ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค

หน้าที่ ๑๒๒-๑๒๓.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๔. โสณทัณฑสูตร]

                                                                 เรื่องศีลและปัญญา

พราหมณ์โสณทัณฑะกราบทูลว่า “ข้อนี้ไม่ได้ ท่านพระโคดม เพราะปัญญา ต้องมีศีลช่วยชำระให้บริสุทธิ์ ศีลก็ต้องมีปัญญาช่วยชำระให้บริสุทธิ์ ปัญญาย่อมมีใน ที่ที่มีศีล ศีลย่อมมีในที่ที่มีปัญญา ปัญญาย่อมมีแก่ผู้มีศีล ศีลย่อมมีแก่ผู้มีปัญญา นักปราชญ์ยกย่องศีลและปัญญาว่า เป็นสิ่งล้ำเลิศในโลก เปรียบเหมือนบุคคลใช้มือ ล้างมือ หรือใช้เท้าล้างเท้า ฉันใด ปัญญาต้องมีศีลช่วยชำระให้บริสุทธิ์ ศีลก็ต้องมี ปัญญาช่วยชำระให้บริสุทธิ์ ปัญญาย่อมมีในที่ที่มีศีล ศีลย่อมมีในที่ที่มีปัญญา ปัญญาย่อมมีแก่ผู้มีศีล ศีลย่อมมีแก่ผู้มีปัญญา นักปราชญ์ยกย่องศีลและปัญญาว่า เป็นสิ่งล้ำเลิศในโลก ฉันนั้น” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อย่างนั้นแล พราหมณ์ อย่างนั้นแล พราหมณ์ ปัญญาต้องมีศีลช่วยชำระให้บริสุทธิ์ ศีลก็ต้องมีปัญญาช่วยชำระให้บริสุทธิ์ ปัญญา ย่อมมีในที่ที่มีศีล ศีลย่อมมีในที่ที่มีปัญญา ปัญญาย่อมมีแก่ผู้มีศีล ศีลย่อมมีแก่ผู้มี ปัญญา นักปราชญ์ยกย่องศีลและปัญญาว่า เป็นสิ่งล้ำเลิศในโลก เปรียบเหมือน บุคคลใช้มือล้างมือ หรือใช้เท้าล้างเท้า ฉันใด ปัญญาต้องมีศีลช่วยชำระให้บริสุทธิ์ ศีลก็ต้องมีปัญญาช่วยชำระให้บริสุทธิ์ ปัญญาย่อมมีในที่ที่มีศีล ศีลย่อมมีในที่ที่มี ปัญญา ปัญญาย่อมมีแก่ผู้มีศีล ศีลย่อมมีแก่ผู้มีปัญญา นักปราชญ์ยกย่องศีลและ ปัญญาว่า เป็นสิ่งล้ำเลิศในโลก ฉันนั้น” [๓๑๘] พระผู้มีพระภาคตรัสถามต่อไปว่า “พราหมณ์ ศีลนั้นเป็นอย่างไร ปัญญานั้นเป็นอย่างไร” พราหมณ์โสณทัณฑะทูลตอบว่า “ท่านพระโคดม ในเรื่องนี้พวกข้าพระองค์ มีความรู้เพียงเท่านี้ ขอประทานวโรกาส ขอท่านพระโคดมโปรดขยายความให้ชัดเจน ด้วย” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ถ้าอย่างนั้น ท่านจงฟัง จงตั้งใจให้ดี เราจักบอก” เขาทูลรับสนองพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ ตถาคตอุบัติขึ้นมาในโลกนี้ เป็นพระ อรหันต์ ตรัสรู้ด้วยตนเองโดยชอบ ฯลฯ (พึงนำข้อความเต็มในสามัญญผลสูตรมา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๑๒๒}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๔. โสณทัณฑสูตร]

                                                                 พราหมณ์โสณทัณฑะประกาศตนเป็นอุบาสก

ใส่ไว้ในที่นี้) ภิกษุชื่อว่าสมบูรณ์ด้วยศีลเป็นอย่างนี้แล ฯลฯ บรรลุปฐมฌานอยู่ บรรลุทุติยฌานอยู่ บรรลุตติยฌานอยู่ บรรลุจตุตถฌานอยู่ ฯลฯ น้อมจิตไปเพื่อ ญาณทัสสนะ ฯลฯ นี้เป็นปัญญาของภิกษุนั้น ฯลฯ รู้ชัดว่า‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ พรหมจรรย์ แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ นี้เป็นปัญญาของภิกษุนั้น พราหมณ์ ปัญญานั้นเป็นอย่างนี้แล๑-”
พราหมณ์โสณทัณฑะประกาศตนเป็นอุบาสก
[๓๑๙] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ พราหมณ์โสณทัณฑะได้กราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่ท่านพระ โคดม ภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านพระโคดมทรงประกาศ ธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่างๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดโดยตั้งใจว่า คนมีตาดีจักเห็นรูปได้ ข้าพระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดม พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอท่าน พระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจน ตลอดชีวิต ขอท่านพระโคดมพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์โปรดรับภัตตาหารของข้าพระองค์ ในวันพรุ่งนี้เถิด” พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์ด้วยพระอาการดุษณี [๓๒๐] ทีนั้น พราหมณ์โสณทัณฑะทราบอาการที่พระผู้มีพระภาคทรงรับ นิมนต์แล้ว จึงได้ลุกจากอาสนะ กราบพระผู้มีพระภาคแล้วกระทำประทักษิณจากไป ครั้นผ่านคืนนั้นไป พราหมณ์โสณทัณฑะสั่งให้จัดของขบฉันอย่างประณีตไว้ ในนิเวศน์ของตน แล้วให้คนไปกราบทูลภัตกาลว่า “ท่านพระโคดม ได้เวลาแล้ว ภัตตาหารเสร็จแล้ว” ตอนเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและ จีวรเสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของพราหมณ์โสณทัณฑะพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ประทับนั่ง บนอาสนะที่ปูไว้ พราหมณ์โสณทัณฑะได้นำของขบฉันอันประณีตประเคนภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานให้อิ่มหนำด้วยตนเอง @เชิงอรรถ : @ ดูความเต็มในสามัญญผลสูตร ข้อ ๑๙๐-๒๔๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๑๒๓}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๙ หน้าที่ ๑๒๒-๑๒๓. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=9&page=122&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=9&A=3592 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=9&A=3592#p122 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 9 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_9 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu9 https://84000.org/tipitaka/english/?index_9



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๒๒-๑๒๓.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]