทีเดียว หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศล- *ธรรมทั้งหลาย. อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า เราเป็นคนถือเอาแต่ความเห็น ของตน ถือรั้น ถอนได้ยากหรือไม่? หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่าเป็นคนถือเอาแต่ความเห็นของตน ถือรั้น ถอนได้ยากจริง ก็ควรพยายามเพื่อที่จะละอกุศลธรรมอันชั่วช้านั้นเสีย หากพิจารณาอยู่รู้ อย่างนี้ว่า เราไม่เป็นคนถือเอาแต่ความเห็นของตน ไม่ถือรั้น ถอนได้ง่าย ภิกษุนั้นพึงอยู่ด้วย ปีติและปราโมทย์นั้นทีเดียว หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากภิกษุพิจารณาอยู่ เห็นชัดอกุศลธรรมอันชั่วช้าเหล่านี้ทั้งหมด ที่ยังละไม่ได้ในตน ภิกษุนั้นก็ควรพยายามเพื่อที่จะละอกุศลธรรมอันชั่วช้าทั้งหมดเหล่านั้น หาก พิจารณาอยู่ เห็นชัดอกุศลธรรมอันชั่วช้าทั้งหมดเหล่านี้ ที่ละได้แล้วในตน ภิกษุนั้นพึงอยู่ด้วย ปีติและปราโมทย์นั้นทีเดียว หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อุปมาเหมือนสตรีหรือบุรุษ รุ่นกำดัด ชอบโอ่อ่าส่องดูเงาหน้า ของตนในกระจกเงา หรือในภาชนะน้ำใสสะอาดบริสุทธิ์ ถ้าเห็นธุลีหรือสิวบนในหน้านั้น ย่อม พยายามที่จะให้ธุลีหรือสิวนั้นหายไป หากไม่เห็นธุลีหรือสิวบนใบหน้านั้น ก็จะรู้สึกพอใจว่า ช่าง เป็นลาภของเรา ใบหน้าของเราบริสุทธิ์สะอาด ดังนี้ ฉันใด แม้ภิกษุหากพิจารณาอยู่ เห็นชัด อกุศลธรรมอันชั่วช้าทั้งหมดเหล่านี้ ที่ยังละไม่ได้ในตน ภิกษุนั้นก็ควรพยายามเพื่อที่จะละอกุศล ธรรมอันชั่วช้าทั้งหมดนั้นเสีย แต่ถ้าเมื่อพิจารณาอยู่ เห็นชัดอกุศลธรรมอันชั่วช้าทั้งหมดเหล่านี้ ที่ละได้แล้วในตน ภิกษุนั้นพึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นทีเดียว หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย ฉันนั้น นั่นแล. ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวภาษิตดังนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจชื่นชมยินดีภาษิตของ ท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้วแล.
จบ อนุมานสูตร ที่ ๕
-----------------------------------------------------
๖. เจโตขีลสูตร
ว่าด้วยตะปูตรึงใจ
[๒๒๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว. [๒๒๗] พระผู้มีพระภาคจึงตรัสพระพุทธพจน์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ไม่ละตะปูตรึงใจ ๕ ประการ ไม่ถอนเครื่องผูกพันใจ ๕ ประการ ภิกษุนั้นหนอจักถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ในพระธรรมวินัยนี้ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้. [๒๒๘] ตะปูตรึงใจ ๕ ประการ อันเธอยังละไม่ได้เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ในพระธรรมวินัยนี้ สงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระศาสดา ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย จิตของภิกษุที่สงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระศาสดานั้น ย่อม ไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียร ที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อ ความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าตะปูตรึงใจประการที่ ๑ ที่ภิกษุนั้นยังละ ไม่ได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุสงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อม ใสในพระธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุที่สงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อม ใสในพระธรรมนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผา กิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าตะปู ตรึงใจประการที่ ๒ ที่ภิกษุนั้นยังละไม่ได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุสงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส ในพระสงฆ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุที่สงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส ในพระสงฆ์นั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อ ความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าตะปูตรึงใจ ประการที่ ๓ ที่ภิกษุนั้นยังละไม่ได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุสงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส ในสิกขา ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุที่สงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสใน สิกขานั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำ ติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อ ความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าตะปูตรึงใจ ประการที่ ๔ ที่ภิกษุนั้นยังละไม่ได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้โกรธเคือง ไม่พอใจ มีจิตอันโทสะกระทบ- *กระทั่ง มีใจดุจตะปูในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุที่โกรธเคือง ไม่พอใจ มีจิตอันโทสะกระทบกระทั่ง มีใจดุจตะปูในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายนั้น ย่อมไม่น้อม ไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียร ที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อ ความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าตะปูตรึงใจ ประการที่ ๕ ที่ภิกษุนั้นยังละ ไม่ได้แล้ว ตะปูตรึงใจ ๕ ประการเหล่านี้ ชื่อว่าอันภิกษุนั้นยังละไม่ได้แล้ว.
เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการ
[๒๒๙] เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการ อันภิกษุนั้นยังถอนไม่ได้ เป็นไฉน? ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจากความทะเยอ ทะยานอยากในกาม ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจากความ พอใจ ไม่ปราศจากความรักไม่ปราศจากความระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจากความ ทะเยอทะยานอยากในกาม ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบ เนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าเครื่องผูกพันใจประการที่ ๑ ที่ภิกษุนั้นยังถอนไม่ได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจาก ความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจาก ความทะเยอทะยานอยากในร่างกาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจากความทะเยอทะยานอยากในร่างกายนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไป เพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้ง มั่น อย่างนี้ ชื่อว่าเครื่องผูกพันใจประการที่ ๒ ที่ภิกษุนั้นยังถอนไม่ได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจาก ความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศ- *จากความทะเยอทะยานอยากในรูป ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจากความทะเยอทะยานอยากในรูปนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อ ความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อ ความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าเครื่องผูกพันใจประการที่ ๓ ที่ภิกษุนั้นยังถอนไม่ได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุบริโภคอิ่มพอความประสงค์แล้ว ประกอบความ สุขในการนอน ความสุขในการเอน ความสุขในความหลับอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุ ผู้บริโภคอิ่มพอความประสงค์แล้ว ประกอบความสุขในการนอน ความสุขในการเอน ความสุข ในความหลับอยู่นั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ชื่อว่าเครื่องผูกพันใจ ประการที่ ๔ ที่ภิกษุนั้นยังถอนไม่ได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุจักประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อปรารถนาเทพนิกาย อันใดอันหนึ่งว่า เราจักได้เป็นเทพเจ้าหรือเทพองค์ใดองค์หนึ่งด้วยศีลอันนี้ ด้วยข้อวัตรอันนี้ ด้วยตบะอันนี้ หรือด้วยพรหมจรรย์อันนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้จักประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อปรารถนาเทพนิกายอันใดอันหนึ่งว่า เราจักได้เป็นเทพเจ้าหรือเทพองค์ใดองค์หนึ่ง ด้วยศีล อันนี้ ด้วยข้อวัตรอันนี้ ด้วยตบะอันนี้ หรือด้วยพรหมจรรย์อันนี้นั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความ เพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่ จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าเครื่องผูกพันใจ ประการที่ ๕ ที่ภิกษุนั้นยังถอนไม่ได้แล้ว เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการเหล่านี้ ชื่อว่าอันภิกษุนั้นยังถอนไม่ได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งไม่ละตะปูตรึงใจ ๕ ประการเหล่านี้ ไม่ถอนเครื่อง ผูกพันใจ ๕ ประการเหล่านี้ ภิกษุนั้นหนอ จักถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ในพระธรรมวินัยนี้ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้. [๒๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งละตะปูตรึงใจ ๕ ประการเสียได้ ถอน เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการเสียได้ ภิกษุนั้นหนอ จักถึงความเจริญงอกงาม ไพบูลย์ ในพระธรรม วินัย ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้. [๒๓๑] ตะปูตรึงใจ ๕ ประการ ชื่อว่า อันภิกษุนั้นละได้แล้วเป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ไม่สงสัย ไม่เคลือบแคลง ปลงใจเชื่อ เลื่อมใสในพระศาสดา ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ไม่สงสัย ไม่เคลือบแคลง ปลงใจเชื่อ เลื่อมใสในพระศาสดานั้น ย่อม น้อมไปเพื่อความเพียร เครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความ เพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่นอย่างนี้ ชื่อว่าตะปูตรึงใจประการที่ ๑ ที่ภิกษุนั้นละได้ แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่สงสัย ไม่เคลือบแคลงปลงใจเชื่อ เลื่อมใส ในพระธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ไม่สงสัย ไม่เคลือบแคลง ปลงใจเชื่อ เลื่อมใสใน พระธรรมนั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำ ติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อ ความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่นอย่างนี้ ชื่อว่าตะปูตรึงใจประการ ที่ ๒ ที่ภิกษุนั้นละได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่สงสัย ไม่เคลือบแคลงปลงใจเชื่อ เลื่อมใส ในพระสงฆ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ไม่สงสัย ไม่เคลือบแคลง ปลงใจเชื่อ เลื่อมใสใน พระสงฆ์นั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำ ติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความ ประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าตะปูตรึงใจประการ ที่ ๓ ที่ภิกษุนั้นละได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่สงสัย ไม่เคลือบแคลงปลงใจเชื่อ เลื่อมใส ในสิกขา ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ไม่สงสัย ไม่เคลือบแคลง ปลงใจเชื่อ เลื่อมใสใน สิกขานั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำ ติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความ ประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าตะปูตรึงใจประการ ที่ ๔ ที่ภิกษุนั้นละได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ไม่โกรธเคือง ไม่ใช่เป็นผู้ไม่พอใจ มีจิต อันโทสะไม่กระทบกระทั่ง หาใช่ผู้มีใจดุจตะปูไม่ ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ไม่โกรธเคือง ไม่ใช่เป็นผู้ไม่พอใจ มีจิตอันโทสะไม่กระทบกระทั่ง หาใช่ผู้มีใจดุจ ตะปูไม่ ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายนั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความ ประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความ เพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าตะปูตรึงใจประการที่ ๕ ที่ภิกษุนั้นละได้แล้ว ตะปูตรึงใจ ๕ ประการเหล่านี้ ชื่อว่าอันภิกษุนั้น ละได้แล้ว. [๒๓๒] เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการ อันภิกษุนั้นถอนได้ดีแล้วเป็นไฉน? ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความพอใจ ปราศจาก ความรัก ปราศจากความระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความทะเยอทะยานอยากในกาม ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความพอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความทะเยอทะยานอยากในกามนั้น ย่อม น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความ เพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่นอย่างนี้ ชื่อว่าเครื่องผูกพันใจประการที่ ๑ ที่ภิกษุนั้น ถอนได้ดีแล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความ พอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความทะเยอ ทะยานอยากในร่างกาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความ พอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความกระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความทะเยอ- *ทะยานอยากในร่างกายนั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่นอย่างนี้ ชื่อว่าเครื่องผูกพัน ใจประการที่ ๒ ที่ภิกษุนั้นถอนได้ดีแล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความ พอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความทะเยอ- *ทะยานอยากในรูป ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความพอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความทะเยอทะยาน อยากในรูปนั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อ ความทำติดต่อเพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อ ความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ชื่อว่าเครื่องผูกพันใจ ประการที่ ๓ ที่ภิกษุนั้นถอนได้ดีแล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่บริโภคอิ่มพอความประสงค์แล้ว ไม่ประกอบ ความสุขในการนอน ความสุขในการเอน ความสุขในความหลับอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของ ภิกษุผู้ไม่บริโภคอิ่มพอความประสงค์แล้ว ไม่ประกอบความสุขในการนอน ความสุขในการเอน ความสุขในความหลับอยู่นั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่นอย่างนี้ ชื่อว่าเครื่อง ผูกพันใจประการที่ ๔ ที่ภิกษุนั้นถอนได้ดีแล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุจักไม่ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อปรารถนาเทพ นิกายอันใดอันหนึ่งว่า เราจักได้เป็นเทพเจ้า หรือเทพองค์ใดองค์หนึ่งด้วยศีลอันนี้ ด้วยข้อวัตร อันนี้ ด้วยตบะอันนี้ หรือด้วยพรหมจรรย์อันนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้จักไม่ประพฤติ พรหมจรรย์ เพื่อปรารถนาเทพนิกายอันใดอันหนึ่งว่า เราจักได้เป็นเทพเจ้า หรือเทพองค์ใดองค์- *หนึ่ง ด้วยศีลอันนี้ด้วยข้อวัตรอันนี้ ด้วยตบะอันนี้ หรือด้วยพรหมจรรย์อันนี้นั้น ย่อมน้อมไป เพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความ ทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่นอย่างนี้ว่า ชื่อว่าเครื่องผูกพันใจประการที่ ๕ ที่ภิกษุนั้นถอนได้ดี แล้ว เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการเหล่านี้ ชื่อว่าอันภิกษุนั้นถอนได้ดีแล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ละตะปูตรึงใจ ๕ ประการเหล่านี้ได้แล้ว ถอนเครื่อง ผูกพันใจ ๕ ประการเหล่านี้ได้ดีแล้ว ภิกษุนั้นจักถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ในพระธรรม- *วินัย ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้.
อุปมาเหมือนแม่ไก่ฟักไข่
[๒๓๓] ภิกษุนั้นเจริญอิทธิบาท ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร ๑ วิริยสมาธิปธาน สังขาร ๑ จิตตสมาธิปธานสังขาร ๑ วิมังสาสมาธิปธานสังขาร ๑ และมีความขะมักเขม้นเป็นที่ ๕ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๕ รวมทั้งความขะมักเขม้นอย่างนี้นั้นแล เป็นผู้ควร แก่ความเบื่อหน่าย เป็นผู้ควรแก่การตรัสรู้ เป็นผู้ควรแก่การบรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะ อย่างสูงเยี่ยม. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๕ รวมทั้งความขะมักเขม้นอย่างนี้ เป็นผู้ควร แก่ความเบื่อหน่าย เป็นผู้ควรแก่การตรัสรู้ เป็นผู้ควรแก่การบรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอย่าง สูงเยี่ยม เปรียบเหมือนไข่ของแม่ไก่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟอง แม่ไก่กกไว้โดยชอบ ให้อบอุ่นโดยชอบ ฟักโดยชอบ ถึงแม่ไก่นั้นจะไม่ปรารถนาอย่างนี้ว่า ขอให้ลูกไก่เหล่านี้จงทำลาย เปลือกไข่ด้วยปลายเล็บเท้า หรือด้วยจะงอยปาก ออกมาโดยสวัสดีก็ตาม ลูกไก่เหล่านั้นก็ต้อง ทำลายเปลือกไข่ด้วยปลายเล็บเท้า หรือด้วยจะงอยปาก ออกมาโดยสวัสดีได้ ฉะนั้น. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ ภิกษุเหล่านั้นมีใจชื่นชมยินดีพระภาษิตของ พระผู้มีพระภาคแล้วแล.
จบ เจโตขีลสูตรที่ ๖
-----------------------------------------------------
๗. วนปัตถสูตร
ว่าด้วยการอยู่ป่า
[๒๓๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ วิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เราจะแสดงวนปัตถปริยาย [เหตุของการอยู่ป่าชัฏ] แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ปริยายนั้น จงใส่ใจให้ดีเราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว. [๒๓๕] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรม วินัยนี้ ย่อมเข้าไปอาศัยป่าชัฏแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่ เมื่อเธอเข้าไปอาศัยป่าชัฏนั้นอยู่ สติที่ยังไม่ ปรากฏก็ไม่ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ไม่ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ไม่ถึงความสิ้นไป และภิกษุนั้น ไม่ได้บรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอย่างสูงที่ยังไม่บรรลุด้วย ส่วนปัจจัยเครื่องอุดหนุนชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารเหล่าใด ที่บรรพชิตจำต้องนำมา บริโภค ปัจจัยเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นได้โดยยาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงพิจารณาเห็นดังนี้ ว่า เราเข้ามาอาศัยป่าชัฏนี้อยู่ เมื่อเราเข้ามาอาศัยป่าชัฏนี้อยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏ จิตที่ ยังไม่ตั้งมั่นก็ไม่ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ไม่ถึงความสิ้นไป และเราไม่ได้บรรลุธรรมอันปลอด- *โปร่งจากโยคะอย่างสูงที่ยังไม่บรรลุด้วย ส่วนปัจจัยเครื่องอุดหนุนชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารเหล่าใด ที่บรรพชิตจำต้องนำมาบริโภค ปัจจัยเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นได้โดยยาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นควรหลีกไปเสียจากป่าชัฏนั้น ในเวลากลางคืน หรือในเวลากลางวันก็ตาม ไม่ควรอยู่.
เหตุของการอยู่ป่า
[๒๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าไปอาศัยป่าชัฏแห่งใดแห่งหนึ่ง อยู่ เมื่อเธอเข้าไปอาศัยป่าชัฏนั้นอยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ไม่ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ไม่ถึงความสิ้นไป และภิกษุนั้นไม่ได้บรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะ อย่างสูงที่ยังไม่บรรลุด้วย ส่วนปัจจัยเครื่องอุดหนุนชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ คิลานปัจจัยเภสัชบริขารเหล่าใด ที่บรรพชิตจำเป็นต้องนำมาบริโภค ปัจจัยเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้น โดยไม่ยาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเข้ามาอาศัยป่าชัฏนี้อยู่ เมื่อ เราเข้ามาอาศัยป่าชัฏนี้อยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏจิต ที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ไม่ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่ สิ้นไปก็ไม่ถึงความสิ้นไป และเราไม่ได้บรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอย่างสูงที่ยังไม่บรรลุ ด้วย ส่วนปัจจัยเครื่องอุดหนุนชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัช บริขารเหล่าใด ที่บรรพชิตจำต้องนำมาบริโภค ปัจจัยเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นได้โดยไม่ยาก แต่ว่าเรา ไม่ได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เพราะเหตุแห่งจีวร เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต เพราะเหตุ แห่งเสนาสนะ เพราะเหตุแห่งคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ก็ครั้นเป็นเช่นนั้น เมื่อเราเข้ามาอาศัย ป่าชัฏนี้อยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏ ก็ไม่ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่น ก็ไม่ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไป ก็ไม่ถึงความสิ้นไป และเราไม่ได้บรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอย่างสูงที่ยังไม่บรรลุด้วย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นแม้รู้แล้วควรหลีกไปเสียจากป่าชัฏนั้น ไม่ควรอยู่. [๒๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าไปอาศัยป่าชัฏแห่งใดแห่งหนึ่ง อยู่ เมื่อเธอเข้าไปอาศัยป่าชัฏนั้นอยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ตั้งมั่น อาสวะ ที่ยังไม่สิ้นไปก็ถึงความสิ้นไป และภิกษุนั้นย่อมได้บรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอย่างสูงที่ยัง ไม่บรรลุด้วย ส่วนปัจจัยเครื่องอุดหนุนชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย เภสัชบริขารเหล่าใด ที่บรรพชิตจำต้องนำมาบริโภค ปัจจัยเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นได้โดยยาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเข้ามาอาศัยป่าชัฏนี้อยู่ เมื่อเราเข้ามาอาศัย ป่าชัฏนี้อยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ถึงความสิ้น ไป และเราย่อมได้บรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอย่างสูงที่ยังไม่บรรลุด้วย ส่วนปัจจัยเครื่อง อุดหนุนชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารเหล่าใด ที่บรรพชิต จำต้องนำมาบริโภค ปัจจัยเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นได้โดยยาก แต่ว่าเราไม่ได้ออกจากเรือนบวช เป็นบรรพชิต เพราะเหตุแห่งจีวร เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต เพราะเหตุแห่งเสนาสนะ เพราะ เหตุแห่งคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ก็ครั้นเป็นเช่นนั้น เมื่อเราเข้ามาอาศัยป่าชัฏนี้อยู่ สติที่ยังไม่ ปรากฏก็ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่น ก็ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ถึงความสิ้นไป และเราย่อม ได้บรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอย่างสูงที่ยังไม่บรรลุด้วย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นแม้รู้ แล้ว ก็ควรอยู่ในป่าชัฏนั้น ไม่ควรหลีกไปเสีย. [๒๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าไปอาศัยป่าชัฏแห่งใดแห่งหนึ่ง อยู่ เมื่อเธอเข้าไปอาศัยป่าชัฏนั้นอยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏจิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ตั้งมั่น อาสวะ ที่ยังไม่สิ้นไปก็ถึงความสิ้นไป และภิกษุนั้นได้บรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอย่างสูงที่ยังไม่- *บรรลุด้วย ส่วนปัจจัยเครื่องอุดหนุนชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย เภสัชบริขารเหล่าใดที่บรรพชิตจำต้องนำมาบริโภค ปัจจัยเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นได้โดยไม่ยาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเข้ามาอาศัยป่าชัฏนี้อยู่ เมื่อเราเข้ามาอาศัย ป่าชัฏนี้อยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ถึงความ สิ้นไป และเราย่อมได้บรรลุความปลอดโปร่งจากโยคะอย่างสูงที่ยังไม่บรรลุด้วย ส่วนปัจจัยเครื่อง- *อุดหนุนชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารเหล่าใด ที่บรรพชิต จำต้องนำมาบริโภคปัจจัยเหล่านั้นย่อมเกิดขึ้นได้โดยไม่ยาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นควรอยู่ ในป่าชัฏนั้นจนตลอดชีวิต ไม่ควรหลีกไปเสีย.
การอยู่อาศัยบ้านเป็นต้น
[๒๓๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าไปอาศัยบ้านแห่งใดแห่งหนึ่ง อยู่ ... เข้าไปอาศัยนิคมแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่ ... เข้าไปอาศัยนครแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่ ... เข้าไปอาศัย ชนบทแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่ ... เข้าไปอาศัยบุคคลใดบุคคลหนึ่งอยู่ เมื่อเธอเข้าไปอาศัยบุคคลนั้นอยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ไม่ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ไม่ถึงความสิ้นไป และภิกษุนั้นไม่ได้บรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอย่างสูงที่ยังไม่บรรลุด้วย ส่วนปัจจัยเครื่อง- *อุดหนุนชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารเหล่าใด ที่บรรพชิต จำต้องนำมาบริโภค ปัจจัยเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นได้โดยยาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงพิจารณา เห็นดังนี้ว่า เราเข้ามาอาศัยบุคคลนี้อยู่ เมื่อเราเข้ามาอาศัยบุคคลนี้อยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ไม่ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ไม่ถึงความสิ้นไป และไม่ได้บรรลุธรรมอัน ปลอดโปร่งจากโยคะอย่างสูงที่ยังไม่บรรลุด้วย ส่วนปัจจัยเครื่องอุดหนุนชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารเหล่าใด ที่บรรพชิตจำต้องนำมาบริโภค ปัจจัยเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นได้โดยยาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นไม่ต้องบอกบุคคลนั้น ควรหลีกไปเสียในเวลา กลางวัน หรือกลางคืน ไม่ควรพัวพันกะบุคคลนั้นเลย. [๒๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าไปอาศัยบุคคลใดบุคคลหนึ่งอยู่ เมื่อเธอเข้าไปอาศัยบุคคลนั้น สติที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ไม่ตั้งมั่น อาสวะ ที่ยังไม่สิ้นไปก็ไม่ถึงความสิ้นไป และภิกษุนั้นไม่ได้บรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอย่างสูงที่ ยังไม่บรรลุด้วย ส่วนปัจจัยเครื่องอุดหนุนชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลาน ปัจจัยเภสัชบริขารเหล่าใด ที่บรรพชิตจำต้องนำมาบริโภค ปัจจัยเหล่านั้นย่อมเกิดขึ้นได้โดยไม่ยาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเข้ามาอาศัยบุคคลนี้อยู่ เมื่อเราเข้ามาอาศัย บุคคลนี้อยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ไม่ตั้งมั่น อาสนะที่ยังไม่สิ้นไปก็ไม่ถึง ความสิ้นไป และเราไม่ได้บรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอย่างสูงที่ยังไม่บรรลุด้วย ส่วนปัจจัย เครื่องอุดหนุนชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารเหล่าใด ที่ บรรพชิตจำต้องนำมาบริโภค ปัจจัยเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นได้โดยไม่ยาก แต่ว่าเราไม่ได้ออกจาก เรือนบวชเป็นบรรพชิต เพราะเหตุแห่งจีวร เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต เพราะเหตุแห่งเสนาสนะ เพราะเหตุแห่งคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ก็ครั้นเป็นเช่นนั้น เมื่อเราเข้ามาอาศัยบุคคลนี้อยู่ สติที่ยัง ไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ไม่ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ไม่ถึงความสิ้นไป และ เราไม่ได้บรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอย่างสูงที่ยังไม่บรรลุด้วย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้น แม้รู้แล้วไม่ต้องบอกบุคคลนั้น ควรหลีกไปเสีย ไม่ควรพัวพันกะบุคคลนั้นเลย. [๒๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าไปอาศัยบุคคลใดบุคคลหนึ่งอยู่ เมื่อเธอเข้าไปอาศัยบุคคลนั้นอยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ตั้งมั่น อาสวะ ที่ยังไม่สิ้นไปก็ถึงความสิ้นไป และภิกษุนั้นได้บรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอย่างสูงที่ยังไม่- *บรรลุด้วย ส่วนปัจจัยเครื่องอุดหนุนชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัช บริขารเหล่าใดที่บรรพชิตจำต้องนำมาบริโภค ปัจจัยเหล่านั้นย่อมเกิดขึ้นได้โดยยาก ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเข้ามาอาศัยบุคคลนี้อยู่ เมื่อเราเข้ามาอาศัยบุคคลนี้อยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ถึงความสิ้นไป และ เราได้บรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอย่างสูงที่ยังไม่บรรลุด้วย ส่วนปัจจัยเครื่องอุดหนุนชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารเหล่าใด ที่บรรพชิตจำต้องนำมา บริโภค ปัจจัยเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นได้โดยยาก แต่ว่าเราไม่ได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เพราะเหตุแห่งจีวร เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต เพราะเหตุแห่งเสนาสนะ เพราะเหตุแห่งคิลาน ปัจจัยเภสัชบริขาร ก็ครั้นเป็นเช่นนั้น เมื่อเราเข้ามาอาศัยบุคคลนี้อยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ถึงความสิ้นไป และเราได้บรรลุธรรมอันปลอดโปร่ง จากโยคะอย่างสูงที่ยังไม่บรรลุด้วย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นแม้รู้แล้วก็ควรพัวพันกะบุคคลนั้น ไม่ควรหลีกไปเสีย. [๒๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าไปอาศัยบุคคลใดบุคคลหนึ่ง อยู่ เมื่อเธอเข้าไปอาศัยบุคคลนั้นอยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ตั้งมั่น อาสวะ ที่ยังไม่สิ้นไปก็ถึงความสิ้นไป และภิกษุนั้นได้บรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอย่างสูง ที่ยังไม่ บรรลุด้วย ส่วนปัจจัยเครื่องอุดหนุนชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัช บริขารเหล่าใด ที่บรรพชิตจำต้องนำมาบริโภค ปัจจัยเหล่านั้นย่อมเกิดขึ้นได้โดยไม่ยาก ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเข้ามาอาศัยบุคคลนี้อยู่ เมื่อเข้ามาอาศัยบุคคลนี้อยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ถึงความสิ้นไป และ เราได้บรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอย่างสูง ที่ยังไม่บรรลุด้วย ส่วนปัจจัยเครื่องอุดหนุนชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารเหล่าใด ที่บรรพชิตจำต้องนำมา บริโภค ปัจจัยเหล่านั้นย่อมเกิดขึ้นได้โดยไม่ยาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นควรพัวพันอยู่ กะบุคคลนั้นจนตลอดชีวิต ไม่ควรหลีกไปเสีย แม้จะถูกขับไล่ก็ตาม. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจชื่นชมยินดีพระภาษิตของ พระผู้มีพระภาคแล้วแล.
จบ วนปัตถสูตร ที่ ๗
-----------------------------------------------------
๘. มธุปิณฑิกสูตร
ว่าด้วยธรรมบรรยายที่ไพเราะ
[๒๔๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตพระนครกบิลพัสดุ์ ใน สักกชนบท. ครั้งนั้นเป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้า เข้าไปสู่พระนครกบิลพัสดุ์ เพื่อบิณฑบาต. ครั้นเสร็จจากการเสด็จเที่ยวไปบิณฑบาตแล้ว เสด็จ เข้าไปยังป่ามหาวัน เพื่อทรงพักในเวลากลางวัน ครั้นถึงแล้ว จึงประทับนั่งพักกลางวัน ณ โคนต้นมะตูมหนุ่ม แม้ทัณฑปาณิศากยะ กำลังเสด็จเที่ยวเดินเล่น ได้เสด็จเข้าไปยังป่า มหาวัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังต้นมะตูมหนุ่ม ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการ ปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้ยืนยันไม้เท้า ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้ทูลถามพระผู้มี พระภาคดังนี้ว่า พระสมณะมีปกติกล่าวอย่างไร มีปกติบอกอย่างไร?
ตรัสตอบปัญหาทัณฑปาณิศากยะ
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรผู้มีอายุ บุคคลมีปกติกล่าวอย่างไรจึงจะไม่โต้เถียงกัน กับผู้ใดผู้หนึ่งในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะและ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ดำรงอยู่ในโลก และสัญญาทั้งหลายจะไม่ครอบงำพราหมณ์ผู้อยู่ ปราศจากกามทั้งหลายนั้น ผู้ไม่ลังเล ผู้ตัดความคะนองได้แล้ว ผู้ปราศจากตัณหาในภพน้อยภพใหญ่ได้ อย่างไร เรามีปกติกล่าวอย่างนั้น มีปกติบอกอย่างนั้น. เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ทัณฑปาณิศากยะได้สั่นศีรษะ แลบลิ้น ทำหน้าผากย่นเป็น ๓ รอย ถือไม้เท้ายันหลีกไป. [๒๔๔] ครั้งนั้น เวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้น แล้วเสด็จเข้าไป ยังนิโครธาราม ประทับ ณ อาสนะที่เขาจัดถวาย ครั้นแล้ว ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจะเล่าให้ฟัง เวลาเช้า เรานุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวร เข้าไปสู่พระนคร กบิลพัสดุ์ เพื่อบิณฑบาต ครั้นเสร็จจากการเที่ยวไปบิณฑบาตแล้ว เข้าไปยังป่ามหาวัน เพื่อ พักในเวลากลางวัน ครั้นถึงแล้ว จึงนั่งพักกลางวัน ณ โคนต้นมะตูมหนุ่ม. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ทัณฑปาณิศากยะเสด็จเที่ยวเดินเล่น ได้เข้าไปยังป่ามหาวัน ครั้นแล้วเข้าไปหาเรายังต้นมะตูม หนุ่ม ได้ปราศรัยกับเรา ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้ยืนยันไม้เท้า ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง และได้ถามเราว่า พระมหาสมณะมีปกติกล่าวอย่างไร มีปกติบอกอย่างไร? ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เมื่อทัณฑปาณิศากยะ กล่าวอย่างนั้นแล้ว เราได้ตอบว่า ดูกรผู้มีอายุ บุคคลมีปกติกล่าว อย่างไร จึงจะไม่โต้เถียงกันกับผู้ใดผู้หนึ่งในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ดำรงอยู่ในโลก อนึ่ง สัญญาทั้งหลายจะไม่ครอบงำ พราหมณ์ผู้ปราศจากกามทั้งหลายนั้น ผู้ไม่ลังเล ผู้ตัดความคะนองได้แล้ว ผู้ปราศจากตัณหาใน ภพน้อยภพใหญ่ได้อย่างไร เรามีปกติกล่าวอย่างนั้น มีปกติบอกอย่างนั้น. เมื่อเรากล่าวอย่างนี้ แล้ว ทัณฑปาณิศากยะ สั่นศีรษะ แลบลิ้น ทำหน้าผากย่นเป็น ๓ รอย ถือไม้เท้ายันหลีกไป. [๒๔๕] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามขึ้นว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคมีปกติตรัสอย่างไร จึงไม่โต้เถียงกับผู้ใดผู้หนึ่งในโลก พร้อมทั้ง เทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ดำรงอยู่ในโลก อนึ่ง สัญญาทั้งหลายจะไม่ครอบงำพราหมณ์ผู้ปราศจากกามทั้งหลายนั้น ผู้ไม่ลังเล ผู้ตัดความ คะนองได้แล้ว ผู้ปราศจากตัณหาในภพน้อยภพใหญ่ได้อย่างไร? พระผู้มีพระภาคตอบว่า ดูกรภิกษุ ส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้า ย่อมครอบงำบุรุษ เพราะเหตุใด ถ้าการที่บุคคลจะเพลิดเพลิน ยึดถือ กล้ำกลืน ไม่มีในเหตุนั้น อันนี้เทียวเป็น ที่สุดแห่งราคานุสัย เป็นที่สุดแห่งปฏิฆานุสัย เป็นที่สุดแห่งทิฏฐานุสัย เป็นที่สุดแห่งวิกิจฉา นุสัย เป็นที่สุดแห่งมานานุสัย เป็นที่สุดแห่งภวราคานุสัย เป็นที่สุดแห่งอวิชชานุสัย เป็น ที่สุดแห่งการจับท่อนไม้ การจับศาตรา การทะเลาะ การถือผิด การโต้เถียง การด่าว่า การ ส่อเสียดยุยง และการกล่าวเท็จ อกุศลธรรมอันลามกเหล่านี้ ย่อมดับไปโดยไม่เหลือ ในเพราะ เหตุนั้น. ครั้นพระผู้มีพระภาคผู้สุคตเจ้าได้ตรัสดังนี้แล้ว ก็เสด็จลุกจากอาสนะเข้าที่ประทับเสีย.
ทรงแสดงอุเทศโดยย่อ
[๒๔๖] ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จหลีกไปไม่นาน ภิกษุเหล่านั้นก็บังเกิดความ สงสัยว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุเทศนี้โดยย่อว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้า ย่อมครอบงำบุรุษ เพราะเหตุใด ถ้าการที่บุคคลจะเพลิดเพลิน ยึดถือ กล้ำกลืน ไม่มีในเหตุนั้น อันนี้เทียวเป็นที่สุดแห่งราคานุสัย เป็นที่สุดแห่งปฏิฆานุสัย เป็นที่สุดแห่งทิฏฐานุสัย เป็นที่สุดแห่งวิจิกิจฉานุสัย เป็นที่สุดแห่งมานานุสัย เป็นที่สุดแห่ง ภวราคานุสัย เป็นที่สุดแห่งอวิชชานุสัย เป็นที่สุดแห่งการจับท่อนไม้ การจับศาตรา การทะเลาะ การถือผิด การโต้เถียง การด่าว่า การส่อเสียดยุยง และการกล่าวเท็จ อกุศลธรรมอันลามกเหล่านี้ ย่อมดับไปโดยไม่เหลือ ในเพราะเหตุนั้น แล้วไม่ทรงชี้แจงเนื้อความให้พิสดาร เสด็จลุกจากอาสนะ เข้าที่ประทับเสีย ใครหนอ จะชี้แจงเนื้อความแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรง ชี้แจงโดยพิสดาร ให้พิสดารได้. ลำดับนั้น ภิกษุเหล่านั้นก็บังเกิดความคิดว่า ท่านพระมหากัจจานะ นี้แล อันพระศาสดาทรงยกย่องแล้ว และเพื่อนพรหมจรรย์ผู้รู้สรรเสริญแล้ว และท่านพระมหา- กัจจานะ สามารถจะชี้แจงเนื้อความแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรงชี้แจง โดยพิสดาร ให้พิสดารได้ ผิฉะนั้น เราทั้งหลายควรพากันไปหาท่านมหากัจจานะถึงที่อยู่ แล้ว สอบถามเนื้อความนี้กะท่านพระมหากัจจานะ. ลำดับนั้น ภิกษุเหล่านั้นได้เข้าไปหาท่านพระมหา- กัจจานะถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระมหากัจจานะว่า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไป แล้ว พากันนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง และพูดกะท่านมหากัจจานะว่า ข้าแต่ท่านพระกัจจานะ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุเทศนี้ไว้โดยย่อว่า ดูกรภิกษุ ส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้า ย่อม ครอบงำบุรุษเพราะเหตุใด ถ้าการที่บุคคลจะเพลิดเพลิน ยึดถือ กล้ำกลืน ไม่มีในเหตุนั้น อันนี้เทียวเป็นที่สุดแห่งราคานุสัย เป็นที่สุดแห่งปฏิฆานุสัย เป็นที่สุดแห่งทิฏฐานุสัย เป็น เป็นที่สุดแห่งวิจิกิจฉานุสัย เป็นที่สุดแห่งมานานุสัย เป็นที่สุดแห่งภวราคานุสัย เป็นที่สุดแห่ง อวิชชานุสัย เป็นที่สุดแห่งการจับท่อนไม้ การจับศาตรา การทะเลาะ การถือผิด การโต้เถียง การด่าว่า การส่อเสียดยุยง และการกล่าวเท็จ อกุศลธรรมเหล่านี้ ย่อมดับไปโดยไม่เหลือ ใน เพราะเหตุนั้น แล้วไม่ทรงชี้แจงเนื้อความให้พิสดาร เสด็จลุกจากอาสนะเข้าที่ประทับเสีย ข้าแต่ท่านพระกัจจานะ เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงหลีกไปไม่นาน พวกผมได้บังเกิดความสงสัยดังนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุเทศนี้ไว้โดยย่อ แล้วไม่ทรงชี้แจงเนื้อความ ให้พิสดาร เสด็จลุกจากอาสนะเข้าที่ประทับเสีย ใครหนอจะชี้แจงเนื้อความแห่งอุเทศที่พระผู้มี พระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรงชี้แจงโดยพิสดาร ให้พิสดารได้ ข้าแต่ท่านพระกัจจานะ ผมเหล่านั้นก็บังเกิดความคิดว่า ท่านมหากัจจานะนี้อันพระศาสดาทรงยกย่องแล้ว และเพื่อน พรหมจรรย์ผู้รู้สรรเสริญแล้ว และท่านมหากัจจานะนี้ สามารถจะชี้แจงเนื้อความแห่งอุเทศที่พระ ผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรงชี้แจงโดยพิสดาร ให้พิสดารได้ ผิฉะนั้น เราทั้งหลาย ควรพากันเข้าไปหาท่านกัจจานะถึงที่อยู่ แล้วสอบถามเนื้อความนี้กะท่านมหากัจจานะดู ขอท่าน มหากัจจานะจงชี้แจงไปเถิด. [๒๔๗] ท่านพระมหากัจจานะจึงกล่าวตอบว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เปรียบเหมือน บุรุษผู้มีความต้องการแก่นไม้ เสาะหาแก่นไม้ เที่ยวแสวงหาแก่นไม้อยู่ ก็ล่วงเลยโคนต้นและลำต้น ของต้นไม้ใหญ่อันมีแก่นเสีย สำคัญว่าจะพึงแสวงหาแก่นที่กิ่งและใบฉันใด ข้ออุปมัยนี้ก็ฉันนั้น เมื่อพระศาสดาทรงปรากฏอยู่เฉพาะหน้าท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายก็ล่วงเลยพระองค์ไปเสีย แล้วกลับจะมาไต่ถามเนื้อความนี้กะผม ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็พระผู้มีพระภาคนั้น ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นผู้มีพระจักษุ เป็นผู้มีพระญาณ มีธรรม เป็นพรหม เป็นผู้เผยแผ่ เป็นผู้ประกาศ เป็นผู้ขยายเนื้อความ เป็นผู้ให้อมตธรรม เป็นเจ้าของแห่งธรรม เป็นพระตถาคต และเวลานี้ก็เป็น เวลาอันสมควรที่ท่านทั้งหลายจะทูลถามเนื้อความนี้ต่อพระผู้มีพระภาคแท้ พระองค์ทรงแก้ไขอย่างไร ท่านทั้งหลายก็ควรจำไว้อย่างนั้น. ภิกษุเหล่านั้นได้กล่าวตอบว่า ข้าแต่ท่านพระกัจจานะ พระผู้มีพระภาคทรงรู้ ทรงเห็น เป็นผู้มีพระจักษุ เป็นผู้มีพยาน เป็นผู้มีธรรม เป็นพรหม เป็นผู้เผยแผ่ เป็นผู้ประกาศ เป็น ผู้ขยายเนื้อความ เป็นผู้ให้อมตธรรม เป็นเจ้าของแห่งธรรม เป็นพระตถาคต และเวลานี้ก็เป็น เวลาอันสมควรที่กระผมทั้งหลาย จะทูลถามเนื้อความนี้ต่อพระผู้มีพระภาคแท้ พระองค์ทรงแก้ไข อย่างไร กระผมทั้งหลายควรจำไว้อย่างนั้น ก็จริงอยู่แล แต่ว่า ท่านพระมหากัจจานะอัน พระศาสดาทรงยกย่องแล้ว และเพื่อนพรหมจรรย์ผู้รู้สรรเสริญแล้ว และท่านพระมหากัจจานะ ก็สามารถจะชี้แจงเนื้อความแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงไว้โดยย่อว่า ไม่ทรงชี้แจงโดย พิสดาร ให้พิสดารได้ ขอท่านพระมหากัจจานะจงชี้แจงไปเถิด อย่าทำความหนักใจให้เลย.
พระมหากัจจานะแสดงอุเทศโดยพิสดาร
[๒๔๘] ท่านมหากัจจานะจึงกล่าวว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น พวกท่าน จงฟัง จงใส่ใจให้ดี ผมจะกล่าว. ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว. ท่านพระมหากัจจานะจึงกล่าวดังนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุเทศไว้โดยย่อว่า ดูกรภิกษุ ส่วนแห่งสัญญา เครื่องเนิ่นช้า ย่อมครอบงำบุรุษ เพราะเหตุใด ถ้าการที่บุคคลจะเพลิดเพลิน ยึดถือ กล้ำกลืน ไม่มีในเหตุนั้นอันนี้แลเป็นที่สุดแห่งราคานุสัย เป็นที่สุดแห่งปฏิฆานุสัย เป็นที่สุดแห่งทิฏฐานุสัย เป็นที่สุดแห่งวิจิกิจฉานุสัย เป็นที่สุดแห่งมานานุสัย เป็นที่สุดแห่งภวราคานุสัย เป็นที่สุดแห่ง อวิชชานุสัย เป็นที่สุดแห่งการจับท่อนไม้ การจับศาตรา การทะเลาะ การถือผิด การโต้เถียง การ ด่าว่า การส่อเสียดยุยง และการกล่าวเท็จ อกุศลธรรมอันลามกเหล่านี้ ย่อมดับไปโดยไม่เหลือ ในเพราะเหตุนั้น แล้วไม่ทรงชี้แจง เนื้อความให้พิสดาร เสด็จลุกจากอาสนะเข้าที่ประทับเสีย ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ผมรู้ถึงเนื้อความแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรง ชี้แจงเนื้อความไว้โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้อย่างนี้- ๑. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย จักขุวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยตาและรูป เพราะประชุม ธรรม ๓ ประการ จึงเกิดผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา บุคคลเสวยเวทนาอันใด ก็จำ เวทนาอันนั้น บุคคลจำเวทนาอันใด ก็ตรึกถึงเวทนาอันนั้น บุคคลตรึกถึงเวทนาอันใด ก็เนิ่น ช้าอยู่ที่เวทนาอันนั้น บุคคลเนิ่นช้าอยู่ที่เวทนาอันใด ส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้า ก็ครอบงำ บุรุษ เพราะเนิ่นช้าอยู่ที่เวทนานั้นเป็นเหตุ ในรูปทั้งหลายที่พึงจะรู้ด้วยตาเป็นอดีตก็ดี เป็นอนาคต ก็ดี เป็นปัจจุบันก็ดี. ๒. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย โสตวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยหูและเสียง ... ๓. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ฆานวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยจมูกและกลิ่น ... ๔. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ชิวหาวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยลิ้นและรส ... ๕. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย กายวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะ ... ๖. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย มโนวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยใจและธรรมารมณ์ เพราะ ประชุมธรรม ๓ ประการ จึงเกิดผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงเกิดเวทนา บุคคลเสวย เวทนาอันใด ก็จำเวทนาอันนั้น บุคคลจำเวทนาอันใด ก็ตรึกถึงเวทนาอันนั้น บุคคลตรึกถึงเวทนา อันใด ก็เนิ่นช้าอยู่ที่เวทนาอันนั้น บุคคลเนิ่นช้าอยู่ที่เวทนาอันใด ส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้า ก็ครอบงำบุรุษ เพราะเนิ่นช้าอยู่ที่เวทนานั้นเป็นเหตุ ในธรรมารมณ์ทั้งหลายที่จะพึงรู้ได้ด้วยใจ เป็นอดีตก็ดี เป็นอนาคตก็ดี เป็นปัจจุบันก็ดี. ๑. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อตามี รูปมี และจักขุวิญญาณมี เขา จักบัญญัติว่า ผัสสะ ข้อนี้มีฐานะที่จะมีได้ เมื่อการบัญญัติผัสสะมี เขาจักบัญญัติว่าเวทนา ข้อนี้เป็นฐานะที่ จะมีได้ เมื่อการบัญญัติว่าเวทนามี เขาจักบัญญัติสัญญา ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อการบัญญัติ สัญญามี เขาจักบัญญัติวิตก ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อการบัญญัติวิตกมี เขาจักบัญญัติว่าการ ครอบงำส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้า ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้. ๒. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อมีหู เสียงมี ... ๓. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อจมูกมี กลิ่นมี ... ๔. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อลิ้นมี รสมี ... ๕. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อกายมี โผฏฐัพพะมี ... ๖. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อใจมี ธรรมารมณ์มี และมโนวิญญาณมี เขาจัก บัญญัติว่าผัสสะ ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อการบัญญัติผัสสะมี เขาจักบัญญัติว่าเวทนา ข้อนี้ เป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อการบัญญัติเวทนามี เขาจักบัญญัติว่าสัญญา ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อการบัญญัติสัญญามี เขาจักบัญญัติว่าวิตก ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อการบัญญัติวิตกมี เขาจักบัญญัติว่าการครอบงำส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้า ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้. ๑. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อตาไม่มี รูปไม่มี และจักขุวิญญาณไม่มี เขาจักบัญญัติ ว่าผัสสะ ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ เมื่อการบัญญัติผัสสะไม่มี เขาจักบัญญัติว่าเวทนา ข้อนี้มิใช่ ฐานะที่จะมีได้ เมื่อการบัญญัติเวทนาไม่มี เขาจักบัญญัติว่าสัญญา ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ เมื่อการบัญญัติสัญญาไม่มี เขาจักบัญญัติว่าวิตก ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ เมื่อการบัญญัติวิตก ไม่มี เขาจักบัญญัติว่าการครอบงำส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้า ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้. ๒. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อหูไม่มี เสียงไม่มี ... ๓. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อจมูกไม่มี กลิ่นไม่มี ... ๔. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อลิ้นไม่มี รสไม่มี ... ๕. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อกายไม่มี โผฏฐัพพะไม่มี ... ๖. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อใจไม่มี ธรรมารมณ์ไม่มี และมโนวิญญาณไม่มี เขาจักบัญญัติว่าผัสสะ ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ เมื่อการบัญญัติผัสสะไม่มี เขาจักบัญญัติว่า เวทนา ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ เมื่อการบัญญัติเวทนาไม่มี เขาจักบัญญัติว่าสัญญา ข้อนี้มิใช่ ฐานะที่จะมีได้ เมื่อการบัญญัติสัญญาไม่มี เขาจักบัญญัติว่าวิตก ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ เมื่อ การบัญญัติวิตกไม่มี เขาจักบัญญัติว่าการครอบงำส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้า ข้อนี้มิใช่ฐานะ ที่จะมีได้. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุเทศนี้ไว้โดยย่อว่า ดูกรภิกษุ ส่วน แห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้า ย่อมครอบงำบุรุษเพราะเหตุใด ถ้าการที่บุคคลจะเพลิดเพลิน ยึดถือ กล้ำกลืน ไม่มีในเหตุนั้น อันนี้เทียว เป็นที่สุดแห่งราคานุสัย เป็นที่สุดแห่งปฏิฆานุสัย เป็น ที่สุดแห่งทิฏฐานุสัย เป็นที่สุดแห่งวิจิกิจฉานุสัย เป็นที่สุดแห่งมานานุสัย เป็นที่สุดแห่ง ภวราคานุสัย เป็นที่สุดแห่งอวิชชานุสัย เป็นที่สุดแห่งการท่อนไม้ การจับศาสตรา การทะเลาะ การถือผิด การโต้เถียงกัน การด่าว่ากัน การส่อเสียดยุยง และการกล่าวเท็จ อกุศลธรรมอัน ลามกเหล่านี้ ย่อมดับไปโดยไม่เหลือ ในเพราะเหตุนั้น แล้วไม่ทรงชี้แจงเนื้อความให้พิสดาร เสด็จลุกจากอาสนะเข้าที่ประทับเสีย ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ผมรู้ถึงเนื้อความแห่งอุเทศที่ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อนี้ ไม่ทรงชี้แจงเนื้อความไว้โดยพิสดาร ให้พิสดารได้อย่างนี้. ก็แลเมื่อท่านทั้งหลายปรารถนา ก็พึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค แล้วทูลถามเนื้อความนั้น พระผู้ มีพระภาคทรงพยากรณ์ประการใด ท่านทั้งหลายพึงทรงจำข้อนั้นไว้โดยประการนั้นเถิด. [๒๔๙] ลำดับนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นชื่นชมยินดีภาษิตของท่านมหากัจจานะ แล้วลุกจาก อาสนะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้น แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุเทศไว้โดย ย่อว่า ดูกรภิกษุ ส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้าย่อมครอบงำบุรุษ เพราะเหตุใด ถ้าการที่บุคคล จะเพลิดเพลิน ยึดถือ กล้ำกลืน ไม่มีในเหตุนั้น อันนี้เทียว เป็นที่สุดแห่งราคานุสัย เป็น ที่สุดแห่งปฏิฆานุสัย เป็นที่สุดแห่งทิฏฐานุสัย เป็นที่สุดแห่งวิจิกิจฉานุสัย เป็นที่สุดแห่งมานานุ สัย เป็นที่สุดแห่งภวราคานุสัย เป็นที่สุดแห่งอวิชชานุสัย เป็นที่สุดแห่งการจับท่อนไม้ การจับ ศาตรา การทะเลาะ การถือผิด การโต้เถียงกัน การด่าว่ากัน การส่อเสียดยุยง และการ กล่าวเท็จ อกุศลธรรมอันลามกเหล่านี้ ย่อมดับไปโดยไม่เหลือ ในเพราะเหตุนั้น ไม่ทรงชี้แจง เนื้อความให้พิสดาร แล้วเสด็จลุกจากอาสนะเข้าที่ประทับเสีย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อ พระผู้มีพระภาคหลีกไปไม่นาน พวกข้าพระองค์ได้บังเกิดความสงสัยดังนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุเทศนี้ไว้โดยย่อ ...ไม่ทรงชี้แจงเนื้อความให้พิสดารแล้วเสด็จ ลุกจากอาสนะเข้าที่ประทับเสีย ใครหนอ จะชี้แจงเนื้อความแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง ไว้โดยย่อนี้ ไม่ทรงชี้แจงเนื้อความไว้โดยพิสดาร ให้พิสดารได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้า พระองค์ก็บังเกิดความคิดขึ้นว่า ท่านพระมหากัจจานะนี้อันพระศาสดาทรงยกย่องแล้ว และ เพื่อนพรหมจรรย์ผู้รู้สรรเสริญแล้ว และท่านพระมหากัจจานะ ก็สามารถจะชี้แจงเนื้อความแห่ง อุเทศที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรงชี้แจงเนื้อความไว้โดยพิสดาร ให้พิสดารได้ ผิฉะนั้น เราทั้งหลายจะพากันไปหาท่านพระมหากัจจานะยังที่อยู่ แล้วสอบถามเนื้อความนี้ กะท่านพระมหากัจจานะดู. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ลำดับนั้นเอง ข้าพระองค์ทั้งหลายได้พากันเข้า ไปหาท่านมหากัจจานะถึงที่อยู่ แล้วสอบถามเนื้อความนี้กะท่านพระมหากัจจานะ. ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ท่านพระมหากัจจานะได้ชี้แจงเนื้อความด้วยอาการเหล่านี้ ด้วยบทเหล่านี้ ด้วยพยัญชนะ เหล่านี้ แก่พวกข้าพระองค์.
ทรงสรรเสริญพระมหากัจจานะ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระมหากัจจานะเป็นบัณฑิต เป็นผู้มีปัญญา มาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้พวกเธอจะถามเนื้อความนี้กะเรา แม้เราก็จะพึงพยากรณ์เนื้อความ นั้น เหมือนกับที่พระมหากัจจานะพยากรณ์แล้วนั้น นี่แหละเป็นเนื้อความแห่งข้อนั้น เธอ ทั้งหลายจงทรงจำข้อนั้นไว้เถิด. [๒๕๐] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์จึงกราบทูลพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เปรียบเหมือนบุรุษผู้ถูกความหิวความเหนื่อยอ่อนครอบงำ ได้ ขนมหวาน แล้วกินในเวลาใด ก็พึงได้รับรสอันอร่อยหวาน ชื่นชูใจในเวลานั้น ฉันใด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุนักคิด ชาติบัณฑิต พึงใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรมบรรยายนี้ด้วย ปัญญา ในเวลาใด ก็พึงได้ความพอใจ และได้ความเลื่อมใสแห่งใจในเวลานั้น ฉันนั้น ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ธรรมบรรยายนี้ชื่ออะไร. พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรอานนท์ เหตุดังนั้น เธอจงทรงจำธรรมบรรยายนี้ว่า มธุปิณฑิกปริยาย ดังนี้เถิด. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ท่านพระอานนท์มีใจชื่นชม ยินดีภาษิตของ พระผู้มีพระภาคแล้วแล.
จบ มธุปิณฑิกสูตร ที่ ๘
-----------------------------------------------------
๙. เทวธาวิตักกสูตร
ว่าด้วยความวิตก ๒ ส่วน
เรื่องวิตก
[๒๕๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว. [๒๕๒] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรายัง เป็นพระโพธิสัตว์ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ก่อนแต่ตรัสรู้ทีเดียว ได้คิดอย่างนี้ว่า ถ้ากระไร เราพึงแยก วิตกให้เป็น ๒ ส่วนๆ ดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นจึงแยก กามวิตก พยาบาทวิตก และวิหิงสา วิตก นี้ออกเป็นส่วนหนึ่ง และแยกเนกขัมมวิตก อัพยาบาทวิตก และอวิหิงสาวิตก นี้ออกเป็น ส่วนที่ ๒ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้น ไม่ประมาท มีความเพียรเครื่องเผากิเลส ส่งตนไปอยู่อย่างนี้ กามวิตกย่อมบังเกิดขึ้น เรานั้นย่อมทราบชัดอย่างนี้ว่า กามวิตกเกิดขึ้นแก่เราแล้วแล ก็แต่ว่า มันย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ย่อมเป็นไปเพื่อเบียด- *เบียนตนและผู้อื่นทั้งสองบ้าง ทำให้ปัญญาดับ ก่อให้เกิดความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อพระนิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า มันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า มันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป เมื่อเรา พิจารณาเห็นว่า มันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่นทั้งสองบ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป เมื่อ เราพิจารณาเห็นว่า มันทำให้ปัญญาดับ ทำให้เกิดความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อพระนิพพาน ดังนี้ บ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นแล ละเสีย บรรเทาเสีย ซึ่งกามวิตก ที่เกิดขึ้นแล้วๆ ได้ทำให้มันหมดสิ้นไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรานั้นไม่ประมาท มีความเพียร เครื่องเผากิเลส ส่งตนไปอยู่อย่างนี้ พยาบาทวิตกย่อมบังเกิดขึ้น ฯลฯ วิหิงสาวิตกย่อมบังเกิด ขึ้น เรานั้นย่อมทราบชัดอย่างนี้ว่า วิหิงสาวิตกนี้เกิดขึ้นแก่เราแล้วแล ก็แต่ว่า มันเป็นไปเพื่อ เบียดเบียนตนบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่นทั้งสอง บ้าง ทำให้ปัญญาดับ ทำให้เกิดความคับแค้นไม่เป็นไปเพื่อพระนิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อ เราพิจารณาเห็นว่า มันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป เมื่อเราพิจารณา เห็นว่ามันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า มัน เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่นทั้งสองบ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า มันทำให้ปัญญาดับ ทำให้เกิดความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อพระนิพพาน ดังนี้บ้าง มันก็ถึงความ ดับสูญไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นแลละเสีย บรรเทาเสีย ซึ่งวิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้นแล้วๆ ได้ทำให้มันหมดสิ้นไป. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยิ่งตรึก ยิ่งตรองถึงวิตกใดๆ มาก เธอก็มีใจน้อมไปข้างวิตก นั้นๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คือ ถ้าภิกษุยิ่งตรึก ยิ่งตรองถึงกามวิตกมาก เธอก็ละทิ้งเนกขัมมวิตก เสีย มากระทำอยู่แต่กามวิตกให้มาก จิตของเธอนั้นก็น้อมไปเพื่อกามวิตก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุยิ่งตรึก ยิ่งตรองถึงพยาบาทวิตกมาก เธอก็ละทิ้งอัพยาบาทวิตกเสีย มากระทำอยู่แต่ พยาบาทวิตกให้มาก จิตของเธอนั้นก็น้อมไปเพื่อพยาบาทวิตก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุยิ่งตรึก ยิ่งตรองถึงวิหิงสาวิตกมาก เธอก็ละทิ้งอวิหิงสาวิตกเสีย มากระทำอยู่แต่วิหิงสาวิตกให้มาก จิต ของเธอนั้นก็น้อมไปเพื่อวิหิงสาวิตก ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนในสรทสมัยเดือนท้ายแห่งปี คน เลี้ยงโคต้องคอยระวังโคทั้งหลายในที่คับคั่งด้วยข้าวกล้า เขาต้องตี ต้อนโคทั้งหลายจากที่นั้นๆ กั้นไว้ ห้ามไว้ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนเลี้ยงโคมองเห็นการฆ่า การถูกจำ การเสียทรัพย์ การถูกติเตียน เพราะโคทั้งหลายเป็นต้นเหตุ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรา ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ได้แลเห็นโทษ ความเลวทราม ความเศร้าหมอง ของอกุศลธรรมทั้งหลาย และ เห็นอานิสงส์ในการออกจากกาม อันเป็นฝ่ายแห่งความผ่องแผ้ว ของกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรานั้นไม่ประมาท มีความเพียรเครื่องเผากิเลส ส่งตนไปอยู่อย่างนี้ เนกขัมมวิตก ย่อมบังเกิดขึ้น เรานั้นย่อมทราบชัดอย่างนี้ว่า เนกขัมมวิตกนี้เกิดขึ้นแก่เราแล้วแล ก็แต่ว่า เนกขัมมวิตกนั้นไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตน ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ไม่เป็นไปเพื่อเบียด เบียนทั้งสองฝ่าย เป็นทางทำให้ปัญญาเจริญ ไม่ทำให้เกิดความคับแค้น เป็นไปเพื่อพระนิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าเราจะตรึกตรองถึงเนกขัมมวิตกนั้นอยู่ตลอดคืนก็ดี เราก็ยังมองไม่เห็นภัย อันจะบังเกิดแต่เนกขัมมวิตกนั้นได้เลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถึงหากเราจะตรึกตรองถึงเนกขัมมวิตก นั้นอยู่ตลอดทั้งกลางคืนและกลางวันก็ดี เราก็ยังมองไม่เห็นภัยอันจะบังเกิดขึ้นจากเนกขัมมวิตก นั้นได้เลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากเราจะตรึกตรองถึงเนกขัมมวิตกนั้น ตลอดทั้งกลางคืน และกลางวันก็ดี เราก็ยังไม่มองเห็นภัยอันจะบังเกิดขึ้นจากเนกขัมมวิตกนั้นได้เลย ก็แต่ว่า เมื่อเราตรึกตรองอยู่นานเกินไป ร่างกายก็เหน็ดเหนื่อย เมื่อร่างกายเหน็ดเหนื่อย จิตก็ฟุ้งซ่าน เมื่อจิตฟุ้งซ่าน จิตก็ห่างจากสมาธิ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นแลดำรงจิตไว้ในภายใน ทำให้สงบ ทำ ให้เกิดสมาธิ ประคองไว้ด้วยดี ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เพราะปรารถนาไว้ว่า จิตของเราอย่าฟุ้งซ่าน อีกเลย ดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรานั้นไม่ประมาท มีความเพียรเครื่องเผากิเลส ส่งตนไปแล้ว อยู่อย่างนี้อัพยาบาทวิตกย่อมบังเกิดขึ้น ฯลฯ อวิหิงสาวิตกย่อมบังเกิดขึ้น เรานั้นย่อมทราบชัด อย่างนี้ว่า อวิหิงสาวิตกนี้เกิดขึ้นแก่เราแล้วแล ก็แต่ว่า อวิหิงสาวิตกนั้นไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียน ตน ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้งสองฝ่าย [คือตนและบุคคลอื่น] เป็นทางทำให้ปัญญาเจริญ ไม่ทำให้เกิดความคับแค้น เป็นไปเพื่อพระนิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าเราจะตรึกตรองถึงอวิหิงสาวิตกนั้นอยู่ตลอดคืนก็ดี เราก็ยังไม่มองเห็นภัยอันจะเกิดขึ้นจาก อวิหิงสาวิตกนั้นได้เลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถึงหากเราจะตรึกตรองถึงอวิหิงสาวิตกนั้นอยู่ตลอด วันก็ดี เราก็ยังไม่มองเห็นภัยอันจะเกิดขึ้นจากอวิหิงสาวิตกนั้นได้เลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากเรา จะตรึกตรองถึงอวิหิงสาวิตนั้น ตลอดทั้งคืนและกลางวันก็ดี เราก็ยังมองไม่เห็นภัยภัยจะเกิดขึ้น จากอวิหิงสาวิตกนั้นได้เลย ก็แต่ว่า เมื่อเราตรึกตรองอยู่นานเกินไป ร่างกายก็เหน็ดเหนื่อย เมื่อ ร่างกายเหน็ดเหนื่อย จิตก็ฟุ้งซ่าน เมื่อจิตฟุ้งซ่าน จิตก็ห่างจากสมาธิ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรา นั้นแลดำรงจิตไว้ในภายใน ทำให้สงบ ทำให้เกิดสมาธิ ประคองไว้ด้วยดี ข้อนั้นเพราะเหตุ อะไร? เพราะหมายในใจว่า จิตของเราอย่าฟุ้งซ่านอีกเลยดังนี้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยิ่งตรึกยิ่งตรองถึงวิตกใดๆ มาก เธอก็มีใจน้อมไปข้างวิตกนั้นๆ มาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย คือ ถ้าภิกษุยิ่งตรึก ยิ่งตรองถึงเนกขัมมวิตกมาก เธอก็จะละกามวิตก เสียได้ ทำเนกขัมมวิตกอย่างเดียวให้มาก จิตของเธอก็จะน้อมไปเพื่อเนกขัมมวิตก ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ถ้าภิกษุยิ่งตรึกยิ่งตรองถึงอัพยาบาทวิตกมาก เธอก็จะละพยาบาทวิตกเสียได้ ทำอัพยาบาท- *วิตกอย่างเดียวให้มาก จิตของเธอก็จะน้อมไปเพื่ออัพยาบาทวิตก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุยิ่ง ตรึกยิ่งตรองถึงอวิหิงสาวิตกมาก เธอก็จะละวิหิงสาวิตกเสียได้ ทำอวิหิงสาวิตกอย่างเดียวให้มาก จิตของเธอก็น้อมไปเพื่ออวิหิงสาวิตก ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนในเดือนท้ายแห่งฤดูร้อน คน เลี้ยงโคจะต้องรักษาโคทั้งหลาย ในที่ใกล้บ้านในทุกด้าน เมื่อเข้าไปสู่โคนต้นไม้ หรือไปสู่ที่ แจ้ง จะต้องทำสติอยู่เสมอว่า นั้นฝูงโค [ของเรา] ดังนี้ ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราก็ ฉันนั้น ต้องทำสติอยู่เสมอว่า เหล่านี้เป็นธรรม [คือกุศลวิตก] ดังนี้.
ว่าด้วยวิชชา ๓
[๒๕๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราได้ปรารภความเพียร มีความเพียรไม่ย่อหย่อนแล้ว มี สติมั่นคง ไม่เลอะเลือนแล้ว มีกายสงบ ไม่กระสับกระส่ายแล้ว มีจิตตั้งมั่น มีอารมณ์เป็น อันเดียว ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นแล สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปิติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งใจในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ อยู่ ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ... บรรลุจตุตถฌาน ... เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มี กิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิต ไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอักมาก คือระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สอง ชาติบ้าง ฯลฯ เรานั้นย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย วิชชาที่หนึ่งนี้แล เราบรรลุแล้วในปฐมยามแห่งราตรี เรากำจัดอวิชชาเสียแล้ว วิชชาจึงบังเกิดขึ้น กำจัดความมืดเสียแล้ว ความสว่างจึงบังเกิดขึ้น ก็เพราะเราไม่ประมาท มีความเพียรเครื่องเผากิเลส ส่งตนไปอยู่ ฉะนั้น เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้แล้ว เราจึง โน้มน้อมจิตไปเพื่อรู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย เรานั้นย่อมเห็นสัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วง จักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เมื่อตายไป เขาเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจ สัมมาทิฏฐิ เมื่อตายไป เขาเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้ เราย่อมเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลัง อุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิชชาที่สองนี้แล เราบรรลุแล้วในมัชฌิมยามแห่งราตรี เรากำจัดอวิชชาเสียแล้ว วิชชาจึงบังเกิด ขึ้น กำจัดความมืดเสียแล้ว ความสว่างจึงเกิดขึ้น ก็เพราะเราไม่ประมาท มีความเพียรเครื่องเผา กิเลส ส่งตนไปอยู่ ฉะนั้น เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจาก อุปกิเลส อ่อน ควร แก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ จึงโน้มน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เหล่านี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อเรานั้นรู้เห็นอย่างนี้ จิตจึงหลุดพ้นแล้ว แม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จ แล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิชชาที่สามนี้แล เราบรรลุ แล้วในปัจฉิมยามแห่งราตรี เรากำจัดอวิชชาเสียแล้ว วิชชาจึงบังเกิดขึ้น กำจัดความมืดเสียแล้ว ความสว่างจึงบังเกิดขึ้น ก็เพราะเราไม่ประมาท มีความเพียรเครื่องเผากิเลสส่งตนไปอยู่ ฉะนั้น.
ทางปลอดภัยและไม่ปลอดภัย
[๒๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย มีหมู่เนื้อเป็นอันมาก พากันเข้าไปอาศัยบึงใหญ่ในป่าดงอยู่ ยังมีบุรุษคนหนึ่งปรารถนาความพินาศ ประสงค์ความไม่เกื้อกูล ใคร่ความไม่ปลอดภัย เกิดขึ้น แก่หมู่เนื้อนั้น เขาปิดทางที่ปลอดภัย สะดวก ไปได้ ตามชอบใจของหมู่เนื้อนั้นเสีย เปิดทาง ที่ไม่สะดวกไว้ วางเนื้อต่อตัวผู้ไว้ วางนางเนื้อต่อไว้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเป็นเช่นนี้ โดยสมัย ต่อมา หมู่เนื้อเป็นอันมาก ก็พากันมาตายเสีย จนเบาบาง ดูกรภิกษุทั้งหลาย แต่ยังมีบุรุษอีก คนหนึ่งปรารถนาประโยชน์ ใคร่ความเกื้อกูล ใคร่ความปลอดภัย แก่หมู่เนื้อเป็นอันมากนั้น เขาเปิดทางที่ปลอดภัย สะดวก ไปได้ตามชอบใจ ให้แก่หมู่เนื้อนั้น ปิดทางที่ไม่สะดวกเสีย กำจัดเนื้อต่อ เลิกนางเนื้อต่อ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเป็นเช่นนี้ โดยสมัยต่อมา หมู่เนื้อเป็น อันมาก จึงถึงความเจริญ คับคั่ง ล้นหลาม แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้ออุปมานี้ก็ฉันนั้น แล เราได้ทำขึ้นก็เพื่อจะให้พวกเธอรู้ความหมายของเนื้อความ ก็ในอุปมานั้น มีความหมาย ดังต่อไปนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำว่า บึงใหญ่ นี้เป็นชื่อของกามคุณทั้งหลาย คำว่า หมู่เนื้อ เป็นอันมาก นี้เป็นชื่อของหมู่สัตว์ทั้งหลาย คำว่า บุรุษผู้ปรารถนาความพินาศ ประสงค์ความ ไม่เกื้อกูล จำนงความไม่ปลอดภัย นี้เป็นชื่อของตัวมารผู้มีบาป คำว่า ทางที่ไม่สะดวก นี้เป็นชื่อของทางผิด อันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ คือ มิจฉาทิฏฐิ ๑ มิจฉาสังกัปปะ ๑ มิจฉาวาจา ๑ มิจฉากัมมันตะ ๑ มิจฉาอาชีวะ ๑ มิจฉาวายามะ ๑ มิจฉาสติ ๑ มิจฉาสมาธิ ๑ คำว่า เนื้อต่อตัวผู้ นี้เป็นชื่อของนันทิราคะ [ความกำหนัดด้วยความเพลิน] คำว่า นางเนื้อ ต่อ นี้เป็นชื่อของอวิชชา คำว่า บุรุษคนที่ปรารถนาประโยชน์ หวังความเกื้อกูล หวังความ ปลอดภัย [แก่เนื้อเหล่านั้น] นี้หมายเอาตถาคต อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า คำว่า ทางอัน ปลอดภัย สะดวก ไปได้ตามชอบใจ นี้เป็นชื่อของทางอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการซึ่งเป็น ทางถูกที่แท้จริง คือสัมมาทิฏฐิ ๑ สัมมาสังกัปปะ ๑ สัมมาวาจา ๑ สัมมากัมมันตะ ๑ สัมมาอาชีวะ ๑ สัมมาวายามะ ๑ สัมมาสติ ๑ สัมมาสมาธิ ๑. [๒๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยอาการดังที่กล่าวมานี้แล เป็นอันว่าทางอันปลอดภัย ซึ่งเป็นทางสวัสดี เป็นทางที่พวกเธอควรไปได้ด้วยความปลาบปลื้ม เราได้เผยให้แล้ว [และ] ปิดทางที่ไม่สะดวกให้ด้วย เนื้อต่อก็ได้กำจัดให้แล้ว ทั้งนางเนื้อต่อก็สังหารให้เสร็จ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย กิจอันใดที่ศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล เอ็นดู อาศัยความอนุเคราะห์ แก่เหล่า สาวกจะพึงทำ กิจอันนั้นเราทำแก่เธอทั้งหลายแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือน ว่างเปล่า เธอทั้งหลายจงเพ่งพินิจ อย่าประมาท อย่าได้เป็นผู้มีความเดือดร้อนในภายหลัง นี้เป็น คำพร่ำสอนของเราแก่เธอทั้งหลาย. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจชื่นชมยินดีภาษิตของ พระผู้มีพระภาคแล้วแล.
จบ เทฺวธาวิตักกสูตร ที่ ๙
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ บรรทัดที่ ๑-๔๐๙๘ หน้าที่ ๑-๑๖๕. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=1&Z=4098&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6], [7], [8], [9], [10], [11], [12], [13], [14], [15], [16], [17], [18], [19], [max20]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=12&siri=1              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=1              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [1-255] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=12&item=1&items=255              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=7&A=1              The Pali Tipitaka in Roman :- [1-255] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=12&item=1&items=255              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=7&A=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ https://84000.org/tipitaka/read/?index_12              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/12i001-e1.php# https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/12i001-e2.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/mn/mn.001.than.html https://suttacentral.net/mn1/en/sujato https://suttacentral.net/mn1/en/bodhi https://suttacentral.net/mn1/en/horner

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :