ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฏก เล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๙ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
๑๔. ภูริปัญหาชาดก
ว่าด้วยคนไม่ดี ๔ จำพวก
[๑๔๖๓] ดูกรท่านผู้มีปัญญากว้างขวาง ได้ยินว่า คำที่ท่านอาจารย์เสนกะกล่าวนั้น เป็นความจริง ท่านเป็นผู้มีปัญญา มีศิริ มีความเพียร มีความคิดมั่นคง แม้ท่านเป็นผู้มีปัญญา มีศิริ มีความเพียร มีความคิดมั่นคงเช่นนั้น ก็ป้องกันความเข้าถึงอำนาจแห่งความฉิบหายไม่ได้ ท่านจึงต้องกินข้าว แดงไม่มีแกง. [๑๔๖๔] เราทำความสุขเดิมของเราให้เจริญได้ด้วยความยาก เมื่อพิจารณากาล อันควรและไม่ควร จึงหลบอยู่ตามความพอใจ เปิดช่องประโยชน์ให้แก่ตน ด้วยเหตุนั้น เราได้ยินดีด้วยข้าวแดง. [๑๔๖๕] ก็เรารู้จักกาลเพื่อกระทำความเพียร ยังประโยชน์ให้เจริญด้วยความรู้ของ ตนเอง อาจอยู่ เหมือนความองอาจแห่งราชสีห์ ฉะนั้น ท่านจักได้เห็น เราพร้อมด้วยความสำเร็จนั้นอีก. [๑๔๖๖] ก็บุคคลบางพวก แม้จะมีความสุขก็ไม่ทำบาป บุคคลอีกพวกหนึ่งไม่ ทำบาป เพราะเกรงกลัวต่อการเกี่ยวข้องด้วยความติเตียน ท่านเป็นคน สามารถ มีความคิดกว้างขวาง เหตุไร จึงไม่ทำทุกข์ให้เกิดแก่เรา? [๑๔๖๗] บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมไม่ประพฤติกรรมอันเป็นบาป เพราะเหตุแห่งความสุข ของตน ถูกทุกข์กระทบแล้ว แม้จะพลาดพลั้งลงไปก็สงบอยู่ได้ ไม่ ละทิ้งธรรมเพราะความรักและความชัง. [๑๔๖๘] บุคคลควรถอนตนผู้เข็ญใจขึ้น ด้วยเพศที่อ่อนแอหรือแข็งแรงอย่างใด อย่างหนึ่ง ภายหลังจึงประพฤติธรรม. [๑๔๖๙] บุคคลนอน หรือนั่งที่ร่มเงาแห่งต้นไม้ใด ไม่พึงหักรานกิ่งแห่งต้นไม้ นั้น เพราะบุคคลผู้ประทุษร้ายมิตรเป็นคนชั่วช้า. [๑๔๗๐] บุรุษรู้แจ้งธรรมแต่สำนักอาจารย์ใด อนึ่ง การที่สัตบุรุษทั้งหลาย กำจัด ความสงสัยของบุรุษนั้นนั่นและ ชื่อว่าเป็นดังเกาะหรือเป็นที่พึ่งพา ของ บุรุษนั้น คนมีปัญญาไม่พึงละมิตรภาพ กับอาจารย์เช่นนั้น. [๑๔๗๑] คฤหัสถ์ผู้บริโภคกามคุณ เป็นคนเกียจคร้าน ไม่ดี บรรพชิต ผู้ไม่สำรวม ระวัง ไม่ดี พระราชาไม่ทรงพิจารณาเสียก่อน แล้วประกอบราชกิจ ไม่ดี บัณฑิตมักโกรธ ก็ไม่ดี. [๑๔๗๒] ข้าแต่พระราชา กษัตริย์ควรพิจารณาก่อน แล้วจึงค่อยประกอบราชกิจ ไม่พิจารณาก่อนไม่ควรประกอบราชกิจ พระยศและพระเกียรติ ย่อม เจริญแก่พระราชาผู้ทรงพิจารณาเสียก่อน แล้วจึงประกอบราชกิจ.
จบ ภูริปัญหาชาดกที่ ๑๔.

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ บรรทัดที่ ๕๙๐๖-๕๙๓๘ หน้าที่ ๒๗๐ - ๒๗๑. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=27&A=5906&Z=5938&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_item.php?item=1470&book=27              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=27&siri=452              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=1463              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_read.php?B=27&A=6050              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_read.php?B=27&A=6050              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_27

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]