ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑
เรื่องถือนิสสัย
[๑๑๕] ก็โดยสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในพระนครราชคฤห์นั้นแล ตลอด ฤดูฝน ฤดูหนาว ฤดูร้อน. คนทั้งหลายพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ทิศทั้งหลาย คับแคบมืดมนแก่พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร ทิศทั้งหลายไม่ปรากฏแก่พระสมณะพวกนี้ ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้ มีพระภาค ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกท่านพระอานนท์มารับสั่งว่า ดูกรอานนท์ เธอจงไป ไขดาล บอกภิกษุทั้งหลายในบริเวณวิหารว่า อาวุโสทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงปรารถนาจะเสด็จ จาริกทักขิณาคิรีชนบท ท่านผู้ใดมีความประสงค์ ท่านผู้นั้นจงมา. ท่านพระอานนท์รับสนองพระพุทธบัญชาแล้ว ไขดาลแจ้งแก่ภิกษุทั้งหลายในบริเวณ วิหารว่า อาวุโสทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงปรารถนาจะเสด็จจาริกทักขิณาคิรีชนบท ท่านผู้ใด มีความประสงค์ ท่านผู้นั้นจงมา. ภิกษุทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส อานนท์ พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติให้ภิกษุ ถือนิสสัยอยู่ตลอด ๑๐ พรรษา และให้ภิกษุมีพรรษาได้ ๑๐ ให้นิสสัย พวกผมจักต้องไปใน ทักขิณาคิรีนั้น จักต้องถือนิสสัยด้วย จักพักอยู่เพียงเล็กน้อยก็ต้องกลับมาอีก และจักต้องกลับ ถือนิสสัยอีก ถ้าพระอาจารย์ พระอุปัชฌาย์ ของพวกผมไป แม้พวกผมก็จักไป หากท่านไม่ไป แม้พวกผมก็จักไม่ไป อาวุโส อานนท์ ความที่พวกผมมีใจเบาจักปรากฏ. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกทักขิณาคิรีชนบท กับภิกษุสงฆ์มีจำนวนน้อย. ครั้นพระองค์เสด็จอยู่ ณ ทักขิณาคิรีชนบทตามพระพุทธาภิรมย์ แล้วเสด็จกลับมาสู่พระนคร ราชคฤห์อีกตามเดิม และพระองค์ตรัสเรียกท่านพระอานนท์มาสอบถามว่า ดูกรอานนท์ ตถาคต จาริกทักขิณาคิรีชนบท กับภิกษุสงฆ์มีจำนวนน้อย เพราะเหตุไร? จึงท่านพระอานนท์กราบทูล ความเรื่องนั้นให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ
พระพุทธานุญาตให้ถือนิสสัย
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะ เหตุแรกเกิดนั้น แล้วตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุ ผู้ฉลาด ผู้สามารถ ถือนิสสัยอยู่ ๕ พรรษา และให้ภิกษุผู้ไม่ฉลาด ถือนิสสัยอยู่ตลอดชีวิต.
องค์ ๕ แห่งภิกษุผู้ต้องถือนิสสัย
[๑๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ จะไม่ถือนิสสัยอยู่ไม่ได้ คือ ๑. ไม่ประกอบด้วยกองศีล อันเป็นของพระอเสขะ ๒. ไม่ประกอบด้วยกองสมาธิ อันเป็นของพระอเสขะ ๓. ไม่ประกอบด้วยกองปัญญา อันเป็นของพระอเสขะ ๔. ไม่ประกอบด้วยกองวิมุติ อันเป็นของพระอเสขะ และ ๕. ไม่ประกอบด้วยกองวิมุตติญาณทัสสนะ อันเป็นของพระอเสขะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล จะไม่ถือนิสสัยอยู่ไม่ได้.
องค์ ๕ แห่งภิกษุผู้ไม่ต้องถือนิสสัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ต้องถือนิสสัยอยู่ คือ ๑. ประกอบด้วยกองศีล อันเป็นของพระอเสขะ ๒. ประกอบด้วยกองสมาธิ อันเป็นของพระอเสขะ ๓. ประกอบด้วยกองปัญญา อันเป็นของพระอเสขะ ๔. ประกอบด้วยกองวิมุตติ อันเป็นของพระอเสขะ และ ๕. ประกอบด้วยกองวิมุตติญาณทัสสนะ อันเป็นของพระอเสขะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ต้องถือนิสสัยอยู่.
องค์ ๕ แห่งภิกษุผู้ต้องถือนิสสัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก จะไม่ถือนิสสัยอยู่ไม่ได้ คือ ๑. เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๒. เป็นผู้ไม่มีหิริ ๓. เป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะ ๔. เป็นผู้เกียจคร้าน และ ๕. เป็นผู้มีสติฟั่นเฟือน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล จะไม่ถือนิสสัยอยู่ไม่ได้.
องค์ ๕ แห่งภิกษุผู้ไม่ต้องถือนิสสัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ต้องถือนิสสัยอยู่ คือ ๑. เป็นผู้มีศรัทธา ๒. เป็นผู้มีหิริ ๓. เป็นผู้มีโอตตัปปะ ๔. เป็นผู้ปรารภความเพียร และ ๕. เป็นผู้มีสติตั้งมั่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ต้องถือนิสสัยอยู่.
องค์ ๕ แห่งภิกษุผู้ต้องถือนิสสัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก จะไม่ถือนิสสัยอยู่ไม่ได้ คือ ๑. เป็นผู้วิบัติด้วยศีล ในอธิศีล ๒. เป็นผู้วิบัติด้วยอาจาระ ในอัธยาจาร ๓. เป็นผู้วิบัติด้วยทิฏฐิ ในทิฏฐิยิ่ง ๔. เป็นผู้ได้ยินได้ฟังน้อย และ ๕. เป็นผู้มีปัญญาทราม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล จะไม่ถือนิสสัยอยู่ไม่ได้.
องค์ ๕ แห่งภิกษุผู้ไม่ต้องถือนิสสัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ต้องถือนิสสัยอยู่ คือ ๑. เป็นผู้ไม่วิบัติด้วยศีล ในอธิศีล ๒. เป็นผู้ไม่วิบัติด้วยอาจาระ ในอัธยาจาร ๓. เป็นผู้ไม่วิบัติด้วยทิฏฐิ ในทิฏฐิยิ่ง ๔. เป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก และ ๕. เป็นผู้มีปัญญา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ต้องถือนิสสัยอยู่.
องค์ ๕ แห่งภิกษุผู้ต้องถือนิสสัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก จะไม่ถือนิสสัยอยู่ไม่ได้ คือ ๑. ไม่รู้จักอาบัติ ๒. ไม่รู้จักอนาบัติ ๓. ไม่รู้จักอาบัติเบา ๔. ไม่รู้จักอาบัติหนัก และ ๕. เธอจำปาติโมกข์ทั้งสองไม่ได้ดีโดยพิสดาร จำแนกไม่ได้ด้วยดี ไม่คล่องแคล่วดี วินิจฉัยไม่เรียบร้อย โดยสุตตะ โดยอนุพยัญชนะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล จะไม่ถือนิสสัยอยู่ไม่ได้.
องค์ ๕ แห่งภิกษุผู้ไม่ต้องถือนิสสัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ต้องถือนิสสัยอยู่ คือ ๑. รู้จักอาบัติ ๒. รู้จักอนาบัติ ๓. รู้จักอาบัติเบา ๔. รู้จักอาบัติหนัก และ ๕. เธอจำปาติโมกข์ทั้งสองได้ดีโดยพิสดาร จำแนกดี คล่องแคล่วดี วินิจฉัย เรียบร้อย โดยสุตตะ โดยอนุพยัญชนะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ต้องถือนิสสัยอยู่.
องค์ ๕ แห่งภิกษุผู้ต้องถือนิสสัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก จะไม่ถือนิสสัยอยู่ไม่ได้ คือ ๑. ไม่รู้จักอาบัติ ๒. ไม่รู้จักอนาบัติ ๓. ไม่รู้จักอาบัติเบา ๔. ไม่รู้จักอาบัติหนัก และ ๕. มีพรรษาหย่อน ๕ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล จะไม่ถือนิสสัยอยู่ไม่ได้.
องค์ ๕ แห่งภิกษุผู้ไม่ต้องถือนิสสัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ต้องถือนิสสัยอยู่ คือ ๑. รู้จักอาบัติ ๒. รู้จักอนาบัติ ๓. รู้จักอาบัติเบา ๔. รู้จักอาบัติหนัก และ ๕. มีพรรษาได้ ๕ หรือมีพรรษาเกิน ๕ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ต้องถือนิสสัยอยู่.
องค์ ๖ แห่งภิกษุผู้ต้องถือนิสสัย
[๑๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ จะไม่ถือนิสสัยอยู่ไม่ได้ คือ ๑. ไม่ประกอบด้วยกองศีล อันเป็นของพระอเสขะ ๒. ไม่ประกอบด้วยกองสมาธิ อันเป็นของพระอเสขะ ๓. ไม่ประกอบด้วยกองปัญญา อันเป็นของพระอเสขะ ๔. ไม่ประกอบด้วยกองวิมุติ อันเป็นของพระอเสขะ ๕. ไม่ประกอบด้วยกองวิมุตติญาณทัสสนะ อันเป็นของพระอเสขะ และ ๖. มีพรรษาหย่อน ๕ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ นี้แล จะไม่ถือนิสสัยอยู่ไม่ได้.
องค์ ๖ แห่งภิกษุผู้ไม่ต้องถือนิสสัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ ไม่ต้องถือนิสสัยอยู่ คือ ๑. ประกอบด้วยกองศีล อันเป็นของพระอเสขะ ๒. ประกอบด้วยกองสมาธิ อันเป็นของพระอเสขะ ๓. ประกอบด้วยกองปัญญา อันเป็นของพระอเสขะ ๔. ประกอบด้วยกองวิมุติ อันเป็นของพระอเสขะ ๕. ประกอบด้วยกองวิมุตติญาณทัสสนะ อันเป็นของพระอเสขะ และ ๖. มีพรรษาได้ ๕ หรือมีพรรษาเกิน ๕ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ นี้แล ไม่ต้องถือนิสสัยอยู่.
องค์ ๖ แห่งภิกษุผู้ต้องถือนิสสัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ แม้อื่นอีก จะไม่ถือนิสสัยอยู่ไม่ได้ คือ ๑. เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๒. เป็นผู้ไม่มีหิริ ๓. เป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะ ๔. เป็นผู้เกียจคร้าน ๕. เป็นผู้มีสติฟั่นเฟือน และ ๖. มีพรรษาหย่อน ๕ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ นี้แล จะไม่ถือนิสสัยอยู่ไม่ได้.
องค์ ๖ แห่งภิกษุผู้ไม่ต้องถือนิสสัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ ไม่ต้องถือนิสสัยอยู่ คือ ๑. เป็นผู้มีศรัทธา ๒. เป็นผู้มีหิริ ๓. เป็นผู้มีโอตตัปปะ ๔. เป็นผู้ปรารภความเพียร ๕. เป็นผู้มีสติตั้งมั่น และ ๖. มีพรรษาได้ ๕ หรือมีพรรษาเกิน ๕ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ นี้แล ไม่ต้องถือนิสสัยอยู่.
องค์ ๖ แห่งภิกษุผู้ต้องถือนิสสัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ แม้อื่นอีก จะไม่ถือนิสสัยอยู่ไม่ได้ คือ ๑. เป็นผู้วิบัติด้วยศีล ในอธิศีล ๒. เป็นผู้วิบัติด้วยอาจาระ ในอัธยาจาร ๓. เป็นผู้วิบัติด้วยทิฏฐิ ในทิฏฐิยิ่ง ๔. เป็นผู้ได้ยินได้ฟังน้อย ๕. เป็นผู้มีปัญญาทราม และ ๖. มีพรรษาหย่อน ๕ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ นี้แล จะไม่ถือนิสสัยอยู่ไม่ได้.
องค์ ๖ แห่งภิกษุผู้ไม่ต้องถือนิสสัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ ไม่ต้องถือนิสสัยอยู่ คือ ๑. เป็นผู้ไปไม่วิบัติด้วยศีล ในอธิศีล ๒. เป็นผู้ไม่วิบัติด้วยอาจาระ ในอัธยาจาร ๓. เป็นผู้ไม่วิบัติด้วยทิฏฐิ ในทิฏฐิยิ่ง ๔. เป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก ๕. เป็นผู้มีปัญญา และ ๖. มีพรรษาได้ ๕ หรือมีพรรษาเกิน ๕ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ นี้แล ไม่ต้องถือนิสสัยอยู่.
องค์ ๖ แห่งภิกษุผู้ต้องถือนิสสัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ แม้อื่นอีก จะไม่ถือนิสสัยอยู่ไม่ได้ คือ ๑. ไม่รู้จักอาบัติ ๒. ไม่รู้จักอนาบัติ ๓. ไม่รู้จักอาบัติเบา ๔. ไม่รู้จักอาบัติหนัก ๕. เธอจำปาติโมกข์ทั้งสองไม่ได้ดีโดยพิสดาร จำแนกไม่ได้ด้วยดี ไม่คล่องแคล่วดี วินิจฉัยไม่เรียบร้อยโดยสุตตะ โดยอนุพยัญชนะ และ ๖. มีพรรษาหย่อน ๕ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ นี้แล จะไม่ถือนิสสัยอยู่ไม่ได้.
องค์ ๖ แห่งภิกษุผู้ไม่ต้องถือนิสสัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ ไม่ต้องถือนิสสัยอยู่ คือ ๑. รู้จักอาบัติ ๒. รู้จักอนาบัติ ๓. รู้จักอาบัติเบา ๔. รู้จักอาบัติหนัก ๕. เธอจำปาติโมกข์ทั้งสองได้ดีโดยพิสดาร จำแนกดี คล่องแคล่วดี วินิจฉัยเรียบร้อย โดยสุตตะ โดยอนุพยัญชนะ และ ๖. มีพรรษาได้ ๕ หรือมีพรรษาเกิน ๕ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ นี้แล ไม่ต้องถือนิสสัยอยู่.
เรื่องถือนิสสัย จบ
อภยูวรภาณวาร จบ.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ บรรทัดที่ ๓๑๓๖-๓๓๒๐ หน้าที่ ๑๒๘-๑๓๕. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=4&A=3136&Z=3320&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=4&siri=39              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=4&i=115              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [115-117] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=4&item=115&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=1471              The Pali Tipitaka in Roman :- [115-117] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=4&item=115&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=1471              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ https://84000.org/tipitaka/read/?index_4              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/04i001-e.php#topic53 https://suttacentral.net/pli-tv-kd1/en/brahmali#pli-tv-kd1:53.1.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd1/en/horner-brahmali#Kd.1.53

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :