ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค

หน้าที่ ๒๑๔-๒๑๕.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑๑. เกวัฏฏสูตร]

                                                                 ปาฏิหารย์ ๓ อย่าง ๑.อิทธิปาฏิหาริย์

แม้ครั้งที่ ๓ บุตรคหบดีชื่อเกวัฏฏะก็กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้า พระองค์ไม่ได้คาดคั้นพระผู้มีพระภาคเลย ฯลฯ พากันเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาค มากขึ้นสุดจะประมาณ”
ปาฏิหาริย์ ๓ อย่าง
[๔๘๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เกวัฏฏะ เราทำให้แจ้งปาฏิหาริย์ ๓ อย่างนี้ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วจึงได้ประกาศให้รู้กัน ปาฏิหาริย์ ๓ อย่างคืออะไรบ้าง คือ อิทธิปาฏิหาริย์ อาเทสนาปาฏิหาริย์ และอนุสาสนีปาฏิหาริย์
๑. อิทธิปาฏิหาริย์
[๔๘๔] เกวัฏฏะ ก็อิทธิปาฏิหาริย์เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคน เดียวก็ได้ แสดงให้ปรากฏหรือให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา กำแพง(และ)ภูเขาไปได ้ไม่ติด ขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นหรือดำลงในแผ่นดินเหมือนไปในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำ โดยที่น้ำไม่แยกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ นั่งขัดสมาธิเหาะไปในอากาศเหมือนนก บินไปก็ได้ ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์ดวงอาทิตย์อันมีฤทธิ์มากมีอานุภาพมากก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้ เพราะเหตุนั้น ผู้ใดผู้หนึ่งที่มีศรัทธาเลื่อมใสเห็นภิกษุนั้นแสดงฤทธิ์ได้หลาย อย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึง พรหมโลกก็ได้ ผู้นั้นจะบอกแก่บุคคลผู้ที่ยังไม่มีศรัทธายังไม่เลื่อมใสว่า ‘น่าอัศจรรย์ จริง ไม่เคยปรากฏ สมณะมีฤทธิ์มากมีอานุภาพมากเหลือเกิน ข้าพเจ้าเพิ่งเคยเห็น ท่านนี้ที่แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้ ฯลฯ ใช้ อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้’ เมื่อเป็นเช่นนั้น ผู้ที่ยังไม่มีศรัทธายังไม่เลื่อมใสจะพูดกับผู้ที่มีศรัทธาเลื่อมใส ว่า ‘ท่าน มีวิชาประเภทหนึ่งเรียกว่าคันธาริ๑- ภิกษุรูปนั้นแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ @เชิงอรรถ : @ วิชาคันธาริ หมายถึง วิชาที่ฤๅษีคันธาระเป็นผู้ทำ อีกนัยหนึ่ง หมายถึง วิชาที่เกิดขึ้นในแคว้นคันธาระ @ซึ่งมีฤๅษีพำนักอยู่มาก (ที.สี.อ. ๔๘๔/๓๒๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๒๑๔}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑๑. เกวัฏฏสูตร]

                                                                 ปาฏิหารย์ ๓ อย่าง ๒.อาเทสนาปาฏิหารย์

คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้ เพราะมีวิชานั้น’ เกวัฏฏะ ท่านเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร ผู้ที่ยังไม่มีศรัทธายังไม่เลื่อมใสจะพูด กับผู้ที่มีศรัทธาเลื่อมใสอย่างนั้นหรือไม่” เขากราบทูลว่า “ต้องพูดแน่ พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เกวัฏฏะ เราเล็งเห็นโทษในอิทธิปาฏิหาริย์อย่างนี้ จึงเหนื่อยหน่าย ระอา รังเกียจเรื่องอิทธิปาฏิหาริย์
๒. อาเทสนาปาฏิหาริย์
[๔๘๕] เกวัฏฏะ ก็อาเทสนาปาฏิหาริย์เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ทายจิต ทายเจตสิก ทายความวิตกวิจารของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นได้ว่า จิตของท่าน เป็นอย่างนี้ เป็นไปโดยอาการอย่างนี้ เป็นดังนี้ เพราะเหตุนั้น ผู้ใดผู้หนึ่งที่มีศรัทธาเลื่อมใสเห็นภิกษุนั้นทายจิต ทายเจตสิก ทายความวิตกวิจารของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นได้ว่า จิตของท่านเป็นอย่างนี้ เป็นไป โดยอาการอย่างนี้ เป็นดังนี้ ผู้นั้นจะบอกแก่บุคคลผู้ที่ยังไม่มีศรัทธายังไม่เลื่อมใสว่า ‘น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ สมณะมีฤทธิ์มากมีอานุภาพมากเหลือเกิน ข้าพเจ้า เพิ่งเคยเห็นท่านนี้ที่ทายจิต ทายเจตสิก ทายความวิตกวิจารของสัตว์อื่นของบุคคล อื่นได้ว่า จิตของท่านเป็นอย่างนี้ เป็นไปโดยอาการอย่างนี้ เป็นดังนี้’ เมื่อเป็นเช่นนั้น ผู้ที่ยังไม่มีศรัทธายังไม่เลื่อมใสจะพูดกับผู้มีศรัทธาเลื่อมใสว่า ‘ท่าน มีวิชาประเภทหนึ่งเรียกว่ามณิกา๑- ภิกษุรูปนั้นทายจิต ทายเจตสิก ทายความ วิตกวิจารของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นได้ว่า จิตของท่านเป็นอย่างนี้ เป็นไปโดยอาการ อย่างนี้ เป็นดังนี้ เพราะมีวิชานั้น’ @เชิงอรรถ : @ วิชามณิกา ได้แก่ วิชาจินดามณี ผู้รู้วิชาจินดามณี สามารถรู้ใจคนอื่นได้ (ที.สี.อ. ๔๘๕/๓๒๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๒๑๕}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๙ หน้าที่ ๒๑๔-๒๑๕. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=9&page=214&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=9&A=6307 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=9&A=6307#p214 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 9 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_9 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu9 https://84000.org/tipitaka/english/?index_9



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๑๔-๒๑๕.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]