ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๖ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] จุลวรรค ภาค ๑

หน้าที่ ๒๙๕-๓๑๙.


                                                                 พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]

                                                                 ๑. สัมมุขาวินัย

๔. สมถขันธกะ
๑. สัมมุขาวินัย
ว่าด้วยระงับอธิกรณ์ในที่พร้อมหน้า
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๑๘๕] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ลงตัชชนีย กรรมบ้าง นิยสกรรมบ้าง ปัพพาชนียกรรมบ้าง ปฏิสารณียกรรมบ้าง อุกเขปนีย กรรมบ้าง แก่ภิกษุทั้งหลายผู้มิได้อยู่ต่อหน้า บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก ภิกษุฉัพพัคคีย์จึงได้ลงตัชชนียกรรมบ้าง นิยสกรรมบ้าง ปัพพาชนียกรรมบ้าง ปฏิสารณียกรรมบ้าง อุกเขปนียกรรมบ้าง แก่ภิกษุทั้งหลายผู้มิได้อยู่ต่อหน้าเล่า” แล้วได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงสอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ลงตัชชนียกรรมบ้าง นิยสกรรมบ้าง ปัพพาชนียกรรม บ้าง ปฏิสารณียกรรมบ้าง อุกเขปนียกรรมบ้าง แก่ภิกษุทั้งหลายผู้มิได้อยู่ต่อหน้า จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ภิกษุทั้งหลาย การกระทำของโมฆบุรุษ เหล่านั้น ไม่สมควร ไม่คล้อยตาม ไม่เหมาะสม ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควร ทำเลย ภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้นจึงได้ลงตัชชนียกรรมบ้าง นิยสกรรมบ้าง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๒๙๕}

                                                                 พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]

                                                                 ๑. สัมมุขาวินัย

ปัพพาชนียกรรมบ้าง ปฏิสารณียกรรมบ้าง อุกเขปนียกรรมบ้าง แก่ภิกษุทั้งหลาย ผู้มิได้อยู่ต่อหน้าเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำของโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น มิได้ทำ คนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถารับ สั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมก็ดี นิยสกรรมก็ดี ปัพพาชนีย- กรรมก็ดี ปฏิสารณียกรรมก็ดี อุกเขปนียกรรมก็ดี ภิกษุไม่พึงลงแก่ภิกษุทั้งหลาย ผู้มิได้อยู่ต่อหน้า รูปใดลง ต้องอาบัติทุกกฏ”
ธรรมวาทีและอธรรมวาที
[๑๘๖] อธรรมวาทีบุคคล อธรรมวาทีภิกษุมากรูป อธรรมวาทีสงฆ์ ธรรม วาทีบุคคล ธรรมวาทีภิกษุมากรูป ธรรมวาทีสงฆ์
กัณหปักขนวกะ
ว่าด้วยธรรมฝ่ายดำ ๙ อย่าง
สัมมุขาวินัยปฏิรูป
[๑๘๗] อธรรมวาทีบุคคล ยังธรรมวาทีบุคคลให้ยินยอม ให้พินิจ ให้เพ่ง ให้ ใคร่ครวญ ให้แสดง ให้แสดงตามว่า “นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านจงถือเอา ข้อนี้ จงพอใจข้อนี้” ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยไม่ชอบธรรม เป็น สัมมุขาวินัยปฏิรูป (๑) อธรรมวาทีบุคคล ยังธรรมวาทีภิกษุมากรูปให้ยินยอม ให้พินิจ ให้เพ่ง ให้ ใคร่ครวญ ให้แสดง ให้แสดงตามว่า “นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ พวกท่าจง ถือเอาข้อนี้ จงพอใจข้อนี้” ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยไม่ชอบธรรม เป็นสัมมุขาวินัยปฏิรูป (๒) อธรรมวาทีบุคคล ยังธรรมวาทีสงฆ์ให้ยินยอม ให้พินิจ ให้เพ่ง ให้ใคร่ครวญ ให้แสดง ให้แสดงตามว่า “นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านจงถือเอาข้อนี้ จงพอใจ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๒๙๖}

                                                                 พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]

                                                                 ๑. สัมมุขาวินัย

ข้อนี้” ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยไม่ชอบธรรม เป็นสัมมุขาวินัย ปฏิรูป (๓) อธรรมวาทีภิกษุมากรูป ยังธรรมวาทีบุคคลให้ยินยอม ให้พินิจ ให้เพ่ง ให้ ใคร่ครวญ ให้แสดง ให้แสดงตามว่า “นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านจงถือ เอาข้อนี้ จงพอใจข้อนี้” ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยไม่ชอบธรรม เป็นสัมมุขาวินัยปฏิรูป (๔) อธรรมวาทีภิกษุมากรูป ยังธรรมวาทีภิกษุมากรูปให้ยินยอม ให้พินิจ ให้เพ่ง ให้ใคร่ครวญ ให้แสดง ให้แสดงตามว่า “นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ พวกท่าน จงถือเอาข้อนี้ จงพอใจข้อนี้” ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยไม่ชอบธรรม เป็นสัมมุขาวินัยปฏิรูป (๕) อธรรมวาทีภิกษุมากรูป ยังธรรมวาทีสงฆ์ให้ยินยอม ให้พินิจ ให้เพ่ง ให้ ใคร่ครวญ ให้แสดง ให้แสดงตามว่า “นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ พวกท่านจง ถือเอาข้อนี้ จงพอใจข้อนี้” ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยไม่ชอบธรรม เป็นสัมมุขาวินัยปฏิรูป (๖) อธรรมวาทีสงฆ์ ยังธรรมวาทีบุคคลให้ยินยอม ให้พินิจ ให้เพ่ง ให้ใคร่ครวญ ให้แสดง ให้แสดงตามว่า “นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านจงถือเอาข้อนี้ จงพอใจ ข้อนี้” ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยไม่ชอบธรรม เป็นสัมมุขาวินัย ปฏิรูป (๗) อธรรมวาทีสงฆ์ ยังธรรมวาทีภิกษุมากรูปให้ยินยอม ให้พินิจ ให้เพ่ง ให้ ใคร่ครวญ ให้แสดง ให้แสดงตามว่า “นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ พวกท่านจง ถือเอาข้อนี้ จงพอใจข้อนี้” ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยไม่ชอบธรรม เป็นสัมมุขาวินัยปฏิรูป (๘) อธรรมวาทีสงฆ์ ยังอธรรมวาทีสงฆ์ให้ยินยอม ให้พินิจ ให้เพ่ง ให้ใคร่ครวญ ให้แสดง ให้แสดงตามว่า “นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านจงถือเอาข้อนี้ จงพอใจ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๒๙๗}

                                                                 พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]

                                                                 ๑. สัมมุขาวินัย

ข้อนี้” ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยไม่ชอบธรรม เป็นสัมมุขาวินัย ปฏิรูป (๙)
กัณหปักขนวกะ จบ
สุกกปักขนวกะ
ว่าด้วยธรรมฝ่ายขาว ๙ อย่าง
สัมมุขาวินัยโดยธรรม
[๑๘๘] ธรรมวาทีบุคคล ยังอธรรมวาทีบุคคลให้ยินยอม ให้พินิจ ให้เพ่ง ให้ ใคร่ครวญ ให้แสดง ให้แสดงตามว่า “นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านจงถือ เอาข้อนี้ จงพอใจข้อนี้” ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยธรรม เป็น สัมมุขาวินัย (๑) ธรรมวาทีบุคคล ยังอธรรมวาทีภิกษุมากรูปให้ยินยอม ให้พินิจ ให้เพ่ง ให้ ใคร่ครวญ ให้แสดง ให้แสดงตามว่า “นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ พวกท่านจง ถือเอาข้อนี้ จงพอใจข้อนี้” ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยธรรม เป็น สัมมุขาวินัย (๒) ธรรมวาทีบุคคล ยังอธรรมวาทีสงฆ์ให้ยินยอม ให้พินิจ ให้เพ่ง ให้ใคร่ครวญ ให้แสดง ให้แสดงตามว่า “นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ พวกท่านจงถือเอาข้อนี้ จงพอใจข้อนี้” ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยธรรม เป็นสัมมุขาวินัย (๓) ธรรมวาทีภิกษุมากรูป ยังอธรรมวาทีบุคคลให้ยินยอม ให้พินิจ ให้เพ่ง ให้ ใคร่ครวญ ให้แสดง ให้แสดงตามว่า “นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ พวกท่านจง ถือเอา ข้อนี้ จงพอใจข้อนี้” ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยธรรม เป็น สัมมุขาวินัย (๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๒๙๘}

                                                                 พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]

                                                                 ๑. สัมมุขาวินัย

ธรรมวาทีภิกษุมากรูป ยังอธรรมวาทีภิกษุมากรูปให้ยินยอม ให้พินิจ ให้เพ่ง ให้ใคร่ครวญ ให้แสดง ให้แสดงตามว่า “นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ พวกท่านจง ถือเอาข้อนี้ จงพอใจข้อนี้” ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยธรรม เป็น สัมมุขาวินัย (๕) ธรรมวาทีภิกษุมากรูป ยังอธรรมวาทีสงฆ์ให้ยินยอม ให้พินิจ ให้เพ่ง ให้ ใคร่ครวญ ให้แสดง ให้แสดงตามว่า “นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ พวกท่านจง ถือเอา ข้อนี้ จงพอใจข้อนี้” ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยธรรม เป็น สัมมุขาวินัย (๖) ธรรมวาทีสงฆ์ ยังอธรรมวาทีบุคคลให้ยินยอม ให้พินิจ ให้เพ่ง ให้ใคร่ครวญ ให้แสดง ให้แสดงตามว่า “นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ พวกท่านจงถือเอาข้อนี้ จงพอใจข้อนี้” ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยธรรม เป็นสัมมุขาวินัย (๗) ธรรมวาทีสงฆ์ ยังอธรรมวาทีภิกษุมากรูปให้ยินยอม ให้พินิจ ให้เพ่ง ให้ ใคร่ครวญ ให้แสดง ให้แสดงตามว่า “นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ พวกท่านจง ถือเอาข้อนี้ จงพอใจข้อนี้” ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยธรรม เป็น สัมมุขาวินัย (๘) ธรรมวาทีสงฆ์ ยังอธรรมวาทีสงฆ์ให้ยินยอม ให้พินิจ ให้เพ่ง ให้ใคร่ครวญ ให้แสดง ให้แสดงตามว่า “นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ พวกท่านจงถือเอาข้อนี้ จงพอใจข้อนี้” ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยธรรม เป็นสัมมุขาวินัย (๙)
สุกกปักขนวกะ จบ
สัมมุขาวินัย จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๒๙๙}

                                                                 พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]

                                                                 ๒. สติวินัย

๒. สติวินัย
ว่าด้วยระงับอธิกรณ์โดยประกาศสมมติให้ว่าเป็นผู้มีสติสมบูรณ์
เรื่องพระทัพพมัลลบุตร๑-
[๑๘๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถาน ที่ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้นแล ท่านพระทัพพมัลลบุตร ได้บรรลุ พระอรหัตตผล เมื่ออายุ ๗ ขวบ นับแต่เกิด คุณวิเศษอย่างใดอย่างหนึ่งที่พระสาวก จะพึงบรรลุ ท่านก็ได้บรรลุแล้วทั้งหมด อนึ่ง ท่านไม่มีกิจอะไรๆ ที่จะพึงทำยิ่งกว่านี้ หรือกิจที่ทำเสร็จแล้ว ซึ่งจะทำเพิ่มเติมอีกก็ไม่มี ต่อมา ท่านพระทัพพมัลลบุตรหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด เกิดความคิดคำนึงอย่าง นี้ว่า “เราได้บรรลุอรหัตตผลเมื่ออายุ ๗ ขวบ นับแต่เกิด คุณวิเศษอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่พระสาวกพึงบรรลุ เราก็ได้บรรลุแล้วทั้งหมด ไม่มีกิจอะไรๆ ที่จะพึงทำยิ่งกว่านี้ หรือกิจที่ทำเสร็จแล้วซึ่งจะทำเพิ่มเติมอีกก็ไม่มี เราควรช่วยอะไรสงฆ์ได้บ้าง” ลำดับนั้น ท่านพระทัพพมัลลบุตรตกลงใจว่า “ถ้ากระไร เราควรจัดแจเสนาสนะ และแจกภัตตาหารแก่สงฆ์” ครั้นออกจากที่หลีกเร้นในเวลาเย็น ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่งลง ณ ที่ สมควรแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้า หลีกเร้นอยู่ในที่สงัด มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราได้บรรลุอรหัตตผลเมื่ออายุ ๗ ขวบ นับแต่เกิด คุณวิเศษอย่างใดอย่างหนึ่ง เราก็ได้บรรลุแล้วทั้งหมด ไม่มีกิจอะไรๆ ที่ จะพึงทำยิ่งไปกว่านี้ หรือกิจที่ทำเสร็จแล้วซึ่งจะทำเพิ่มเติมอีกก็ไม่มี เราควรช่วยอะไร สงฆ์ได้บ้าง’ พระพุทธเจ้าข้า ถ้ากระไร ข้าพระพุทธเจ้าพึงจัดแจงเสนาสนะและแจก ภัตตาหารแก่สงฆ์ ข้าพระพุทธเจ้า ปรารถนาจะจัดแจงเสนาสนะและแจกภัตตาหาร แก่สงฆ์” @เชิงอรรถ : @ วิ.มหา. (แปล) ๑/๓๘๐/๔๑๒-๔๑๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๐๐}

                                                                 พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]

                                                                 ๒. สติวินัย

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีแล้ว ดีแล้ว ทัพพะ ถ้าอย่างนั้น เธอจงจัดแจงเสนาสนะ และแจกภัตตาหารแก่สงฆ์” พระทัพพมัลลบุตรทูลรับสนองพระพุทธดำรัสแล้ว
แต่งตั้งเสนาสนปัญญาปกะและภัตตุทเทสกะ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ แล้ว รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงแต่งตั้งทัพพมัลลบุตร ให้เป็นเสนาสนปัญญาปกะและภัตตุทเทสกะ
วิธีแต่งตั้งและกรรมวาจาแต่งตั้ง
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงแต่งตั้งอย่างนี้ เบื้องต้นพึงขอให้ทัพพมัลลบุตรรับ ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า [๑๙๐] “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงแต่งตั้ง ท่านพระทัพพมัลลบุตร ให้เป็นเสนาสนปัญญาปกะและภัตตุทเทสกะ นี่เป็นญัตติ ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์แต่งตั้งพระทัพพมัลลบุตรให้เป็น เสนาสนปัญญาปกะและภัตตุทเทสกะ ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการแต่งตั้งท่านพระ ทัพพมัลลบุตร ให้เป็นเสนาสนปัญญาปกะและภัตตุทเทสกะ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่าน รูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง ท่านพระทัพพมัลลบุตร สงฆ์แต่งตั้งให้เป็นเสนาสนปัญญาปกะและภัตตุท- เทสกะแล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติ อย่างนี้” [๑๙๑] เมื่อท่านพระทัพพมัลลบุตร ไดัรับแต่งตั้งแล้ว ย่อมจัดแจงเสนาสนะ สำหรับหมู่ภิกษุผู้มีคุณสมบัติเสมอกันไว้ที่เดียวกัน ดังนี้ คือ จัดแจงเสนาสนะสำหรับ ภิกษุผู้ทรงพระสูตรรวมกันไว้แห่งหนึ่ง ด้วยประสงค์ว่า “ภิกษุเหล่านั้นจักซักซ้อมพระ สูตรกัน” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๐๑}

                                                                 พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]

                                                                 ๒. สติวินัย

จัดแจงเสนาสนะสำหรับภิกษุผู้ทรงพระวินัยรวมกันไว้แห่งหนึ่ง ด้วยประสงค์ว่า “ภิกษุเหล่านั้นจักวินิจฉัยพระวินัยกัน” จัดแจงเสนาสนะสำหรับภิกษุผู้ทรงพระอภิธรรมรวมกันไว้แห่งหนึ่ง ด้วยประสงค์ว่า “ภิกษุเหล่านั้นจักสนทนาพระอภิธรรมกัน” จัดแจงเสนาสนะสำหรับภิกษุผู้ได้ฌานรวมกันไว้แห่งหนึ่ง ด้วยประสงค์ว่า “ภิกษุ เหล่านั้นจักไม่รบกวนกัน” จัดแจงเสนาสนะสำหรับภิกษุผู้ชอบกล่าวติรัจฉานกถา ผู้มากไปด้วยการบำรุง ร่างกายรวมกันไว้แห่งหนึ่ง ด้วยประสงค์ว่า “ภิกษุเหล่านี้ จะอยู่ตามความพอใจ” ท่านพระทัพพมัลลบุตรนั้นเข้าเตโชกสิณแล้วจัดแจงเสนาสนะด้วยแสงสว่างนั้น สำหรับภิกษุที่มาในเวลาค่ำคืน ภิกษุทั้งหลายจงใจมาในเวลาค่ำคืน ด้วยประสงค์ว่า “พวกเราจะชมอิทธิ- ปาฏิหาริย์ของท่านพระทัพพมัลลบุตร” ก็มี ภิกษุเหล่านั้นพากันเข้าไปหาท่านพระ ทัพพมัลลบุตรกล่าวว่า “ท่านจงจัดแจงเสนาสนะให้พวกกระผม” ท่านพระทัพพมัลลบุตรกล่าวว่า “ท่านทั้งหลายต้องการพักที่ไหนเล่า ข้าพเจ้า จะจัดแจงในที่ไหน” ภิกษุเหล่านั้นจงใจอ้างที่ไกลๆ ว่า “ท่านจงจัดแจงเสนาสนะให้พวกกระผมที่ ภูเขาคิชฌกูฏ ท่านจงจัดแจงเสนาสนะให้พวกกระผมที่เหวสำหรับทิ้งโจร ท่านจง จัดแจงเสนาสนะให้พวกกระผมที่กาฬสิลาข้างภูเขาอิสิคิลิ ท่านจงจัดแจงเสนาสนะให้ พวกกระผมที่ถ้ำสัตตบรรณคูหาข้างภูเขาเวภาระ ท่านจงจัดแจงเสนาสนะให้พวก กระผมที่เงื้อมสัปปโสณฑิกะใกล้สีตวัน ท่านจงจัดแจงเสนาสนะให้พวกกระผมที่ ซอกเขาโคตมกะ ท่านจงจัดแจงเสนาสนะให้พวกกระผมที่ซอกเขาติณฑุกะ ท่าน จงจัดแจงเสนาสนะให้พวกกระผมที่ซอกเขากโปตะ ท่านจงจัดแจงเสนาสนะให้พวก กระผมที่ตโปทาราม ท่านจงจัดแจงเสนาสนะให้พวกกระผมที่ชีวกัมพวัน ท่านจง จัดแจงเสนาสนะให้พวกกระผมที่มัททกุจฉิมฤคทายวัน” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๐๒}

                                                                 พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]

                                                                 ๒. สติวินัย

ท่านพระทัพพมัลลบุตรเข้าเตโชกสิณ ใช้องคุลีส่องแสงสว่างเดินนำหน้าภิกษุ เหล่านั้น ท่านเหล่านั้นเดินตามท่านพระทัพพมัลลบุตรไปด้วยแสงสว่างนั้น ท่านได้ จัดแจงเสนาสนะสำหรับภิกษุเหล่านั้น ชี้แจงว่า “นี่เตียง นี่ตั่ง นี่ฟูก นี่หมอน นี่ที่ ถ่ายอุจจาระ นี่ที่ถ่ายปัสสาวะ นี่น้ำฉัน นี่น้ำใช้ นี่ไม้เท้า นี่ระเบียบกติกาสงฆ์ ควร เข้าเวลานี้ ควรออกเวลานี้” ครั้นจัดแจงเสร็จแล้ว กลับมาพระเวฬุวันวิหารตามเดิม
เรื่องพระทัพพมัลลบุตร จบ
เรื่องพระเมตติยะและพระภุมมชกะ๑-
[๑๙๒] สมัยนั้น พระเมตติยะและพระภุมมชกะ เป็นพระบวชใหม่และมีบุญน้อย เสนาสนะของสงฆ์ชั้นเลว อาหารก็ชั้นเลวตกถึงท่านทั้งสอง ชาวกรุงราชคฤห์ต้องการ จะถวายบิณฑบาตแก่พระเถระทั้งหลายก็ถวายเนยใสบ้าง น้ำมันบ้าง แกงอ่อมบ้าง ที่จัดปรุงพิเศษ แต่พวกเขาถวายอาหารธรรมดาแก่พระเมตติยะและพระภุมมชกะตาม แต่จะหาได้ คือ ปลายข้าวกับน้ำผักดอง วันหนึ่ง ท่านทั้งสองกลับจากบิณฑบาตหลังจากฉันเสร็จแล้ว เที่ยวถามภิกษุ ผู้เถระทั้งหลายว่า “มีอาหารอะไรบ้าง ในโรงฉันสำหรับพวกท่าน” พระเถระบางพวกตอบว่า “คุณทั้งสอง พวกเรามีเนยใส น้ำมัน แกงอ่อม” พระเมตติยะและพระภุมมชกะกล่าวว่า “พวกกระผมไม่มีอะไรเลย ขอรับ มีแต่ อาหารธรรมดา ตามแต่จะหาได้ คือ ปลายข้าวกับน้ำผักดอง” สมัยต่อมา คหบดีผู้ชอบถวายอาหารอย่างดี ถวายอาหารแก่สงฆ์วันละ ๔ ที่ เป็นนิตยภัต คหบดีพร้อมบุตรภรรยาอังคาสอยู่ใกล้ๆ ในโรงฉัน คนอื่นๆ ถามถึง ความต้องการข้าวสุก ถามถึงความต้องการกับข้าว ถามถึงความต้องการน้ำมัน ถาม ถึงความต้องการแกงอ่อม @เชิงอรรถ : @ วิ.มหา. (แปล) ๑/๓๘๓/๔๑๕-๔๑๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๐๓}

                                                                 พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]

                                                                 ๒. สติวินัย

วันต่อมา ท่านพระทัพพมัลลบุตรผู้เป็นภัตตุทเทสกะนิมนต์พระเมตติยะและพระ ภุมมชกะไปฉันภัตตาหารของคหบดีในวันรุ่งขึ้น วันเดียวกันนั้น คหบดีเดินทางไป อารามด้วยธุระบางอย่าง ได้เข้าไปหาท่านพระทัพพมัลลบุตรถึงสำนัก ครั้นถึงแล้ว ได้ไหว้ท่านพระทัพพมัลลบุตรแล้วนั่งลง ณ ที่สมควร ท่านพระทัพพมัลลบุตรชี้แจง คหบดีผู้ชอบถวายอาหารอย่างดีให้เห็นชัด ชวนให้อยากรับไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญ แกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา ครั้นแล้ว คหบดีผู้ชอบถวาย อาหารอย่างดีถามว่า “ภัตตาหารที่จะถวายในวันพรุ่งนี้ที่เรือนของข้าพเจ้า ท่านนิมนต์ ภิกษุรูปไหนไปฉันขอรับ” ท่านพระทัพพมัลลบุตรตอบว่า “อาตมาจัดให้พระเมตติยะและพระภุมมชกะไป ฉัน” เขาไม่พอใจว่า “ทำไมจึงนิมนต์ภิกษุชั่วไปฉันภัตตาหารในบ้านเราเล่า” กลับไป บ้านแล้วสั่งหญิงรับใช้ว่า “แม่สาวใช้ พรุ่งนี้ เจ้าจงจัดอาสนะไว้ที่ซุ้มประตูแล้วเอา ปลายข้าวกับน้ำผักดองถวายภิกษุผู้มาฉันภัตตาหารนะ” หญิงรับใช้รับคำว่า “ได้เจ้าค่ะ” วันเดียวกันนั้น พระเมตติยะและพระภุมมชกะกล่าวกันว่า “คุณ เมื่อวานนี้ เราได้รับนิมนต์ไปฉันภัตตาหารในเรือนคหบดี พรุ่งนี้ คหบดีผู้ชอบถวายอาหารอย่างดี พร้อมด้วยบุตรภรรยา ก็จักมายืนอังคาสเราอยู่ใกล้ๆ คนอื่นถามถึงความต้องการ ข้าวสุก ถามถึงความต้องการกับข้าว ถามถึงความต้องการน้ำมัน ถามถึงความ ต้องการแกงอ่อม” เพราะความดีใจนั้น พอตกกลางคืน ท่านทั้งสองจึงจำวัดหลับไม่ เต็มที่ ครั้นเวลาเช้า ครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเดินไปถึงนิเวศน์ของคหบดี หญิงรับใช้มองเห็นพระเมตติยะและพระภุมมชกะเดินมาแต่ไกล จึงจัดอาสนะไว้ ที่ซุ้มประตูกล่าวนิมนต์ว่า “พระคุณเจ้า นิมนต์นั่งเถิด เจ้าค่ะ” พระเมตติยะและพระภุมมชกะคิดว่า “เขาคงนิมนต์ให้พวกเรานั่งรอที่ซุ้มประตู จนกว่าภัตตาหารจะเสร็จ” ขณะนั้นหญิงรับใช้นำปลายข้าวกับน้ำผักดองไปถวายกล่าวว่า “พระคุณเจ้า นิมนต์ฉันเถิด เจ้าค่ะ” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๐๔}

                                                                 พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]

                                                                 ๒. สติวินัย

ท่านทั้งสองกล่าวว่า “น้องหญิง พวกอาตมารับนิมนต์มาฉันนิตยภัต” หญิงรับใช้ตอบว่า “ทราบเจ้าค่ะว่าท่านเป็นพระรับนิมนต์มาฉันนิตยภัต แต่เมื่อ วานนี้ คหบดีสั่งไว้ว่า ‘แม่สาวใช้ พรุ่งนี้ เจ้าจงจัดอาสนะไว้ที่ซุ้มประตูแล้วเอาปลาย ข้าวกับน้ำผักดองถวายภิกษุผู้มาฉันภัตตาหารนะ’ นิมนต์ฉันเถิด เจ้าค่ะ” พระเมตติยะและพระภุมมชกะปรึกษากันว่า “เมื่อวานนี้เอง คหบดีผู้ชอบถวาย อาหารอย่างดีไปหาพระทัพพมัลลบุตรถึงอาราม สงสัยพวกเราคงถูกพระทัพพมัลล บุตรทำลายต่อหน้าคหบดีเป็นแน่” เพราะความเสียใจ ท่านทั้งสองจึงฉันภัตตาหาร ไม่ได้สมใจ ครั้นกลับจากบิณฑบาตหลังจากฉันเสร็จแล้ว ถึงอาราม เก็บบาตรและ จีวรแล้วใช้ผ้าสังฆาฏิรัดเข่า นั่งภายนอกซุ้มประตูอาราม นิ่งอั้น เก้อเขิน คอตก ก้มหน้า ซบเซา ไม่พูดจา
ภิกษุณีเมตติยาใส่ความพระทัพพมัลลบุตร
ครั้งนั้น ภิกษุณีเมตติยาเข้าไปหาพระเมตติยะและพระภุมมชกะถึงที่พัก ครั้น ถึงแล้วได้กล่าวกับพระเมตติยะและพระภุมมชกะดังนี้ว่า “พระคุณเจ้า ดิฉันไหว้ เจ้าค่ะ” เมื่อเธอกล่าวอย่างนั้น พระเมตติยะและภุมมชกะก็ไม่พูดด้วย แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ ภิกษุณีเมตติยากล่าวกับพระเมตติยะและพระภุมมชกะว่า “ดิฉัน ไหว้ เจ้าค่ะ” แม้ครั้งที่ ๓ พระเมตติยะและพระภุมมชกะก็ไม่ยอมพูดด้วย ภิกษุณีเมตติยากล่าวต่อไปว่า “ดิฉันทำผิดอย่างไรต่อพระคุณเจ้า ทำไม พระ คุณเจ้าจึงไม่ยอมพูดกับดิฉัน” ภิกษุทั้งสองตอบว่า “จริงอย่างนั้นแหละ น้องหญิง พวกเราถูกพระทัพพมัลล- บุตรเบียดเบียน เธอยังเพิกเฉยอยู่ได้” ภิกษุณีเมตติยาถามว่า “ดิฉันจะช่วยได้อย่างไร เจ้าค่ะ” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๐๕}

                                                                 พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]

                                                                 ๒. สติวินัย

ภิกษุทั้งสองตอบว่า “ถ้าเธอเต็มใจช่วย วันนี้แหละพระผู้มีพระภาคต้องให้พระ ทัพพมัลลบุตรสึก” ภิกษุณีเมตติยาถามว่า “พระคุณเจ้า ดิฉันจะทำอย่างไร จะช่วยได้ด้วยวิธีไหน” ภิกษุทั้งสองตอบว่า “มาเถิด น้องหญิง เธอจงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ครั้นถึงแล้ว จงกราบทูลพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า เรื่องนี้ ไม่สมควร ไม่เหมาะสม ทิศที่เคยปลอดภัยก็กลับมีภัย ทิศที่ไม่เคยมีเสนียดจัญไรก็ กลับมีเสนียดจัญไร ทิศที่ไม่เคยมีอุปัททวะก็กลับมีอุปัททวะ ในที่ที่ไม่เคยมีลมก็กลับ มีลมแรง น้ำก็ดูเป็นเหมือนน้ำร้อนขึ้นมา หม่อมฉันถูกพระทัพพมัลลบุตรข่มขืน” ภิกษุณีเมตติยารับคำของพระเมตติยะและพระภุมมชกะแล้วจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้ว ได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วยืนอยู่ ณ ที่ สมควรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า “เรื่องนี้ไม่สมควร ไม่เหมาะสม ทิศที่ เคยปลอดภัยก็กลับมีภัย ที่ที่ไม่เคยมีเสนียดจัญไรก็กลับมีเสนียดจัญไร ทิศที่ไม่เคย มีอุปัททวะก็กลับมีอุปัททวะ ในที่ที่ไม่เคยมีลมก็กลับมีลมแรง น้ำก็ดูเป็นเหมือนน้ำ ร้อนขึ้นมา หม่อมฉันถูกพระทัพพมัลลบุตรข่มขืน”
ทรงประชุมสงฆ์สอบถาม
[๑๙๓] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรงสอบถามท่านพระทัพพมัลลบุตรว่า “ทัพพะ เธอจำได้ไหมว่าได้ทำตามที่ภิกษุณี นี่กล่าวหา” ท่านพระทัพพมัลลบุตรกราบทูลว่า “พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคย่อมทรง ทราบว่า ข้าพระพุทธเจ้าเป็นอย่างไร” แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระทัพพมัลลบุตรว่า “ทัพพะ เธอจำได้ไหมว่าได้ทำตามที่ภิกษุณีนี่กล่าวหา” พระทัพพมัลลบุตรก็กราบทูลว่า “พระ พุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคย่อมทรงทราบว่า ข้าพระพุทธเจ้าเป็นอย่างไร” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๐๖}

                                                                 พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]

                                                                 ๒. สติวินัย

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ทัพพะ บัณฑิตย่อมไม่แก้คำกล่าวหาอย่างนี้ ถ้า เธอทำก็จงบอกว่าทำ ถ้าเธอไม่ได้ทำ ก็จงบอกว่าไม่ได้ทำ” พระทัพพมัลลบุตรกราบทูลว่า “พระพุทธเจ้าข้า ตั้งแต่เกิดมา ข้าพระ- พุทธเจ้าไม่รู้จักการเสพเมถุนธรรมแม้ในความฝัน ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อตอนตื่นอยู่” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น เธอทั้งหลายจงให้นางภิกษุณีเมตติยาสึก จงสอบถามภิกษุเหล่านี้” แล้ว เสด็จจากที่ประทับเข้าพระวิหาร หลังจากนั้น ภิกษุทั้งหลายจึงให้นางภิกษุณีเมตติยาสึก แต่พระเมตติยะและ พระภุมมชกะได้แจ้งภิกษุทั้งหลายว่า “ท่านทั้งหลายอย่าให้นางภิกษุณีเมตติยาสึกเลย นางไม่มีความผิด พวกกระผมโกรธ ไม่พอใจ ต้องการให้พระทัพพมัลลบุตรพ้นจาก พรหมจรรย์ จึงชักจูงนาง” ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย พวกท่านใส่ความพระทัพพมัลลบุตร ด้วยสีลวิบัติที่ไม่มีมูลหรือ” บรรดาภิกษุผู้มักน้อยพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระเมตติยะ และพระภุมมชกะจึงใส่ความท่านพระทัพพมัลลบุตรด้วยด้วยสีลวิบัติที่ไม่มีมูลเล่า” แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุ เมตติยะและภิกษุภุมมชกะใส่ความทัพพมัลลบุตรด้วยสีลวิบัติที่ไม่มีมูล จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ ครั้นทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถา รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงให้สติวินัยแก่ทัพพมัลลบุตรผู้ถึงความไพบูลย์แห่ง สติแล้ว” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๐๗}

                                                                 พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]

                                                                 ๒. สติวินัย

วิธีให้สติวินัยและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้สติวินัยอย่างนี้ คือ ภิกษุทัพพมัลลบุตรนั้น พึงเข้า ไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษาทั้งหลาย นั่ง กระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ภิกษุเมตติยะและภิกษุภุมมชกะ เหล่านี้ ใส่ความกระผมด้วยสีลวิบัติที่ไม่มีมูล กระผมนั้นถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว ขอสติวินัยกับสงฆ์” พึงขอแม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ พึงขอแม้ครั้งที่ ๓ ว่า “ท่านผู้เจริญ ภิกษุเมตติยะและภิกษุภุมมชกะเหล่านี้ใส่ ความกระผมด้วยสีลวิบัติที่ไม่มีมูล กระผมนั้นถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว ขอสติวินัย กับสงฆ์” ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า [๑๙๔] “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุเมตติยะและภิกษุภุมมชกะ เหล่านี้ใส่ความท่านพระทัพพมัลลบุตรด้วยสีลวิบัติที่ไม่มีมูล ท่านพระทัพพมัลลบุตร เป็นผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว ขอสติวินัยกับสงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงให้ สติวินัยแก่ท่านพระทัพพมัลลบุตรผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว นี่เป็นญัตติ ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุเมตติยะและภิกษุภุมมชกะเหล่านี้ ใส่ความท่านพระทัพพมัลลบุตรด้วยสีลวิบัติที่ไม่มีมูล ท่านพระทัพพมัลลบุตรเป็นผู้ ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว ขอสติวินัยกับสงฆ์ สงฆ์ให้สติวินัยแก่ท่านพระทัพพ- มัลลบุตรผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการให้สติวินัยแก่ท่าน พระทัพพมัลลบุตรผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็น ด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุ เมตติยะและภิกษุภุมมชกะเหล่านี้ ใส่ความท่านพระทัพพมัลลบุตรด้วยสีลวิบัติที่ไม่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๐๘}

                                                                 พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]

                                                                 ๓. อมูฬหวินัย

มีมูล ท่านพระทัพพมัลลบุตรเป็นผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว ขอสติวินัยกับสงฆ์ สงฆ์ให้สติวินัยแก่ท่านพระทัพพมัลลบุตร ผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว ท่านรูปใด เห็นด้วยกับการให้สติวินัยแก่ท่านพระทัพพมัลลบุตร ผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง สติวินัย สงฆ์ให้แล้วแก่ท่านพระทัพพมัลลบุตร ผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
การให้สติวินัยที่ชอบธรรม ๕ อย่าง
[๑๙๕] ภิกษุทั้งหลาย การให้สติวินัยที่ชอบธรรมมี ๕ อย่างนี้ คือ ๑. ภิกษุเป็นผู้บริสุทธิ์ ไม่ต้องอาบัติ ๒. ผู้อื่นโจทภิกษุนั้น ๓. ภิกษุนั้นขอ ๔. สงฆ์ให้สติวินัยแก่ภิกษุนั้น ๕. สงฆ์พร้อมเพรียงกันโดยธรรมให้ ภิกษุทั้งหลาย การให้สติวินัยที่ชอบธรรมมี ๕ อย่างนี้แล
สติวินัย จบ
๓. อมูฬหวินัย
ว่าด้วยระงับอธิกรณ์โดยยกประโยชน์ให้ว่าต้องอาบัติในขณะเป็นบ้า
เรื่องภิกษุชื่อคัคคะ
[๑๙๖] สมัยนั้น พระคัคคะวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ประพฤติละเมิด สิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วย กาย ภิกษุทั้งหลายโจทภิกษุชื่อคัคคะด้วยอาบัติที่ภิกษุชื่อคัคคะนั้นเป็นผู้วิกลจริต มี จิตแปรปรวน ประพฤติละเมิดเป็นอาจิณว่า “ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติ เห็นปานนี้” ภิกษุชื่อคัดคะนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ผมวิกลจริต มีจิตแปรปรวน เสียแล้ว ผมนั้นวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๐๙}

                                                                 พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]

                                                                 ๓. อมูฬหวินัย

เป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ผมระลึกอาบัตินั้น ไม่ได้ ผมหลงได้ทำสิ่งนี้แล้ว” ภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุชื่อคัคคะนั้นกล่าวอยู่อย่างนั้น ก็ยังโจทภิกษุชื่อคัคคะนั้น อยู่นั่นเองว่า “ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้” บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุ ทั้งหลายจึงได้โจทภิกษุชื่อคัคคะ ด้วยอาบัติที่ภิกษุชื่อคัคคะนั้นผู้วิกลจริต มีจิตแปร ปรวน ประพฤติละเมิดเป็นอาจิณว่า ‘ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้’ ภิกษุชื่อคัคคะนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย ผมวิกลจริต มีจิตแปรปรวนเสีย แล้ว ผมนั้นวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่ควรแก่สมณะเป็น อาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ผมระลึกอาบัตินั้น ไม่ได้ ผมหลง ได้ทำ สิ่งนี้แล้ว’ ภิกษุทั้งหลายแม้ท่านกล่าวอยู่อย่างนั้น ก็ยังโจทภิกษุชื่อคัคคะนั้นอยู่นั่นเองว่า ‘ท่าน ต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้” แล้วนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค ให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุ ทั้งหลายโจทภิกษุชื่อคัคคะ จริงหรือ ฯลฯ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิ ฯลฯ ครั้นทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถา แล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงให้อมูฬหวินัยแก่ ภิกษุชื่อคัคคะผู้หายวิกลจริตแล้ว”
วิธีให้อมูฬหวินัย และกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้อมูฬวินัยอย่างนี้ คือ ภิกษุชื่อคัคคะนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษาทั้งหลาย นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมวิกลจริต มีจิตแปรปรวนเสียแล้ว ผมนั้นวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๑๐}

                                                                 พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]

                                                                 ๓. อมูฬหวินัย

อาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ภิกษุทั้งหลายโจท กระผมด้วยอาบัติที่กระผมผู้วิกลจริต มีจิตแปรปรวน ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่ สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมายว่า ‘ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้’ กระผมกล่าวกับภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย กระผมวิกลจริต มีจิต แปรปรวนเสียแล้ว กระผมนั้นวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่ สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย กระผมระลึกอาบัตินั้นไม่ได้ กระผมหลงได้ทำสิ่งนี้แล้ว’ ภิกษุทั้งหลายแม้กระผม กล่าวอยู่อย่างนี้ ก็ยัง โจทกระผมอยู่นั่นเองว่า ‘ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็น ปานนี้’ ท่านผู้เจริญ กระผมนั้นหายหลงแล้ว ขออมูฬหวินัยกับสงฆ์” พึงขอแม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ พึงขอแม้ครั้งที่ ๓ ว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมวิกลจริต มีจิตแปรปรวนเสียแล้ว กระผมนั้นวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็น อาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ภิกษุทั้งหลายโจท กระผม ด้วยอาบัติที่กระผมผู้วิกลจริต มีจิตแปรปรวน ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่ สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมายแล้วว่า ‘ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็น ปานนี้’ กระผมกล่าวกับภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย กระผมวิกลจริต มี จิตแปรปรวนเสียแล้ว กระผมนั้นวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดสิ่งที่ ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย กระผมระลึกอาบัตินั้นไม่ได้ กระผมหลงได้ทำสิ่งนี้แล้ว’ ภิกษุทั้งหลายแม้กระผม กล่าวอยู่อย่างนี้ ก็ยังโจทกระผมอยู่นั้นเองว่า ‘ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติ เห็นปานนี้’ ท่านผู้เจริญ กระผมนั้นหายวิกลจริตแล้ว ขออมูฬหวินัยกับสงฆ์” ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า [๑๙๗] ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อคัคคะนี้วิกลจริต มีจิต แปรปรวน ภิกษุชื่อคัคคะนั้นวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่ สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๑๑}

                                                                 พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]

                                                                 ๓. อมูฬหวินัย

ภิกษุทั้งหลายโจท ภิกษุชื่อคัคคะด้วยอาบัติที่ท่านผู้วิกลจริต มีจิตแปรปรวน ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมายว่า ‘ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้’ ภิกษุชื่อคัคคะนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ กระผม วิกลจริต มีจิตแปรปรวนเสียแล้ว กระผมนั้นวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติ ละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายาม ทำด้วยกาย กระผมระลึกอาบัตินั้นไม่ได้ กระผมหลงได้ทำสิ่งนี้แล้ว’ ภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุชื่อคัคคะนั้นกล่าวอยู่อย่างนี้ ก็ยังโจทภิกษุชื่อคัคคะนั้นอยู่นั่นเองว่า ‘ท่าน ต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้’ ภิกษุชื่อคัคคะนั้นหายวิกล จริตแล้วขอ อมูฬวินัยกับสงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว สงฆ์พึงให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุชื่อคัคคะ ผู้ หายวิกลจริตแล้ว นี่เป็นญัตติ ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อคัคคะนี้วิกลจริต มีจิตแปรปรวน ท่านวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณ มากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ภิกษุทั้งหลายโจทภิกษุชื่อ คัคคะด้วยอาบัติที่ภิกษุชื่อคัคคะนั้นผู้วิกลจริต มีจิตแปรปรวน ประพฤติละเมิดสิ่งที่ ไม่สมควรแก่สมณะ เป็นอาจิณมากมายว่า ‘ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็น ปานนี้’ ภิกษุชื่อคัคคะนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ กระผมวิกลจริต มีจิตแปร ปรวนเสียแล้ว กระผมนั้นวิกล จริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่ สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย กระผมระลึกอาบัตินั้นไม่ได้ กระผมหลงได้ทำสิ่งนี้แล้ว’ ภิกษุทั้งหลายแม้ภิกษุชื่อ คัคคะนั้นกล่าวอยู่อย่างนั้น ก็ยังโจทภิกษุชื่อคัคคะนั้นอยู่อย่างนั่นเองว่า ‘ท่านต้องอาบัติ แล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้” ภิกษุชื่อคัคคะนั้นหายวิกลจริตแล้ว ขออมูฬหวินัย กับสงฆ์ สงฆ์ให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุชื่อคัคคะผู้หายวิกลจริตแล้ว ท่านรูปใดเห็นด้วย กับการให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุชื่อคัคคะผู้หายวิกลจริตแล้ว ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใด ไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๑๒}

                                                                 พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]

                                                                 ๓. อมูฬหวินัย

อมูฬหวินัย สงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุชื่อคัคคะผู้หายวิกลจริตแล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
อมูฬหวินัย ไม่ชอบธรรม ๓ กรณี
[๑๙๘] ภิกษุทั้งหลาย การให้อมูฬหวินัย ไม่ชอบธรรม ๓ หมวด ชอบธรรม ๓ หมวดนี้ การให้อมูฬหวินัย ไม่ชอบธรรม ๓ หมวด เป็นไฉน
หมวดที่ ๑
ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ภิกษุต้องอาบัติ สงฆ์หรือภิกษุมากรูป หรือภิกษุ รูปเดียวโจทภิกษุนั้นว่า “ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้” ภิกษุนั้น กำลังระลึก กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่าน ผมต้องอาบัติแล้ว แต่ระลึกอาบัติเห็นปานนี้ ไม่ได้” สงฆ์ให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุนั้น การให้อมูฬหวินัยไม่ชอบธรรม
หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุต้องอาบัติ สงฆ์หรือภิกษุมากรูป หรือ ภิกษุรูปเดียวโจทภิกษุนั้นว่า “ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้” ภิกษุ นั้นระลึกได้จึงกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่าน ผมระลึกได้เหมือนความฝัน” สงฆ์ให้อมูฬห- วินัยแก่ภิกษุนั้น การให้อมูฬหวินัยไม่ชอบธรรม
หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุต้องอาบัติ สงฆ์หรือภิกษุมากรูป หรือ ภิกษุรูปเดียวโจทภิกษุนั้นว่า “ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้” ภิกษุ นั้นหายวิกลจริตแล้ว แต่ยังทำเป็นวิกลจริตว่า “ผมก็ทำอย่างนี้ ท่านทั้งหลายก็ทำ อย่างนี้ สิ่งนี้ควรแก่ผม สิ่งนี้ควรแม้แก่ท่านทั้งหลาย” สงฆ์ให้อมูฬวินัยแก่ภิกษุนั้น การให้อมูฬหวินัยไม่ชอบธรรม การให้อมูฬหวินัยไม่ชอบธรรม ๓ หมวดเหล่านี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๑๓}

                                                                 พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]

                                                                 ๓. อมูฬหวินัย

อมูฬหวินัยชอบธรรม ๓ กรณี
หมวดที่ ๑
[๑๙๙] การให้อมูฬหวินัยชอบธรรม ๓ หมวด เป็นไฉน ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ภิกษุวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ภิกษุนั้นผู้วิกลจริต มีจิตแปรปรวนได้ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าว ด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย สงฆ์หรือภิกษุมากรูป หรือภิกษุรูปเดียวโจทภิกษุ นั้นว่า “ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้” ภิกษุนั้นระลึกไม่ได้จึงกล่าว อย่างนี้ว่า “ท่าน ผมต้องอาบัติแล้ว แต่ระลึกอาบัติเห็นปานนี้ไม่ได้” สงฆ์ให้อมูฬห- วินัยแก่ภิกษุนั้น การให้อมูฬหวินัยชอบธรรม
หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุที่วิกลจริต มีจิตแปรปรวน ภิกษุนั้น ผู้วิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณ มากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย สงฆ์หรือภิกษุมากรูป หรือ ภิกษุรูปเดียวโจทภิกษุนั้นว่า “ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้” ภิกษุนั้น ระลึกไม่ได้จึงกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่าน ผมระลึกได้เหมือนความฝัน” สงฆ์ให้อมูฬหวินัย แก่ภิกษุนั้น การให้อมูฬหวินัยชอบธรรม
หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ภิกษุนั้น ผู้วิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณ มากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย สงฆ์หรือภิกษุมากรูป หรือ ภิกษุรูปเดียวโจทภิกษุนั้นว่า “ท่านต้องอาบัติแล้วจงระลึกอาบัติเห็นปานนี้” ภิกษุนั้น ยังวิกลจริตอยู่ ทำเป็นวิกลจริตว่า “ผมก็ทำอย่างนี้ แม้ท่านทั้งหลายก็ทำอย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๑๔}

                                                                 พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]

                                                                 ๔. ปฏิญญาตกรณะ

สิ่งนี้ควรแม้แก่ผม สิ่งนี้ควรแม้แก่ท่านทั้งหลาย” สงฆ์ให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุนั้น การ ให้อมูฬหวินัยชอบธรรม การให้อมูฬหวินัยชอบธรรม ๓ หมวดเหล่านี้
อมูฬหวินัย จบ
๔. ปฏิญญาตกรณะ
ว่าด้วยระงับอธิกรณ์ตามคำรับของจำเลย
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๒๐๐] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ลงโทษภิกษุทั้งหลายโดยมิได้ปฏิญญา คือ ลงตัชชนียกรรมบ้าง นิยสกรรมบ้าง ปัพพาชนียกรรมบ้าง ปฏิสารณียกรรมบ้าง อุกเขปนียกรรมบ้าง บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก ภิกษุฉัพพัคคีย์จึงลงโทษภิกษุทั้งหลายโดยมิได้ปฏิญญาเล่า คือ ลงตัชชนียกรรมบ้าง นิยสกรรมบ้าง ปัพพาชนียกรรมบ้าง ปฏิสารณียกรรมบ้าง อุกเขปนียกรรมบ้าง” แล้วได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ฯลฯ จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาค ฯลฯ ครั้นทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถารับสั่ง กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงลงโทษภิกษุทั้งหลายโดยมิได้ปฏิญญา คือ ลงตัชชนียกรรมบ้าง นิยสกรรมบ้าง ปัพพาชนียกรรมบ้าง ปฏิสารณียกรรมบ้าง อุกเขปนียกรรมบ้าง รูปใดลง ต้องอาบัติทุกกฏ” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๑๕}

                                                                 พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]

                                                                 ๔. ปฏิญญาตกรณะ

ปฏิญญาตกรณะที่ไม่ชอบธรรม
[๒๐๑] ภิกษุทั้งหลาย ปฏิญญาตกรณะที่ไม่ชอบธรรมอย่างนี้ ที่ชอบธรรม อย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย ปฏิญญากรณะที่ไม่ชอบธรรม เป็นอย่างไร คือ ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์หรือภิกษุมากรูป หรือภิกษุรูปเดียวโจท ภิกษุนั้นว่า “ท่านต้องอาบัติปาราชิก” ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่าน ผมมิได้ ต้องอาบัติปาราชิก ผมต้องอาบัติสังฆาทิเสส” สงฆ์ปรับอาบัติสังฆาทิเสสภิกษุนั้น (การปรับอย่างนี้) ชื่อว่า ปฏิญญาตกรณะที่ไม่ชอบธรรม ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์หรือภิกษุมากรูป หรือภิกษุรูปเดียวโจทภิกษุนั้น ว่า “ท่านต้องอาบัติปาราชิก” ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่าน ผมมิได้ต้องอาบัติ ปาราชิก ฯลฯ ผมต้องอาบัติถุลลัจจัย” สงฆ์ปรับอาบัติถุลลัจจัยภิกษุนั้น (การปรับ อย่างนี้) ชื่อว่าปฏิญญาตกรณะที่ไม่ชอบธรรม ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์หรือภิกษุมากรูป หรือภิกษุรูปเดียวโจทภิกษุนั้น ว่า “ท่านต้องอาบัติปาราชิก” ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่าน ผมมิได้ต้องอาบัติ ปาราชิก ผมต้องอาบัติปาจิตตีย์” สงฆ์ปรับอาบัติปาจิตตีย์ภิกษุนั้น (การปรับ อย่างนี้) ชื่อว่าปฏิญญาตกรณะที่ไม่ชอบธรรม ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์หรือภิกษุมากรูป หรือภิกษุรูปเดียวโจทภิกษุนั้น ว่า “ท่านต้องอาบัติปาราชิก” ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่าน ผมมิได้ต้องอาบัติ ปาราชิก ผมต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ” สงฆ์ปรับอาบัติปาฏิเทสนียะภิกษุนั้น (การ ปรับอย่างนี้) ชื่อว่าปฏิญญาตกรณะที่ไม่ชอบธรรม ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์หรือภิกษุมากรูป หรือภิกษุรูปเดียวโจทภิกษุนั้น ว่า “ท่านต้องอาบัติปาราชิก” ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่าน ผมมิได้ต้องอาบัติ ปาราชิก ผมต้องอาบัติทุกกฏ” สงฆ์ปรับอาบัติทุกกฏภิกษุนั้น (การปรับอย่างนี้) ชื่อว่าปฏิญญาตกรณะที่ไม่ชอบธรรม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๑๖}

                                                                 พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]

                                                                 ๔. ปฏิญญาตกรณะ

ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์หรือภิกษุมากรูป หรือภิกษุรูปเดียวโจทภิกษุนั้น ว่า “ท่านต้องอาบัติปาราชิก” ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่าน ผมมิได้ต้องอาบัติ ปาราชิก ผมต้องอาบัติทุพภาสิต” สงฆ์ปรับอาบัติทุพภาสิตภิกษุนั้น (การปรับ อย่างนี้) ชื่อว่าปฏิญญาตกรณะที่ไม่ชอบธรรม ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสส ฯลฯ อาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ อาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ อาบัติปาฏิเทสนียะ ฯลฯ อาบัติทุกกฏ ฯลฯ ภิกษุต้องอาบัติทุพภาสิต สงฆ์หรือภิกษุมากรูป หรือภิกษุรูปเดียวโจทภิกษุนั้น ว่า “ท่านต้องอาบัติทุพภาสิต” ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่าน ผมมิได้ต้องอาบัติ ทุพภาสิต ผมต้องอาบัติปาราชิก” สงฆ์ปรับอาบัติปาราชิกภิกษุนั้น (การปรับ อย่างนี้) ชื่อว่าปฏิญญาตกรณะที่ไม่ชอบธรรม ภิกษุต้องอาบัติทุพภาสิต สงฆ์หรือภิกษุมากรูป หรือภิกษุรูปเดียวโจทภิกษุนั้น ว่า “ท่านต้องอาบัติทุพภาสิต” ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่าน ผมมิได้ต้องอาบัติ ทุพภาสิต ผมต้องอาบัติสังฆาทิเสส” ฯลฯ อาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ อาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ อาบัติปาฏิเทสนียะ ฯลฯ อาบัติทุกกฏ” สงฆ์ปรับอาบัติทุกกฏภิกษุนั้น (การปรับ อย่างนี้) ชื่อว่าปฏิญญาตกรณะที่ไม่ชอบธรรม ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ปฏิญญาตกรณะที่ไม่ชอบธรรม
ปฏิญญาตกรณะที่ชอบธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิญญาตกรณะที่ชอบธรรม เป็นอย่างไร คือ ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์หรือภิกษุมากรูป หรือภิกษุรูปเดียว โจทภิกษุนั้นว่า “ท่านต้องอาบัติปาราชิก” ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ถูกละท่าน ผมต้องอาบัติปาราชิก” สงฆ์ปรับอาบัติปาราชิกภิกษุนั้น (การปรับอย่างนี้) ชื่อว่า ปฏิญญาตกรณะที่ชอบธรรม ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสส ฯลฯ อาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ อาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ อาบัติปาฏิเทสนียะ ฯลฯ อาบัติทุกกฏ ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๑๗}

                                                                 พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]

                                                                 ๕. เยภุยยสิกา

ภิกษุต้องอาบัติทุพภาสิต สงฆ์หรือภิกษุมากรูป หรือภิกษุรูปเดียวโจทภิกษุนั้น ว่า “ท่านต้องอาบัติทุพภาสิต” ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ถูกละท่าน ผมต้องอาบัติ ทุพภาสิต” สงฆ์ปรับอาบัติทุพภาสิตภิกษุนั้น (การปรับอย่างนี้) ชื่อว่าปฏิญญาต- กรณะที่ชอบธรรม ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ปฏิญญาตกรณะที่ชอบธรรม
ปฏิญญาตกรณะ จบ
๕. เยภุยยสิกา
ว่าด้วยระงับอธิกรณ์ตามเสียงข้างมาก
เรื่องภิกษุหลายรูป
[๒๐๒] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเป็นผู้บาดหมาง ทะเลาะวิวาทกัน ในท่าม กลางสงฆ์ กล่าวทิ่มแทงกันและกันด้วยหอกคือปากอยู่ ไม่อาจระงับอธิกรณ์นั้นได้ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนั้นไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ระงับอธิกรณ์เห็นปานนี้ ด้วยเยภุยยสิกา สงฆ์พึงแต่งตั้งภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ให้เป็นผู้ให้จับสลาก คือ ๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง ๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว ๕. รู้จักสลากที่จับแล้วและยังมิได้จับ
วิธีแต่งตั้งและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงแต่งตั้งภิกษุผู้ให้จับสลากอย่างนี้ คือ เบื้องต้นพึงขอ ให้ภิกษุรับ ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาดสามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติย- กรรมวาจาว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๑๘}

                                                                 พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]

                                                                 ๕. เยภุยยสิกา

[๒๐๓] ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงแต่งตั้งภิกษุ ชื่อนี้ให้เป็นผู้ให้จับสลาก นี่เป็นญัตติ ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์แต่งตั้งภิกษุชื่อนี้ให้เป็นผู้ให้จับสลากแล้ว ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการแต่งตั้งภิกษุชื่อนี้ให้เป็นผู้ให้จับสลาก ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง ภิกษุชื่อนี้ สงฆ์แต่งตั้งให้เป็นผู้ให้จับสลากแล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
การจับสลากที่ไม่ชอบธรรม ๑๐ อย่าง
[๒๐๔] ภิกษุทั้งหลาย การจับสลากที่ไม่ชอบธรรม ๑๐ อย่าง ที่ชอบธรรม ๑๐ อย่างเหล่านี้ การจับสลากที่ไม่ชอบธรรม ๑๐ อย่าง เป็นไฉน คือ ๑. อธิกรณ์เป็นเรื่องเล็กน้อย ๒. ไม่ลุกลามไปไกล ๓. ภิกษุพวกนั้นระลึกไม่ได้เองและพวกอื่นก็ให้ระลึกไม่ได้ ๔. รู้ว่า อธรรมวาทีมากกว่า ๕. รู้ว่า ไฉนอธรรมวาทีพึงมีมากกว่า ๖. รู้ว่า สงฆ์จักแตกกัน ๗. รู้ว่า ไฉนสงฆ์พึงแตกกัน ๘. อธรรมวาทีภิกษุจับโดยไม่ชอบธรรม ๙. อธรรมวาทีภิกษุแบ่งพวกกันจับ ๑๐. ไม่จับตามความเห็น การจับสลากที่ไม่ชอบธรรม ๑๐ อย่าง เหล่านี้
การจับสลากที่ชอบธรรม ๑๐ อย่าง
การจับสลากที่ชอบธรรม ๑๐ อย่าง เป็นไฉน คือ ๑. อธิกรณ์ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย ๒. ลุกลามไปไกล ๓. ภิกษุพวกนั้นระลึกได้เองและพวกอื่นก็ให้ระลึกได้ ๔. รู้ว่า ธรรมวาทีมากกว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๑๙}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๖ หน้าที่ ๒๙๕-๓๑๙. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=6&page=295&pages=25&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=6&A=7786 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=6&A=7786#p295 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 6 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_6 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu6 https://84000.org/tipitaka/english/?index_6



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๙๕-๓๑๙.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]