ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฏก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
สุตตนิบาต จูฬวรรคที่ ๒
รตนสูตรที่ ๑
[๓๑๔] ภูตเหล่าใดประชุมกันแล้ว ในประเทศนี้ก็ดี หรือภุมม- เทวดาเหล่าใดประชุมกันแล้ว ในอากาศก็ดี ขอหมู่ภูต ทั้งปวงจงเป็นผู้มีใจดี และขอจงฟังภาษิตโดยเคารพ ดูกร ภูตทั้งปวง เพราะเหตุนั้นแล ท่านทั้งหลายจงตั้งใจฟัง ขอ จงแผ่เมตตาจิตในหมู่มนุษย์ มนุษย์เหล่าใดนำพลีกรรมไป ทั้งกลางคืนกลางวัน เพราะเหตุนั้นแล ท่านทั้งหลายจง เป็นผู้ไม่ประมาท รักษามนุษย์เหล่านั้น ทรัพย์เครื่องปลื้มใจ อย่างใดอย่างหนึ่งในโลกนี้หรือในโลกอื่น หรือรัตนะใดอัน ประณีตในสวรรค์ ทรัพย์และรัตนะนั้นเสมอด้วยพระตถาคต ไม่มีเลย พุทธรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยสัจจะ- วาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้ พระศากย- มุนีผู้มีพระหฤทัยดำรงมั่น ได้บรรลุธรรมใดอันเป็นที่สิ้น กิเลส เป็นที่สำรอกกิเลส เป็นอมฤตธรรมอันประณีต ธรรมชาติอะไรๆ อันสมควรด้วยพระธรรมนั้นย่อมไม่มี ธรรมรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยสัจจวาจานี้ขอ ความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้ พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ทรงสรรเสริญแล้วซึ่งสมาธิใด ว่าเป็นธรรมอันสะอาด บัณฑิตทั้งหลายกล่าวสมาธิใด ว่าให้ผลในลำดับสมาธิอื่น เสมอด้วยสมาธินั้นย่อมไม่มี ธรรมรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอัน ประณีต ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดี จงมีแก่สัตว์ เหล่านี้ บุคคล ๘ จำพวก ๔ คู่ อันสัตบุรุษทั้งหลาย สรรเสริญแล้ว บุคคลเหล่านั้นควรแก่ทักษิณาทาน เป็น สาวกของพระสุคต ทานที่บุคคลถวายแล้วในท่านเหล่านั้น ย่อมมีผลมาก สังฆรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วย สัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้ พระอริย บุคคลเหล่าใดในศาสนาของพระโคดม ประกอบด้วยดีแล้ว (ด้วยกายประโยคและวจีประโยคอันบริสุทธิ์) มีใจมั่นคง เป็นผู้ไม่มีความห่วงใย (ในกายและชีวิต) พระอริยบุคคล เหล่านั้น บรรลุอรหัตผลที่ควรบรรลุหยั่งลงสู่อมตนิพพาน ได้ซึ่งความดับกิเลส โดยเปล่าเสวยผลอยู่ สังฆรัตนะแม้ นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดี จงมีแก่สัตว์เหล่านี้ เสาเขื่อนที่ฝังลงดิน ไม่หวั่นไหว เพราะลมทั้งสี่ทิศ ฉันใด ผู้ใดพิจารณาเห็นอริยสัจทั้งหลาย เราเรียกผู้นั้นว่าเป็นสัตบุรุษ ผู้ไม่หวั่นไหวเพราะโลกธรรม มีอุปมาฉันนั้น สังฆรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วย สัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้ พระอริย- บุคคลเหล่าใด ทำให้แจ้งซึ่งอริยสัจทั้งหลาย อันพระ- ศาสดาทรงแสดงดีแล้ว ด้วยปัญญาอันลึกซึ้ง พระอริย- บุคคลเหล่านั้น ยังเป็นผู้ประมาทอย่างแรงกล้าอยู่ก็จริง ถึงกระนั้นท่านย่อมไม่ยึดถือเอาภพที่ ๘ สังฆรัตนะแม้นี้เป็น รัตนะอันประณีต ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมี แก่สัตว์เหล่านี้ สักกายทิฐิและวิจิกิจฉา หรือแม้สีลัพพต- ปรามาส อันใดอันหนึ่งยังมีอยู่ ธรรมเหล่านั้นอันพระ- อริยบุคคลนั้นละได้แล้ว พร้อมด้วยความถึงพร้อมแห่งการ เห็น (นิพพาน) ทีเดียว อนึ่งพระอริยบุคคลเป็นผู้พ้นแล้ว จากอบายทั้ง ๔ ทั้งไม่ควรเพื่อทำอภิฐานทั้ง ๖ (คือ อนันตริยกรรม ๕ และการเข้ารีต) สังฆรัตนะแม้นี้ เป็นรัตนะ อันประณีต ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์ เหล่านี้ พระอริยบุคคลนั้น ยังทำบาปกรรมด้วยกาย ด้วยวาจา หรือด้วยใจก็จริง ถึงกระนั้น ท่านก็ไม่ควรเพื่อจะ ปกปิดบาปกรรมอันนั้น ความที่บุคคลผู้มีธรรมเครื่อง นิพพานอันตนเห็นแล้ว เป็นผู้ไม่ควรเพื่อปกปิดบาปกรรมนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว สังฆรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอัน ประณีต ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์ เหล่านี้ พุ่มไม้ในป่ามียอดอันบานแล้วในเดือนต้นใน คิมหันตฤดู ฉันใด พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงธรรมอัน ประเสริฐยิ่ง เป็นเครื่องให้ถึงนิพพาน เพื่อประโยชน์ เกื้อกูล มีอุปมาฉันนั้น พุทธรัตนะแม้นี้ เป็นรัตนะอัน ประณีต ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์ เหล่านี้ พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ทรงทราบธรรมอัน ประเสริฐ ทรงประทานธรรมอันประเสริฐ ทรงนำมา ซึ่งธรรมอันประเสริฐ ไม่มีผู้ยิ่งไปกว่า ได้ทรงแสดง ธรรมอันประเสริฐ พุทธรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้ พระ- อริยบุคคลเหล่าใด ผู้มีจิตอันหน่ายแล้วในภพต่อไป มีกรรม เก่าสิ้นแล้ว ไม่มีกรรมใหม่เครื่องสมภพ พระอริย- บุคคลเหล่านั้นมีพืชอันสิ้นแล้ว มีความพอใจไม่งอกงาม แล้ว เป็นนักปราชญ์ย่อมนิพพาน เหมือนประทีปอัน ดับไปฉะนั้น สังฆรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วย สัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้ ภูตเหล่า ใดประชุมกันแล้วในประเทศนี้ก็ดี หรือภุมมเทวดาเหล่า ใดประชุมกันแล้วในอากาศก็ดี เราทั้งหลายจงนมัสการ พระพุทธเจ้าผู้ไปแล้วอย่างนั้น ผู้อันเทวดาและมนุษย์ทั้ง หลายบูชาแล้ว ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้ ภูต เหล่าใดประชุมกันแล้วในประเทศนี้ก็ดี หรือภุมมเทวดา เหล่าใด ประชุมกันแล้วในอากาศก็ดี เราทั้งหลาย จงนมัสการพระธรรมอันไปแล้วอย่างนั้น อันเทวดาและ มนุษย์ทั้งหลายบูชาแล้ว ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้ ภูตเหล่าใดประชุมกันแล้วในประเทศนี้ก็ดี หรือภุมมเทวดา เหล่าใดประชุมกันแล้วในอากาศก็ดี เราทั้งหลายจงนมัสการ พระสงฆ์ผู้ไปแล้วอย่างนั้น ผู้อันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย บูชาแล้ว ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้ ฯ
จบรัตนสูตรที่ ๑

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๗๖๖๒-๗๗๔๖ หน้าที่ ๓๓๖ - ๓๓๙. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=7662&Z=7746&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_item.php?item=314&book=25              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=25&siri=240              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=314              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_read.php?B=25&A=7618              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_read.php?B=25&A=7618              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_25

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]