ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค

หน้าที่ ๑๖๔-๑๖๕.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๘. มหาสีหนาทสูตร]

                                                                 ว่าด้วยการหลีกบาปด้วยตบะ

[๓๙๒] กัสสปะ เป็นไปได้ที่วิญญูชนเมื่อซักไซ้ไล่เลียงสอบสวนจะพึงกล่าว อย่างนี้ว่า ‘ธรรมของท่านเหล่านี้ส่วนใดที่เป็นกุศลก็จัดว่าเป็นกุศล ที่ไม่มีโทษก็จัดว่า ไม่มีโทษ ที่ควรเสพก็จัดว่าควรเสพ ที่ประเสริฐก็จัดว่าประเสริฐ และที่เป็นฝ่ายดีก็จัด ว่าเป็นฝ่ายดี หมู่สาวกของพระสมณโคดมสมาทานประพฤติธรรมเหล่านี้ได้ครบถ้วน หรือว่าหมู่สาวกของคณาจารย์ผู้เจริญเหล่าอื่นกันแน่’ ในเรื่องนั้น วิญญูชนเมื่อซักไซ้ ไล่เลียงสอบสวนอย่างนี้ โดยมากจะสรรเสริญพวกเราฝ่ายเดียวเท่านั้น
อริยมรรคมีองค์ ๘
[๓๙๓] กัสสปะ มีทาง มีข้อปฏิบัติ ที่ผู้ปฏิบัติตามจะรู้เองเห็นเองว่า ‘พระ สมณโคดมตรัสถูกเวลา ตรัสคำจริง ตรัสอิงประโยชน์ ตรัสอิงธรรม ตรัสอิงวินัย’ กัสสปะ อะไรคือทาง อะไรคือข้อปฏิบัติ ที่ผู้ปฏิบัติตามจะรู้เองเห็นเองว่า ‘พระ สมณโคดมตรัสถูกเวลา ตรัสคำจริง ตรัสอิงประโยชน์ ตรัสอิงธรรม ตรัสอิงวินัย’ มรรคมีองค์ ๘ อันประเสริฐเหล่านี้คือ สัมมาทิฏฐิ(เห็นชอบ), สัมมาสังกัปปะ(ดำริ ชอบ), สัมมาวาจา(เจรจาชอบ), สัมมากัมมันตะ(กระทำชอบ), สัมมาอาชีวะ(เลี้ยงชีพ ชอบ), สัมมาวายามะ(พยายามชอบ), สัมมาสติ(ระลึกชอบ) และสัมมาสมาธิ(ตั้งจิต มั่นชอบ) กัสสปะ นี้แลคือทาง คือข้อปฏิบัติที่ผู้ปฏิบัติตามจะรู้เองเห็นเองว่า พระ สมณโคดมตรัสถูกเวลา ตรัสคำจริง ตรัสอิงประโยชน์ ตรัสอิงธรรม ตรัสอิงวินัย”
ว่าด้วยการหลีกบาปด้วยตบะ
[๓๙๔] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ อเจลกัสสปะกราบทูลว่า “ท่านพระ โคดม การบำเพ็ญตบะที่นับว่าเป็นสามัญคุณ๑- และเป็นพรหมัญคุณ๒- ของ สมณพราหมณ์แม้เหล่านี้ คือ เป็นอเจลก(ประพฤติเปลือยกาย) ไม่มีมารยาท เลียมือ เขาเชิญให้ไปรับอาหารก็ไม่ไป เขาเชิญให้หยุดรับอาหารก็ไม่หยุด ไม่รับ อาหารที่เขาแบ่งไว้ ไม่รับอาหารที่เขาทำเจาะจง ไม่ยินดีอาหารที่เขาเชิญ ไม่รับ @เชิงอรรถ : @ หมายถึง สมณกรรม ได้แก่การบำเพ็ญตบะ อันเป็นสิ่งที่ทำให้ความเป็นสมณะสมบูรณ์ ตามความเข้าใจ @ของคนยุคนั้น (ที.สี.อ. ๓๙๔/๒๙๒) @ หมายถึง พราหมณกรรม ได้แก่ข้อปฏิบัติที่ทำให้เป็นพราหมณ์โดยสมบูรณ์ ตามความเข้าใจของคนยุค @นั้น (ที.สี.อ. ๓๙๔/๒๙๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๑๖๔}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๘. มหาสีหนาทสูตร]

                                                                 ว่าด้วยการหลีกบาปด้วยตบะ

อาหารจากปากหม้อ ไม่รับอาหารจากปากภาชนะ ไม่รับอาหารคร่อมธรณีประตู ไม่ รับอาหารคร่อมท่อนไม้ ไม่รับอาหารคร่อมสาก ไม่รับอาหารของคน ๒ คนที่กำลัง บริโภค ไม่รับอาหารของหญิงมีครรภ์ ไม่รับอาหารของหญิงผู้กำลังให้บุตรดื่มนม ไม่ รับอาหารของหญิงที่คลอเคลียชาย ไม่รับอาหารที่นัดแนะกันทำไว้ ไม่รับอาหารในที่ เลี้ยงสุนัข ไม่รับอาหารในที่มีแมลงวันไต่ตอมเป็นกลุ่มๆ ไม่กินปลา ไม่กินเนื้อ ไม่ ดื่มสุรา ไม่ดื่มเมรัย ไม่ดื่มยาดอง รับอาหารในเรือนหลังเดียว ยังชีพด้วยข้าวคำเดียว รับอาหารในเรือน ๒ หลัง ยังชีพด้วยข้าว ๒ คำ รับอาหารในเรือน ๗ หลัง ยัง ชีพด้วยข้าว ๗ คำ ยังชีพด้วยอาหารในถาดน้อย ๑ ใบ ยังชีพด้วยอาหารในถาด น้อย ๒ ใบ ยังชีพด้วยอาหารในถาดน้อย ๗ ใบ กินอาหารที่เก็บไว้ค้างคืน ๑ วัน กินอาหารที่เก็บไว้ค้างคืน ๒ วัน กินอาหารที่เก็บไว้ค้างคืน ๗ วัน ถือ๑- การบริโภค อาหาร ๑๕ วันต่อ ๑ มื้อ [๓๙๕] การบำเพ็ญตบะที่นับว่าเป็นสามัญคุณและพรหมัญคุณของสมณ- พราหมณ์เหล่านั้น คือ กินผักดองเป็นอาหาร กินข้าวฟ่างเป็นอาหาร กินลูกเดือย เป็นอาหาร กินกากข้าวเป็นอาหาร กินยางเป็นอาหาร กินสาหร่ายเป็นอาหาร กิน รำเป็นอาหาร กินข้าวตังเป็นอาหาร กินกำยานเป็นอาหาร กินหญ้าเป็นอาหาร กิน โคมัยเป็นอาหาร กินเหง้าและผลไม้ป่าเป็นอาหาร บริโภคผลไม้หล่นยังชีพ [๓๙๖] การบำเพ็ญตบะที่นับว่าเป็นสามัญคุณและพรหมัญคุณของสมณ- พราหมณ์เหล่านั้น คือ นุ่งห่มผ้าป่าน นุ่งห่มผ้าแกมกัน นุ่งห่มผ้าห่อศพ นุ่งห่ม ผ้าบังสุกุล นุ่งห่มผ้าเปลือกไม้ นุ่งห่มหนังเสือ นุ่งห่มหนังเสือมีเล็บ นุ่งห่มผ้า คากรอง๒- นุ่งห่มผ้าเปลือกปอกรอง นุ่งห่มผ้าผลไม้กรอง นุ่งห่มผ้ากัมพลผมมนุษย์ นุ่งห่มผ้ากัมพลขนสัตว์ นุ่งห่มผ้าขนปีกนกเค้า ถอนผมและหนวด คือ ถือการถอน ผมและหนวด ยืนอย่างเดียวไม่ยอมนั่ง เดินกระโหย่ง คือ ถือการเดินกระโหย่ง (เหยียบพื้นไม่เต็มเท้า) นอนบนหนาม นอนบนแผ่นกระดาน นอนบนเนินดิน นอน ตะแคงข้างเดียว เอาฝุ่นคลุกตัว อยู่กลางแจ้ง นั่งบนอาสนะตามที่ปูไว้ บริโภคคูถ คือ ถือการบริโภคคูถ ไม่ดื่มน้ำเย็น คือถือการไม่ดื่มน้ำเย็น อาบน้ำวันละ ๓ ครั้ง คือถือการลงอาบน้ำ” @เชิงอรรถ : @ คำว่า ถือ ในที่นี้ แปลจากบาลีว่า อนุโยคมนุยุตฺต ซึ่งหมายถึง การยึดมั่นในวัตรปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง @ ผ้าที่ถักทอด้วยหญ้าคา เป็นผ้าที่พวกฤๅษีใช้นุ่งห่ม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๑๖๕}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๙ หน้าที่ ๑๖๔-๑๖๕. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=9&page=164&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=9&A=4833 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=9&A=4833#p164 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 9 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_9 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu9 https://84000.org/tipitaka/english/?index_9



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๖๔-๑๖๕.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]