ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฏก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
             [๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเดือยข้าวสาลีหรือเดือยข้าวยวะ
ที่บุคคลตั้งไว้ผิด มือหรือเท้าย่ำเหยียบแล้ว จักทำลายมือหรือเท้า หรือว่าจักให้
ห้อเลือด ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเดือยอันบุคคล
ตั้งไว้ผิด ฉันใด ภิกษุนั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักทำลายอวิชชา จักยังวิชชา
ให้เกิด จักทำนิพพานให้แจ้ง ด้วยจิตที่ตั้งไว้ผิด ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะจิตตั้งไว้ผิด ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๘.

[๔๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเดือยข้าวสาลีหรือเดือยข้าวยวะ ที่บุคคลตั้งไว้ถูก มือหรือเท้าย่ำเหยียบแล้ว จักทำลายมือหรือเท้า หรือจักให้ห้อ เลือด ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเดือยอันบุคคลตั้งไว้ถูก ฉันใด ภิกษุนั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักทำลายอวิชชา จักยังวิชชาให้เกิด จักทำนิพพานให้แจ้ง ด้วยจิตที่ตั้งไว้ถูก ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ข้อนั้นเพราะ เหตุไร เพราะจิตตั้งไว้ถูก ฯ [๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากำหนดใจด้วยใจอย่างนี้แล้ว ย่อมรู้ชัดบุคคล บางคนในโลกนี้ ผู้มีจิตอันโทษประทุษร้ายแล้วว่า ถ้าบุคคลนี้พึงทำกาละในสมัยนี้ พึงตั้งอยู่ในนรกเหมือนถูกนำมาขังไว้ฉะนั้น ข้อนั้นเพราะอะไร เพราะจิตของเขา อันโทษประทุษร้ายแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แหละเพราะเหตุที่จิตประทุษร้าย สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ฯ [๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากำหนดใจด้วยใจอย่างนี้แล้ว ย่อมรู้ชัด บุคคลบางคนในโลกนี้ ผู้มีจิตผ่องใสว่า ถ้าบุคคลนี้พึงทำกาละในสมัยนี้ พึงตั้งอยู่ ในสวรรค์เหมือนที่เขานำมาเชิดไว้ฉะนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตของเขา ผ่องใส ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แหละเพราะเหตุที่จิตผ่องใส สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ฯ [๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนห้วงน้ำที่ขุ่นมัวเป็นตม บุรุษผู้มี จักษุยืนอยู่บนฝั่ง ไม่พึงเห็นหอยโข่งและหอยกาบบ้าง ก้อนกรวดและกระเบื้อง ถ้วยบ้าง ฝูงปลาบ้าง ซึ่งเที่ยวไปบ้าง ตั้งอยู่บ้าง ในห้วงน้ำนั้น ข้อนั้นเพราะ เหตุไร เพราะน้ำขุ่น ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักรู้ประโยชน์ตนบ้าง จักรู้ประโยชน์ผู้อื่นบ้าง จักรู้ประโยชน์ทั้งสองบ้าง จักกระทำให้แจ้งซึ่งคุณวิเศษ คือ อุตริมนุสธรรม อันเป็นความรู้ความเห็นอย่างประเสริฐ อย่างสามารถ ได้ด้วย จิตที่ขุ่นมัว ข้อนี้ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตขุ่นมัว ฯ [๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนห้วงน้ำใสแจ๋ว ไม่ขุ่นมัว บุรุษ ผู้มีจักษุยืนอยู่บนฝั่ง พึงเห็นหอยโข่งและหอยกาบบ้าง ก้อนกรวดและกระเบื้อง

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๙.

ถ้วยบ้าง ฝูงปลาบ้าง ซึ่งเที่ยวไปบ้าง ตั้งอยู่บ้าง ในห้วงน้ำนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะน้ำไม่ขุ่น ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักรู้ประโยชน์ตนบ้าง จักรู้ประโยชน์ผู้อื่นบ้าง จักรู้ประโยชน์ทั้งสองบ้าง จักกระทำให้แจ้งซึ่งคุณวิเศษ คือ อุตริมนุสธรรม อันเป็นความรู้ความเห็นอย่างประเสริฐ อย่างสามารถ ได้ด้วย จิตที่ไม่ขุ่นมัว ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตไม่ขุ่นมัว ฯ [๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นจันทน์ บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่ารุกขชาติ ทุกชนิด เพราะเป็นของอ่อนและควรแก่การงาน ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรา ย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่อบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็น ธรรมชาติอ่อนและควรแก่การงาน เหมือนจิต ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่อบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นธรรมชาติอ่อนและควรแก่การงาน ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ [๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ เปลี่ยนแปลงได้เร็ว เหมือนจิต ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตเปลี่ยนแปลงได้เร็วเท่าใด นั้น แม้จะอุปมาก็กระทำได้มิใช่ง่าย ฯ [๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง แต่ว่าจิตนั้นแล เศร้าหมอง ด้วยอุปกิเลสที่จรมา ฯ [๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง และจิตนั้นแล พ้นวิเศษแล้ว จากอุปกิเลสที่จรมา ฯ
จบวรรคที่ ๕

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๑๖๑-๒๐๙ หน้าที่ ๗ - ๙. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=161&Z=209&pagebreak=1 http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_item.php?item=48&book=20&pagebreak=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=20&siri=5              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=42              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_read.php?B=20&A=166              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_read.php?B=20&A=166              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_20

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]