ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฏก เล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒ วิภังคปกรณ์
๑๐. โพชฌงควิภังค์
สุตตันตภาชนีย์
โพชฌงค์ ๗ นัยที่ ๑
[๕๔๒] โพชฌงค์ ๗ คือ ๑. สติสัมโพชฌงค์ ๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ๓. วิริยสัมโพชฌงค์ ๔. ปีติสัมโพชฌงค์ ๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ๖. สมาธิสัมโพชฌงค์ ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ [๕๔๓] ในโพชฌงค์ ๗ นั้น สติสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ เป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติและปัญญาอันยิ่ง ระลึกได้ ระลึกได้ย่อยๆ ซึ่งกิจที่ทำไว้นานๆ หรือวาจาที่กล่าวไว้นานๆ นี้เรียกว่า สติสัมโพชฌงค์ ภิกษุนั้น มีสติอย่างนั้นอยู่ วิจัย เลือกสรร พิจารณา ซึ่งธรรมนั้น ด้วยปัญญา นี้เรียกว่า ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ความเพียร ความไม่ย่อหย่อน อันภิกษุนั้นผู้วิจัย เลือกสรร พิจารณา ซึ่งธรรมนั้น ด้วยปัญญา ปรารภแล้ว นี้เรียกว่า วิริยสัมโพชฌงค์ ปีติ อันปราศจากอามิส เกิดขึ้นแก่พระภิกษุผู้มีความเพียรอันปรารภแล้ว นี้เรียกว่า ปีติสัมโพชฌงค์ กายก็ดี จิตก็ดี ของภิกษุผู้มีใจปีติ ย่อมสงบระงับ นี้เรียกว่า ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ จิตของภิกษุผู้มีกายสงบระงับแล้ว มีความสุขสบาย ย่อมตั้งมั่น นี้เรียก ว่า สมาธิสัมโพชฌงค์ ภิกษุนั้น เป็นผู้เพ่งเล็งอยู่ด้วยดี ซึ่งจิตที่ตั้งมั่นอย่างนั้น นี้เรียกว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์
โพชฌงค์ ๗ นัยที่ ๒
[๕๔๔] โพชฌงค์ ๗ คือ ๑. สติสัมโพชฌงค์ ๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ๓. วิริยสัมโพชฌงค์ ๔. ปีติสัมโพชฌงค์ ๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ๖. สมาธิสัมโพชฌงค์ ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ [๕๔๕] ในโพชฌงค์ ๗ นั้น สติสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน สติในธรรมภายใน มีอยู่ สติในธรรมภายนอก มีอยู่ สติในธรรมภาย ในแม้ใด สติในธรรมภายในแม้นั้น ก็ชื่อว่า สติสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อ ความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน สติในธรรมภายนอกแม้ใด สติในธรรม ภายนอกแม้นั้น ก็ชื่อว่าสติสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความ ตรัสรู้ เพื่อนิพพาน [๕๔๖] ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน ความเลือกสรรในธรรมภายใน มีอยู่ ความเลือกสรรในธรรมภายนอก มีอยู่ ความเลือกสรรในธรรมภายในแม้ใด ความเลือกสรรในธรรมภายในแม้นั้น ก็ชื่อว่า ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อ นิพพาน ความเลือกสรรในธรรมภายนอกแม้ใด ความเลือกสรรในธรรมภายนอก แม้นั้น ก็ชื่อว่า ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน [๕๔๗] วิริยสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน ความเพียรทางกาย มีอยู่ ความเพียรทางใจ มีอยู่ ความเพียรทางกาย แม้ใด ความเพียรทางกายแม้นั้น ก็ชื่อว่า วิริยสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อ ความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ความเพียรทางใจแม้ใด ความเพียรทาง ใจแม้นั้น ก็ชื่อว่าวิริยสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน [๕๔๘] ปีติสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน ปีติที่มีวิตก มีวิจาร มีอยู่ ปีติที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีอยู่ ปีติที่มีวิตก มีวิจารแม้ใด ปีติที่มีวิตก มีวิจารแม้นั้น ก็ชื่อว่า ปีติสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไป เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ปีติที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจารแม้ใด ปีติที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจารแม้นั้น ก็ชื่อว่าปีติสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน [๕๔๙] ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน กายปัสสัทธิ มีอยู่ จิตตปัสสัทธิ มีอยู่ กายปัสสัทธิแม้ใด กายปัสสัทธิ แม้นั้น ก็ชื่อว่า ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน จิตตปัสสัทธิแม้ใด จิตตปัสสัทธิแม้นั้น ก็ชื่อว่า ปัสสัทธิสัมโพช- *ฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน [๕๕๐] สมาธิสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน สมาธิที่มีวิตก มีวิจาร มีอยู่ สมาธิที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีอยู่ สมาธิ ที่มีวิตก มีวิจารแม้ใด สมาธิที่มีวิตก มีวิจารแม้นั้น ก็ชื่อว่า สมาธิสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน สมาธิที่ไม่มีวิตก ไม่มี วิจารแม้ใด สมาธิที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจารแม้นั้น ก็ชื่อว่าสมาธิสัมโพชฌงค์ ย่อม เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน [๕๕๑] อุเบกขาสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน อุเบกขาในธรรมภายใน มีอยู่ อุเบกขาในธรรมภายนอก มีอยู่ อุเบกขา ในธรรมภายในแม้ใด อุเบกขาในธรรมภายในแม้นั้น ก็ชื่อว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน อุเบกขาในธรรมภายนอก แม้ใด อุเบกขาในธรรมภายนอกแม้นั้น ก็ชื่อว่าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไป เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
โพชฌงค์ ๗ นัยที่ ๓
[๕๕๒] โพชฌงค์ ๗ คือ ๑. สติสัมโพชฌงค์ ๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ๓. วิริยสัมโพชฌงค์ ๔. ปีติสัมโพชฌงค์ ๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ๖. สมาธิสัมโพชฌงค์ ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ในโพชฌงค์ ๗ นั้น สติสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ เจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ เจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เจริญวิริยสัม- *โพชฌงค์ เจริญปีติสัมโพชฌงค์ เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เจริญสมาธิ- *สัมโพชฌงค์ เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย นิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ
สุตตันตภาชนีย์ จบ

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ บรรทัดที่ ๗๑๘๑-๗๒๗๔ หน้าที่ ๓๑๐ - ๓๑๓. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=35&A=7181&Z=7274&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_item.php?item=545&book=35              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=35&siri=37              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=542              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_read.php?B=35&A=6185              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_read.php?B=35&A=6185              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_35

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]