ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค

หน้าที่ ๒๑๕-๒๑๖.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑๑. เกวัฏฏสูตร]

                                                                 ปาฏิหารย์ ๓ อย่าง ๒.อาเทสนาปาฏิหารย์

คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้ เพราะมีวิชานั้น’ เกวัฏฏะ ท่านเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร ผู้ที่ยังไม่มีศรัทธายังไม่เลื่อมใสจะพูด กับผู้ที่มีศรัทธาเลื่อมใสอย่างนั้นหรือไม่” เขากราบทูลว่า “ต้องพูดแน่ พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เกวัฏฏะ เราเล็งเห็นโทษในอิทธิปาฏิหาริย์อย่างนี้ จึงเหนื่อยหน่าย ระอา รังเกียจเรื่องอิทธิปาฏิหาริย์
๒. อาเทสนาปาฏิหาริย์
[๔๘๕] เกวัฏฏะ ก็อาเทสนาปาฏิหาริย์เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ทายจิต ทายเจตสิก ทายความวิตกวิจารของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นได้ว่า จิตของท่าน เป็นอย่างนี้ เป็นไปโดยอาการอย่างนี้ เป็นดังนี้ เพราะเหตุนั้น ผู้ใดผู้หนึ่งที่มีศรัทธาเลื่อมใสเห็นภิกษุนั้นทายจิต ทายเจตสิก ทายความวิตกวิจารของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นได้ว่า จิตของท่านเป็นอย่างนี้ เป็นไป โดยอาการอย่างนี้ เป็นดังนี้ ผู้นั้นจะบอกแก่บุคคลผู้ที่ยังไม่มีศรัทธายังไม่เลื่อมใสว่า ‘น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ สมณะมีฤทธิ์มากมีอานุภาพมากเหลือเกิน ข้าพเจ้า เพิ่งเคยเห็นท่านนี้ที่ทายจิต ทายเจตสิก ทายความวิตกวิจารของสัตว์อื่นของบุคคล อื่นได้ว่า จิตของท่านเป็นอย่างนี้ เป็นไปโดยอาการอย่างนี้ เป็นดังนี้’ เมื่อเป็นเช่นนั้น ผู้ที่ยังไม่มีศรัทธายังไม่เลื่อมใสจะพูดกับผู้มีศรัทธาเลื่อมใสว่า ‘ท่าน มีวิชาประเภทหนึ่งเรียกว่ามณิกา๑- ภิกษุรูปนั้นทายจิต ทายเจตสิก ทายความ วิตกวิจารของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นได้ว่า จิตของท่านเป็นอย่างนี้ เป็นไปโดยอาการ อย่างนี้ เป็นดังนี้ เพราะมีวิชานั้น’ @เชิงอรรถ : @ วิชามณิกา ได้แก่ วิชาจินดามณี ผู้รู้วิชาจินดามณี สามารถรู้ใจคนอื่นได้ (ที.สี.อ. ๔๘๕/๓๒๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๒๑๕}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑๑. เกวัฏฏสูตร]

                                                                 เรื่องภิกษุแสวงหาความดับของมหาภูตรูป

เกวัฏฏะ ท่านเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร ผู้ที่ยังไม่ศรัทธายังไม่เลื่อมใสจะพูดกับ ผู้ที่มีศรัทธาเลื่อมใสอย่างนั้นหรือไม่” เขากราบทูลว่า “ต้องพูดแน่ พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เราเล็งเห็นโทษในอาเทสนาปาฏิหาริย์อย่างนี้ จึง เหนื่อยหน่าย ระอา รังเกียจเรื่องอาเทสนาปาฏิหาริย์
๓. อนุสาสนีปาฏิหาริย์
[๔๘๖] เกวัฏฏะ ก็อนุสาสนีปาฏิหาริย์เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพร่ำสอนอย่างนี้ว่า ‘ท่านจงตรึกตรองอย่างนี้ อย่าตรึกตรองอย่างนั้น จงใส่ใจ อย่างนี้ อย่าใส่ใจอย่างนั้น จงละสิ่งนี้จงเข้าถึงสิ่งนี้อยู่เถิด’ นี้จัดเป็นอนุสาสนี- ปาฏิหาริย์อย่างหนึ่ง ยังมีอีก เกวัฏฏะ ตถาคตอุบัติขึ้นมาในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยตนเอง โดยชอบ ฯลฯ๑- (พึงนำข้อความเต็มในสามัญญผลสูตรมาใส่ไว้ในที่นี้) ภิกษุชื่อว่า สมบูรณ์ด้วยศีลเป็นอย่างนี้แล ฯลฯ บรรลุปฐมฌานอยู่ นี้จัดเป็นอนุสาสนีปาฏิหาริย์ อย่างหนึ่ง ฯลฯ บรรลุทุติยฌานอยู่ บรรลุตติยฌานอยู่ บรรลุจตุตถฌานอยู่ ฯลฯ น้อม จิตไปเพื่อญาณทัสสนะ ฯลฯ นี้จัดเป็นอนุสาสนีปาฏิหาริย์อย่างหนึ่ง ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป นี้จัดเป็นอนุสาสนีปาฏิหาริย์อย่างหนึ่ง เกวัฏฏะ เราทำให้แจ้งปาฏิหาริย์ ๓ อย่างนี้ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วจึง ประกาศให้รู้กัน
เรื่องภิกษุแสวงหาความดับของมหาภูตรูป
[๔๘๗] เกวัฏฏะ เรื่องเคยมีมาแล้ว ภิกษุรูปหนึ่งในหมู่ภิกษุเกิดความคิดคำนึง ว่า มหาภูตรูป ๔ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ย่อมดับสนิทที่ ไหนหนอ @เชิงอรรถ : @ ความเต็มเหมือนในสามัญญผลสูตร ข้อ ๑๙๔-๒๑๒ และควรดูเทียบจนถึงข้อ ๒๔๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๒๑๖}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๙ หน้าที่ ๒๑๕-๒๑๖. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=9&page=215&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=9&A=6337 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=9&A=6337#p215 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 9 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_9 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu9 https://84000.org/tipitaka/english/?index_9



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๑๕-๒๑๖.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]