ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฏก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
๕. สัมมัปปธานสังยุต
ว่าด้วยสัมมัปปธาน ๔
[๑๐๙๐] สาวัตถีนิทาน. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายแล้วตรัส ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมัปปธาน ๔ เหล่านี้ สัมมัปปธาน ๔ เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อไม่ให้บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น ๑ เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๑ เพื่อให้ กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น ๑ เพื่อความตั้งอยู่ เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อความมียิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่บังเกิดขึ้นแล้ว ๑ ดูกรภิกษุ- *ทั้งหลาย สัมมัปปธาน ๔ เหล่านี้แล. [๑๐๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่า ไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเจริญสัมมัปปธาน ๔ กระทำให้มากซึ่งสัมมัปปธาน ๔ ย่อมเป็น ผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน. [๑๐๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเจริญสัมมัปปธาน ๔ กระทำให้มาก ซึ่งสัม- *มัปปธาน ๔ อย่างไรเล่า ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อไม่ให้บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น ๑ เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๑ เพื่อให้ กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น ๑ เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อความมียิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อความ ไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจริญสัมมัปปธาน ๔ กระทำให้มากซึ่งสัมมัปปธาน ๔ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน. ปาจีนนินนสูตร ๖ สูตร สมุททนินนสูตร ๖ สูตร ๒ อย่าง เหล่านั้น อย่างละ ๖ สูตร รวมเป็น ๑๒ สูตร เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่าวรรค (พึง ขยายความคังคาเปยยาลแห่งสัมมัปปธานสังยุต ด้วยสามารถสัมมัปปธาน)
จบ วรรคที่ ๑
๑. ตถาคตสูตร ๒. ปทสูตร ๓. กูฏสูตร ๔. มูลสูตร ๕. สารสูตร ๖. วัสสิกสูตร ๗. ราชาสูตร ๘. จันทิมสูตร ๙. สุริยสูตร ๑๐. วัตถสูตร (พึงขยายความอัปปมาทวรรคด้วยสามารถสัมมัปปธาน)
จบ วรรคที่ ๒
[๑๐๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การงานที่จะพึงทำด้วยกำลังอย่างใดอย่างหนึ่ง อันบุคคล ทำอยู่ การงานที่จะพึงทำด้วยกำลังทั้งหมดนั้น อันบุคคลอาศัยแผ่นดิน ดำรงอยู่บนแผ่นดิน จึง ทำได้อย่างนั้น แม้ฉันใด ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จึงเจริญสัมมัปปธาน ๔ กระทำให้มาก ซึ่งสัมมัปปธาน ๔ ฉันนั้นเหมือนกัน. [๑๐๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จึงเจริญสัมมัปปธาน ๔ กระทำให้มากซึ่งสัมมัปปธาน ๔ อย่างไรเล่า? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อไม่ให้บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น ๑ เพื่อ ละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๑ เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น ๑ เพื่อความตั้งอยู่ เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อความมียิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความ บริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จึง เจริญสัมมัปปธาน ๔ กระทำให้มากซึ่งสัมมัปปธาน ๔ อย่างนี้แล (พึงขยายความพลกรณียวรรค ด้วยสามารถสัมมัปปธานอย่างนี้).
จบ วรรคที่ ๓
[๑๐๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน? คือ การแสวงหากาม ๑ การแสวงหาภพ ๑ การแสวงหาพรหมจรรย์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ อย่างนี้แล. [๑๐๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมัปปธาน ๔ อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อความละซึ่งการแสวงหา ๓ อย่างนี้ สัมมัปปธาน ๔ เป็นไฉน? ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ ย่อมยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อ ไม่ให้บาปอกุศลที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อความตั้งอยู่ เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อความมี ยิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมัปปธาน ๔ เหล่านี้ อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อ ความสิ้นไป เพื่อละการแสวงหา ๓ อย่างนี้แล. [๑๐๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ นี้ สังโยชน์เป็นส่วน เบื้องบน ๕ เป็นไฉน? คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ นี้แล. [๑๐๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมัปปธาน ๔ อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนด รู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์ อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เหล่านี้แล สัมมัปปธาน ๔ เป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อไม่ให้บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อความตั้งอยู่ เพื่อความไม่เลือน- *หาย เพื่อความมียิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์ แห่งกุศล ธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมัปปธาน ๔ เหล่านี้ อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อ กำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เหล่านี้แล. (พึงขยายความออกไป เหมือนเอสนาวรรค)
จบ สัมมัปปธานสังยุต
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๖๓๐๖-๖๓๖๙ หน้าที่ ๒๖๓ - ๒๖๕. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=19&A=6306&Z=6369&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_item.php?item=1091&book=19              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=19&siri=253              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1090              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_read.php?B=19&A=6185              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_read.php?B=19&A=6185              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_19

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]