ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฏก เล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๒ ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส
ปุณณกมาณวกปัญหานิทเทส
ว่าด้วยปัญหาของท่านปุณณกะ
[๑๑๖] (ท่านปุณณกะทูลถามดังนี้ว่า) ข้าพระองค์มีความประสงค์ด้วยปัญหา จึงมาเฝ้าพระองค์ผู้ ไม่มีตัณหาเครื่องหวั่นไหว ผู้เห็นมูล. ฤาษี มนุษย์ กษัตริย์ และพราหมณ์เป็นอันมากในโลกนี้อาศัยอะไร จึงพากัน แสวงหายัญให้แก่เทวดาทั้งหลาย? ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น ขอพระองค์จงตรัสบอกปัญหา นั้นแก่ข้าพระองค์เถิด. [๑๑๗] คำว่า ผู้ไม่มีตัณหาเครื่องหวั่นไหว ผู้เห็นมูล ความว่า ตัณหา ราคะ สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล เรียกว่า ความหวั่นไหว. ตัณหาอันเป็นความหวั่นไหว นั้น พระผู้มีพระภาคผู้ตรัสรู้แล้ว ทรงละขาดแล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดุจตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา เพราะเหตุนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่าไม่มี ความหวั่นไหว. พระผู้มีพระภาคชื่อว่าอเนชะ เพราะพระองค์ทรงละตัณหาเครื่องหวั่นไหวขาดแล้ว ย่อมไม่ทรงหวั่นไหวเพราะลาภ แม้เพราะความเสื่อมลาภ แม้เพราะยศ แม้เพราะความเสื่อมยศ แม้เพราะสรรเสริญ แม้เพราะนินทา แม้เพราะสุข แม้เพราะทุกข์ ... ไม่หวั่น ไม่ไหว ไม่คลอนแคลน เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อเนชะ. คำว่า มูลทสฺสาวี ความว่า พระผู้มีพระภาคทรงเห็นมูล คือ ทรงเห็นเหตุ ทรงเห็น นิทาน ทรงเห็นสมภพ ทรงเห็นสมุฏฐาน ทรงเห็นอาหาร ทรงเห็นอารมณ์ ทรงเห็นปัจจัย ทรงเห็นสมุทัย. อกุศลมูล ๓ คือ โลภะอกุศลมูล ๑ โทสะอกุศลมูล ๑ โมหะอกุศลมูล ๑. สมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งความเกิดขึ้น แห่งกรรม ๓ ประการนี้ คือ โลภะ ๑ โทสะ ๑ โมหะ ๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดา มนุษย์ หรือสุคติอย่างใดอย่างหนึ่งแม้อื่น ย่อมไม่ปรากฏเพราะกรรมเกิดแต่โลภะ เพราะกรรมเกิดแต่ โทสะ เพราะกรรมเกิดแต่โมหะ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย โดยที่แท้ นรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย หรือทุคติ อย่างใดอย่างหนึ่งแม้อื่น ย่อมปรากฏ เพราะกรรมเกิดแต่โลภะ เพราะ กรรมเกิดแต่โทสะ เพราะกรรมเกิดแต่โมหะ. อกุศลมูล ๓ ประการนี้ เพื่อความเกิดแห่งอัตภาพ ในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในปิตติวิสัย. พระผู้มีพระภาคย่อมทรงรู้ทรงเห็นดังนี้. พระผู้มี- *พระภาคทรงเห็นมูล ฯลฯ ทรงเห็นสมุทัย แม้ด้วยประการอย่างนี้. กุศลมูล ๓ ประการ คือ อโลภะกุศลมูล ๑ อโทสะกุศลมูล ๑ อโมหะกุศลมูล ๑. สมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า กุศลมูล ๓ ประการนี้ ฯลฯ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย หรือทุคติอย่างใดอย่างหนึ่งแม้อื่น ย่อมไม่ปรากฏเพราะ กรรมเกิดแต่อโลภะ เพราะกรรมเกิดแต่อโทสะ เพราะกรรมเกิดแต่อโมหะ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย โดยที่แท้ เทวดา มนุษย์ หรือสุคติอย่างใดอย่างหนึ่งแม้อื่น ย่อมปรากฏเพราะกรรมเกิดแต่อโลภะ เพราะกรรมเกิดแต่อโทสะ เพราะกรรมเกิดแต่อโมหะ. กุศลมูล ๓ ประการนี้ เพื่อความเกิด แห่งอัตภาพในเทวดา และในมนุษย์. พระผู้มีพระภาคย่อมทรงรู้ทรงเห็นดังนี้. พระผู้มีพระภาค ย่อมทรงเห็นมูล ฯลฯ ทรงเห็นสมุทัย แม้ด้วยประการอย่างนี้. และสมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมอย่างใด อย่างหนึ่งที่เป็นอกุศล เป็นส่วนอกุศล เป็นฝ่ายอกุศล ธรรมทั้งหมดนั้นมีอวิชชาเป็นมูล มีอวิชชาเป็นที่รวม มีอวิชชาอันอรหัตมรรคกำจัดได้ ย่อมถึงความเพิกถอนทั้งหมด. พระผู้มี- *พระภาคย่อมทรงรู้ทรงเห็นดังนี้ พระผู้มีพระภาคทรงเห็นมูล ฯลฯ ทรงเห็นสมุทัย แม้ด้วยประการ อย่างนี้. และสมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมอย่างใด อย่างหนึ่งที่เป็นกุศล เป็นส่วนกุศล เป็นฝ่ายกุศล ธรรมทั้งหมดนั้น มีความไม่ประมาทเป็นมูล มีความไม่ประมาทเป็นที่รวม ความไม่ประมาท บัณฑิตกล่าวว่าเป็นยอดแห่งธรรมเหล่านั้น. พระผู้มีพระภาคย่อมทรงรู้ทรงเห็นดังนี้. พระผู้มีพระภาคทรงเห็นมูล ฯลฯ ทรงเห็นสมุทัย แม้ ด้วยประการอย่างนี้. อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคย่อมทรงรู้ทรงเห็นว่า อวิชชาเป็นมูลแห่งสังขาร สังขาร เป็นมูลแห่งวิญญาณ วิญญาณเป็นมูลแห่งนามรูป นามรูปเป็นมูลแห่งสฬายตนะ สฬายตนะ- *เป็นมูลแห่งผัสสะ ผัสสะเป็นมูลแห่งเวทนา เวทนาเป็นมูลแห่งตัณหา ตัณหาเป็นมูลแห่งอุปาทาน อุปาทานเป็นมูลแห่งภพ ภพเป็นมูลแห่งชาติ ชาติเป็นมูลแห่งชราและมรณะ. พระผู้มีพระภาค ย่อมทรงรู้ทรงเห็นดังนี้. พระผู้มีพระภาคทรงเห็นมูล ฯลฯ ทรงเห็นสมุทัย แม้ด้วยประการ อย่างนี้. และสมจริงตามพระพุทธพจน์ ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม อย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอกุศล เป็นส่วนอกุศล เป็นฝ่ายอกุศล ธรรมทั้งหมดนั้นมีอวิชชาเป็นมูล มีอวิชชาเป็นที่รวม มีอวิชชาอันอรหัตมรรคกำจัดได้ ย่อมถึงความเพิกถอนทั้งหมด. พระผู้มี- *พระภาคทรงเห็นมูล ทรงเห็นเหตุ ทรงเห็นนิทาน ทรงเห็นสมภพ ทรงเห็นสมุฏฐาน ทรงเห็น อาหาร ทรงเห็นอารมณ์ ทรงเห็นปัจจัย ทรงเห็นสมุทัย แม้ด้วยประการอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่ทรงหวั่นไหว ทรงเห็นมูล. คำว่า อิติ ในอุเทศว่า อิจจฺายสฺมา ปุณฺณโก เป็นบทสนธิ. คำว่า อายสฺมา เป็นเครื่องกล่าวด้วยความรัก. คำว่า ปุณฺณโก เป็นชื่อของพราหมณ์นั้น. [๑๑๘] คำว่า ข้าพระองค์มีความต้องการด้วยปัญหาจึงมาเฝ้า ความว่า ข้าพระองค์มี ความต้องการด้วยปัญหาจึงมาเฝ้า คือ ข้าพระองค์ประสงค์จะทูลถามปัญหาจึงมาเฝ้า ประสงค์ จะฟังปัญหาจึงมาเฝ้า เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าพระองค์มีความต้องการด้วยปัญหาจึงมาเฝ้า แม้ด้วยประการอย่างนี้. อีกอย่างหนึ่ง ความว่า ข้าพระองค์ทั้งหลายประสงค์จะทูลถามปัญหา คือ ประสงค์จะ ฟังปัญหาจึงมาเฝ้า คือ เข้ามาเฝ้า เข้าใกล้ นั่งใกล้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าพระองค์มีความ ต้องการด้วยปัญหาจึงมาเฝ้า แม้ด้วยประการอย่างนี้. อีกอย่างหนึ่ง ความว่า พระองค์ทรงมี ประสงค์ด้วยปัญหาจึงเสด็จมา คือ แม้พระองค์ก็ทรงอาจ ทรงสามารถ ทรงเป็นผู้ควรจะตรัส จะวิสัชนา จะทรงแสดง จะชี้แจง ซึ่งปัญหาที่ข้าพระองค์ทูลถาม เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าพระองค์มีความต้องการด้วยปัญหาจึงมาเฝ้า แม้ด้วยประการฉะนี้. [๑๑๙] คำว่า กึนิสฺสิตา ในอุเทศว่า กึนิสฺสิตา อิสโย มนุชา ความว่า อาศัย คือ หวัง เยื่อใย เข้าไปใกล้ พัวพัน น้อมใจถึงซึ่งอะไร. บุคคลพวกใดพวกหนึ่งมีชื่อว่าฤาษี คือ ผู้ที่บวชเป็นฤาษี เป็นอาชีวก เป็นนิครนถ์ เป็นชฎิล เป็นดาบส ชื่อว่า อิสโย. พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกมนุษย์ว่า มนุชา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ฤาษี มนุษย์อาศัยอะไร? [๑๒๐] ผู้ที่เกิดเป็นชาติกษัตริย์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ชื่อว่ากษัตริย์ ในอุเทศว่า "ขตฺติยา พฺราหฺมณา เทวตานํ" ผู้ที่ยกย่องสรรเสริญกันว่า มีวาทะเจริญ เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ชื่อว่าพราหมณ์. คำว่า เทวตานํ ความว่า อาชีวกเป็นเทวดาของพวกอาชีวกสาวก นิครนถ์เป็นเทวดาของพวกนิครนถ์- *สาวก ชฎิลเป็นเทวดาของพวกชฎิลสาวก ปริพาชกเป็นเทวดาของพวกปริพาชกสาวก ดาบส เป็นเทวดาของพวกดาบสสาวก ช้างเป็นเทวดาของพวกประพฤติหัตถีพรต ม้าเป็นเทวดาของ พวกประพฤติอัสสพรต โคเป็นเทวดาของพวกประพฤติโคพรต สุนัขเป็นเทวดาของพวกประพฤติ กุกกุรพรต กาเป็นเทวดาของพวกประพฤติกากพรต ท้าววาสุเทพเป็นเทวดาของพวกประพฤติ วาสุเทวพรต พลเทพเป็นเทวดาของพวกประพฤติพลเทพพรต ท้าวปุณณภัทร์เป็นเทวดาของ พวกประพฤติปุณณภัททพรต ท้าวมณิภัทร์เป็นเทวดาของพวกประพฤติมณิภัททพรต ไฟเป็นเทวดา ของพวกประพฤติอัคคิพรต นาคเป็นเทวดาของพวกประพฤตินาคพรต ครุฑเป็นเทวดาของพวก ประพฤติสุบรรณพรต ยักษ์เป็นเทวดาของพวกประพฤติยักขพรต อสูรเป็นเทวดาของพวก ประพฤติอสูรพรต คนธรรพ์เป็นเทวดาของพวกประพฤติคันธัพพพรต ท้าวมหาราชเป็นเทวดา ของพวกประพฤติมหาราชพรต จันทเทวบุตรเป็นเทวดาของพวกประพฤติจันทรพรต สุริยเทพบุตร เป็นเทวดาของพวกประพฤติสุริยพรต อินทเทพบุตรเป็นเทวดาของพวกประพฤติอินทรพรต พรหมเป็นเทวดาของพวกประพฤติพรหมพรต พวกเทพเป็นเทวดาของพวกประพฤติเทพพรต ทิศทั้งหลายเป็นเทวดาของพวกประพฤติทิศาพรต พระทัทขิไณยบุคคลผู้สมควรแก่ไทยธรรมของ ชนเหล่าใด ก็เป็นเทวดาของชนเหล่านั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กษัตริย์ ... พราหมณ์ ... เทวดา ทั้งหลาย. [๑๒๑] ไทยธรรม คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจยเภสัชบริขาร ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก เครื่องประทีป ท่านเรียกว่า ยัญ ในอุเทศว่า "ยญฺญมกปฺปึสุ ปุถูธ โลเก". คำว่า แสวงหาแล้วซึ่งยัญ ความว่า แม้ชน เหล่าใดย่อมแสวงหา เสาะหา สืบหายัญ คือ จีวร ... เครื่องประทีป แม้ชนเหล่านั้นก็ชื่อว่า แสวงหายัญ. แม้ชนเหล่าใดย่อมจัดแจงยัญ คือ จีวร ... เครื่องประทีป แม้ชนเหล่านั้นก็ชื่อว่า แสวงหายัญ. แม้ชนเหล่าใดย่อมให้ ย่อมบูชา ย่อมบริจาคยัญ คือ จีวร ... เครื่องประทีป แม้ ชนเหล่านั้นก็ชื่อว่า แสวงหายัญ. คำว่า เป็นอันมาก คือ ยัญเหล่านั้นก็มาก ผู้บูชายัญนั้นก็มาก หรือพระทักขิไณยบุคคล นั้นก็มาก. ยัญเหล่านั้นมากอย่างไร? ยัญเหล่านั้นมาก คือ จีวร ... เครื่องประทีป ยัญเหล่านั้น มากอย่างนี้. ผู้บูชายัญนั้นมากอย่างไร? ผู้บูชายัญนั้นมาก คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดาและมนุษย์ ผู้บูชายัญนั้นมากอย่างนี้. หรือพระทักขิไณยบุคคลนั้น มากอย่างไร? พระทักขิไณยบุคคลนั้นมาก คือ สมณะ พราหมณ์ ยาจก วณิพก สาวกหรือ พระทักขิไณยบุคคลนั้นมากอย่างนี้. คำว่า ในโลกนี้ คือในมนุษยโลก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มากในโลกนี้ ... แสวงหาแล้วซึ่งยัญ. [๑๒๒] การถามมี ๓ อย่าง คือ อทิฏฐโชตนาปุจฉา ๑ ทิฏฐสังสันทนาปุจฉา ๑ วิมติเฉทนาปุจฉา ๑ ชื่อว่าปุจฉา ในอุเทศว่า "ปุจฺฉามิ ตํ ภควา พฺรูหิ เม ตํ". อทิฏฐโชตนาปุจฉาเป็นไฉน? ลักษณะที่ยังไม่รู้ ไม่เห็น ไม่เทียบเคียง ไม่พิจารณา ไม่แจ่มแจ้ง ไม่ปรากฏ โดยปกติ บุคคลย่อมถามปัญหาเพื่อรู้ เพื่อเห็น เพื่อเทียบเคียง เพื่อ พิจารณา เพื่อต้องการให้แจ่มแจ้ง เพื่อต้องให้ปรากฏ ซึ่งลักษณะนั้น ชื่อว่า อทิฏฐโชตนาปุจฉา. ทิฏฐสังสันทนาปุจฉาเป็นไฉน? ลักษณะที่รู้ เห็น เทียบเคียง พิจารณาแจ่มแจ้ง ปรากฏ โดยปกติ บุคคลย่อมถามปัญหา เพื่อต้องการสนทนากับบัณฑิตอื่นๆ ชื่อว่า ทิฏฐสัง- *สันทนาปุจฉา. วิมติเฉทนาปุจฉาเป็นไฉน? บุคคลแล่นไปสู่ความสงสัย ความเคลือบแคลง มีใจเป็น สองว่า เรื่องนี้เป็นอย่างนี้หรือหนอแล หรือไม่เป็นอย่างนี้ เรื่องนี้เป็นไฉนหนอ หรือเป็น อย่างไร ดังนี้ โดยปกติ บุคคลย่อมถามปัญหา เพื่อต้องการตัดความเคลือบแคลงเสีย นี้ชื่อว่า วิมติเฉทนาปุจฉา. ปุจฉา ๓ ประการนี้. ปุจฉาอีก ๓ ประการ คือ มนุสสปุจฉา ๑ อมนุสสปุจฉา ๑ นิมมิตปุจฉา ๑. มนุสสปุจฉาเป็นไฉน? มนุษย์ทั้งหลายเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคผู้ตรัสรู้แล้ว ย่อมทูล ถามปัญหา ภิกษุทั้งหลาย ... ภิกษุณีทั้งหลาย ... อุบาสกทั้งหลาย ... อุบาสิกาทั้งหลาย ... พระราชา ทั้งหลาย ... กษัตริย์ทั้งหลาย ... พราหมณ์ทั้งหลาย ... แพศย์ทั้งหลาย ... ศูทรทั้งหลาย ... คฤหัสถ์ ทั้งหลาย ... บรรพชิตทั้งหลาย เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคผู้ตรัสรู้แล้ว ย่อมทูลถามปัญหา นี้ชื่อว่า มนุสสปัญหา. อมนุสสปุจฉาเป็นไฉน? อมนุษย์ทั้งหลายเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้ว ย่อมทูลถาม ปัญหา นาคทั้งหลาย ... ครุฑทั้งหลาย ... ยักษ์ทั้งหลาย ... อสูรทั้งหลาย ... คนธรรพ์ทั้งหลาย ... ท้าวมหาราชทั้งหลาย ... พระอินทร์ทั้งหลาย ... พระพรหมทั้งหลาย ... เทวดาทั้งหลาย เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคแล้ว ย่อมทูลถามปัญหา นี้ชื่อว่า อมนุสสปุจฉา. นิมมิตปุจฉาเป็นไฉน? พระผู้มีพระภาคทรงนิรมิตพระรูปใด อันสำเร็จด้วยพระทัย มี อวัยวะครบทุกส่วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง พระพุทธนิรมิตนั้นเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคผู้ตรัสรู้ แล้ว ย่อมตรัสถามปัญหา พระผู้มีพระภาคทรงวิสัชนา นี้ชื่อว่า นิมมิตปุจฉา. ปุจฉา ๓ ประการนี้. ปุจฉาอีก ๓ ประการ คือ การถามประโยชน์ตน ๑ การถามประโยชน์ผู้อื่น ๑ การถาม ประโยชน์ทั้งสอง ๑. ปุจฉาอีก ๓ ประการ คือ การถามถึงทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ ๑ การถามถึงสัมปรายิกัตถ- *ประโยชน์ ๑ การถามถึงปรมัตถประโยชน์ ๑. ปุจฉาอีก ๓ ประการ คือ การถามถึงเนื้อความอันไม่มีโทษ ๑ การถามถึงเนื้อความอัน ไม่มีกิเลส ๑ การถามถึงเนื้อความอันผ่องแผ้ว ๑. ปุจฉาอีก ๓ ประการ คือ การถามถึงเรื่องอดีต ๑ การถามถึงเรื่องอนาคต ๑ การถามถึง เรื่องปัจจุบัน ๑. ปุจฉาอีก ๓ ประการ คือ การถามเรื่องภายใน ๑ การถามเรื่องภายนอก ๑ การถาม เรื่องทั้งภายในภายนอก ๑. ปุจฉาอีก ๓ ประการ คือ การถามเรื่องกุศล ๑ การถามเรื่องอกุศล ๑ การถามเรื่อง อัพยากฤต ๑. ปุจฉาอีก ๓ ประการ คือ การถามเรื่องขันธ์ ๑ การถามเรื่องธาตุ ๑ การถามเรื่อง อายตนะ ๑. ปุจฉาอีก ๓ ประการ คือ การถามเรื่องสติปัฏฐาน ๑ การถามเรื่องสัมมัปปธาน ๑ การ ถามเรื่องอิทธิบาท ๑. ปุจฉาอีก ๓ ประการ คือ การถามเรื่องอินทรีย์ ๑ การถามเรื่องพละ ๑ การถามเรื่อง โพชฌงค์ ๑. ปุจฉาอีก ๓ ประการ คือ การถามเรื่องมรรค ๑ การถามเรื่องผล ๑ การถามเรื่อง นิพพาน ๑. คำว่า ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น ความว่า ข้าพระองค์ทูลถาม คือ ทูลขอ ทูล เชื้อเชิญ ทูลให้ประสาท ซึ่งปัญหานั้นว่า ขอพระองค์จงตรัสบอกปัญหาแก่ข้าพระองค์ เพราะ ฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น. คำว่า ภควา นี้ เป็นคำกล่าวโดยเคารพ ฯลฯ. คำว่า ภควา นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ คำว่า ขอพระองค์จงตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์ ความว่า ขอพระองค์จงตรัส ... ขอพระองค์จง ประกาศ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น ขอ พระองค์จงตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์. เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกราบทูลว่า ข้าพระองค์มีความประสงค์ด้วยปัญหา จึงมาเฝ้าพระองค์ผู้ไม่ หวั่นไหว ผู้เห็นมูล. ฤาษี มนุษย์ กษัตริย์ พราหมณ์เป็น อันมากในโลกนี้ อาศัยอะไร จึงพากันแสวงหายัญให้แก่ เทวดาทั้งหลาย ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ขอทูลถาม ปัญหานั้น. ขอพระองค์จงตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์ เถิด. [๑๒๓] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรปุณณกะ) ฤาษี มนุษย์ กษัตริย์ พราหมณ์ พวกใดพวกหนึ่งนี้ เป็น อันมากในโลกนี้ พากันแสวงหายัญแก่เทวดาทั้งหลาย. ดูกร ปุณณกะ ฤาษี มนุษย์ กษัตริย์ พราหมณ์ เป็นอันมาก ในโลกนี้ เหล่านั้น หวังความเป็นอย่างนี้ อาศัยชรา จึง พากันแสวงหายัญแก่เทวดาทั้งหลาย. [๑๒๔] คำว่า เยเกจิเม ในอุเทศว่า "เยเกจิเม อิสโย มนุชา" ดังนี้ ความว่า ทั้งหมด โดยกำหนดทั้งหมด ทั้งหมดโดยประการทั้งหมด ไม่เหลือ ไม่มีส่วนเหลือ คำว่า เยเกจิเม นี้เป็นเครื่องกล่าวรวมหมด. บุคคลพวกใดพวกหนึ่ง มีชื่อว่า ฤาษี คือ พวกที่บวชเป็นฤาษี อาชีวก นิครนถ์ ชฎิล ดาบส ชื่อว่า ฤาษี. พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกมนุษย์ว่า มนุชา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ฤาษี มนุษย์ ... เหล่าใดเหล่าหนึ่งนี้. พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อว่า ปุณณกะ. พระนามว่า ภควา นี้ เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ ฯลฯ พระนามว่า ภควา นี้ เป็น สัจฉิกาบัญญัติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรปุณณกะ. [๑๒๕] ผู้ที่เกิดเป็นชาติกษัตริย์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ชื่อว่ากษัตริย์ ในอุเทศว่า "ขตฺติยา พฺราหมณา เทวตานํ". ผู้ที่ยกย่องสรรเสริญกันว่ามีวาทะเจริญเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ชื่อว่าพราหมณ์ คำว่า เทวตานํ ความว่า อาชีวกเป็นเทวดาของพวกอาชีวบสาวก ฯลฯ ทิศทั้งหลายเป็นเทวดาของพวกประพฤติ ทิศาพรต พระทักขิไณยบุคคลผู้สมควรแก่ไทยธรรมของชนเหล่าใด ก็เป็นเทวดาของชนเหล่านั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กษัตริย์ พราหมณ์ ... แก่เทวดาทั้งหลาย. [๑๒๖] ไทยธรรม คือ จีวร ... เครื่องประทีป ท่านเรียกว่ายัญ ในอุเทศว่า ยญฺญมกปฺปึสุ ปุถูธ โลเก. คำว่า แสวงหาแล้วซึ่งยัญ ความว่า แม้ชนเหล่าใดย่อมแสวงหา เสาะหา สืบหา ยัญ คือ จีวร ... เครื่องประทีป แม้ชนเหล่านั้นก็ชื่อว่าแสวงหายัญ. คำว่า เป็นอันมาก คือ ยัญเหล่านั้นก็มาก ผู้บูชายัญนั้นก็มาก หรือพระทักขิไณยบุคคลนั้นก็มาก. ยัญเหล่านั้นมาก อย่างไร? ฯลฯ หรือพระทักขิไณยบุคคลมากอย่างนี้. คำว่า ในโลกนี้ คือ ในมนุษยโลก เพราะ ฉะนั้น จึงชื่อว่า มากในโลกนี้ ... แสวงหาแล้วซึ่งยัญ. [๑๒๗] คำว่า อาสึสมานา ในอุเทศว่า อาสึสมานา ปุณฺณก อิตฺถตํ ความว่า หวัง คือ หวังได้รูป หวังได้เสียง หวังได้กลิ่น หวังได้รส หวังได้โผฏฐัพพะ หวังได้บุตร หวังได้ ภรรยา หวังได้ทรัพย์ หวังได้ยศ หวังได้ความเป็นใหญ่ หวังได้อัตภาพในสกุลกษัตริย์มหาศาล หวังได้อัตภาพในสกุลพราหมณ์มหาศาล หวังได้อัตภาพในสกุลคฤหบดีมหาศาล หวังได้อัตภาพ ในเทวดาชาวจาตุมหาราชิก หวังได้อัตภาพในเทวดาชาวดาวดึงส์ หวังได้อัตภาพในเทวดาชาวยามา หวังได้อัตภาพในเทวดาชาวดุสิต หวังได้อัตภาพในเทวดาชาวนิมมานรดี หวังได้อัตภาพใน [๑๒๘] คำว่า ชรํ สิตา ในอุเทศว่า ชรํ สิตา ยญฺญมกปฺปึสุ ความว่า อาศัยชรา อาศัยพยาธิ อาศัยมรณะ อาศัยโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส บุคคลพวกนั้นแสวง หายัญในเทวดา เพราะอาศัยชาติ หรือว่าอาศัยชาติจึงแสวงหายัญในเทวดา แสวงหายัญในเทวดา เพราะอาศัยชรา หรือว่าอาศัยชราจึงแสวงหายัญในเทวดา แสวงหายัญในเทวดา เพราะอาศัย พยาธิ หรือว่าอาศัยพยาธิจึงแสวงหายัญในเทวดา แสวงหายัญในเทวดา เพราะอาศัยมรณะ หรือว่าอาศัยมรณะจึงแสวงหายัญในเทวดา แสวงหายัญในเทวดา เพราะอาศัยโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส หรือว่าอาศัยโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จึง แสวงหายัญในเทวดา แสวงหายัญในเทวดา เพราะอาศัยคติ หรือว่าอาศัยคติจึงแสวงหายัญใน เทวดา แสวงหายัญในเทวดา เพราะอาศัยอุปบัติ หรือว่าอาศัยอุปบัติจึงแสวงหายัญในเทวดา แสวงหายัญในเทวดา เพราะอาศัยปฏิสนธิ หรือว่าอาศัยปฏิสนธิจึงแสวงหายัญในเทวดา แสวงหายัญในเทวดา เพราะอาศัยภพ หรือว่าอาศัยภพจึงแสวงหายัญในเทวดา แสวงหายัญ ในเทวดา เพราะอาศัยสงสาร หรือว่าอาศัยสงสารจึงแสวงหายัญในเทวดา แสวงหายัญในเทวดา เพราะอาศัยวัฏฏะ หรือว่าอาศัยวัฏฏะจึงแสวงหายัญในเทวดา ปรารถนา พัวพัน เข้าถึง ติดใจ น้อมใจไปแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อาศัยชรา จึงแสวงหายัญ. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า "ฤาษี มนุษย์ กษัตริย์ พราหมณ์ พวกใดพวกหนึ่งนี้ เป็น อันมากในโลกนี้ แสวงหายัญ แก่เทวดาทั้งหลาย. ดูกรปุณณกะ ฤาษี มนุษย์ กษัตริย์ พราหมณ์เป็นอันมากในโลกนี้เหล่านั้น หวังความเป็นอย่างนี้ อาศัยชราจึงแสวงหายัญแก่เทวดาทั้งหลาย". [๑๒๙] (ท่านปุณณกะทูลถามว่า) มนุษย์ กษัตริย์ พราหมณ์ พวกใดพวกหนึ่งนี้ มีเป็นอันมาก ในโลกนี้ แสวงหาแล้วซึ่งยัญ แก่เทวดาทั้งหลาย. ข้าแต่ พระผู้มีพระภาคผู้นิรทุกข์ ผู้บูชายัญเหล่านั้นไม่ประมาทแล้ว ในทางยัญ ได้ข้ามพ้นแล้วซึ่งชาติชราบ้างหรือ? ข้าแต่พระผู้มี- พระภาค ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น ขอพระองค์จงตรัสบอก ปัญหานั้น แก่ข้าพระองค์เถิด. [๑๓๐] คำว่า เยเกจิเม ในอุเทศว่า เยเกจิเม อิสโย มนุชา ดังนี้ ฯลฯ คำว่า กจฺจิสุ เต ภควา ยญฺญปเถ อปฺปมตฺตา ความว่า การถามเพื่อตัดความสงสัย การถามเพื่อ ตัดความเคลือบแคลง การถามเพื่อตัดความมีใจเป็นสอง การถามโดยไม่ใช่ส่วนเดียว เรื่องนี้ เป็นอย่างนี้หรือหนอแล หรือไม่เป็นอย่างนี้ เรื่องนี้เป็นไฉน หรือเป็นอย่างไร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บ้างหรือ. คำว่า เต ความว่า ผู้บูชายัญ. คำว่า ภควา เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ ฯลฯ คำว่า ภควานี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค บุคคล พวกนั้น ... บ้างหรือ. คำว่า ไม่ประมาทแล้วในทางยัญ ความว่า ยัญนั้นแหละท่านกล่าวว่าทางยัญ อริยมรรค ทางอริยะ มรรคเทวดา ทางเทวดา มรรคพรหม ทางพรหม ฉันใด ยัญนั่นแหละ ท่านกล่าว ว่าทางยัญ ฉันนั้นเหมือนกัน. คำว่า ไม่ประมาทแล้ว ความว่า ไม่ประมาทแล้ว คือ ทำโดย ความเคารพ ทำติดต่อ ทำไม่หยุด มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ทอดฉันทะ ไม่ทอดธุระ ในทางยัญ คือ ประพฤติอยู่ในทางยัญนั้น มากอยู่ในทางยัญนั้น หนักอยู่ในทางยัญนั้น น้อม ไปในทางยัญนั้น โอนไปในทางยัญนั้น เงื้อมไปในทางยัญนั้น น้อมใจไปในทางยัญนั้น มีทาง ยัญนั้นเป็นใหญ่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่ประมาทแล้วในทางยัญ. แม้ชนเหล่าใดแสวงหา สืบหา เสาะหายัญ คือ จีวร ... เครื่องประทีป เป็นผู้กระทำโดยเคารพ ฯลฯ มีทางยัญนั้นเป็น ใหญ่ แม้ชนเหล่านั้นเป็นผู้ไม่ประมาทแล้วในทางยัญ. แม้ชนเหล่าใดจัดแจงยัญ คือ จีวร ... แม้ชนเหล่านั้น เป็นผู้ไม่ประมาทแล้วในทางยัญ. แม้ชนเหล่าใดย่อมให้ ย่อมบูชา ย่อมบริจาค ยัญ คือ จีวร ... แม้ชนเหล่านั้นเป็นผู้ไม่ประมาทแล้วในทางยัญ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่ พระผู้มีพระภาค ผู้บูชายัญเหล่านั้น ไม่ประมาทในทางยัญ ... บ้างหรือ. [๑๓๑] คำว่า "อตารุ ชาติญฺจ มาริส" ความว่า ผู้บูชายัญเหล่านั้นได้ข้าม พ้นแล้ว คือ ข้ามขึ้นแล้ว ข้ามทั่วแล้ว ก้าวล่วงแล้ว ล่วงไปแล้วซึ่งชาติ ชรา และมรณะ. คำว่า มาริส เป็นเครื่องกล่าวด้วยความรัก เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ คำว่า มาริส นี้ เป็น เครื่องกล่าวเป็นไปกับด้วยความเคารพและความยำเกรง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่พระผู้มี- *พระภาคผู้นิรทุกข์ ผู้บูชายัญเหล่านั้น ได้ข้ามพ้นแล้วซึ่งชาติและชรา. [๑๓๒] คำว่า ปุจฺฉามิ ตํ ในอุเทศว่า "ปุจฺฉามิ ตํ ภควา พฺรูหิ เม ตํ" ดังนี้ ความว่า ข้าพระองค์ขอทูลถาม คือ ขอทูลวิงวอน ขอเชิญ ขอให้ทรงประสาท ขอจงตรัสบอก ปัญหานั้น แก่ข้าพระองค์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น คำว่า ภควา นั้น เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ ฯลฯ คำว่า ภควา นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ คำว่า พฺรูหิ เม ตํ ความว่า ขอพระองค์จงตรัส คือ ขอจงบอก ขอจงแสดง ขอจงบัญญัติ ขอจงแต่งตั้ง ขอจง เปิดเผย ขอจงจำแนก ขอจงทำให้ตื้น ขอจงทรงประกาศ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่ พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น. ขอพระองค์จงตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์. เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า มนุษย์ กษัตริย์ พราหมณ์ พวกใดพวกหนึ่ง มีเป็นอันมาก ในโลกนี้ แสวงหาแล้วซึ่งยัญแก่เทวดาทั้งหลาย. ข้าแต่ พระผู้- มีพระภาคผู้นิรทุกข์ ผู้บูชายัญเหล่านั้นไม่ประมาทแล้วในทางยัญ ได้ข้ามพ้นแล้วซึ่งชาติและชราบ้างหรือ, ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น. ขอพระองค์จงตรัสบอกปัญหานั้น แก่ข้าพระองค์. [๑๓๓] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรปุณณกะ) ชนทั้งหลายย่อมหวัง ย่อมชม (ย่อมชอบ) ย่อมบูชา อาศัย ลาภแล้ว ย่อมชอบกามทั้งหลาย. เราย่อมกล่าวว่า ชนเหล่านั้น ประกอบการบูชายัญ กำหนัดแล้วด้วยความกำหนัดในภพ ไม่ ข้ามพ้นชาติและชราไปได้. [๑๓๔] คำว่า อาสึสนฺติ ในอุเทศว่า อาสึสนฺติ โถมยนฺติ อภิชปฺปนฺติ ชุหนฺติ ดังนี้ ความว่า หวังได้รูป หวังได้เสียง หวังได้กลิ่น หวังได้รส หวังได้โผฏฐัพพะ หวังได้ บุตร หวังได้ภรรยา หวังได้ทรัพย์ หวังได้ยศ หวังได้ความเป็นใหญ่ หวังได้อัตภาพในสกุล กษัตริย์มหาศาล หวังได้อัตภาพในสกุลพราหมณ์มหาศาล หวังได้อัตภาพในสกุลคฤหบดีมหาศาล หวังได้อัตภาพในเทวดาชาวจาตุมหาราชิก ฯลฯ หวัง ยินดี ปรารถนา รักใคร่การได้อัตภาพ ในเทวดาที่นับเนื่องในหมู่พรหม เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมหวัง. คำว่า ย่อมชม ความว่า ย่อมชมยัญบ้าง ย่อมชมผลบ้าง ย่อมชมทักขิไณยบุคคลบ้าง. ย่อมชมยัญอย่างไร? ย่อมชม คือ ยกย่อง พรรณนา สรรเสริญว่า เราให้ของรัก เราให้ของเจริญใจ เราให้ของประณีต เราให้ของที่ควร เราเลือกให้ เราให้ของไม่มีโทษ เรา ให้เนืองๆ เมื่อกำลังให้ จิตก็เลื่อมใส ย่อมชมยัญ อย่างนี้. ย่อมชมผลอย่างไร ย่อมชม ยกย่อง พรรณนา สรรเสริญว่า เพราะยัญนี้เป็นเหตุ จักได้รูป ... จักได้โผฏฐัพพะ จักได้อัตภาพในสกุลกษัตริย์มหาศาล ฯลฯ จักได้อัตภาพในเทวดา ที่นับเนื่องในหมู่พรหม ย่อมชมผลอย่างนี้. ย่อมชมทักขิไณยบุคคลอย่างไร? ย่อมชม ยกย่อง พรรณนา สรรเสริญว่า พระทักขิไณยบุคคลเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยชาติ ถึงพร้อมด้วยโคตร เป็นผู้ ชำนาญมนต์ ทรงมนต์ เรียนจบไตรเพท พร้อมด้วยคัมภีร์นิฆัณฑุศาสตร์และเกตุภศาสตร์ เป็น ประเภทอักขระ มีคัมภีร์อิติหาสเป็นที่ห้า เป็นผู้เข้าใจตัวบท เข้าใจไวยากรณ์ ชำนาญในคัมภีร์ โลกายตนะและตำราทำนายมหาบุรุษลักษณะ เป็นผู้ปราศจากราคะบ้าง ปฏิบัติเพื่อกำจัดราคะบ้าง เป็นผู้ปราศจากโทสะบ้าง ปฏิบัติเพื่อกำจัดโทสะบ้าง เป็นผู้ปราศจากโมหะบ้าง ปฏิบัติเพื่อกำจัด โมหะบ้าง ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุติ วิมุตติญาณทัสสนะ ย่อมชม ทักขิไณยบุคคลอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมหวัง ย่อมชม. คำว่า อภิชปฺปนฺติ ความว่า ย่อมชอบการได้รูป ... ชอบการได้โผฏฐัพพะ ชอบการได้ อัตภาพในสกุลกษัตริย์มหาศาล ฯลฯ ชอบการได้อัตภาพในเทวดาผู้นับเนื่องในหมู่พรหม เพราะ ฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมหวัง ย่อมชม ย่อมชอบ. คำว่า ชุหนฺติ ความว่า ย่อมบูชา คือ ย่อมให้ ย่อมสละ ย่อมบริจาค ซึ่งจีวร ... เครื่องประทีป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมหวัง ย่อมชม ย่อมชอบ ย่อมบูชา. คำว่า ปุณฺณกาติ ภควา ความว่า พระผู้มีพระภาค ย่อมตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดย ชื่อว่า ปุณณกะ. คำว่า ภควา นี้ เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระผู้มีพระภาค ตรัสตอบว่า ดูกรปุณณกะ. [๑๓๕] คำว่า อาศัยลาภแล้วย่อมชอบกามทั้งหลาย ความว่า อาศัยการได้รูปแล้วย่อม ชอบกามทั้งหลาย ฯลฯ อาศัยการได้อัตภาพในเทวดาผู้นับเนื่องในหมู่พรหมแล้ว ย่อมชอบ คือ ยินดี ปรารถนากามทั้งหลาย เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อาศัยลาภแล้วย่อมชอบกามทั้งหลาย. [๑๓๖] คำว่า เต ในอุเทศว่า "เต ยาชโยคา ภวราครตฺตา นาตรึสุ ชาติชรนฺติ พฺรูมิ" ดังนี้ ความว่า ผู้บูชายัญ. คำว่า ยาชโยคา ความว่า ผู้ประกอบ คือ ประกอบทั่ว ประกอบทั่วด้วยดี ในการ บูชาทั้งหลาย คือ ประพฤติในการบูชา มากอยู่ในการบูชา หนักอยู่ในการบูชา เอนไปในการ บูชา โอนไปในการบูชา เงื้อมไปในการบูชา น้อมใจไปในการบูชา มีการบูชาเป็นใหญ่ เพราะ ฉะนั้น จึงชื่อว่า ชนทั้งหลายผู้ประกอบในการบูชายัญเหล่านั้น. คำว่า ภวราครตฺตา ความว่า ตัณหาท่านเรียกว่า ภวราคะ (อนึ่ง) ความพอใจในภพ ความกำหนัดในภพ ความเพลิดเพลินในภพ ตัณหาในภพ ความเยื่อใยในภพ ความกระหาย ในภพ ความเร่าร้อนในภพ ความลุ่มหลงในภพ ความหมกมุ่นในภพ ในภพทั้งหลาย เรียกว่า ภวราคะ ผู้บูชายัญเหล่านั้นกำหนัดแล้ว คือ ติดใจ หลงใหล หมกมุ่น ข้อง เกี่ยวข้อง พัวพันแล้วในภพทั้งหลายด้วยความกำหนัดในภพ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้บูชายัญเหล่านั้น ประกอบในการบูชา ยินดีแล้วด้วยภวราคะ. คำว่า นาตรึสุ ชาติชรนฺติ พฺรูมิ ความว่า เราย่อมกล่าว คือ ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมแต่งตั้ง ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนก ย่อมทำให้ตื้น ย่อมประกาศว่า ผู้บูชายัญ เหล่านั้น ประกอบในการบูชา กำหนัดแล้วด้วยภวราคะ ไม่ข้าม คือ ไม่ข้ามขึ้น ไม่ข้ามพ้น ไม่ก้าวล่วง ไม่เป็นไปล่วงซึ่งชาติ ชรา และมรณะ คือ เป็นผู้ไม่ออก ไม่สลัดออก ไม่ล่วง ไม่พ้น ไม่เป็นไปล่วงจากชาติ ชรา และมรณะ ย่อมวนเวียนอยู่ภายในชาติ ชรา และมรณะ ย่อมวนเวียนอยู่ภายในทางสงสาร เป็นผู้เป็นไปตามชาติ อันชราแล่นตาม พยาธิก็ครอบงำ มรณะห้ำหั่น ไม่มีที่ต้านทาน ไม่มีที่ซ่อนเร้น ไม่มีอะไรเป็นสรณะ ไม่มีอะไรเป็นที่พึ่ง เพราะ ฉะนั้น จึงชื่อว่า เราย่อมกล่าวว่า ผู้บูชายัญเหล่านั้น ประกอบในการบูชา ยินดีด้วยภวราคะ ไม่ข้ามพ้นซึ่งชาติ ชรา และมรณะไปได้. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ดูกรปุณณกะ ชนทั้งหลายย่อมหวัง ย่อมชม (ย่อมชอบ) ย่อมบูชา อาศัยลาภแล้ว ย่อมชอบกามทั้งหลาย. เราย่อม กล่าวว่า ชนเหล่านั้นประกอบการบูชายัญ กำหนัดแล้ว ด้วยความกำหนัดในภพ ไม่ข้ามพ้นชาติและชราไปได้. [๑๓๗] (ท่านปุณณกะทูลถามว่า) ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ถ้าชนเหล่านั้น ประกอบด้วยการบูชา ด้วยยัญทั้งหลาย ไม่ข้ามพ้นชาติและชราไปได้. ข้าแต่พระองค์ ผู้นิรทุกข์ เมื่อเป็นดังนี้ บัดนี้ ใครเล่าในเทวโลกและมนุษยโลก ได้ข้ามพ้นชาติและชรา. ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ ขอทูลถามปัญหานั้น ขอพระองค์จงตรัสบอกปัญหานั้นแก่ ข้าพระองค์. [๑๓๘] คำว่า เต เจ นาตรึสุ ยาชโยคา ความว่า ผู้บูชายัญเหล่านั้นประกอบใน การบูชา กำหนัดแล้วด้วยความกำหนัดในภพ ไม่ข้าม คือ ไม่ข้ามขึ้น ไม่ข้ามพ้น ไม่ก้าวล่วง ไม่เป็นไปล่วง ซึ่งชาติ ชรา และมรณะ คือ เป็นผู้ไม่ออก ไม่สลัดออก ไม่ล่วง ไม่พ้น ไม่เป็นไปล่วง จากชาติ ชรา และมรณะ ย่อมวนเวียนอยู่ภายในชาติชราและมรณะ ย่อม วนเวียนอยู่ภายในทางสงสาร เป็นผู้เป็นไปตามชาติ อันชราแล่นตาม พยาธิครอบยำ มรณะ ห้ำหั่น ไม่มีที่ต้านทาน ไม่มีที่ซ่อนเร้น ไม่มีอะไรเป็นสรณะ ไม่มีอะไรเป็นที่พึ่ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ถ้าชนเหล่านั้นประกอบในการบูชา ไม่ข้ามพ้น. คำว่า อิติ ในอุเทศว่า อิจจายสฺมา ปุณฺณโก เป็นบทสนธิ ฯลฯ ท่านปุณณกะ. [๑๓๙] คำว่า ยญฺเญหิ ชาติญฺจ ชรญฺจ มาริส ความว่า ด้วยยัญเป็นอันมาก คือ ด้วยยัญต่างๆ ชนิด ด้วยยัญมากมาย. คำว่า มาริส เป็นเครื่องกล่าวด้วยความรัก เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ. คำว่า มาริส นี้ เป็นเครื่องกล่าวเป็นไปกับด้วยความเคารพและความยำเกรง เพราะ ฉะนั้น จึงชื่อว่า ยญฺเญหิ ชาติญฺจ ชรญฺจ มาริส. [๑๔๐] คำว่า อถ โก จรหิ เทวมนุสฺสโลเก อตาริ ชาติญฺจ ชรญฺจ มาริส ความว่า เมื่อเป็นดังนั้น ใครเล่าในโลก พร้อมทั้งเทวโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ข้ามแล้ว คือ ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ก้าวล่วง เป็นไปล่วง ซึ่งชาติ ชรา และมรณะ? คำว่า มาริส เป็นเครื่องกล่าวด้วยความรัก เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ คำว่า มาริส นี้ เป็นเครื่องกล่าวเป็นไปกับด้วยความเคารพยำเกรง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้นิรทุกข์ เมื่อเป็นดังนั้น ในบัดนี้ ใครเล่า ในเทวโลกและมนุษยโลก ได้ข้ามพ้นชาติและ ชราไปได้? [๑๔๑] คำว่า ปุจฺฉามิ ตํ ภควา พฺรูหิ เม ตํ ความว่า ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานี้ นั้น คือ ขอวิงวอน ขอเชื้อเชิญ ขอให้ทรงประสาทปัญหานั้น. ขอพระองค์จงตรัสบอกปัญหา นั้นแก่ข้าพระองค์. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น. คำว่า ภควา นี้ เป็นเครื่องกล่าวเป็นไปกับด้วยความเคารพ ฯลฯ คำว่า ภควา นี้ เป็น สัจฉิกาบัญญัติ. คำว่า ขอพระองค์จงตรัสบอกปัญหานั้น แก่ข้าพระองค์ ความว่า ขอพระองค์ จงตรัสบอก ... ขอจงประกาศ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ ขอทูลถามปัญหานั้น. ขอพระองค์จงตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์. เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ถ้าชนเหล่านั้น ประกอบในการ บูชาด้วยยัญทั้งหลาย ไม่ข้ามพ้นชาติและชราไปได้. ข้าแต่ พระองค์ผู้นิรทุกข์ เมื่อเป็นดังนี้ ใครเล่าในเทวโลกและ มนุษยโลก ได้ข้ามพ้นชาติและชรา? ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น. ขอพระองค์จงตรัสบอก ปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์. [๑๔๒] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรปุณณกะ) เราย่อมกล่าวว่า ความหวั่นไหวในโลกไหนๆ มิได้มีแก่ พระอรหันตขีณาสพใด เพราะทราบฝั่งนี้และฝั่งโน้นในโลก พระอรหันตขีณาสพนั้น เป็นผู้สงบ ขจัดทุจริต เพียงดัง ว่าควัน ไม่มีทุกข์ ไม่มีความหวัง ได้ข้ามแล้ว ซึ่งชาติ และชรา. [๑๔๓] ญาณ ปัญญา ความรู้ทั่ว ฯลฯ ความไม่หลง ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ตรัสว่า สังขา ในอุเทศว่า "สงฺขาย โลกสฺมึ ปโรปรานิ". คำว่า ปโรปรานิ ความว่า มนุษยโลกตรัสว่าฝั่งนี้. เทวโลกตรัสว่าฝั่งโน้น. กามธาตุ ตรัสว่าฝั่งนี้. รูปธาตุและอรูปธาตุตรัสว่าฝั่งโน้น. กามธาตุ รูปธาตุ ตรัสว่าฝั่งนี้. อรูปธาตุตรัสว่า ฝั่งโน้น. คำว่า สงขาย โลกสฺมึ ปโรปรานิ ความว่า เพราะทราบ คือ รู้เทียบเคียง พิจารณา ให้แจ่มแจ้ง ทำให้ปรากฏ ซึ่งฝั่งนี้และฝั่งโน้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร ฯลฯ โดยไม่มีอุบายเครื่องสลัดออกได้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าเพราะ ทราบฝั่งโน้นและฝั่งนี้ในโลก. คำว่า ปุณฺณกาติ ภควา ความว่า พระผู้มีพระภาคย่อมตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อว่า ปุณณกะ. คำว่า ภควา นี้ เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ ฯลฯ คำว่า ภควา นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรปุณณกะ. [๑๔๔] คำว่า ยสฺส ในอุเทศว่า ยสฺสิญฺชิตํ นตฺถิ กุหิญฺจิ โลเก" ดังนี้ ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ. คำว่า อิญฺชิตํ คือความหวั่นไหวเพราะตัณหา ความหวั่นไหวเพราะทิฏฐิ ความหวั่นไหวเพราะกิเลส ความหวั่นไหวเพราะมานะ ความหวั่นไหวเพราะกรรม ความหวั่นไหว เหล่านั้นไม่มี คือ ไม่ปรากฏ ไม่ประจักษ์ แก่พระอรหันตขีณาสพใด คือ ความหวั่นไหว เหล่านี้ พระอรหันตขีณาสพใด ละได้แล้ว ตัดขาดแล้ว สงบแล้ว ระงับแล้ว ทำไม่ให้อาจ เกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ. คำว่า กุหิญฺจิ ความว่า ไหนๆ คือ แห่งไหน แห่งไร ภายใน หรือภายนอก หรือ ทั้งภายในภายนอก. คำว่า โลเก คือในอบายโลก ฯลฯ ในอายตนโลก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ความ หวั่นไหวในโลกไหนๆ มิได้มีแก่พระอรหันตขีณาสพใด. [๑๔๕] คำว่า สนฺโต ในอุเทศว่า "สนฺโต วิธูโม อนีโฆ นิราโส อตาริ โส ชาติชรนฺติ พฺรูมิ" ดังนี้ ความว่า ชื่อว่า สันตะ เพราะเป็นผู้มีราคะสงบ มีโทสะสงบ มี โมหะสงบ ชื่อว่าสงบแล้ว คือ เข้าไปสงบแล้ว ระงับแล้ว ดับแล้ว ระงับเฉพาะแล้ว เพราะ เป็นผู้สงบแล้ว ถึงความสงบแล้ว เข้าไปสงบแล้ว เผาแล้ว ดับแล้ว ปราศจากแล้ว ระงับ เฉพาะแล้วซึ่งความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่ ความตีเสมอ ความริษยา ความตระหนี่ ความลวง ความโอ้อวด ความกระด้าง ความแข่งดี ความเมา ความประมาท กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง ความเดือดร้อนทั้งปวง อกุสลา- *ภิสังขารทั้งปวง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าสงบ. คำว่า วิธูโม ความว่า กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต อันพระอรหันตขีณาสพขจัด แล้ว กำจัดแล้ว ให้เหือดแห้งแล้ว ทำให้สิ้นสุดแล้ว ราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ... ความประมาท กิเลสทั้งปวง ... อกุสลาภิสังขารทั้งปวง อันพระอรหันตขีณาสพขจัดแล้ว กำจัด แล้ว ให้เหือดแห้งแล้ว ทำให้สิ้นสุดแล้ว. อนึ่ง ความโกรธท่านกล่าวว่า เป็นดังควัน ดูกรพราหมณ์ ท่านมีมานะเปรียบเหมือนดังเครื่องหาบ มี ความโกรธเปรียบเหมือนควัน มีการพูดเท็จเปรียบเหมือนเถ้า มีลิ้นเปรียบเหมือนทัพพี หฤทัยของสัตว์ทั้งหลายเปรียบ เหมือนสถานที่บูชายัญของท่าน ตนที่ฝึกดีแล้ว เป็นกำเนิด ของบุรุษ. อนึ่ง ความโกรธย่อมเกิดด้วยอาการ ๑๐ อย่าง คือ ความโกรธเกิดด้วยผูกใจว่า คนโน้น ได้ประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เราแล้ว ๑ คนโน้นประพฤติอยู่ซึ่งสิ่งไม่เป็นประโยชน์ แก่เรา ๑ คนโน้นจักประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา ๑ คนโน้นได้ประพฤติแล้วซึ่งสิ่งที่ไม่ เป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา ๑ คนโน้นประพฤติอยู่ซึ่งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ แก่บุคคลผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา ๑ คนโน้นจักประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้เป็น ที่รักที่ชอบใจของเรา ๑ คนโน้นได้ประพฤติแล้วซึ่งประโยชน์แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจ ของเรา ๑ คนโน้นประพฤติอยู่ซึ่งประโยชน์แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา ๑ คนโน้นจะ ประพฤติซึ่งสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา ๑. อีกอย่างหนึ่ง ความ โกรธย่อมเกิดในฐานะอันไม่ควร ความปองร้าย ความมุ่งร้าย ความขัดเคือง ความโกรธตอบ ความเคือง ความเคืองทั่ว ความเคืองเสมอ ความชัง ความชังทั่ว ความชังเสมอ ความ พยาบาทแห่งจิต ความประทุษร้ายในใจ ความโกรธ กิริยาที่โกรธ ความเป็นผู้โกรธ ความชัง กิริยาที่ชัง ความเป็นผู้ชัง ความพยาบาท กิริยาที่พยาบาท ความเป็นผู้พยาบาท ความพิโรธ ความพิโรธตอบ ความเป็นผู้ดุร้าย ความเพาะวาจาชั่ว ความไม่พอใจของจิต นี้เรียกว่า ความโกรธ. อนึ่ง พึงทราบความโกรธมาก โกรธน้อย ความโกรธเป็นแต่เพียงทำจิตให้ขุ่นมัวใน บางครั้งก็มี แต่ยังไม่ถึงให้มีหน้าเง้าหน้างอ. ความโกรธเป็นแต่เพียงทำให้หน้าเง้าหน้างอ ใน บางครั้งก็มี แต่ไม่ถึงให้คางสั่น. ความโกรธเป็นแต่เพียงทำให้คางสั่นในบางครั้งก็มี แต่ยังไม่ ถึงเปล่งผรุสวาจา. ความโกรธเป็นแต่เพียงทำให้เปล่งผรุสวาจาในบางครั้งก็มี แต่ยังไม่ถึงให้ เหลียวดูทิศทางต่างๆ. ความโกรธเป็นแต่เพียงทำให้เหลียวดูทิศต่างๆ ในบางครั้งก็มี แต่ยังไม่ ถึงการจับท่อนไม้และศาตรา. ความโกรธเป็นแต่เพียงทำให้จับท่อนไม้และศาตราในบางครั้งก็มี แต่ยังไม่ถึงเงื้อท่อนไม้และศาตรา. ความโกรธเป็นแต่เพียงทำให้เงื้อท่อนไม้และศาตราในบางครั้ง ก็มี แต่ยังไม่ถึงตีฟัน. ความโกรธเป็นแต่เพียงทำให้ตีฟันในบางครั้งก็มี แต่ยังไม่ถึงฉีกขาดเป็น บาดแผล. ความโกรธเป็นแต่เพียงทำให้ถึงฉีกขาดเป็นบาดแผลในบางครั้งก็มี แต่ยังไม่ให้หัก ให้แหลก. ความโกรธเป็นแต่เพียงทำให้หักให้แหลกในบางครั้งก็มี แต่ยังไม่ให้อวัยวะน้อยใหญ่ เคลื่อนที่. ความโกรธเป็นแต่เพียงทำให้อวัยวะน้อยใหญ่เคลื่อนที่ในบางครั้งก็มี แต่ยังไม่ให้ชีวิต ดับ. ความโกรธเป็นแต่เพียงทำให้ชีวิตดับในบางครั้งก็มี แต่ยังไม่ถึงความสละบริจาคอวัยวะ ทั้งหมด. เมื่อใด ความโกรธให้ฆ่าบุคคลอื่นแล้วให้ฆ่าตน เมื่อนั้น ความโกรธถึงความเป็น ความโกรธแรงยิ่ง ถึงความเป็นความโกรธมากยิ่ง โดยอาการอย่างนี้ ความโกรธนั้น อันพระ- *อรหันตขีณาสพใด ละได้แล้ว ตัดขาดแล้ว สงบระงับแล้ว ทำไม่ให้อาจเกิดขึ้นอีก เผาเสีย แล้วด้วยไฟคือญาณ พระอรหันตขีณาสพนั้น เรียกว่าผู้กำจัดกิเลสเพียงดังควัน. พระอรหันต- *ขีณาสพชื่อว่า วิธูมะ เพราะเป็นผู้ละความโกรธ เพราะเป็นผู้กำหนดรู้วัตถุแห่งความโกรธ เพราะ เป็นผู้ตัดขาดซึ่งเหตุแห่งความโกรธ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า วิธูมะ. คำว่า อนีโฆ ความว่า ราคะเป็นทุกข์ โทสะเป็นทุกข์ โมหะเป็นทุกข์ ความโกรธ เป็นทุกข์ ความผูกโกรธเป็นทุกข์ ฯลฯ อกุสลาภิสังขารทั้งปวงเป็นทุกข์. ทุกข์เหล่านั้น อัน พระอรหันตขีณาสพใดละได้แล้ว ... เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ พระอรหันตขีณาสพนั้น เรียกว่า ผู้ไม่มีทุกข์. คำว่า ไม่มีความหวัง ความว่า ตัณหาเรียกว่าความหวัง ราคะ สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล เรียกว่าความหวัง. ตัณหาอันเป็นความหวังนั้น อันพระอรหันตขีณาสพใดละ ได้แล้ว เผาเสียได้แล้วด้วยไฟคือญาณ พระอรหันตขีณาสพนั้น เรียกว่า ผู้ไม่มีความหวัง. ความเกิด ความเกิดพร้อม ความก้าวลง ความบังเกิด ความเกิดเฉพาะ ความปรากฏ แห่งขันธ์ทั้งหลาย ความได้เฉพาะซึ่งอายตนะทั้งหลาย ในหมู่สัตว์นั้นๆ แห่งสัตว์เหล่านั้นๆ ชื่อว่า ชาติ. ความแก่ ความเสื่อม ความเป็นผู้มีฟันหัก ความเป็นผู้มีผมหงอก ความเป็นผู้มีหนังย่น ความเสื่อมอายุ ความแก่แห่งอินทรีย์ทั้งหลาย ในหมู่สัตว์นั้นๆ แห่งสัตว์เหล่านั้นๆ ชื่อว่า ชรา. คำว่า สนฺโต วิธูโม อนีโฆ นิราโส อตาริ โส ชาติ ชรนฺติ พฺรูมิ ความว่า เราย่อม กล่าว ... ย่อมประกาศว่า พระอรหันตขีณาสพใด เป็นผู้สงบ กำจัดกิเลสเพียงดังว่าควัน ไม่มี ทุกข์ และไม่มีความหวัง พระอรหันตขีณาสพนั้นข้ามได้แล้ว ข้ามขึ้นแล้ว ข้ามทั่วแล้ว ล่วงแล้ว เป็นไปล่วงแล้วซึ่งชาติ ชรา และมรณะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เราย่อมกล่าวว่า พระอรหันต- *ขีณาสพนั้น เป็นผู้สงบ กำจัดกิเลสเพียงดังว่าควัน ไม่มีทุกข์ ไม่มีความหวัง ข้ามได้แล้วซึ่ง ชาติและชรา. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า เราย่อมกล่าวว่า ความหวั่นไหวในโลกไหนๆ มิได้มีแก่ พระอรหันตขีณาสพใด เพราะทราบฝั่งนี้และฝั่งโน้นในโลก พระอรหันตขีณาสพนั้น เป็นผู้สงบ กำจัดกิเลสเพียงดังว่า ควัน ไม่มีทุกข์ ไม่มีความหวัง ได้ข้ามแล้วซึ่งชาติ และชรา. พร้อมด้วยเวลาจบคาถา ฯลฯ ท่านพระปุณณกะนั้น เป็นภิกษุครองผ้ากาสายะเป็นบริขาร ทรงสังฆาฏิ บาตร และจีวร นั่งประนมอัญชลีนมัสการพระผู้มีพระภาค ประกาศว่า ข้าแต่- *พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเป็นศาสดาของข้าพระองค์. ข้าพระองค์เป็นสาวก ฉะนี้แล.
จบ ปุณณกมาณวกปัญหานิทเทส ที่ ๓.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ บรรทัดที่ ๘๐๒-๑๒๗๕ หน้าที่ ๓๓ - ๕๑. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=30&A=802&Z=1275&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_item.php?item=122&book=30              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=30&siri=22              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=30&i=116              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_read.php?B=30&A=872              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_read.php?B=30&A=872              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_30

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]