ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวรรค ภาค ๑

หน้าที่ ๒๙๕-๓๑๙.


                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ]

                                                                 ๑๐๙. สัตตาหกรณียานุชานนา

ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้คล้อยตามพระราชา”๑-
๑๐๙. สัตตาหกรณียานุชานนา
ว่าด้วยทรงอนุญาตสัตตาหกรณียะเมื่อเขาสร้างวิหารถวายเป็นต้น
เรื่องอุบาสกสร้างวิหารเป็นต้นถวาย
[๑๘๗] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กรุงราชคฤห์ตามพระอัธยาศัย แล้วได้เสด็จจาริกไปทางกรุงสาวัตถี เสด็จจาริกไปโดยลำดับ จนถึงกรุงสาวัตถี ทราบว่า พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี ในกรุง สาวัตถีนั้น สมัยนั้น อุบาสกชื่ออุเทนได้สร้างวิหารถวายอุทิศสงฆ์ ในแคว้นโกศลแล้วส่งทูต ไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “ขออาราธนาพระคุณเจ้าทั้งหลายมา ข้าพเจ้าปรารถนา จะถวายทาน ฟังธรรมและเห็นภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุทั้งหลายตอบไปว่า “คุณโยม พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า ภิกษุเข้า จำพรรษาแล้วไม่อยู่ให้ตลอด ๓ เดือนพรรษาต้น หรือ ๓ เดือนพรรษาหลัง ไม่พึง หลีกจาริกไป ขอโยมอุเทนจงรอจนกว่าภิกษุอยู่จำพรรษาจนออกพรรษาแล้วจักมา แต่ถ้าโยมมีธุระจำเป็นรีบด่วน ก็ขอให้ถวายวิหารไว้ในสำนักภิกษุที่อยู่ในอาวาส ใน แคว้นโกศลนั่นแหละ” อุบาสกอุเทนจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนเมื่อเราส่งทูตไปแล้ว พระคุณเจ้าทั้งหลายจึงไม่มาเล่า เราก็เป็นทายก เป็นผู้สร้าง เป็นผู้บำรุงพระสงฆ์” @เชิงอรรถ : @ หมายถึงให้คล้อยตามบ้านเมือง แม้ในเรื่องอื่นที่ชอบธรรม ก็พึงคล้อยตาม แต่ไม่พึงคล้อยตามใครๆ @ในเรื่องที่ไม่ชอบธรรม (วิ.อ. ๓/๑๘๕-๑๘๖/๑๔๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๒๙๕}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ]

                                                                 ๑๐๙. สัตตาหกรณียานุชานนา

ภิกษุทั้งหลายได้ยินอุบาสกอุเทนตำหนิ ประณาม โพนทะนา จึงนำเรื่องนี้ไป กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่งกับ ภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคล ๗ จำพวกคือ ภิกษุ ภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี อุบาสก อุบาสิกา ส่งทูตมา เราอนุญาตให้ไปด้วย สัตตาหกรณียะ๑- ได้ แต่เมื่อพวกเขาไม่ส่งทูตมา เราไม่อนุญาตให้ไป ภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคล ๗ จำพวกเหล่านี้ส่งทูตมา เราอนุญาตให้ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ แต่เมื่อพวกเขาไม่ส่งทูตมา เราไม่อนุญาต (เมื่อไปด้วยสัตตาหกรณียะ) พึงกลับใน ๗ วัน”๒- [๑๘๘] ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ อุบาสกได้สร้างวิหารถวายอุทิศสงฆ์ ถ้าเขาส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “ขออาราธนาพระคุณเจ้าทั้งหลายมา ข้าพเจ้าปรารถนาจะถวายทาน ฟังธรรม และเห็นภิกษุทั้งหลาย” เมื่อเขาส่งทูตมา พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ แต่เมื่อเขาไม่ส่งทูตมา ไม่พึงไป (เมื่อไปด้วยสัตตาห กรณียะ) พึงกลับใน ๗ วัน ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ อุบาสกได้สร้างเรือนมุงแถบเดียวถวายอุทิศสงฆ์ ฯลฯ ... ได้สร้างปราสาท ... ... ได้สร้างเรือนโล้น ... ... ได้สร้างถ้ำ ... ... ได้สร้างบริเวณ ... ... ได้สร้างซุ้ม ... ... ได้สร้างโรงฉัน ... ... ได้สร้างโรงไฟ ... ... ได้สร้างกัปปิยกุฎี ... ... ได้สร้างวัจกุฎี ... ... ได้สร้างที่จงกรม ... ... ได้สร้างโรงจงกรม ... ... ได้สร้างบ่อน้ำ ... @เชิงอรรถ : @ สัตตาหกรณียะ แปลว่า ธุระที่จะพึงทำให้เสร็จได้ภายใน ๗ วัน หมายถึงธุระเป็นเหตุให้ภิกษุออกจาก @วัดไปค้างแรมที่อื่นได้ในระหว่างพรรษา เป็นเวลา ๗ วัน (วิ.อ. ๓/๑๘๗/๑๔๖) @ พึงกลับใน ๗ วัน คือ ต้องกลับมารับอรุณที่ ๗ ในวัดที่ตนเข้าพรรษา จะไปพักแรมครบ ๗ วันแล้ว @กลับมารับอรุณที่ ๘ ไม่ได้ (วิ.อ. ๓/๑๘๗/๑๔๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๒๙๖}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ]

                                                                 ๑๐๙. สัตตาหกรณียานุชานนา

... ได้สร้างโรงบ่อน้ำ ... ... ได้สร้างเรือนไฟ ... ... ได้สร้างโรงเรืองไฟ ... ... ได้สร้างสระโบกขรณี ... ... ได้สร้างมณฑป ... ... ได้สร้างอาราม ... ... ได้สร้างอารามวัตถุ๑- ถ้าเขาส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “ขออาราธนาพระคุณเจ้าทั้งหลายมา ข้าพเจ้าปรารถนาจะถวายทาน ฟังธรรม และเห็นภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเขาส่งทูตมา พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ แต่เมื่อเขาไม่ส่งทูตมา ไม่พึงไป(เมื่อไป ด้วยสัตตาหกรณียะ) พึงกลับใน ๗ วัน ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ อุบาสกได้สร้างวิหารถวายอุทิศภิกษุมากรูป ได้สร้างวิหารอุทิศภิกษุรูปหนึ่ง ... ... ได้สร้างเรืองมุงแถบเดียว ... ... ได้สร้างปราสาท ... ... ได้สร้างเรืองโล้น ... ... ได้สร้างถ้ำ ... ... ได้สร้างบริเวณ ... ... ได้สร้างซุ้ม ... ... ได้สร้างโรงฉัน ... ... ได้สร้างโรงไฟ ... ... ได้สร้างกัปปิยกุฎี ... ... ได้สร้างวัจกุฎี ... ... ได้สร้างที่จงกรม ... ... ได้สร้างโรงจงกรม ... ... ได้สร้างบ่อน้ำ ... ... ได้สร้างโรงบ่อน้ำ ... ... ได้สร้างเรืองไฟ ... ... ได้สร้างโรงเรือนไฟ ... ... ได้สร้างสระโบกขรณี ... ... ได้สร้างมณฑป ... ... ได้สร้างอาราม ... ... ได้สร้างอารามวัตถุ ถ้าเขาส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “ขออาราธนาพระคุณเจ้าทั้งหลายมา ข้าพเจ้าปรารถนาจะถวายทาน ฟังธรรม และเห็นภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเขาส่งทูตมา พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ แต่เมื่อเขาไม่ส่งทูตมา ไม่พึงไป (เมื่อไป ด้วยสัตตาหกรณียะ) พึงกลับใน ๗ วัน @เชิงอรรถ : @ อารามวัตถุ หมายถึงพื้นที่ที่มิได้ปลูกพืชหรือไม้กอ แต่ปรับเป็นพื้นที่ไว้ อาจล้อมรั้วไว้หรือมิได้ล้อม @กำหนดไว้เป็นสถานที่สวนดอกไม้เป็นต้น (วิ.อ. ๑/๑๐๕/๓๗๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๒๙๗}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ]

                                                                 ๑๐๙. สัตตาหกรณียานุชานนา

ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ อุบาสกได้สร้างวิหารถวายอุทิศภิกษุณีสงฆ์ ฯลฯ อุทิศภิกษุณีมากรูป ฯลฯ อุทิศภิกษุณีรูปเดียว ฯลฯ อุทิศสิกขมานามากรูป ฯลฯ อุทิศสิกขมานารูปเดียว ฯลฯ อุทิศสามเณรมากรูป ฯลฯ อุทิศสามเณรรูปเดียว ฯลฯ อุทิศสามเณรีมากรูป ฯลฯ อุทิศสามเณรีรูปเดียว ฯลฯ ... ได้สร้างเรืองมุงแถบเดียว ... ... ได้สร้างปราสาท ... ... ได้สร้างเรืองโล้น ... ... ได้สร้างถ้ำ ... ... ได้สร้างบริเวณ ... ... ได้สร้างซุ้ม ... ... ได้สร้างโรงฉัน ... ... ได้สร้างโรงไฟ ... ... ได้สร้างกัปปิยกุฎี ... ... ได้สร้างวัจกุฎี ... ... ได้สร้างที่จงกรม ... ... ได้สร้างโรงจงกรม ... ... ได้สร้างบ่อน้ำ ... ... ได้สร้างโรงบ่อน้ำ ... ... ได้สร้างเรืองไฟ ... ... ได้สร้างโรงเรือนไฟ ... ... ได้สร้างสระโบกขรณี ... ... ได้สร้างมณฑป ... ... ได้สร้างอาราม ... ... ได้สร้างอารามวัตถุ ถ้าเขาส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “ขออาราธนาพระคุณเจ้าทั้งหลายมา ข้าพเจ้าปรารถนาจะถวายทาน ฟังธรรม และเห็นภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเขาส่งทูตมา พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ แต่เมื่อเขาไม่ส่งทูตมา ไม่พึงไป (เมื่อไป ด้วยสัตตาหกรณียะ) พึงกลับใน ๗ วัน [๑๘๙] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ อุบาสกได้สร้างที่อยู่อาศัยเพื่อ ประโยชน์แก่ตน... ... ได้สร้างเรือนนอน ... ... ได้สร้างโรงเก็บของ ... ... ได้สร้างร้าน ... ... ได้สร้างโรงกลม ... ... ได้สร้างร้านค้า ... ... ได้สร้างโรงร้านค้า ... ... ได้สร้างปราสาท ... ... ได้สร้างเรือนโล้น ... ... ได้สร้างถ้ำ ... ... ได้สร้างบริเวณ ... ... ได้สร้างซุ้ม ... ... ได้สร้างโรงฉัน ... {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๒๙๘}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ]

                                                                 ๑๐๙. สัตตาหกรณียานุชานนา

... ได้สร้างโรงไฟ ... ... ได้สร้างโรงครัว ... ... ได้สร้างที่จงกรม ... ... ได้สร้างโรงจงกรม ... ... ได้สร้างบ่อน้ำ ... ... ได้สร้างโรงบ่อน้ำ ... ... ได้สร้างเรือนไฟ ... ... ได้สร้างสระโบกขรณี ... ... ได้สร้างมณฑป ... ... ได้สร้างอาราม ... ... ได้สร้างอารามวัตถุ เขามีงานมงคลสมรสของบุตรหรือธิดา เขาเป็นไข้หรือจะกล่าวพระสูตรซึ่ง เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปก็ดี ถ้าเขาส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “ขออาราธนา พระคุณเจ้าทั้งหลายมา จะได้เล่าเรียนพระสูตรนี้ก่อนที่พระสูตรจะเลือนไป” ก็หรือว่า เขามีกิจหรือธุระจำเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้าเขาส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “ขออาราธนาพระคุณเจ้าทั้งหลายมา ข้าพเจ้าปรารถนาจะถวายทาน ฟังธรรม และเห็นภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเขาส่งทูตมา พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ แต่เมื่อเขาไม่ส่งทูตมา ไม่พึงไป (เมื่อไปด้วยสัตตาหกรณียะ) พึงกลับใน ๗ วัน [๑๙๐] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ อุบาสิกาได้สร้างวิหารถวายอุทิศสงฆ์ ถ้านางส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “ขออาราธนาพระคุณเจ้าทั้งหลายมา ดิฉันปรารถนาจะถวายทาน ฟังธรรม และเห็นภิกษุทั้งหลาย” เมื่อนางส่งทูตมา พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ แต่เมื่อนางไม่ส่งทูตมา ไม่พึงไป (เมื่อไปด้วยสัตตาห กรณียะ) พึงกลับใน ๗ วัน ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ อุบาสิกาได้สร้างเรือนมุงแถบเดียวถวายอุทิศ สงฆ์ ฯลฯ ... ได้สร้างปราสาท ... ... ได้สร้างเรือนโล้น ... ... ได้สร้างถ้ำ ... ... ได้สร้างบริเวณ ... ... ได้สร้างซุ้ม ... ... ได้สร้างโรงฉัน ... ... ได้สร้างโรงไฟ ... ... ได้สร้างกัปปิยกุฎี ... ... ได้สร้างวัจกุฎี ... ... ได้สร้างที่จงกรม ... ... ได้สร้างโรงจงกรม ... ... ได้สร้างบ่อน้ำ ... ... ได้สร้างโรงบ่อน้ำ ... ... ได้สร้างเรือนไฟ ... {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๒๙๙}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ]

                                                                 ๑๐๙. สัตตาหกรณียานุชานนา

... ได้สร้างโรงเรือนไฟ ... ... ได้สร้างสระโบกขรณี ... ... ได้สร้างมณฑป ... ... ได้สร้างอาราม ... ... ได้สร้างอารามวัตถุ ถ้านางส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “ขออาราธนาพระคุณเจ้าทั้งหลายมา ดิฉันปรารถนาจะถวายทาน ฟังธรรม และเห็นภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุทั้งหลาย เมื่อนางส่งทูตมา พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ แต่เมื่อนางไม่ส่งทูตมา ไม่พึงไป (เมื่อไปด้วยสัตตาหกรณียะ) พึงกลับใน ๗ วัน ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ อุบาสิกาได้สร้างวิหารถวายอุทิศภิกษุมากรูป ... ... อุทิศภิกษุรูปเดียว... ... อุทิศภิกษุณีสงฆ์ ... ... อุทิศภิกษุณีมากรูป ... ... อุทิศภิกษุณีรูปเดียว ... ... อุทิศสิกขมานามากรูป ... ... อุทิศสิกขมานารูปเดียว ... ... อุทิศสามเณรมากรูป ... ... อุทิศสามเณรรูปเดียว... ... อุทิศสามเณรีมากรูป ... ... อุทิศสามเณรีรูปเดียว... ฯลฯ [๑๙๑] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ อุบาสิกาได้สร้างที่อยู่อาศัยเพื่อ ประโยชน์แก่ตน... ... ได้สร้างเรือนนอน ... ... ได้สร้างโรงเก็บของ ... ... ได้สร้างร้าน ... ... ได้สร้างโรงกลม ... ... ได้สร้างร้านค้า ... ... ได้สร้างโรงร้านค้า ... ... ได้สร้างปราสาท ... ... ได้สร้างเรือนโล้น ... ... ได้สร้างถ้ำ ... ... ได้สร้างบริเวณ ... ... ได้สร้างซุ้ม ... ... ได้สร้างโรงฉัน ... ... ได้สร้างโรงไฟ ... ... ได้สร้างโรงครัว ... ... ได้สร้างวัจกุฎี ... ... ได้สร้างที่จงกรม ... ... ได้สร้างโรงจงกรม ... ... ได้สร้างบ่อน้ำ ... ... ได้สร้างโรงบ่อน้ำ ... ... ได้สร้างสระโบกขรณี ... ... ได้สร้างมณฑป ... ... ได้สร้างอาราม ... ... ได้สร้างอารามวัตถุ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๓๐๐}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ]

                                                                 ๑๐๙. สัตตาหกรณียานุชานนา

นางมีงานมงคลสมรสของบุตรหรือธิดา นางเป็นไข้หรือจะกล่าวพระสูตร ซึ่งเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปก็ดี ถ้านางส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “ขออาราธนา พระคุณเจ้าทั้งหลายมา จะได้เล่าเรียนพระสูตรนี้ก่อนที่พระสูตรจะเลือนไป” ก็หรือ ว่านางมีกิจหรือธุระจำเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้านางส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลาย ว่า “ขออาราธนาพระคุณเจ้าทั้งหลายมา ดิฉันปรารถนาจะถวายทาน ฟังธรรมและ เห็นภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุทั้งหลาย เมื่อนางส่งทูตมา พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ แต่เมื่อนางไม่ส่งทูตมา ไม่พึงไป (เมื่อไปด้วยสัตตาหกรณียะ) พึงกลับใน ๗ วัน [๑๙๒] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้สร้างวิหาร ถวายอุทิศสงฆ์ ฯลฯ ภิกษุณีได้สร้างวิหารถวายอุทิศสงฆ์ ฯลฯ สิกขมานาได้สร้าง วิหารถวายอุทิศสงฆ์ ฯลฯ สามเณรได้สร้างวิหารถวายอุทิศสงฆ์ ฯลฯ สามเณรี ได้สร้างวิหารถวายอุทิศสงฆ์ ฯลฯ ... อุทิศภิกษุมากรูป ... ... อุทิศภิกษุรูปเดียว ... ... อุทิศภิกษุณีสงฆ์ ... ... อุทิศภิกษุณีมากรูป ... ... อุทิศภิกษุณีรูปเดียว ... ... อุทิศสิกขมานามากรูป ... ... อุทิศสิกขมานารูปเดียว ... ... อุทิศสามเณรมากรูป ... ... อุทิศสามเณรรูปเดียว ... ... อุทิศสามเณรีมากรูป ... ... อุทิศสามเณรีรูปเดียว ... ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุ ฯลฯ สามเณรีได้สร้างวิหารเพื่อ ประโยชน์แก่ตน ... ... ได้สร้างเรือนมุงแถบเดียว ... ... ได้สร้างปราสาท ... ... ได้สร้างเรือนโล้น ... ... ได้สร้างถ้ำ ... ... ได้สร้างบริเวณ ... ... ได้สร้างซุ้ม ... ... ได้สร้างโรงฉัน ... ... ได้สร้างโรงไฟ ... ... ได้สร้างกัปปิยกุฎี ... ... ได้สร้างวัจกุฎี ... ... ได้สร้างที่จงกรม ... ... ได้สร้างโรงจงกรม ... ... ได้สร้างบ่อน้ำ ... ... ได้สร้างโรงบ่อน้ำ ... ... ได้สร้างสระโบกขรณี ... ... ได้สร้างมณฑป ... ... ได้สร้างอาราม ... ... ได้สร้างอารามวัตถุ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๓๐๑}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ]

                                                                 ๑๑๐. ปัญจอัปปหิตานุชานนา

ถ้าภิกษุ ฯลฯ สามเณรีส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “ขออาราธนา พระคุณเจ้าทั้งหลายมา กระผม ฯลฯ ดิฉันปรารถนาจะถวายทาน ฟังธรรม และ เห็นภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุ ฯลฯ สามเณรีส่งทูตมา พึงไปด้วย สัตตาหกรณียะได้ แต่เมื่อภิกษุฯลฯ สามเณรีไม่ส่งทูตมา ไม่พึงไป (เมื่อไปด้วย สัตตาหกรณียะ) พึงกลับใน ๗ วัน
๑๑๐. ปัญจอัปปหิตานุชานนา
ว่าด้วยทรงอนุญาตสัตตาหกรณียะเมื่อสหธรรมิกทั้ง ๕ จะไม่ส่งทูตมา
เรื่องภิกษุเป็นไข้เป็นต้น
[๑๙๓] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเป็นไข้ ได้ส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “กระผมเป็นไข้ ขออาราธนาภิกษุทั้งหลายมา กระผมประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้ง หลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย แม้สหธรรมิกทั้ง ๕ คือ ภิกษุ ภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี จะไม่ส่งทูตมา เราอนุญาตให้ไปด้วย สัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อสหธรรมิกทั้ง ๕ ส่งทูตมา ภิกษุทั้งหลาย เมื่อสหธรรมิกทั้ง ๕ เหล่านี้ แม้มิได้ส่งทูตมา เราอนุญาตให้ไปด้วยสัตตาห กรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อสหธรรมิกทั้ง ๕ ส่งทูตมา แต่พึงกลับใน ๗ วัน
สัตตาหกรณียะเนื่องด้วยภิกษุ ๑๐ กรณี
๑. ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ภิกษุเป็นไข้ ถ้าภิกษุนั้นจะพึงส่งทูตไปในสำนัก ภิกษุทั้งหลายว่า “กระผมเป็นไข้ ขออาราธนาภิกษุทั้งหลายมา กระผมประสงค์ ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุนั้นจะไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำ ต้องกล่าวถึงเมื่อภิกษุนั้นส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า “เราจักแสวงหาคิลานภัต {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๓๐๒}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ]

                                                                 ๑๑๐. ปัญจอัปปหิตานุชานนา

คิลานุปัฏฐากภัต หรือคิลานเภสัช จักถามอาการหรือจักพยาบาล” แต่พึงกลับ ใน ๗ วัน ๒. ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ความไม่ยินดีเกิดขึ้นแก่ภิกษุ ถ้าภิกษุนั้น จะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “ความไม่ยินดีเกิดขึ้นแก่กระผมแล้ว ขออาราธนาภิกษุทั้งหลายมา กระผมประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุนั้น จะไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อภิกษุนั้นส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า “เราจักระงับความไม่ยินดีเอง หรือจักใช้ภิกษุอื่นให้ช่วยระงับ หรือจักแสดงธรรมกถาแก่ภิกษุนั้น” แต่พึงกลับใน ๗ วัน ๓. ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ความรำคาญเกิดขึ้นแก่ภิกษุ ถ้าภิกษุนั้น จะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “ความรำคาญเกิดขึ้นแก่กระผมแล้ว ขออาราธนาภิกษุทั้งหลายมา กระผมประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุนั้น จะไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อภิกษุนั้นส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า “เราจักบรรเทาความรำคาญเอง หรือจักใช้ภิกษุอื่นให้ช่วยบรรเทา หรือจักแสดงธรรมกถาแก่ภิกษุนั้น” แต่พึงกลับใน ๗ วัน ๔. ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ความเห็นผิดเกิดขึ้นแก่ภิกษุ ถ้าภิกษุนั้น จะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “ความเห็นผิดเกิดขึ้นแก่กระผมแล้ว ขออาราธนาภิกษุทั้งหลายมา กระผมประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุนั้น จะไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อภิกษุนั้นส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า “เราจักเปลื้องความเห็นผิดเอง หรือจักใช้ภิกษุอื่นให้ช่วยเปลื้อง หรือจักแสดงธรรมกถาแก่ภิกษุนั้น” แต่พึงกลับใน ๗ วัน ๕. ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุเป็นผู้ต้องครุธรรม๑- ควรอยู่ปริวาส ถ้าภิกษุนั้นจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “กระผมต้องครุธรรม ควรอยู่ ปริวาส ขออาราธนาภิกษุทั้งหลายมา กระผมประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุ นั้นจะไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อภิกษุนั้นส่งทูตมา @เชิงอรรถ : @ ครุธรรม ในที่นี้หมายถึงอาบัติสังฆาทิเสส (ดู องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๕๑/๒๖๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๓๐๓}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ]

                                                                 ๑๑๐. ปัญจอัปปหิตานุชานนา

พึงไปด้วยตั้งใจว่า “เราจักทำความขวนขวายให้ปริวาส หรือจักช่วยสวดกรรมวาจา หรือจักเป็นคณปูรกะ๑-” แต่พึงกลับใน ๗ วัน ๖. ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุเป็นผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม ถ้าภิกษุนั้นจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “กระผมเป็นผู้ควรชักเข้าหา อาบัติเดิม ขออาราธนาภิกษุทั้งหลายมา กระผมประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุนั้นจะไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อภิกษุนั้น ส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า “เราจักทำความขวนขวายชักเข้าหาอาบัติเดิม หรือ จักช่วยสวดกรรมวาจา หรือจักเป็นคณปูรกะ” แต่พึงกลับใน ๗ วัน ๗. ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุเป็นผู้ควรมานัต ถ้าภิกษุนั้นจะพึง ส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “กระผมเป็นผู้ควรมานัต ขออาราธนาภิกษุ ทั้งหลายมา กระผมประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุนั้นจะไม่ส่งทูตมา ก็ไป ด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อภิกษุนั้นส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า “เราจักทำความขวนขวายให้มานัต หรือจักช่วยสวดกรรมวาจา หรือจักเป็น คณปูรกะ” แต่พึงกลับใน ๗ วัน ๘. ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุเป็นผู้ควรอัพภาน ถ้าภิกษุนั้นจะ พึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “กระผมเป็นผู้ควรอัพภาน ขออาราธนาภิกษุ ทั้งหลายมา กระผมประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุนั้นจะไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อภิกษุนั้นส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า “เราจักทำความขวนขวายให้อัพภาน หรือจักช่วยสวดกรรมวาจา หรือจักเป็น คณปูรกะ” แต่พึงกลับใน ๗ วัน ๙. ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ สงฆ์ต้องการจะทำกรรม คือ ตัชชนียกรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุ ถ้าภิกษุนั้นจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “สงฆ์เป็นผู้ต้องการจะทำกรรม แก่กระผม ขออาราธนาภิกษุทั้งหลายมา กระผมประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย @เชิงอรรถ : @ เข้าร่วมสังฆกรรมเพื่อให้ครบองค์สงฆ์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๓๐๔}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ]

                                                                 ๑๑๐. ปัญจอัปปหิตานุชานนา

แม้ภิกษุนั้นจะไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อภิกษุนั้น ส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์จะไม่พึงทำกรรม หรือ พึงเปลี่ยนไปเป็นโทษเบา” แต่พึงกลับใน ๗ วัน ๑๐. ก็หรือว่า ภิกษุนั้นถูกสงฆ์ทำกรรม คือ ตัชชนียกรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเขปนียกรรมแล้ว ถ้าภิกษุนั้น จะพึง ส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “สงฆ์ทำกรรมแก่กระผมแล้ว ขออาราธนาภิกษุ ทั้งหลายมา กระผมประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุนั้นจะไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อภิกษุนั้นส่งทูตมา พึงไปด้วย ตั้งใจว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ภิกษุนั้นจะพึงประพฤติชอบ พึงหายเย่อหยิ่ง พึงกลับตัวได้ สงฆ์พึงระงับกรรมนั้นเสีย” แต่พึงกลับใน ๗ วัน
สัตตาหกรณียะเนื่องด้วยภิกษุณี ๙ กรณี
[๑๙๔] ๑. ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ภิกษุณีเป็นไข้ ถ้าภิกษุณีนั้นจะพึง ส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “ดิฉันเป็นไข้ ขออาราธนาพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายมา ดิฉันประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุณีนั้นจะไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วย สัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อภิกษุณีนั้นส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า “เราจักแสวงหาคิลานภัต คิลานุปัฏฐากภัต หรือคิลานเภสัช จักถามอาการ หรือ จักพยาบาล” แต่พึงกลับใน ๗ วัน ๒. ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ความไม่ยินดีเกิดขึ้นแก่ภิกษุณี ถ้า ภิกษุณีนั้นจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “ความไม่ยินดีเกิดขึ้นแก่ดิฉันแล้ว ขออาราธนาพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายมา ดิฉันประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย แม้ ภิกษุณีนั้นจะไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อภิกษุณี นั้นส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า “เราจักระงับความไม่ยินดีเอง หรือจักใช้ภิกษุอื่น ให้ช่วยระงับ หรือจักแสดงธรรมกถาแก่ภิกษุณีนั้น” แต่พึงกลับใน ๗ วัน ๓. ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ความรำคาญเกิดขึ้นแก่ภิกษุณี ถ้า ภิกษุณีนั้นจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “ความรำคาญเกิดขึ้นแก่ดิฉัน แล้ว ขออาราธนาพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายมา ดิฉันประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๓๐๕}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ]

                                                                 ๑๑๐. ปัญจอัปปหิตานุชานนา

แม้ภิกษุณีนั้น จะไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อ ภิกษุณีนั้นส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า “เราจักบรรเทาความรำคาญเอง หรือจักใช้ ภิกษุอื่นให้ช่วยบรรเทา หรือจักแสดงธรรมกถาแก่ภิกษุณีนั้น” แต่พึงกลับใน ๗ วัน ๔. ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ความเห็นผิดเกิดขึ้นแก่ภิกษุณี ถ้าภิกษุณี นั้นจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “ความเห็นผิดเกิดขึ้นแก่ดิฉันแล้ว ขอ อาราธนาพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายมา ดิฉันประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุณี นั้นจะไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อภิกษุณีส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า “เราจักเปลื้องความเห็นผิดเอง หรือจักใช้ภิกษุอื่นให้ช่วยเปลื้อง หรือจักแสดงธรรมกถาแก่ภิกษุณีนั้น” แต่พึงกลับใน ๗ วัน ๕. ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุณีเป็นผู้ต้องครุธรรม ควรแก่มานัต ถ้าภิกษุณีนั้นจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “ดิฉันเองต้องครุธรรม ควรแก่ มานัต ขออาราธนาพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายมา ดิฉันประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุณีนั้นจะไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อ ภิกษุณีนั้นส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า “เราจักทำความขวนขวายให้มานัต” แต่พึง กลับใน ๗ วัน ๖. ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุณีเป็นผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม ถ้าภิกษุณีนั้นจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “ดิฉันเป็นผู้ควรชักเข้าหา อาบัติเดิม ขออาราธนาพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายมา ดิฉันประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุณีนั้นจะไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อภิกษุณี นั้นส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า “เราจักทำความขวนขวายชักเข้าหาอาบัติเดิม” แต่พึง กลับใน ๗ วัน ๗. ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุณีในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ควรอัพภาน ถ้าภิกษุณีนั้นจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “ดิฉันเป็นผู้ควรอัพภาน ขอ อาราธนาพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายมา ดิฉันประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุณี นั้นจะไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อภิกษุณีนั้นส่ง ทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า “เราจักทำความขวนขวายให้อัพภาน” แต่พึงกลับใน ๗ วัน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๓๐๖}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ]

                                                                 ๑๑๐. ปัญจอัปปหิตานุชานนา

๘. ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ สงฆ์ต้องการจะทำกรรม คือ ตัชชนียกรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุณี ถ้าภิกษุณีนั้นจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “สงฆ์เป็นผู้ต้องการจะทำกรรม แก่ดิฉัน ขออาราธนาพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายมา ดิฉันประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุณีนั้นจะไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อภิกษุณี นั้นส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์จะไม่พึงทำกรรม หรือพึงเปลี่ยนไปเป็นโทษเบา” แต่พึงกลับใน ๗ วัน ๙. ก็หรือว่า ภิกษุณีนั้นถูกสงฆ์ทำกรรม คือ ตัชชนียกรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเขปนียกรรมแล้ว ถ้าภิกษุณีนั้นจะพึง ส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “สงฆ์ทำกรรมแก่ดิฉันแล้ว ขออาราธนาพระผู้ เป็นเจ้าทั้งหลายมา ดิฉันประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุณีนั้นจะไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อภิกษุณีนั้นส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้ง ใจว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ภิกษุณีนั้นจะพึงประพฤติชอบ พึงหายเย่อหยิ่ง พึงกลับตัวได้ สงฆ์พึงระงับกรรมนั้นเสีย” แต่พึงกลับใน ๗ วัน
สัตตาหกรณียะเนื่องด้วยสิกขมานา ๖ กรณี
[๑๙๕] ๑. ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ สิกขมานาเป็นไข้ ถ้าสิกขมานานั้น จะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “ดิฉันเป็นไข้ ขออาราธนาพระผู้เป็นเจ้า ทั้งหลายมา ดิฉันประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย แม้สิกขมานานั้นจะไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อสิกขมานานั้นส่งทูตมา พึงไปด้วย ตั้งใจว่า “เราจักแสวงหาคิลานภัต คิลานุปัฏฐากภัต หรือคิลานเภสัช จักถามอาการ หรือจักพยาบาล” แต่พึงกลับใน ๗ วัน ๒. ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ความไม่ยินดีเกิดขึ้นแก่สิกขมานา... ๓. ความรำคาญเกิดขึ้นแก่สิกขมานา... ๔. ความเห็นผิดเกิดขึ้นแก่สิกขมานา.. ๕. สิกขาของสิกขมานากำเริบ ถ้าสิกขมานานั้นจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุ ทั้งหลายว่า “สิกขาของดิฉันกำเริบแล้ว ขออาราธนาพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายมา ดิฉัน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๓๐๗}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ]

                                                                 ๑๑๐. ปัญจอัปปหิตานุชานนา

ประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย แม้สิกขมานานั้นจะไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วยสัตตาห กรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อสิกขมานานั้นส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า “เราจักทำ ความขวนขวายให้สมาทานสิกขา” แต่พึงกลับใน ๗ วัน ๖. ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ สิกขมานาต้องการจะอุปสมบท ถ้าสิกขมานานั้นจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “ดิฉันต้องการจะอุปสมบท ขออาราธนาพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายมา ดิฉันประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย แม้สิกขมานา นั้นจะไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อสิกขมานานั้น ส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า “เราจักทำความขวนขวายให้อุปสมบท หรือจักช่วย สวดกรรมวาจา หรือจักเป็นคณปูรกะ” แต่พึงกลับใน ๗ วัน
สัตตาหกรณียะเนื่องด้วยสามเณร ๖ กรณี
[๑๙๖] ๑. ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ สามเณรเป็นไข้ ถ้าสามเณรนั้นจะ พึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “กระผมเป็นไข้ ขออาราธนาพระคุณเจ้า ทั้งหลายมา กระผมประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย แม้สามเณรนั้นจะไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อสามเณรนั้นส่งทูตมา พึงไปด้วย ตั้งใจว่า “เราจักแสวงหาคิลานภัต คิลานุปัฏฐากภัต หรือคิลานเภสัช จักถามอาการ หรือจักพยาบาล” แต่พึงกลับใน ๗ วัน ๒. ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ความไม่ยินดีเกิดขึ้นแก่สามเณร... ๓. ความรำคาญเกิดขึ้นแก่สามเณร... ๔. ความเห็นผิดเกิดขึ้นแก่สามเณร... ๕. สามเณรต้องการจะถามปี ถ้าสามเณรนั้นจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุ ทั้งหลายว่า “กระผมเองต้องการจะถามปี ขออาราธนาภิกษุทั้งหลายมา กระผม ประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย แม้สามเณรนั้นจะไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วยสัตตาห กรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อสามเณรนั้นส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า “เราจัก ถามหรือจักบอก” แต่พึงกลับใน ๗ วัน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๓๐๘}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ]

                                                                 ๑๑๐. ปัญจอัปปหิตานุชานนา

๖. ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ สามเณรต้องการจะอุปสมบท ถ้าสามเณร นั้นจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “กระผมเองต้องการจะอุปสมบท ขอ อาราธนาภิกษุทั้งหลายมา กระผมประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย แม้สามเณรนั้น จะไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อสามเณรนั้นส่งทูต มา พึงไปด้วยตั้งใจว่า “เราจักทำความขวนขวายให้อุปสมบท หรือจักช่วยสวด กรรมวาจา หรือจักเป็นคณปูรกะ” แต่พึงกลับใน ๗ วัน
สัตตาหกรณียะเนื่องด้วยสามเณรี ๖ กรณี
[๑๙๗] ๑. ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ สามเณรีเป็นไข้ ถ้าสามเณรีนั้นจะ พึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “ดิฉันเป็นไข้ ขออาราธนาพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายมา ดิฉันประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย แม้สามเณรีนั้นจะไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วย สัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อสามเณรีนั้นส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า “เราจักแสวงหาคิลานภัต คิลานุปัฏฐากภัต หรือคิลานเภสัช จักถามอาการ หรือ จักพยาบาล” แต่พึงกลับใน ๗ วัน ๒. ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ความไม่ยินดีเกิดขึ้นแก่สามเณรี ... ๓. ความรำคาญเกิดขึ้นแก่สามเณรี ... ๔. ความเห็นผิดเกิดขึ้นแก่สามเณรี ... ๕. สามเณรีต้องการจะถามปี ถ้าสามเณรีนั้นจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุ ทั้งหลายว่า “ดิฉันต้องการจะถามปี ขออาราธนาพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายมา ดิฉัน ประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย แม้สามเณรีนั้นจะไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วยสัตตาห กรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อสามเณรีนั้นส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า “เราจักถาม หรือจักบอก” แต่พึงกลับใน ๗ วัน ๖. ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ สามเณรีต้องการจะสมาทานสิกขา ถ้าสามเณรีนั้นจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “ดิฉันต้องการจะสมาทาน สิกขา ขออาราธนาพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายมา ดิฉันประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย แม้สามเณรีนั้นจะไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อ สามเณรีนั้นส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า “เราจักทำความขวนขวายให้สมาทานสิกขา” แต่พึงกลับใน ๗ วัน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๓๐๙}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ]

                                                                 ๑๑๑. สัตตอัปปหิตานุชานนา

๑๑๑. สัตตอัปปหิตานุชานนา
ว่าด้วยทรงอนุญาตสัตตาหกรณียะเมื่อบุคคล ๗ จำพวกจะไม่ส่งทูตมา
เรื่องมารดาบิดาเป็นไข้
[๑๙๘] สมัยนั้น มารดาของภิกษุรูปหนึ่งเป็นไข้ มารดานั้นส่งทูตไปในสำนัก ภิกษุผู้เป็นบุตรว่า “ดิฉันเป็นไข้ ขอบุตรของดิฉันจงมา ดิฉันประสงค์ให้มา” ลำดับนั้น ภิกษุนั้นคิดว่า “พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า เมื่อบุคคล ๗ จำพวกส่งทูตมา ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ แต่เมื่อไม่ส่งทูตมา จะไปไม่ได้ สำหรับ สหธรรมิกทั้ง ๕ แม้ไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อ สหธรรมิกทั้ง ๕ นั้น ส่งทูตมา อนึ่ง มารดาของเรานี้เป็นไข้ แต่มารดานั้นไม่ได้เป็น อุบาสิกา เราจะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย แม้เมื่อบุคคล ๗ จำพวก คือ ภิกษุ ภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี มารดา และบิดา จะไม่ส่งทูตมา เราอนุญาต ให้ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อบุคคล ๗ จำพวกนั้นส่งทูตมา ภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคล ๗ จำพวกเหล่านี้ แม้มิได้ส่งทูตมา เราอนุญาตให้ไป ด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อบุคคล ๗ จำพวกนั้น ส่งทูตมา แต่พึงกลับใน ๗ วัน ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ มารดาของภิกษุเป็นไข้ ถ้ามารดานั้นจะพึงส่งทูตไป ในสำนักของภิกษุผู้เป็นบุตรว่า “ดิฉันเป็นไข้ ขอบุตรของดิฉันจงมา ดิฉันประสงค์ ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย แม้มารดานั้นจะไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำ ต้องกล่าวถึงเมื่อมารดานั้นส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า “เราจักแสวงหาคิลานภัต คิลานุปัฏฐากภัต หรือคิลานเภสัช จักถามอาการ หรือจักพยาบาล” แต่พึงกลับ ใน ๗ วัน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๓๑๐}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ]

                                                                 ๑๑๒. ปหิตานุชานนา

ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ บิดาของภิกษุเป็นไข้ ถ้าบิดานั้นจะพึงส่งทูตไป ในสำนักของภิกษุผู้เป็นบุตรว่า “ผมเป็นไข้ ขอบุตรของผมจงมา ผมประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย แม้บิดานั้นจะไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าว ถึงเมื่อบิดานั้นส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า “เราจักแสวงหาคิลานภัต คิลานุปัฏฐากภัต หรือคิลานเภสัช จักถามอาการ หรือจักพยาบาล” แต่พึงกลับใน ๗ วัน
๑๑๒. ปหิตานุชานนา
ว่าด้วยทรงอนุญาตสัตตาหกรณียะเมื่อพี่ชายน้องชายเป็นต้นส่งทูตมา
[๑๙๙] ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ พี่ชายน้องชายของภิกษุเป็นไข้ ถ้าพี่ชาย น้องชายนั้นจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุผู้เป็นพี่ชายน้องชายว่า “กระผมเป็นไข้ ขอพี่ชาย น้องชายของกระผมจงมา กระผมประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย เมื่อพี่ชายน้องชาย นั้นส่งทูตมา พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ แต่เมื่อพี่ชายน้องชายนั้นไม่ส่งทูตมา ไม่พึงไป (เมื่อไปด้วยสัตตาหกรณียะ) พึงกลับใน ๗ วัน ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ พี่สาวน้องสาวของภิกษุเป็นไข้ ถ้าพี่สาวน้องสาว นั้นจะพึงส่งทูตไปในสำนักของภิกษุผู้เป็นพี่ชายน้องชายว่า “ดิฉันเป็นไข้ ขอพี่ชาย น้องชายของดิฉันจงมา ดิฉันประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย เมื่อพี่สาวน้องสาวนั้น ส่งทูตมา พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ แต่เมื่อพี่สาวน้องสาวนั้นไม่ส่งทูตมา ไม่พึงไป (เมื่อไปด้วยสัตตาหกรณียะ) พึงกลับใน ๗ วัน ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ญาติของภิกษุเป็นไข้ ถ้าญาตินั้นจะพึงส่งทูตไป ในสำนักภิกษุว่า “กระผมเป็นไข้ ขอพระคุณเจ้าจงมา กระผมประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย เมื่อญาตินั้นส่งทูตมา พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ แต่เมื่อญาตินั้น ไม่ส่งทูตมา ไม่พึงไป (เมื่อไปด้วยสัตตาหกรณียะ) พึงกลับใน ๗ วัน ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ บุรุษผู้อาศัยอยู่กับภิกษุเป็นไข้ ถ้าบุรุษนั้น จะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุว่า “กระผมเป็นไข้ ขออาราธนาพระคุณเจ้าทั้งหลายมา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๓๑๑}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ]

                                                                 ๑๑๓. อันตรายอนาปัตติวัสสเฉทวาร

กระผมประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุรุษนั้นส่งทูตมา พึงไปด้วยสัตตาห กรณียะได้ แต่เมื่อบุรุษนั้นไม่ส่งทูตมา ไม่พึงไป (เมื่อไปด้วยสัตตาหกรณียะ) พึงกลับ ใน ๗ วัน
ทรงอนุญาตสัตตาหกรณียะเฉพาะกิจของสงฆ์
สมัยนั้น วิหารของสงฆ์หักพัง อุบาสกคนหนึ่งได้ตัดเครื่องทัพพสัมภาระทิ้งไว้ ในป่า อุบาสกนั้นได้ส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “ถ้าพระคุณเจ้าทั้งหลาย จะพึงขนเครื่องทัพพสัมภาระนั้นมาได้ กระผมขอถวายเครื่องทัพพสัมภาระนั้น” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ แต่พึงกลับใน ๗ วัน”
๑๑๓. อันตรายอนาปัตติวัสสเฉทวาร
ว่าด้วยการขาดพรรษาโดยไม่ต้องอาบัติในเมื่อมีอันตราย
เรื่องสัตว์ร้ายเบียดเบียน
[๒๐๐] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเข้าจำพรรษา ณ อาวาสแห่งหนึ่งในแคว้นโกศล ถูกสัตว์ร้ายเบียดเบียน มันจับเอาไว้บ้าง วิ่งไล่ไปรอบๆ บ้าง ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ภิกษุทั้งหลายเข้าจำ พรรษาถูกสัตว์ร้ายเบียดเบียน มันจับเอาไว้บ้าง วิ่งไล่ไปรอบๆ บ้าง ภิกษุเหล่านั้น พึงหลีกไปด้วยสำคัญว่า “นั่นแลอันตราย” ไม่ต้องอาบัติเนื่องจากขาดพรรษา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๓๑๒}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ]

                                                                 ๑๑๓. อันตรายอนาปัตติวัสสเฉทวาร

เรื่องงูเบียดเบียน
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุทั้งหลายเข้าจำพรรษา ถูกงูเบียดเบียน มันขบกัดเอาบ้าง เลื้อยไล่ไปรอบๆ บ้าง ภิกษุเหล่านั้นพึงหลีกไปด้วยสำคัญว่า “นั่นแลอันตราย” ไม่ต้องอาบัติเนื่องจากขาดพรรษา
เรื่องพวกโจรเบียดเบียน
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุทั้งหลายเข้าจำพรรษา ถูกพวกโจร เบียดเบียน มันปล้นบ้าง รุมตีบ้าง ภิกษุเหล่านั้นพึงหลีกไปด้วยสำคัญว่า “นั่นแลอันตราย” ไม่ต้องอาบัติเนื่องจากขาดพรรษา
เรื่องปีศาจรบกวน
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุทั้งหลายเข้าจำพรรษา ถูกพวกปีศาจ รบกวน มันเข้าสิงบ้าง ฆ่าเอาบ้าง ภิกษุเหล่านั้นพึงหลีกไปด้วยสำคัญว่า “นั่นแล อันตราย” ไม่ต้องอาบัติเนื่องจากขาดพรรษา
เรื่องหมู่บ้านถูกไฟไหม้
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ เมื่อภิกษุทั้งหลายเข้าจำพรรษา หมู่บ้าน ถูกไฟไหม้ ภิกษุทั้งหลายลำบากด้วยบิณฑบาต ภิกษุเหล่านั้นพึงหลีกไปด้วยสำคัญว่า “นั่นแลอันตราย” ไม่ต้องอาบัติเนื่องจากขาดพรรษา
เรื่องเสนาสนะถูกไฟไหม้
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ เมื่อภิกษุทั้งหลายเข้าจำพรรษา เสนาสนะถูก ไฟไหม้ ภิกษุทั้งหลายเดือดร้อนด้วยเสนาสนะ ภิกษุเหล่านั้นพึงหลีกไปด้วยสำคัญ ว่า “นั่นแลอันตราย” ไม่ต้องอาบัติเนื่องจากขาดพรรษา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๓๑๓}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ]

                                                                 ๑๑๓. อันตรายอนาปัตติวัสสเฉทวาร

เรื่องหมู่บ้านถูกน้ำท่วม
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ เมื่อภิกษุทั้งหลายเข้าจำพรรษา หมู่บ้าน ถูกน้ำท่วม ภิกษุทั้งหลายลำบากด้วยบิณฑบาต ภิกษุเหล่านั้นพึงหลีกไปด้วย สำคัญว่า “นั่นแลอันตราย” ไม่ต้องอาบัติเนื่องจากขาดพรรษา
เรื่องเสนาสนะถูกน้ำท่วม
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ เมื่อภิกษุทั้งหลายเข้าจำพรรษา เสนาสนะ ถูกน้ำท่วม ภิกษุทั้งหลายเดือดร้อนด้วยเสนาสนะ ภิกษุเหล่านั้นพึงหลีกไปด้วย สำคัญว่า “นั่นแลอันตราย” ไม่ต้องอาบัติเนื่องจากขาดพรรษา
เรื่องชาวบ้านอพยพไปเพราะโจรภัย
[๒๐๑] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเข้าจำพรรษาในอาวาสแห่งหนึ่ง ชาวบ้าน อพยพไปเพราะโจรภัย ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ตามชาวบ้านไป”
เรื่องทรงอนุญาตให้ตามทายกมีจำนวนมากกว่า
ชาวบ้านแตกแยกเป็นสองพวก ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ตามชาวบ้านที่มาก กว่าไป” ชาวบ้านที่มากกว่าไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใส ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ตามชาวบ้านที่มี ศรัทธาเลื่อมใสไป” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๓๑๔}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ]

                                                                 ๑๑๓. อันตรายอนาปัตติวัสสเฉทวาร

เรื่องไม่ได้โภชนะธรรมดาหรือประณีตเป็นต้น
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเข้าจำพรรษา ณ อาวาสแห่งหนึ่งในแคว้นโกศล ไม่ได้ โภชนาหารธรรมดาหรือประณีตบริบูรณ์ตามต้องการ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี พระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ภิกษุทั้งหลายเข้า จำพรรษา ไม่ได้โภชนาหารธรรมดาหรือประณีตบริบูรณ์ตามต้องการ ภิกษุเหล่านั้น พึงหลีกไปด้วยสำคัญว่า “นั่นแลอันตราย” ไม่ต้องอาบัติเนื่องจากขาดพรรษา ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุทั้งหลายเข้าจำพรรษา ได้โภชนาหาร ธรรมดาหรือประณีตบริบูรณ์ตามต้องการ แต่ไม่ได้โภชนาหารที่สบาย ภิกษุเหล่านั้น พึงหลีกไปด้วยสำคัญว่า “นั่นแลอันตราย” ไม่ต้องอาบัติเนื่องจากขาดพรรษา ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุทั้งหลายเข้าจำพรรษา ได้โภชนาหาร ธรรมดาหรือประณีตบริบูรณ์ตามต้องการและได้โภชนาหารที่สบาย แต่ไม่ได้เภสัช ที่สบาย ภิกษุเหล่านั้นพึงหลีกไปด้วยสำคัญว่า “นั่นแลอันตราย” ไม่ต้องอาบัติ เนื่องจากขาดพรรษา ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุทั้งหลายเข้าจำพรรษา ได้โภชนาหาร ธรรมดาหรือประณีตบริบูรณ์ตามต้องการ ได้โภชนาหารที่สบาย ได้เภสัชที่สบาย แต่ไม่ได้อุปัฏฐากผู้สมควร ภิกษุเหล่านั้นพึงหลีกไปด้วยสำคัญว่า “นั่นแลอันตราย” ไม่ต้องอาบัติเนื่องจากขาดพรรษา
เรื่องสตรีนิมนต์
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ สตรีนิมนต์ภิกษุผู้เข้าจำพรรษาว่า “ท่านจง มาเถิดเจ้าข้า ดิฉันจะถวายเงิน ทอง นา สวน พ่อโค แม่โค ทาส ทาสีแก่ท่าน หรือจะยกลูกสาวให้เป็นภรรยาของท่าน ดิฉันจะเป็นภรรยาของท่าน หรือจะนำสตรี อื่นมาให้เป็นภรรยาของท่าน” ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุคิดอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า จิตกลับกลอกเร็วนัก สักหน่อยจะเป็นอันตรายแก่พรหมจรรย์ของเราก็ได้ พึงหลีกไปเสีย ไม่ต้องอาบัติเนื่องจากขาดพรรษา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๓๑๕}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ]

                                                                 ๑๑๔. สังฆเภทอนาปัตติวัสสเฉทวาร

เรื่องหญิงแพศยานิมนต์
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ หญิงแพศยานิมนต์ภิกษุผู้เข้าจำพรรษา ... หญิงสาวเทื้อนิมนต์ ... ... บัณเฑาะก์นิมนต์ ... ... พวกญาตินิมนต์ ... ... พระราชาทั้งหลายนิมนต์ ... ... พวกโจรนิมนต์ ... ... พวกนักเลงนิมนต์ภิกษุผู้เข้าจำพรรษาว่า “ท่านจงมาเถิดขอรับ พวกผม จะถวายเงิน ทอง นา สวน พ่อโค แม่โค ทาส ทาสีแก่ท่าน หรือจะยกลูกสาว ให้เป็นภรรยาของท่าน หรือจะนำสตรีอื่นมาให้เป็นภรรยาของท่าน” ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุคิดอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า จิตกลับกลอกเร็วนัก สักหน่อยจะ เป็นอันตรายแก่พรหมจรรย์ของเราก็ได้ พึงหลีกไปเสีย ไม่ต้องอาบัติเนื่องจากขาดพรรษา
เรื่องพบขุมทรัพย์
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุเข้าจำพรรษา พบขุมทรัพย์ไม่มีเจ้าของ ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุคิดอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า จิตกลับกลอกเร็วนัก อีกหน่อยจะเป็นอันตรายแก่พรหมจรรย์ของเราก็ได้ พึงหลีกไปเสีย ไม่ต้องอาบัติ เนื่องจากขาดพรรษา
๑๑๔. สังฆเภทอนาปัตติวัสสเฉทวาร
ว่าด้วยการขาดพรรษาโดยไม่ต้องอาบัติในเมื่อมีผู้พยายามทำลายสงฆ์
เรื่องทำลายสงฆ์ ๘ กรณี
[๒๐๒] ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ภิกษุเข้าจำพรรษา เห็นภิกษุมากรูป กำลังเพียรพยายามทำลายสงฆ์ ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุคิดอย่างนี้ว่า “พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า การทำลายสงฆ์เป็นกรรมหนักนัก เมื่อเรายังอยู่พร้อมหน้า สงฆ์อย่าแตก กันเลย” พึงหลีกไปเสีย ไม่ต้องอาบัติเนื่องจากขาดพรรษา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๓๑๖}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ]

                                                                 ๑๑๔. สังฆเภทอนาปัตติวัสสเฉทวาร

ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุทั้งหลายเข้าจำพรรษาได้ยินข่าวว่า ภิกษุมากรูปในอาวาสโน้นกำลังเพียรพยายามทำลายสงฆ์ ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุคิด อย่างนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคตรัสว่า การทำลายสงฆ์เป็นกรรมหนักนัก เมื่อเรายังอยู่ พร้อมหน้า สงฆ์อย่าแตกกันเลย” พึงหลีกไปเสีย ไม่ต้องอาบัติเนื่องจากขาดพรรษา ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุเข้าจำพรรษาได้ยินข่าวว่า ภิกษุมากรูป ในอาวาสโน้นกำลังเพียรพยายามทำลายสงฆ์ ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุคิดอย่างนี้ว่า “ภิกษุเหล่านั้นล้วนเป็นมิตรของเรา เราจักว่ากล่าวภิกษุเหล่านั้นว่า ท่านทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัสว่า การทำลายสงฆ์เป็นกรรมหนักนัก พวกท่านอย่าชอบใจ การทำลายสงฆ์เลย ภิกษุเหล่านั้นจักทำตามคำของเรา จักเชื่อฟัง จักเงี่ยโสต” พึงหลีกไปเสีย ไม่ต้องอาบัติเนื่องจากขาดพรรษา ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุเข้าจำพรรษาได้ยินข่าวว่า ภิกษุมากรูป ในอาวาสโน้นกำลังเพียรพยายามทำลายสงฆ์ ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุคิดอย่างนี้ว่า “ภิกษุเหล่านั้นไม่ใช่มิตรของเรา แต่ภิกษุทั้งหลายที่เป็นมิตรกับภิกษุเหล่านั้นเป็น มิตรของเรา เราจักบอกภิกษุเหล่านั้น ภิกษุเหล่านั้นที่เราบอก ก็จักว่ากล่าวภิกษุ เหล่านั้นว่า ท่านทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัสว่า การทำลายสงฆ์เป็นกรรมหนักนัก พวกท่านอย่าชอบใจการทำลายสงฆ์เลย ภิกษุเหล่านั้นจักทำตามคำของภิกษุเหล่านั้น จักเชื่อฟัง จักเงี่ยโสต” พึงหลีกไปเสีย ไม่ต้องอาบัติเนื่องจากขาดพรรษา ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุเข้าจำพรรษาได้ยินข่าวว่า ภิกษุมากรูป ในอาวาสโน้นจะทำลายสงฆ์ ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุคิดอย่างนี้ว่า “ภิกษุเหล่านั้นล้วน เป็นมิตรของเรา เราจักว่ากล่าวภิกษุเหล่านั้นว่า ท่านทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัส ว่า การทำลายสงฆ์เป็นกรรมหนักนัก พวกท่านอย่าชอบใจการทำลายสงฆ์เลย ภิกษุเหล่านั้นจักทำตามคำของเรา จักเชื่อฟัง จักเงี่ยโสต” พึงหลีกไปเสีย ไม่ต้อง อาบัติเนื่องจากขาดพรรษา ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุเข้าจำพรรษาได้ยินข่าวว่า ภิกษุมากรูป ในอาวาสโน้นได้ทำลายสงฆ์แล้ว ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุคิดอย่างนี้ว่า “ภิกษุเหล่านั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๓๑๗}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ]

                                                                 ๑๑๔. สังฆเภทอนาปัตติวัสสเฉทวาร

ไม่ใช่มิตรของเราเลย แต่ภิกษุทั้งหลายที่เป็นมิตรกับภิกษุเหล่านั้นเป็นมิตรของเรา เราจักบอกภิกษุเหล่านั้น ภิกษุเหล่านั้นที่เราบอก ก็จักว่ากล่าวภิกษุเหล่านั้นว่า ท่านทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัสว่า การทำลายสงฆ์เป็นกรรมหนักนัก พวกท่าน อย่าชอบใจการทำลายสงฆ์เลย ภิกษุเหล่านั้นจักทำตามคำของภิกษุเหล่านั้น จักเชื่อฟัง จักเงี่ยโสต” พึงหลีกไปเสีย ไม่ต้องอาบัติเนื่องจากขาดพรรษา ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุเข้าจำพรรษาได้ยินข่าวว่า ภิกษุณีมากรูป ในอาวาสโน้นกำลังเพียรพยายามทำลายสงฆ์ ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุคิดอย่างนี้ว่า “ภิกษุณีเหล่านั้นล้วนเป็นมิตรของเรา เราจักว่ากล่าวภิกษุณีเหล่านั้นว่า น้องหญิง ทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัสว่า การทำลายสงฆ์เป็นกรรมหนักนัก พวกน้องหญิง อย่าชอบใจการทำลายสงฆ์เลย ภิกษุณีเหล่านั้นจักทำตามคำของเรา จักเชื่อฟัง จักเงี่ยโสต” พึงหลีกไปเสีย ไม่ต้องอาบัติเนื่องจากขาดพรรษา ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุเข้าจำพรรษาได้ยินข่าวว่า ภิกษุณีมาก รูปในอาวาสโน้นกำลังเพียรพยายามทำลายสงฆ์ ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุคิดอย่างนี้ว่า “ภิกษุณีเหล่านั้นไม่ใช่มิตรของเรา แต่ภิกษุณีทั้งหลายที่เป็นมิตรกับภิกษุณีเหล่านั้น เป็นมิตรของเรา เราจักบอกภิกษุณีเหล่านั้น ภิกษุณีเหล่านั้นที่เราบอก ก็จักว่ากล่าว ภิกษุณีที่เพียรพยายามทำลายสงฆ์เหล่านั้นว่า น้องหญิงทั้งหลาย พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า การทำลายสงฆ์เป็นกรรมหนักนัก พวกน้องหญิงอย่าชอบใจการทำลายสงฆ์เลย ภิกษุณีเหล่านั้นจักทำตามคำของภิกษุณีเหล่านั้น จักเชื่อฟัง จักเงี่ยโสต” พึงหลีก ไปเสีย ไม่ต้องอาบัติเนื่องจากขาดพรรษา ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุเข้าจำพรรษาได้ยินข่าวว่า ภิกษุณีมากรูป ในอาวาสโน้นจะทำลายสงฆ์ ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุคิดอย่างนี้ว่า “ภิกษุณีเหล่านั้น ล้วนเป็นมิตรของเรา เราจักว่ากล่าวภิกษุณีเหล่านั้นว่า น้องหญิงทั้งหลาย พระผู้มี พระภาคตรัสว่า การทำลายสงฆ์เป็นกรรมหนักนัก พวกน้องหญิงอย่าชอบใจการทำลาย สงฆ์เลย ภิกษุณีเหล่านั้นจักทำตามคำของเรา จักเชื่อฟัง จักเงี่ยโสต” พึงหลีกไปเสีย ไม่ต้องอาบัติเนื่องจากขาดพรรษา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๓๑๘}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ]

                                                                 ๑๑๕. วชาทิวัสสูปคมนะ

ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุเข้าจำพรรษาได้ยินข่าวว่า ภิกษุณี มากรูป ในอาวาสโน้นได้ทำลายสงฆ์แล้ว ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุคิดอย่างนี้ว่า “ภิกษุณีเหล่านั้น ไม่ใช่มิตรของเรา แต่ภิกษุณีทั้งหลายที่เป็นมิตรกับภิกษุณีเหล่า นั้นเป็นมิตรของเรา เราจักบอกภิกษุณีเหล่านั้น ภิกษุณีเหล่านั้นที่เราบอก ก็จักว่า กล่าวภิกษุณีที่ทำลายสงฆ์เหล่านั้นว่า น้องหญิงทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัสว่า การทำลายสงฆ์เป็นกรรมหนักนัก พวกน้องหญิงอย่าชอบใจการทำลายสงฆ์เลย ภิกษุณีเหล่านั้น จักทำตามคำของภิกษุณีเหล่านั้น จักเชื่อฟัง จักเงี่ยโสต” พึงหลีก ไปเสีย ไม่ต้องอาบัติเนื่องจากขาดพรรษา
๑๑๕. วชาทิวัสสูปคมนะ
ว่าด้วยการเข้าจำพรรษาในคอกโคเป็นต้น
เรื่องเข้าจำพรรษาในคอกโค
[๒๐๓] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งต้องการจะเข้าจำพรรษาในคอกโค๑- ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เข้าจำพรรษาใน คอกโคได้” คอกโคย้ายไป ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เดินทางไปกับคอกโคได้”
เรื่องเข้าจำพรรษาในหมู่เกวียน
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเมื่อใกล้วันเข้าพรรษาต้องการจะไปกับหมู่เกวียน ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ @เชิงอรรถ : @ คอกโค ในที่นี้หมายถึงสถานที่ซึ่งคนเลี้ยงโคพักอาศัย ในขณะที่ต้อนโคไปเลี้ยง ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่ง @ไม่ได้หมายถึงคอกโคที่ประจำอยู่ตามหมู่บ้าน (วิ.อ. ๓/๒๐๓/๑๕๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๓๑๙}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๒๙๕-๓๑๙. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=4&page=295&pages=25&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=4&A=8268 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=4&A=8268#p295 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 4 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_4 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu4 https://84000.org/tipitaka/english/?index_4



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๙๕-๓๑๙.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]