ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฏก เล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗ จุลวรรค ภาค ๒

หน้าที่ ๑๑๘.

พุทธานุญาตภัตร
[๓๒๔] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่เมืองอาฬวีตามพระพุทธา- *ภิรมย์ แล้วเสด็จจาริกทางกรุงราชคฤห์ เสด็จจาริกโดยลำดับ ถึงกรุงราชคฤห์ ทราบว่า พระองค์ประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหารอันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อ แก่กระแต เขตกรุงราชคฤห์นั้น ฯ [๓๒๕] สมัยต่อมา กรุงราชคฤห์มีข้าวแพง ประชาชนไม่สามารถจะ ทำสังฆภัตร แต่ปรารถนาจะทำอุทเทสภัตร นิมันตนภัตร สลากภัตร ปักขิกภัตร อุโปสถิกภัตร ปาฏิปทิกภัตร ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคๆ รับสั่งว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตสังฆภัตร อุทเทสภัตร นิมันตนภัตร สลากภัตร ปักขิกภัตร อุโปสถิกภัตร ปาฏิปทิกภัตร ฯ
พุทธานุญาตให้สมมติภัตตุเทสก์
[๓๒๖] สมัยนั้น พระฉัพพัคคีย์รับภัตตาหารดีๆ ไว้สำหรับพวกตน ให้ ภัตตาหารเลวๆ แก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี- *พระภาคๆ รับสั่งว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติภิกษุที่ประกอบด้วย องค์ ๕ เป็นภัตตุเทสก์ คือ:- ๑. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความชอบพอ ๒. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความเกลียดชัง ๓. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความงมงาย ๔. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความกลัว และ ๕. รู้จักภัตรที่แจกแล้วและยังมิได้แจก ฯ
วิธีสมมติ
[๓๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงสมมติอย่างนี้ พึงขอร้อง ภิกษุก่อน ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติ ทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๑๙.

กรรมวาจาสมมติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติภิกษุมีชื่อนี้เป็นภัตตุเทสก์ นี้เป็นญัตติ ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้เป็น ภัตตุเทสก์ การสมมติภิกษุมีชื่อนี้เป็นภัตตุเทสก์ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด ภิกษุมีชื่อนี้ สงฆ์สมมติเป็นภัตตุเทสก์แล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุ นั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้ ฯ
วิธีแจกภัตร
[๓๒๘] ครั้นนั้น พระภัตตุเทสก์มีความสงสัยว่า จะพึงแจกภัตรอย่างไร หนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคๆ รับสั่งว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรา อนุญาตให้เขียนชื่อลงในสลากหรือแผ่นผ้ารวมเข้าไว้ แล้วจึงแจกภัตร ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ บรรทัดที่ ๒๘๓๗-๒๘๗๒ หน้าที่ ๑๑๘ - ๑๑๙. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=7&A=2837&Z=2872&pagebreak=1 http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_item.php?item=325&book=7&pagebreak=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=7&siri=44              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=7&i=324              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_read.php?B=7&A=2912              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_read.php?B=7&A=2912              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_7

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]