ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๖ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] จุลวรรค ภาค ๑

หน้าที่ ๓๓๒-๓๓๔.


                                                                 พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]

                                                                 ๘. อธิกรณะ

การประท้วง ความเป็นผู้คล้อยตาม การทำความอุตสาหะโจท การตามเพิ่มกำลังให้ ในเรื่องนั้น อันใด นี้เรียกว่าอนุวาทาธิกรณ์
๓. อาปัตตาธิกรณ์
ในอธิกรณ์ ๔ อย่างนั้น อาปัตตาธิกรณ์ เป็นไฉน อาบัติทั้ง ๕ กอง ชื่ออาปัตตาธิกรณ์ อาบัติทั้ง ๗ กอง ชื่ออาปัตตาธิกรณ์ นี้เรียกว่าอาปัตตาธิกรณ์
๔. กิจจาธิกรณ์
ในอธิกรณ์ ๔ อย่างนั้น กิจจาธิกรณ์ เป็นไฉน ความเป็นหน้าที่ ความเป็นกรณีย์แห่งสงฆ์ใด คือ (๑) อปโลกนกรรม (๒) ญัตติ- กรรม (๓) ญัตติทุติยกรรม (๔) ญัตติจตุตถกรรม นี้เรียกว่า กิจจาธิกรณ์
อธิกรณ์ ๔ อย่าง จบ
มูลแห่งวิวาทาธิกรณ์
[๒๑๖] อะไรเป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์ มูลเหตุแห่งวิวาท ๖ เป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์ อกุศลมูลทั้ง ๓ เป็นมูลแห่ง วิวาทาธิกรณ์ กุศลมูลทั้ง ๓ เป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์
วิวาทมูล ๖ ๑-
มูลเหตุแห่งวิวาท ๖ เป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์ อะไรบ้าง ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ @เชิงอรรถ : @ วิ.ป. ๘/๒๗๒/๒๐๗, องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๓๖/๔๘๔-๔๘๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๓๒}

                                                                 พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]

                                                                 ๘. อธิกรณะ

๑. เป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธไว้ ภิกษุใด เป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธไว้ ภิกษุนั้น ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระศาสดา ไม่มี ความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระธรรม ไม่มีความเคารพ ไม่มี ความยำเกรงในพระสงฆ์อยู่และไม่ทำสิกขาให้บริบูรณ์ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง ในพระศาสดา ไม่มี ความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระธรรม ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระสงฆ์ และไม่ทำสิกขาให้บริบูรณ์นั้น ย่อม ก่อวิวาทให้เกิดขึ้นในสงฆ์ ซึ่งเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อ ไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเธอทั้งหลายพิจารณาเห็นมูลแห่งการวิวาทเช่นนี้ ภายในหรือภายนอก ในข้อนั้น เธอทั้งหลายพึงพยายามเพื่อละมูล แห่งวิวาทที่เป็นบาปภายในหรือภายนอกนั้นแล ถ้าเธอทั้งหลายไม่ พิจารณาเห็นมูลแห่งวิวาทเช่นนี้ ภายในหรือภายนอก ในข้อนั้น เธอทั้งหลายพึงปฏิบัติเพื่อความยืดเยื้อ แห่งมูลเหตุแห่งวิวาทที่เป็น บาปนั้นแล การละมูลเหตุแห่งวิวาทที่เป็นบาปนั้นย่อมมีด้วยอาการ อย่างนี้ ความยืดเยื้อแห่งมูลเหตุแห่งวิวาทที่เป็นบาปนั้น ย่อมมี ต่อไปด้วยอาการอย่างนี้ ๒. เป็นผู้ลบหลู่ตีเสมอท่าน ฯลฯ ๓. เป็นผู้มีปกติริษยา ตระหนี่ ฯลฯ ๔. เป็นผู้อวดดี เจ้ามายา ฯลฯ ๕. เป็นผู้มีความปรารถนาชั่ว เป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ ๖. เป็นผู้ยึดมั่นทิฏฐิของตน มีความถือรั้น สละสิ่งที่ตนยึดมั่นได้ยาก ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดเป็นผู้ยึดมั่นทิฏฐิของตน มีความถือรั้น สละสิ่งที่ตนยึดมั่นได้ยาก ภิกษุนั้นย่อมไม่มีความเคารพ ไม่มีความ ยำเกรงในพระศาสดา ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๓๓}

                                                                 พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]

                                                                 ๘. อธิกรณะ

ธรรม ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระสงฆ์ และไม่ทำ สิกขาให้บริบูรณ์ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความ ยำเกรงในพระศาสดา ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระ ธรรม ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระสงฆ์ และไม่ทำ สิกขาให้บริบูรณ์นั้น ย่อมก่อการวิวาทให้เกิดขึ้นในสงฆ์ ซึ่งเป็นไป เพื่อไม่เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่ ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ ทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเธอทั้งหลายพิจารณาเห็นมูลเหตุแห่งการวิวาทเช่นนี้ ภายในหรือภายนอก ในข้อนั้น เธอทั้งหลายพึงพยายามเพื่อละมูล เหตุแห่งวิวาทที่เป็นบาป ภายในหรือภายนอกนั้นแล ถ้าเธอทั้งหลาย ไม่พิจารณาเห็นมูลแห่งวิวาทเช่นนี้ ภายในหรือภายนอก ในข้อนั้น เธอทั้งหลาย พึงปฏิบัติเพื่อความยืดเยื้อแห่งมูลเหตุแห่งวิวาทที่เป็น บาปนั้นแล การละมูลแห่งวิวาทที่เป็นบาปนั้นแล ย่อมมีด้วยอาการ อย่างนี้ ความยืดเยื้อแห่งมูลเหตุแห่งวิวาทที่เป็นบาปนั้น ย่อมมี ต่อไปด้วยอาการอย่างนี้ มูลแห่งการวิวาท ๖ อย่างนี้ เป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์
อกุศลมูล ๓
อกุศลมูล ๓ เป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์ เป็นไฉน ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุทั้งหลาย มีจิตโลภ วิวาทกัน มีจิตโกรธ วิวาทกัน มีจิตหลงวิวาทกันว่า ๑. นี้ธรรม นี้อธรรม ๒. นี้วินัย นี้มิใช่วินัย ๓. นี้ตถาคตภาษิตไว้ ตรัสไว้ นี้ตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้ ไม่ได้ตรัสไว้ ๔. นี้จริยาวัตรที่ตถาคตได้ประพฤติมา นี้จริยาวัตรที่ตถาคตไม่ได้ประพฤติมา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๓๔}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๖ หน้าที่ ๓๓๒-๓๓๔. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=6&page=332&pages=3&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=6&A=8777 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=6&A=8777#p332 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 6 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_6 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu6 https://84000.org/tipitaka/english/?index_6



จบการแสดงผล หน้าที่ ๓๓๒-๓๓๔.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]