ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์

หน้าที่ ๕๔๕-๕๔๙.


                                                                 พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค]

                                                                 ๓. กามคุณกถา (๗๕)

สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “อสังขารปรินิพพายีบุคคลมีอยู่ ฯลฯ สสังขาร- ปรินิพพายีบุคคลมีอยู่” จึงยอมรับว่า “สสังขารภพมีอยู่” ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
อันตราภวกถา จบ
๓. กามคุณกถา (๗๕)
ว่าด้วยกามคุณ
[๕๑๐] สก. กามคุณ ๕ เท่านั้นเป็นกามธาตุใช่ไหม ปร.๑- ใช่๒- สก. ความพอใจที่เกี่ยวกับกามคุณ ๕ นั้นมีอยู่มิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากความพอใจที่เกี่ยวกับกามคุณ ๕ นั้นมีอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “กามคุณ ๕ เท่านั้นเป็นกามธาตุ” สก. ความกำหนัด ความพอใจ ความพอใจและความกำหนัดที่เกี่ยวกับ กามคุณ ๕ นั้น ... ความดำริ ความกำหนัด ความดำริและความกำหนัดที่เกี่ยวกับ กามคุณ ๕ นั้น ... ปีติ โสมนัส ปีติและโสมนัส ที่เกี่ยวกับกามคุณ ๕ นั้นมีอยู่ มิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากปีติและโสมนัสที่เกี่ยวกับกามคุณ ๕ นั้นมีอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “กามคุณ ๕ เท่านั้นเป็นกามธาตุ” @เชิงอรรถ : @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๑๐/๒๓๕) @ เพราะมีความเห็นว่า วัตถุกามเท่านั้นจัดเป็นกามธาตุ กิเลสกามไม่จัดเป็นกามธาตุ @(อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๑๐/๒๓๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๕๔๕}

                                                                 พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค]

                                                                 ๓. กามคุณกถา (๗๕)

สก. กามคุณ ๕ เท่านั้นเป็นกามธาตุใช่ไหม ปร. ใช่ สก. จักษุของมนุษย์ไม่เป็นกามธาตุใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. โสตะ ฯลฯ ฆานะ ฯลฯ ชิวหา ฯลฯ กาย ฯลฯ มโนของมนุษย์ ไม่เป็นกามธาตุใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. มโนของมนุษย์ไม่เป็นกามธาตุใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “กามคุณ ๕ อันมีใจเป็นที่ ๖ ซึ่งมีอยู่ในโลก เราประกาศไว้ชัดเจนแล้ว สัตว์โลกคลายความพอใจในกามคุณ ๕ นี้ได้ ย่อมพ้นจากทุกข์ได้ ด้วยวิธีดังกล่าวนี้”๑- มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “มโนของมนุษย์ไม่เป็นกามธาตุ” [๕๑๑] สก. กามคุณ ๕ เท่านั้นเป็นกามธาตุใช่ไหม ปร. ใช่ สก. กามคุณเป็นภพ เป็นคติ เป็นสัตตาวาส เป็นสงสาร เป็นกำเนิด เป็นวิญญาณฐิติ เป็นการได้อัตภาพใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ขุ.สุ. (แปล) ๒๕/๑๗๓/๕๓๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๕๔๖}

                                                                 พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค]

                                                                 ๓. กามคุณกถา (๗๕)

สก. กรรมที่ให้เข้าถึงกามคุณมีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สัตว์ผู้เข้าถึงกามคุณมีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ในกามคุณ มีสัตว์เกิด แก่ ตาย จุติ ปฏิสนธิใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ในกามคุณ มีรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. กามคุณเป็นภพที่มีขันธ์ ๕ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ในกามคุณ มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย คู่พระอัครสาวกอุบัติขึ้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. กามธาตุเป็นภพ เป็นคติ เป็นสัตตาวาส เป็นสงสาร เป็นกำเนิด เป็นวิญญาณฐิติ เป็นการได้อัตภาพใช่ไหม ปร. ใช่ สก. กามคุณเป็นภพ เป็นคติ เป็นสัตตาวาส เป็นสงสาร เป็นกำเนิด เป็นวิญญาณฐิติ เป็นการได้อัตภาพใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. กรรมที่ให้เข้าถึงกามธาตุมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. กรรมที่ให้เข้าถึงกามคุณมีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๕๔๗}

                                                                 พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค]

                                                                 ๓. กามคุณกถา (๗๕)

สก. สัตว์ผู้เข้าถึงกามธาตุมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สัตว์ผู้เข้าถึงกามคุณมีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ในกามธาตุ มีสัตว์เกิด แก่ ตาย จุติ ปฏิสนธิใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ในกามคุณ มีสัตว์เกิด แก่ ตาย จุติ ปฏิสนธิใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ในกามธาตุ มีรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ในกามคุณ มีรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. กามธาตุเป็นภพที่มีขันธ์ ๕ ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. กามคุณเป็นภพที่มีขันธ์ ๕ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ในกามธาตุ มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย คู่พระอัครสาวกอุบัติขึ้นใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๕๔๘}

                                                                 พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค]

                                                                 ๓. กามคุณกถา (๗๕)

สก. ในกามคุณ มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย คู่พระอัครสาวกอุบัติขึ้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๕๑๒] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “กามคุณ ๕ เท่านั้นเป็นกามธาตุ” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ๑- ๕ ประการนี้ กามคุณ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ (๑) รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด (๒) เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ (๓) กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ฯลฯ (๔) รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ (๕) โผฏฐัพพะที่ พึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจ ให้กำหนัด ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการนี้”๒- มีอยู่จริงมิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. ดังนั้น กามคุณ ๕ เท่านั้นจึงเป็นกามธาตุ
กามคุณกถา จบ
@เชิงอรรถ : @ กามคุณ แยกอธิบายว่า ที่ชื่อว่ากาม เพราะมีความหมายว่าเป็นสิ่งที่บุคคลพึงใคร่ ที่ชื่อว่าคุณ เพราะมี @ความหมายว่าผูกพันไว้ ร้อยรัดไว้ เหมือนคำว่า อนฺตํ อนฺตคุณํ (ไส้ใหญ่ ไส้เล็ก ที.ม. (แปล) ๑๐/๓๗๗/๓๐๖, @ม.มู. (แปล) ๑๒/๑๑๐/๑๐๖, ขุ.ขุ. (แปล) ๒๕/๓/๔, และเหมือนคำว่า กยิรา มาลาคุเณ พหู @(ช่างดอกไม้พึงร้อยพวงมาลัยไว้เป็นจำนวนมาก (ขุ.ธ. (แปล) ๒๕/๕๓/๔๓, องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๖๓/๑๔๘) @ ดูเทียบ สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๒๖๗/๒๙๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๕๔๙}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๕๔๕-๕๔๙. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=37&page=545&pages=5&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=37&A=14965 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=37&A=14965#p545 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 37 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_37 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37 https://84000.org/tipitaka/english/?index_37



จบการแสดงผล หน้าที่ ๕๔๕-๕๔๙.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]