ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
                                       ๖. จาคธนัง            	[ทรัพย์คือจาคะ]
                                       ๗. ปัญญาธนัง       	[ทรัพย์คือปัญญา]
             [๓๒๗] โพชฌงค์ ๗ อย่าง
                          ๑. สติสัมโพชฌงค์           	[องค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้คือความ
                                                    	ระลึกได้]
                          ๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์   	[องค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้คือการสอดส่อง
                                                    	ธรรม]
                          ๓. วิริยสัมโพชฌงค์         	[องค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้คือความเพียร]
                          ๔. ปีติสัมโพชฌงค์          	[องค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้คือความอิ่มใจ]
                          ๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์   	[องค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้คือความสงบ]
                          ๖. สมาธิสัมโพชฌงค์       	[องค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้คือความ
                                                    	ตั้งใจมั่น]
                          ๗. อุเปกขาสัมโพชฌงค์   	[องค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้คือ ความ
                                                    	วางเฉย]
             [๓๒๘] บริขารของสมาธิ ๗ อย่าง
                          ๑. สัมมาทิฏฐิ        	[ความเห็นชอบ]
                          ๒. สัมมาสังกัปปะ  	[ความดำริชอบ]
                          ๓. สัมมาวาจา        	[เจรจาชอบ]
                          ๔. สัมมากัมมันตะ  	[การงานชอบ]
                          ๕. สัมมาอาชีวะ     	[เลี้ยงชีวิตชอบ]
                          ๖. สัมมาวายามะ    	[พยายามชอบ]
                          ๗. สัมมาสติ          	[ระลึกชอบ]
             [๓๒๙] อสัทธรรม ๗ อย่าง
             ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
                          ๑. เป็นคนไม่มีศรัทธา
                          ๒. เป็นคนไม่มีหิริ
                          ๓. เป็นคนไม่มีโอตตัปปะ
                          ๔. เป็นคนมีสุตะน้อย
                          ๕. เป็นคนเกียจคร้าน
                          ๖. เป็นคนมีสติหลงลืม
                          ๗. เป็นคนมีปัญญาทราม
             [๓๓๐] สัทธรรม ๗ อย่าง
             ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
                          ๑. เป็นคนมีศรัทธา
                          ๒. เป็นคนมีหิริ
                          ๓. เป็นคนมีโอตตัปปะ
                          ๔. เป็นคนมีพหูสูต
                          ๕. เป็นคนปรารภความเพียร
                          ๖. เป็นคนมีสติมั่นคง
                          ๗. เป็นคนมีปัญญา
             [๓๓๑] สัปปุริสธรรม ๗ อย่าง
             ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
                          ๑. เป็นผู้รู้จักเหตุ
                          ๒. เป็นผู้รู้จักผล
                          ๓. เป็นผู้รู้จักตน
                          ๔. เป็นผู้รู้จักประมาณ
                          ๕. เป็นผู้รู้จักกาล
                          ๖. เป็นผู้รู้จักบริษัท
                          ๗. เป็นผู้รู้จักบุคคล
             [๓๓๒] นิททสวัตถุ ๗ อย่าง
             ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
             ๑. เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้าในการสมาทานสิกขา ทั้งเป็นผู้ไม่
หมดความรักในการสมาทานสิกขาต่อไปด้วย
             ๒. เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้าในการไตร่ตรองธรรม ทั้งเป็นผู้ไม่
หมดความรักในการไตร่ตรองธรรมต่อไปด้วย
             ๓. เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้าในการปราบปรามความอยาก ทั้งเป็น
ผู้ไม่หมดความรักในการปราบปรามความอยากต่อไปด้วย
             ๔. เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้าในการเร้นอยู่ ทั้งเป็นผู้ไม่หมดความ
รักในการเร้นอยู่ต่อไปด้วย
             ๕. เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้าในการปรารภความเพียร ทั้งเป็นผู้ไม่
หมดความรักในการปรารภความเพียรต่อไปด้วย
             ๖. เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้าในสติและปัญญาเครื่องรักษาตน ทั้ง
เป็นผู้ไม่หมดความรักในสติและปัญญาเครื่องรักษาตนต่อไปด้วย
             ๗. เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้าในการแทงตลอดซึ่งทิฐิ ทั้งเป็นผู้ไม่
หมดความรักในการแทงตลอดซึ่งทิฐิต่อไปด้วย
             [๓๓๓] สัญญา ๗ อย่าง
                          ๑. อนิจจสัญญา      	[กำหนดหมายความไม่เที่ยง]
                          ๒. อนัตตสัญญา     	[กำหนดหมายเป็นอนัตตา]
                          ๓. อสุภสัญญา       	[กำหนดหมายความไม่งาม]
                          ๔. อาทีนวสัญญา   	[กำหนดหมายโทษ]
                          ๕. ปหานสัญญา     	[กำหนดหมายเพื่อละ]
                          ๖. วิราคสัญญา       	[กำหนดหมายวิราคะ]
                          ๗. นิโรธสัญญา      	[กำหนดหมายนิโรธ]
             [๓๓๔] พละ ๗ อย่าง
                          ๑. สัทธาพละ       	[กำลังคือศรัทธา]
                          ๒. วิริยพละ         	[กำลังคือความเพียร]
                          ๓. หิริพละ          	[กำลังคือหิริ]
                          ๔. โอตตัปปพละ  	[กำลังคือโอตตัปปะ]
                          ๕. สติพละ          	[กำลังคือสติ]
                          ๖. สมาธิพละ       	[กำลังคือสมาธิ]
                          ๗. ปัญญาพละ    	[กำลังคือปัญญา]
             [๓๓๕] วิญญาณฐิติ ๗ อย่าง
             ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งมีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน
เช่นพวกมนุษย์และพวกเทพบางพวก พวกวินิปาติกะบางพวก นี้วิญญาณฐิติข้อ
ที่หนึ่ง
             ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งมีกายต่างกัน มีสัญญาอย่าง
เดียวกัน เช่นพวกเทพผู้นับเนื่องในพวกพรหมซึ่งเกิดในภูมิปฐมฌาน นี้วิญญาณ-
*ฐิติข้อที่สอง ฯ
             ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งมีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญา
ต่างกัน เช่นพวกเทพเหล่าอาภัสสระ นี้วิญญาณฐิติข้อที่สาม ฯ
             ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งมีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญา
อย่างเดียวกัน เช่นพวกเทพเหล่าสุภกิณหา นี้วิญญาณฐิติข้อที่สี่ ฯ
             ๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งเข้าถึงอากาสานัญจายตนะด้วย
มนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญา โดยประการทั้งปวง เพราะ
ดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา นี้วิญญาณฐิติข้อที่ห้า ฯ
             ๖. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะโดย
ประการทั้งปวงแล้ว เข้าถึงวิญญาณัญจายตนะด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้
นี้วิญญาณฐิติข้อที่หก ฯ
             ๗. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะโดย
ประการทั้งปวงแล้ว เข้าถึงอากิญจัญญายตนะด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร นี้วิญญาณ-
*ฐิติข้อที่เจ็ด ฯ
             [๓๓๖] ทักขิเณยยบุคคล ๗ อย่าง
                          ๑. อุภโตภาควิมุตต 	[ท่านผู้หลุดพ้นแล้วโดยส่วนทั้งสอง]
                          ๒. ปัญญาวิมุตต     	[ท่านผู้หลุดพ้นแล้วด้วยอำนาจปัญญา]
                          ๓. กายสักขิ            	[ท่านผู้สามารถด้วยกาย]
                          ๔. ทิฏฐิปัตต          	[ท่านผู้ถึงแล้วด้วยความเห็น]
                          ๕. สัทธาวิมุตต      	[ท่านผู้พ้นแล้วด้วยอำนาจศรัทธา]
                          ๖. ธัมมานุสารี        	[ท่านผู้ประพฤติตามธรรม]
                          ๗. สัทธานุสารี       	[ท่านผู้ประพฤติตามศรัทธา]
             [๓๓๗] อนุสัย ๗ อย่าง
                          ๑. กามราคานุสัย   	[สภาพที่นอนเนื่องในสันดานคือความ
                                                    กำหนัดในกาม]
                          ๒. ปฏิฆานุสัย       	[สภาพที่นอนเนื่องในสันดานคือความ
                                                    กระทบกระทั่งแห่งจิต]
                          ๓. ทิฏฐานุสัย        	[สภาพที่นอนเนื่องในสันดานคือความ
                                                    เห็น]
                          ๔. วิจิกิจฉานุสัย    	[สภาพที่นอนเนื่องในสันดานคือความ
                                                    สงสัย]
                          ๕. มานานุสัย        	[สภาพที่นอนเนื่องในสันดานคือความ
                                                    ถือตัว]
                          ๖. ภวราคานุสัย     	[สภาพที่นอนเนื่องในสันดานคือความ
                                                    กำหนัดในภพ]
                          ๗. อวิชชานุสัย      	[สภาพที่นอนเนื่องในสันดานคือความ
                                                    ไม่รู้]
             [๓๓๘] สัญโญชน์ ๗ อย่าง
                          ๑. กามสัญโญชน์           	[เครื่องเหนี่ยวรั้งคือความใคร่]
                          ๒. ปฏิฆสัญโญชน์         	[เครื่องเหนี่ยวรั้งคือความกระทบกระทั่ง
                                                    	แห่งจิต]
                          ๓. ทิฏฐิสัญโญชน์     	    	[เครื่องเหนี่ยวรั้งคือความเห็น]
                          ๔. วิจิกิจฉาสัญโญชน์    	[เครื่องเหนี่ยวรั้งคือความสงสัย]
                          ๕. มานสัญโญชน์          	[เครื่องเหนี่ยวรั้งคือความถือตัว]
                          ๖. ภวราคสัญโญชน์       	[เครื่องเหนี่ยวรั้งคือความกำหนัดในภพ]
                          ๗. อวิชชาสัญโญชน์      	[เครื่องเหนี่ยวรั้งคือความไม่รู้]
             [๓๓๙] อธิกรณสมถะ ๗ อย่าง
             เพื่อความสงบ เพื่อความระงับอธิกรณ์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้ว
                          ๑. พึงให้สัมมุขาวินัย
                          ๒. พึงให้สติวินัย
                          ๓. พึงให้อมุฬหวินัย
                          ๔. พึงปรับตามปฏิญญา
                          ๕. พึงถือเอาเสียงข้างมากเป็นประมาณ
                          ๖. พึงปรับตามความผิดของจำเลย
                          ๗. พึงใช้ติณวัตถารกวิธี [ประนีประนอมดังกลบไว้ด้วยหญ้า] ฯ
             ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมประเภทละ ๗ๆ เหล่านี้แล อันพระผู้มีพระ-
*ภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น ตรัสไว้โดย
ชอบแล้ว พวกเราทั้งหมดด้วยกันพึงสังคายนา ไม่พึงแก่งแย่งกันในธรรมนั้น
การที่พรหมจรรย์นี้พึงยั่งยืนตั้งอยู่นานนั้น พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อ
ความสุขแก่ชนมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อ
ความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ
จบ หมวด ๗
-----------------------------------------------------
หมวด ๘
[๓๔๐] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๘ๆ ที่พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นตรัสไว้โดยชอบแล้ว มีอยู่แล พวกเราทั้งหมดด้วยกันพึงสังคายนา ไม่พึงแก่งแย่งกันในธรรมนั้น การ ที่พรหมจรรย์นี้พึงยั่งยืนตั้งอยู่นานนั้น พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อ ความสุขแก่ชนมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อ ความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๘ๆ เป็นไฉน ฯ
มิจฉัตตะ ๘ อย่าง
๑. มิจฉาทิฏฐิ [เห็นผิด] ๒. มิจฉาสังกัปปะ [ดำริผิด] ๓. มิจฉาวาจา [วาจาผิด] ๔. มิจฉากัมมันตะ [การงานผิด] ๕. มิจฉาอาชีวะ [เลี้ยงชีวิตผิด] ๖. มิจฉาวายามะ [พยายามผิด] ๗. มิจฉาสติ [ระลึกผิด] ๘. มิจฉาสมาธิ [ตั้งจิตผิด] [๓๔๑] สัมมัตตะ ๘ อย่าง ๑. สัมมาทิฏฐิ [เห็นชอบ] ๒. สัมมาสังกัปปะ [ดำริชอบ] ๓. สัมมาวาจา [วาจาชอบ] ๔. สัมมากัมมันตะ [การงานชอบ] ๕. สัมมาอาชีวะ [เลี้ยงชีวิตชอบ] ๖. สัมมาวายามะ [พยายามชอบ] ๗. สัมมาสติ [ระลึกชอบ] ๘. สัมมาสมาธิ [ตั้งจิตชอบ] [๓๔๒] ทักขิเณยยบุคคล ๘ ๑. ท่านที่เป็นพระโสดาบัน ๒. ท่านที่ปฏิบัติเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง ๓. ท่านที่เป็นพระสกทาคามี ๔. ท่านที่ปฏิบัติเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง ๕. ท่านที่เป็นพระอนาคามี ๖. ท่านที่ปฏิบัติเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง ๗. ท่านที่เป็นพระอรหันต์ ๘. ท่านที่ปฏิบัติเพื่อทำพระอรหัตตผลให้แจ้ง [๓๔๓] กุสีตวัตถุ ๘ ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้จะต้องทำการงาน เธอมี ความคิดอย่างนี้ว่า เราจักต้องทำการงาน ก็เมื่อเราทำการงานอยู่ ร่างกายจักเหน็ด เหนื่อย ควรที่เราจะนอน เธอนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้ วัตถุแห่งความเกียจคร้านข้อที่หนึ่ง ฯ ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุทำการงานเสร็จแล้ว เธอ มีความคิดอย่างนี้ว่า เราได้ทำการงานแล้ว ก็เมื่อเราทำการงานอยู่ ร่างกายเหน็ด เหนื่อยแล้ว ควรที่เราจะนอน เธอนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยัง ไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความเกียจคร้านข้อที่สอง ฯ ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุจะต้องเดินทาง เธอมีความ คิดอย่างนี้ว่า เราจักต้องเดินทาง ก็เมื่อเราเดินทางไปอยู่ ร่างกายจักเหน็ดเหนื่อย ควรที่เราจะนอน เธอนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อ บรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่ง ความเกียจคร้านข้อที่สาม ฯ ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเดินทางไปถึงแล้ว เธอมี ความคิดอย่างนี้ว่า เราได้เดินทางไปถึงแล้ว ก็เมื่อเราเดินทางอยู่ ร่างกายจักเหน็ด เหนื่อย ควรที่เราจะนอน เธอนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้ วัตถุแห่งความเกียจคร้านข้อที่สี่ ฯ ๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตไปยังบ้าน หรือนิคม ไม่ได้ความบริบูรณ์แห่งโภชนะที่เศร้าหมองหรือประณีตพอแก่ความต้อง การ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราเที่ยวบิณฑบาตไปยังบ้านหรือนิคม ไม่ได้ความ บริบูรณ์แห่งโภชนะที่เศร้าหมองหรือประณีตพอแก่ความต้องการ ร่างกายของเรา นั้นเหน็ดเหนื่อยไม่ควรแก่การงาน ควรที่เราจะนอน เธอนอนเสีย ไม่ปรารภ ความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้ แจ้งซึ่งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความเกียจคร้านข้อที่ห้า ฯ ๖. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตไปยังบ้าน หรือนิคม ได้ความบริบูรณ์แห่งโภชนะที่เศร้าหมองหรือประณีตพอแก่ความต้องการ แล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราเที่ยวบิณฑบาตไปยังบ้านหรือนิคม ได้ความ บริบูรณ์แห่งโภชนะที่เศร้าหมองหรือประณีตพอแก่ความต้องการแล้ว ร่างกายของ เรานั้นเหน็ดเหนื่อย ไม่ควรแก่การงานเหมือนถั่วราชมาสที่ชุ่มน้ำ ควรที่เราจะ นอน เธอนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความเกียจคร้าน ข้อที่หก ฯ ๗. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก อาพาธเพียงเล็กน้อยเกิดขึ้นแก่ ภิกษุ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า อาพาธเล็กน้อยเกิดขึ้นแก่เราแล้ว ความสมควร เพื่อจะนอนมีอยู่ ควรที่เราจะนอน เธอนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึง ธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความเกียจคร้านข้อที่เจ็ด ฯ ๘. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุหายจากไข้ หายจากความ เป็นไข้ได้ไม่นาน เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราหายจากไข้ หายจากความเป็นไข้ได้ ไม่นาน ร่างกายของเรานั้นยังอ่อนแอ ไม่ควรแก่การงาน ควรที่เราจะนอน เธอนอน เสีย ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความเกียจคร้านข้อที่แปด ฯ [๓๔๔] อารัพภวัตถุ ๘ อย่าง ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ จะต้องทำการงาน เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า การงานเราจักต้องทำ เมื่อเราทำการงานอยู่ ไม่สะดวกที่ จะใส่ใจถึงคำสอนของพระพุทธะทั้งหลาย ควรที่เราจะปรารภความเพียรเสียก่อนที่ เดียว เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่ง ธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง เธอย่อมปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อ บรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่ง ความปรารภความเพียรข้อที่หนึ่ง ฯ ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุทำการงานเสร็จแล้ว เธอ มีความคิดอย่างนี้ เราทำการงานเสร็จแล้ว ก็เมื่อเราทำการงานอยู่ ไม่สามารถที่ จะใส่ใจถึงคำสอนของพระพุทธะทั้งหลาย ควรที่เราจะปรารภความเพียรเพื่อถึง ธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ ทำให้แจ้ง เธอย่อมปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความปรารภ ความเพียรข้อที่สอง ฯ ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุจะต้องเดินทาง เธอมี ความคิดอย่างนี้ว่า เราจักต้องเดินทาง ก็เมื่อเราเดินทางไปอยู่ ไม่สะดวกที่จะใส่ใจ ถึงคำสอนของพระพุทธะทั้งหลาย ควรที่เราจะปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำใจให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง เธอย่อมปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความปรารภความเพียรข้อที่ สาม ฯ ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเดินทางไปถึงแล้ว เธอมี ความคิดอย่างนี้ว่า เราเดินทางไปถึงแล้ว ก็เมื่อเราเดินทางไปอยู่ ไม่สามารถที่จะ ใส่ใจถึงคำสอนของพระพุทธะทั้งหลาย ควรที่เราจะปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรม ที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้- *แจ้ง เธอย่อมปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้ บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความปรารภความเพียร ข้อที่สี่ ฯ ๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตไปยังบ้านหรือ นิคม ไม่ได้ความบริบูรณ์แห่งโภชนะที่เศร้าหมองหรือประณีตพอแก่ความต้องการ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราเที่ยวบิณฑบาตไปยังบ้านหรือนิคม ไม่ได้ความบริบูรณ์ แห่งโภชนะที่เศร้าหมองหรือประณีตพอแก่ความต้องการ ร่างกายของเรานั้นเบาควร แก่การงาน ควรที่เราจะปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม ที่เรายังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง เธอย่อมปรารภความ เพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรม ที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความปรารภความเพียรข้อที่ห้า ฯ ๖. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตไปยังบ้าน หรือนิคม ได้ความบริบูรณ์แห่งโภชนะที่เศร้าหมองหรือประณีตพอแก่ความต้องการ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราเที่ยวบิณฑบาตไปยังบ้านหรือนิคม ได้ความบริบูรณ์ แห่งโภชนะที่เศร้าหมองหรือประณีตพอแก่ความต้องการ ร่างกายของเรานั้นมีกำลัง ควรแก่การงาน ควรที่เราจะปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุ ธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง เธอย่อมปรารภ ความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้ง ซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความปรารภความเพียรข้อที่หก ฯ ๗. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก อาพาธเพียงเล็กน้อยเกิดขึ้นแก่ ภิกษุ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า อาพาธเล็กน้อยนี้เกิดขึ้นแก่เราแล้ว การที่อาพาธของ เราจะพึงเจริญขึ้นนี้ เป็นฐานะที่จะมีได้ ควรที่เราจะปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้ แจ้ง เธอย่อมปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้ บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความปรารภความเพียร ข้อที่เจ็ด ฯ ๘. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุหายจากไข้ หายจากความ เป็นไข้แล้วไม่นาน เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราหายจากไข้ หายจากความเป็นไข้ แล้วไม่นาน การที่อาพาธของเราจะพึงกำเริบนี้ เป็นฐานะที่จะมีได้ ควรที่เราจะ ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความปรารภความเพียรข้อที่ แปด ฯ [๓๔๕] ทานวัตถุ ๘ อย่าง ๑. ให้ทานเพราะประจวบเหมาะ ๑- ๒. ให้ทานเพราะกลัว ๓. ให้ทานโดยคิดว่า เขาได้เคยให้แก่เรา ๔. ให้ทานโดยคิดว่า เขาจักให้แก่เรา ๕. ให้ทานโดยคิดว่า การให้ทานเป็นการดี ๖. ให้ทานโดยคิดว่า เราหุงต้ม คนเหล่านี้มิได้หุงต้ม เราหุงต้มอยู่ จะไม่ให้แก่ผู้ที่มิได้หุงต้ม ย่อมไม่สมควร ๗. ให้ทานโดยคิดว่า เมื่อเราให้ทานนี้ กิตติศัพท์อันดีงาม ย่อมจะ ระบือไป ๘. ให้ทานเพื่อประดับจิต และเป็นบริขารของจิต ฯ [๓๔๖] ทานุปบัติ ๘ อย่าง ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พักและสิ่งที่เป็นอุปกรณ์แก่ ประทีป เป็นทานแก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ตนถวายไป เขา เห็นกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล ผู้เพรียบพร้อม พรั่งพร้อม ได้รับการบำรุงบำเรอด้วยกามคุณห้าอยู่ เขาจึงคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ เบื้องหน้า แต่ตายเพราะกายแตก เราพึงเข้าถึงความเป็นสหายของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล เขาตั้งจิตนั้นไว้ อธิษฐานจิตนั้นไว้ อบรมจิตนั้นไว้ จิตของเขานั้นน้อมไปในสิ่งที่เลว มิได้รับอบรมเพื่อคุณเบื้องสูง @๑. มีผู้รับมาถึงเข้าก็ให้ ย่อมเป็นไปเพื่อเกิดในที่นั้น ก็ข้อนั้นแล เรากล่าวสำหรับผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับผู้ ทุศีล ผู้มีอายุทั้งหลาย ความตั้งใจของผู้มีศีลย่อมสำเร็จได้เพราะเป็นของ บริสุทธิ์ ฯ ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อม ถวายข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พักและ ที่เป็นอุปกรณ์แก่ประทีปเป็นทานแก่สมณะ หรือพราหมณ์ เขาย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ ตนถวายไป เขาได้ยินมาว่า พวกเทพเหล่าจาตุมหาราชิกา มีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วยความสุขดังนี้ เขาจึงคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกาย แตก เราพึงเข้าถึงความเป็นสหายของพวกเหล่าจาตุมหาราชิกา เขาตั้งจิตนั้นไว้ อธิษฐานจิตนั้นไว้ อบรมจิตนั้นไว้ จิตของเขานั้นน้อมไปในสิ่งที่เลว มิได้รับ อบรมเพื่อคุณเบื้องสูง ย่อมเป็นไปเพื่อเกิดในที่นั้น ก็ข้อนั้นแล เรากล่าวสำหรับ ผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับผู้ทุศีล ผู้มีอายุทั้งหลาย ความตั้งใจของผู้มีศีลย่อมสำเร็จได้ เพราะเป็นของบริสุทธิ์ ฯ ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อม ถวายข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอนที่พักและสิ่งที่เป็น อุปกรณ์แก่ประทีป เป็นทานแก่สมณะหรือพราหมณ์เขาย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ตนถวาย ไป เขาได้ยินมาว่า พวกเทพเหล่าดาวดึงส์มีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วยความสุข ดังนี้ เขาจึงคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เราพึงเข้าถึง ความเป็นสหายของพวกเทพเหล่าดาวดึงส์ เขาตั้งจิตนั้นไว้ อธิษฐานจิตนั้นไว้ อบรม จิตนั้นไว้ จิตของเขานั้นน้อมไปในสิ่งที่เลวมิได้รับอบรมเพื่อคุณเบื้องสูง ย่อมเป็น ไปเพื่อเกิดในที่นั้น ก็ข้อนั้นแลเรากล่าวสำหรับผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับผู้ทุศีล ผู้มี อายุทั้งหลาย ความตั้งใจของผู้มีศีล ย่อมสำเร็จได้เพราะเป็นของบริสุทธิ์ ฯ ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อม ถวายข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอนที่พักและสิ่ง ที่เป็นอุปกรณ์แก่ประทีป เป็นทานแก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ตน ถวายไป เขาได้ยินมาว่า พวกเทพเหล่ายามามีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วยความ สุข ดังนี้ เขาจึงคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เราพึง เข้าถึงความเป็นสหายของพวกเทพเหล่ายามา เขาตั้งจิตนั้นไว้ อธิษฐานจิตนั้นไว้ อบรมจิตนั้นไว้ จิตของเขานั้นน้อมไปในสิ่งที่เลว มิได้อบรมเพื่อคุณเบื้องสูง ย่อม เป็นไปเพื่อเกิดในที่นั้น ก็ข้อนั้นแล เรากล่าวสำหรับผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับผู้ทุศีล ผู้มีอายุทั้งหลาย ความตั้งใจของผู้มีศีลย่อมสำเร็จได้เพราะเป็นของบริสุทธิ์ ฯ ๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมถวาย ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอนที่พักและสิ่งที่เป็น อุปกรณ์แก่ประทีปเป็นทานแก่สมณะหรือพราหมณ์เขาย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ตนถวายไป เขาได้ยินมาว่า พวกเทพเหล่าดุสิตามีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วยความสุข ดังนี้ เขา จึงคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เราพึงเข้าถึงความเป็นสหาย ของพวกเทพเหล่าดุสิตา เขาตั้งจิตนั้นไว้ อธิษฐานจิตนั้นไว้ อบรมจิตนั้นไว้ จิตของเขานั้นน้อมไปในสิ่งที่เลว มิได้รับอบรมเพื่อคุณเบื้องสูง ย่อมเป็นไปเพื่อเกิด ในที่นั้น ก็ข้อนั้นแล เรากล่าวสำหรับผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับผู้ทุศีล ผู้มีอายุทั้ง หลาย ความตั้งใจของผู้มีศีลย่อมสำเร็จได้เพราะเป็นของบริสุทธิ์ ฯ ๖. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อม ถวายข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พักและ สิ่งที่เป็นอุปกรณ์แก่ประทีปเป็นทานแก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ ตนถวายไป เขาได้ยินมาว่า พวกเทพเหล่านิมมานรดี มีอายุยืน มีวรรณะ มาก ด้วยความสุข ดังนี้ เขาจึงคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เราพึงเข้าถึงความเป็นสหายของพวกเทพเหล่านิมมานรดี เขาตั้งจิตนั้นไว้ อธิษฐาน จิตนั้นไว้ อบรมจิตนั้นไว้ จิตของเขานั้นน้อมไปในสิ่งที่เลว มิได้รับอบรมเพื่อ คุณเบื้องสูง ย่อมเป็นไปเพื่อเกิดในที่นั้น ก็ข้อนั้นแล เรากล่าวสำหรับผู้มีศีล ไม่ ใช่สำหรับผู้ทุศีล ผู้มีอายุทั้งหลาย ความตั้งใจของผู้มีศีลย่อมสำเร็จได้ เพราะ เป็นของบริสุทธิ์ ฯ ๗. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อม ถวายข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พักและ สิ่งที่เป็นอุปกรณ์แก่ประทีปเป็นทานแก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ ตนถวายไป เขาได้ยินมาว่าพวกเทพเหล่าปรนิมมิตวสวัตดี มีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วยความสุขดังนี้ เขาจึงคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกาย แตก เราพึงเข้าถึงความเป็นสหายของพวกเทพเหล่าปรนิมมิตวสวัตดี เขาตั้งจิตนั้น ไว้ อธิษฐานจิตนั้นไว้ อบรมจิตนั้นไว้ จิตของเขานั้นน้อมไปในสิ่งที่เลว มิได้ รับอบรมเพื่อคุณเบื้องสูง ย่อมเป็นไปเพื่อเกิดในที่นั้น ก็ข้อนั้นแล เรากล่าว สำหรับผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับผู้ทุศีล ผู้มีอายุทั้งหลาย ความตั้งใจของผู้มีศีลย่อม สำเร็จได้ เพราะเป็นของบริสุทธิ์ ฯ ๘. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อม ถวายข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พักและ สิ่งที่เป็นอุปกรณ์แก่ประทีปเป็นทานแก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ ตนถวายไป เขาได้ยินมาว่าพวกเทพที่นับเนื่องในหมู่พรหม มีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วยความสุขดังนี้ เขาจึงคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกาย แตก เราพึงเข้าถึงความเป็นสหายของพวกเทพที่นับเนื่องในหมู่พรหม เขาตั้งจิตนั้น ไว้ อธิษฐานจิตนั้นไว้ อบรมจิตนั้นไว้ จิตของเขานั้นน้อมไปในสิ่งที่เลว มิได้ รับอบรมเพื่อคุณเบื้องสูง ย่อมเป็นไปเพื่อเกิดในที่นั้น ก็ข้อนั้นแล เรากล่าวสำหรับ ผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับผู้ทุศีล สำหรับคนที่ปราศจากราคะ ไม่ใช่สำหรับคนที่ยังมี ราคะ ผู้มีอายุทั้งหลาย ความตั้งใจของผู้มีศีลย่อมสำเร็จได้ เพราะปราศจากราคะ ฯ [๓๔๗] โลกธรรม ๘ อย่าง ๑. มีลาภ ๒. ไม่มีลาภ ๓. มียศ ๔. ไม่มียศ ๕. นินทา ๖. สรรเสริญ ๗. สุข ๘. ทุกข์ ฯ [๓๔๘] บริษัท ๘ อย่าง ๑. บริษัทกษัตริย์ ๒. บริษัทพราหมณ์ ๓. บริษัทคฤหบดี ๔. บริษัทสมณะ ๕. บริษัทพวกเทพชั้นจาตุมหาราชิกา ๖. บริษัทพวกเทพชั้นดาวดึงส์ ๗. บริษัทพวกเทพชั้นนิมมานรดี ๘. บริษัทพรหม ฯ [๓๔๙] อภิภายตนะ ๘ อย่าง ๑. ผู้หนึ่งมีความสำคัญในรูปภายใน เห็นรูปในภายนอกที่เล็กมีผิวพรรณ ดีและมีผิวพรรณทราม ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เรา เห็น อันนี้เป็นอภิภายตนะข้อที่หนึ่ง ฯ ๒. ผู้หนึ่งมีความสำคัญในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ใหญ่มีผิวพรรณ ดีและมีผิวพรรณทราม ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้เป็นอภิภายตนะข้อที่สอง ฯ ๓. ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เล็กมีผิวพรรณ ดีและมีผิวพรรณทราม ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้เป็นอภิภายตนะข้อที่สาม ฯ ๔. ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ใหญ่มีผิวพรรณ ดีและมีผิวพรรณทราม ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้เป็นอภิภายตนะข้อที่สี่ ฯ ๕. ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันเขียว มี วรรณะเขียว เขียวล้วน มีรัศมีเขียว ดอกผักตบอันเขียว มีวรรณะเขียว เขียว ล้วน มีรัศมีเขียว หรือว่าผ้าที่กำเนิดในเมืองพาราณสี มีส่วนทั้งสองเกลี้ยง เขียว มีวรรณะเขียว เขียวล้วน มีรัศมีเขียว แม้ฉันใด ผู้หนึ่งมีความสำคัญใน อรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันเขียว มีวรรณะเขียว เขียวล้วน มีรัศมีเขียว ฉันนั้นเหมือนกัน ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้เป็นอภิภายตนะข้อที่ห้า ฯ ๖. ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันเหลือง มี วรรณะเหลือง เหลืองล้วน มีรัศมีเหลือง ดอกกรรณิการ์อันเหลือง มีวรรณะ เหลือง เหลืองล้วน มีรัศมีเหลือง หรือว่าผ้าที่กำเนิดในเมืองพาราณสี มีส่วน ทั้งสองเกลี้ยง เหลือง มีวรรณะเหลือง เหลืองล้วน มีรัศมีเหลือง แม้ฉันใด ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันเหลือง มีวรรณะเหลือง เหลืองล้วน มีรัศมีเหลือง ฉันนั้นเหมือนกัน ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความ สำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้เป็นอภิภายตนะข้อที่หก ฯ ๗. ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันแดง มีวรรณะ แดง แดงล้วน มีรัศมีแดง ดอกหงอนไก่อันแดง มีวรรณะแดง แดงล้วน มี รัศมีแดง หรือว่าผ้าที่กำเนิดในเมืองพาราณสี มีส่วนทั้งสองเกลี้ยง แดง มี วรรณะแดง แดงล้วน มีรัศมีแดง แม้ฉันใด ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันแดง มีวรรณะแดง แดงล้วน มีรัศมีแดง ฉันนั้นเหมือนกัน ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้เป็นอภิภาย- *ตนะข้อที่เจ็ด ฯ ๘. ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันขาว มี วรรณะขาว ขาวล้วน มีรัศมีขาว ดาวประกายพฤกษ์อันขาว มีวรรณะขาว ขาว ล้วน มีรัศมีขาว หรือว่าผ้าที่กำเนิดในเมืองพาราณสีมีส่วนทั้งสองเกลี้ยง ขาว มี วรรณะขาว ขาวล้วน มีรัศมีขาว แม้ฉันใด ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันขาว มีวรรณะขาว ขาวล้วน มีรัศมีขาว ฉันนั้นเหมือนกัน ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้เป็นอภิภาย- *ตนะข้อที่แปด ฯ [๓๕๐] วิโมกข์ ๘ อย่าง ๑. บุคคลเห็นรูปทั้งหลาย อันนี้เป็นวิโมกข์ข้อที่หนึ่ง ฯ ๒. ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอก อันนี้เป็น วิโมกข์ข้อที่สอง ฯ ๓. บุคคลย่อมน้อมใจไปว่าสิ่งนี้งามทีเดียว อันนี้เป็นวิโมกข์ข้อที่สาม ฯ ๔. เพราะล่วงเสียซึ่งรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญา ดับไป เพราะไม่ใส่ใจซึ่งนานัตตสัญญา บุคคลย่อมเข้าถึงอากาสานัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ดังนี้อยู่ อันนี้เป็นวิโมกข์ข้อที่สี่ ฯ ๕. เพราะล่วงเสียซึ่งอาการสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง บุคคลย่อม เข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ ดังนี้อยู่ อันนี้เป็น วิโมกข์ข้อที่ห้า ฯ ๖. เพราะล่วงเสียซึ่งวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง บุคคลย่อมเข้า ถึงอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร อันนี้เป็นวิโมกข์ข้อที่หก ฯ ๗. เพราะล่วงเสียซึ่งอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง บุคคลย่อมเข้า ถึงเนวสัญญายตนะอยู่ อันนี้เป็นวิโมกข้อที่เจ็ด ฯ ๘. เพราะล่วงเสียซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง บุคคล ย่อมเข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ อันนี้เป็นวิโมกข์ข้อที่แปด ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๘ๆ เหล่านี้แล อันพระผู้มี พระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็นเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดย ชอบแล้ว พวกเราทั้งหมดด้วยกันพึงสังคายนาไม่พึงแก่งแย่งกันในธรรมนั้น การที่ พรหมจรรย์นี้พึงยั่งยืนตั้งอยู่นานนั้นพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความ สุขแก่ชนมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
จบ หมวด ๘
-----------------------------------------------------
หมวด ๙
[๓๕๑] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๙ๆ ที่พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้ โดยชอบ แล้วมีอยู่ พวกเราทั้งหมดด้วยกัน พึงสังคายนาไม่พึงแก่งแย่งกันในธรรมนั้น การ ที่พรหมจรรย์นี้พึงยั่งยืนตั้งอยู่นานนั้นพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความ สุขแก่ชนมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๙ๆ เป็นไฉน ฯ
อาฆาตวัตถุ ๙ อย่าง
๑. ผูกอาฆาตด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้ประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เราแล้ว ๒. ผูกอาฆาตด้วยคิดว่า ผู้นี้ประพฤติอยู่ซึ่งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา ๓. ผูกอาฆาตด้วยคิดว่า ผู้นี้จักประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา ๔. ผูกอาฆาตด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้ประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่บุคคล ผู้เป็นที่รักเป็นที่ชอบใจของเราแล้ว ๕. ผูกอาฆาตด้วยคิดว่า ผู้นี้ประพฤติอยู่ซึ่งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ บุคคลผู้เป็นที่รักเป็นที่ชอบใจของเรา ๖. ผูกอาฆาตด้วยคิดว่า ผู้นี้จักประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ บุคคลผู้เป็นที่รักเป็นที่ขอบใจของเรา ๗. ผูกอาฆาตด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่บุคคล ผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบใจของเราแล้ว ๘. ผูกอาฆาตด้วยคิดว่า ผู้นี้ประพฤติอยู่ซึ่งสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ บุคคลผู้ไม่เป็นที่ชอบใจของเรา ๙. ผูกอาฆาตด้วยคิดว่า ผู้นี้จักประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่บุคคล ผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบใจของเรา ฯ [๓๕๒] อาฆาตปฏิวินัย ๙ อย่าง ๑. บรรเทาความอาฆาตเสียด้วยคิดว่า เขาได้ประพฤติสิ่งที่ไม่เป็น ประโยชน์แก่เราแล้ว เพราะเหตุนั้น การที่จะไม่ให้มีการประพฤติสิ่งที่ไม่เป็น ประโยชน์แก่เรา จะหาได้ในบุคคลนั้นแต่ที่ไหน ๒. บรรเทาความอาฆาตเสียด้วยคิดว่า เขาประพฤติอยู่ซึ่งสิ่งที่ไม่เป็น ประโยชน์แก่เรา เพราะเหตุนั้น การที่จะไม่ให้มีการประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ แก่เรา จะหาได้ในบุคคลนั้นแต่ที่ไหน ๓. บรรเทาความอาฆาตเสียด้วยคิดว่า เขาจักประพฤติสิ่งที่ไม่เป็น ประโยชน์แก่เรา เพราะเหตุนั้น การที่จะไม่ให้มีการประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ แก่เรา จะหาได้ในบุคคลนั้นแต่ที่ไหน ๔. บรรเทาความอาฆาตเสียด้วยคิดว่า เขาได้ประพฤติสิ่งที่ไม่เป็น ประโยชน์แก่บุคคลผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเราแล้ว เพราะเหตุนั้น การที่จะไม่ให้ มีการประพฤติเช่นนั้น จะหาได้ในบุคคลนั้นแต่ที่ไหน ๕. บรรเทาความอาฆาตเสียด้วยคิดว่า เขาประพฤติอยู่ซึ่งสิ่งที่ไม่เป็น ประโยชน์แก่บุคคลผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา เพราะเหตุนั้น การที่จะไม่ มีการประพฤติเช่นนั้น จะหาได้ในบุคคลนั้นแต่ที่ไหน ๖. บรรเทาความอาฆาตเสียด้วยคิดว่า เขาจักประพฤติสิ่งที่ไม่เป็น ประโยชน์แก่บุคคลผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา เพราะเหตุนั้น การที่จะไม่ให้มีการ ประพฤติเช่นนั้น จะหาได้ในบุคคลนั้นแต่ที่ไหน ๗. บรรเทาความอาฆาตด้วยคิดว่า เขาได้ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์ แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบใจของเราแล้ว เพราะเหตุนั้น การที่จะไม่ให้ มีการประพฤติเช่นนั้น จะหาได้ในบุคคลนั้นแต่ที่ไหน ๘. บรรเทาความอาฆาตเสียด้วยคิดว่า เขาประพฤติอยู่ซึ่งสิ่งที่เป็น ประโยชน์แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบใจของเรา เพราะเหตุนั้น การที่จะ ไม่ให้มีการประพฤติเช่นนั้น จะหาได้ในบุคคลนั้นแต่ที่ไหน ๙. บรรเทาความอาฆาตเสียด้วยคิดว่า เขาจักประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์ แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบใจของเรา เพราะเหตุนั้น การที่จะไม่ให้มี การประพฤติเช่นนั้น จะหาได้ในบุคคลนั้นแต่ที่ไหน [๓๕๓] สัตตาวาส ๙ อย่าง ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งมีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน เช่นพวกมนุษย์ เทวดาบางพวก วินิปาติกะบางพวกนี้สัตตาวาสข้อที่หนึ่ง ฯ ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งมีกายต่างกัน มีสัญญาอย่าง เดียวกัน เช่นพวกเทพผู้นับเนื่องในพวกพรหม ซึ่งเกิดในภูมิปฐมฌาน นี้สัตตาวาส ข้อที่สอง ฯ ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งมีกายอย่างเดียวกันมีสัญญาต่าง กัน เช่นพวกเทพเหล่าอาภัสสระ นี้สัตตาวาสข้อที่สาม ฯ ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งมีกายอย่างเดียวกันมีสัญญา อย่างเดียวกัน เช่นพวกเทพเหล่าสุภกิณหา นี้สัตตาวาสข้อที่สี่ ฯ ๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งไม่มีสัญญา ไม่รู้สึกเสวย อารมณ์ เช่นพวกเทพเหล่าอสัญญีสัตว์ นี้สัตตาวาสข้อที่ห้า ฯ ๖. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งเพราะล่วงเสียซึ่งรูปสัญญาโดย ประการทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญาดับไป เพราะไม่ใส่ใจซึ่งนานัตตสัญญา เข้า ถึงอากาสานัญจายตนะด้วยมนสิการว่า อากาศที่สุดมิได้ ดังนี้ นี้สัตตาวาส ข้อที่หก ฯ ๗. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งเพราะล่วงซึ่งอากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง แล้วเข้าถึงวิญญาณัญจายตนะด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่ สุดมิได้ นี้สัตตาวาสข้อที่เจ็ด ฯ ๘. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งเพราะล่วงเสียซึ่งวิญญาณัญ- *จายตนะโดยประการทั้งปวง แล้วเข้าถึงอากิญจัญญายตนะด้วยมนสิการว่า ไม่มี อะไรนี้สัตตาวาสข้อที่แปด ฯ ๙. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งล่วงเสียซึ่งอากิญจัญญายตนะ โดยประการทั้งปวง แล้วเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะด้วยมนสิการว่า นี่สงบ นี่ประณีต นี้สัตตาวาสข้อที่เก้า ฯ [๓๕๔] อขณะอสมัยเพื่อพรหมจริยวาส ๙ อย่าง ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติ ในโลกนี้ และธรรมที่พระองค์ทรงแสดง ก็เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เป็นไป เพื่อความดับ ให้ถึงความตรัสรู้ เป็นธรรมอันพระสุคตประกาศไว้ แต่บุคคลนี้เข้า ถึงนรกเสีย นี้มิใช่ขณะมิใช่สมัยเพื่อการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่หนึ่ง ฯ ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก พระตถาคตอรหันตสัมมา- *สัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติในโลก และธรรมที่พระองค์ทรงแสดงก็เป็นไปเพื่อความ สงบระงับ เป็นไปเพื่อความดับ ให้ถึงความตรัสรู้เป็นธรรมอันพระสุคตประกาศ แต่บุคคลนี้เข้าถึงกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานเสีย นี้มิใช่ขณะมิใช่สมัยเพื่อการอยู่ ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่สอง ฯ ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก พระตถาคตอรหันตสัมมา- *สัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติในโลก และธรรมที่พระองค์ทรงแสดงก็เป็นไปเพื่อความ สงบระงับ เป็นไปเพื่อความดับ ให้ถึงความตรัสรู้เป็นธรรมอันพระสุคตประกาศ ไว้ แต่บุคคลนี้เข้าถึงวิสัยแห่งเปรตเสียนี้มิใช่สมัยเพื่อการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ข้อที่สาม ฯ ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก พระตถาคตอรหันตสัมมา- *สัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติในโลก และธรรมที่พระองค์ทรงแสดงก็เป็นไปเพื่อความ สงบระงับ เป็นไปเพื่อความดับ ให้ถึงความตรัสรู้เป็นธรรมอันพระสุคตประกาศ ไว้ แต่บุคคลนี้เข้าถึงอสุรกายเสียมิใช่ขณะมินี้มิใช่ขณะชิใช่สมัยเพื่อการอยู่ ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่สี่ ฯ ๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก พระตถาคตอรหันตสัมมา- *สัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติในโลก และธรรมที่พระองค์ทรงแสดงก็เป็นไปเพื่อความ สงบระงับ เป็นไปเพื่อความดับ ให้ถึงความตรัสรู้เป็นธรรมอันพระสุคตประกาศ ไว้ บุคคลนี้เข้าถึงพวกเทพที่มีอายุยืนพวกใดพวกหนึ่งเสีย นี้มิใช่ขณะมิใช่สมัย เพื่อการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ห้า ฯ ๖. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก พระตถาคตอรหันตสัมมา- *สัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติในโลก และธรรมที่พระองค์ทรงแสดงก็เป็นไปเพื่อความ สงบระงับ เป็นไปเพื่อความดับ ให้ถึงความตรัสรู้เป็นธรรมอันพระสุคตประกาศ ไว้ แต่บุคคลนี้เกิดเสียในปัจจันติมชนบท ในจำพวกชนชาติมิลักขะผู้โง่เขลา ไร้ คติของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา นี้มิใช่ขณะมิใช่สมัยเพื่อการอยู่พระพฤติ พรหมจรรย์ข้อที่หก ฯ ๗. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก พระตถาคตอรหันตสัมมา- *สัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติในโลก และธรรมที่พระองค์ทรงแสดงก็เป็นไปเพื่อความ สงบระงับ เป็นไปเพื่อความดับ ให้ถึงความตรัสรู้เป็นธรรมอันพระสุคตประกาศ ไว้ และบุคคลนี้ก็เกิดในมัชฌิมชนบทแต่เขาเป็นคนมิจฉาทิฐิ มีความเห็นวิปริตว่า ทานที่บุคคลให้ไม่มีผลการบูชาไม่มีผล ผลวิบากของกรรมที่บุคคลทำดีหรือทำชั่ว ไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี โอปปาติกะสัตว์ไม่มี ในโลก ไม่มีสมณพราหมณ์ ผู้ดำเนินไปดี ปฏิบัติชอบแล้ว กระทำให้แจ้งซึ่ง โลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองแล้วยังผู้อื่นให้รู้ นี้มิใช่ขณะมิใช่สมัย เพื่อการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่เจ็ด ฯ ๘. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก พระตถาคตอรหันตสัมมา สัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติในโลก และธรรมที่พระองค์ทรงแสดงก็เป็นไปเพื่อความ สงบระงับ เป็นไปเพื่อความดับ ให้ถึงความตรัสรู้เป็นธรรมอันพระสุคตประกาศ ไว้ และบุคคลนี้ก็เกิดในมัชฌิมชนบทแต่เป็นคนโง่เซอะซะ เป็นคนใบ้ ไม่สามารถ ที่จะรู้อรรถแห่งสุภาษิตและทุพภาษิตได้ นี้มิใช่ขณะมิใช่สมัยเพื่อการอยู่ประพฤติ พรหมจรรย์ข้อที่แปด ฯ ๙. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก พระตถาคตอรหันตสัมมา- *สัมพุทธเจ้ามิได้เสด็จอุบัติในโลก และธรรมที่เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เป็นไป เพื่อความดับ ให้ถึงความตรัสรู้ เป็นธรรมอันพระสุคตประกาศไว้ ก็มิได้มีผู้ทรง แสดงไว้ และบุคคลนี้เกิดในมัชฌิมชนบท เป็นคนมีปัญญาไม่เซอะซะ ไม่เป็น คนใบ้ สามารถที่จะรู้อรรถแห่งสุภาษิตและทุพภาษิตได้ นี้มิใช่ขณะมิใช่สมัยเพื่อ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่เก้า ฯ [๓๕๕] อนุปุพพวิหาร ๙ อย่าง ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจาก อกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ฯ ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บรรลุทุติยฌาน มี ความผ่องใสแห่งจิตใจในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้นเพราะวิตกวิจารสงบระงับ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ฯ ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีอุเบกขามีสติ มี สัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะ ทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขามีสติอยู่เป็นสุขดังนี้ ฯ ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌานไม่ มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มี อุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ฯ ๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงเสียซึ่งรูป สัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญาดับไปเพราะไม่ใส่ใจซึ่งนานัตตสัญญา เข้าถึงอากาสานัญจายตนะด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ ดังนี้อยู่ ฯ ๖. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงเสียซึ่ง อากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง แล้วเข้าถึงวิญญาณัญจายตนะด้วยมนสิการ ว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ ดังนี้อยู่ ฯ ๗. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงเสียซึ่ง วิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง แล้วเข้าถึงอากิญจัญญายตนะด้วยมนสิการ ว่า ไม่มีอะไร ดังนี้อยู่ ฯ ๘. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงซึ่งอากิญ- *จัญญายตนะโดยประการทั้งปวง แล้วเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะอยู่ ฯ ๙. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงเสียซึ่ง เนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง แล้วเข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ ฯ [๓๕๖] อนุปุพพนิโรธ ๙ อย่าง ๑. กามสัญญาของท่านผู้เข้าปฐมฌานย่อมดับไป ๒. วิตกวิจารของท่านผู้เข้าทุติยฌานย่อมดับไป ๓. ปีติของท่านผู้เข้าตติยฌานย่อมดับไป ๔. ลมอัสสาสะและปัสสาสะของท่านผู้เข้าจตุตถฌาน ย่อมดับไป ๕. รูปสัญญาของท่านผู้เข้าอากาสานัญจายตนะสมาบัติ ย่อมดับไป ๖. อากาสานัญจายตนสัญญาของท่านผู้เข้าวิญญาณัญจายตนสมาบัติย่อม ดับไป ๗. วิญญาณัญจายตนสัญญาของท่านผู้เข้าอากิญจัญญายตนสมาบัติย่อมดับไป ๘. อากิญจัญญายตนสัญญาของท่านผู้เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ย่อมดับไป ๙. สัญญาและเวทนาของท่านผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธย่อมดับไป ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๙ๆ เหล่านี้แล อันพระผู้มี- *พระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้ โดยชอบแล้ว พวกเราทั้งหมดด้วยกันพึงสังคายนา ไม่พึงแก่งแย่งกันในธรรมนั้น การที่พรหมจรรย์นี้พึงยั่งยืนตั้งอยู่นานนั้น พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อ ความสุขแก่ชนมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อ ความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ
จบ หมวด ๙
-----------------------------------------------------
หมวด ๑๐
[๓๕๗] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๑๐ๆ ที่พระผู้มี- *พระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็นเป็นพระอรหันตสันมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้ โดยชอบมีอยู่ พวกเราทั้งหมดด้วยกันพึงสังคายนา ไม่พึงแก่งแย่งกันในธรรมนั้น การที่พรหมจรรย์นี้พึงยั่งยืนตั้งอยู่นานนั้น พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อ ความสุขแก่ชนมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อ ความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๑๐ๆ เป็นไฉน ฯ
นาถกรณธรรม ๑๐ อย่าง
๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สำรวมระวังในพระ- *ปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจรอยู่ มีปรกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ผู้มีอายุทั้งหลาย แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีศีล สำรวมระวังในพระปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจรอยู่ มีปรกติเห็นภัยใน โทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย นี้เป็นนาถกรณธรรม ฯ ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้มีธรรม อันสดับ แล้วมาก ทรงธรรมที่ได้สดับแล้ว สะสมธรรมที่ได้สดับแล้ว ธรรมที่งามใน เบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิงเห็นปานนั้น อันเธอได้สดับแล้วมาก ทรงไว้แล้ว คล่องปาก ตามเพ่งด้วยใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยความเห็น ผู้มีอายุ ทั้งหลาย แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีธรรมอันสดับแล้วมาก ทรงธรรมที่ได้สดับแล้ว สะสมธรรมที่ได้สดับแล้ว ธรรมที่งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถพร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิงเห็น ปานนั้น อันเธอได้สดับแล้วมาก ทรงไว้แล้ว คล่องปาก ตามเพ่งด้วยใจ แทง ตลอดด้วยดีด้วยความเห็น นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม ฯ ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี ผู้มีอายุทั้งหลาย แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี นี้ก็ เป็นนาถกรณธรรม ฯ ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วย ธรรมที่กระทำให้เป็นผู้ว่าง่าย เป็นผู้อดทน เป็นผู้รับอนุศาสนีโดยเบื้องขวา ผู้มี อายุทั้งหลาย แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วยธรรมที่กระทำให้เป็นผู้ว่าง่าย เป็นผู้อดทน เป็นผู้รับอนุศาสนีโดยเบื้องขวา นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม ฯ ๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้ขยันไม่เกียจคร้าน ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาอันเป็นอุบายในกรณียะนั้นๆ สามารถทำ สามารถจัดในกรณียกิจใหญ่น้อยของเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย แม้ข้อที่ภิกษุเป็น คนขยันไม่เกียจคร้าน ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาอันเป็นอุบายใน กรณียะนั้นๆ สามารถทำ สามารถจัดในกรณียกิจใหญ่น้อยของเพื่อนสพรหมจารี ทั้งหลาย นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม ฯ ๖. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้ใคร่ในธรรม เจรจา น่ารัก มีความปราโมทย์ยิ่งในพระอภิธรรม ในพระอภิวินัย แม้ข้อที่ภิกษุเป็นคน ใคร่ในธรรมเจรจาน่ารัก มีความปราโมทย์ยิ่งในพระอภิธรรม ในพระอภิวินัย นี้ก็ เป็นนาถกรณธรรม ฯ ๗. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัชบริขารอันเป็นปัจจัยแก่คนไข้ตามมีตามได้ ผู้มี อายุทั้งหลาย แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ เภสัชบริขารอันเป็นปัจจัยแก่คนไข้ ตามมีตามได้ นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม ฯ ๘. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อจะยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อมอยู่ เป็นผู้มีเรี่ยวแรง มีความ บากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในธรรมที่เป็นกุศล ผู้มีอายุทั้งหลาย แม้ข้อที่ภิกษุ ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อจะยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อม มีเรี่ยวแรง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในธรรมที่เป็นกุศล นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม ฯ ๙. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้มีสติ ประกอบด้วย สติและปัญญาเครื่องรักษาตนอย่างยอดเยี่ยม แม้สิ่งที่ทำแล้วนาน แม้คำที่พูด แล้วนาน ก็นึกได้ระลึกได้ ผู้มีอายุทั้งหลาย แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีสติ ประกอบ ด้วยสติและปัญญาเครื่องรักษาตนอย่างยอดเยี่ยม แม้สิ่งที่ทำแล้วนาน แม้คำที่พูด แล้วนาน ก็นึกได้ระลึกได้ นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม ฯ ๑๐. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้มีปัญญา ประกอบ ด้วยปัญญาที่เห็นความเกิดและความดับอันประเสริฐ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความ สิ้นทุกข์โดยชอบ ผู้มีอายุทั้งหลาย แม้ข้อที่ภิกษุเป็นคนมีปัญญา ประกอบด้วย ปัญญาที่เห็นความเกิดและความดับอันประเสริฐ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์ โดยชอบ นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม ฯ [๓๕๘] กสิณายตนะ [แดนกสิณ] ๑๐ อย่าง ๑. ผู้หนึ่งย่อมจำปฐวีกสิณได้ ทั้งเบื้องบนเบื้องล่างเบื้องขวาง ตามลำดับ หาประมาณมิได้ ๒. ผู้หนึ่งย่อมจำอาโปกสิณได้ ทั้งเบื้องบนเบื้องล่างเบื้องขวาง ตาม ลำดับหาประมาณมิได้ ๓. ผู้หนึ่งย่อมจำเตโชกสิณได้ ทั้งเบื้องบนเบื้องล่างเบื้องขวาง ตาม ลำดับหาประมาณมิได้ ๔. ผู้หนึ่งย่อมจำวาโยกสิณได้ ทั้งเบื้องบนเบื้องล่างเบื้องขวาง ตาม ลำดับหาประมาณมิได้ ๕. ผู้หนึ่งย่อมจำนีลกสิณได้ ทั้งเบื้องบนเบื้องล่างเบื้องขวาง ตามลำดับ หาประมาณมิได้ ๖. ผู้หนึ่งย่อมจำปีตกสิณได้ ทั้งเบื้องบนเบื้องล่างเบื้องขวาง ตามลำดับ หาประมาณมิได้ ๗. ผู้หนึ่งย่อมจำโลหิตกสิณได้ ทั้งเบื้องบนเบื้องล่างเบื้องขวาง ตาม ลำดับหาประมาณมิได้ ๘. ผู้หนึ่งย่อมจำโอทาตกสิณได้ ทั้งเบื้องบนเบื้องล่างเบื้องขวาง ตาม ลำดับหาประมาณหามิได้ ๙. ผู้หนึ่งย่อมจำอากาสกสิณได้ ทั้งเบื้องบนเบื้องล่างเบื้องขวาง ตาม ลำดับหาประมาณมิได้ ๑๐. ผู้หนึ่งย่อมจำวิญญาณกสิณได้ ทั้งเบื้องบนเบื้องล่างเบื้องขวาง ตาม ลำดับหาประมาณมิได้ [๓๕๙] อกุศลกรรมบถ ๑๐ อย่าง ๑. ปาณาติบาต [การยังสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป] ๒. อทินนาทาน [การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้] ๓. กาเมสุมิจฉาจาร [การประพฤติผิดในกาม] ๔. มุสาวาท [พูดเท็จ] ๕. ปิสุณาวาจา [พูดส่อเสียด] ๖. ผรุสวาจา [พูดคำหยาบ] ๗. สัมผัปปลาป [พูดเพ้อเจ้อ] ๘. อภิชฌา [ความโลภอยากได้ของเขา] ๙. พยาบาท [ความปองร้ายเขา] ๑๐. มิจฉาทิฏฐิ [ความเห็นผิด] [๓๖๐] กุศลกรรมบถ ๑๐ อย่าง ๑. ปาณาติปาตา เวรมณี [เจตนาเครื่องเว้น จากการยังสัตว์มีชีวิต ให้ตกล่วงไป] ๒. อทินนาทานา เวรมณี [เจตนาเครื่องเว้น จากการถือเอาสิ่งของที่ เจ้าของมิได้ให้] ๓. กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี [เจตนาเครื่องเว้น จากการประพฤติผิด ในกาม] ๔. มุสาวาทา เวรมณี [เจตนาเครื่องเว้น จากการพูดเท็จ] ๕. ปิสุณาย วาจาย เวรมณี [เจตนาเครื่องเว้น จากการพูดส่อเสียด] ๖. ผรุสาย วาจาย เวรมณี [เจตนาเครื่องเว้น จากการพูดคำหยาบ] ๗. สัมผัปปลาปา เวรมณี [เจตนาเครื่องเว้น จากการพูดเพ้อเจ้อ] ๘. อนภิชฌา [ความไม่โลภอยากได้ของเขา] ๙. อัพยาบาท [ความไม่ปองร้ายเขา] ๑๐. สัมมาทิฏฐิ [ความเห็นชอบ] [๓๖๑] อริยวาส ๑๐ อย่าง ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นผู้มีองค์ห้าอันละขาดแล้ว ๒. เป็นผู้ประกอบด้วยองค์หก ๓. เป็นผู้มีอารักขาอย่างหนึ่ง ๔. เป็นผู้มีที่พิงสี่ ๕. เป็นผู้มีสัจจะเฉพาะอย่างอันบรรเทาเสียแล้ว ๖. เป็นผู้มีการแสวงหาอันสละแล้วโดยชอบ ๗. เป็นผู้มีความดำริไม่ขุ่นมัว ๘. เป็นผู้มีกายสังขารสงบระงับ ๙. เป็นผู้มีจิตพ้นวิเศษดีแล้ว ๑๐. เป็นผู้มีปัญญาพ้นวิเศษดีแล้ว ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้มีองค์ห้าอัน ละขาดแล้ว ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีกามฉันทะอันละได้ ขาดแล้ว มีความพยาบาทอันละได้ขาดแล้ว มีถีนมิทธะอันละได้ขาดแล้ว มิ อุทธัจจกุกกุจจะอันละได้ขาดแล้ว มีวิจิกิจฉาอันละได้ขาดแล้ว ผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีองค์ห้าอันละได้ขาดแล้ว ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วย องค์หก ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยนัยน์ตาแล้ว เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ ฟังเสียงด้วยหูแล้ว เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ ดมกลิ่นด้วยจมูก แล้ว เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ ลิ้มรสด้วยลิ้น แล้ว เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ ถูกต้อง โผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะ อยู่ รู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ เป็นผู้วางเฉย มีสติ สัมปชัญญะอยู่ ผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วย องค์หก ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้มีอารักขาอย่างหนึ่ง ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมประกอบด้วยใจอันมี สติเป็นเครื่องอารักขา ผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีอารักขา อย่างหนึ่ง ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุจึงจะชื่อว่ามีที่พิงสี่ ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาแล้วเสพของ อย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วอดกลั้นของอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วเว้นของอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วบรรเทาของอย่างหนึ่ง ผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็น ผู้มีที่พิงสี่ ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้มีสัจจะเฉพาะอย่าง อันบรรเทาเสียแล้ว ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สัจจะเฉพาะอย่างเป็นอันมากของสมณะและ พราหมณ์เป็นอันมาก ย่อมเป็นของอันภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ทำให้เบาบรรเทา เสียแล้ว สละ คลาย ปล่อย ละ สละคืนเสียหมดสิ้นแล้ว ผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีสัจจะเฉพาะอย่างอันบรรเทาเสียแล้ว ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้มีการแสวงหาอัน สละแล้วโดยชอบ ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีการแสวงหากาม อันละได้ขาดแล้ว มีการแสวงหาภพอันละได้ขาดแล้ว มีการแสวงหาพรหมจรรย์ อันสละคืนแล้ว ผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีการแสวงหาอัน สละแล้วโดยชอบ ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้มีความดำริไม่ ขุ่นมัว ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละความดำริใน ทางกามได้ขาดแล้ว เป็นผู้ละความดำริในทางพยาบาทได้ขาดแล้ว เป็นผู้ละความ ดำริในทางเบียดเบียนได้ขาดแล้ว ผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มี ความดำริไม่ขุ่นมัว ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้มีกายสังขารสงบ ระงับ ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌานอันไม่มี ทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มี อุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์ ผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มี กายสังขารสงบระงับ ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้มีจิตพ้นวิเศษ ดีแล้ว ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีจิตพ้นแล้วจากราคะ มีจิตพ้นแล้วจากโทสะ มีจิตพ้นแล้วจากโมหะ ผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีจิตพ้นวิเศษดีแล้ว ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้มีปัญญาพ้นวิเศษ ดีแล้ว ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดว่า ราคะอันเรา ละได้แล้ว ถอนรากขึ้นเสียได้แล้ว กระทำให้เป็นดุจต้นตาลอันไม่มีที่ตั้งแล้ว ๑- ทำให้เป็นของไม่มีแล้ว มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา โทสะอันเราละได้แล้ว @๑. เช่นตาลยอดด้วน ไม่งอกขึ้นต่อไป ถอนรากขึ้นเสียได้แล้ว กระทำให้เป็นดุจต้นตาลอันไม่มีที่ตั้งแล้ว ทำให้เป็นของ ไม่มีแล้ว มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา โมหะอันเราละได้แล้ว ถอนรากขึ้น เสียได้แล้ว กระทำให้เป็นดุจต้นตาลอันไม่มีที่ตั้งแล้ว ทำให้เป็นของไม่มีแล้ว มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา ผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มี ปัญญาพ้นวิเศษดีแล้ว ฯ [๓๖๒] อเสขธรรม ๑๐ อย่าง ๑. ความเห็นชอบที่เป็นของพระอเสขะ ๒. ความดำริชอบที่เป็นของพระอเสขะ ๓. เจรจาชอบที่เป็นของพระอเสขะ ๔. การงานชอบที่เป็นของพระอเสขะ ๕. การเลี้ยงชีวิตชอบที่เป็นของพระอเสขะ ๖. ความเพียรชอบที่เป็นของพระอเสขะ ๗. ความระลึกชอบที่เป็นของพระอเสขะ ๘. ความตั้งใจมั่นชอบที่เป็นของพระอเสขะ ๙. ความรู้ชอบที่เป็นของพระอเสขะ ๑๐. ความหลุดพ้นชอบที่เป็นของพระอเสขะ ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๑๐ๆ เหล่านี้แล อันพระผู้มี- *พระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น ตรัสไว้ ชอบแล้ว พวกเราทั้งหมดด้วยกันพึงสังคายนา ไม่พึงแก่งแย่งกัน การที่พรหมจรรย์ นี้ยั่งยืนตั้งอยู่นานนั้น พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและ มนุษย์ทั้งหลาย ฯ
จบ หมวด ๑๐
-----------------------------------------------------
[๓๖๓] ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จลุกขึ้นแล้วตรัสกะท่านพระ สารีบุตรว่า ดีละ ดีละ สารีบุตร ดูกรสารีบุตร เธอได้ภาษิตสังคีติปริยายแก่ ภิกษุทั้งหลาย เป็นการดีแล้ว ดังนี้ ท่านพระสารีบุตร ได้กล่าวสังคีติปริยายนี้ แล้ว พระศาสดาทรงพอพระทัย และภิกษุเหล่านั้นต่างดีใจ ชื่นชมภาษิตของท่าน พระสารีบุตรแล้ว ดังนี้แล ฯ
จบ สังคีติสูตร ที่ ๑๐
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ บรรทัดที่ ๖๑๗๑-๗๐๑๕ หน้าที่ ๒๕๓-๒๘๘. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=11&A=6171&Z=7015&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6], [7], [8], [9], [10], [11], [12]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=11&siri=10              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=11&i=221              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [326-363] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=11&item=326&items=38              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=6&A=4096              The Pali Tipitaka in Roman :- [326-363] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=11&item=326&items=38              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=6&A=4096              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ https://84000.org/tipitaka/read/?index_11              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/dn33/en/sujato https://suttacentral.net/dn33/en/tw-caf_rhysdavids

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :