ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๕ มหาวรรค ภาค ๒
หัวข้อประจำขันธกะ
[๒๓๗] ๑. พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระนครจัมปา ภิกษุผู้อยู่ในวาสภคามได้ทำความ ขวนขวายในสิ่งจำปรารถนาแก่พวกพระอาคันตุกะ ครั้นทราบว่าพวกท่านชำนาญในสถานที่โคจรดี แล้วจึงเลิกทำความขวนขวายในกาลนั้น แต่ต้องถูกพวกพระอาคันตุกะยกเสียเพราะเหตุที่ไม่ทำ จึงได้ไปเฝ้าพระชินเจ้า ๒. ภิกษุทั้งหลายในนครจัมปาทำกรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม พร้อม เพรียงโดยไม่เป็นธรรม เป็นวรรคโดยธรรม เป็นวรรคโดยเทียมธรรม พร้อมเพรียงโดยเทียมธรรม ภิกษุรูปเดียวยกภิกษุรูปเดียว ภิกษุรูปเดียวยกภิกษุสองรูป หลายรูปที่เป็นสงฆ์ก็มี ภิกษุสองรูป ภิกษุหลายรูปยกกันก็มี และสงฆ์ต่อสงฆ์ยกกันก็มี ๓. พระสัพพัญญูผู้ประเสริฐทรงทราบแล้ว ตรัสห้ามว่าไม่เป็นธรรม ๔. กรรมใดวิบัติโดยญัตติ อนุสาวนาสมบูรณ์ วิบัติโดยอนุสาวนา สมบูรณ์ด้วยญัตติ วิบัติทั้งสองอย่าง ทำกรรมแผกจากธรรม แผกจากวินัย แผกจากสัตถุศาสน์ กรรมที่ถูกคัดค้าน กำเริบ ไม่ควรแก่ฐานะ ๕. กรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม พร้อมเพรียง โดยไม่เป็นธรรม เป็นวรรคโดยเทียมธรรม พร้อมเพรียงโดยเทียมธรรม พระตถาคตทรงอนุญาต กรรมพร้อมเพรียงโดยธรรมเท่านั้น ๖. สงฆ์มี ๕ ประเภท คือสงฆ์จตุรวรรค สงฆ์ปัญจวรรค สงฆ์ทสวรรค สงฆ์วีสติวรรค และสงฆ์อติเรกวีสติวรรค ๗. ยกอุปสมบทกรรม ปวารณากรรม กับอัพภานกรรม นอกนั้นสงฆ์จตุรวรรค ทำได้ ๘. ยกกรรม ๒ อย่าง คือ อุปสมบทในมัชฌิม ประเทศและอัพภานกรรม นอกนั้นสงฆ์ปัญจวรรคทำได้ทั้งสิ้น ๙. ยกอัพภานกรรมอย่างเดียว นอกนั้นสงฆ์ทสวรรคทำได้ ๑๐. กรรมทุกอย่าง สงฆ์วีสติวรรคทำได้ทั้งสิ้น ๑๑. ภิกษุณีสิกขมานา สามเณร สามเณรี ภิกษุผู้บอกลาสิกขา ภิกษุผู้ต้องอันติมวัตถุ ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกฐานไม่เห็นอาบัติ ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป บัณเฑาะก์ คนลักเพศ ภิกษุเข้ารีตเดียรถีย์ สัตว์ดิรัจฉาน คนฆ่ามารดา คนฆ่าบิดา คนฆ่าพระอรหันต์ คนประทุษร้ายภิกษุณี คนทำลายสงฆ์ คนทำร้ายพระศาสดาจนถึงห้อพระโลหิต อุภโตพยัญชนก ภิกษุนานาสังวาสภิกษุอยู่ต่างสีมากัน ภิกษุอยู่ในเวหาสด้วยฤทธิ์ สงฆ์ทำกรรมแก่ผู้ใด มีผู้นั้นเป็นที่ครบจำนวนสงฆ์ รวม ๒๔ จำพวก พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงห้าม เพราะพวกนั้นเป็นคณะปูรกะไม่ได้ ๑๒. สงฆ์มีปาริวาสิกภิกษุเป็น ที่ ๔ ให้ปริวาสชักเข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัต หรือพึงอัพภาน เป็นกรรมใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ มีมูลายปฏิกัสสนารหภิกษุเป็นที่ ๔ มีมานัตตารหภิกษุเป็นที่ ๔ มีมานัตตจาริกภิกษุเป็นที่ ๔ มีอัพภานารหภิกษุเป็นที่ ๔ รวม ๔ จำพวก พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกาศว่าทำสังฆกรรม ใช้ไม่ได้ ๑๓. ภิกษุณีสิกขมานา สามเณร สามเณรี ภิกษุผู้บอกลาสิกขา ภิกษุผู้ต้องอันติมวัตถุ วิกลจริต ภิกษุมีจิตฟุ้งซ่าน ภิกษุกระสับกระส่ายเพราะเวทนา ภิกษุถูกยกเพราะไม่เห็นอาบัติ เพราะไม่ทำคืนอาบัติ เพราะไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป บัณเฑาะก์ คนลักเพศ ภิกษุเข้ารีตเดียรถีย์ สัตว์ดิรัจฉาน คนฆ่ามารดา คนฆ่าบิดา คนฆ่าพระอรหันต์ คนประทุษร้ายภิกษุณี ภิกษุผู้ทำ สังฆเภท คนทำโลหิตุปบาท อุภโตพยัญชนก ภิกษุนานาสังวาส ภิกษุผู้อยู่ต่างสีมากัน ภิกษุ อยู่ในเวหาสด้วยฤทธิ์ และภิกษุที่ถูกสงฆ์ลงกรรม รวม ๒๗ จำพวกนี้ค้านไม่ขึ้น ๑๔. ภิกษุผู้เป็น ปกตัตตะค้านขึ้น ๑๕. ภิกษุผู้บริสุทธิ์ ถ้าสงฆ์ไล่ออก เป็นอันไล่ออกไม่ดี ๑๖. ภิกษุพาล ถ้าสงฆ์ ไล่ออก เป็นอันไล่ออกดี ๑๗. บัณเฑาะก์ คนลักเพศ ภิกษุเข้ารีตเดียรถีย์ สัตว์ดิรัจฉาน คนฆ่ามารดา คนฆ่าบิดา คนฆ่าพระอรหันต์ คนประทุษร้ายภิกษุณี ภิกษุทำสังฆเภท คนทำ โลหิตุปบาท อุภโตพยัญชนก รวม ๑๑ จำพวกนี้รับเข้าหมู่ไม่ควร ๑๘. คนมือด้วน คนเท้าด้วน คนทั้งมือและเท้าด้วนทั้งสอง คนหูขาด คนจมูกแหว่ง คนหูขาดและจมูกแหว่งทั้งสอง คนนิ้วมือ นิ้วเท้าขาด คนมีง่ามมือง่ามเท้าขาด คนเอ็นขาด คนมือเป็นแผ่น คนค่อม คนเตี้ย คนคอพอก คนมีเครื่องหมายติดตัว คนมีรอยเฆี่ยนด้วยหวาย คนถูกหมายประกาศจับตัว คนเท้าปุก คนมีโรคเรื้อรัง คนแปลกเพื่อน คนตาบอดข้างเดียว คนง่อย คนกระจอก คนเป็นโรคอัมพาต คนมีอิริยาบถขาด คนชราทุพพลภาพ คนตาบอด ๒ ข้าง คนใบ้ คนหูหนวก คนทั้งบอดและใบ้ คนทั้งบอดและหนวก คนทั้งใบ้และหนวก คนทั้งบอดใบ้และหนวก เหล่านี้รวม ๓๒ จำพวก พอดี รับคนเหล่านั้นเข้าหมู่ได้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกาศไว้แล้ว ๑๙. กรรม ๗ อย่าง คือ การยกภิกษุผู้ไม่เห็นอาบัติ ๑ ไม่ทำคืนอาบัติ ๑ ไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป ๑ ไม่เห็น ไม่ทำคืน อาบัติ ๑ ไม่เห็นอาบัติ ไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป ๑ ไม่ทำคืนอาบัติ ไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป ๑ ไม่เห็น ไม่ทำคืน ไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป ๑ เป็นกรรม ไม่เป็นธรรม ๒๐. กรรม ๗ อย่างนั้น แม้ที่อนุวัตรตามภิกษุผู้ต้องอาบัติ ก็เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ๒๑. กรรมอีก ๗ อย่าง ที่อนุวัตรตาม ภิกษุผู้ต้องอาบัติ เป็นกรรมที่ชอบธรรม ๒๒. กรรมที่ควรทำต่อหน้ากลับทำลับหลัง ๑ กรรมที่ ควรทำด้วยซักถาม กลับทำโดยไม่ซักถาม ๑ กรรมที่ควรทำตามปฏิญาณ กลับทำโดยไม่ปฏิญาณ ๑ ให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุผู้ควรสติวินัย ๑ ทำตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย ๑ ลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัสสปาปิยสิกกากรรม ๑ ลงนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัชชนียกรรม ๑ ลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรนิยสกรรม ๑ ลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปัพพาชนียกรรม ๑ ลงอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปฏิสารณียกรรม ๑ ให้ปริวาสแก่ภิกษุผู้ควรอุกเขปนียกรรม ๑ ชักภิกษุผู้ควรปริวาสเข้าหาอาบัติเดิม ๑ ให้มานัตแก่ภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม ๑ อัพภานภิกษุ ผู้ควรมานัต ๑ ให้ภิกษุควรอัพภานให้อุปสมบทกุลบุตร ๑ ทำกรรมอย่างอื่นแก่ภิกษุอื่น ๑ รวม ๑๖ อย่างนี้ เป็นกรรมใช้ไม่ได้ ๒๓. ทำกรรมนั้นๆ แก่ภิกษุนั้นๆ รวม ๑๖ อย่างนี้ เป็นกรรม ใช้ได้ ๒๔. ภิกษุอื่นเสียรวม ๑๖ อย่างนี้ เป็นกรรมใช้ไม่ได้ ๒๕. ทำกรรมมีมูลอย่างละ ๒ แก่ภิกษุนั้น รวม ๑๖ อย่างแม้เหล่านั้นเป็นกรรมใช้ได้ ๒๖. จักรมีมูลอย่างละหนึ่ง พระชินเจ้า ตรัสว่า ใช้ไม่ได้ ๒๗. ภิกษุก่อความบาดหมาง สงฆ์เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม ได้ลงตัชชนีย- *กรรม ๒๘. ภิกษุนั้นไปอาวาสอื่นภิกษุทั้งหลายในอาวาสนั้น ได้พร้อมเพรียงโดยไม่เป็นธรรม ลงตัชชนียกรรมแก่เธอ ๒๙. ภิกษุทั้งหลายในอาวาสอื่นเป็นวรรคโดยธรรม เป็นวรรคโดยเทียม ธรรมก็มี พร้อมเพรียงโดยเทียมธรรมก็มี ได้ลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุนั้น ๓๐ บาท เหล่านั้น คือ พร้อมเพรียงโดยไม่เป็นธรรม เป็นวรรคโดยธรรม เป็นวรรคโดยเทียมธรรม และพร้อมเพรียง โดยเทียมธรรม ปราชญ์ผู้มีปัญญาพึงผูกให้เป็นจักรทำให้มีมูลอย่างละหนึ่ง ๓๑. สงฆ์ลงนิยส- *กรรมแก่ภิกษุผู้พาล ไม่ฉลาด ๓๒. สงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประทุษร้ายตระกูล ๓๓. สงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ด่าคฤหัสถ์ ๓๔. พระผู้มีพระภาคผู้นำหมู่ทรงภาษิตอุกเขปนียกรรม แก่ภิกษุผู้ไม่เห็นอาบัติ ไม่ทำคืนอาบัติ และไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป ๓๕. ภิกษุผู้มีปัญญาพึงทำ ตัชชนียกรรมให้ถูกต้องตามระเบียบวินัย ภิกษุประพฤติเรียบร้อยอนุวัตรตามระเบียบวินัยเหล่านั้น แหละ ขอระงับกรรมเหล่านั้น โดยนัยแห่งกรรมในหนหลัง ๓๖. ในกรรมนั้นๆ แล สงฆ์ผู้อยู่ ในที่ประชุมนั้นกล่าวคัดค้านว่า กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมเป็นอันทำไม่ชอบ กรรมต้องทำใหม่ และเมื่อกรรมระงับ ภิกษุเหล่านั้นเป็นธรรมวาที พระมหามุนีทรงเห็นภิกษุพวกเข้ากรรม ได้รับ ความลำบากโดยกรรมวิบัติ จึงทรงชี้วิธีระงับไว้ ดุจนายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ชี้บอกตัวยาไว้ ฉะนั้น.
หัวข้อประจำขันธกะ จบ.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๕ บรรทัดที่ ๕๘๖๒-๕๙๓๖ หน้าที่ ๒๔๒-๒๔๔. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=5&A=5862&Z=5936&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=5&siri=57              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=5&i=237              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [237] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=5&item=237&items=1              The Pali Tipitaka in Roman :- [237] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=5&item=237&items=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_5              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd9/en/horner-brahmali#BD.4.479 https://suttacentral.net/pli-tv-kd9/en/brahmali#

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :