ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฏก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
รัชชสูตรที่ ๑๐
[๔๗๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กระท่อมอันตั้งอยู่ใน ป่า ในประเทศหิมวันต์ แคว้นโกศล ฯ ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคประทับทรงพักผ่อนอยู่ในที่ลับได้ทรงปริวิตก ว่า เราจะสามารถเสวยรัชสมบัติโดยธรรม โดยที่ไม่เบียดเบียนเอง ไม่ใช่ให้ผู้อื่น เบียดเบียน ไม่ทำผู้อื่นให้เสื่อมเอง ไม่ใช้ให้เขาทำผู้อื่นให้เสื่อม ไม่เศร้าโศกเอง ไม่ทำให้ผู้อื่นเศร้าโศกได้หรือไม่ ฯ [๔๗๖] ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาปทราบความปริวิตกแห่งพระหฤทัยของ- *พระผู้มีพระภาคด้วยจิตแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วจึง กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงเสวยรัชสมบัติเถิด พระเจ้าข้า ขอพระสุคตจงเสวยรัชสมบัติโดยธรรม โดยที่ไม่เบียดเบียนเอง ไม่ใช้ให้ผู้อื่น เบียดเบียน ไม่ทำให้ผู้อื่นเสื่อมเอง ไม่ใช้ให้เขาทำคนอื่นให้เสื่อม ไม่เศร้าโศก เอง ไม่ทำให้ผู้อื่นเศร้าโศก ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรมารผู้มีบาป ท่านเห็นอะไรของเรา ทำไมจึงได้ พูดกะเราอย่างนี้ว่า ขอพระผู้มีพระภาคจงเสวยรัชสมบัติเถิด พระเจ้าข้า ขอพระ สุคตจงเสวยรัชสมบัติโดยธรรม โดยที่ไม่เบียดเบียนเอง ไม่ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน ไม่ทำให้ผู้อื่นเสื่อมเอง ไม่ใช้ให้เขาทำผู้อื่นให้เสื่อม ไม่เศร้าโศกเอง ไม่ทำให้ผู้อื่น เศร้าโศก ฯ มารกราบทูลว่า พระเจ้าข้า อิทธิบาททั้ง ๔ พระองค์ทรงบำเพ็ญให้เจริญ กระทำให้มาก กระทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นวัตถุที่ตั้ง กระทำไม่หยุด สั่งสม ปรารภด้วยดีแล้ว พระเจ้าข้า ก็เมื่อพระองค์ทรงพระประสงค์ ทรงอธิษฐานภูเขา หลวงชื่อหิมพานต์ให้เป็นทองคำล้วน ภูเขานั้นก็พึงเป็นทองคำล้วน ฯ [๔๗๗] พระผู้มีพระภาคตรัสกะมารด้วยพระคาถาว่า ภูเขาทองคำล้วนมีสีสุก ถึงสองเท่าก็ยังไม่พอแก่บุคคลคน หนึ่ง บุคคลทราบดังนี้แล้ว พึงประพฤติสงบ ผู้ใดได้เห็น ทุกข์มีกามเป็นเหตุแล้วไฉนผู้นั้นจะพึงน้อมใจไปในกามเล่า บุคคลทราบอุปธิว่า เป็นเครื่องข้องในโลกแล้ว พึงศึกษาเพื่อ กำจัดอุปธินั้นเสีย ฯ ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์ เสียใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงรู้จักเรา พระสุคตทรงรู้จักเรา ดังนี้ จึงได้หายไปในที่นั้นนั่นเอง ฯ
จบวรรคที่ ๒
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรในวรรคที่ ๒ นี้มี ๑๐ สูตร คือ
ปาสาณสูตรที่ ๑ สีหสูตรที่ ๒ สกลิกสูตรที่ ๓ ปฏิรูปสูตรที่ ๔ มานส สูตรที่ ๕ ปัตตสูตรที่ ๑ อายตนสูตรที่ ๗ ปิณฑิกสูตรที่ ๘ กัสสกสูตรที่ ๙ กับรัชชสูตร ครบ ๑๐ ฯ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ บรรทัดที่ ๓๗๖๒-๓๗๙๘ หน้าที่ ๑๖๔ - ๑๖๕. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=15&A=3762&Z=3798&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_item.php?item=477&book=15              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=15&siri=156              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=475              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_read.php?B=15&A=3297              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_read.php?B=15&A=3297              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_15

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]