ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฏก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
สุภาษิตสูตรที่ ๓
[๓๕๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย วาจาอันประกอบด้วยองค์ ๔ เป็น วาจาสุภาษิต ไม่เป็นทุพภาษิต เป็นวาจาไม่มีโทษ และวิญญูชนไม่พึงติเตียน องค์ ๔ เป็นไฉน คือ ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมกล่าวแต่คำที่เป็นสุภาษิต ไม่กล่าว คำที่เป็นทุพภาษิต ๑ ย่อมกล่าวคำที่เป็นธรรม ไม่กล่าวคำที่ไม่เป็นธรรม ๑ ย่อมกล่าวแต่คำอันเป็นที่รัก ไม่กล่าวคำอันไม่เป็นที่รัก ๑ ย่อมกล่าวแต่คำสัตย์ ไม่กล่าวคำเหลาะแหละ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย วาจาอันประกอบด้วยองค์ ๔ นี้แล เป็นวาจาสุภาษิต ไม่เป็นทุพภาษิต เป็นวาจาไม่มีโทษ และวิญญูชนไม่พึง ติเตียน ฯ พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า สัตบุรุษทั้งหลาย ได้กล่าวคำอันเป็นสุภาษิตว่าเป็นคำสูงสุด บุคคลพึงกล่าวแต่คำที่เป็นธรรม ไม่พึงกล่าวคำที่ไม่เป็นธรรม ข้อนั้นเป็นที่ ๒ บุคคลพึงกล่าวคำอันเป็นที่รัก ไม่พึงกล่าว คำอันไม่เป็นที่รัก ข้อนั้นเป็น ที่ ๓ บุคคลพึงกล่าวคำสัตย์ ไม่พึงกล่าวคำเหลาะแหละ ข้อนั้นเป็นที่ ๔ ฯ [๓๕๗] ลำดับนั้นแล ท่านพระวังคีสะลุกจากอาสนะ ห่มจีวรเฉวียงบ่า ข้างหนึ่ง ประณมอัญชลีไปทางที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ แล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พระธรรมเทศนา ย่อมแจ่มแจ้งแก่ข้าพระองค์ ข้าแต่พระ สุคต พระธรรมเทศนาย่อมแจ่มแจ้งแก่ข้าพระองค์ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรวังคีสะ ธรรมเทศนาจงแจ่มแจ้งกะเธอเถิด ฯ ลำดับนั้นแล ท่านพระวังคีสะได้ชมเชยด้วยคาถาทั้งหลายอันสมควร ในที่เฉพาะพระพักตร์ว่า บุคคลพึงกล่าววาจาอันไม่เป็นเครื่องทำตนให้เดือดร้อน และ ไม่พึงเบียดเบียนผู้อื่น วาจานั้นเป็นสุภาษิตแท้ บุคคลพึง กล่าวแต่วาจาอันเป็นที่รัก อันชนชื่นชม ไม่ถือเอาคำอัน ลามก กล่าววาจาอันเป็นที่รักของผู้อื่น คำสัตย์แลเป็นวาจา ไม่ตาย ธรรมนี้เป็นของเก่า สัตบุรุษทั้งหลายตั้งมั่นแล้วใน คำสัตย์ที่เป็นอรรถและเป็นธรรม วาจาที่พระพุทธเจ้าตรัส เป็น วาจาเกษม เพื่อบรรลุนิพพาน เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดทุกข์ วาจานั้นแลเป็นวาจาสูงสุดกว่าวาจาทั้งหลาย ฯ
จบสุภาษิตสูตรที่ ๓

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๘๔๙๙-๘๕๓๔ หน้าที่ ๓๗๑ - ๓๗๒. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=8499&Z=8534&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_item.php?item=356&book=25              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=25&siri=256              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=356              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_read.php?B=25&A=8511              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_read.php?B=25&A=8511              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_25

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]