ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค

หน้าที่ ๕๘-๕๙.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๒. สามัญญผลสูตร]

                                                                 ลัทธิของครูนิครนถ์ นาฏบุตร

สภาวะ ๗ กองนั้นคืออะไรบ้าง คือ กองแห่งธาตุดิน กองแห่งธาตุน้ำ กองแห่งธาตุไฟ กองแห่งธาตุลม กองสุข กองทุกข์ กองชีวะ สภาวะ ๗ กองเหล่านี้ ไม่มีผู้สร้าง ไม่มี ผู้บันดาล ไม่มีผู้เนรมิต ไม่มีผู้ให้เนรมิต ยั่งยืน มั่นคงดุจยอดภูเขา ดุจเสาระเนียด ไม่หวั่นไหว ไม่ผันแปร ไม่กระทบกระทั่งกัน ไม่ก่อให้เกิดสุขหรือทุกข์ หรือทั้งสุขและ ทุกข์แก่กันและกัน ในสภาวะ ๗ กองนั้น ไม่มีผู้ฆ่า ไม่มีผู้ใช้ให้คนอื่นฆ่า ไม่มีผู้ฟัง ไม่ มีผู้ใช้ให้คนอื่นฟัง ไม่มีผู้รู้ ไม่มีผู้ทำให้คนอื่นรู้ ใครก็ตามแม้จะเอาศัสตราคม ตัดศีรษะใคร ก็ไม่ชื่อว่าปลงชีวิตใครได้ เพราะเป็นเพียงศัสตราแทรกผ่านไประหว่าง สภาวะ ๗ กองเท่านั้นเอง’ [๑๗๕] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันถามถึงผลแห่งความเป็นสมณะที่เห็น ประจักษ์ แต่ครูปกุธะ กัจจายนะ กลับตอบเรื่องความขาดสูญ เปรียบเหมือนเขาถาม เรื่องมะม่วงกลับตอบเรื่องขนุนสำปะลอ หรือเขาถามเรื่องขนุนสำปะลอกลับตอบ เรื่องมะม่วง หม่อมฉันจึงคิดว่า คนระดับเราจะรุกรานสมณพราหมณ์ผู้อยู่ใน ราชอาณาเขตได้อย่างไรกัน หม่อมฉันจึงไม่ชื่นชมไม่ตำหนิคำกล่าวของครูปกุธะ กัจจายนะ ถึงไม่ชื่นชมไม่ตำหนิ แต่ก็ไม่พอใจ และไม่เปล่งวาจาแสดงความไม่พอใจ ออกมา เมื่อไม่ยึดถือ ไม่ใส่ใจคำกล่าวนั้น ก็ได้ลุกจากที่นั่งจากไป
ลัทธิของครูนิครนถ์ นาฏบุตร
อัตตกิลมถานุโยค = ลัทธิที่ถือว่าการทรมานตนเองเป็นการเผากิเลส
[๑๗๖] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คราวหนึ่งในกรุงราชคฤห์นี้ หม่อมฉันเข้าไป หาครูนิครนถ์ นาฏบุตร ถึงที่อยู่ เจรจาปราศรัยกันพอคุ้นเคยดี ได้นั่งลงถามครู นิครนถ์ นาฏบุตร ว่า ‘ท่านอัคคิเวสสนะ อาชีพที่อาศัยศิลปะมากมายเหล่านี้ คือ ฯลฯ๑- ท่านอัคคิเวสสนะจะบัญญัติผลแห่งความเป็นสมณะที่เห็นประจักษ์ในปัจจุบัน ได้เช่นนั้นบ้างหรือไม่’ [๑๗๗] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อหม่อมฉันถามอย่างนี้ ครูนิครนถ์ นาฏบุตร ตอบว่า ‘มหาบพิตร นิครนถ์ในโลกนี้สำรวมด้วยการสังวร ๔ อย่าง คือ ๑. เว้น @เชิงอรรถ : @ ความเต็มเหมือนในข้อ ๑๖๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๕๘}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๒. สามัญญผลสูตร]

                                                                 ลัทธิของครูสัญชัยเวลัฏฐบุตร

น้ำดิบทุกอย่าง ๒. ประกอบกิจที่เว้นจากบาปทุกอย่าง ๓. ล้างบาปทุกอย่าง ๔. รับสัมผัสทุกอย่างโดยไม่ให้เกิดบาป นิครนถ์สำรวมด้วยการสังวร ๔ อย่างนี้ ดังนั้นบัณฑิตจึงเรียกว่า ผู้ถึงที่สุดแล้ว สำรวมแล้ว ตั้งมั่นแล้ว’ [๑๗๘] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันถามถึงผลแห่งความเป็นสมณะที่เห็น ประจักษ์ แต่ครูนิครนถ์ นาฏบุตร กลับตอบเรื่องความสังวร ๔ อย่าง เปรียบเหมือน เขาถามเรื่องมะม่วงกลับตอบเรื่องขนุนสำปะลอ หรือเขาถามเรื่องขนุนสำปะลอกลับ ตอบเรื่องมะม่วง หม่อมฉันจึงคิดว่า คนระดับเราจะรุกรานสมณพราหมณ์ผู้อยู่ใน ราชอาณาเขตได้อย่างไรกัน หม่อมฉันจึงไม่ชื่นชมไม่ตำหนิคำกล่าวของครูนิครนถ์ นาฏบุตร ถึงไม่ชื่นชมไม่ตำหนิ แต่ก็ไม่พอใจ และไม่เปล่งวาจาแสดงความไม่พอใจ ออกมา เมื่อไม่ยึดถือ ไม่ใส่ใจคำกล่าวนั้น ก็ได้ลุกจากที่นั่งจากไป
ลัทธิของครูสัญชัย เวลัฏฐบุตร
อมราวิกเขปวาทะ = ลัทธิที่หลบเลี่ยงไม่แน่นอน
[๑๗๙] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คราวหนึ่งในกรุงราชคฤห์นี้ หม่อมฉันเข้าไป หาครูสัญชัย เวลัฏฐบุตร ถึงที่อยู่ เจรจาปราศรัยกันพอคุ้นเคยดี ได้นั่งลงถามครูสัญชัย เวลัฏฐบุตร ว่า ‘ท่านสัญชัย อาชีพที่อาศัยศิลปะมากมายเหล่านี้ คือ ฯลฯ๑- ท่านสัญชัยจะบัญญัติผลแห่งความเป็นสมณะที่เห็นประจักษ์ในปัจจุบันได้เช่นนั้นบ้าง หรือไม่’ [๑๘๐] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อหม่อมฉันถามอย่างนี้ ครูสัญชัย เวลัฏฐบุตร ตอบว่า ‘ถ้ามหาบพิตรตรัสถามอาตมภาพว่า โลกหน้ามีจริงหรือ หากอาตมภาพมี ความเห็นว่ามีจริง ก็จะทูลตอบว่ามีจริง แต่อาตมภาพมีความเห็นว่า อย่างนี้ก็มิใช่ อย่างนั้นก็มิใช่ อย่างอื่นก็มิใช่ จะว่าไม่ใช่ก็มิใช่ จะว่ามิใช่ไม่ใช่ก็มิใช่ ถ้ามหาบพิตร ตรัสถามอาตมภาพว่า โลกหน้าไม่มีหรือ ฯลฯ โลกหน้ามีและไม่มีหรือ ฯลฯ โลก หน้าจะว่ามีก็มิใช่ จะว่าไม่มีก็มิใช่หรือ ฯลฯ สัตว์ที่ผุดเกิดมีจริงหรือ ฯลฯ สัตว์ที่ผุด เกิดไม่มีหรือ ฯลฯ สัตว์ที่ผุดเกิดมีและไม่มีหรือ ฯลฯ สัตว์ที่ผุดเกิดจะว่ามีก็มิใช่ จะว่าไม่มีก็มิใช่หรือ ฯลฯ ผลวิบากแห่งกรรมดีกรรมชั่วมีจริงหรือ ฯลฯ ผลวิบาก @เชิงอรรถ : @ ความเต็มเหมือนในข้อ ๑๖๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๕๙}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๙ หน้าที่ ๕๘-๕๙. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=9&page=58&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=9&A=1714 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=9&A=1714#p58 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 9 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_9 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu9 https://84000.org/tipitaka/english/?index_9



จบการแสดงผล หน้าที่ ๕๘-๕๙.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]