ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑
สังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๔
เรื่องพระอุทายี
[๔๑๔] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันอารามของอนาถ- *บัณฑิกะคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระอุทายีเป็นพระกุลุปกะในพระนครสาวัตถี เข้าไปสู่สกุลเป็นอันมาก ครั้งนั้น มีสตรีหม้ายผู้หนึ่ง รูปงาม น่าดู น่าชม ครั้นเวลาเช้า ท่านพระ- *อุทายีครองอันตรวาสกแล้ว ถือบาตรและจีวรเดินไปทางเรือนของสตรีหม้ายนั้น ครั้นแล้วนั่งเหนือ อาสนะที่เขาจัดถวาย จึงสตรีหม้ายนั้นเข้าไปหาท่านพระอุทายี กราบแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ท่านพระอุทายีได้ยังสตรีหม้ายนั้น ให้เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถา ครั้นแล้ว สตรีหม้ายนั้นได้กล่าวปวารณาท่านพระอุทายีว่า โปรดบอกเถิด เจ้าข้า ต้องการสิ่งใดซึ่งดิฉันสามารถ จัดหาถวายพระคุณเจ้าได้ คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ เภสัชบริขารอันเป็นปัจจัยของภิกษุไข้ พระอุทายีขอร้องว่า น้องหญิง ปัจจัยเหล่านั้น ไม่เป็นของหาได้ยากสำหรับฉัน ขอจง ให้ของที่หาได้ยากสำหรับฉันเถิด สตรีหม้ายถามว่า ของอะไร เจ้าขา อุ. เมถุนธรรม จ้ะ ส. พระคุณเจ้าต้องการหรือ เจ้าคะ อุ. ต้องการ จ้ะ สตรีหม้ายนั้นกล่าวว่า นิมนต์มาเถิด เจ้าค่ะ แล้วเดินเข้าห้อง เลิกผ้าสาฎกนอนหงาย บนเตียง ทันใดนั้น ท่านพระอุทายีตามเข้าไปหานางถึงเตียง ครั้นแล้วถ่มเขฬะรดพูดว่า ใครจัก ถูกต้องหญิงถ่อย มีกลิ่นเหม็นนี้ได้ ดังนี้แล้วหลีกไป จึงสตรีหม้ายนั้นเพ่งโทษว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้ เป็นผู้ไม่ละอาย ทุศีล พูดเท็จ พระสมณะเหล่านี้ยังจักปฏิญาณว่า เป็นผู้ประพฤติธรรม ประพฤติเรียบร้อย ประพฤติ พรหมจรรย์ พูดจริง มีศีล มีกัลยาณธรรม ดังนี้เล่า ติเตียนว่า ความเป็นสมณะของพระสมณะ เหล่านี้ไม่มี ความเป็นพราหมณ์ของพระสมณะเหล่านี้ไม่มี ความเป็นสมณะของพระสมณะเหล่านี้ พินาศแล้ว ความเป็นพราหมณ์ของพระสมณะเหล่านี้พินาศแล้ว ความเป็นสมณะของพระสมณะ- *เหล่านี้ จะมีแต่ไหน ความเป็นพราหมณ์ของพระสมณะเหล่านี้ จะมีแต่ไหน และโพนทะนาว่า พระสมณะเหล่านี้ ขาดจากความเป็นสมณะแล้ว พระสมณะเหล่านี้ขาดจากความเป็นพราหมณ์ แล้ว ไฉนพระสมณะอุทายีจึงได้ขอเมถุนธรรมต่อเราด้วยตนเอง แล้วถ่มเขฬะรดพูดว่า ใครจัก ถูกต้องหญิงถ่อยมีกลิ่นเหม็นนี้ได้ ดังนี้แล้วหลีกไป เรามีอะไรชั่วช้า เรามีอะไรที่มีกลิ่นเหม็น เราเลวกว่าหญิงคนไหนอย่างไร ดังนี้ แม้สตรีเหล่าอื่นก็เพ่งโทษว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้เป็นผู้ไม่ละอาย ทุศีล พูดเท็จ พระสมณะเหล่านี้ ยังจักปฏิญาณว่า เป็นผู้ประพฤติธรรม ประพฤติเรียบร้อย ประพฤติพรหมจรรย์ พูดจริง มีศีล มีกัลยาณธรรมดังนี้เล่า ติเตียนว่า ความเป็นสมณะของพระ สมณะเหล่านี้ไม่มี ความเป็นพราหมณ์ของพระสมณะเหล่านี้ไม่มี ความเป็นสมณะของพระสมณะ เหล่านี้ พินาศแล้ว ความเป็นพราหมณ์ของพระสมณะเหล่านี้ พินาศแล้ว ความเป็นสมณะของ พระสมณะเหล่านี้ จะมีแต่ไหน ความเป็นพราหมณ์ของพระสมณะเหล่านี้ จะมีแต่ไหน และโพน- *ทะนาว่า พระสมณะเหล่านี้ขาดจากความเป็นพระสมณะแล้ว พระสมณะเหล่านี้ ขาดจากความ เป็นพราหมณ์แล้ว ไฉน พระอุทายีจึงได้ขอเมถุนธรรมต่อสตรีนี้ด้วยตนเอง แล้วจึงถ่มเขฬะรด พูดว่า ใครจักถูกต้องหญิงถ่อยมีกลิ่นเหม็นนี้ได้ดังนี้ แล้วหลีกไป นางคนนี้มีอะไรชั่วช้า นางคนนี้ มีอะไรที่มีกลิ่นเหม็น นางคนนี้เลวกว่าสตรีคนไหน อย่างไร ดังนี้ ภิกษุทั้งหลายได้ยินสตรีพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน ท่านพระอุทายีจึงได้กล่าวคุณแห่งการบำเรอตนด้วยกามในสำนักมาตุคามเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาค
ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค รับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ใน เพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามท่านพระอุทายีว่า ดูกรอุทายี ข่าวว่า เธอกล่าวคุณแห่งการ บำเรอตนด้วยกามในสำนักมาตุคามจริงหรือ? ท่านพระอุทายีทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนเธอจึงได้กล่าวคุณแห่งการบำเรอตน ด้วยกาม ในสำนักมาตุคามเล่า ดูกรโมฆบุรุษ ธรรมอันเราแสดงแล้วโดยอเนกปริยาย เพื่อคลายความกำหนัด ไม่ใช่ เพื่อมีความกำหนัด เพื่อความพราก ไม่ใช่เพื่อความประกอบ เพื่อความไม่ถือมั่น ไม่ใช่เพื่อมีความ ถือมั่น มิใช่หรือ เมื่อธรรมชื่อนั้น อันเราแสดงแล้ว เพื่อคลายความกำหนัด เธอยังจักคิดเพื่อมี ความกำหนัด เราแสดงเพื่อความพราก เธอยังจักคิดเพื่อความประกอบ เราแสดงเพื่อความไม่ถือ มั่น เธอยังจักคิดเพื่อมีความถือมั่น ดูกรโมฆบุรุษ ธรรมอันเราแสดงแล้วโดยอเนกปริยาย เพื่อเป็นที่สำรอกแห่งราคะ เพื่อ เป็นที่สร่างแห่งความเมา เพื่อเป็นที่ดับสูญแห่งความระหาย เพื่อเป็นที่หลุดถอนแห่งอาลัย เพื่อ เป็นที่เข้าไปตัดแห่งวัฏฏะ เพื่อเป็นที่สิ้นแห่งตัณหา เพื่อคลายความกำหนัด เพื่อความดับทุกข์ เพื่อปราศจากตัณหาเครื่องร้อยรัดมิใช่หรือ ดูกรโมฆบุรุษ การละกาม การกำหนดรู้ความหมายในกาม การกำจัดความระหายในกาม การเพิกถอนความตรึกอันเกี่ยวด้วยกาม การระงับความกลัดกลุ้ม เพราะกาม เราบอกไว้แล้วโดย อเนกปริยาย มิใช่หรือ ดูกรโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่- *เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของเธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่ เลื่อมใสแล้ว พระผู้มีพระภาคทรงติเตียนท่านพระอุทายีโดยอเนกปริยายดังนี้แล้ว ตรัสโทษแห่งความ เป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความ คลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย แล้วทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุ ทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจ ประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่ม บุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดใน ปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตาม พระวินัย ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๘. ๔. อนึ่ง ภิกษุใด กำหนัดแล้ว มีจิตแปรปรวนแล้ว กล่าวคุณแห่งการบำเรอ กามของตนในสำนักมาตุคาม ด้วยถ้อยคำพาดพิงเมถุนว่า น้องหญิง สตรีใด บำเรอ ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ มีศีล มีกัลยาณธรรม เช่นเรา ด้วยธรรมนั่น นั่นเป็นยอดแห่ง ความบำเรอทั้งหลาย เป็นสังฆาทิเสส.
เรื่องพระอุทายี จบ.
สิกขาบทวิภังค์
[๔๑๕] บทว่า อนึ่ง...ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด มีการงานอย่างใด มีชาติอย่างใด มีชื่ออย่างใด มีโคตรอย่างใด มีปกติอย่างใด มีธรรมเครื่องอยู่อย่างใด มีอารมณ์อย่างใด เป็น เถระก็ตาม เป็นนวกะก็ตาม เป็นมัชฌิมะก็ตาม นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อนึ่ง...ใด บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้ขอ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถ ว่า ประพฤติภิกขาจริยวัตร ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว ชื่อว่า ภิกษุ โดยสมญา ชื่อว่า ภิกษุ โดยปฏิญญา ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นเอหิภิกษุ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อุปสมบทแล้วด้วยไตรสรณคมน์ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้เจริญ ชื่อ ว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่ามีสารธรรม ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะ อรรถว่า เป็นพระอเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียงกันอุปสมบทให้ แล้วด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบควรแก่ฐานะ บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุนี้ใด ที่สงฆ์พร้อม เพรียงกันอุปสมบทให้แล้วด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบควรแก่ฐานะ ภิกษุนี้ พระผู้มีพระภาค ทรงประสงค์ว่า ภิกษุ ในอรรถนี้ ที่ชื่อว่า กำหนัดแล้ว คือ มีความยินดี มีความเพ่งเล็ง มีจิตปฏิพัทธ์ บทว่า แปรปรวนแล้ว ความว่า จิตที่ถูกราคะย้อมแล้วก็แปรปรวน ที่ถูกโทสะประทุษร้าย แล้วก็แปรปรวน ที่ถูกโมหะให้ลุ่มหลงแล้วก็แปรปรวน แต่ที่ว่าแปรปรวนในอรรถนี้ ทรงประสงค์ จิตที่ถูกราคะย้อมแล้ว ที่ชื่อว่า มาตุคาม ได้แก่หญิงมนุษย์ ไม่ใช่หญิงยักษ์ ไม่ใช่หญิงเปรต ไม่ใช่สัตว์ ดิรัจฉานตัวเมีย เป็นหญิงที่รู้เดียงสา สามารถทราบซึ้งถึงถ้อยคำเป็นสุภาษิต ทุพภาษิต วาจาชั่ว หยาบ และสุภาพ บทว่า ในสำนักมาตุคาม คือ ในที่ใกล้มาตุคาม ในที่ไม่ห่างมาตุคาม บทว่า กามของตน ได้แก่ ความใคร่ของตน เหตุของตน ความประสงค์ของตน การ บำเรอของตน บทว่า นั่นเป็นยอด คือนั่นเป็นเลิศ ประเสริฐ สูงสุด อุดม เยี่ยม บทว่า สตรีใด ได้แก่นางกษัตริย์ พราหมณี หญิงแพศย์ หรือหญิงศูทร บทว่า เช่นเรา คือเป็นกษัตริย์ก็ตาม เป็นพราหมณ์ก็ตาม เป็นแพศย์ก็ตาม เป็น ศูทรก็ตาม บทว่า มีศีล คือ เว้นขาดจากปาณาติบาต เว้นขาดจากอทินนาทาน เว้นขาดจากมุสาวาท บทว่า ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ คือ ผู้เว้นขาดจากเมถุนธรรม ที่ชื่อว่า มีกัลยาณธรรม คือ เป็นผู้ชื่อว่ามีธรรมงาม เพราะศีลนั้น และเพราะ พรหมจรรย์นั้น บทว่า ด้วยธรรมนั่น คือ ด้วยเมถุนธรรม บทว่า บำเรอ คือ อภิรมย์ บทว่า ด้วยถ้อยคำพาดพิงเมถุน คือ ด้วยถ้อยคำที่เกี่ยวด้วยเมถุนธรรม บทว่า สังฆาทิเสส ความว่า สงฆ์เท่านั้น ให้ปริวาสเพื่ออาบัตินั้น ชักเข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัต เรียกเข้าหมู่ ไม่ใช่คณะมากรูปด้วยกัน ไม่ใช่บุคคลรูปเดียว เพราะฉะนั้น จึงตรัส เรียกว่า สังฆาทิเสส คำว่า สังฆาทิเสส เป็นการขนานนาม คือเป็นชื่อของอาบัตินิกายนั้นแล แม้เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส.
บทภาชนีย์
สตรีคนเดียว
[๔๑๖] สตรี ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรี มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการ บำเรอกามของตนในสำนักสตรี ต้องอาบัติสังฆาทิเสส สตรี ภิกษุมีความสงสัย มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนใน สำนักสตรี ต้องอาบัติถุลลัจจัย สตรี ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการบำเรอกาม ของตนในสำนักสตรี ต้องอาบัติถุลลัจจัย สตรี ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบุรุษ มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการบำเรอกาม ของตนในสำนักสตรี ต้องอาบัติถุลลัจจัย สตรี ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉาน มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการ บำเรอกามของตนในสำนักสตรี ต้องอาบัติถุลลัจจัย
บัณเฑาะก์คนเดียว
บัณเฑาะก์ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการ บำเรอกามของตนในสำนักบัณเฑาะก์ ต้องอาบัติถุลลัจจัย บัณเฑาะก์ ภิกษุมีความสงสัย มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตน ในสำนักบัณเฑาะก์ ต้องอาบัติทุกกฏ บัณเฑาะก์ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบุรุษ มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการบำเรอ กามของตนในสำนักบัณเฑาะก์ ต้องอาบัติทุกกฏ บัณเฑาะก์ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉาน มีความกำหนัด และกล่าวคุณ แห่งการบำเรอกามของตนในสำนักบัณเฑาะก์ ต้องอาบัติทุกกฏ บัณเฑาะก์ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรี มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการบำเรอ กามของตนในสำนักบัณเฑาะก์ ต้องอาบัติทุกกฏ
บุรุษคนเดียว
บุรุษ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบุรุษ มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการบำเรอกาม ของตนในสำนักบุรุษ ต้องอาบัติทุกกฏ บุรุษ ภิกษุมีความสงสัย มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนใน สำนักบุรุษ ต้องอาบัติทุกกฏ บุรุษ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉาน มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการ บำเรอกามของตนในสำนักบุรุษ ต้องอาบัติทุกกฏ บุรุษ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรี มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการบำเรอกาม ของตนในสำนักบุรุษ ต้องอาบัติทุกกฏ บุรุษ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการบำเรอกาม ของตนในสำนักบุรุษ ต้องอาบัติทุกกฏ
สัตว์ดิรัจฉานตัวเดียว
สัตว์ดิรัจฉาน ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉาน มีความกำหนัด และกล่าวคุณ- *แห่งการบำเรอกามของตนในสำนักสัตว์ดิรัจฉาน ต้องอาบัติทุกกฏ สัตว์ดิรัจฉาน ภิกษุมีความสงสัย มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของ ตนในสำนักสัตว์ดิรัจฉาน ต้องอาบัติทุกกฏ สัตว์ดิรัจฉาน ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรี มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการ บำเรอกามของตนในสำนักสัตว์ดิรัจฉาน ต้องอาบัติทุกกฏ สัตว์ดิรัจฉาน ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่ง การบำเรอกามของตนในสำนักสัตว์ดิรัจฉาน ต้องอาบัติทุกกฏ สัตว์ดิรัจฉาน ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบุรุษ มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการ บำเรอกามของตนในสำนักสัตว์ดิรัจฉาน ต้องอาบัติทุกกฏ.
สตรี ๒ คน
[๔๑๗] สตรี ๒ คน ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรีทั้งสองคน มีความกำหนัด และ กล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักสตรีทั้งสอง ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว สตรี ๒ คน ภิกษุมีความสงสัยทั้งสองคน มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการบำเรอ กามของตนในสำนักสตรีทั้งสอง ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๒ ตัว สตรี ๒ คน ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ทั้งสองคน มีความกำหนัด และกล่าว คุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักสตรีทั้งสอง ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๒ ตัว สตรี ๒ คน ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบุรุษทั้งสองคน มีความกำหนัด และกล่าวคุณ แห่งการบำเรอกามของตนในสำนักสตรีทั้งสอง ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๒ ตัว สตรี ๒ คน ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉานทั้งสองคน มีความกำหนัด และ กล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักสตรีทั้งสอง ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๒ ตัว
บัณเฑาะก์ ๒ คน
บัณเฑาะก์ ๒ คน ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ทั้งสองคน มีความกำหนัด และ กล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักบัณเฑาะก์ทั้งสอง ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๒ ตัว บัณเฑาะก์ ๒ คน ภิกษุมีความสงสัยทั้งสองคน มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการ บำเรอกามของตนในสำนักบัณเฑาะก์ทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว บัณเฑาะก์ ๒ คน ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบุรุษทั้งสองคน มีความกำหนัด และกล่าว คุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักบัณเฑาะก์ทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว บัณเฑาะก์ ๒ คน ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉานทั้งสองคน มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักบัณเฑาะก์ทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว บัณเฑาะก์ ๒ คน ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรีทั้งสองคน มีความกำหนัด และกล่าว คุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักบัณเฑาะก์ทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
บุรุษ ๒ คน
บุรุษ ๒ คน ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบุรุษทั้งสองคน มีความกำหนัด และกล่าวคุณ แห่งการบำเรอกามของตนในสำนักบุรุษทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว บุรุษ ๒ คน ภิกษุมีความสงสัยทั้งสองคน มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการ บำเรอกามของตนในสำนักบุรุษทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว บุรุษ ๒ คน ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉานทั้งสองคน มีความกำหนัด และกล่าว คุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักบุรุษทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว บุรุษ ๒ คน ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรีทั้งสองคน มีความกำหนัด และกล่าวคุณ แห่งการบำเรอกามของตนในสำนักบุรุษทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว บุรุษ ๒ คน ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ทั้งสองคน มีความกำหนัด และกล่าว คุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักบุรุษทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
สัตว์ดิรัจฉาน ๒ ตัว
สัตว์ดิรัจฉาน ๒ ตัว ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉานทั้งสองตัว มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักสัตว์ดิรัจฉานทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว สัตว์ดิรัจฉาน ๒ ตัว ภิกษุมีความสงสัยทั้งสองตัว มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่ง การบำเรอกามของตนในสำนักสัตว์ดิรัจฉานทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว สัตว์ดิรัจฉาน ๒ ตัว ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรีทั้งสองตัว มีความกำหนัด และกล่าว คุณกล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักสัตว์ดิรัจฉานทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว สัตว์ดิรัจฉาน ๒ ตัว ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ทั้งสองตัว มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักสัตว์ดิรัจฉานทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว สัตว์ดิรัจฉาน ๒ ตัว ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบุรุษทั้งสองตัว มีความกำหนัด และ กล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักสัตว์ดิรัจฉานทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
สตรี-บัณเฑาะก์
สตรี ๑ บัณเฑาะก์ ๑ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรีทั้งสองคน มีความกำหนัด และ กล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักสตรีและบัณเฑาะก์ทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ กับ อาบัติสังฆาทิเสส สตรี ๑ บัณเฑาะก์ ๑ ภิกษุมีความสงสัยทั้งสองคน มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่ง การบำเรอกามของตนในสำนักสตรีและบัณเฑาะก์ทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ กับอาบัติถุลลัจจัย สตรี ๑ บัณเฑาะก์ ๑ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ทั้งสองคน มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักสตรีและบัณเฑาะก์ทั้งสอง ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๒ ตัว สตรี ๑ บัณเฑาะก์ ๑ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบุรุษทั้งสองคน มีความกำหนัด และกล่าว คุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักสตรีและบัณเฑาะก์ทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ กับอาบัติ ถุลลัจจัย สตรี ๑ บัณเฑาะก์ ๑ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉานทั้งสองคน มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักสตรีและบัณเฑาะก์ทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ กับอาบัติถุลลัจจัย
สตรี-บุรุษ
สตรี ๑ บุรุษ ๑ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรีทั้งสองคน มีความกำหนัด และกล่าว คุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักสตรีและบุรุษทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ กับอาบัติสังฆาทิเสส สตรี ๑ บุรุษ ๑ ภิกษุมีความสงสัยทั้งสองคน มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการ บำเรอกามของตนในสำนักสตรีและบุรุษทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ กับอาบัติถุลลัจจัย สตรี ๑ บุรุษ ๑ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ทั้งสองคน มีความกำหนัด และ กล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักสตรีและบุรุษทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ กับอาบัติ ถุลลัจจัย สตรี ๑ บุรุษ ๑ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบุรุษทั้งสองคน มีความกำหนัด และกล่าว คุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักสตรีและบุรุษทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ กับอาบัติถุลลัจจัย สตรี ๑ บุรุษ ๑ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉานทั้งสองคน มีความกำหนัด และกล่าวคุณ คุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักสตรีและบุรุษทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ กับอาบัติถุลลัจจัย
สตรี-สัตว์ดิรัจฉาน
สตรี ๑ สัตว์ดิรัจฉาน ๑ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรีทั้งสอง มีความกำหนัด และ กล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักสตรีและสัตว์ดิรัจฉานทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ กับอาบัติสังฆาทิเสส สตรี ๑ สัตว์ดิรัจฉาน ๑ ภิกษุมีความสงสัยทั้งสอง มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่ง การบำเรอกามของตนในสำนักสตรีและสัตว์ดิรัจฉานทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ กับอาบัติ ถุลลัจจัย สตรี ๑ สัตว์ดิรัจฉาน ๑ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ทั้งสอง มีความกำหนัด และ กล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักสตรีและสัตว์ดิรัจฉานทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ กับอาบัติ ถุลลัจจัย สตรี ๑ สัตว์ดิรัจฉาน ๑ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบุรุษทั้งสอง มีความกำหนัด และ กล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักสตรีและสัตว์ดิรัจฉานทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ กับอาบัติถุลลัจจัย สตรี ๑ สัตว์ดิรัจฉาน ๑ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉานทั้งสอง มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักสตรีและสัตว์ดิรัจฉานทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ กับอาบัติถุลลัจจัย
บัณเฑาะก์-บุรุษ
บัณเฑาะก์ ๑ บุรุษ ๑ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ทั้งสอง มีความกำหนัด และ กล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักบัณเฑาะก์และบุรุษทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ กับ อาบัติถุลลัจจัย บัณเฑาะก์ ๑ บุรุษ ๑ ภิกษุมีความสงสัยทั้งสองคน มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่ง การบำเรอกามของตนในสำนักบัณเฑาะก์และบุรุษทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว บัณเฑาะก์ ๑ บุรุษ ๑ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบุรุษทั้งสองคน มีความกำหนัด และกล่าว คุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักบัณเฑาะก์และบุรุษทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว บัณเฑาะก์ ๑ บุรุษ ๑ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉานทั้งสองคน มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักบัณเฑาะก์และบุรุษทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว บัณเฑาะก์ ๑ บุรุษ ๑ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรีทั้งสองคน มีความกำหนัด และกล่าว คุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักบัณเฑาะก์และบุรุษทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
บัณเฑาะก์-สัตว์ดิรัจฉาน
บัณเฑาะก์ ๑ สัตว์ดิรัจฉาน ๑ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ทั้งสอง มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักบัณเฑาะก์และสัตว์ดิรัจฉานทั้งสอง ต้องอาบัติ ทุกกฏ กับอาบัติถุลลัจจัย บัณเฑาะก์ ๑ สัตว์ดิรัจฉาน ๑ ภิกษุมีความสงสัยทั้งสอง มีความกำหนัด และกล่าวคุณ แห่งการบำเรอกามของตนในสำนักบัณเฑาะก์และสัตว์ดิรัจฉานทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว บัณเฑาะก์ ๑ สัตว์ดิรัจฉาน ๑ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบุรุษทั้งสอง มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักบัณเฑาะก์และสัตว์ดิรัจฉานทั้งสอง ต้องอาบัติ ทุกกฏ ๒ ตัว บัณเฑาะก์ ๑ สัตว์ดิรัจฉาน ๑ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉานทั้งสอง มีความ กำหนัด และกล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักบัณเฑาะก์และสัตว์ดิรัจฉานทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว บัณเฑาะก์ ๑ สัตว์ดิรัจฉาน ๑ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรีทั้งสอง มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักบัณเฑาะก์และสัตว์ดิรัจฉานทั้งสอง ต้องอาบัติ ทุกกฏ ๒ ตัว
บุรุษ-สัตว์ดิรัจฉาน
บุรุษ ๑ สัตว์ดิรัจฉาน ๑ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบุรุษทั้งสอง มีความกำหนัด และกล่าว คุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักบุรุษและสัตว์ดิรัจฉานทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว บุรุษ ๑ สัตว์ดิรัจฉาน ๑ ภิกษุมีความสงสัยทั้งสอง มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่ง- *การบำเรอกามของตนในสำนักบุรุษและสัตว์ดิรัจฉานทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว บุรุษ ๑ สัตว์ดิรัจฉาน ๑ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉานทั้งสอง มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักบุรุษและสัตว์ดิรัจฉานทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว บุรุษ ๑ สัตว์ดิรัจฉาน ๑ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรีทั้งสอง มีความกำหนัด และกล่าว คุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักบุรุษและสัตว์ดิรัจฉานทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว บุรุษ ๑ สัตว์ดิรัจฉาน ๑ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ทั้งสอง มีความกำหนัด และ กล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักบุรุษและสัตว์ดิรัจฉานทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว ฯ
อนาปัตติวาร
[๔๑๘] ภิกษุกล่าวว่า ขอท่านจงบำรุงด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัชบริขาร อันเป็นปัจจัยของภิกษุไข้ ดังนี้ เป็นต้น ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
วินีตวัตถุ
อุทานคาถา
[๔๑๙] เรื่องหญิงหมันว่าทำไฉนจะได้บุตร เรื่องหญิงมีบุตรถี่ เรื่องเป็นที่รัก เรื่องมี- *โชคดี เรื่องจะถวายอะไรดี เรื่องจะอุปัฏฐากด้วยอะไรดี เรื่องไฉนจึงจะได้ไปสุคติ ฯ
วินีตวัตถุ
เรื่องหญิงหมันว่าทำไฉนจะได้บุตร
[๔๒๐] ก็โดยสมัยนั้นแล หญิงหมันคนหนึ่งได้ถามภิกษุกุลุปกะว่า ท่านเจ้าข้า ทำไฉน ดิฉันจึงจะมีบุตร? ภิกษุนั้นตอบว่า น้องหญิง ถ้าเช่นนั้นเธอจงถวายทานที่เลิศ ส. อะไร เจ้าคะ ชื่อว่า ทานที่เลิศ ภิ. เมถุนธรรม จ้ะ ภิกษุรูปนั้นมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้ว
เรื่องหญิงมีบุตรถี่
ก็โดยสมัยนั้นแล สตรีผู้หนึ่งมีบุตรถี่ ได้ถามภิกษุกุลุปกะว่า ท่านเจ้าข้า ทำไฉน ดิฉัน จึงจะไม่มีบุตร? ภิกษุนั้นตอบว่า น้องหญิง ถ้าเช่นนั้นเธอจงถวายทานที่เลิศ ส. อะไร เจ้าคะ ชื่อว่า ทานที่เลิศ ภิ. เมถุนธรรม จ้ะ ภิกษุรูปนั้นมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้ว
เรื่องเป็นที่รัก
ก็โดยสมัยนั้นแล สตรีผู้หนึ่งได้ถามภิกษุกุลุปกะว่า ท่านเจ้าข้า ทำไฉน ดิฉันจึงจะเป็น ที่รักของสามี? ภิกษุนั้นตอบว่า น้องหญิง ถ้าเช่นนั้นเธอจงถวายทานที่เลิศ ส. อะไร เจ้าคะ ชื่อว่า ทานที่เลิศ ภิ. เมถุนธรรม จ้ะ ภิกษุรูปนั้นมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่อง นั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้ว
เรื่องมีโชคดี
ก็โดยสมัยนั้นแล สตรีผู้หนึ่งได้ถามภิกษุกุลุปกะว่า ท่านเจ้าข้า ทำไฉน ดิฉันจึงจะมี โชคดี. ภิกษุตอบว่า น้องหญิง ถ้าเช่นนั้นเธอจงถวายทานที่เลิศ ส. อะไร เจ้าคะ ชื่อว่า ทานที่เลิศ ภิ. เมถุนธรรม จ้ะ ภิกษุรูปนั้นมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้ว
เรื่องจะถวายอะไรดี
ก็โดยสมัยนั้นแล สตรีผู้หนึ่งได้ถามภิกษุกุลุปกะว่า ท่านเจ้าข้า ดิฉันจะถวายอะไรแก่ พระคุณเจ้าดี? ภิกษุรูปนั้นตอบว่า น้องหญิง เธอจงถวายทานที่เลิศ ส. อะไร เจ้าคะ ชื่อว่า ทานที่เลิศ ภิ. เมถุนธรรม จ้ะ ภิกษุรูปนั้นมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้ว
เรื่องจะอุปัฏฐากด้วยอะไรดี
ก็โดยสมัยนั้นแล สตรีผู้หนึ่งได้ถามภิกษุกุลุปกะว่า ท่านเจ้าข้า ดิฉันจะอุปัฏฐากพระ คุณเจ้าด้วยอะไรดี? ภิกษุนั้นตอบว่า น้องหญิง เธอจงอุปัฏฐากด้วยทานที่เลิศ ส. อะไร เจ้าคะ ชื่อว่า ทานที่เลิศ ภิ. เมถุนธรรม จ้ะ ภิกษุรูปนั้นมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้ว
เรื่องไฉนจึงจะไปสุคติ
ก็โดยสมัยนั้นแล สตรีผู้หนึ่งได้ถามภิกษุกุลุปกะว่า ท่านเจ้าข้า ทำไฉน ดิฉันจึงจะได้ ไปสุคติ? ภิกษุนั้นตอบว่า น้องหญิง ถ้าเช่นนั้นเธอจงถวายทานที่เลิศ ส. อะไร เจ้าคะ ชื่อว่า ทานที่เลิศ ภิ. เมถุนธรรม จ้ะ ภิกษุรูปนั้นมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้ว.
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๔ จบ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ บรรทัดที่ ๑๔๒๐๔-๑๔๕๖๗ หน้าที่ ๕๔๖-๕๕๙. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=1&A=14204&Z=14567&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=1&siri=41              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=1&i=414              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [416-422] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=1&item=416&items=7              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=910              The Pali Tipitaka in Roman :- [416-422] https://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=1&item=416&items=7              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=910              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ https://84000.org/tipitaka/read/?index_1              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-ss4/en/brahmali

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :