ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
             [๓๒๗] โพชฌงค์ ๗ อย่าง
                          ๑. สติสัมโพชฌงค์           	[องค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้คือความ
                                                    	ระลึกได้]
                          ๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์   	[องค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้คือการสอดส่อง
                                                    	ธรรม]
                          ๓. วิริยสัมโพชฌงค์         	[องค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้คือความเพียร]
                          ๔. ปีติสัมโพชฌงค์          	[องค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้คือความอิ่มใจ]
                          ๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์   	[องค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้คือความสงบ]
                          ๖. สมาธิสัมโพชฌงค์       	[องค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้คือความ
                                                    	ตั้งใจมั่น]
                          ๗. อุเปกขาสัมโพชฌงค์   	[องค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้คือ ความ
                                                    	วางเฉย]
             [๓๒๘] บริขารของสมาธิ ๗ อย่าง
                          ๑. สัมมาทิฏฐิ        	[ความเห็นชอบ]
                          ๒. สัมมาสังกัปปะ  	[ความดำริชอบ]
                          ๓. สัมมาวาจา        	[เจรจาชอบ]
                          ๔. สัมมากัมมันตะ  	[การงานชอบ]
                          ๕. สัมมาอาชีวะ     	[เลี้ยงชีวิตชอบ]
                          ๖. สัมมาวายามะ    	[พยายามชอบ]
                          ๗. สัมมาสติ          	[ระลึกชอบ]
             [๓๒๙] อสัทธรรม ๗ อย่าง
             ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
                          ๑. เป็นคนไม่มีศรัทธา
                          ๒. เป็นคนไม่มีหิริ
                          ๓. เป็นคนไม่มีโอตตัปปะ
                          ๔. เป็นคนมีสุตะน้อย
                          ๕. เป็นคนเกียจคร้าน
                          ๖. เป็นคนมีสติหลงลืม
                          ๗. เป็นคนมีปัญญาทราม
             [๓๓๐] สัทธรรม ๗ อย่าง
             ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
                          ๑. เป็นคนมีศรัทธา
                          ๒. เป็นคนมีหิริ
                          ๓. เป็นคนมีโอตตัปปะ
                          ๔. เป็นคนมีพหูสูต
                          ๕. เป็นคนปรารภความเพียร
                          ๖. เป็นคนมีสติมั่นคง
                          ๗. เป็นคนมีปัญญา
             [๓๓๑] สัปปุริสธรรม ๗ อย่าง
             ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
                          ๑. เป็นผู้รู้จักเหตุ
                          ๒. เป็นผู้รู้จักผล
                          ๓. เป็นผู้รู้จักตน
                          ๔. เป็นผู้รู้จักประมาณ
                          ๕. เป็นผู้รู้จักกาล
                          ๖. เป็นผู้รู้จักบริษัท
                          ๗. เป็นผู้รู้จักบุคคล
             [๓๓๒] นิททสวัตถุ ๗ อย่าง
             ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
             ๑. เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้าในการสมาทานสิกขา ทั้งเป็นผู้ไม่
หมดความรักในการสมาทานสิกขาต่อไปด้วย
             ๒. เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้าในการไตร่ตรองธรรม ทั้งเป็นผู้ไม่
หมดความรักในการไตร่ตรองธรรมต่อไปด้วย
             ๓. เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้าในการปราบปรามความอยาก ทั้งเป็น
ผู้ไม่หมดความรักในการปราบปรามความอยากต่อไปด้วย
             ๔. เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้าในการเร้นอยู่ ทั้งเป็นผู้ไม่หมดความ
รักในการเร้นอยู่ต่อไปด้วย
             ๕. เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้าในการปรารภความเพียร ทั้งเป็นผู้ไม่
หมดความรักในการปรารภความเพียรต่อไปด้วย
             ๖. เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้าในสติและปัญญาเครื่องรักษาตน ทั้ง
เป็นผู้ไม่หมดความรักในสติและปัญญาเครื่องรักษาตนต่อไปด้วย
             ๗. เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้าในการแทงตลอดซึ่งทิฐิ ทั้งเป็นผู้ไม่
หมดความรักในการแทงตลอดซึ่งทิฐิต่อไปด้วย
             [๓๓๓] สัญญา ๗ อย่าง
                          ๑. อนิจจสัญญา      	[กำหนดหมายความไม่เที่ยง]
                          ๒. อนัตตสัญญา     	[กำหนดหมายเป็นอนัตตา]
                          ๓. อสุภสัญญา       	[กำหนดหมายความไม่งาม]
                          ๔. อาทีนวสัญญา   	[กำหนดหมายโทษ]
                          ๕. ปหานสัญญา     	[กำหนดหมายเพื่อละ]
                          ๖. วิราคสัญญา       	[กำหนดหมายวิราคะ]
                          ๗. นิโรธสัญญา      	[กำหนดหมายนิโรธ]
             [๓๓๔] พละ ๗ อย่าง
                          ๑. สัทธาพละ       	[กำลังคือศรัทธา]
                          ๒. วิริยพละ         	[กำลังคือความเพียร]
                          ๓. หิริพละ          	[กำลังคือหิริ]
                          ๔. โอตตัปปพละ  	[กำลังคือโอตตัปปะ]
                          ๕. สติพละ          	[กำลังคือสติ]
                          ๖. สมาธิพละ       	[กำลังคือสมาธิ]
                          ๗. ปัญญาพละ    	[กำลังคือปัญญา]
             [๓๓๕] วิญญาณฐิติ ๗ อย่าง
             ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งมีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน
เช่นพวกมนุษย์และพวกเทพบางพวก พวกวินิปาติกะบางพวก นี้วิญญาณฐิติข้อ
ที่หนึ่ง
             ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งมีกายต่างกัน มีสัญญาอย่าง
เดียวกัน เช่นพวกเทพผู้นับเนื่องในพวกพรหมซึ่งเกิดในภูมิปฐมฌาน นี้วิญญาณ-
*ฐิติข้อที่สอง ฯ
             ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งมีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญา
ต่างกัน เช่นพวกเทพเหล่าอาภัสสระ นี้วิญญาณฐิติข้อที่สาม ฯ
             ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งมีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญา
อย่างเดียวกัน เช่นพวกเทพเหล่าสุภกิณหา นี้วิญญาณฐิติข้อที่สี่ ฯ
             ๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งเข้าถึงอากาสานัญจายตนะด้วย
มนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญา โดยประการทั้งปวง เพราะ
ดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา นี้วิญญาณฐิติข้อที่ห้า ฯ
             ๖. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะโดย
ประการทั้งปวงแล้ว เข้าถึงวิญญาณัญจายตนะด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้
นี้วิญญาณฐิติข้อที่หก ฯ
             ๗. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะโดย
ประการทั้งปวงแล้ว เข้าถึงอากิญจัญญายตนะด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร นี้วิญญาณ-
*ฐิติข้อที่เจ็ด ฯ
             [๓๓๖] ทักขิเณยยบุคคล ๗ อย่าง
                          ๑. อุภโตภาควิมุตต 	[ท่านผู้หลุดพ้นแล้วโดยส่วนทั้งสอง]
                          ๒. ปัญญาวิมุตต     	[ท่านผู้หลุดพ้นแล้วด้วยอำนาจปัญญา]
                          ๓. กายสักขิ            	[ท่านผู้สามารถด้วยกาย]
                          ๔. ทิฏฐิปัตต          	[ท่านผู้ถึงแล้วด้วยความเห็น]
                          ๕. สัทธาวิมุตต      	[ท่านผู้พ้นแล้วด้วยอำนาจศรัทธา]
                          ๖. ธัมมานุสารี        	[ท่านผู้ประพฤติตามธรรม]
                          ๗. สัทธานุสารี       	[ท่านผู้ประพฤติตามศรัทธา]
             [๓๓๗] อนุสัย ๗ อย่าง
                          ๑. กามราคานุสัย   	[สภาพที่นอนเนื่องในสันดานคือความ
                                                    กำหนัดในกาม]
                          ๒. ปฏิฆานุสัย       	[สภาพที่นอนเนื่องในสันดานคือความ
                                                    กระทบกระทั่งแห่งจิต]
                          ๓. ทิฏฐานุสัย        	[สภาพที่นอนเนื่องในสันดานคือความ
                                                    เห็น]
                          ๔. วิจิกิจฉานุสัย    	[สภาพที่นอนเนื่องในสันดานคือความ
                                                    สงสัย]
                          ๕. มานานุสัย        	[สภาพที่นอนเนื่องในสันดานคือความ
                                                    ถือตัว]
                          ๖. ภวราคานุสัย     	[สภาพที่นอนเนื่องในสันดานคือความ
                                                    กำหนัดในภพ]
                          ๗. อวิชชานุสัย      	[สภาพที่นอนเนื่องในสันดานคือความ
                                                    ไม่รู้]
             [๓๓๘] สัญโญชน์ ๗ อย่าง
                          ๑. กามสัญโญชน์           	[เครื่องเหนี่ยวรั้งคือความใคร่]
                          ๒. ปฏิฆสัญโญชน์         	[เครื่องเหนี่ยวรั้งคือความกระทบกระทั่ง
                                                    	แห่งจิต]
                          ๓. ทิฏฐิสัญโญชน์     	    	[เครื่องเหนี่ยวรั้งคือความเห็น]
                          ๔. วิจิกิจฉาสัญโญชน์    	[เครื่องเหนี่ยวรั้งคือความสงสัย]
                          ๕. มานสัญโญชน์          	[เครื่องเหนี่ยวรั้งคือความถือตัว]
                          ๖. ภวราคสัญโญชน์       	[เครื่องเหนี่ยวรั้งคือความกำหนัดในภพ]
                          ๗. อวิชชาสัญโญชน์      	[เครื่องเหนี่ยวรั้งคือความไม่รู้]
             [๓๓๙] อธิกรณสมถะ ๗ อย่าง
             เพื่อความสงบ เพื่อความระงับอธิกรณ์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้ว
                          ๑. พึงให้สัมมุขาวินัย
                          ๒. พึงให้สติวินัย
                          ๓. พึงให้อมุฬหวินัย
                          ๔. พึงปรับตามปฏิญญา
                          ๕. พึงถือเอาเสียงข้างมากเป็นประมาณ
                          ๖. พึงปรับตามความผิดของจำเลย
                          ๗. พึงใช้ติณวัตถารกวิธี [ประนีประนอมดังกลบไว้ด้วยหญ้า] ฯ
             ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมประเภทละ ๗ๆ เหล่านี้แล อันพระผู้มีพระ-
*ภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น ตรัสไว้โดย
ชอบแล้ว พวกเราทั้งหมดด้วยกันพึงสังคายนา ไม่พึงแก่งแย่งกันในธรรมนั้น

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ บรรทัดที่ ๖๑๗๓-๖๓๑๕ หน้าที่ ๒๕๓-๒๕๙. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=11&A=6173&Z=6315&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=11&siri=10              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=11&i=221              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [327-339] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=11&item=327&items=13              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=6&A=4096              The Pali Tipitaka in Roman :- [327-339] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=11&item=327&items=13              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=6&A=4096              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ https://84000.org/tipitaka/read/?index_11              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/dn33/en/sujato https://suttacentral.net/dn33/en/tw-caf_rhysdavids

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :