ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวรรค ภาค ๑

หน้าที่ ๒๒๘-๒๓๐.


                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ]

                                                                 ๗๘. สังขิตตปาติโมกขุทเทสาทิ

ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล พวกเธอพึงสำเหนียกไว้ว่า จักทำอุโบสถ กรรมชนิดที่พร้อมเพรียงกันโดยชอบธรรม ดังนี้ พวกเธอพึงสำเหนียกไว้อย่างนี้แล
๗๘. สังขิตตปาติโมกขุทเทสาทิ
ว่าด้วยการยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงโดยย่อเป็นต้น
เรื่องประเภทแห่งปาติโมกขุทเทส
[๑๕๐] ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้มีความสงสัยว่า “การยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง มีเท่าไรหนอ” จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย การยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงนี้มี ๕ แบบ คือ ๑. ภิกษุยกนิทานขึ้นแสดงจบแล้ว พึงสวดอุทเทสที่เหลือด้วยสุตบท๑- นี้ เป็นการยกปาติโมกข์แบบที่ ๑ ๒. ยกนิทานขึ้นแสดง ยกปาราชิก ๔ ขึ้นแสดงจบแล้ว พึงสวดอุทเทส ที่เหลือด้วยสุตบท นี้เป็นการยกปาติโมกข์แบบที่ ๒ ๓. ยกนิทานขึ้นแสดง ยกปาราชิก ๔ ขึ้นแสดง ยกสังฆาทิเสส ๑๓ ขึ้น แสดงจบแล้ว พึงสวดอุทเทสที่เหลือด้วยสุตบท นี้เป็นการยก ปาติโมกข์แบบที่ ๓ @เชิงอรรถ : @ การประกาศ สุตบท คือ การยกนิทานขึ้นแสดงสอบถามย้ำถึงความบริสุทธิ์ของแต่ละท่าน ในธรรม @เหล่านั้นๆ แล้วประกาศอุทเทสที่เหลือโดยสุตบทอย่างนั้นว่า “ธรรม คือ ปาราชิก ๔ ธรรมคือสังฆาทิเสส ๑๓ @ธรรมคืออนิยต ๒ ธรรมคือนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ ธรรมคือปาจิตตีย์ ๙๒ ธรรมคือปาฏิเทสนียะ ๔ @ธรรมคือเสขิยะ ๗๕ ธรรมคืออธิกรณสมถะ ๗ ท่านทั้งหลายได้ฟังแล้ว สิกขาบทของพระผู้มีพระภาค @นั้นมีเท่านี้ มาในสูตร นับเนื่องในสูตร มาสู่วาระที่จะยกขึ้นแสดงเป็นข้อๆ ตามลำดับทุกกึ่งเดือน @พวกเราทั้งหมด พึงพร้อมเพรียงกันร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาในพระสูตรนั้นเทอญ” (วิ.อ. ๓/๑๕๐/๑๓๑) @สุตบทในอีก ๔ วิธีที่เหลือ มีนัยเหมือนกับวิธีที่ ๑ เพียงแต่ยกขึ้นแสดงจบตอนใดแล้ว ก็ไม่ต้องประกาศ @ตอนนั้นไว้ในสุตบทอีก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๒๒๘}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ]

                                                                 ๗๘. สังขิตตปาติโมกขุทเทสาทิ

๔. ยกนิทานขึ้นแสดง ยกปาราชิก ๔ ขึ้นแสดง ยกสังฆาทิเสส ๑๓ ขึ้นแสดง ยกอนิยต ๒ ขึ้นแสดงจบแล้ว พึงสวดอุทเทสที่เหลือ ด้วยสุตบท นี้เป็นการยกปาติโมกข์แบบที่ ๔ ๕. ยกขึ้นแสดงโดยพิสดารทั้งหมด นี้เป็นการยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง แบบที่ ๕ ภิกษุทั้งหลาย การยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงมี ๕ แบบเหล่านี้แล”๑-
ทรงห้ามยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงโดยย่อ
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายทราบว่า “พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตการยกปาติโมกข์ ขึ้นแสดงโดยย่อ” จึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงโดยย่อทุกครั้ง ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงโดยย่อ ภิกษุสงฆ์หมู่ใดยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ”
เรื่องทรงอนุญาตให้ยกปกติโมกข์ขึ้นแสดงโดยย่อ
เมื่อชาวป่ามาพลุกพล่าน
สมัยนั้น ณ อาวาสแห่งหนึ่งในแคว้นโกศล ในวันอุโบสถนั้น มีชาวป่ามาพลุกพล่าน ภิกษุทั้งหลายไม่อาจยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงโดยพิสดาร จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี พระภาคให้ทรงทราบ @เชิงอรรถ : @ การยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงทั้ง ๕ แบบนี้ สรุปเรียกชื่อเป็นภาษาเฉพาะว่า @๑. แบบที่ ๑ เรียกว่า นิทานุทเทส @๒. แบบที่ ๒ เรียกว่า ปาราชิกุทเทส @๓. แบบที่ ๓ เรียกว่า สังฆาทิเสสุทเทส @๔. แบบที่ ๔ เรียกว่า อนิยตุทเทส @๕. แบบที่ ๕ เรียกว่า วิตถารุทเทส {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๒๒๙}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ]

                                                                 ๗๘. สังขิตตปาติโมกขุทเทสาทิ

พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง โดยย่อเมื่อมีอันตราย”
เรื่องอันตราย ๑๐ ประการ
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงโดยย่อเมื่อไม่มีอันตราย ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อไม่มีอันตราย ไม่พึงยกปาติโมกข์ ขึ้นแสดงโดยย่อ ภิกษุสงฆ์หมู่ใดยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมี อันตราย เราอนุญาตให้ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงโดยย่อ” ในเรื่องยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงโดยย่อนั้น อันตรายทั้งหลาย มีดังต่อไปนี้ ๑. พระราชาเสด็จมา ๒. โจรมาปล้น ๓. ไฟไหม้ ๔. น้ำหลากมา ๕. คนมามาก ๖. ผีเข้าสิงภิกษุ ๗. สัตว์ร้ายเข้ามา ๘. งูเลื้อยเข้ามา ๙. ภิกษุจะถึงแก่ชีวิต๑- ๑๐. มีอันตรายแก่พรหมจรรย์๒- ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงโดยย่อในเมื่อมีอันตรายอย่างนี้ เมื่อไม่มีอันตราย ให้ยกขึ้นแสดงโดยพิสดาร”
เรื่องทรงอนุญาตภิกษุเถระแสดงธรรมโดยไม่ต้องได้รับอาราธนา
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ไม่ได้รับอาราธนาก็แสดงธรรมในท่ามกลางสงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ได้รับอาราธนาไม่พึงแสดงธรรม ในท่ามกลางสงฆ์ รูปใดแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ เถระแสดงธรรมเองหรือให้อาราธนาภิกษุอื่นแสดง” @เชิงอรรถ : @ ภิกษุเป็นไข้ หรือ จะมรณภาพ หรือคนมีเวรกัน ประสงค์จะฆ่า จึงจับภิกษุนั้น (วิ.อ. ๓/๑๕๐/๑๓๑) @ มนุษย์ทั้งหลาย ประสงค์จะให้ภิกษุรูปเดียว หรือหลายรูป เคลื่อนจากพรหมจรรย์ (จะให้สึก) จึงจับภิกษุ @เหล่านั้นไว้ (วิ.อ. ๓/๑๕๐/๑๓๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๒๓๐}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๒๒๘-๒๓๐. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=4&page=228&pages=3&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=4&A=6398 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=4&A=6398#p228 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 4 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_4 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu4 https://84000.org/tipitaka/english/?index_4



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๒๘-๒๓๐.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]