ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวรรค ภาค ๒

หน้าที่ ๒๘๘-๒๙๑.


                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ]

                                                                 ๒๔๑. อุปาลิปุจฉากถา

กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ผมไม่มีอาบัติที่พึงทำคืน” สงฆ์จึงลงอุกเขปนียกรรม ภิกษุนั้นเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ชื่อว่ากรรมชอบธรรม ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุมีทิฏฐิบาปที่พึงสละ สงฆ์ ภิกษุหลายรูป หรือรูปเดียวโจทภิกษุนั้นว่า “ท่าน ท่านมีทิฏฐิบาป จงสละทิฏฐิบาปนั้น” ภิกษุนั้น กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ผมไม่มีทิฏฐิบาปที่พึงสละ” สงฆ์จึงลงอุกเขปนียกรรม ภิกษุนั้นเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ชื่อว่ากรรมชอบธรรม ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุมีอาบัติที่พึงเห็น มีอาบัติที่พึงทำคืน ... ... มีอาบัติที่พึงเห็น มีทิฏฐิบาปที่พึงสละ ... ... มีอาบัติที่พึงทำคืน มีทิฏฐิบาป ที่พึงสละ ... ... มีอาบัติที่พึงเห็น มีอาบัติที่พึงทำคืน มีทิฏฐิบาปที่พึงสละ สงฆ์ ภิกษุหลายรูป หรือรูปเดียวโจทภิกษุนั้นว่า “ท่าน ท่านต้องอาบัติแล้ว เห็นอาบัติ นั้นไหม จงทำคืนอาบัตินั้น ท่านมีทิฏฐิบาป จงสละทิฏฐิบาปนั้น” ภิกษุนั้นกล่าว อย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ผมไม่มีอาบัติที่พึงเห็น ผมไม่มีอาบัติที่พึงทำคืน ผม ไม่มีทิฏฐิบาปที่พึงสละ” สงฆ์จึงลงอุกเขปนียกรรมภิกษุนั้นเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ เพราะไม่ทำคืนอาบัติ หรือเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ชื่อว่ากรรมชอบธรรม
๒๔๑. อุปาลิปุจฉากถา
ว่าด้วยพระอุบาลีกราบทูลถามปัญหา
เรื่องกรรมไม่ชอบด้วยธรรมไม่ชอบด้วยวินัย
หมวดที่ ๑ รวม ๑๖ กรณี
[๔๐๐] ครั้งนั้น ท่านพระอุบาลีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้น ถึงแล้วได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่งอยู่ ณ ที่สมควร ท่านพระอุบาลีผู้ นั่งแล้ว ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “กรรมที่ควรทำต่อหน้า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๒๘๘}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ]

                                                                 ๒๔๑. อุปาลิปุจฉากถา

แต่สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันกลับทำลับหลัง กรรมนั้นจัดว่าเป็นกรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรม ชอบด้วยวินัยหรือ พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อุบาลี กรรมนั้นจัดว่าเป็นกรรมไม่ชอบด้วย ธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย” ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “กรรมที่ควรทำโดยการสอบถาม แต่สงฆ์พร้อม เพรียงกันทำโดยไม่สอบถาม ... ... กรรมที่ควรทำตามปฏิญญา แต่สงฆ์พร้อม เพรียงกันทำโดยไม่ตามปฏิญญา ... ... ให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุผู้ควรสติวินัย ... ... ลงตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย ... ... ลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ ควรตัสสปาปิยสิกากรรม ... ... ลงนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัชชนียกรรม ... ... ลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรนิยสกรรม ... ... ลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ ควรปัพพาชนียกรรม ... ... ลงอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปฏิสารณียกรรม ... ... ให้ปริวาสแก่ภิกษุผู้ควรอุกเขปนียกรรม ... ... ชักภิกษุผู้ควรปริวาสเข้าหาอาบัติเดิม ... ... ให้มานัตแก่ภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม ... ... อัพภานภิกษุผู้ควรมานัต ... ... ให้ภิกษุผู้ควรอัพภาน อุปสมบทให้กุลบุตร กรรมนั้นจัดว่าเป็นกรรมชอบด้วย ธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัยหรือ พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อุบาลี กรรมนั้นจัดว่าเป็นกรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย อุบาลี กรรมที่ควรทำต่อหน้า แต่สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันกลับทำลับหลัง อย่างนี้แล จัดว่าเป็นกรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย อย่างนี้แล สงฆ์ย่อมมี ความผิด อุบาลี กรรมที่ควรทำโดยการสอบถาม แต่สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันกลับทำ โดยไม่สอบถาม ... ... กรรมที่ควรทำตามปฏิญญา แต่สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันกลับ ทำโดยไม่ตามปฏิญญา ... ... ให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุผู้ควรสติวินัย ... ... ลงตัสส- ปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย ... ... ลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควร ตัสสปาปิยสิกากรรม ... ... ลงนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัชชนียกรรม ... ... ลง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๒๘๙}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ]

                                                                 ๒๔๑. อุปาลิปุจฉากถา

ปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรนิยสกรรม ... ... ลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ควร ปัพพาชนียกรรม ... ... ลงอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปฏิสารณียกรรม ... ... ให้ปริวาสแก่ภิกษุผู้ควรอุกเขปนียกรรม ... ... ชักภิกษุผู้ควรปริวาสเข้าหาอาบัติเดิม ... ... ให้มานัตแก่ภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม ... ... อัพภานภิกษุผู้ควรมานัต ... ... ให้ภิกษุผู้ควรอัพภาน อุปสมบทให้กุลบุตร อุบาลี อย่างนี้แล จัดว่าเป็น กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย อย่างนี้แล สงฆ์ย่อมมีความผิด”
เรื่องกรรมที่ชอบด้วยธรรมชอบด้วยวินัย
หมวดที่ ๑ รวม ๑๖ กรณี
[๔๐๑] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “กรรมที่ควรทำต่อหน้า สงฆ์ผู้พร้อม เพรียงกันทำต่อหน้า กรรมนั้นจัดว่าเป็นกรรมชอบด้วยธรรม จัดว่าเป็นกรรมชอบ ด้วยวินัยหรือ พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อุบาลี กรรมนั้นจัดว่าเป็นกรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย” พระอุบาลีกราบทูลว่า “กรรมที่ควรทำโดยการสอบถาม สงฆ์ผู้พร้อมเพรียง กันทำโดยการสอบถาม ... ... กรรมที่ควรทำตามปฏิญญา สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ก็ทำตามปฏิญญา ... ... ให้สติวินัยแก่ภิกษุผู้ควรสติวินัย ... ... ให้อมูฬหวินัยแก่ ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย ... ... ลงตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัสสปาปิยสิกา กรรม ... ... ลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัชชนียกรรม ... ... ลงนิยสกรรมแก่ ภิกษุผู้ควรนิยสกรรม ... ... ลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปัพพาชนียกรรม ... ... ลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปฏิสารณียกรรม ... ... ลงอุกเขปนียกรรมแก่ ภิกษุผู้ควรอุกเขปนียกรรม ... ... ให้ปริวาสแก่ภิกษุผู้ควรปริวาส ... ... ชักภิกษุผู้ ควรชักเข้าหาอาบัติเดิมเข้าหาอาบัติเดิม ... ... ให้มานัตแก่ภิกษุผู้ควรมานัต ... ... อัพภานภิกษุผู้ควรอัพภาน ... ... อุปสมทให้กุลบุตรผู้ควรอุปสมบท กรรมนั้นจัด ว่าเป็นกรรมชอบด้วยธรรม จัดว่าเป็นกรรมชอบด้วยวินัยหรือ พระพุทธเจ้าข้า” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๒๙๐}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ]

                                                                 ๒๔๑. อุปาลิปุจฉากถา

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อุบาลี กรรมนั้นจัดว่าเป็นกรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย อุบาลี กรรมที่ควรทำต่อหน้า สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันก็ทำต่อหน้า อย่างนี้แล จัดว่าเป็นกรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย อย่างนี้แล สงฆ์ย่อมไม่มี ความผิด อุบาลี กรรมที่ควรทำโดยการสอบถาม สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันก็ทำโดยการ สอบถาม ... ... กรรมที่ควรทำตามปฏิญญา สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันก็ทำตามปฏิญญา ... ... ให้สติวินัยแก่ภิกษุผู้ควรสติวินัย ... ... ให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย ... ... ลงตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัสสปาปิยสิกากรรม ... ... ลงตัชชนีย กรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัชชนียกรรม ... ... ลงนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ควรนิยสกรรม ... ... ลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปัพพาชนียกรรม ... ... ลงปฏิสารณียกรรมแก่ ภิกษุผู้ควรปฏิสารณียกรรม ... ... ลงอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรอุกเขปนียกรรม ... ... ให้ปริวาสแก่ภิกษุผู้ควรปริวาส ... ... ชักภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิมเข้าหา อาบัติเดิม ... ... ให้มานัตแก่ภิกษุผู้ควรมานัต ... ... อัพภานภิกษุผู้ควรอัพภาน ... ... อุปสมบทให้กุลบุตรผู้ควรอุปสมบท อุบาลี อย่างนี้แล จัดว่าเป็นกรรมชอบ ด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย อย่างนี้แล สงฆ์ย่อมไม่มีความผิด”
เรื่องกรรมไม่ชอบด้วยธรรมไม่ชอบด้วยวินัย
หมวดที่ ๒ อีก ๑๖ กรณี
[๔๐๒] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันให้อมูฬหวินัยแก่ ภิกษุผู้ควรสติวินัย ให้สติวินัยแก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย กรรมนั้นจัดว่าเป็นกรรม ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัยหรือ พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อุบาลี กรรมนั้นจัดว่าเป็นกรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๒๙๑}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๕ หน้าที่ ๒๘๘-๒๙๑. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=5&page=288&pages=4&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=5&A=7685 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=5&A=7685#p288 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 5 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_5 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu5 https://84000.org/tipitaka/english/?index_5



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๘๘-๒๙๑.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]