ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
ปมาทสูตรที่ ๖
[๕๘๖] สาวัตถีนิทาน ฯ ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเป็นผู้ประทับพักกลางวัน หลีกเร้นอยู่ ฯ ครั้งนั้นแล สุพรหมปัจเจกพรหม และสุทธาวาสปัจเจกพรหมเข้าไป ใกล้ที่ประทับของพระผู้มีพระภาค ครั้นแล้วได้ยืนพิงบานประตูคนละข้าง ฯ ลำดับนั้นแล สุพรหมปัจเจกพรหมได้กล่าวกะสุทธาวาสปัจเจกพรหมว่า แน่ะท่านผู้นิรทุกข์ ไม่ใช่กาลอันควรที่จะเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคก่อน พระผู้มี พระภาคทรงประทับพักกลางวันหลีกเร้นอยู่ ก็พรหมโลกโน้นบริบูรณ์และเบิกบาน แล้ว แต่พรหมในพรหมโลกนั้น ย่อมอยู่ด้วยความประมาท แน่ะท่านผู้นิรทุกข์ มาไปด้วยกัน เราทั้งหลายจักเข้าไปยังพรหมโลกนั้น ครั้นแล้วพึงยังพรหมนั้นให้ สลดใจ สุทธาวาสปัจเจกพรหมได้รับคำของสุพรหมปัจเจกพรหมแล้ว ฯ ครั้งนั้นแล สุพรหมปัจเจกพรหมและสุทธาวาสปัจเจกพรหม ได้หายไป จากเบื้องพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาค ปรากฏแล้วในพรหมโลกนั้น ปานดังบุรุษมี กำลัง ฯลฯ ฉะนั้น ฯ พรหมนั้นได้เห็นแล้วแลซึ่งพรหมทั้งหลายเหล่านั้น ผู้มาอยู่แต่ที่ไกลเทียว ครั้นแล้ว ได้กล่าวคำนี้กะพรหมเหล่านั้นว่า แน่ะท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย เชิญเถิด พวกท่านมากันแต่ที่ไหนหนอ ฯ พรหมเหล่านั้นกล่าวว่า แน่ะท่านผู้นิรทุกข์ พวกเรามาแต่สำนักของ พระผู้มีพระภาค ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น แน่ะท่านผู้- *นิรทุกข์ ก็ท่านจะไปสู่ที่บำรุงของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้เป็นพระอรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้าบ้างหรือ ฯ [๕๘๗] เมื่อพรหมเหล่านั้นกล่าวแล้วเช่นนี้แล พรหมนั้นอดกลั้นคำนั้น ไม่ได้ จึงนิรมิตตนเป็นพันตน แล้วได้กล่าวคำนี้กะสุพรหมปัจเจกพรหมว่า ฯ "แน่ะท่านผู้นิรทุกข์ ท่านเห็นอิทธานุภาพเห็นปานดังนี้ของเราหรือไม่" ฯ สุพรหมปัจเจกพรหมกล่าวว่า "แน่ะท่านผู้นิรทุกข์ เราเห็นอยู่แลซึ่ง อิทธานุภาพเห็นปานดั่งนี้ของท่าน" ฯ พรหมนั้นกล่าวว่า "แน่ะท่านผู้นิรทุกข์ เรานั้นแลเป็นผู้มีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีอานุภาพมากอย่างนี้ จักไปสู่ที่บำรุงของสมณะหรือพราหมณ์อื่นทำไม" ฯ [๕๘๘] ลำดับนั้นแล สุพรหมปัจเจกพรหมนิรมิตตนเป็นสองพันตน แล้วได้กล่าวคำนี้กะพรหมว่า "แน่ะท่านผู้นิรทุกข์ ท่านเห็นอิทธานุภาพ เห็นปานดังนี้ของเราหรือไม่" ฯ พรหมนั้นกล่าวว่า "แน่ะท่านผู้นิรทุกข์ เราเห็นอยู่แลซึ่งอิทธานุภาพ เห็นปานดั่งนี้ของท่าน ฯ สุพรหมปัจเจกพรหมกล่าวว่า "แน่ะท่านผู้นิรทุกข์ พระผู้มีพระภาค พระองค์นั้นเท่านั้นเป็นผู้มีฤทธิ์มากกว่า และมีอานุภาพใหญ่กว่าท่านและเราด้วย ฯ "แน่ะท่านผู้นิรทุกข์ ท่านพึงไปสู่ที่บำรุงของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า" ฯ [๕๘๙] ครั้งนั้นแล พรหมนั้นได้กล่าวกะสุพรหมปัจเจกพรหมด้วย- *คาถาว่า "แน่ะพรหม ครุฑ ๓๐๐ หงส์ ๔๐๐ เหยี่ยวตะไกร ๑- ๕๐๐ และวิมานของเราผู้มีฌานนี้นั้นย่อมรุ่งโรจน์ส่องสว่างอยู่ในทิศ อุดร" ฯ [๕๙๐] สุพรหมปัจเจกพรหมกล่าวว่า "วิมานของท่านนั้นถึงจะรุ่งโรจน์ส่องสว่างอยู่ในทิศอุดรก็จริง ถึงเช่นนั้น เพราะเห็นโทษในรูป [และ] เพราะเห็นรูปอันหวั่นไหวด้วยความหนาวเป็นต้นอยู่ เป็นนิจ ฉะนั้นพระศาสดาผู้มีเมธาดีจึงไม่ยินดีในรูป" [๕๙๑] ครั้งนั้นแล สุพรหมปัจเจกพรหมและสุทธาวาสปัจเจกพรหม ยังพรหมนั้นให้สลดใจแล้วหายไปในที่นั้นเอง ฯ ก็พรหมนั้น โดยสมัยต่อมาได้ไปสู่ที่บำรุงของพระผู้มีพระภาคผู้เป็น- *พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วแล ฯ @๑. พยคฺฆีนิสา น่าจะแปลว่า มฤค มีรูปคล้ายพยัคฆ์ (ตามอรรถกถา) ที่อ้างถึง @สัตว์เหล่านี้ น่าจะเป็นรูปสัตว์ประดับวิมาน หรือจะมีสัตว์เหล่านั้นห้อมล้อมเป็น @บริวารอยู่ ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ บรรทัดที่ ๔๗๓๙ - ๔๗๙๒. หน้าที่ ๒๐๔ - ๒๐๖. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=15&A=4739&Z=4792&pagebreak=0              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=15&siri=177              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=586              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_read.php?B=15&A=4196              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_read.php?B=15&A=4196              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_15

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]