ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฏก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
วชิรสูตร
[๔๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ๓ จำพวกเป็นไฉน คือ บุคคลที่มีจิตเหมือนแผลเก่า ๑ บุคคลที่มีจิตเหมือนฟ้า แลบ ๑ บุคคลที่มีจิตเหมือนเพชร ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลที่มีจิตเหมือน แผลเก่าเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้โกรธ มากด้วยความแค้นใจ เมื่อถูกเขาว่าแม้เล็กน้อยก็ข้องใจ โกรธเคือง พยาบาท ขึ้งเคียด ทำความโกรธ ความขัดเคือง และความโทมนัสให้ปรากฏ แผลเก่าถูกไม้หรือกระเบื้องกระทบ เข้า ย่อมให้ความหมักหมมมากกว่าประมาณ แม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้โกรธ มากด้วยความแค้นใจ เมื่อถูกเขาว่าแม้เล็กน้อย ก็ข้องใจ โกรธเคือง พยาบาท ขึ้งเคียด ทำความโกรธ ความขัดเคือง และ ความโทมนัสให้ปรากฏ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เรียกว่าบุคคลมีจิตเหมือนแผล เก่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลมีจิตเหมือนฟ้าแลบเป็นไฉน บุคคลบางคนใน โลกนี้ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา บุรุษผู้มีจักษุเห็นรูปในขณะฟ้าแลบ ในเวลากลางคืนซึ่ง มืดมิด ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมรู้ชัดตามความ เป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เรียกว่าบุคคลผู้มีจิตเหมือนฟ้าแลบ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลที่มีจิตเหมือนเพชรเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ แก้วมณีหรือว่าหินชนิดใดที่เพชรจะทำลายไม่ได้ ไม่มี แม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เรียกว่าบุคคลมีจิตเหมือนเพชร ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ
จบสูตรที่ ๕

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๓๒๔๔-๓๒๖๘ หน้าที่ ๑๔๐ - ๑๔๑. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=3244&Z=3268&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_item.php?item=464&book=20              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=20&siri=69              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=464              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_read.php?B=20&A=3206              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_read.php?B=20&A=3206              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_20

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]