ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
พระอิศวรทำให้ ว่าพระพรหมทำให้ ตามลัทธิอาจารย์ เราจึงเข้าไปถามเขาอย่างนี้ว่า
ได้ยินว่า ท่านทั้งหลายบัญญัติสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ ว่าพระอิศวรทำให้ ว่าพระ-
*พรหมทำให้ ตามลัทธิอาจารย์จริงหรือ สมณพราหมณ์เหล่านั้น ถูกเราถามอย่างนี้
แล้วยืนยันว่าเป็นเช่นนั้น เราจึงถามต่อไปว่า พวกท่านบัญญัติสิ่งที่โลกสมมติว่า
เลิศ ว่าพระอิศวรทำให้ ว่าพระพรหมทำให้ ตามลัทธิอาจารย์มีแบบอย่างไร
สมณพราหมณ์เหล่านั้นถูกเราถามอย่างนี้ เมื่อตอบไม่ถูก จึงย้อนถามเรา เราถูก
ถามแล้วจึงพยากรณ์ว่า ท่านทั้งหลาย มีสมัยบางครั้งบางคราวโดยระยะกาลยืดยาว
ช้านาน ที่โลกนี้จะพินาศ เมื่อโลกกำลังพินาศอยู่ โดยมากเหล่าสัตว์ย่อมเกิดใน
ชั้นอาภัสสรพรหม สัตว์เหล่านั้นได้สำเร็จทางใจ มีปีติเป็นอาหาร มีรัศมีซ่านออก
จากกายตนเอง สัญจรไปได้ในอากาศ อยู่ในวิมานอันงาม สถิตอยู่ในภพนั้นสิ้น
กาลยืดยาวช้านาน ฯ
             ดูกรท่านทั้งหลาย มีสมัยบางครั้งบางคราวโดยระยะกาลยืดยาวช้านาน
ที่โลกนี้จะกลับเจริญ เมื่อโลกกำลังเจริญอยู่ วิมานของพรหมปรากฏว่าว่างเปล่า
ครั้งนั้น สัตว์ผู้ใดผู้หนึ่งจุติจากชั้นอาภัสสรพรหม เพราะสิ้นอายุหรือสิ้นบุญย่อม
เข้าถึงวิมานพรหมที่ว่างเปล่า แม้สัตว์ผู้นั้นก็ได้สำเร็จทางใจ มีปีติเป็นอาหารมี
รัศมีซ่านออกจากกายตนเอง สัญจรไปได้ในอากาศ อยู่ในวิมานอันงามสถิตอยู่ใน
ภพนั้นสิ้นกาลยืดยาวช้านาน เพราะสัตว์นั้นอยู่แต่ผู้เดียวเป็นเวลานาน จึงเกิดความ
กระสันความดิ้นรนขึ้นว่า โอหนอ แม้สัตว์เหล่าอื่นก็พึงมาเป็นอย่างนี้บ้าง ต่อมา
สัตว์เหล่าอื่นก็จุติจากชั้นอาภัสสรพรหม เพราะสิ้นอายุหรือเพราะสิ้นบุญ ย่อมเข้า
ถึงวิมานพรหมที่ว่าง เป็นสหายของสัตว์ผู้นั้น แม้สัตว์พวกนั้นก็ได้สำเร็จทางใจ
มีปีติเป็นอาหาร มีรัศมีซ่านออกจากกายตนเอง สัญจรไปได้ในอากาศ อยู่ใน
วิมานอันงาม สถิตอยู่ในภพนั้นสิ้นกาลยืดยาวช้านาน ฯ
             ดูกรท่านทั้งหลาย บรรดาสัตว์จำพวกนั้น ผู้ใดเกิดก่อน ผู้นั้นย่อมมีความ
คิดเห็นอย่างนี้ว่า เราเป็นพรหม เราเป็นมหาพรหม เป็นใหญ่ไม่มีใครข่มได้ เห็น
ถ่องแท้ เป็นผู้กุมอำนาจ เป็นอิศวร เป็นผู้สร้าง เป็นผู้นิรมิต เป็นผู้ประเสริฐ
เป็นผู้บงการ เป็นผู้ทรงอำนาจ เป็นบิดาของหมู่สัตว์ผู้เป็นแล้วและกำลังเป็น สัตว์
เหล่านี้ เราเนรมิตขึ้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า เราได้มีความคิดอย่างนี้ก่อนว่า
โอหนอแม้สัตว์เหล่าอื่นก็พึงมาเป็นอย่างนี้บ้าง ความตั้งใจของเราเป็นเช่นนี้และ
สัตว์เหล่านี้ก็ได้มาเป็นอย่างนี้แล้ว แม้พวกสัตว์ที่เกิดภายหลังก็มีความคิดเห็นอย่าง
นี้ว่าท่านผู้เจริญนี้แลเป็นพรหม เป็นมหาพรหม เป็นใหญ่ ไม่มีใครข่มได้ เห็น
ถ่องแท้ เป็นผู้กุมอำนาจ เป็นอิศวร เป็นผู้สร้าง เป็นผู้นิรมิต เป็นผู้ประเสริฐ
เป็นผู้บงการ เป็นผู้ทรงอำนาจ เป็นบิดาของหมู่สัตว์ผู้เป็นแล้วและกำลังเป็น พวก
เราอันพระพรหมผู้เจริญนี้นิรมิตแล้ว ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าพวกเราได้เห็น
ท่านพรหมผู้นี้เกิดก่อน ส่วนพวกเราเกิดภายหลัง ฯ
             ดูกรท่านทั้งหลาย บรรดาสัตว์จำพวกนั้นสัตว์ใดเกิดก่อน สัตว์นั้นมีอายุ
ยืนกว่า มีผิวพรรณงามกว่า มีศักดิ์มากกว่า ส่วนสัตว์ที่เกิดภายหลังมีอายุน้อย
กว่า มีผิวพรรณทรามกว่า มีศักดิ์น้อยกว่า ดูกรท่านทั้งหลาย ก็เป็นฐานะที่จะมี
ได้แล ที่สัตว์ผู้ใดผู้หนึ่งจุติจากชั้นนั้นแล้วมาเป็น ๑- อย่างนี้ เมื่อมาเป็นอย่างนี้แล้ว
จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เมื่อบวชแล้ว อาศัยความเพียรเป็นเครื่องเผา
กิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท
อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิ ที่เมื่อตั้งมั่นแล้ว ย่อมตามระลึก
ถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนนั้นได้ หลังแต่นั้นไประลึกไม่ได้ เขาจึงกล่าวอย่าง
นี้ว่า ท่านผู้ใดแลเป็นพรหม เป็นมหาพรหม เป็นใหญ่ ไม่มีใครข่มได้ เห็น
@๑. เกิดเป็นมนุษย์
ถ่องแท้ เป็นผู้กุมอำนาจ เป็นผู้สร้าง เป็นผู้นิรมิต เป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้บงการ
เป็นผู้ทรงอำนาจ เป็นบิดาของหมู่สัตว์ผู้เป็นแล้วและกำลังเป็น พระพรหมผู้เจริญ
ใดที่นิรมิตพวกเรา พระพรหมผู้เจริญนั้นเป็นผู้เที่ยงยั่งยืน คงทน มีอายุยืน มีอันไม่
แปรผันเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่เที่ยงเสมอไปเช่นนั้นทีเดียว ส่วนพวกเราที่พระพรหม
ผู้เจริญนั้นนิรมิตแล้วนั้น เป็นผู้ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงทน มีอายุน้อย ยังต้อง
จุติมาเป็นอย่างนี้ ก็พวกท่านบัญญัติสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ ว่าพระอิศวรทำให้
ว่าพระพรหมทำให้ตามลัทธิอาจารย์ มีแบบเช่นนี้หรือมิใช่ สมณพราหมณ์เหล่านั้น
ตอบอย่างนี้ว่า ท่านโคดม พวกข้าพเจ้าได้ทราบมาดังที่ท่านโคดมได้กล่าวมานี้แล ฯ
             ดูกรภัคควะ เราย่อมทราบชัดซึ่งสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ ทั้งรู้ชัดยิ่งกว่านั้น
และไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย เมื่อไม่ยึดมั่น จึงทราบความดับได้เฉพาะตน
ฉะนั้น ตถาคตจึงไม่ถึงทุกข์ ฯ
             [๑๔] ดูกรภัคควะ มีสมณพราหมณ์บางพวกบัญญัติสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ
ว่ามีมูลมาแต่เทวดาเหล่าขิฑฑาปโทสิกะ ตามลัทธิอาจารย์ เราจึงเข้าไปถามอย่างนี้
ว่า ทราบว่าท่านทั้งหลายบัญญัติสิ่งโลกสมมติว่าเลิศ ว่ามีมูลมาแต่เทวดาเหล่า
ขิฑฑาปโทสิกะ ตามลัทธิอาจารย์จริงหรือ สมณพราหมณ์เหล่านั้นถูกเราถามอย่าง
นี้แล้ว ยืนยันว่าเป็นเช่นนั้น เราจึงถามต่อไปว่า พวกท่านบัญญัติสิ่งที่โลกสมมติ
ว่าเลิศ ว่ามีมูลมาแต่เทวดาเหล่าขิฑฑาปโทสิกะตามลัทธิอาจารย์ มีแบบอย่างไร
สมณพราหมณ์เหล่านั้นถูกเราถามอย่างนี้แล้ว ตอบไม่ถูก เมื่อตอบไม่ถูก จึงย้อน
ถามเรา เราถูกถามแล้ว จึงพยากรณ์ว่า-
             ดูกรท่านทั้งหลาย พวกเทวดาชื่อว่าขิฑฑาปโทสิกะมีอยู่ พวกนั้นพากัน
หมกมุ่นอยู่แต่ในความรื่นรมย์ คือการสรวลเสและการเล่นหัวจนเกินเวลา เมื่อพวก
นั้นพากันหมกมุ่นอยู่แต่ในความรื่นรมย์ คือการสรวลเสและการเล่นหัวจนเกินเวลา
สติก็ย่อมหลงลืม เพราะสติหลงลืม จึงพากันจุติจากชั้นนั้น ดูกรท่านทั้งหลาย ก็เป็น
ฐานะที่จะมีได้แล ที่สัตว์ผู้ใดผู้หนึ่งจุติจากชั้นนั้นแล้วมาเป็นอย่างนี้ เมื่อมาเป็น
อย่างนี้แล้ว จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เมื่อบวชแล้วอาศัยความเพียร
เป็นเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนืองๆ อาศัย
ความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิที่เมื่อตั้งมั่นแล้ว
ย่อมตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนนั้นได้ หลังแต่นั้นไประลึกไม่ได้
เขาจึงกล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน พวกเทวดาผู้มิใช่เหล่าขิฑฑาปโทสิกะ ย่อมไม่พากัน
หมกมุ่นอยู่แต่ในความรื่นรมย์ คือการสรวลเสและการเล่นหัวจนเกินเวลา สติ
ย่อมไม่หลงลืม เพราะสติไม่หลงลืม พวกเหล่านั้นจึงไม่จุติจากชั้นนั้น เป็นผู้เที่ยง
ยั่งยืน คงทน มีอายุยืน มีอันไม่แปรผันเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่เที่ยงเสมอไปเช่นนั้น
ทีเดียว ส่วนพวกเราเหล่าขิฑฑาปโทสิกะ หมกมุ่นอยู่แต่ในความรื่นรมย์ คือการ
สรวลเสและการเล่นหัวจนเกินเวลา สติย่อมหลงลืม เพราะสติหลงลืม พวกเราจึง
พากันจุติจากชั้นนั้น เป็นผู้ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงทน มีอายุน้อย ยังต้องจุติมาเป็น
อย่างนี้ ก็พวกท่านบัญญัติสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ ว่ามีมูลมาแต่เทวดาเหล่าขิฑฑาป-
*โทสิกะ ตามลัทธิอาจารย์ มีแบบเช่นนี้หรือมิใช่ สมณพราหมณ์เหล่านั้นตอบ
อย่างนี้ว่า ท่านโคดม พวกข้าพเจ้าได้ทราบมาดังที่ท่านโคดมได้กล่าวมานี้แล ดูกร
ภัคควะ เราย่อมทราบชัดซึ่งสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ ทั้งรู้ชัดยิ่งกว่านั้น และไม่ยึดมั่น
ความรู้ชัดนั้นด้วย เมื่อไม่ยึดมั่น จึงทราบความดับเฉพาะตน ฉะนั้น ตถาคต
จึงไม่ถึงทุกข์ ฯ
             [๑๕] ดูกรภัคควะ มีสมณพราหมณ์บางจำพวกบัญญัติสิ่งที่โลกสมมติ
ว่าเลิศ ว่ามีมูลมาแต่เทวดาเหล่ามโนปโทสิกะ ตามลัทธิอาจารย์ เราจึงเข้าไปถาม
เขาอย่างนี้ว่า ทราบว่าท่านทั้งหลายบัญญัติสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศว่ามีมูลมาแต่เทวดา
เหล่ามโนปโทสิกะ ตามลัทธิอาจารย์จริงหรือ สมณพราหมณ์เหล่านั้นถูกเราถาม
อย่างนี้แล้ว ยืนยันว่าเป็นเช่นนั้น เราจึงถามต่อไปว่า พวกท่านบัญญัติสิ่งที่โลก
สมมติว่าเลิศ ว่ามีมูลมาแต่เทวดาเหล่ามโนปโทสิกะ ตามลัทธิอาจารย์ มีแบบ
อย่างไร สมณพราหมณ์เหล่านั้นถูกเราถามอย่างนี้แล้ว ตอบไม่ถูก เมื่อตอบไม่ถูก
จึงย้อนถามเรา เราถูกถามแล้ว จึงพยากรณ์ว่า-
             ดูกรท่านทั้งหลาย พวกเทวดาชื่อมโนปโทสิกะมีอยู่ พวกนั้นมักเพ่งโทษ
กันและกันเกินควร เมื่อมัวเพ่งโทษกันและกันเกินควร ย่อมคิดมุ่งร้ายกันและกัน
เมื่อต่างคิดมุ่งร้ายกันและกัน จึงลำบากกายลำบากใจ พากันจุติจากชั้นนั้น ดูกร
ท่านทั้งหลาย ก็เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่สัตว์ผู้ใดผู้หนึ่งจุติจากชั้นนั้นแล้วมาเป็น
อย่างนี้ เมื่อมาเป็นอย่างนี้แล้ว จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เมื่อบวชแล้ว
อาศัยความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบ
เนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิ
ที่เมื่อตั้งมั่นแล้ว ย่อมตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนนั้นได้ หลังแต่
นั้นไประลึกไม่ได้ เขาจึงกล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน พวกเทวดาผู้มิใช่เหล่ามโนปโทสิกะ
ย่อมไม่มัวเพ่งโทษกันและกันเกินควร เมื่อไม่มัวเพ่งโทษกันและกันเกินควร ก็
ไม่คิดมุ่งร้ายกันและกัน เมื่อต่างไม่คิดมุ่งร้ายกันและกันแล้ว ก็ไม่ลำบากกาย
ไม่ลำบากใจ พวกนั้นจึงไม่จุติจากชั้นนั้น เป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน คงทน มีอายุยืน
มีอันไม่แปรผันเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่เที่ยงเสมอไปเช่นนั้นทีเดียว ส่วนพวกเรา
เหล่ามโนปโทสิกะมัวเพ่งโทษกันและกันเกินควร เมื่อมัวเพ่งโทษกันและกันเกิน
ควร ก็คิดมุ่งร้ายกันและกัน เมื่อต่างคิดมุ่งร้ายกันและกัน จึงพากันลำบากกาย
ลำบากใจ พวกเราจึงพากันจุติจากชั้นนั้น เป็นผู้ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงทน
มีอายุน้อย ยังต้องจุติมาเป็นอย่างนี้ ก็พวกท่านบัญญัติสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ ว่า
มีมูลมาแต่เทวดาเหล่ามโนปโทสิกะ ตามลัทธิอาจารย์ มีแบบเช่นนี้ หรือมิใช่
สมณพราหมณ์เหล่านั้นตอบอย่างนี้ว่า ท่านโคดม พวกข้าพเจ้าได้ทราบมาดังที่
ท่านโคดมได้กล่าวมานี้แล ดูกรภัคควะ เราย่อมทราบชัดซึ่งสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ
ทั้งรู้ชัดยิ่งกว่านั้น แต่เราไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย เมื่อไม่ยึดมั่น จึงทราบ
ความดับเฉพาะตน ฉะนั้น ตถาคตจึงไม่ถึงทุกข์ ฯ
             [๑๖] ดูกรภัคควะ มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัติสิ่งที่โลกสมมติว่า
เลิศ ถือกันว่าเกิดขึ้นลอยๆ ตามลัทธิอาจารย์ เราจึงเข้าไปถามเขาอย่างนี้ว่า
ทราบว่า ท่านทั้งหลายบัญญัติสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ ถือกันว่าเกิดขึ้นลอยๆ ตาม
ลัทธิอาจารย์ จริงหรือ สมณพราหมณ์เหล่านั้นถูกเราถามอย่างนี้แล้ว ยืนยันว่า
เป็นเช่นนั้น เราจึงถามต่อไปว่า พวกท่านบัญญัติสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ ถือกันว่า
เกิดขึ้นลอยๆ ตามลัทธิอาจารย์ มีแบบอย่างไร สมณพราหมณ์เหล่านั้นถูกเราถาม
อย่างนี้แล้ว ตอบไม่ถูก เมื่อตอบไม่ถูก จึงย้อนถามเรา เราถูกถามแล้ว จึง
พยากรณ์ว่า-
             ดูกรท่านทั้งหลาย มีเทวดาเหล่าอสัญญีสัตว์ ก็แลเทวดาเหล่านั้นย่อมจุติ
จากชั้นนั้น เพราะความเกิดขึ้นแห่งสัญญา ดูกรท่านทั้งหลาย ก็เป็นฐานะที่จะมี
ได้แล ที่สัตว์ผู้ใดผู้หนึ่งจุติจากชั้นนั้น แล้วมาเป็นอย่างนี้ เมื่อมาเป็นอย่างนี้แล้ว
จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เมื่อบวชแล้ว อาศัยความเพียรเป็นเครื่องเผา
กิเลส อาศัยความเพียรเป็นที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนืองๆ อาศัยความไม่
ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิที่เมื่อตั้งมั่นแล้ว ย่อม
ตามระลึกถึงความเกิดขึ้นแห่งสัญญานั้นได้ หลังแต่นั้นไประลึกไม่ได้ เขาจึงกล่าว
อย่างนี้ว่า อัตตาและโลกเกิดขึ้นลอยๆ ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร เพราะว่า เมื่อ
ก่อนข้าพเจ้าไม่ได้มีแล้ว  [ไม่ได้มีสัญญา] เดี๋ยวนี้ข้าพเจ้านั้นไม่มี เพราะน้อมไป
เพื่อความเป็นผู้สงบแล้ว ก็พวกท่านบัญญัติสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ ถือกันว่าเกิดขึ้น
ลอยๆ ตามลัทธิอาจารย์ มีแบบเช่นนี้หรือ สมณพราหมณ์เหล่านั้นตอบอย่างนี้ว่า
ท่านโคดม พวกข้าพเจ้าก็ได้ทราบมาดังที่ท่านโคดมได้กล่าวมานี้แล ดูกรภัคควะ
เราย่อมทราบชัดซึ่งสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ ทั้งรู้ชัดยิ่งกว่านั้น และไม่ยึดมั่นความรู้ชัด
นั้นด้วย เมื่อไม่ยึดมั่น จึงทราบความดับเฉพาะตน ฉะนั้น ตถาคตจึงไม่ถึงทุกข์ ฯ
             [๑๗] ดูกรภัคควะ สมณพราหมณ์บางจำพวกกล่าวตู่เรา ผู้กล่าวอยู่อย่างนี้
เห็นอยู่อย่างนี้ ด้วยคำที่ไม่มีจริง ด้วยคำเปล่า ด้วยคำมุสา ด้วยคำที่ไม่เป็นจริงว่า
พระสมณโคดม และพวกภิกษุวิปริตไปแล้ว เพราะพระสมณโคดมตรัสอย่างนี้ว่า
สมัยใด พระโยคาวจรเข้าสุภวิโมกข์อยู่ สมัยนั้น ย่อมทราบชัดซึ่งสิ่งทั้งปวงว่า
ไม่งาม ดูกรภัคควะ ก็เราไม่ได้กล่าวอย่างนี้เลยว่า สมัยใด พระโยคาวจรย่อมเข้า
สุภวิโมกข์อยู่ สมัยนั้น ย่อมทราบชัดซึ่งสิ่งทั้งปวงว่า ไม่งาม แต่เราย่อมกล่าว
อย่างนี้ว่า สมัยใด พระโยคาวจรย่อมเข้าสุภวิโมกข์อยู่ สมัยนั้น ย่อมทราบชัด
แต่สิ่งที่งามเท่านั้น และผู้ที่ชื่อว่าวิปริตไปแล้ว ก็คือผู้ที่กล่าวร้ายพระผู้มีพระภาค
และพวกภิกษุ เพราะตนวิปริตไปเองว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เลื่อมใส
ในพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคทรงสามารถแสดงธรรมให้ข้าพระองค์
เข้าถึงสุภวิโมกข์อยู่ ฯ
             ดูกรภัคควะ การที่ท่านผู้มีความเห็นไปทางหนึ่ง มีความพอใจไปทางหนึ่ง
มีความชอบใจไปทางหนึ่ง ไม่มีความเพียรเป็นเครื่องประกอบ ไม่มีลัทธิอาจารย์
จะเข้าถึงสุภวิโมกข์อยู่ เป็นของยากมาก ขอให้ท่านจงพยายามรักษาความเลื่อมใส
ในเราเท่าที่ท่านมีอยู่ให้ดีก็พอ ฯ
             ปริพาชกชื่อภัคควโคตร จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าว่าการ
ที่ข้าพระองค์ผู้มีความเห็นไปทางหนึ่ง มีความพอใจไปทางหนึ่ง มีความชอบใจ
ไปทางหนึ่ง ไม่มีความเพียรเป็นเครื่องประกอบ ไม่มีลัทธิอาจารย์เข้าถึงสุภวิโมกข์
อยู่ เป็นของยากไซร้ ข้าพระองค์ก็จักพยายามรักษาความเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาค
เท่าที่ข้าพระองค์มีอยู่ให้ดี ฯ
             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพุทธพจน์นี้แล้ว ปริพาชกชื่อภัคควโคตร ยินดี
ชื่นชม เพลิดเพลินพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้วแล ฯ
จบ ปาฏิกสูตร ที่ ๑
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ บรรทัดที่ ๕๔๗-๗๐๗ หน้าที่ ๒๓-๒๙. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=11&A=547&Z=707&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=11&siri=1              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=11&i=1              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [13-17] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=11&item=13&items=5              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=6&A=1              The Pali Tipitaka in Roman :- [13-17] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=11&item=13&items=5              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=6&A=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ https://84000.org/tipitaka/read/?index_11              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/dn24/en/sujato https://suttacentral.net/dn24/en/tw_rhysdavids

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :