ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑ ขุททกนิกาย มหานิทเทส
กลหวิวาทสุตตนิทเทสที่ ๑๑
[๔๔๑] ข. (พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า) ความทะเลาะ ความวิวาท ความรำพัน ความโศก ความตระหนี่ ความถือตัว ความดูหมิ่น และความพูดส่อ เสียด มีมาแต่อะไร ขอเชิญพระองค์ตรัสบอกว่า กิเลสเหล่านั้นมีมา แต่อะไร?
ว่าด้วยความทะเลาะวิวาท
[๔๔๒] ชื่อว่า ความทะเลาะ ในคำว่า ความทะเลาะ ความวิวาท ... มีมาแต่อะไร? ความว่า ความทะเลาะ และความวิวาททั้ง ๒ นั้นเป็นอย่างเดียวกัน โดยอาการเดียวกัน คือ ความ ทะเลาะใด ความทะเลาะนั้นเป็นความวิวาท ความวิวาทใด ความวิวาทนั้นเป็นความทะเลาะ. อีกอย่างหนึ่ง โดยอาการอื่น ความวิวาทที่เป็นเบื้องต้นแห่งความทะเลาะ เรียกว่า ความวิวาท กล่าวคือ แม้พระราชาก็วิวาทกับพวกพระราชา แม้พวกกษัตริย์ก็วิวาทกับพวกกษัตริย์ แม้พวก พราหมณ์ก็วิวาทกับพวกพราหมณ์ แม้พวกคฤหบดีก็วิวาทกับพวกคฤหบดี แม้มารดาก็วิวาทกับ บุตร แม้บุตรก็วิวาทกับมารดา แม้บิดาก็วิวาทกับบุตร แม้บุตรก็วิวาทกับบิดา แม้พี่น้องชายก็ วิวาทกับพี่น้องหญิง แม้พี่น้องหญิงก็วิวาทกับพี่น้องชาย แม้สหายก็วิวาทกับสหาย นี้ชื่อว่า ความวิวาท. ความทะเลาะเป็นไฉน? พวกบุคคลผู้ครองเรือนขวนขวายหาโทษกัน ก็ทำความทะเลาะ กันด้วยกาย ด้วยวาจา พวกบรรพชิตต้องอาบัติอยู่ ก็ทำความทะเลาะกันด้วยกาย ด้วยวาจา นี้ ชื่อว่า ความทะเลาะ. คำว่า ความทะเลาะ ความวิวาท มีมาแต่อะไร? ความว่า พระพุทธนิมิตสอบ ถาม ขอให้ตรัสบอก เชิญให้ทรงแสดง ขอให้ประกาศ ซึ่งมูล เหตุนิทาน เหตุเกิด แดน เกิด สมุฏฐาน อาหาร อารมณ์ ปัจจัยสมุทัยแห่งความทะเลาะและความวิวาทว่า ความทะเลาะ และความวิวาทมีมา คือ เกิด เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏมาแต่อะไร คือ มีอะไร เป็นนิทาน เป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ความ ทะเลาะ ความวิวาทมีมาแต่อะไร?
ว่าด้วยความรำพัน
[๔๔๓] ชื่อว่า ความรำพัน ในคำว่า ความรำพัน ความโศก ความตระหนี่ ความว่า ความเพ้อถึง ความรำพัน กิริยาที่เพ้อถึง กิริยาที่รำพันถึง ความเป็นผู้เพ้อถึง ความเป็นผู้รำพัน ถึง ความพูดเพ้อ ความบ่นเพ้อ ความพร่ำเพ้อ อาการพร่ำเพ้อ ความเป็นผู้พร่ำเพ้อ ของคน ที่ถูกความเสื่อมแห่งญาติกระทบเข้าบ้าง ที่ถูกความเสื่อมแห่งโภคสมบัติกระทบเข้าบ้าง ที่ถูก ความเสื่อมเพราะโรคกระทบเข้าบ้าง ที่ถูกความเสื่อมแห่งศีลกระทบเข้าบ้าง ที่ถูกความเสื่อม แห่งทิฏฐิกระทบเข้าบ้าง ที่ประจวบกับความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่งบ้าง ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใด อย่างหนึ่งกระทบเข้าบ้าง.
ว่าด้วยความโศก
ชื่อว่า ความโศก คือ ความเศร้าโศก กิริยาเศร้าโศก ความเป็นผู้เศร้าโศก ความ เศร้าโศกภายใน ความตรมตรอมในภายใน ความเดือดร้อนในภายใน ความเร่าร้อนในภายใน ความตรอมเตรียมแห่งจิต ความโทมนัส ลูกศรคือความเศร้าโศก ของคนที่ถูกความเสื่อมแห่งญาติ กระทบเข้าบ้าง ที่ถูกความเสื่อมแห่งโภคสมบัติกระทบเข้าบ้าง ที่ถูกความเสื่อมเพราะโรคกระทบ เข้าบ้าง ที่ถูกความเสื่อมแห่งศีลกระทบเข้าบ้าง ที่ถูกความเสื่อมแห่งทิฏฐิกระทบเข้าบ้าง ที่ ประจวบกับความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่งบ้าง ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบเข้าบ้าง.
ว่าด้วยความตระหนี่
ชื่อว่า ความตระหนี่ ได้แก่ ความตระหนี่ ๕ ประการ คือ ความตระหนี่อาวาส ความ ตระหนี่สกุล ความตระหนี่ลาภ ความตระหนี่วรรณะ ความตระหนี่ธรรม ความตระหนี่เห็น ปานนี้ กิริยาที่ตระหนี่ ความเป็นผู้ประพฤติตระหนี่ ความเป็นผู้ปรารถนาต่างๆ ความเหนียวแน่น ความเป็นผู้มีจิตหดหู่เจ็บร้อนในการให้ ความที่จิตอันใครๆ ไม่เชื่อถือได้ในการให้ นี้เรียกว่า ความตระหนี่ อีกอย่างหนึ่ง ความตระหนี่ขันธ์ก็ดี ความตระหนี่ธาตุก็ดี ความตระหนี่อายตนะก็ดี นี้เรียกว่า ความตระหนี่. ความมุ่งจะเอา ก็เรียกว่า ความตระหนี่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ความรำพัน ความโศก ความตระหนี่.
ว่าด้วยความถือตัว
[๔๔๔] ชื่อว่า ความถือตัว ในคำว่า ความถือตัว ความดูหมิ่น และความพูดส่อเสียด พึงทราบอธิบายดังนี้ บุคคลบางคนในโลกนี้ ยังความถือตัวให้เกิดโดยชาติบ้าง โดยโคตรบ้าง โดยความเป็นบุตรแห่งสกุลบ้าง โดยความเป็นผู้มีรูปงามบ้าง โดยทรัพย์บ้าง โดยการปกครอง บ้าง โดยหน้าที่การงานบ้าง โดยหลักแหล่งแห่งศิลปศาสตร์บ้าง โดยวิทยฐานะบ้าง โดยการ ศึกษาบ้าง โดยปฏิภาณบ้าง โดยวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่งบ้าง.
ว่าด้วยความดูหมิ่น
ชื่อว่า ความดูหมิ่น คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมดูหมิ่นผู้อื่นโดยชาติบ้าง โดย โคตรบ้าง ฯลฯ โดยวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่งบ้าง.
ว่าด้วยการพูดส่อเสียด
ชื่อว่า ความพูดส่อเสียด คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีวาจาส่อเสียด คือ ฟังจากข้างนี้แล้วไปบอกข้างโน้น เพื่อทำลายคนหมู่นี้ หรือฟังจากข้างโน้นแล้วมาบอกข้างนี้ เพื่อ ทำลายคนหมู่โน้น เป็นผู้ทำลายคนที่พร้อมเพรียงกันบ้าง สนับสนุนคนที่แตกกันแล้วบ้าง ชอบ ผู้ที่เป็นก๊กกัน ยินดีผู้ที่เป็นก๊กกัน เพลินคนที่เป็นก๊กกัน เป็นผู้กล่าววาจาที่ทำเป็นก๊กกัน นี้ เรียกว่า ความพูดส่อเสียด. อีกอย่างหนึ่ง บุคคลย่อมนำคำส่อเสียดเข้าไปด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ นำคำส่อเสียดเข้าไปด้วยความมุ่งหมายเป็นที่รัก ๑ มีความประสงค์ให้เขาแตกกัน จึงนำคำ ส่อเสียดเข้าไป ๑. บุคคลนำคำส่อเสียดเข้าไปด้วยความมุ่งหมายเป็นที่รักอย่างไร? บุคคลนำคำส่อเสียดเข้า ไปด้วยความมุ่งหมายเป็นที่รักอย่างนี้ว่า เราจักเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ เป็นที่สนิท เป็นภายใน เป็นที่ดีใจ ของบุคคลนี้. บุคคลผู้มีความประสงค์ให้เขาแตกกัน จึงนำคำส่อเสียดเข้าไปอย่างไร? บุคคลผู้มีความ ประสงค์ให้เขาแตกกันอย่างนี้ว่า ชนเหล่านี้ พึงเป็นต่างกัน แยกกัน เป็นก๊กกัน เป็นสองเหล่า สองพวก สองฝ่าย ชนเหล่านี้ พึงแตกกัน ไม่ปรองดองกัน พึงอยู่ลำบากไม่ผาสุก ด้วยอุบาย อย่างไร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ความถือตัว ความดูหมิ่น และความพูดส่อเสียด. [๔๔๕] คำว่า ขอเชิญพระองค์จงตรัสบอกว่า กิเลสเหล่านั้น มีมาแต่อะไร? ความว่า พระพุทธนิมิตตรัสถาม สอบถาม ขอให้ตรัสบอก เชิญให้ทรงแสดง ขอให้ประกาศ ซึ่งมูล เหตุ นิทาน เหตุเกิด แดนเกิด สมุฏฐาน อาหาร อารมณ์ ปัจจัย สมุทัย แห่งกิเลส ๘ ประการนี้ว่า กิเลส ๘ ประการนี้ คือ ความทะเลาะ ความวิวาท ความรำพัน ความโศก ความตระหนี่ ความถือตัว ความดูหมิ่น และความพูดส่อเสียด มีมา คือ เกิด เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏมาแต่อะไร คือ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็น ชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กิเลสเหล่านั้นมีมาแต่อะไร. คำว่า ขอเชิญ พระองค์จงตรัสบอก คือ ขอเชิญพระองค์จงตรัสบอก ตรัสตอบ แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ตื้น ประกาศ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ขอเชิญพระองค์จงตรัสบอกว่า กิเลสเหล่านั้นมี มาแต่อะไร. เพราะเหตุนั้น พระพุทธนิมิตนั้นจึงตรัสถามว่า ความทะเลาะ ความวิวาท ความรำพัน ความโศก ความตระหนี่ ความถือตัว ความดูหมิ่น และความพูดส่อเสียดมีมาแต่อะไร? ขอเชิญ พระองค์จงตรัสบอกว่า กิเลสเหล่านั้นมีมาแต่อะไร? [๔๔๖] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า) ความทะเลาะ ความวิวาท ความรำพัน ความโศก ความตระหนี่ ความถือตัว ความดูหมิ่น และความพูด ส่อเสียด มีมาแต่สิ่งที่รัก ความทะเลาะ ความวิวาท ประกอบในความ ตระหนี่ และเมื่อความวิวาทกันเกิดแล้ว ความพูดส่อเสียดก็มี.
ว่าด้วยความทะเลาะ ... มาจากสิ่งที่รัก
[๔๔๗] ชื่อว่า สิ่งที่รัก ในคำว่า ความทะเลาะ ความวิวาท ความรำพัน ความโศก ความตระหนี่ ... มีมาแต่สิ่งที่รัก ได้แก่ วัตถุเป็นที่รัก ๒ อย่าง คือ สัตว์ ๑ สังขาร ๑. สัตว์ผู้เป็นที่รักเป็นไฉน? ชนเหล่าใดในโลกนี้ เป็นผู้ใคร่ความเจริญใคร่ ประโยชน์ ใคร่ความสบาย ใคร่ความปลอดโปร่งจากโยคกิเลส คือ เป็นมารดา เป็นบิดา เป็นพี่น้องชาย เป็นพี่น้องหญิง เป็นบุตร เป็นธิดา เป็นมิตร เป็นพวกพ้อง เป็นญาติ หรือเป็นสาโลหิต ชนเหล่านี้ชื่อว่า สัตว์ผู้เป็นที่รัก. สังขารเป็นที่รักเป็นไฉน? รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่ชอบใจเหล่านี้ชื่อว่า สังขารเป็นที่รัก. ชนทั้งหลาย แม้ผู้มีความหวาดระแวงในการแย่งชิงวัตถุที่รัก ย่อมทะเลาะกัน คือ เมื่อวัตถุที่รักกำลังถูกแย่งชิงเอาไป ย่อมทะเลาะกันบ้าง เมื่อวัตถุที่รักถูกแย่งชิงไปแล้ว ย่อม ทะเลาะกันบ้าง. แม้ผู้มีความหวาดระแวงในความแปรปรวนไปแห่งวัตถุที่รัก ย่อมทะเลาะกัน คือ เมื่อวัตถุที่รักกำลังแปรปรวนไป ย่อมทะเลาะกันบ้าง เมื่อวัตถุที่รักแปรปรวนไปแล้ว ย่อมทะเลาะ กันบ้าง. แม้ผู้มีความหวาดระแวงในการแย่งชิงวัตถุที่รัก ย่อมวิวาทกัน คือ เมื่อวัตถุที่รักกำลัง ถูกแย่งชิงเอาไป ย่อมวิวาทกันบ้าง เมื่อวัตถุที่รักถูกแย่งชิงไปแล้ว ย่อมวิวาทกันบ้าง. แม้ผู้มี ความหวาดระแวงในความแปรปรวนไปแห่งวัตถุที่รัก ย่อมวิวาทกัน คือ เมื่อวัตถุที่รักกำลัง แปรปรวนไป ย่อมวิวาทกันบ้าง เมื่อวัตถุที่รักแปรปรวนไปแล้ว ย่อมวิวาทกันบ้าง. แม้ผู้มีความ หวาดระแวงในการแย่งชิงวัตถุที่รัก ย่อมรำพัน คือ เมื่อวัตถุที่รักกำลังถูกแย่งชิงเอาไป ย่อมรำพัน บ้าง เมื่อวัตถุที่รักถูกแย่งชิงไปแล้ว ย่อมรำพันบ้าง. แม้ผู้มีความหวาดระแวงในความแปรปรวน ไปแห่งวัตถุที่รัก ย่อมรำพัน คือ เมื่อวัตถุที่รักกำลังแปรปรวน ย่อมรำพันบ้าง เมื่อวัตถุที่รัก แปรปรวนไปแล้ว ย่อมรำพันบ้าง. แม้ผู้มีความหวาดระแวงในการแย่งชิงวัตถุที่รัก ย่อมเศร้าโศก คือ เมื่อวัตถุที่รักกำลังถูกแย่งชิงเอาไป ย่อมเศร้าโศกบ้าง เมื่อวัตถุที่รักถูกแย่งชิงไปแล้ว ย่อม เศร้าโศกบ้าง. แม้ผู้มีความหวาดระแวงในความแปรปรวนไปแห่งวัตถุที่รัก ย่อมเศร้าโศก คือ เมื่อวัตถุที่รักกำลังแปรปรวนไป ย่อมเศร้าโศกบ้าง เมื่อวัตถุที่รักแปรปรวนไปแล้ว ย่อมเศร้าโศก บ้าง. และย่อมรักษา ปกครอง ป้องกัน หวงห้าม ตระหนี่วัตถุที่รัก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ความทะเลาะ ความวิวาท ความรำพัน ความเศร้าโศก ความตระหนี่ มีมาแต่สิ่งที่รัก. [๔๔๘] คำว่า ความถือตัว ความดูหมิ่น และความพูดส่อเสียด ความว่า ชนทั้งหลาย ย่อมยังความถือตัวให้เกิดเพราะอาศัยวัตถุที่รัก ย่อมยังความดูหมิ่นให้เกิดเพราะอาศัยวัตถุที่รัก. ชนทั้งหลายย่อมยังความถือตัวให้เกิดเพราะอาศัยวัตถุที่รักอย่างไร? ชนทั้งหลายย่อมยัง ความถือตัวให้เกิดเพราะอาศัยวัตถุที่รักอย่างนี้ว่า พวกเรามีปกติได้รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่ชอบใจ. ชนทั้งหลาย ย่อมยังความดูหมิ่นให้เกิด เพราะอาศัยวัตถุที่รักอย่างไร? ชนทั้งหลาย ย่อมยังความดูหมิ่นให้เกิดเพราะอาศัยวัตถุที่รักอย่างนี้ว่า พวกเรามีปกติได้รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่ชอบใจ. ส่วนชนเหล่านี้ ไม่ได้ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่ชอบใจ. คำว่า ความพูดส่อเสียด ความว่า บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีวาจาส่อเสียด คือ ฟังจากข้างนี้แล้วไปบอกข้างโน้น เพื่อทำลายคนหมู่นี้ ฯลฯ บุคคลเป็นผู้มีความประสงค์ให้เขา แตกกันอย่างนี้ว่า ... ชนเหล่านี้พึงแตกกัน ไม่ปรองดองกัน พึงอยู่ลำบาก ไม่ผาสุก ด้วยอุบาย อย่างไร ก็นำคำส่อเสียดเข้าไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ความถือตัว ความดูหมิ่น และความ พูดส่อเสียด. [๔๔๙] คำว่า ความทะเลาะ ความวิวาท ประกอบในความตระหนี่ ความว่า กิเลส ๗ ประการนี้ คือ ความทะเลาะ ความวิวาท ความรำพัน ความเศร้าโศก ความถือตัว ความดูหมิ่น และความพูดส่อเสียด ประกอบ ตกแต่ง เนื่อง สืบเนื่อง ในความตระหนี่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อ ว่า ความทะเลาะ ความวิวาท ประกอบในความตระหนี่. [๔๕๐] คำว่า เมื่อความวิวาทกันเกิดแล้ว ความพูดส่อเสียดก็มี ความว่า เมื่อความ วิวาทกันเกิด เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏแล้ว ชนทั้งหลายย่อมนำคำส่อเสียด เข้าไป คือ ฟังจากข้างนี้แล้วไปบอกข้างโน้น เพื่อทำลายคนหมู่นี้ หรือฟังจากข้างโน้นแล้วมา บอกข้างนี้ เพื่อทำลายคนหมู่โน้น เป็นผู้ทำลายคนที่พร้อมเพรียงกันบ้าง สนับสนุนคนที่แตก กันแล้วบ้าง ชอบผู้ที่เป็นก๊กกันบ้าง ยินดีผู้ที่เป็นก๊กกัน เพลินคนที่เป็นก๊กกัน เป็นผู้กล่าววาจา ที่ทำให้เป็นก๊กกัน นี้เรียกว่า ความพูดส่อเสียด. อีกอย่างหนึ่ง ชนทั้งหลายย่อมนำคำส่อเสียด เข้าไปด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ นำคำส่อเสียดเข้าไปด้วยความมุ่งหมายเป็นที่รัก ๑ มีความ ประสงค์ให้เขาแตกกันจึงนำคำส่อเสียดเข้าไป ๑. ชนทั้งหลาย นำคำส่อเสียดเข้าไปด้วยความมุ่งหมายเป็นที่รักอย่างไร? ชนทั้งหลาย นำคำส่อเสียดเข้าไปด้วยความมุ่งหมายเป็นที่รักอย่างนี้ว่า พวกเราจักเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ เป็น ที่สนิท เป็นภายใน เป็นที่ดีใจของบุคคลผู้นี้. ชนทั้งหลาย ผู้มีความประสงค์ให้เขาแตกกันจึงนำคำส่อเสียดเข้าไปอย่างไร? ชน- *ทั้งหลายผู้มีความประสงค์ให้เขาแตกกันอย่างนี้ว่า ชนเหล่านี้พึงเป็นต่างกัน แยกกัน เป็นก๊กกัน เป็นสองเหล่า เป็นสองพวก เป็นสองฝ่าย ชนเหล่านี้พึงแตกกัน ไม่ปรองดองกัน พึงอยู่ลำบาก ไม่ผาสุก ด้วยอุบายอย่างไร ก็นำคำส่อเสียดเข้าไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อความวิวาทกัน เกิดแล้ว ความพูดส่อเสียดก็มี. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า. ความทะเลาะ ความวิวาท ความรำพัน ความเศร้าโศก ความตระหนี่ ความถือตัว ความดูหมิ่น และความพูดส่อเสียด มีมาแต่สิ่งที่รัก ความทะเลาะ ความวิวาท ประกอบในความตระหนี่ และเมื่อความวิวาท กันเกิดแล้ว ความพูดส่อเสียดก็มี. [๔๕๑] (พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า) สิ่งที่รักทั้งหลายในโลก มีอะไรเป็นนิทาน และชนเหล่าใดแล ย่อมเที่ยวไปในโลกเพราะความโลภ ความโลภ ของชนเหล่านั้น มีอะไรเป็นนิทาน อนึ่ง ความหวังและความสำเร็จหวัง ที่มีแก่นรชน เพื่อข้างหน้านั้น มีอะไรเป็นนิทาน.
ว่าด้วยอะไรเป็นต้นเหตุแห่งสิ่งที่รัก
[๔๕๒] คำว่า สิ่งที่รักทั้งหลายในโลก มีอะไรเป็นนิทาน ความว่า พระพุทธ- *นิมิตตรัสถาม สอบถาม ขอให้ตรัสบอก อัญเชิญให้ทรงแสดง ขอให้ประกาศซึ่งมูล ฯลฯ สมุทัยแห่งสิ่งที่รักทั้งหลายว่า สิ่งที่รักทั้งหลาย มีอะไรเป็นนิทาน คือ เกิด เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏมาแต่อะไร คือ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สิ่งที่รักทั้งหลายในโลก มีอะไรเป็นนิทาน. [๔๕๓] คำว่า และชนเหล่าใดแล ในคำว่า และชนเหล่าใดแล ย่อมเที่ยวไปในโลก เพราะความโลภ ได้แก่ พวกกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดา มนุษย์. คำว่า เพราะความโลภ คือ ความโลภ กิริยาที่โลภ ความเป็นผู้โลภ ความกำหนัดนัก กิริยาที่- *กำหนัดนัก ความเป็นผู้กำหนัดนัก อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล. คำว่า เที่ยวไป คือ เที่ยวไป อยู่ เปลี่ยนอิริยาบถ ประพฤติ รักษา บำรุง เยียวยา ยังอัตภาพให้เป็นไป. คำว่า ในโลก คือ ใน อบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า และ ชนเหล่าใดแล ย่อมเที่ยวไปในโลกเพราะความโลภ. [๔๕๔] คำว่า ความหวังและความสำเร็จหวัง ... มีอะไรเป็นนิทาน? ความว่า พระพุทธ- *นิมิตตรัสถาม สอบถาม ขอให้ตรัสบอก อัญเชิญให้ทรงแสดง ขอให้ประกาศซึ่งมูล ฯลฯ สมุทัย แห่งความหวังและความสำเร็จหวังว่า ความหวังและความสำเร็จหวัง มีอะไรเป็นนิทาน คือ เกิด บังเกิด เกิดพร้อม บังเกิดเฉพาะ ปรากฏมาแต่อะไร คือ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ความหวังและความสำเร็จหวัง ... มีอะไรเป็นนิทาน. [๔๕๕] คำว่า ที่มีแก่นรชนเพื่อข้างหน้า ความว่า ความหวังและความสำเร็จหวัง ที่เป็นเบื้องหน้า เป็นเกาะ เป็นที่ป้องกัน เป็นที่แอบแฝง เป็นที่ระลึกของนรชน คือ นรชนเป็นผู้ มีความสำเร็จหวังเป็นเบื้องหน้า เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ที่มีแก่นรชนเพื่อข้างหน้า. เพราะฉะนั้น พระพุทธนิมิตนั้นจึงตรัสถามว่า สิ่งที่รักทั้งหลายในโลก มีอะไรเป็นนิทาน และชนเหล่าใดแล ย่อม เที่ยวไปในโลกเพราะความโลภ ความโลภของชนเหล่านั้น มีอะไรเป็น นิทาน อนึ่ง ความหวังและความสำเร็จหวังที่มีแก่นรชนเพื่อข้างหน้านั้น มีอะไรเป็นนิทาน. [๔๕๖] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า) สิ่งที่รักทั้งหลายในโลก มีฉันทะเป็นนิทาน และชนเหล่าใดแล ย่อมเที่ยวไปในโลกเพราะความโลภ ความโลภ ของชนเหล่านั้น มีฉันทะนี้เป็นนิทาน อนึ่ง ความหวังและความ สำเร็จหวังที่มีแก่นรชนเพื่อข้างหน้านั้น ก็มีฉันทะนี้เป็นนิทาน. [๔๕๗] ชื่อว่า ฉันทะ ในคำว่า สิ่งที่รักทั้งหลายในโลก มีฉันทะเป็นนิทาน ได้แก่ ความพอใจในกาม ความกำหนัดในกาม ความเพลินในกาม ความอยากในกาม ความรักในกาม ความเร่าร้อนในกาม ความหลงในกาม ความชอบใจในกาม กามโอฆะ กามโยคะ กามุปาทาน กามฉันทนิวรณ์ ในกามทั้งหลาย. อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ ฉันทะ ๕ ประการ คือ ความพอใจในการ แสวงหา ๑ ความพอใจในการได้ ๑ ความพอใจในการบริโภค ๑ ความพอใจในการสั่งสม ๑ ความพอใจในการสละ ๑. ความพอใจในการแสวงหาเป็นไฉน? บุคคลบางคนในโลกนี้ ชอบใจ มีความต้องการ เกิดความพอใจ ย่อมแสวงหารูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ นี้ชื่อว่า ความพอใจในการแสวงหา. ความพอใจในการได้เป็นไฉน? บุคคลบางคนในโลกนี้ ชอบใจ มีความต้องการ เกิดความพอใจ ย่อมได้ซึ่งรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ นี้ชื่อว่า ความพอใจในการได้. ความพอใจในการบริโภคเป็นไฉน? บุคคลบางคนในโลกนี้ ชอบใจ มีความต้องการ เกิดความพอใจ ย่อมบริโภครูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ นี้ชื่อว่า ความพอใจในการบริโภค. ความพอใจในการสั่งสมเป็นไฉน? บุคคลบางคนในโลกนี้ ชอบใจ มีความต้องการ เกิดความพอใจ ย่อมทำการสั่งสมทรัพย์ด้วยความหวังว่า จักมีประโยชน์ในคราวเกิดอันตราย ทั้งหลาย นี้ชื่อว่า ความพอใจในการสั่งสม. ความพอใจในการสละเป็นไฉน? บุคคลบางคนในโลกนี้ ชอบใจ มีความต้องการ เกิดความพอใจ ย่อมสละทรัพย์เพื่อพวกพลช้าง พวกพลม้า พวกพลรถ พวกพลถือธนู พวกพล เดินเท้า ด้วยความหวังว่า คนพวกนี้จักรักษาคุ้มครองป้องกันเรา นี้ชื่อว่า ความพอใจในการสละ.
ว่าด้วยสิ่งที่รัก ๒ ประการ
คำว่า สิ่งที่รักทั้งหลาย คือ สิ่งที่รัก ๒ ประการ ได้แก่ สัตว์ ๑ สังขาร ๑ ฯลฯ เหล่านี้ชื่อว่าสัตว์เป็นที่รัก ฯลฯ เหล่านี้ชื่อว่าสังขารเป็นที่รัก. คำว่า สิ่งที่รักทั้งหลายในโลก มีฉันทะเป็นนิทาน คือ สิ่งที่รักทั้งหลายมีฉันทะเป็นนิทาน มีฉันทะเป็นสมุทัย มีฉันทะเป็นชาติ มีฉันทะเป็นแดนเกิด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สิ่งที่รักทั้งหลายในโลก มีฉันทะเป็นนิทาน. [๔๕๘] คำว่า และชนเหล่าใดแล ในคำว่า และชนเหล่าใดแล ย่อมเที่ยวไปในโลก เพราะความโลภ ได้แก่ พวกกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดา มนุษย์. คำว่า เพราะความโลภ คือ ความโลภ กิริยาที่โลภ ความเป็นผู้โลภ ความกำหนัดนัก กิริยาที่ กำหนัดนัก ความเป็นผู้กำหนัดนัก อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล. คำว่า เที่ยวไป คือ เที่ยวไป อยู่ เปลี่ยนอิริยาบถ ประพฤติ รักษา บำรุง เยียวยา ยังอัตภาพให้เป็นไป. คำว่า ในโลก คือ ใน อบายโลก ฯลฯ อายตนโลก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า และชนเหล่าใดแล ย่อมเที่ยวไปในโลก เพราะความโลภ.
ว่าด้วยความหวัง
[๔๕๙] คำว่า อนึ่ง ความหวังและความสำเร็จหวัง ก็มีฉันทะนี้เป็นนิทาน ความว่า ตัณหาเรียกว่า ความหวัง ได้แก่ ราคะ สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล. คำว่า ความสำเร็จหวัง ความว่า บุคคลบางคนในโลกนี้ เมื่อแสวงหารูป ได้รูป เป็นผู้มีความสำเร็จหวัง ในรูป. เมื่อแสวงหาเสียง ... กลิ่น ... รส ... เมื่อแสวงหาโผฏฐัพพะ ได้โผฏฐัพพะ เป็นผู้มีความ สำเร็จหวังในโผฏฐัพพะ เมื่อแสวงหาสกุล ... คณะ ... อาวาส ... ลาภ ... ยศ ... สรรเสริญ ... สุข ... จีวร ... บิณฑบาต ... เสนาสนะ ... คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ... พระสูตร ... พระวินัย ... พระอภิธรรม ... อารัญญิกังคธุดงค์ ... ปิณฑปาติกังคธุดงค์ ... สปาทานจาริกังคธุดงค์ ... ขลุปัจฉาภัตติกังคธุดงค์ ... เนสัชชิกังคธุดงค์ ... ยถาสันถติกังคธุดงค์ ... ปฐมฌาน ... ทุติยฌาน ... ตติยฌาน ... จตุตถฌาน ... อากาสานัญจายตนสมาบัติ ... วิญญาณัญจายตนสมาบัติ ... อากิญจัญญายตนสมาบัติ ... เมื่อแสวงหา เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ เป็นผู้มีความสำเร็จหวัง ในเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บุคคลย่อมไถนาด้วยความหวัง หว่านพืชด้วยความหวัง พวกพ่อค้าหา ทรัพย์ ไปสู่สมุทรด้วยความหวัง เราย่อมตั้งอยู่ด้วยความหวังใด ความ หวังนั้นของเราย่อมสำเร็จ ดังนี้. ความสำเร็จแห่งความหวัง เรียกว่า ความสำเร็จหวัง. คำว่า ความหวังและความสำเร็จ หวัง ก็มีฉันทะนี้เป็นนิทาน ความว่า ความหวังและความสำเร็จหวัง ก็มีฉันทะนี้เป็นนิทาน คือ มีฉันทะเป็นสมุทัย มีฉันทะเป็นชาติ มีฉันทะเป็นแดนเกิด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ความหวัง และความสำเร็จหวัง ก็มีฉันทะนี้เป็นนิทาน. [๔๖๐] คำว่า ที่มีแก่นรชนเพื่อข้างหน้า ความว่า ความหวังและความสำเร็จหวังที่เป็น เบื้องหน้า เป็นเกาะ เป็นที่ป้องกัน เป็นที่แอบแฝง เป็นที่ระลึกของนรชน คือ นรชนเป็น ผู้มีความสำเร็จหวังเป็นเบื้องหน้า เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ที่มีแก่นรชนเพื่อข้างหน้า. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า สิ่งที่รักทั้งหลายในโลก มีฉันทะเป็นนิทาน และนรชนเหล่าใดแล ย่อมเที่ยวไปในโลกเพราะความโลภ ความโลภของนรชนเหล่านั้น มี ฉันทะนี้เป็นนิทาน อนึ่ง ความหวังและความสำเร็จหวังที่มีแก่นรชนเพื่อ ข้างหน้านั้น ก็มีฉันทะนี้เป็นนิทาน. [๔๖๑] (พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า) ฉันทะในโลก มีอะไรเป็นนิทาน และความ ตัดสินใจมีมาแต่อะไร อนึ่ง ความโกรธ ความเป็นผู้พูดเท็จ และความ สงสัยมีมาแต่อะไร และธรรมเหล่าใด อันพระสมณะตรัสไว้แล้ว ธรรมเหล่านั้นมีมาแต่อะไร.
ว่าด้วยฉันทะ ... มีอะไรเป็นต้นเหตุ
[๔๖๒] คำว่า ฉันทะในโลก มีอะไรเป็นนิทาน ความว่า พระพุทธนิมิตตรัสถาม สอบถาม ขอให้ตรัสบอก อัญเชิญให้ทรงแสดง ขอให้ประกาศซึ่งมูล ฯลฯ สมุทัยแห่งฉันทะว่า ฉันทะมีอะไรเป็นนิทาน คือ เกิด เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏมาแต่อะไร คือ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ฉันทะในโลก มีอะไรเป็นนิทาน. [๔๖๓] คำว่า และความตัดสินใจมีมาแต่อะไร ความว่า พระพุทธนิมิตตรัสถาม สอบถาม ขอให้ตรัสบอก อัญเชิญให้ทรงแสดง ขอให้ประกาศซึ่งมูล ฯลฯ สมุทัยแห่งความ ตัดสินใจว่า ความตัดสินใจมีมาแต่อะไร คือ เกิด เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏ มาแต่อะไร คือ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า และความตัดสินใจมีมาแต่อะไร. [๔๖๔] ชื่อว่า ความโกรธ ในคำว่า อนึ่ง ความโกรธ ความเป็นผู้พูดเท็จ และ ความสงสัย คือ ความปองร้าย ความมุ่งร้าย ความขัดเคือง ความขุ่นเคือง ความเคืองทั่ว ความ เคืองเสมอ ความชัง ความชังทั่ว ความชังเสมอ ความพยาบาทแห่งจิต ความประทุษร้ายในใจ ความโกรธ กิริยาที่โกรธ ความเป็นผู้โกรธ ความชัง กิริยาที่ชัง ความเป็นผู้ชัง ความพยาบาท กิริยาที่พยาบาท ความเป็นผู้พยาบาท ความพิโรธ ความพิโรธตอบ ความเป็นผู้ดุร้าย ความ เพาะวาจาชั่ว ความเป็นผู้ไม่แช่มชื่นแห่งจิต. ความกล่าวเท็จ เรียกว่า ความเป็นผู้พูดเท็จ. ความสงสัย เรียกว่า กถํกถา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อนึ่ง ความโกรธ ความเป็นผู้พูดเท็จ และ ความสงสัย. [๔๖๕] คำว่า และธรรมเหล่าใด ในคำว่า และธรรมเหล่าใด อันพระสมณะตรัสไว้ แล้ว ความว่า ธรรมทั้งหลายใด สหรคต เกิดร่วมกัน เกี่ยวข้องกัน ประกอบกัน มีความเกิด ขึ้นคราวเดียวกัน มีความดับคราวเดียวกัน มีวัตถุเดียวกัน มีอารมณ์เดียวกัน กับความโกรธ ความเป็นผู้พูดเท็จ และความสงสัย ธรรมเหล่านี้ เรียกว่า ธรรมเหล่าใด. อีกอย่างหนึ่ง คำว่า ธรรมเหล่าใด คือ กิเลสทั้งหลายมีชาติเป็นอย่างอื่น ตั้งอยู่แล้วโดยอาการอื่น กิเลสเหล่านี้ เรียกว่า ธรรมเหล่าใด. คำว่า อันพระสมณะตรัสแล้ว ความว่า อันพระพุทธผู้เป็นสมณะมีบาป ธรรมอันระงับแล้ว เป็นพราหมณ์มีบาปธรรมอันลอยเสียแล้ว เป็นภิกษุมีมูลแห่งกิเลสอันทำลาย แล้ว ผู้พ้นขาดจากอกุศลมูลเป็นเครื่องผูกทั้งปวง ตรัสไว้แล้ว คือ ตรัสโดยทั่ว บอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ตื้น ประกาศแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า และธรรม เหล่าใด อันพระสมณะตรัสไว้แล้ว. เพราะฉะนั้น พระพุทธนิมิตนั้น จึงตรัสถามว่า ฉันทะในโลก มีอะไรเป็นนิทาน และความตัดสินใจมีมาแต่อะไร อนึ่ง ความโกรธ ความเป็นผู้พูดเท็จ และความสงสัยมีมาแต่อะไร และ ธรรมเหล่าใด อันพระสมณะตรัสไว้แล้ว ธรรมเหล่านั้นมีมาแต่อะไร. [๔๖๖] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า) บัณฑิตทั้งหลาย กล่าวธรรมใด คือ ความ ดีใจ ความเสียใจในโลก ฉันทะย่อมมีมาเพราะอาศัยธรรมนั้น ชันตุชน เห็นความไม่มีและความมีในรูปทั้งหลาย ย่อมทำความตัดสินใจในโลก. [๔๖๗] คำว่า ความดีใจ ในคำว่า บัณฑิตทั้งหลายกล่าวธรรมใด คือ ความดีใจ ความ เสียใจ ในโลก ได้แก่ สุขเวทนาและวัตถุที่น่าปรารถนา. คำว่า ความเสียใจ ได้แก่ ทุกขเวทนา และวัตถุที่ไม่น่าปรารถนา. คำว่า บัณฑิตทั้งหลายกล่าวธรรมใด ... ในโลก คือ บัณฑิตทั้งหลาย กล่าว บอก พูด แสดง แถลงธรรมใด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บัณฑิตทั้งหลายกล่าวธรรมใด คือ ความดีใจ ความเสียใจในโลก. [๔๖๘] คำว่า ฉันทะย่อมมีมาเพราะอาศัยธรรมนั้น ความว่า ฉันทะย่อมมีมา คือ มีทั่วไป เกิด เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ เพราะอาศัยความดีใจและความเสียใจ คือ อาศัยสุขและทุกข์ โสมนัสและโทมนัส วัตถุที่น่าปรารถนาและวัตถุที่ไม่น่าปรารถนา ความยินดี และความยินร้าย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ฉันทะย่อมมีมาเพราะอาศัยธรรมนั้น.
ว่าด้วยความเกิดแห่งรูป
[๔๖๙] คำว่า ในรูปทั้งหลาย ในคำว่า เห็นความไม่มีและความมีในรูปทั้งหลาย ได้แก่ มหาภูตรูป ๔ และอุปาทายรูปแห่งมหาภูตรูป ๔. ความมีแห่งรูปทั้งหลายเป็นไฉน? ความมี คือ ความเกิด ความเกิดพร้อม ความบังเกิด ความบังเกิดเฉพาะ ความปรากฏแห่งรูปทั้งหลาย นี้ชื่อว่า ความมีแห่งรูปทั้งหลาย. ความไม่มีแห่งรูปทั้งหลายเป็นไฉน? ความสิ้น ความเสื่อม ความแตก ความแตกรอบ ความไม่เที่ยง ความหายไป แห่งรูปทั้งหลาย นี้ชื่อว่า ความไม่มีแห่งรูปทั้งหลาย. คำว่า เห็นความไม่มีและความมีในรูปทั้งหลาย คือ เห็น พบ พิจารณา เทียบเคียง ให้แจ่มแจ้ง ทำให้เป็นแจ้ง ซึ่งความมีและความไม่มีในรูปทั้งหลาย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เห็น ความไม่มีและความมีในรูปทั้งหลาย.
ว่าด้วยการตัดสินใจ ๒ อย่าง
[๔๗๐] ชื่อว่า ความตัดสินใจ ในคำว่า ชันตุชน ... ย่อมทำความตัดสินใจในโลก ได้แก่ ความตัดสินใจ ๒ ประการ คือ ความตัดสินใจด้วยตัณหา ๑ ความตัดสินใจด้วยทิฏฐิ ๑. สัตว์ย่อมทำความตัดสินใจด้วยตัณหาอย่างไร? บุคคลบางคนในโลกนี้มีโภคสมบัติที่ยัง ไม่เกิดขึ้นก็มิได้เกิดขึ้น และมีโภคสมบัติที่เกิดขึ้นแล้วก็ถึงความหมดสิ้นไป. เขาจึงมีความดำริ อย่างนี้ว่า โภคสมบัติของเราที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มิได้เกิดขึ้น และโภคสมบัติที่เกิดขึ้นแล้วก็ถึงความ หมดสิ้นไป เพราะเหตุอะไรหนอ. และเขามีความดำริอย่างนี้ต่อไปว่า เมื่อเราประกอบเนืองๆ ในเหตุเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทในเพราะการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย โภคสมบัติที่ยังไม่เกิดขึ้น จึงมิได้เกิดขึ้น และโภคสมบัติที่เกิดขึ้นแล้วก็ถึงความหมดสิ้นไป เมื่อเราประกอบเนืองๆ ใน การเที่ยวมากไปในเวลาค่ำคืน ... เมื่อเราเที่ยวดูมหรสพมากไป ... เมื่อเราประกอบเนืองๆ ในเหตุ เป็นที่ตั้งแห่งความประมาทในเพราะการเล่นการพนัน ... เมื่อเราประกอบเนืองๆ ในการคบ บาปมิตร ... เมื่อเราประกอบเนืองๆ ในความเป็นคนเกียจคร้าน โภคสมบัติที่ยังไม่เกิดขึ้นจึงมิได้ เกิดขึ้นและโภคสมบัติที่เกิดขึ้นแล้วก็ถึงความหมดสิ้นไป ครั้นรู้อย่างนี้แล้ว เขาจึงไม่ประพฤติทาง ความฉิบหายแห่งโภคสมบัติ ๖ ประการ ชันตุชนย่อมทำความตัดสินใจด้วยตัณหา แม้ด้วยประการ อย่างนี้. อีกอย่างหนึ่ง บุคคลย่อมประกอบการงานด้วยกสิกรรมบ้าง ด้วยพาณิชย์กรรมบ้าง ด้วย โครักขกรรมบ้าง ด้วยธนูศิลป์บ้าง ด้วยการรับราชการบ้าง ด้วยศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่งบ้าง ชันตุชนย่อมทำความตัดสินใจด้วยตัณหา แม้ด้วยประการอย่างนี้. ชันตุชนย่อมทำความตัดสินใจด้วยทิฏฐิอย่างไร? เมื่อจักษุเกิดขึ้นแล้ว ชันตุชนก็รู้ว่า ตนของเราเกิดขึ้นแล้ว. เมื่อจักษุหายไป ก็รู้ว่า ตนของเราหายไปแล้ว ตนของเราปราศจากไปแล้ว. ชันตุชนย่อมทำความตัดสินใจด้วยทิฏฐิ แม้ด้วยประการอย่างนี้. เมื่อโสตะ ... เมื่อฆานะ ... เมื่อชิวหา ... เมื่อกาย ... เมื่อรูป ... เมื่อเสียง ... เมื่อกลิ่น ... เมื่อรส ... เมื่อโผฏฐัพพะเกิดขึ้นแล้ว ชันตุชนก็รู้ว่า ตนของเราเกิดขึ้นแล้ว เมื่อโผฏฐัพพะหายไป ก็รู้ว่า ตนของเราหายไปแล้ว ตนของ เราปราศจากไปแล้ว ชันตุชนย่อมทำความตัดสินใจด้วยทิฏฐิ คือ ให้เกิด ให้เกิดพร้อม ให้ บังเกิด ให้บังเกิดเฉพาะ แม้ด้วยประการอย่างนี้. คำว่า ชันตุชน คือ สัตว์ นระ มาณพ ฯลฯ มนุษย์. คำว่า ในโลก คือ ใน อบายโลก ฯลฯ อายตนโลก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ชันตุชน ... ย่อมทำความตัดสินใจใน โลก. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า บัณฑิตทั้งหลายกล่าวธรรมใด คือ ความดีใจ ความเสียใจในโลก ฉันทะ ย่อมมีมา เพราะอาศัยธรรมนั้น ชันตุชนเห็นความไม่มีและความมีในรูป ทั้งหลาย ย่อมทำความตัดสินใจในโลก. [๔๗๑] ธรรมแม้เหล่านี้ คือ ความโกรธ ความเป็นผู้พูดเท็จ และความ สงสัย เมื่อความดีใจและความเสียใจทั้งสองมีอยู่ก็มีมา บุคคลผู้มีความ สงสัย พึงศึกษาเพื่อทางแห่งญาณ และธรรมเหล่าใด อันพระสมณะทราบ แล้ว จึงตรัสไว้ ธรรมเหล่านั้น เมื่อความดีใจและความเสียใจทั้งสอง มีอยู่ก็มีมา. [๔๗๒] ชื่อว่า ความโกรธ ในคำว่า ความโกรธ ความเป็นผู้พูดเท็จ และความสงสัย คือ ความปองร้าย ความมุ่งร้าย ฯลฯ ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต ความกล่าวเท็จ เรียกว่า ความ เป็นผู้พูดเท็จ. ความสงสัย เรียกว่า กถํกถา. ความโกรธย่อมเกิดเพราะอาศัยวัตถุที่น่าปรารถนา บ้าง เพราะอาศัยวัตถุที่ไม่น่าปรารถนาบ้าง. ความกล่าวเท็จย่อมเกิดเพราะอาศัยวัตถุที่น่าปรารถนา บ้าง เพราะอาศัยวัตถุที่ไม่น่าปรารถนาบ้าง. ความสงสัยย่อมเกิดเพราะอาศัยวัตถุที่น่าปรารถนาบ้าง เพราะอาศัยวัตถุที่ไม่น่าปรารถนาบ้าง.
ว่าด้วยเหตุให้เกิดความโกรธ
ความโกรธย่อมเกิดเพราะอาศัยวัตถุที่ไม่น่าปรารถนาอย่างไร? ความโกรธย่อมเกิดด้วย อาการว่า เขาได้ประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เราแล้ว ความโกรธย่อมเกิดด้วยอาการว่า เขา กำลังประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา ความโกรธย่อมเกิดด้วยอาการว่า เขาจักประพฤติ สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา. ความโกรธย่อมเกิดด้วยอาการว่า เขาได้ประพฤติสิ่งที่ไม่เป็น ประโยชน์แก่บุคคลผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเราแล้ว ความโกรธย่อมเกิดด้วยอาการว่า เขากำลัง ประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา ความโกรธย่อมเกิดด้วยอาการ ว่า เขาจักประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา. ความโกรธย่อม เกิดด้วยอาการว่า เขาได้ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเราแล้ว ความโกรธย่อมเกิดด้วยอาการว่า เขากำลังประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่รักที่ ชอบใจของเรา ความโกรธย่อมเกิดด้วยอาการว่า เขาจักประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้ ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา. ความโกรธย่อมเกิดเพราะอาศัยวัตถุที่ไม่น่าปรารถนาอย่างนี้. ความโกรธย่อมเกิดเพราะอาศัยวัตถุที่น่าปรารถนาอย่างไร? แม้บุคคลผู้มีความหวาด ระแวงในการแย่งชิงวัตถุที่น่าปรารถนา ย่อมมีความโกรธเกิด คือ เมื่อวัตถุที่น่าปรารถนากำลัง ถูกแย่งชิงเอาไป ย่อมมีความโกรธเกิดบ้าง เมื่อวัตถุที่น่าปรารถนาถูกแย่งชิงไปแล้ว ย่อมมี ความโกรธเกิดบ้าง. แม้บุคคลผู้มีความหวาดระแวงในความแปรปรวนไปแห่งวัตถุที่น่าปรารถนา ย่อมมีความโกรธเกิด คือ เมื่อวัตถุที่น่าปรารถนากำลังแปรปรวนไป ย่อมมีความโกรธเกิดบ้าง เมื่อวัตถุที่น่าปรารถนาแปรปรวนไปแล้ว ย่อมมีความโกรธเกิดบ้าง. ความโกรธย่อมเกิดเพราะ อาศัยวัตถุที่น่าปรารถนาอย่างนี้.
ว่าด้วยเหตุให้เกิดการกล่าวเท็จ
มุสาวาทย่อมเกิดเพราะอาศัยวัตถุที่ไม่น่าปรารถนาอย่างไร? บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกเขาจำด้วยเครื่องจำคือขื่อ ย่อมกล่าวคำเท็จทั้งที่รู้อยู่ เพื่อพ้นจากเครื่องจำนั้น. ถูกเขาจำด้วย เครื่องจำคือเชือก ... ถูกเขาจำด้วยเครื่องจำคือโซ่ตรวน ... ถูกเขาจำด้วยเครื่องจำคือเถาวัลย์ ... ถูกเขาจำด้วยเครื่องจำคือเครื่องล้อม ... ถูกเขาจำด้วยเครื่องจำคือบ้าน นิคมและนคร ... ถูกเขา จำด้วยเครื่องจำคือชนบท ย่อมกล่าวคำเท็จทั้งที่รู้อยู่ เพื่อพ้นจากเครื่องจำนั้น. มุสาวาทย่อมเกิด เพราะอาศัยวัตถุที่ไม่น่าปรารถนาอย่างนี้. มุสาวาทย่อมเกิดเพราะอาศัยวัตถุที่น่าปรารถนาอย่างไร? บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อม กล่าวเท็จทั้งที่รู้อยู่เพราะเหตุแห่งรูปที่ชอบใจ ย่อมกล่าวเท็จทั้งที่รู้อยู่เพราะเหตุแห่งเสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่ชอบใจ เพราะเหตุแห่งจีวร เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต เพราะเหตุแห่งเสนาสนะ เพราะเหตุแห่งคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร. มุสาวาทย่อมเกิดเพราะอาศัยวัตถุที่น่าปรารถนาอย่างนี้.
ว่าด้วยเหตุให้เกิดความสงสัย
ความสงสัยย่อมเกิดเพราะอาศัยวัตถุที่ไม่น่าปรารถนาอย่างไร? ความสงสัยย่อมเกิด เพราะอาศัยวัตถุที่ไม่น่าปรารถนาว่า เราจักพ้นจากโรคนัยน์ตาหรือหนอ หรือเราจักไม่พ้นจากโรค นัยน์ตา เราจักพ้นจากโรคหูหรือหนอ จากโรคจมูกหรือหนอ จากโรคที่ลิ้นหรือหนอ จากโรค กาย ... จากโรคศีรษะหรือหนอ จากโรคที่ใบหู จากโรคปาก เราจักพ้นจากโรคฟันหรือหนอ หรือเราจักไม่พ้นจากโรคฟัน. ความสงสัยย่อมเกิดเพราะอาศัยวัตถุที่ไม่น่าปรารถนาอย่างนี้. ความสงสัยย่อมเกิดเพราะอาศัยวัตถุที่น่าปรารถนาอย่างไร? ความสงสัยย่อมเกิดเพราะ อาศัยวัตถุที่น่าปรารถนาว่า เราจักได้รูปที่ชอบใจหรือหนอ หรือเราจักไม่ได้รูปที่ชอบใจ เราจักได้ เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ สกุล คณะ อาวาส ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ เราจักได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารที่ชอบใจหรือหนอ หรือเราจักไม่ได้คิลานปัจจัย- *เภสัชบริขารที่ชอบใจ. ความสงสัยย่อมเกิดเพราะอาศัยวัตถุที่น่าปรารถนาอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ความโกรธ ความเป็นผู้พูดเท็จ และความสงสัย. [๔๗๓] คำว่า ธรรมแม้เหล่านี้ ... เมื่อความดีใจและความเสียใจทั้งสองมีอยู่ก็มีมา ความว่า เมื่อความดีใจและเสียใจมีอยู่ คือ เมื่อสุขและทุกข์ โสมนัสและโทมนัส วัตถุที่น่า ปรารถนาและวัตถุที่ไม่น่าปรารถนา ความยินดีและความยินร้าย มีอยู่ คือ ปรากฏ อันตนเข้า ไปได้อยู่ ธรรมแม้เหล่านี้ ... ก็มีมา ฉะนั้น จึงชื่อว่า ธรรมแม้เหล่านี้ ... เมื่อความดีใจและ ความเสียใจทั้งสองมีอยู่ก็มีมา.
ว่าด้วยสิกขา ๓
[๔๗๔] คำว่า บุคคลผู้มีความสงสัย พึงศึกษาเพื่อทางแห่งญาณ ความว่า แม้ญาณ ก็ชื่อว่าทางแห่งญาณ แม้อารมณ์แห่งญาณก็ชื่อว่าทางแห่งญาณ แม้ธรรมทั้งหลายอันเกิดร่วมกับ ญาณก็ชื่อว่าทางแห่งญาณ เปรียบเหมือนอริยมรรคก็ชื่อว่าทางแห่งอริยะ เทวมรรคก็ชื่อว่าทางแห่ง เทวดา พรหมมรรคก็ชื่อว่าทางแห่งพรหม ฉันใด แม้ญาณก็ชื่อว่าทางแห่งญาณ แม้อารมณ์แห่ง ญาณก็ชื่อว่าทางแห่งญาณ แม้ธรรมทั้งหลายอันเกิดร่วมกับญาณก็ชื่อว่าทางแห่งญาณ ฉันนั้น. สิกขา ในคำว่า พึงศึกษา มี ๓ อย่าง คือ อธิศีลสิกขา ๑ อธิจิตตสิกขา ๑ อธิปัญญาสิกขา ๑. อธิศีลสิกขาเป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมแล้วด้วยความสำรวม ในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษทั้งหลายมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ศีลขันธ์น้อย ศีลขันธ์ใหญ่ ศีลเป็นที่ตั้ง เป็นเบื้องต้น เป็นเบื้องบาท เป็นความสำรวม เป็นความระวัง เป็นปาก เป็นประธาน แห่งความถึงพร้อม แห่งธรรมทั้งหลายฝ่ายกุศล นี้ชื่อว่า อธิศีลสิกขา. อธิจิตตสิกขาเป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ จึงบรรลุจตุตถฌาน นี้ชื่อว่า อธิจิตตสิกขา. อธิปัญญาสิกขาเป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญา อันให้ถึงความเกิดและความดับ เป็นอริยะ ชำแรกกิเลส อันให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ภิกษุ นั้นย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา และรู้ชัดตามความ เป็นจริงว่า เหล่านี้อาสวะ ฯลฯ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะ นี้ชื่อว่า อธิปัญญาสิกขา. คำว่า ผู้มีความสงสัย พึงศึกษาเพื่อทางแห่งญาณ ความว่า บุคคลผู้มีความสงสัย เคลือบแคลง ลังเล เป็นสองทาง ไม่แน่ใจ พึงศึกษาอธิศีลบ้าง อธิจิตบ้าง อธิปัญญาบ้าง เพื่อความบรรลุญาณ เพื่อความถูกต้องญาณ เพื่อความทำให้แจ่มแจ้งญาณ. บุคคลเมื่อนึกถึง สิกขา ๓ นี้ พึงศึกษา คือ เมื่อรู้ เมื่อเห็น เมื่อพิจารณา เมื่ออธิษฐานจิต เมื่อน้อมใจไป ด้วยศรัทธา เมื่อประคองความเพียร เมื่อตั้งสติ เมื่อตั้งจิต เมื่อรู้ชัดด้วยปัญญา เมื่อรู้ยิ่งธรรม ที่ควรรู้ยิ่ง เมื่อกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เมื่อละธรรมที่ควรละ เมื่อเจริญธรรมที่ควรเจริญ เมื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ก็พึงศึกษา ประพฤติเอื้อเฟื้อ ประพฤติเอื้อเฟื้อโดยชอบ สมาทานประพฤติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลผู้มีความสงสัยพึงศึกษาเพื่อทางแห่งญาณ.
ว่าด้วยธรรมที่พระสมณะทราบ
[๔๗๕] คำว่า และธรรมเหล่าใด อันพระสมณะทราบแล้ว จึงตรัสไว้ ความว่า ธรรม ทั้งหลายอันพระสมณะทรงทราบ ทรงรู้ พิจารณา เทียบเคียง ให้แจ่มแจ้ง ทำให้เป็นแจ้งแล้ว ตรัสไว้ ตรัสสอน ตรัสบอก ทรงแสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ตื้น ประ กาศแล้ว คือ ทรงทราบ ทรงรู้ พิจารณา เทียบเคียง ให้แจ่มแจ้ง ทำให้เป็นแจ้งแล้ว ตรัสไว้ ตรัสสอน ตรัสบอก ทรงแสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ตื้น ประกาศแล้ว ว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา เพราะอวิชชาเป็น ปัจจัย จึงมีสังขาร ฯลฯ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรามรณะ เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ ฯลฯ เพราะชาติดับ ชรามรณะจึงดับ นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เหล่านี้อาสวะ ฯลฯ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะ ธรรมเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง ธรรมเหล่านี้ควรกำหนดรู้ ธรรม เหล่านี้ควรละ ธรรมเหล่านี้ควรเจริญ ธรรมเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง ความเกิด ความดับ คุณ โทษ อุบายเครื่องสลัดออก แห่งผัสสายตนะ ๖ แห่งอุปาทานขันธ์ ๕ แห่งหาภูตรูป ๔ สิ่งใด สิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับเป็นธรรมดา. สมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระตรัสไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราแสดงธรรมเพื่อ ความรู้ยิ่ง เราไม่แสดงธรรมเพื่อความไม่รู้ยิ่ง เราแสดงธรรมมีเหตุ เราไม่แสดงธรรมไม่มีเหตุ เราแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ เราไม่แสดงธรรมไม่มีปาฏิหาริย์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเราแสดงธรรม เพื่อความรู้ยิ่ง ไม่แสดงธรรมเพื่อความไม่รู้ยิ่ง แสดงธรรมมีเหตุ ไม่แสดงธรรมไม่มีเหตุ แสดง ธรรมมีปาฏิหาริย์ ไม่แสดงธรรมไม่มีปาฏิหาริย์อยู่ เธอทั้งหลายควรทำตามโอวาท ควรทำตาม อนุศาสนี ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง เธอทั้งหลายควรยินดีปราโมทย์ ควรโสมนัสว่า พระผู้มี พระภาคทรงเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมเป็นสวากขาตธรรม พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ก็เมื่อคำเป็นไวยากรณ์นี้ อันพระผู้มีพระภาคตรัสอยู่ โลกธาตุหมื่นหนึ่งหวั่นไหวแล้ว ดังนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า และธรรมเหล่าใด อันพระสมณะทราบแล้ว จึงตรัสไว้. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ธรรมแม้เหล่านี้ คือ ความโกรธ ความเป็นผู้พูดเท็จ และความสงสัย เมื่อความดีใจและความเสียใจทั้งสองมีอยู่ก็มีมา บุคคลผู้มีความสงสัย พึงศึกษาเพื่อทางแห่งญาณ และธรรมเหล่าใด อันพระสมณะทราบแล้ว จึงตรัสไว้ ธรรมเหล่านั้น เมื่อความดีใจและความเสียใจทั้งสองมีอยู่ก็ มีมา. [๔๗๖] (พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า) ความดีใจและความเสียใจ มีอะไรเป็นนิทาน เมื่ออะไรไม่มี ความดีใจและความเสียใจเหล่านั้นจึงไม่มี อรรถนั้นใด คือ ความไม่มีและความมี ขอพระองค์จงตรัสบอกอรรถนั้นว่า มีสิ่งใด เป็นนิทานแก่ข้าพระองค์.
ว่าด้วยต้นเหตุความดีใจ-เสียใจ
[๔๗๗] คำว่า ความดีใจและความเสียใจ มีอะไรเป็นนิทาน ความว่า พระพุทธนิมิต ตรัสถาม สอบถาม ขอให้ตรัสบอก อัญเชิญให้ทรงแสดง ขอให้ประกาศซึ่งมูล ฯลฯ สมุทัย แห่งความดีใจและความเสียใจว่า ความดีใจและความเสียใจ มีอะไรเป็นนิทาน คือ เกิด เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏมาแต่อะไร คือ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไร เป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ความดีใจและความ เสียใจ มีอะไรเป็นนิทาน. [๔๗๘] คำว่า เมื่ออะไรไม่มี ความดีใจและความเสียใจเหล่านั้นจึงไม่มี ความว่า เมื่ออะไรไม่มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้ ความดีใจและความเสียใจ จึงไม่มี ไม่เป็น ไม่เกิด ไม่เกิดพร้อม ไม่บังเกิด ไม่บังเกิดเฉพาะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่ออะไรไม่มี ความดีใจ และความเสียใจเหล่านั้นจึงไม่มี. [๔๗๙] คำว่า อรรถนั้นใด คือ ความไม่มีและความมี ความว่า ความมีแห่งความดีใจ และความเสียใจเป็นไฉน? ความมี ความเป็น ความเกิด ความเกิดพร้อม ความบังเกิด ความบังเกิดเฉพาะ ความปรากฏ แห่งความดีใจและความเสียใจใด นี้ชื่อว่า ความมีแห่งความดีใจ และความเสียใจ. ความไม่มีแห่งความดีใจและความเสียใจเป็นไฉน? ความสิ้น ความเสื่อม ความแตก ความแตกรอบ ความไม่เที่ยง ความหายไป แห่งความดีใจและความเสียใจใด นี้ชื่อ ว่า ความไม่มีแห่งความดีใจและความเสียใจ. คำว่า อรรถนั้นใด คือ อรรถอย่างยิ่งใด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อรรถนั้นใด คือ ความไม่มีและความมี. [๔๘๐] คำว่า นั้น ในคำว่า ขอจงตรัสบอกอรรถนั้นว่า มีสิ่งใดเป็นนิทานแก่ ข้าพระองค์ ความว่า อรรถที่ข้าพระองค์ทูลถาม ขอให้ตรัสบอก อัญเชิญให้ทรงแสดง ขอให้ ประกาศ. คำว่า ขอจงตรัสบอก คือ ขอจงตรัสบอก ทรงแจ้ง ทรงแสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ตื้น ทรงประกาศ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ขอจงตรัสบอกอรรถนั้น ... แก่ ข้าพระองค์. คำว่า มีสิ่งใดเป็นนิทาน มีสิ่งใดเป็นสมุทัย มีสิ่งใดเป็นชาติ มีสิ่งใดเป็นแดนเกิด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ขอจงตรัสบอก อรรถนั้นว่า มีสิ่งใดเป็นนิทานแก่ข้าพระองค์. เพราะเหตุนั้น พระพุทธนิมิตนั้นจึงตรัสถามว่า ความดีใจและความเสียใจ มีอะไรเป็นนิทาน เมื่ออะไรไม่มี ความดีใจ และความเสียใจเหล่านั้นจึงไม่มี อรรถนั้นใด คือ ความไม่มีและความมี ขอพระองค์จงตรัสบอกอรรถนั้นว่า มีสิ่งใดเป็นนิทานแก่ข้าพระองค์. [๔๘๑] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า) ความดีใจและความเสียใจ มีผัสสะเป็น นิทาน เมื่อผัสสะไม่มี ความดีใจและความเสียใจเหล่านั้นจึงไม่มี อรรถ นั้นใด คือ ความไม่มีและความมี ข้าพระองค์ขอบอกอรรถนั้นว่า มี ผัสสะนี้เป็นนิทานแก่พระองค์. [๔๘๒] คำว่า ความดีใจและความเสียใจ มีผัสสะเป็นนิทาน ความว่า สุขเวทนาเกิด ขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา. เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้นนั่น แหละดับไป สุขเวทนาอันเกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ที่เสวยอยู่ อันเกิด แต่ผัสสะนั้น ก็ดับสงบไป. ทุกขเวทนาเกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา. เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนานั้นนั่นแหละดับไป ทุกขเวทนาอันเกิดขึ้นเพราะอาศัย ผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ที่เสวยอยู่ อันเกิดแต่ผัสสะนั้น ก็ดับสงบไป. อทุกขม- *สุขเวทนาเกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา. เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้ง แห่งอทุกขมสุขเวทนานั้นนั่นแหละดับไป อทุกขมสุขเวทนาอันเกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ที่เสวยอยู่ อันเกิดแต่ผัสสะนั้น ก็ดับสงบไป. คำว่า ความดีใจ และความเสียใจ มีผัสสะเป็นนิทาน ความว่า ความดีใจและความเสียใจ มีผัสสะเป็นนิทาน มีผัสสะเป็นสมุทัย มีผัสสะเป็นชาติ มีผัสสะเป็นแดนเกิด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ความดีใจ และความเสียใจ มีผัสสะเป็นนิทาน. [๔๘๓] คำว่า เมื่อผัสสะไม่มี ความดีใจและความเสียใจเหล่านั้นจึงไม่มี ความว่า เมื่อผัสสะไม่มี คือ ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้อยู่ ความดีใจและความเสียใจจึงไม่มี คือ ไม่เป็น ไม่เกิด ไม่เกิดพร้อม ไม่บังเกิด ไม่บังเกิดเฉพาะ ไม่ปรากฏ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อผัสสะ ไม่มี ความดีใจและความเสียใจเหล่านั้นจึงไม่มี. [๔๘๔] คำว่า อรรถนั้นใด คือ ความไม่มีและความมี ความว่า ภวทิฏฐิก็ดี วิภวทิฏฐิ ก็ดี ก็มีผัสสะเป็นนิทาน. คำว่า อรรถนั้นใด คือ อรรถอย่างยิ่งใด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อรรถนั้นใด คือ ความไม่มีและความมี. [๔๘๕] คำว่า นั้น ในคำว่า ขอบอกอรรถนั้นว่า มีผัสสะนี้เป็นนิทานแก่พระองค์ ความว่า อรรถที่พระองค์ตรัสถาม ขอให้บอก เชิญให้บอก ให้ประกาศ. คำว่า ขอบอก คือ ขอตอบ บอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ตื้น ประกาศ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ขอบอกอรรถนั้น ... แก่พระองค์. คำว่า มีผัสสะนี้เป็นนิทาน คือ มีผัสสะนี้เป็นนิทาน มีผัสสะเป็นสมุทัย มีผัสสะเป็นชาติ มีผัสสะเป็นแดนเกิด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ขอบอก อรรถนั้น ว่ามีผัสสะนี้เป็นนิทาน แก่พระองค์ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า ความดีใจและความเสียใจ มีผัสสะเป็นนิทาน เมื่อผัสสะไม่มี ความ ดีใจและความเสียใจเหล่านั้นจึงไม่มี อรรถนั้นใด คือ ความไม่มีและ ความมี ข้าพระองค์ขอบอกอรรถนั้น ว่ามีผัสสะนี้เป็นนิทาน แก่ พระองค์. [๔๘๖] (พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า) ผัสสะในโลก มีอะไรเป็นนิทาน และ ความยึดถือมีมาแต่อะไร เมื่ออะไรไม่มี ความถือว่าของเราจึงไม่มี เมื่อ อะไรไม่มี ผัสสะจึงไม่ถูกต้อง.
ว่าด้วยต้นเหตุของผัสสะ ....
[๔๘๗] คำว่า ผัสสะในโลกมีอะไรเป็นนิทาน ความว่า พระพุทธนิมิตตรัสถาม สอบ ถาม ขอให้ตรัสบอก เชิญให้ทรงแสดง ขอให้ประสาทซึ่งมูล ฯลฯ สมุทัยแห่งผัสสะว่า ผัสสะ มีอะไรเป็นนิทาน คือ เกิด เกิดพร้อมบังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏมาแต่อะไร คือมีอะไร เป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผัสสะในโลกมีอะไรเป็นนิทาน. [๔๘๘] คำว่า และความยึดถือมีมาแต่อะไร ความว่า พระพุทธนิมิตตรัสถาม สอบ ถาม ขอให้ตรัสบอก เชิญให้ทรงแสดง ขอให้ประสาท ซึ่งมูล ฯลฯ สมุทัย แห่งความยึด ถือทั้งหลายว่า ความยึดถือมีมาแต่อะไร คือ เกิด เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏมาแต่ อะไร คือ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด เพราะ ฉะนั้น จึงชื่อว่า และความยึดถือมีมาแต่อะไร. [๔๘๙] คำว่า เมื่ออะไรไม่มี ความถือว่าของเราจึงไม่มี ความว่า เมื่ออะไรไม่มี ไม่ ปรากฏ ไม่เข้าไปได้อยู่ ความถือว่าของเรา จึงไม่มี ไม่เป็น ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้ คือ ความถือว่าของเรา อันพระสมณะละ ตัดขาดสงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสีย แล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่ออะไรไม่มี ความถือว่าของเราจึงไม่มี. [๔๙๐] คำว่า เมื่ออะไรไม่มี ผัสสะจึงไม่ถูกต้อง ความว่า เมื่ออะไรไม่มี ไม่เป็น ก้าวล่วง ล่วงเลย เป็นไปล่วงแล้ว ผัสสะจึงไม่ถูกต้อง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่ออะไรไม่มี ผัสสะจึงไม่ถูกต้อง. เพราะเหตุนั้น พระพุทธนิมิตนั้นจึงตรัสถามว่า ผัสสะในโลกมีอะไรเป็นนิทาน และความยึดถือ มีมาแต่อะไร เมื่อ อะไรไม่มี ความถือว่าของเราจึงไม่มี เมื่ออะไรไม่มี ผัสสะจึงไม่ ถูกต้อง. [๔๙๑] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า) ผัสสะเกิดขึ้น เพราะอาศัยนามและรูป ความยึดถือมีความปรารถนาเป็นนิทาน เมื่อความปรารถนาไม่มี ความ ถือว่าของเราจึงไม่มี เมื่อรูปไม่มี ผัสสะจึงไม่ถูกต้อง. [๔๙๒] คำว่า ผัสสะเกิดขึ้นเพราะอาศัยนามและรูป ความว่า จักษุวิญญาณเกิดขึ้น เพราะอาศัยจักษุและรูป ประชุมธรรม ๓ ประการ คือ จักษุรูป ในส่วนรูป และสัมปยุตธรรม ในส่วนนาม เว้นจักษุสัมผัส เป็นผัสสะ ผัสสะเกิดขึ้นเพราะอาศัยนามและรูปแม้อย่างนี้. โสต- *วิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยหูและเสียง ประชุมธรรม ๓ ประการ คือ หู เสียง ในส่วนรูป และสัมปยุตธรรมในส่วนนาม เว้นโสตสัมผัส เป็นผัสสะ ผัสสะเกิดขึ้นเพราะอาศัยนามและ รูป แม้อย่างนี้. ฆานวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยจมูกและกลิ่น ประชุมธรรม ๓ ประการ คือ จมูก กลิ่น ในส่วนรูป และสัมปยุตธรรมในส่วนนาม เว้นฆานสัมผัส เป็นผัสสะ ผัสสะ เกิดขึ้นเพราะอาศัยนาม และรูปแม้อย่างนี้. ชิวหาวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยลิ้นและรส ประชุม ธรรม ๓ ประการ คือ ลิ้น รส ในส่วนรูป และสัมปยุตธรรมในส่วนนามเว้น ชิวหาสัมผัส เป็นผัสสะ ผัสสะเกิดขึ้นเพราะอาศัยนามและรูปแม้อย่างนี้. กายวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยกาย และโผฏฐัพพะ ประชุมธรรม ๓ ประการ คือ กาย โผฏฐัพพะ ในส่วนรูป และสัมปยุตธรรม ในส่วนนาม เว้นกายสัมผัส เป็นผัสสะ ผัสสะเกิดขึ้นเพราะอาศัยนามและรูปแม้อย่างนี้. มโนวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยใจและธรรมารมณ์ ประชุมธรรม ๓ ประการ คือ รูป วัตถุ ใน ส่วนรูป ธรรมทั้งหลายที่มีรูปในส่วนรูป และสัมปยุตธรรมในส่วนนาม เว้นมโนสัมผัส เป็น ผัสสะ ผัสสะเกิดขึ้นเพราะอาศัยนามและรูปแม้อย่างนี้.
ว่าด้วยความยึดถือมีความปรารถนาเป็นต้นเหตุ
[๔๙๓] คำว่า ความยึดถือมีความปรารถนาเป็นนิทาน ความว่า ตัณหา เรียกว่า ความ ปรารถนา ได้แก่ราคะ สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล. ชื่อว่าความยึดถือ ได้แก่ ความยึดถือ ๒ ประการ คือ ความยึดถือด้วยตัณหา ๑ ความยึดถือด้วยทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่า ความยึดถือด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่า ความยึดถือด้วยทิฏฐิ. คำว่า ความยึดถือมีความปรารถนาเป็น นิทาน ความว่า ความยึดถือทั้งหลาย มีความปรารถนาเป็นนิทาน มีความปรารถนาเป็นเหตุ มีความ ปรารถนาเป็นปัจจัย มีความปรารถนาเป็นตัวการณ์ มีความปรารถนาเป็นแดนเกิด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ความยึดถือมีความปรารถนาเป็นนิทาน. [๔๙๔] คำว่า เมื่อความปรารถนาไม่มี ความถือว่าของเราจึงไม่มี ความว่า ตัณหา เรียกว่า ความปรารถนา ได้แก่ราคะ สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล. ชื่อว่าความ ถือว่าของเรา ได้แก่ความถือว่าของเรา ๒ อย่างคือ ความถือว่าของเราด้วยตัณหา ๑ ความถือว่า ของเราด้วยทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่า ความถือว่าของเราด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่า ความถือว่าของเรา ด้วยทิฏฐิ. คำว่า เมื่อความปรารถนาไม่มี ความถือว่าของเราจึงไม่มี ความว่า เมื่อความปรารถนา ไม่มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้อยู่ ความถือว่าของเราจึงไม่มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้ คือ ความ ถือว่าของเราเหล่านั้น อันพระสมณะละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสีย แล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อความปรารถนาไม่มี ความถือว่าของเราจึงไม่มี.
ว่าด้วยมหาภูตรูป ๔
[๔๙๕] คำว่า รูป ในคำว่า เมื่อรูปไม่มี ผัสสะจึงไม่ถูกต้อง ได้แก่ มหาภูตรูป ๔. อุปาทายรูปของมหาภูตรูป ๔ คำว่า เมื่อรูปไม่มี คือ รูปย่อมไม่มีโดยเหตุ ๔ อย่าง คือ โดยการรู้ โดยการพิจารณา โดยการละ โดยการก้าวล่วง. รูปไม่มีโดยการรู้อย่างไร? พระสมณะย่อมรู้รูป คือ ย่อมรู้ ย่อมเห็นว่า รูปหมดทุกอย่าง ชื่อว่ารูป ได้แก่มหาภูตรูป ๔ อุปาทายรูปของมหาภูตรูป ๔ รูปไม่มีโดยการรู้อย่างนี้. รูปไม่มีโดยการพิจารณาอย่างไร? พระสมณะครั้นรู้รูปอย่างนี้แล้ว จึงพิจารณารูป คือ พิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นของลำบาก เป็นอาพาธ เป็นอย่างอื่น เป็นของชำรุด เป็นเสนียด เป็นอุบาทว์ เป็นภัย เป็นอุปสรรค เป็นของ หวั่นไหว เป็นของแตกพัง เป็นของไม่ยั่งยืน เป็นของไม่มีที่ค้านทาน เป็นของไม่มีที่ซ่อนเร้น เป็นของไม่มีที่พึ่ง เป็นของว่าง เป็นของเปล่า เป็นของสูญ เป็นอนัตตา เป็นโทษ เป็นของมีความ แปรปรวนไปเป็นธรรมดา เป็นของไม่มีแก่นสาร เป็นมูลแห่งความทุกข์ เป็นดังเพชฌฆาต เป็นของ ปราศจากความเจริญ เป็นของมีอาสวะ เป็นของอันเหตุปัจจัยปรุงแต่ง เป็นเหยื่อแห่งมาร เป็นของ มีชาติเป็นธรรมดา เป็นของมีชราเป็นธรรมดา เป็นของมีพยาธิเป็นธรรมดา เป็นของมีมรณะ เป็นธรรมดา เป็นของมีความโศก ความรำพัน ความเจ็บกาย ความเจ็บใจ และความแค้นใจเป็น ธรรมดา เป็นของมีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา เป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์ เป็นของดับไป เป็นของ ชวนให้หลงแช่มชื่น เป็นอาทีนพ เป็นนิสสรณะ รูปไม่มีโดยการพิจารณาอย่างนี้. รูปไม่มีโดยการละอย่างไร? พระสมณะครั้นพิจารณาอย่างนี้แล้ว จึงละ บรรเทา ทำให้ สิ้นไป ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง ซึ่งฉันทราคะในรูป. สมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันทราคะในรูปใด พวกท่าน จงละฉันทราคะนั้นเสีย ฉันทราคะนั้นจักเป็นของอันพวกท่านละแล้ว มีมูลอันตัดขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ถึงความไม่มีในภายหลัง มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา โดยประการอย่างนี้. รูปไม่มีโดยการละอย่างนี้. รูปไม่มีโดยการก้าวล่วงอย่างไร? ผู้ที่ได้อรูปสมาบัติทั้ง ๔ แล้วเป็นผู้ไม่มีรูป คือ ไม่เจริญรูป ล่วงเลย ก้าวล่วง เป็นไปล่วงรูปเสียได้แล้ว รูปไม่มีโดยการก้าวล่วงอย่างนี้. รูปย่อม ไม่มีโดยเหตุ ๔ ประการนี้. คำว่า เมื่อรูปไม่มี ผัสสะจึงไม่ถูกต้อง ความว่า เมื่อรูปไม่มี ไม่เป็น ล่วงเลย ก้าวล่วง เป็นไปล่วงแล้ว ผัสสะ ๕ ประการ คือ จักษุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส ย่อมไม่ถูกต้อง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อรูปไม่มี ผัสสะจึงไม่ถูกต้อง. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ผัสสะเกิดขึ้นเพราะอาศัยนามและรูป ความยึดถือมีความปรารถนาเป็น นิทาน เมื่อความปรารถนาไม่มี ความถือว่าของเราจึงไม่มี เมื่อรูปไม่มี ผัสสะจึงไม่ถูกต้อง. [๔๙๖] (พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า) เมื่อบุคคลดำเนินอย่างไร? รูปจึงไม่มี อนึ่ง สุขและทุกข์ไม่มีอย่างไร? รูปเป็นต้นไม่มีด้วยประการใด ขอพระองค์ตรัสบอกประการนั้นแก่ข้าพระองค์ ข้าพระองค์ได้ตั้งใจไว้ว่า จะรู้ประการไร. [๔๙๗] คำว่า เมื่อบุคคลดำเนินอย่างไร? รูปจึงไม่มี ความว่า เมื่อบุคคลดำเนิน อย่างไร? คือ ปฏิบัติอย่างไร? เปลี่ยนอิริยาบถอย่างไร? ประพฤติอย่างไร? รักษาอย่างไร? บำรุงอย่างไร? เยียวยาอย่างไร? รูปจึงไม่มี คือ ไม่เป็น ล่วงเลย ก้าวล่วง เป็นไปล่วง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อบุคคลดำเนินอย่างไร? รูปจึงไม่มี. [๔๙๘] คำว่า อนึ่ง สุขและทุกข์ไม่มีอย่างไร? ความว่า สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี ไม่มี คือ ไม่เป็น ล่วงเลย ก้าวล่วง เป็นไปล่วงอย่างไร? เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อนึ่ง สุขและทุกข์ไม่มี อย่างไร?. [๔๙๙] คำว่า ประการนั้น ในคำว่า รูปเป็นต้นไม่มีด้วยประการใด ขอพระองค์ ตรัสบอกประการนั้นแก่ข้าพระองค์ ความว่า ประการที่ข้าพระองค์ถาม ขอให้ตรัสบอก เชิญให้ทรง แสดง ขอให้ประสาท เพราะฉะนั้น ชื่อว่า ประการนั้น. คำว่า ขอตรัสบอก ... แก่ข้าพระองค์ คือ ของตรัสบอก ทรงเล่า ทรงแสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ตื้น ประกาศแก่ ข้าพระองค์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ขอตรัสบอก ... แก่ข้าพระองค์. คำว่า รูปเป็นต้นไม่มี ด้วยประการใด คือ รูปไม่มี ไม่เป็น ล่วงเลย ก้าวล่วง เป็นไปล่วง ด้วยประการใด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า รูปเป็นต้นไม่มีด้วยประการใด ขอพระองค์ตรัสบอกประการนั้นแก่ข้าพระองค์. [๕๐๐] คำว่า จะรู้ประการนั้น ในคำว่า ข้าพระองค์ได้ตั้งใจว่า จะรู้ประการนั้น ความว่า จะรู้ จะทราบ จะรู้แจ้ง จะรู้แจ่มแจ้ง จะแทงตลอดประการนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า จะรู้ ประการนั้น. คำว่า ข้าพระองค์ได้ตั้งใจ คือ ข้าพระองค์ได้ตั้งจิต ตั้งความดำริ ตั้งวิญญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าพระองค์ได้ตั้งใจว่า จะรู้ประการนั้น. เพราะเหตุนั้น พระพุทธนิมิตนั้น จึงตรัสถามว่า เมื่อบุคคลดำเนินอย่างไร? รูปจึงไม่มี อนึ่ง สุขและทุกข์ไม่มีอย่างไร? รูปเป็นต้นไม่มีด้วยประการใด ขอพระองค์ตรัสบอกประการนั้นแก่ข้า พระองค์ ข้าพระองค์ได้ตั้งใจว่าจะรู้ประการนั้น. [๕๐๑] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า) บุคคลไม่เป็นผู้มีสัญญาโดยสัญญาปกติ ไม่เป็นผู้มีสัญญาโดยสัญญาผิดปกติ ไม่เป็นผู้ไม่มีสัญญาและไม่เป็นผู้ ปราศจากสัญญา เมื่อบุคคลดำเนินอย่างนี้ รูปจึงไม่มี เพราะว่าส่วนแห่ง ธรรมเครื่องให้เนิ่นช้า มีสัญญาเป็นนิทาน. [๕๐๒] คำว่า บุคคลไม่เป็นผู้มีสัญญาโดยสัญญาปกติ ไม่เป็นผู้มีสัญญาโดยสัญญา ผิดปกติ ความว่า ชนเหล่าใด ตั้งอยู่โดยสัญญาปกติ ชนเหล่านั้น เรียกว่า เป็นผู้มีสัญญาโดย สัญญาปกติ บุคคลนั้นไม่ตั้งอยู่โดยสัญญาปกติ. ชนเหล่าใดเป็นบ้า และเป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ชนเหล่านั้น เรียกว่า เป็นผู้มีสัญญาโดยสัญญาผิดปกติ บุคคลนั้นไม่เป็นบ้า ทั้งไม่เป็นผู้มีจิต ฟุ้งซ่าน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลไม่เป็นผู้มีสัญญาโดยสัญญาปกติ ไม่เป็นผู้มีสัญญาโดย สัญญาผิดปกติ. [๕๐๓] คำว่า ไม่เป็นผู้ไม่มีสัญญา และไม่เป็นผู้ปราศจากสัญญา ความว่า ชนเหล่าใด เข้านิโรธ และเป็นอสัญญีสัตว์ ชนเหล่านั้น เรียกว่า เป็นผู้ไม่มีสัญญา บุคคลนั้นไม่ใช่ผู้เข้านิโรธ ทั้งไม่ใช่เป็นอสัญญีสัตว์. ชนเหล่าใด ได้อรูปสมาบัติ ๔ ชนเหล่านั้น เรียกว่า เป็นผู้ปราศจาก สัญญา บุคคลนั้นไม่เป็นผู้ได้อรูปสมาบัติ ๔ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่เป็นผู้มีไม่มีสัญญาและ ไม่เป็นผู้ปราศจากสัญญา. [๕๐๔] คำว่า เมื่อบุคคลดำเนินอย่างนี้ รูปจึงไม่มี ความว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ เพราะละสุข ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ถึงความไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไป เพื่อประโยชน์แก่การได้อากาสานัญจายตนสมาบัติ เป็นผู้พร้อมเพรียงด้วยธรรมเป็นทางแห่งอรูป- *สมาบัติ เมื่อบุคคลดำเนินอย่างนี้ คือ ปฏิบัติ ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถ ประพฤติ รักษา บำรุง เยียวยาอยู่อย่างนี้ ด้วยประการดังนี้. รูปจึงไม่มี ไม่เป็น ล่วงเลย ก้าวล่วง เป็นไปล่วง เพราะ ฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อบุคคลดำเนินอย่างนี้ รูปจึงไม่มี.
ว่าด้วยธรรมเครื่องเนิ่นช้า
[๕๐๕] คำว่า เพราะว่าส่วนแห่งธรรมเครื่องให้เนิ่นช้า มีสัญญาเป็นนิทาน ความว่า ธรรมเป็นเครื่องให้เนิ่นช้า คือ ตัณหา ทิฏฐิ มานะ เป็นธรรม มีสัญญาเป็นนิทาน มีสัญญา เป็นสมุทัย มีสัญญาเป็นชาติ มีสัญญาเป็นแดนเกิด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะว่าส่วนแห่งธรรม เป็นเครื่องให้เนิ่นช้า มีสัญญาเป็นนิทาน. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า บุคคลไม่เป็นผู้มีสัญญาโดยสัญญาปกติ ไม่เป็นผู้มีสัญญาโดยสัญญาผิด ปกติ ไม่เป็นผู้ไม่มีสัญญาและไม่เป็นผู้ปราศจากสัญญา เมื่อบุคคล ดำเนินอย่างนี้ รูปจึงไม่มี เพราะว่าส่วนแห่งธรรมเป็นเครื่องให้เนิ่นช้า มีสัญญาเป็นนิทาน. [๕๐๖] (พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า) ข้าพระองค์ได้ทูลถามธรรมใดแล้ว พระองค์ ได้ทรงแถลงธรรมนั้นแก่ข้าพระองค์แล้ว ข้าพระองค์จะขอทูลถามธรรม ส่วนอื่นกะพระองค์ ขอเชิญพระองค์ตรัสบอกธรรมนั้น ก็สมณพราหมณ์ บางพวกอ้างตนเป็นบัณฑิตในโลกนี้ ย่อมกล่าวความหมดจดแห่งยักษ์ ด้วยอรูปสมาบัติเท่านี้หรือหนอ ว่าเป็นธรรมอันเลิศ หรือว่าสมณ- พราหมณ์บางพวก กล่าวความหมดจดอย่างอื่น กว่าอรูปสมาบัตินี้. [๕๐๗] คำว่า ข้าพระองค์ได้ทูลถามธรรมใดแล้ว พระองค์ได้ทรงแถลงธรรมนั้นแก่ ข้าพระองค์แล้ว ความว่า ข้าพระองค์ได้ทูลถาม คือ ขอให้ตรัสบอก เชิญให้ทรงแสดง ขอให้ ประสาทซึ่งธรรมใด. คำว่า ได้ทรงแสดงธรรมนั้นแก่ข้าพระองค์แล้ว คือ พระองค์ทรงแสดง แถลงออก ตรัสบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ตื้น ประกาศธรรม นั้นแก่ข้าพระองค์แล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าพระองค์ได้ทูลถามธรรมใดแล้ว พระองค์ได้ ทรงแถลงธรรมนั้นแก่ข้าพระองค์แล้ว. [๕๐๘] คำว่า ข้าพระองค์ขอทูลถามธรรมส่วนอื่นกะพระองค์ ขอเชิญพระองค์ตรัส บอกธรรมนั้น ความว่า ข้าพระองค์ขอทูลถาม คือ ขอให้ตรัสบอก เชิญให้ทรงแสดง ขอให้ ประสาท ซึ่งธรรมส่วนอื่น กะพระองค์ คือ จะขอทูลถามธรรมยิ่งขึ้นไปกะพระองค์. คำว่า ขอเชิญพระองค์จงตรัสบอกธรรมนั้น คือ ขอเชิญพระองค์จงตรัสบอก ชี้บอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ตื้น ประกาศธรรมนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าพระองค์ขอ ทูลถามธรรมส่วนอื่นกะพระองค์ ขอเชิญพระองค์ตรัสบอกธรรมนั้น.
ว่าด้วยความหมดจดด้วยอรูปสมาบัติ
[๕๐๙] คำว่า ก็สมณพราหมณ์บางพวกอ้างตนเป็นบัณฑิตในโลกนี้ ย่อมกล่าวความ หมดจดแห่งยักษ์ด้วยอรูปสมาบัติเท่านี้หรือหนอ ว่าเป็นธรรมอันเลิศ ความว่า สมณพราหมณ์ บางพวกย่อมกล่าว บอก พูด แสดง แถลง (ความหมดจด) ว่าเป็นธรรมอันเลิศ ประเสริฐ วิเศษ เป็นประธาน อุดม บวร ด้วยอรูปสมาบัติเท่านี้หรือ. คำว่า ยักษ์ คือ แห่งสัตว์ นรชน มาณพ บุรุษ บุคคล ผู้มีชีวิต ผู้เกิด สัตว์เกิด ผู้มีกรรม มนุษย์. คำว่า ความหมดจด คือ ความหมดจด ความหมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความพ้นรอบ คำว่า อ้างตนเป็นบัณฑิตในโลกนี้ คือ เป็นผู้กล่าวว่าตนเป็นบัณฑิต เป็นผู้กล่าวว่าตนเป็นธีรชน ผู้กล่าวว่าตนมีญาณ ผู้กล่าวโดยเหตุ ผู้กล่าวโดยลักษณะ ผู้กล่าวโดยการณ์ ผู้กล่าวโดยฐานะ ในโลกนี้โดยลัทธิของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ก็สมณพราหมณ์บางพวกอ้างตนเป็นบัณฑิต ในโลกนี้ ย่อมกล่าวความหมดจดแห่งยักษ์ด้วยอรูปสมาบัติเท่านี้หรือหนอ ว่าเป็นธรรมอันเลิศ. [๕๑๐] คำว่า หรือว่าสมณพราหมณ์บางพวก กล่าวความหมดจดอย่างอื่นกว่า อรูปสมาบัตินี้ ความว่า หรือว่าสมณพราหมณ์บางพวก ล่วงเลย ก้าวล่วง เป็นไปล่วง อรูปสมาบัติ เหล่านี้ ย่อมกล่าว บอก พูด แสดง แสถง ความหมดจด ความหมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความพ้นรอบแห่งยักษ์อย่างอื่น คือ ยิ่งกว่าอรูปสมาบัตินี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า หรือว่าสมณพราหมณ์บางพวก กล่าวความหมดจดอย่างอื่นกว่ารูปสมาบัตินี้. เพราะเหตุ นั้น. พระพุทธนิมิตนั้นจึงตรัสถามว่า ข้าพระองค์ได้ทูลถามธรรมใดแล้ว พระองค์ทรงแถลงธรรม นั้นแก่ ข้าพระองค์แล้ว ข้าพระองค์ขอทูลถามธรรมส่วนอื่นกะพระองค์ ขอเชิญ พระองค์จงตรัสบอกธรรมนั้น ก็สมณพราหมณ์บางพวก อ้างตนว่าเป็น บัณฑิตในโลกนี้ ย่อมกล่าวความหมดจดแห่งยักษ์ ด้วยอรูปสมาบัติ เท่านี้หรือหนอ ว่าเป็นธรรมอันเลิศ หรือว่าสมณพราหมณ์บางพวก กล่าวความหมดจดอย่างอื่นกว่าอรูปสมาบัตินี้. [๕๑๑] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า) ก็สมณพราหมณ์บางพวก อ้างตนเป็น บัณฑิตในโลกนี้ ย่อมกล่าวความหมดจดแห่งยักษ์ ด้วยอรูปสมาบัติ เท่านี้ ว่าเป็นธรรมอันเลิศ บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์ อีกบางพวก อ้างตนเป็นผู้ฉลาด ย่อมกล่าวความสงบ ๑- ในอนุปาทิเสส. [๕๑๒] คำว่า ก็สมณพราหมณ์บางพวก อ้างตนเป็นบัณฑิตในโลกนี้ย่อมกล่าวความ หมดจดแห่งยักษ์ด้วยอรูปสมาบัตินี้ ว่าเป็นธรรมอันเลิศ ความว่า มีสมณพราหมณ์บางพวก ผู้กล่าวความเที่ยง ย่อมกล่าว บอก พูด แสดง แถลง (ความหมดจด) ว่าเป็นธรรมอันเลิศ ประเสริฐ วิเศษ เป็นประธาน อุดม บวร ด้วยอรูปสมาบัติเท่านี้. คำว่า ยักษ์ คือ แห่งสัตว์ นรชน มาณพ บุรุษ บุคคล ผู้มีชีวิต ผู้เกิด สัตว์เกิด ผู้มีกรรม. คำว่า ความหมดจด คือความหมด ความหมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความพ้นรอบ. @๑. ความสงบและอนุปาทิเสสฝ่ายอุจเฉททิฏฐิ. คำว่า อ้างตนเป็นบัณฑิตในโลกนี้ คือ เป็นผู้กล่าวว่าตนเป็นบัณฑิต เป็นผู้กล่าวว่าตนเป็นธีรชน ผู้กล่าวว่าตนมีญาณ ผู้กล่าวโดยเหตุ ผู้กล่าวโดยลักษณะ ผู้กล่าวโดยการณ์ ผู้กล่าวโดยฐานะ ในโลกนี้ โดยลัทธิของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ก็สมณพราหมณ์บางพวกอ้างตนเป็นบัณฑิต ในโลกนี้ ย่อมกล่าวความหมดจดแห่งยักษ์ด้วยอรูปสมาบัติเท่านี้ ว่าเป็นธรรมอันเลิศ. [๕๑๓] คำว่า บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์อีกบางพวก อ้างตน เป็นผู้ฉลาด ย่อมกล่าวความสงบในอนุปาทิเสส ความว่า บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้นแหละ สมณพราหมณ์บางพวกผู้กล่าวความขาดสูญ กลัวต่อภพ ย่อมยินดีความไม่มีภพ สมณพราหมณ์ พวกนั้น ย่อมกล่าวความสงบ คือ ความเข้าไปสงบ ความเงียบ ความดับ ความระงับ แห่ง สัตว์ว่า ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า ตนนี้เพราะกายแตก ย่อมขาดสูญ พินาศไป ย่อมไม่มีเบื้อง หน้าแต่มรณะ โดยเหตุใด อนุปาทิเสสย่อมมีโดยเหตุเท่านั้น. คำว่า อ้างตนเป็นผู้ฉลาด ความว่า กล่าวว่าตนเป็นผู้ฉลาด กล่าวว่าตนเป็นบัณฑิต กล่าวว่าตนเป็นธีรชน กล่าวว่าตนมีญาณ ผู้กล่าว โดยเหตุ ผู้กล่าวโดยลักษณะ ผู้กล่าวโดยการณ์ ผู้กล่าวโดยฐานะ โดยลัทธิของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บรรดาสมณพราหมณ์เหล่าหนึ่ง สมณพราหมณ์อีกบางพวกอ้างว่าตนเป็นผู้ฉลาด ย่อม กล่าวความสงบในอนุปาทิเสส เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ก็สมณพราหมณ์บางพวก อ้างตนเป็นบัณฑิตในโลกนี้ ย่อมกล่าวความ หมดจดแห่งยักษ์ด้วยอรูปสมาบัติเท่านี้ ว่าเป็นธรรมอันเลิศ บรรดา สมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์อีกบางพวก อ้างตนเป็นฉลาด ย่อมกล่าวความสงบในอนุปาทิเสส. [๕๑๔] มุนีนั้นมีปัญญาเครื่องพิจารณา รู้สมณพราหมณ์เหล่านั้นว่า เป็นผู้อันทิฏฐิ เข้าไปอาศัย และรู้ว่าเป็นผู้มีทิฏฐิเป็นที่อาศัย รู้แล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อมไม่ถึงความวิวาท เป็นธีรชน ย่อมไม่ถึงพร้อมในภพน้อยภพใหญ่.
ว่าด้วยผู้มีปัญญาเครื่องพิจารณา
[๕๑๕] คำว่า เหล่านั้น ในคำว่า รู้สมณพราหมณ์เหล่านั้น เป็นผู้อันทิฏฐิเข้าไปอาศัย ความว่า พวกสมณพราหมณ์ที่ดำเนินด้วยทิฏฐิ. คำว่า เป็นผู้อันทิฏฐิเข้าไปอาศัย ความว่า มุนีนั้นรู้ ทราบ พิจารณา เทียบเคียง ให้แจ่มแจ้ง ทำให้เป็นแจ้งว่า เป็นผู้อันสัสสตทิฏฐิอาศัยแล้ว เป็นผู้อันอุจเฉททิฏฐิอาศัยแล้ว เป็นผู้อันสัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิอาศัยแล้ว เพราะฉะนั้น จึง ชื่อว่า รู้สมณพราหมณ์เหล่านั้นว่า เป็นผู้อันทิฏฐิเข้าไปอาศัย. [๕๑๖] ชื่อว่า มุนี ในคำว่า มุนีนั้นผู้มีปัญญาเครื่องพิจารณารู้ว่า เป็นผู้มีทิฏฐิเป็น ที่อาศัย ความว่า ญาณ เรียกว่า โมนะ ฯลฯ ก้าวล่วงธรรมเป็นเครื่องข้อง และตัณหา เพียงดังข่าย บุคคลนั้นชื่อว่า มุนี. มุนี รู้ ทราบ พิจารณา เทียบเคียง ให้แจ่มแจ้ง ทำให้ เป็นแจ้งแล้วว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น เป็นผู้อันสัสสตทิฏฐิอาศัยแล้ว เป็นผู้อันอุจเฉททิฏฐิ อาศัยแล้ว เป็นผู้อันสัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิอาศัยแล้ว. คำว่า มุนีนั้นผู้มีปัญญาเครื่อง พิจารณา คือ เป็นบัณฑิต มีปัญญา มีความรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาทำลายกิเลส เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มุนีนั้นผู้มีปัญญาเครื่องพิจารณารู้ว่า เป็นผู้มีทิฏฐิเป็นที่อาศัย. [๕๑๗] คำว่า รู้แล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อมไม่ถึงความวิวาท ความว่า รู้ ทราบ พิจารณา เทียบเคียง ให้แจ่มแจ้ง ทำให้เป็นแจ้งแล้ว เป็นผู้พ้น พ้นวิเศษ พ้นรอบ พ้นวิเศษดี โดยความพ้นวิเศษ เพราะไม่ถือมั่นโดยส่วนเดียว คือ รู้ ทราบ พิจารณา เทียบเคียง ให้แจ่มแจ้ง ทำให้เป็นแจ้งแล้วว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวง เป็นอนัตตา ฯลฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับไป เป็นธรรมดา จึงเป็นผู้พ้นวิเศษ พ้นรอบ พ้นวิเศษดี โดยความพ้นวิเศษเพราะไม่ถือมั่น โดยส่วนเดียว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า รู้แล้ว พ้นวิเศษแล้ว. คำว่า ไม่ถึงความวิวาท ความว่า ไม่ทำความทะเลาะ ไม่ทำความบาดหมาง ไม่ทำความโต้เถียง ไม่ทำความวิวาท ไม่ทำความ หมายมั่น. สมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอัคคิเวสสนะ ภิกษุผู้มีจิตพ้นวิเศษแล้ว อย่างนี้ ย่อมไม่โต้เถียงกับใครๆ ย่อมไม่วิวาทกับใครๆ ก็เรื่องใดที่เขาพูดกันในโลก ภิกษุ นั้นก็มิได้ถือมั่นพูดโดยเรื่องนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า รู้แล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อมไม่ถึง ความวิวาท. [๕๑๘] คำว่า ในภพน้อยภพใหญ่ ในคำว่า เป็นธีรชน ย่อมไม่ถึงพร้อมในภพน้อย และภพใหญ่ ความว่า ย่อมไม่ถึงพร้อม ไม่มาถึงพร้อม ไม่ถือเอา ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่น ในภพน้อยและภพใหญ่ คือ ในกรรมวัฏและวิปากวัฏ ในกรรมวัฏเป็นเครื่องเกิดในกามภพ ในวิปากวัฏเป็นเครื่องเกิดในกามภพ ในกรรมวัฏเป็นเครื่องเกิดในรูปภพ ในวิปากวัฏเป็นเครื่อง เกิดในรูปภพ ในกรรมวัฏเป็นเครื่องเกิดในอรูปภพ ในวิปากวัฏเป็นเครื่องเกิดในอรูปภพ ใน ความเกิดบ่อยๆ ในความไปบ่อยๆ ในความเข้าถึงบ่อยๆ ในปฏิสนธิบ่อยๆ ในความ บังเกิดขึ้นแห่งอัตภาพบ่อยๆ. คำว่า เป็นธีรชน คือ เป็นนักปราชญ์ เป็นบัณฑิต มีปัญญา มีความรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาทำลายกิเลส เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นธีรชน ย่อมไม่ถึงพร้อมในภพน้อยภพใหญ่. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า มุนีนั้นมีปัญญาเครื่องพิจารณารู้สมณพราหมณ์เหล่านั้นว่า เป็นผู้อันทิฏฐิ เข้าไปอาศัย และรู้ว่าเป็นผู้มีทิฏฐิเป็นที่อาศัย รู้แล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อมไม่ถึงความวิวาท เป็นธีรชน ย่อมไม่ถึงพร้อมในภพน้อยภพใหญ่ ดังนี้.
จบกลหวิวาทสุตตนิเทสที่ ๑๑.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ บรรทัดที่ ๕๖๑๗ - ๖๓๘๔. หน้าที่ ๒๓๖ - ๒๖๘. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=29&A=5617&Z=6384&pagebreak=0              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=29&siri=11              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29&i=442              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_read.php?B=29&A=6094              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_read.php?B=29&A=6094              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_29

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]