ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฏก เล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๑ ธรรมสังคณีปกรณ์
สุตตันติกทุกะ
[๘๓๖] ธรรมเป็นไปในส่วนวิชชา เป็นไฉน? ธรรมทั้งหลายที่สัมปยุตด้วยวิชชา สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นไปในส่วน วิชชา. ธรรมเป็นไปในส่วนอวิชชา เป็นไฉน? ธรรมทั้งหลายที่สัมปยุตด้วยอวิชชา สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นไปในส่วนอวิชชา. [๘๓๗] วิชชูปมธรรม เป็นไฉน? ปัญญาในอริยมรรค ๓ เบื้องต่ำ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า วิชชูปมธรรม. วชิรูปมธรรม เป็นไฉน? ปัญญาในอรหัตตมรรคเบื้องสูง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า วชิรูปมธรรม. [๘๓๘] พาลธรรม เป็นไฉน? อหิริกะ อโนตตัปปะ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า พาลธรรม. บัณฑิตธรรม เป็นไฉน? หิริ โอตตัปปะ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า บัณฑิตธรรม. กุศลธรรมแม้ทั้งหมด จัดเป็นบัณฑิตธรรม. [๘๓๙] กัณหธรรม เป็นไฉน? อหิริกะ อโนตตัปปะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า กัณหธรรม. อกุศลธรรมแม้ทั้งหมด จัดเป็นกัณหธรรม. สุกกธรรม เป็นไฉน? หิริ โอตตัปปะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า สุกกธรรม. กุศลธรรมแม้ทั้งหมด จัดเป็นสุกกธรรม. [๘๔๐] ตปนิยธรรม เป็นไฉน? กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ตปนิยธรรม. อกุศลธรรมแม้ทั้งหมด จัดเป็นตปนิยธรรม. อตปนิยธรรม เป็นไฉน? กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า อตปนิยธรรม. กุศลธรรมแม้ทั้งหมด จัดเป็นอตปนิยธรรม. [๘๔๑] อธิวจนธรรม เป็นไฉน? การกล่าวขาน สมัญญา บัญญัติ โวหาร นาม การขนานนาม การตั้งชื่อ การออกชื่อ การระบุชื่อ การเรียกชื่อ ของธรรมนั้นๆ อันใด สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า อธิวจนธรรม. ธรรมทั้งหมดแลชื่อว่า อธิวจนปถธรรม. [๘๔๒] นิรุตติธรรม เป็นไฉน? การกล่าวขาน สมัญญา บัญญัติ โวหาร นาม การขนานนาม การตั้งชื่อ การออกชื่อ การระบุชื่อ การเรียกชื่อ ของธรรมนั้นๆ อันใด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า นิรุตติธรรม. ธรรมทั้งหมดแลชื่อว่า นิรุตติปถธรรม. [๘๔๓] บัญญัติธรรม เป็นไฉน? การกล่าวขาน สมัญญา บัญญัติ โวหาร นาม การขนานนาม การตั้งชื่อ การออกชื่อ การระบุชื่อ การเรียกชื่อ ของธรรมนั้นๆ อันใด สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า บัญญัติธรรม. ธรรมทั้งหมดแลชื่อว่า บัญญัติปถธรรม. [๘๔๔] บรรดาธรรมเหล่านั้น นามธรรม เป็นไฉน? เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ และอสังขตธาตุ นี้เรียกว่า นามธรรม. รูปธรรม เป็นไฉน? มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นั้น นี้เรียกว่า รูปธรรม. [๘๔๕] อวิชชา เป็นไฉน? ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ อันใด นี้เรียกว่า อวิชชา. ภวตัณหา เป็นไฉน? ความพอใจในภพ ฯลฯ ความหมกมุ่นในภพ ในภพทั้งหลาย อันใด นี้เรียกว่า ภวตัณหา. [๘๔๖] ภวทิฏฐิ เป็นไฉน? ความเห็นว่า ตนและโลกจักเกิด ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือ โดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า ภวทิฏฐิ. วิภวทิฏฐิ เป็นไฉน? ความเห็นว่า ตนและโลกจักไม่เกิด ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือ โดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า วิภวทิฏฐิ. [๘๔๗] สัสสตทิฏฐิ เป็นไฉน? ความเห็นว่า ตนและโลกเที่ยง ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือโดย วิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า สัสสตทิฏฐิ. อุจเฉททิฏฐิ เป็นไฉน? ความเห็นว่า ตนและโลกจักสูญ ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือโดย วิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า อุจเฉททิฏฐิ. [๘๔๘] อันตวาทิฏฐิ เป็นไฉน? ความเห็นว่า ตนและโลกมีที่สุด ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือโดย วิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า อันตวาทิฏฐิ. อนันตวาทิฏฐิ เป็นไฉน? ความเห็นว่า ตนและโลกไม่มีที่สุด ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือ โดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า อนันตวาทิฏฐิ. [๘๔๙] ปุพพันตานุทิฏฐิ เป็นไฉน? ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือโดยวิปลาส อันใด ปรารภส่วนอดีต เกิด ขึ้น นี้เรียกว่า ปุพพันตานุทิฏฐิ. อปรันตานุทิฏฐิ เป็นไฉน? ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือโดยวิปลาส อันใด ปรารภส่วนอนาคต เกิดขึ้น นี้เรียกว่า อปรันตานุทิฏฐิ. [๘๕๐] อหิริกะ เป็นไฉน? กิริยาที่ไม่ละอายต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่น่าละอาย กิริยาที่ไม่ละอายต่อการ ประกอบอกุศลบาปธรรมทั้งหลาย อันใด นี้เรียกว่า อหิริกะ. อโนตตัปปะ เป็นไฉน? กิริยาที่ไม่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่น่าเกรงกลัว กิริยาที่ไม่เกรงกลัว ต่อการประกอบอกุศลบาปธรรมทั้งหลาย อันใด นี้เรียกว่า อโนตตัปปะ. [๘๕๑] หิริ เป็นไฉน? กิริยาที่ละอายต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่น่าละอาย กิริยาที่ละอายต่อการประกอบ อกุศลบาปธรรมทั้งหลาย อันใด นี้เรียกว่า หิริ โอตตัปปะ เป็นไฉน? กิริยาที่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่น่าเกรงกลัว กิริยาที่เกรงกลัวต่อการ ประกอบอกุศลบาปธรรมทั้งหลาย อันใด นี้เรียกว่า โอตตัปปะ. [๘๕๒] โทวจัสสตา เป็นไฉน? กิริยาของผู้ว่ายาก ภาวะแห่งผู้ว่ายาก ความเป็นผู้ว่ายาก ความยึดข้างขัดขืน ความ พอใจทางโต้แย้ง ความไม่เอื้อเฟื้อ ภาวะแห่งผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ความไม่เคารพ ความไม่รับฟัง ในเมื่อถูกว่ากล่าวโดยสหธรรม นี้เรียกว่า โทวจัสสตา. ปาปมิตตตา เป็นไฉน? บุคคลเหล่าใด เป็นคนไม่มีศรัทธา ไม่มีศีล ไร้การศึกษา มีความตระหนี่ มีปัญญาทราม, การเสพ การซ่องเสพ การซ่องเสพด้วยดี การคบ การคบหา ความภักดี ความจงรักภักดี ต่อบุคคลเหล่านั้น ความเป็นผู้มีกายและใจโน้มน้าวไปตามบุคคลเหล่านั้น อันใด นี้เรียกว่า ปาปมิตตตา. [๘๕๓] โสวจัสสตา เป็นไฉน? กิริยาของผู้ว่าง่าย ภาวแห่งผู้ว่าง่าย ความเป็นผู้ว่าง่าย ความไม่ยึดข้างขัดขืน ความ ไม่พอใจทางโต้แย้ง ความเอื้อเฟื้อ ภาวะแห่งผู้เอื้อเฟื้อ ความเป็นผู้ทั้งเคารพ ทั้งรับฟัง ใน เมื่อถูกว่ากล่าวโดยสหธรรม นี้เรียกว่า โสวจัสสตา. กัลยาณมิตตตา เป็นไฉน? บุคคลเหล่าใด เป็นคนมีศรัทธา มีศีล เป็นพหูสูต มีจาคะ มีปัญญา, การเสพ การซ่องเสพ การซ่องเสพด้วยดี การคบ การคบหา ความภักดี ความจงรักภักดี ต่อบุคคล เหล่านั้น ความเป็นผู้มีกายและใจโน้มน้าวไปตามบุคคลเหล่านั้น อันใด นี้เรียกว่า กัลยาณมิตตตา. [๘๕๔] อาปัตติกุสลตา เป็นไฉน? อาบัติทั้ง ๕ หมวด ๗ หมวด เรียกว่า อาบัติ ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ อันเป็นเหตุฉลาดในอาบัติแห่งอาบัติทั้งหลายนั้นๆ อันใด นี้เรียกว่า อาปัตติกุสลตา. อาปัตติวุฏฐานกุสลตา เป็นไฉน? ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ อันเป็นเหตุฉลาด ในการออกจากอาบัติเหล่านั้น อันใด นี้เรียกว่า อาปัตติวุฏฐานกุสลตา. [๘๕๕] สมาปัตติกุสลตา เป็นไฉน? สมาบัติที่มีวิตกมีวิจาร มีอยู่ สมาบัติที่ไม่มีวิตกแต่มีวิจาร มีอยู่ สมาบัติที่ไม่มีวิตกไม่ มีวิจาร มีอยู่ ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ อันเป็น เหตุฉลาดในสมบัติ แห่งสมาบัติทั้งหลายนั้นๆ อันใด นี้เรียกว่า สมาปัตติกุสลตา. สมาปัตติวุฏฐานกุสลตา เป็นไฉน? ปัญญา กิริยาที่รู้ชัดใด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ อันเป็นเหตุ ฉลาดในการออกจากสมาบัติเหล่านั้น อันใด นี้เรียกว่า สมาปัตติวุฏฐานกุสลตา. [๘๕๖] ธาตุกุสลตา เป็นไฉน? ธาตุ ๑๘ คือ จักขุธาตุ รูปธาตุ จักขุวิญญาณธาตุ โสตธาตุ สัททธาตุ โสตวิญญาณธาตุ ฆานธาตุ คันธธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ ชิวหาธาตุ รสธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ กายธาตุ โผฏฐัพพธาตุ กายวิญญาณธาตุ มโนธาตุ ธัมมธาตุ มโนวิญญาณธาตุ, ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ อันเป็นเหตุฉลาดในธาตุ แห่งธาตุทั้งหลาย นั้นๆ อันใด นี้เรียกว่าธาตุกุสลตา. มนสิการกุสลตา เป็นไฉน? ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความสอดส่องธรรม สัมมาทิฏฐิ อันเป็นเหตุ ฉลาดในการมนสิการซึ่งธาตุเหล่านั้น อันใด นี้เรียกว่ามนสิการกุสลตา. [๘๕๗] อายตนกุสลตา เป็นไฉน? อายตนะ ๑๒ คือ จักขายตนะ รูปายตนะ โสตายตนะ สัททายตนะ ฆานายตนะ คันธายตนะ ชิวหายตนะ รสายตนะ กายายตนะ โผฏฐัพพายตนะ มนายตนะ ธัมมายตนะ, ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ อันเป็นเหตุฉลาดใน อายตนะ แห่งอายตนะทั้งหลายนั้นๆ อันใด นี้เรียกว่า อายตนกุสลตา. ปฏิจจสมุปปาทกุสลตา เป็นไฉน? ปฏิจจสมุปบาทว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยสังขารทั้งหลายจึงเกิดขึ้น เพราะสังขารเป็น ปัจจัยวิญญาณจึงเกิดขึ้น เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยนามรูปจึงเกิดขึ้น เพราะนามรูปเป็นปัจจัย- *สฬายตนะจึงเกิดขึ้น เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัยผัสสะจึงเกิดขึ้น เพราะผัสสะเป็นปัจจัยเวทนา จึงเกิดขึ้น เพราะเวทนาเป็นปัจจัยตัณหาจึงเกิดขึ้น เพราะตัณหาเป็นปัจจัยอุปาทานจึงเกิดขึ้น เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยภพจึงเกิดขึ้น เพราะภพเป็นปัจจัยชาติจึงเกิดขึ้น เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส จึงเกิดขึ้น ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ ทั้งมวลนี้ ย่อมมีได้ ด้วยประการฉะนี้, ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัย- *ธรรม สัมมาทิฏฐิ ในปฏิจจสมุปบาทนั้น อันใด นี้เรียกว่า ปฏิจจสมุปปาทกุสลตา. [๘๕๘] ฐานกุสลตา เป็นไฉน? ธรรมใดๆ เป็นเหตุเป็นปัจจัย เพื่อความบังเกิดขึ้นแห่งธรรมใดๆ ลักษณะนั้นๆ เรียกว่า ฐานะ ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรมสัมมาทิฏฐิ ใน ฐานะนั้น อันใด นี้เรียกว่า ฐานกุสลตา. อัฏฐานกุสลตา เป็นไฉน? ธรรมใดๆ ไม่เป็นเหตุไม่เป็นปัจจัย เพื่อความบังเกิดขึ้นแห่งธรรมใดๆ ลักษณะนั้นๆ ชื่อว่า อฐานะ, ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ในอฐานะ นั้น อันใด นี้เรียกว่า อัฏฐานกุสลตา. [๘๕๙] อาชชวะ เป็นไฉน? ความซื่อตรง ความไม่คด ความไม่งอ ความไม่โกง อันใด นี้เรียกว่าอาชชวะ มัททวะ เป็นไฉน? ความอ่อนโยน ความละมุนละไม ความไม่แข็ง ความไม่กระด้าง ความเจียมใจ อันใด นี้เรียกว่า มัททวะ. [๘๖๐] ขันติ เป็นไฉน? ความอดทน กิริยาที่อดทน ความอดกลั้น ความไม่ดุร้าย ความไม่ปากร้าย ความ แช่มชื่นแห่งจิต อันใด นี้เรียกว่า ขันติ. โสรัจจะ เป็นไฉน? ความไม่ล่วงละเมิดทางกาย ความไม่ล่วงละเมิดทางวาจา ความไม่ล่วงละเมิดทางกาย และวาจา อันใด นี้เรียกว่า โสรัจจะ. ศีลสังวรแม้ทั้งหมด จัดเป็นโสรัจจะ. [๘๖๑] สาขัลยะ เป็นไฉน? วาจาใด เป็นปม เป็นกาก เผ็ดร้อนต่อผู้อื่น เกี่ยวผู้อื่นไว้ ยั่วให้โกรธ ไม่เป็นไปเพื่อ สมาธิ ละวาจาเช่นนั้นเสีย, วาจาใด ไร้โทษ สบายหู ไพเราะ จับใจ เป็นวาจาของชาวเมือง เป็นที่ยินดีเจริญใจของชนหมู่มาก กล่าววาจาเช่นนั้น, ความเป็นผู้มีวาจาอ่อนหวาน ความเป็นผู้มี วาจาสละสลวย ความเป็นผู้มีวาจาไม่หยาบคาย ในลักษณะดังกล่าวนั้น อันใด นี้เรียกว่า สาขัลยะ. ปฏิสันถาร เป็นไฉน? ปฏิสันถาร ๒ คือ อามิสปฏิสันถาร ธรรมปฏิสันถาร บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ ปฏิสันถาร โดยอามิสปฏิสันถารก็ดี โดยธรรมปฏิสันถารก็ดี นี้เรียกว่า ปฏิสันถาร. [๘๖๒] ความเป็นผู้ไม่สำรวมในอินทรีย์ ๖ เป็นไฉน? บุคคลบางคนในโลกนี้ เห็นรูปด้วยจักขุแล้ว เป็นผู้ถือนิมิต เป็นผู้ถือโดยอนุพนัญชนะ, อภิชฌาโทมนัส อกุศลบาปธรรมทั้งหลาย พึงครอบงำบุคคลผู้ไม่สำรวมจักขุนทรีย์อยู่นี้ เพราะ เหตุที่ไม่สำรวม จักขุนทรีย์ใด, ไม่ปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์นั้น ไม่รักษาจักขุนทรีย์นั้น ไม่สำเร็จการสำรวมในจักขุนทรีย์นั้น ได้ยินเสียงด้วยโสตแล้ว ฯลฯ สูดกลิ่นด้วยฆานะแล้ว ฯลฯ ลิ้มรสด้วยชิวหาแล้ว ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ฯลฯ รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว เป็นผู้ถือนิมิตเป็นผู้ถือโดยอนุ- *พยัญชนะ, อภิชฌาโทมนัส อกุศลบาปธรรมทั้งหลาย พึงครอบงำบุคคลผู้ไม่สำรวมมนินทรีย์อยู่นี้ เพราะเหตุที่ไม่สำรวมมนินทรีย์ใด ไม่ปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์นั้น ไม่รักษามนินทรีย์นั้น ไม่สำเร็จการสำรวมในมนินทรีย์นั้น การไม่คุ้มครอง กิริยาที่ไม่คุ้มครอง การไม่รักษา การไม่สำรวม ซึ่งอินทรีย์ ๖ เหล่านี้ อันใด นี้เรียกว่า ความเป็นผู้ไม่สำรวมในอินทรีย์ ๖. ความเป็นผู้ไม่รู้ประมาณในโภชนาหาร เป็นไฉน? บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่พิจารณาโดยแยบคาย บริโภคอาหาร เพื่อจะเล่น เพื่อจะ มัวเมา เพื่อจะประเทืองผิว เพื่อความอ้วนพี, ความเป็นผู้ไม่สันโดษ ความเป็นผู้ไม่รู้ประมาณ ความไม่พิจารณา ในโภชนาหารนั้น อันใด นี้เรียกว่า ความเป็นผู้ไม่รู้ประมาณในโภชนาหาร. [๘๖๓] ความเป็นผู้สำรวมในอินทรีย์ ๖ เป็นไฉน? บุคคลบางคนในโลกนี้ เห็นรูปด้วยจักขุแล้ว เป็นผู้ไม่ถือโดยนิมิต เป็นผู้ไม่ถือโดย อนุพยัญชนะ, อภิชฌาโทมนัส อกุศลบาปธรรมทั้งหลาย พึงครอบงำบุคคลผู้ไม่สำรวมจักขุนทรีย์ อยู่นี้ เพราะเหตุที่ไม่สำรวมจักขุนทรีย์ใด, ปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์นั้น รักษาจักขุนทรีย์นั้น สำเร็จการสำรวมในจักขุนทรีย์นั้น ได้ยินเสียงด้วยโสตแล้ว ฯลฯ สูดกลิ่นด้วยฆานะแล้ว ฯลฯ ลิ้มรสด้วยชิวหาแล้ว ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ฯลฯ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว เป็นผู้ไม่ถือนิมิต เป็นผู้ไม่ถือโดย อนุพยัญชนะ, อภิชฌาโทมนัส อกุศลบาปธรรมทั้งหลาย พึงครอบงำบุคคลผู้ไม่สำรวมมนินทรีย์ อยู่นี้ เพราะเหตุที่ไม่สำรวมมนินทรีย์ใด, ปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์นั้น รักษามนินทรีย์นั้น สำเร็จการสำรวมในมนินทรีย์นั้น การคุ้มครอง กิริยาที่คุ้มครอง การรักษา การสำรวมอินทรีย์ ๖ เหล่านี้ อันใด นี้เรียกว่า ความเป็นผู้สำรวมในอินทรีย์. ความเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนาหาร เป็นไฉน? บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาโดยแยบคายว่า เราบริโภคอาหาร ไม่ใช่ เพื่อจะเล่น ไม่ใช่เพื่อจะมัวเมา ไม่ใช่เพื่อจะประเทือง ไม่ใช่เพื่อจะให้อ้วนพี แต่เพียงเพื่อให้กายนี้ดำรงอยู่ได้ เพื่อให้ชีวิตินทรีย์เป็นไป เพื่อบำบัดความหิว เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ เพราะโดยอุบายนี้ เราจักกำจัดเวทนาเก่าเสียด้วย จักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้นด้วย ความดำรงอยู่แห่งชีวิต ความไม่มีโทษ และการอยู่โดยผาสุก จักมีแก่เราด้วย ดังนี้ แล้วจึงบริโภคอาหาร, ความสันโดษ ความรู้ประมาณ การพิจารณา ในโภชนาหารนั้น อันใด นี้เรียกว่า ความเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนาหาร. [๘๖๔] มุฏฐสัจจะ เป็นไฉน? ความระลึกไม่ได้ ความไม่ตามระลึก ความไม่หวนระลึก ความระลึกไม่ได้ อาการที่ระลึก ไม่ได้ ความไม่ทรงจำ ความเลื่อนลอย ความหลงลืม อันใด นี้เรียกว่า มุฏฐสัจจะ. อสัมปชัญญะ เป็นไฉน? ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูล คือโมหะอันใด นี้เรียกว่า อสัมปชัญญะ. [๘๖๕] สติ เป็นไฉน? สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ ความไม่เลื่อนลอย ความไม่ลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ สัมมาสติ อันใดนี้เรียกว่า สติ สัมปชัญญะ เป็นไฉน? ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิอันใด นี้เรียกว่า สัมปชัญญะ. [๘๖๖] กำลังคือการพิจารณา เป็นไฉน? ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิอันใด นี้เรียกว่า กำลังคือการพิจารณา. กำลังคือภาวนา เป็นไฉน? การเสพ การเจริญ การทำให้มาก ซึ่งกุศลธรรมทั้งหลาย อันใด นี้เรียกว่า กำลังคือ ภาวนา. โพชฌงค์แม้ทั้ง ๗ จัดเป็นกำลังคือภาวนา. [๘๖๗] สมถะ เป็นไฉน? ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ อันใด นี้เรียกว่า สมถะ. วิปัสสนา เป็นไฉน? ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิอันใด นี้เรียกว่า วิปัสสนา. [๘๖๘] สมถนิมิต เป็นไฉน? ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ อันใด นี้เรียกว่า สมถนิมิต. ปัคคาหนิมิต เป็นไฉน? การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ อันใด นี้เรียกว่า ปัคคาหนิมิต. [๘๖๙] ปัคคาหะ เป็นไฉน? การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ อันใด นี้เรียกว่า ปัคคาหะ. อวิกเขปะ เป็นไฉน? ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ อันใด นี้เรียกว่า อวิกเขปะ. [๘๗๐] สีลวิบัติ เป็นไฉน? ความล่วงละเมิดทางกาย ความล่วงละเมิดทางวาจา ความล่วงละเมิดทางกายและทางวาจา อันใด นี้เรียกว่า สีลวิบัติ. ความเป็นผู้ทุศีลแม้ทั้งหมด จัดเป็น สีลวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ เป็นไฉน? ความเห็นว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล การบูชาไม่มีผล การบวงสรวงไม่มีผล ผลวิบากแห่ง กรรมที่ทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกอื่นไม่มี บิดาไม่มี มารดาไม่มี สัตว์ที่จุติและอุปบัติไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบไม่มีในโลก สมณพราหมณ์ที่ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้และโลกอื่น ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ได้ไม่มีในโลก ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า ทิฏฐิวิบัติ. มิจฉาทิฏฐิแม้ทั้งหมด จัดเป็น ทิฏฐิวิบัติ. [๘๗๑] สีลสัมปทา เป็นไฉน? ความไม่ล่วงละเมิดทางกาย ความไม่ล่วงละเมิดทางวาจา ความไม่ล่วงละเมิดทางกายและ ทางวาจา นี้เรียกว่า สีลสัมปทา. สีลสังวรแม้ทั้งหมด จัดเป็น สีลสัมปทา. ทิฏฐิสัมปทา เป็นไฉน? ความเห็นว่า ทานที่บุคคลให้แล้วย่อมมีผล การบูชาย่อมมีผล การบวงสรวงย่อมมีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วมีอยู่ โลกนี้มีอยู่ โลกอื่นมีอยู่ มารดามีอยู่ บิดามีอยู่ สัตว์ที่จุติและ อุปบัติมีอยู่ สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบมีอยู่ในโลก สมณพราหมณ์ที่ทำให้แจ้ง ซึ่งโลกนี้ และโลกอื่นด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ได้มีอยู่ในโลก ดังนี้ ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิมีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่าทิฏฐิสัมปทา. สัมมาทิฏฐิแม้ทั้งหมด จัดเป็น ทิฏฐิสัมปทา. [๘๗๒] สีลวิสุทธิ เป็นไฉน? ความไม่ล่วงละเมิดทางกาย ความไม่ล่วงละเมิดทางวาจา ความไม่ล่วงละเมิดทางกายและ ทางวาจา นี้เรียกว่า สีลวิสุทธิ. สีลสังวรแม้ทั้งหมด จัดเป็นสีลวิสุทธิ. ทิฏฐิวิสุทธิ เป็นไฉน? ญาณเป็นเครื่องรู้ว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตน (กัมมัสสกตาญาณ) ญาณอันสมควรแก่การ หยั่งรู้อริยสัจ (สัจจานุโลมิกญาณ) ญาณของท่านผู้พร้อมเพรียงด้วยมรรค (มัคคญาณ) ญาณของท่าน ผู้พร้อมเพรียงด้วยผล (ผลญาณ) [๘๗๓] บทว่า ความหมดจดแห่งทิฏฐิ นั้น มีนิเทศว่า ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ. บทว่า ความเพียรแห่งบุคคลผู้มีทิฏฐิอันหมดจด นั้นมีนิเทศว่า การปรารภความเพียร ทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ. [๘๗๔] บทว่า ความสลดใจนั้น มีนิเทศว่า ญาณอันเห็นชาติโดยความเป็นภัย ญาณอันเห็นชราโดยความเป็นภัย ญาณอันเห็นพยาธิโดยความเป็นภัย ญาณอันเห็นมรณะโดย ความเป็นภัย. บทว่า ฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความสลดใจ นั้น มีนิเทศว่า ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ. บทว่า ความพยายามโดยแยบคายแห่งบุคคลผู้มีใจสลดแล้ว นั้น มีนิเทศว่า ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังฉันทะให้เกิด ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิตไว้ ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อความไม่บังเกิดขึ้นแห่งอกุศลบาปธรรมทั้งหลายที่ยังไม่บังเกิดขึ้น เพื่อละอกุศล บาปธรรมทั้งหลายที่บังเกิดขึ้นแล้ว เพื่อความบังเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้น เพื่อความตั้งอยู่ เพื่อความไม่จืดจาง เพื่อความเพิ่มพูน เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อ ความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมทั้งหลายที่บังเกิดขึ้นแล้ว. [๘๗๕] บทว่า ความไม่รู้จักอิ่มในกุศลธรรม นั้น มีนิเทศว่า ความพอใจยิ่งๆ ขึ้นไปของบุคคลผู้ไม่รู้จักอิ่ม ในการเจริญกุศลธรรมทั้งหลาย. บทว่า ความไม่ท้อถอยในความพยายาม นั้น มีนิเทศว่า ความเป็นผู้กระทำโดย เคารพ ความเป็นผู้กระทำติดต่อ ความเป็นผู้กระทำไม่หยุด ความเป็นผู้ประพฤติไม่ย่อหย่อน ความเป็นผู้ไม่ทิ้งฉันทะ ความเป็นผู้ไม่ทอดธุระการเสพ การเจริญ การกระทำให้มาก เพื่อความ เจริญแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย. [๘๗๖] บทว่า วิชชา นั้น มีนิเทศว่า วิชชา ๓ วิชชาคือญาณอันตามระลึกชาติหนหลังได้ (ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ) วิชชาคือญาณในจุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลายแล้ว (จุตูปปาตญาณ) วิชชาคือญาณในความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย (อาสวักขยญาณ) บทว่า วิมุติ นั้น มีนิเทศว่า วิมุติ ๒ อธิมุตติแห่งจิต (สมาบัติ ๘) และนิพพาน. [๘๗๗] บทว่า ขเย ญาณํ นั้น มีนิเทศว่า ญาณของท่านผู้พร้อมเพรียงด้วยมรรค. บทว่า อนุปปาเท ญาณํ นั้น มีนิเทศว่า ญาณของท่านผู้พร้อมเพรียงด้วยผล.
นิกเขปกัณฑ์ จบ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ บรรทัดที่ ๗๒๙๐-๗๕๘๒ หน้าที่ ๒๙๐ - ๓๐๑. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=34&A=7290&Z=7582&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_item.php?item=863&book=34              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=34&siri=65              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=34&i=836              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_read.php?B=34&A=6550              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_read.php?B=34&A=6550              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_34

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]