ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
สูจิโลมสูตรที่ ๓
[๘๐๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับบนเตียงชนิดมีเท้าตรึงติด กับแม่แคร่ อันเป็นที่ครอบครองของสูจิโลมยักษ์ เขตบ้านคยา ฯ สมัยนั้นแล ยักษ์ชื่อขระและยักษ์ชื่อสูจิโลมะเดินผ่านเข้าไปไม่ไกล พระผู้มีพระภาค ฯ ครั้งนั้นแล ยักษ์ชื่อขระได้พูดกับสูจิโลมยักษ์ว่า นั่นสมณะ ฯ นั่นไม่ใช่สมณะ เป็นสมณะน้อย แต่จะเป็นสมณะหรือสมณะน้อย เราพอจะรู้ได้ ฯ [๘๐๘] ครั้งนั้นแล สูจิโลมยักษ์ได้เข้าไปใกล้พระผู้มีพระภาคยังที่ ประทับ ครั้นแล้วได้เข้าไปเหนี่ยวพระกายของพระองค์ ฯ พระผู้มีพระภาคทรงกระเถิบถอยพระกายไปเล็กน้อย ฯ ครั้งนั้นแล สูจิโลมยักษ์ได้ถามพระผู้มีพระภาคว่า ท่านกลัวเราไหม สมณะ ฯ อาวุโส เราไม่กลัวท่านเลย แต่สัมผัสของท่านเลวทราม ฯ สมณะ เราจักถามปัญหากะท่าน ถ้าท่านไม่กล่าวแก้แก่เรา เราจักทำจิต ของท่านให้พลุ่งพล่าน หรือจักฉีกหัวใจของท่าน หรือจักจับที่เท้าแล้วเหวี่ยงไป ฝั่งโน้นแห่งแม่น้ำคงคา ฯ อาวุโส เราไม่เห็นใครเลยในโลก ทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ที่จะพึงทำจิตของเรา ให้พลุ่งพล่าน หรือฉีกหัวใจเรา หรือจับเราที่เท้าแล้วเหวี่ยงไปฝั่งโน้นแห่งแม่น้ำ คงคาได้ อาวุโส เอาเถอะ ท่านจงถามตามที่ท่านจำนงเถิด ฯ [๘๐๙] สูจิโลมยักษ์ จึงถามว่า ราคะแลโทสะ มีอะไรเป็นเหตุ ความไม่ยินดี ความยินดี และความสยดสยอง เกิดแต่อะไร ความตรึกในใจเกิดแต่อะไรแล้วดักจิตไว้ได้ เหมือนพวก เด็กดักกา ฉะนั้น ฯ [๘๑๐] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ราคะแลโทสะมีอัตภาพนี้เป็น เหตุ ความไม่ยินดี ความยินดี และความสยดสยองเกิดแต่ อัตภาพนี้ ความตรึกในใจเกิดแต่อัตภาพนี้แล้ว ดักจิตไว้ได้ เหมือนพวกเด็กดักกา ฉะนั้น ฯ อกุศลวิตกเป็นอันมาก เกิดแต่ความเยื่อใยคือตัณหา เกิด ขึ้นในตนแล้วแผ่ซ่านไปในวัตถุกามทั้งหลาย เหมือนย่านไทร เกิดแต่ลำต้นไทรแล้วแผ่ซ่านไปในป่า ฉะนั้น ฯ ชนเหล่าใดย่อมรู้ อัตภาพนั้นว่าเกิดแต่สิ่งใด ชนเหล่านั้น ย่อมบรรเทาเหตุเกิดนั้นเสียได้ ดูกรยักษ์ ท่านจงฟัง ชน เหล่านั้นย่อมข้ามห้วงกิเลสนี้ ซึ่งข้ามได้ยาก และไม่เคยข้าม เพื่อความไม่มีภพอีกต่อไป ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ บรรทัดที่ ๖๖๕๕ - ๖๖๙๑. หน้าที่ ๒๘๗ - ๒๘๘. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=15&A=6655&Z=6691&pagebreak=0              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=15&siri=237              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=807              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_read.php?B=15&A=5945              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_read.php?B=15&A=5945              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_15

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]