ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค

หน้าที่ ๓.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑. พรหมชาลสูตร]

                                                                 จูฬศีล

พวกภิกษุกราบทูลว่า “รู้ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “คำติเตียนนั้น ถ้าเป็นเรื่องไม่จริง พวกเธอควรชี้แจงให้ เห็นชัดว่า ‘เรื่องนี้เป็นเรื่องไม่จริง ไม่ถูกต้อง ไม่มี และไม่ปรากฏในพวกเรา’ [๖] ภิกษุทั้งหลาย ถึงคนพวกอื่นจะพึงกล่าวยกย่องเรา กล่าวยกย่องพระธรรม หรือกล่าวยกย่องพระสงฆ์ก็ตาม พวกเธอไม่ควรทำความรื่นเริงดีใจหรือกระหยิ่มใจ ต่อคนพวกนั้น ถ้าพวกเธอทำความรื่นเริงดีใจหรือกระหยิ่มใจต่อพวกเขา พวกเธอ ก็จะประสบอันตรายเพราะความรื่นเริงดีใจนั้นได้เช่นกัน คำยกย่องนั้น ถ้าเป็นเรื่อง จริง พวกเธอควรยืนยันให้เขารู้ชัดลงไปว่า ‘เรื่องนี้เป็นเรื่องจริง ถูกต้อง มีอยู่ และปรากฏในพวกเรา’
จูฬศีล
[๗] ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชน๑- เมื่อกล่าวยกย่องตถาคต ก็พึงกล่าวด้วยเรื่อง เล็กน้อย ต่ำต้อยเพียงเรื่องระดับศีลเท่านั้น คือ [๘] ปุถุชนเมื่อกล่าวยกย่องตถาคต ก็จะพึงกล่าวว่า ๑. พระสมณโคดมทรงละทรงเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑาวุธและ ศัสตราวุธ มีความละอาย มีความเอ็นดู มุ่งหวังประโยชน์เกื้อกูลต่อ สรรพสัตว์อยู่ ๒. พระสมณโคดมทรงละทรงเว้นขาดจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขา ไม่ได้ให้ รับเอาแต่ของที่เขาให้ มุ่งหวังแต่ของที่เขาให้ ไม่ทรงเป็นขโมย เป็นคนสะอาดอยู่ ๓. พระสมณโคดมทรงละพฤติกรรมอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ ประพฤติ พรหมจรรย์๒- เว้นห่างไกลจากเมถุนธรรม๓- อันเป็นกิจของชาวบ้าน @เชิงอรรถ : @ คนที่ยังมีกิเลสหนา ที่เรียกเช่นนี้ เพราะบุคคลประเภทนี้ยังมีเหตุก่อให้เกิดกิเลสอย่างหนานานัปการ @ปุถุชนมี ๒ ประเภท คือ อันธปุถุชน คนที่ไม่ได้รับการศึกษาอบรมทางจิต และกัลยาณปุถุชน คนที่ได้ @รับการศึกษาอบรมทางจิตแล้ว (ที.สี.อ. ๗/๕๘-๕๙) @ พรหมจรรย์มีความหมายหลายนัย ในที่นี้หมายถึงเมถุนวิรัติ หรือการงดเว้นจากเมถุนธรรม @(ที.สี.อ. ๑๘๙/๑๖๐) @ กิจของคนคู่ หมายถึงการร่วมประเวณีหรือการเสพสังวาสกัน (ที.สี.อ. ๘/๗๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๓}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๙ หน้าที่ ๓. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=9&page=3&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=9&A=59 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=9&A=59#p3 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 9 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_9 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu9 https://84000.org/tipitaka/english/?index_9



จบการแสดงผล หน้าที่ ๓.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]